boon_song
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 442
|
ขอถามอีกครั้งครับ ข้อมูลฝนตกของแต่ละจังหวัดหาได้จากที่ไหนครับ ติดใจมาตั้งแต่อ่านเจอ ครั้งแรกๆแล้วแต่เกรงใจ ไม่กล้าถาม คราวนี้พูดซ้ำอีก ไหนๆ ก็ไหนๆแล้ว ขอถามเลยดีกว่า อย่าให้คาใจเลย ขอบคุณล่วงหน้าครับ [Teerapan]- ปกติผมจะใช้ค่าเฉลี่ย 30 ปีของกรมอุตุฯ ครับ ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีจะแตกต่างกันไปบ้าง ดูได้ที่ http://www.tmd.go.th/province.php?id=32
ให้กดเลือกภาคก่อน แล้วเลือกจังหวัด แล้วกดเลือก"ค่าเฉลี่ย 30 ปี" แต่บางจังหวัดจะไม่มีข้อมูลนะครับ เช่น จ.นนทบุรี จะไม่มี ต้องใช้ข้อมูลจังหวัดใกล้เคียงอย่าง ข้อมูลของกรุงเทพฯ แทน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2013, 10:34:46 PM โดย teerapan »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
boon_song
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 442
|
ขอถามอีกครั้งครับ ข้อมูลฝนตกของแต่ละจังหวัดหาได้จากที่ไหนครับ ติดใจมาตั้งแต่อ่านเจอ ครั้งแรกๆแล้วแต่เกรงใจ ไม่กล้าถาม คราวนี้พูดซ้ำอีก ไหนๆ ก็ไหนๆแล้ว ขอถามเลยดีกว่า อย่าให้คาใจเลย ขอบคุณล่วงหน้าครับ [Teerapan]- ปกติผมจะใช้ค่าเฉลี่ย 30 ปีของกรมอุตุฯ ครับ ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีจะแตกต่างกันไปบ้าง ดูได้ที่ http://www.tmd.go.th/province.php?id=32
ให้กดเลือกภาคก่อน แล้วเลือกจังหวัด แล้วกดเลือก"ค่าเฉลี่ย 30 ปี" แต่บางจังหวัดจะไม่มีข้อมูลนะครับ เช่น จ.นนทบุรี จะไม่มีต้องใช้ข้อมูลจังหวัดกรุงเทพฯแทน
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
teerapan
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 988
|
ก่อนจะไปดูเรื่องอื่น ขอขยายความที่ตอบน้อง siripan1112 ไปเรื่องการขุด swale โดยใช้คนขุดบ้างเป็นแบบ Cascading Swale คือมี swale เรียงต่อกันหลายๆ ชั้นจากสูงลงต่ำ เนื่องจากเป็น swale ขนาดเล็กจึงอาจจะต้องมีระยะห่างระหว่าง swale ถี่หน่อย

เริ่มต้นจากขุดร่องตามแนวระดับโดยใช้แรงงานคน ร่อง swale กว้างอย่างน้อย 50-150 เซนติเมตร และมีความลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตรให้เอาดินที่ขุดมากองเป็นคันดินทางด้านที่ต่ำกว่าด้านเดียว เพื่อให้คนดินทำหน้าที่กั้นน้ำ โดยเราสามารถปลูกพืช (เช่น หญ้าแฝก) บนคันดินนี้ในภายหลังเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของคันดิน ข้อสำคัญคือด้านล่างของร่องจะต้องได้ระดับเดียวกัน มิฉะนั้นจะกลายเป็น "ร่องระบายน้ำ" ไม่ใช่ swale และอย่าอัดดินในร่องจนแน่นแข็ง หรือลงไปเหยียบในร่อง เพราะเราต้องการให้น้ำซึม ไม่ใช่น้ำขัง ซึ่งแตกต่างกับการขุดสระ หรือขุดร่องระบายน้ำ

เพื่อรักษาระดับความลึกของร่อง และให้ร่องมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำลงใต้ดิน เราจะใส่วัสดุอินทรีย์ที่อุ้มน้ำและย่อยสลายช้า เช่น ใบไม้แห้ง, กิ่งไม้, ขี้เลื่อย ลงไปในร่องให้เต็ม ถ้าเราไม่ใส่วัสดุพวกนี้เข้าไปน้ำฝนจะพัดเอาดินจากด้านบนมาลงร่อง ทำให้ร่องตื้นเร็วกว่า

