หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 86   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ยางพาราสายพันธุ์ใหม่ ปูทะเลไข่ ไผ่กิมซุง และมะนาวในวงบ่อ (เริ่มหน้า 62)  (อ่าน 632533 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 12:29:42 PM »

[b]จั่วหัวเรื่อง[/b] [/i] ไว้แบบนี้มันจะไปกันได้ไหมนี้ สมาชิกใหม่ครับขออนุญาติแนะนำตัวเอง ชื่อ จิ่โล่ม ครับ  ที่มาของชื่อ แม่บอกว่าตอนเด็กๆ ชอบกิน แมงจิโป่ม มากๆ เลยเรียกมักจิโป่ม   เรียกไปเรียกมาเพี้ยนมาเป็น จิโล่มชะงั้น ก็ด้วยตั้งใจไว้ว่าอยากจะทำไร่ไว้ เก็บเกี่ยวหลังเกษียณ ปลูกป่าลดโลกร้อน และคิดว่าจะทำยังให้ลูกชายกลับไปเยี่ยมคุณปู่ คุณยาย และญาติพี่น้องที่ขอนแก่นบ้าง หาเหตุ หาธุระ ที่ต้องไป ต่อให้คิดถึงกันขนาดไหน ก็ไม่ไปเพราะไม่มีธุระ สุดท้ายก็จะเลือกไปที่มีกิจธุระ เรียกว่า สร้างแรงจูงใจ นั่นคือสวนยางพารา ทำไปเรื่อยๆ ราคายางอาจจะไม่เป็นตามที่คาดไว้แต่อย่างน้อยมูลค่าที่ดินไม่มีลดแน่ และเมื่อถึงเมื่อนั่นราคานี้รุ่นลูกหาซื้อไม่ได้แน่นอน  ก็ศึกษาพืชหลายอย่างครับ สุดท้ายก็มาลงที่ยางพารา น้ำยางขายได้ เนื้อไม้ขายได้ เป็นการปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวช่วยลดโลกร้อน และก็มาเจอเว็ปเกษตรพอเพียง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจ ในที่สุดก็ตัดสินใจว่า เอาละ [i]ยางพาราสายพันธุ์ใหม่คือคำตอบสุดท้า


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2015, 03:53:47 PM โดย adulsri » บันทึกการเข้า

adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 12:55:26 PM »

ต้องบอกว่าไม่มีความรู้เรื่องยางพารา จะคุ้นเคยกับการทำนา  ทำไร่มันสำปะหลัง และไร่อ้อยชะส่วนใหญ่ เรียกว่าจำความได้ ก็อยู่ที่ท้องนาท้องไร่เลยที่เดียว สิ่งที่พ่อพรำสอนเสมอว่า ต้องเรียนหนังสือ ตั้งใจเรียน โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคนจะได้ไม่ลำบากเหมือนพ่อ ซึ่งผมเชื่อว่า ส่วนใหญ่มีแนวคิด และความเชื่อแบบนี้ ทำให้ผมกับเพื่อนๆ ต้องมุ่งมั่นตั้งใจเรียนหนังสือ และได้เขามาเรียนต่อมัธยมต้น กันสิบกว่าได้ ต้องขอขอบคุณอาจารย์นงลักษณ์ ที่เขามาคุยกับพ่อว่า ให้เราไปเรียนต่อเถอะ เป็นเด็กเรียนดี ขยัน สุดท้ายก็ได้มาเรียนต่อสมใจ (ตอนแรกจะไม่ให้ไปเพราะไม่มีเงินส่ง) ซึ่งการไปเรียนต้องปั่นจักรยานมาเรียนหนังสือในตัวอำเภอ ระยะทางไปกลับร่วมสามสิบกิโลเรียกว่าปั่นกันจนตูดขาด (กางเกงขาดตูด) 555 ปั่นอยู่หนึ่งปีเต็ม  เลยเปลี่ยนมาขอหลวงพ่อพักที่วัดใกล้โรงเรียน มาเป็นเด็กวัด เต็มตัว   หน้าที่หลักกวาดลานวัด ล้างกระโถน ล้างบาตร เช็ดถูศาลา ตามหลวงตาไปบิณฑบาททุกเช้า แล้วค่อยไปโรงเรียน ทำเป็นกิจวัตรทุกวัน  ซึ่งตอนนั่นความฝันที่วาดวังไว้ เราจะต้องเป็นนายคนให้ได้ นั่นคือปลัดอำเภอ  ทำไมต้องปลัดอำเภอ เดี่ยวค่อยว่ากันต่อฯ
มือใหม่หัดชำยาง หลังจากศึกษาวิธีการชำยาง   จากชำยางของคุณเจิ้ล ขออนุญาติเอ่ยนามนะครับ อ่านไป ทำงานไป นับได้ 7 วันพอดี ทบทวนอีกรอบ เรียกว่า เอาให้ชัวร์ๆ หลังจาก นั่น สั่งยางตาเขียว rrim  3001 และ pb 350 มา จำนวน 2300 กิ่ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2012, 10:37:11 AM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 01:36:59 PM »

มาชำยางกัน
วันที่ 26 มีนาคม 2555
เริ่มปฏิบัติการ รวมพล พี่ป้า น้า อา หลานๆ เด็กๆ มาทำกิจกรรม หาเงินกินหนม ดีกว่าไปเล่นเกมส์เป็นไหนๆ
 

ช้ายมือลูกชาย เป็นผู้ควบคุมงาน จดรายละเอียดใครได้เท่าไหร่ พร้อมกอกกดินไปด้วย กอกเสร็จยกให้เพื่อนใหม่ (อยากให้เพื่อนได้กะตังพ่อเยอะๆ ) เรียกว่า มีน้ำใจ ซื้อใจกันเห็นๆ พร้อมทั้งเป็นคนจ่ายเงินค่าแรงด้วย   ทั้งหลายทั้งปวงอยากให้เขาได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้เห็นขั้นตอนการชำยางตาเขียว เพราะพูดให้ฟัง เด็กๆ มองไม่เห็นภาพ นึกไม่ออก ต้องลงมือทำปฏิบัติจริง   พร้อมได้เพื่อนใหม่ ได้ภาษาอีสาน อีกหนึ่งภาษา เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษา เพื่อนใหม่ได้หัดพูดภาษาไทย โดยไม่เขินอาย ลูกชายได้พูดภาษาอีสานสำเนียงจากต้นตำรับโดยแท้ ฟังแล้วรื่นหุดี 555/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2012, 11:01:21 AM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 01:40:24 PM »

กรอกดินกันต่อ ดินหัวไฮ ผสมดินโพนปลวก

 





การเรียนกับการปฏิบัตินั้นเป็นของคู่กัน
เวลาเรียนต้องคิด คิดออกแล้ว ก็ต้องนำไปปฏิบัติ
เราจึงรู้ว่าตัวเองได้วิชา มาจริงหรือไม ..ไม่เช่นนั้นแล้ว
เราจะอ่านหนังสือมามาก ศึกษามามาก แต่เราก็เป็นไปได้แค่
ตู้หนังสือเคลื่อนที่ตู้หนึ่งเท่านั้น.//
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 02:58:57 PM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
jub
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 254


« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 01:42:26 PM »

ฮืม?
บันทึกการเข้า
phalikhit
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11612



« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 01:49:26 PM »

ถ้าไม่บอกเสียก่อน  ก็จะเดาว่า คงจะชอบกิน เลี้ยง หรือ นำมากัดกัน ชอบเป็นชีวิตจิตใจ
ทั้งจิหล่อ และ จิโป่ม  จึงสมาสและสนธิเข้ากันเป็น จิโล่ม