ตอนผมขุด swale ใหญ่ผมไม่ได้ใส่ไม้ลงไปเพราะ swale ของผมใหญ่มาก ใช้เวลานานกว่าดินจะไหลมาในร่องจนเต็ม อีกอย่างผมหาไม้มาใส่ swale ขนาดใหญ่ได้ไม่พอ
เพื่อช่วยรักษาความชื้นมากไปอีก ถ้ามีฟางก็เอาฟางมาคลุมสักหน่อย เป็นอันเสร็จขั้นตอนการขุด swale ด้วยแรงงานคน

Liked By: yudhapol, ninaO_o, sanan_abo, ktikamporn, pooyailee, James, deemeechai, Nine., SuptNakhon, adulsri, bigsim, Tapioca, กัญจน์, teebanbor, KobStw, sakmara, vichai sila, 5XXA, lief36
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 24, 2012, 09:10:08 PM โดย teerapan »
|
บันทึกการเข้า
|
“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.” Bill Mollison
|
|
|
|
keattikorn
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1743
|
[Teerapan] - ขอบคุณมากครับ ขอพรอันประเสริฐคืนแด่ผู้กองเป็นพันเป็นหมื่นเท่าครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2012, 10:02:43 PM โดย teerapan »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ktikamporn
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 757
|
ถ้าต้นทุนที่สำคัญที่สุดของพี่คือ เวลา ผมว่าขุดบ่อน้ำซึม หรือขุดสระ แล้วปั้มน้ำไปรดต้นไม่ก่อนดีกว่า ใช้ท่อ pe ปั้มน้ำตั้งเวลา ปั้มทีละน้อยแต่ถี่ ๆ งามกว่ากันเยอะ(ที่น้ำเท่ากัน งามกว่าปั้มวันละครั้งมาก) ไม่ต้องปลูกเต็มพื้นที่ ปลูกเป็นกลุม หรือเป็นแนวตามท่อน้ำ แล้วให้มันขยายไปเอง (หรือขุดหลุม หรือ verticulmuch แล้วเอาท่อ pe มาเติม) ถ้ารอระบบ Passive แนว Permie ผมว่าต้องรอเป็นสิบปีกว่าอินทรีย์วัตตถุจะคลุมหนาพอที่จะเรียกว่าอุดมสมบูรณ์ (ประมาณจากรูปที่เห็นนะ) ปีนึงฝนตกหนึ่งฤดู หน้าแล้งขาดน้ำ ตาย สะสมอิททรีย์วัตถุ ปลูกใหม่ หน้าฝนมา หน้าแล้งตาย สะสมอินทรีย์วัตถุ .... ล้มลุกคลุกคลานสิบปีตั้งตัวได้ แต่ถ้ามีปั้มมันเหมือนเร่งวันเร่งคืน ไม่ต้องรอฤดุฝน พอมันตั้งตัวได้ค่อยปล่อยไม่ต้องรดน้ำ เหมือนคนจะตั้งตัวแหละ ทุนก้อนแรกนี่แหละประเด็นสำคัญ ถ้ายืมใครได้ก็ง่ายหน่อย ถ้ายืมใครไม่ได้ก็เก็บกันหน้ามืดถ้าลงทุนแล้วไม่ล้มก็ไปรวยอีกทีตอนแก่ลูกหลานใช้เงินแทนกันไป ถ้าลงทุนแล้วล้มก็หมดเวลาแล้วตั้งต้นใหม่ไม่ทัน  ท่อPE มีหลายขนาด ถูก เจาะรูง่าย มีหัวให้ใช้หลายแบบ ฉีดฝอย 180 องศา 360องศา ต่อท่อย่อย ต่อน้ำหยด ฯลฯ [teerapan] - น้องโอ๋...ถ้าผมต้องการแค่เป้าหมายว่ามีสวนที่ต้นไม้งามก็คงใช้วิธีการจ้างเขาทำให้หมดสบายกว่านี้อีกเยอะครับ เวลาที่ผมต้องการคือเวลาที่จะหาหนทางที่จะไม่ใช้ไอ้พวกท่อ PE ที่น้องบอกนะสิ ผมกำลังค้นหาวิธีการที่คน 1 คนจะสร้างระบบนิเวศน์ที่สร้างอาหารอย่างยั่งยืน โดยใช้พลังงาน และวัสดุจากน้ำมัน (เช่น พลาสติก) น้อยที่สุด บนพื้นที่ว่างเปล่าขนาด 10 ไร่ขึ้นไป