แล้วปูทะเลไข่ล่ะครับ เป็นมายังไง ทำไมอยู่ไกลกันจังเลย
บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 01:54:46 PM »

วันที่ 24 มีนาคม 2555 เดินทางไปรับ ยางตาเขียวที่สนามบินอุดร    มาแบบนี้เลยครับ




  กิ่งตาเขียว ทุกกิ่ง

มาตัดแต่งราก กัน
ก็แบ่งหน้าที่กันไปทำ ผมก็มาตัดแต่งราก ล้างกิ่งให้สะอาด พร้อมแช่อฮอล์มูลเร่งราก พร้อมนำมาผึ่งไว้ให้แห้งพอหมาดๆ ให้ฮอล์มูลจับติดรากก่อนนำไปปักลงถุงที่จัดเรียงเตรียมไว้

 


  






หลายคนบอก หมอนี้มันทำเป็นทุกอย่างเว๊ย ปลูกมันก็ได้ ทำนาก็ได้ ปลูกอ้อยก็เป็น มันมีพรสวรรค์นะเนิ่ย...
จริงๆ แล้วจะบอกว่า  ไม่มีพรสวรรค์ พรนรกอะไรที่ไหนหรอก
เพียงแต่เอาเวลาที่คนอื่นนั่งดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ มานั่งทำงานเท่านั้นเอง..//

อันใดเดือดร้อนเขา  สบายเรา  อย่าทำ
อันใดเดือดร้อนเรา  สบายเขา  อย่าทำ
อันใดเดือนร้อนเขา  เดือดร้อนเรา  ก็อย่าทำ
อันใดไม่เดือดร้อนเขา  ไม่เดือนร้อนเรา  จงพูด  จงคิด  และกระทำเถิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 13, 2012, 09:50:45 AM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 02:23:41 PM »

วันที่ 27 มีนาคม 2555
ได้เวลาชำยางตาเขียวกันแล้ว
พี่เขย กะหลานสาว ว่าที่ ผอ.กองการศึกษา 555 มีหน้าที่ชำยางลงถุง ช่วยกันชำยางลงถุง เป็นการเรียนและปฏิบัติจริงไปในตัว หากชำยางตาเขียวได้ผลจริง ปีหน้าจะเอายางมาลงแทนยูคา ประมาณ 50 ไร่ ส่วนหลานบอกว่า ถอนรากมาแล้ว แถมมาตัดรากอีก ถ้าขึ้น หนูกะงึด คือกันเด้อ น้า



 



ได้แค่นี้แหละ เหนื่อยเหมือนกันหนอ // 




30 วันผ่านไป...ลดน้ำเช้า  เย็นทุกวัน ไม่เหนื่อยเลย เพราะพ่อลดให้ 55

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 03:29:52 PM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 02:54:53 PM »

มาปลูกยางกันเถอะ วันที่ 9 มิถุนายน 2555
2 เดือนผ่านไปไวเหมือนโกหก ยางที่ชำไว้ สายรายงานว่า พร้อมปลูกแล้ว ฝนก็ตกได้ที่ 2 เดือนที่ผ่านมา เจอปัญหายางที่ชำไว้ ใบเป็นสีเหลือง /สีขาว ก็มีเหี่ยวตายไปหลายต้น สอบถามผู้รู้ กูรู ชี้ น่าจะเป็นไฟท็อปเทอรา แนะนำให้ฉีดพ่นด้วย เมทาแลกซิล  ก็ได้ผลดีไม่มีตายและแพร่ขยายเพิ่มครับ  ขยิบตา จากสมุทรปราการ ถึงขอนแก่น (อ.เขาสวนกวาง) 570 กิโล โดยประมาณ ก็ได้กฤษ์ปลูกชะที

   

   

เด็กช่างยนต์ เทคนิคขอนแก่น อาสาช่วยขนย้ายกล้ายาง ขอวัน 300 บาท โก่งค่าตัวน่าดู ยางชำถุง 75 วัน ได้แค่นี้เองครับ เอ้า 300 ก็สามร้อยสนองนโยบายรัฐบาลเขาหน่อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 03:02:48 PM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 03:34:00 PM »

แปลงปลูกยาง วันที่ 9 มิถุนายน 2555


เดิมที่ดินแปลงนี้ปลูกอ้อย จำนวน 25 ไร่  ไถ่อ้อยต่อสองทิ้ง ฟอร์ด 6600 วิ่งผาน 7 ปลายเมษายน 55 เพื่อตัดต่ออ้อยให้ตายก่อน ไร่ละ240 บาท    ต่ออ้อยตายดี แต่หญ้าขึ้นพรึบ  วันที่ 7 มิถุนายน55  เอารถไถ่มาวิ่งผาน 3 อีกรอบหนึ่ง อยากให้ลึกแล้วโกบหญ้าไปเลย  ก็เป็นอย่างที่เห็นครับ





ใช้คูโบต้ามาคาดปรับหน้าดินอีกรอบก่อนปลูกครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 03:27:45 PM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #10 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 04:02:56 PM »

ปลูกยาง วันที่ 9 - 11 มิถุนายน 2555
รวมญาติ มาช่วยกันปลูก พร้อมจ้างแรงงานเพิ่มอีก 10 คน รวม 14 คน รวม 3 วัน เสร็จครับ 1,900 ต้น ส่วนคนงาน 10 คน ที่จ้างเพิ่มมีประสบการณ์ปลูกยางมาแล้ว แต่กำชับเพิ่มเติมว่า นอกจากถุงจะไม่แตกแล้ว เวลาเอาลงหลุมให้ใช้มือกดเบาๆ พอ  ไม่ต้องใชเท้าเหยียบแน่นๆ เพราะจะทำให้ดินรุดลงรากยางขาดแน่นอน ตายๆอย่างเขียดแน่นอน 55

 



ด้านข้างปลูกมันสำปะหลัง พี่สาวบอกขอปลูกมันสำปะหลังก่อน ขี้เกียจรอกล้ายาง โดยวัดระยะเพื่อไว้ก่อน 3x7 ก็ได้แบบเอียงๆ นิดหนึ่ง เดียวปีหน้าเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังออก ค่อยปรับกันใหม่ // ส่วนขั้นตอนการชำยาง การปลูก คงไม่ต้องลงรายละเอียดมากเพราะในเว็ปนี้มีผู้รู้ ระดับเซียน ที่ได้เอ่ยไว้ข้างต้นแล้ว แนะนำบอกไว้ละเอียดแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงทุกขั้นตอน ครับ

ปลูกแล้ว กะเป็นจั่งสิละ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2012, 10:38:18 AM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 04:17:28 PM »

เสร็จสิ้นภาระกิจครับ เย็นของวันที่ 11 มิถุนายน 55 เดินทางกลับสมุทรปราการ เพื่อนๆ บอกให้อยู่ต่ออีกวัน พรุ่งนี้มีงานบุญป้องไฟ  แต่ขอบายครับไม่ไหว และลางานไว้วันเดียวด้วย
ปลูกเสร็จแล้ว ก็สงสัยอยู่ว่ายางที่เราปลูกเป็นยางสายพันธ์ใหม่ (pb 350 หรือ rrim 3001) หรือป่าว ฝากถามพี่ๆ ผู้รู้  ขอความรู้หน่อยครับว่าเป็นพันธุ์อะไรครับ
 
 