สิ่งที่ผมกำลังตามหาไม่ใช่สวนที่สมบูรณ์สำหรับตัวเอง แต่เป็นวิธีการที่รุ่นถัดไปสามารถเอาไปทำซ้ำได้ในกรณีที่คนรุ่นเราทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่เสื่อมโทรมไปหมดแล้ว เป็นยุคที่พลาสติก พลังงาน และน้ำหายาก ในยุคของพวกเขา พวกเขาคงจะไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จะใช้วิธีการแบบที่โอ๋แนะนำได้ เวลาที่ผมบอกว่าน้อยก็ เพราะกว่าเราจะรู้ผลจากทดลองจาก 1 site ก็ต้องใช้เวลา 3-5 ปี จากนั้นยังจะต้องทดลองทำซ้ำใน site ใหม่ๆ อีก เพื่อพิสูจน์ว่าวิธีการนี้สามารถใช้งานได้จริง กว่าเราจะเผยแพร่ได้ก็ต้องกินเวลาอย่างน้อย 10-20 ปี
ในตัวอย่างเทียบเคียง ผมเองก็มีเครื่องตัดหญ้าทั้งแบบรถเข็น ทั้งแบบสะพานบ่า หลังจากเรียนรู้ว่ามันใช้งานอย่างไร ทดลองใช้จริง ในวันนี้ผมกลับใช้เคียวเป็นหลัก เพราะว่าผมต้องการทดสอบว่าคนที่ไม่ค่อยแข็งแรงแบบผมจะทำได้มั๊ย ถ้าผมสามารถใช้เคียวเป็นหลักแล้วจัดการสวนขนาด 18 ไร่ได้ คนที่อายุน้อยกว่าผมก็ต้องทำได้ คำถามที่ผมต้องถามตัวเองหนักๆ ไม่ใช่ "ผมจะใช้เคียวตัดวัชพืชให้หมดโดยไม่ใช้เครื่องตัดหญ้าในพื้นที่ 18 ไร่ได้อย่างไร?" แต่จะเป็นว่า "ผมจะลดการใช้เคียวให้เหลือน้อยที่สุดและไม่ใช้เครื่องตัดหญ้า แล้วยังบริหารจัดการสวนขนาด 18 ไร่ให้สร้างผลผลิตได้อย่างไร?"
ในวันนี้ผมมีที่ดินไม่ไกลจากอ่างเก็บน้ำ แต่ปีนี้ผมยังไม่เคยสูบน้ำในอ่างเก็บน้ำมาใช้แม้นแต่หยดเดียว ผมใช้น้ำฝนที่ตกในที่ดินของผมเท่านั้น และยังตั้งใจว่าจะเอาตัวรอดหน้าแล้งปีนี้ไปให้ได้จนถึงหน้าฝนปีหน้าโดยไม่ใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำเลย แนวการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นอะไรที่ผมกำลังตามหา
เรื่องมันอาจจะเข้าใจยาก แต่ขอให้เปรียบเทียบเหมือนกับว่า ถ้าผมมีเงินไม่จำกัดสามารถซื้ออาหารอร่อยกินได้ทุกชนิด ไม่จำกัดจำนวน แต่ผมกลับอยากกินเพียงผักสดที่ปลูกด้วยตนเอง ผมเองก็ตอบไม่ได้ว่าทำไม ฮ่าๆๆๆ ผมคิดว่าผมคงไม่ได้ตามหาผักแต่กำลังบริโภควิถีของการปลูกผักกินเองอืม แสดงว่า พี่กำลังสร้าง "แนวทาง" ไม่ใช่ตัวสวน(เป็นเรื่องรอง) หรือพูดอีกแบบคือ สร้าง"วิธีสร้างสวน"(โดยธรรมชาติ) แต่ผมเกรงว่าเราอาจไม่มีเวลามากขนาดนั้นนะ ปล. ไม่อยากจะบอกเลยว่าผมเพิ่งซื้อเคียวมาเกี่ยวหญ้าเหมือนกัน  แถมเริ่มทำรั้วแบบกินได้ แล้วก็ลดการตัดหญ้าลงแล้ว เริ่มซึมซับโดยไม่รู้ตัวนะเนี่ย
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2012, 08:33:45 PM โดย ktikamporn »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
teerapan
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 988
|
ฝาก Geoff Lawton's DVD "Harvesting Water - The Permaculture Way." ไว้ให้ดูเล่นๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.” Bill Mollison
|
|
|
tid-ko
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 453
|
ปีใหม่นี้ขอให้มีความสุขตลอดปีและตลอดไปครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nine.
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1918
|
เรื่องมันอาจจะเข้าใจยาก แต่ขอให้เปรียบเทียบเหมือนกับว่า ถ้าผมมีเงินไม่จำกัดสามารถซื้ออาหารอร่อยกินได้ทุกชนิด ไม่จำกัดจำนวน แต่ผมกลับอยากกินเพียงผักสดที่ปลูกด้วยตนเอง ผมเองก็ตอบไม่ได้ว่าทำไม ฮ่าๆๆๆ ผมคิดว่าผมคงไม่ได้ตามหาผักแต่กำลังบริโภควิถีของการปลูกผักกินเอ
ผมเข้าใจเอาเองว่า อาจคล้ายๆกับจุดหมายนั้นๆ อาจจะมีหลายวิธี มีหลายเส้นทางที่จะไปถึง ไปทางหนึ่งก็จะได้อะไรต่างอีกทางหนึ่ง [Teerapan] - ประมาณนั้นน้องนพ มันเป็นเรื่องของจิตวิญาณในการเข้าถึงสภาวะที่เป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2012, 10:08:53 PM โดย teerapan »
|
บันทึกการเข้า
|
.....ศรัทธา คือ เหตุผล.....
|
|
|
pong2510
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 436
โลกสีเขียวยังมีอะไรให้เราเรียนรู้อีกเยอะ
|
เมื่อเห็นสภาพแบบนี้ในช่วงแรกๆ ผมเริ่มถอดใจกับ swale ที่ขุดมาใหม่ๆ และเริ่มหมดกำลังใจมากขึ้นเมื่อเห็นต้นไม้ที่ปลูกค่อยๆ ทยอยตาย การป้องกันความชื้นด้วยการคลุมฟาง และเล่มเกมต่อถั่วดูเหมือนจะไม่สามารถทานแสงแดดอันร้อนแรงของเมืองเพชรบุรีได้ เพื่อนบ้านที่ขึ้นมาปั๊มน้ำรดต้นไม้ที่สวนของเขาทุกๆ 2 วันเริ่มมาแซวว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ ผมเองก็เริ่มสงสัยว่าคงจะต้องกลับไปติดสปริงเกอร์เหมือนที่เจ้าของเดิมทำไว้แน่ๆ
ปล. ข้อสังเกตุคือปอเทืองที่ตรงขอบ ตรงมุมจะงอกได้มากกว่าปอเทืองที่โรยไว้ตรงกลางเนิน โดยที่ผมหาคำอธิบายไม่ได้ แต่ปู่บิลเคยสอนไว้เรื่อง "ทฤษฎีขอบ" โดยไม่ได้อธิบายเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับ บอกเพียงว่าตรงขอบรอยต่อต่างๆ จะมีสิ่งชีวิตเจริญงอกงามได้ดีกว่าตรงอื่นเสมอ เช่น ขอบรอยต่อระหว่างหินกับดิน ขอบชายป่า ขอบสระน้ำ ปลูกบิลจึงบอกว่าในการออกแบบให้เลือก pattern ที่จะสร้างขอบได้เยอะๆ จะได้สร้างความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ได้มากกว่า pattern ที่มีขอบน้อย ผมเองก็ยังไม่เข้าใจทฤษฎีนี้ซึ่งดูเหมือนจะนำไปประยุกต์ใช้งานได้ แต่อธิบายเหตุผลไม่ได้ [/color]
มาให้กำลังใจครับสู้ต่อไปเพื่อคนรุ่นหลัง เป้าหมายมีไว้แก้ไข ขอให้มีความสุขในปีใหม่นี้ สำหรับคนรักธรรมชาติ "ทฤษฏีขอบ" อะไรที่มีการเปลี่ยนแปลงช้าสิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเพื่อความอยู่รอดได้ สรรพสิ่งจะมีชีวิตรอดต้องช่วยตัวเองและปัจจัยภายนอกร่วมด้วยแต่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงช้าๆ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2012, 10:03:54 PM โดย teerapan »
|
บันทึกการเข้า
|
มีเกิดก็ต้องมีดับ
|
|
|
Numdoitung
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1477
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
viranya
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2281
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siripan1112
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 445
|
สุขสันต์วันคริสต์มาสและ สวัสดีปีใหม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
spyman
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 225
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
somphong_t
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 345
สวน "สนุก"
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
นายสมพงษ์ ตรีสุข 64/767 หมู่ 3 หมู่บ้านมณวดี ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
|
|
|
|