ก็จะได้รู้ครับว่า เป็นลาวต้มลาว บ่อ // 555   
ไปทะเลกันดีกว่า ตามที่จั่วหัวเรื่องไว้ครับ ไปดูน้องปูกัน ///...
สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด
สำหรับการปลูกยางพารา จำนวน 25 ไร่ (ระยะปลูก 3x7 = 1,900 ต้น)
1.ค่ากล้าพันธุ์ยางพารา                         =   75,900 บาท (ซื้อยางตาเขียวมาชำเอง  2,300 x33 )
2.ค่าไถ่ ผาน 3                            =   6,250 บาท (250 x 25)
3.ค่าไถ่ ผาน 7                            =   6,250 บาท (250 x25)
4.ค่ากอกดิน                                      =   1,150  บาท (2,300 x 50 ส.ต.)
5.ค่าขุดดิน/ขนดิน 3 รถ                       =   600   บาท  ( 3 x200)
6.ค่าฟูราดาน + ปุ๋ยอินทรีย์รองหลุม        =   2,150 บาท
7.ค่าแรงงานปลูกยางพารา 3 วัน             =   7,200 บาท (12 x 3 x200)
8.อื่นๆ ค่าอาหาร ค่าเครื่องดิ่มเพิ่มพลัง               =   2,000 บาท
                    รวม                              =   101,500 บาท (โดยประมาณ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2012, 11:23:16 AM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #12 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 04:57:41 PM »

แปลงข้างสวนผมครับ ปลูก rrim 600 เป็นยาง 11 ปี แล้วครับ
อนาคตเราต้องได้ขนาดนี้ แต่น้ำยางต้องได้เยอะกว่า // 555
แต่อยากฝากข้อคิดไว้นิดหนึ่งครับ  สำหรับเพื่อนสมาชิกที่จะซื้อยางตาเขียวมาชำเอง แนะนำว่า ควรจะเริ่มชำแต่เนินๆ หน่อยครับ ระยะเวลาชำที่ผมว่าเหมาะสมที่สุด 4 - 6  เดือน ของผมที่ปลูกนับดูแล้วได้ 75 วัน ผมว่าเล็กไปใบไม่แก่จัดเท่าควร ชำ ไว้ 2300 กิ่ง ตายไป 150  และเพิ่งแตกตาขึ้นมาประมาณคืบอีก 350 กิ่ง เลยต้องเลี้ยงไว้เพื่อซ่อม  เพราะฉนั้นควรชำไว้ตั้งแต่กลางธันวาคม // ปลายเมายน ต้นพฤษภาคมได้ 2 ฉัตรแก่ๆ ปลูกแน่นอน และก็ได้ตามที่หวังแน่นอน ครับ 
   

ถ้าวางแผนการปลูกดี ก็ผ่านแล้งสบายโดยไม่ต้องพึ่งปั้มน้ำให้เหนื่อย ปีหน้าฝนชอบมาช่วงสงกรานต์ ถ้าดินชุ่มก็ลงได้เลยปลายเมษายน พอตั้งตัวได้  ไปได้ฝนอีกช่วงพฤษภาคมช่วงวันแลกนาขวัญ วันพืชมงคล มาแน่ๆ ทุกปี  ปลูกด้วย 2 ฉัตร  ก็น่าพุ่งฉัตร 3 ก่อนใครแล้ว 55








PB 350


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2012, 01:40:59 PM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #13 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 05:15:52 PM »

ถึงสมุทรปราการแล้ว 
ข้ามไป ฝั่ง อ.พระสมุทรเจดีย์ ผ่านทาง อบต.ในคลองบางปลากด เพื่อจะไปดูวังกุ้ง วังปูเนื้อ เลยแวะให้อาหารน้องหมูป่าหน่อย  //            หมู่บ้านหมู่ป่า //




เยอะมากๆ สอบถาม เจ้าหน้าที่ อ.ส.ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาดูแล ทราบว่า มีประมาณ 250 ตัว มีเขี้ยวโผล่หลายตัว  จะตันหรือป่าวไม่ทราบได้ 555 เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปต่อกัน.....บรื้นๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2012, 11:26:29 AM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #14 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 05:28:17 PM »

ต้องนั่งเรือหางยาว เข้าไปอีก ประมาณ 3 กิโลครับ




รอดสะพาน  ระวังหัวเม่งนะไอ้น้อง


จุดพักปู สร้างยังไม่เสร็จครับ สะพานยืนลงมาจากตัวเบ้านทำเป็นโป้ะ เรือเทียบได้เลย โยก เยกๆ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2012, 10:10:59 AM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
adulsri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1461


« ตอบ #15 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2012, 05:41:38 PM »

ปูเนื้อ หัดมัดขาอยู่ 3 วัน ก็ได้ขนาดนี้ แถมโดนหนีบนิ้วอีก ได้ยินมาว่า ถ้าตุ๊กแกกัด ฟ้าร้องมันถึงจะปล่อย แหละถ้าปูหนีบละ กล้ามหลุดก็ไม่ยอมปล่อย
สรุปว่า เอาไปผัดพริกไทดำชะให้เข็ด  ตัวนี้ 6 ขีดได้ เอิ้ก // อิ่ม





เจ้าตัวนี้ 1 โล 2 ขีด 



รวม ลัวนี้ 30 โลได้ กว่าจะจัดระเบียบเสร็จเล่นชะเหนื่อย/ /


คัดไซร์ลงลัว   เชือกฟางสีเหลือง เจ้านี้ปูทะเลไข่ครับ ตัวเล็กไปนิดหนึ่ง 4 ขีดได้ แต่ไข่แน่นมากๆ



ส่วนการเลี้ยงปู /ที่มาของปู ก็ไม่มีอะไรมาก
1.ต้องมีวัง บ่อน้ำติดทะเล เวลาน้ำทะเลขึ้นก็ปล่อยน้ำเข้าบ่อ กุ้ง หอย ปู ปลา ธรรมชาติก็จะไหล   เข้าบ่อ ทำการปิดบ่อชะ 5 - 6 เดือน
2.เวลาน้ำทะเลลด (น้ำลง)ก็ปล่อยน้ำออก มีอะไรข้างในบ่อ ก็กำไร น้อยมาก ตามฤดูกาล
3.ซื้อปูเล็ก ลูกปูมาเลี้ยง ก็โยนลงบ่อ อันนี้ต้องมีบ่อ หรือเช่าบ่อ หรือเช่าวังกุ้งนั่นแหละครับ น้ำทะเลลง ก็ปล่อย
4.ซื้อปูตามแหล่งธรรมชาติ อันนี้จะดีมากจะได้ปูที่ตลาดต้องการ คือเนื้อแน่น /ไข่แน่น
5.ตลาดรับซื้อปู แหล่งจำหน่ายอันนี้สำคัณมากถ้ามีที่ระบายของแล้ว กำไรเห็นๆ แต่ถ้าไม่มี ไม่ควรเสี่ยงอย่างยิ่ง ปูเป็นสัตว์ที่ตายง่าย ใจเสาะ ถ้าจับขึ้นจากวังแล้ว เลี้ยงยังกะลูก เรียกว่า ต้องอาบน้ำให้ กางมุงให้ ยุงไม่ให้ไต่ ไรไม่ให้ต่อม ประมาณนั่นเลย และก็ไม่ทราบว่าเพราะสาเหตุใด ยุงชอบกัดตาปู ตัวไหนโดนกัดเป็นต้องตาย สงสัยเป็นไขเลือดออก ไม่ก็ไข้มาราเรีย ส่วนวัคซีนขนาดคนเป็นยังไม่มีวัคซีน เรียกว่ารักษาตามอาการ แล้วปู ก็คงเช่นกัน สุดท้าย ต้องกางมุ้งให้ปูเป็นทางที่ดีที่สุดสำหรับตอนนี้ เพราะตายหนึ่งก็ทุนทั้งนั้น ยิ่งไซร์ 1 โล ตก 850 บาท  เรียกว่าซื้อมาขายไปให้อยู่กะเราน้อยที่สุด ตายน้อยที่สุด //555
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2012, 11:33:20 AM โดย adulsri » บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 86   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: