tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
สวัสดีครับอาจารย์ คุณครูใหญ่ ผกค(อุ้ย!) ผจก รร. ภารโรง เพื่อนนักเรียน และเพื่อนสามชิกทุกท่าน เหนื่อยมากเลยครับ ขนาดยังไม่ได้ทำปุ๋ยนะเนี้ย! เหนื่อยตรงตามกระทู้นี่แหละ เมื่อไหร่จะถึงวันเสาร์เสียทีจะได้ไปทำปุ๋ยบ้าง การบ้านยังไม่ได้ส่งเลย กลัวติด ร หรืออาจจะติด มส
- รีบทำเลยครับ ประสบการณ์การขึ้นกองปุ๋ยยากจะลืม แต่พอขึ้นกองเสร็จก็อยากจะลุ้นได้ล้วงเช็คความชื้น เช็คอุณหภูมิ เจาะเติมน้ำ แถมจะได้เป็นพยานตอนที่มันเริ่มเป็นปุ๋ยเมื่อใกล้ 2 เดือน แต่ที่สนุกที่สุดก็คือ .....ตอนลุ้นว่าพืชจะตอบสนองอย่างไรกับปุ๋ยหมักเมื่อนำไปใช้ ก็คงมีรายงานจากการบ้านมากมาย (ถ้าพืชเจ๊งนี่ ไม่เกี่ยวกับผมนะครับ ต้องไปถามคุณหมอแดง kmsmily นู่น  )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- วันนี้มาเล่าสู่กันฟังเรื่องน้องจุลกันดีกว่า
- น้องจุลนี่หมายถึงแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา แอคติโนมัยซิส อะมีบา โปรโตซัว ฯลฯ และสาหร่ายเซลล์เดียวในบางกรณี
- โลกเรามีอาณาจักร (Kingdom) อยู่ 3 ชนิด คือ สัตว์ จุลินทรีย์ และพืช
- สัตว์และพืชเหมือนกันคือพอตายแล้วก็ตายเลย แต่น้องจุลนี่ไม่ได้เป็นแบบนั้นแฮะ บางทีเราคิดว่ามันตาย แต่พอในสภาวะแวดล้อมที่ถูกใจมันกลับฟื้นได้ ยกเว้นการฆ่าเชื้อแบบหม้อ Autoclave ในโรงพยาบาลก็จะฆ่าได้สมบูรณ์เกือบหมด
- ไปกินข้าวก่อน
Liked By: konthain(นพ), wirot, James, pp_79, nongparei, nok7959, Gnoy, thepunyapat, ปากแดงดอทคอม, natnapat ..^=^กาแฟเย็น, AMOL, yong9, roong2000, MeeSook, Ekachaiyan
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- อย่างเช่นในกองปุ๋ยของพวกเราช่วง 5 - 10 วันแรก อุณหภูมิมีโอกาสขึ้นสูงได้ถึง 70 องศา (ขึ้นอยู่กับค่าความพรุนในกองปุ๋ย) ในระยะนี้น้องจุลที่เป็นเผ่าชอบความร้อนสูง (Thermophiles กับ Mesophiles) ก็จะกระดี๊กระด๊า มีความสุข ย่อยสลายเศษพืชได้เร็ว กองปุ๋ยก็จะทรุดตัวได้เร็ว ส่วนน้องจุลเผ่าทั่วไปก็จะรีบเข้าบ้าน เอ๊ย.... เข้าสปอร์ เอาไว้ในช่วงอุณหภูมิลดลงและมีสภาวะแวดล้อมที่ถูกใจ จึงจะออกมาทำงาน ส่วนพวกชอบความร้อนพอเจออุณหภูมิที่เย็นลงก็ไม่ถูกใจ ก็อาจจะทำงานเช้าชามเย็นชาม ทำไปอย่างแกน ๆ หรืออาจเข้าสปอร์บ้าง พวกที่ชอบความร้อนสูงนี่ส่วนใหญ่เป็นเชื้อรา รองลงมาคือแบคทีเรีย
- อย่างกรณีสารเร่งจุลินทรีย์ พด 1 ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินผลิตมาแจกให้เกษตรกรนำไปทำปุ๋ยหมัก ก็เป็นผงแห้ง ๆ พอมาคลุกเคล้าผสมน้ำ อยู่ในสภาาวะที่มันชอบ มันก็เริ่มออกมาทำงานได้
- ปุ๋ยหมักของเราเมื่อทำให้แห้ง น้องจุลซึ่งเป็นพวกใช้อากาศก็จะสงบตัว เข้าสปอร์ตามเรื่องตามราวไป พอเอาไปใช้และอยู่ในดินที่ไม่มีอากาศ มันก็เลยไม่อยากออกมาทำงาน ก็เลยสงบเสงี่ยมสงบตัวอยู่อย่างนั้น รังแต่จะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดินไป
- เราทราบแล้วว่าจุลินทรีย์มีหลายประเภท (รา แบคทีเรีย ฯลฯ) แต่ละประเภทก็มีหลายสายพันธุ์ บางครั้งมีเป็นพัน ๆ สายพันธุ์ แต่ละประเภท (รา แบคทีเรีย ฯลฯ) ก็ยังแบ่งออกเป็น 3 ชนิดอีก คือ พวกใช้อากาศ (aerobes) พวกไม่ใช้อากาศ (anaerobes) และพวกที่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ (facultative) พวกหลังสุดนี่คือถ้ามีอากาศชั้นก็ชอบ ไม่มีอากาศชั้นก็ชอบอีก ขอเพียงไม่ต้องจ่ายตังค์ ฮิฮิ
- พวกใช้อากาศนี่ถ้าขาดอากาศก็จะเริ่มสงบตัว พวกไม่ใช้อากาศพอมีอากาศมันก็จะสงบตัว
- ไปกินน้ำก่อน
Liked By: nongparei, nok7959, kmsmily, maprang, กัญจน์, Gnoy, pp_79, thepunyapat, patcha.c, natnapat ..^=^กาแฟเย็น, ปากแดงดอทคอม, AMOL, yong9, roong2000, MeeSook, Ekachaiyan
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kmsmily
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 3554
|
- วันนี้มาเล่าสู่กันฟังเรื่องน้องจุลกันดีกว่า
- น้องจุลนี่หมายถึงแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา แอคติโนมัยซิส อะมีบา โปรโตซัว ฯลฯ และสาหร่ายเซลล์เดียวในบางกรณี
- โลกเรามีอาณาจักร (Kingdom) อยู่ 3 ชนิด คือ สัตว์ จุลินทรีย์ และพืช
- สัตว์และพืชเหมือนกันคือพอตายแล้วก็ตายเลย แต่น้องจุลนี่ไม่ได้เป็นแบบนั้นแฮะ บางทีเราคิดว่ามันตาย แต่พอในสภาวะแวดล้อมที่ถูกใจมันกลับฟื้นได้ ยกเว้นการฆ่าเชื้อแบบหม้อ Autoclave ในโรงพยาบาลก็จะฆ่าได้สมบูรณ์เกือบหมด
- ไปกินข้าวก่อน
ผมเรียกว่า "น้องจุลเข้าญาณสมาบัติ" ครับ ถ้าใส่ปุ๋ยต้นไม้ตาย ผมจะหักคะแนนอาจารย์ครับ และต้องมาแก้ ร ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ในท้องสัตว์มันไม่มีอากาศ จุลินทรีย์ในลำไส้ก็เลยเป็นพวกไม่ใช้อากาศและพวกกระเทย เอ๊ย... พวกครึ่ง ๆ กลาง ๆ facultative พอน้องวัวอึออกมา เจ้าของก็ทิ้งให้แห้ง พอแห้งน้องจุลเหล่านี้ก็สงบตัว เมื่อเราไปซื้อมาใส่กองปุ๋ย พอเจอความชื้น เจอของถูกใจต้องตา (คาร์บอน ไนโตรเจน) ก็เลยฟื้นตัวขึ้นมาใหญ่เลย แต่ว่ากองปุ๋ยมักเป็นแบบใช้อากาศ ดังนั้นน้องจุลพวกไม่ใช้อากาศก็เลยต้องจ๋อย ปล่อยให้พวกครึ่ง ๆ กลาง ๆ ทำงานไป สัดส่วนคาร์บอนและไนโตรเจนที่เราใส่พานให้อย่างเหมาะสม น้องจุลก็เลยขยายพลพรรคใหญ่เลย การทำปุ๋ยหมักเลยสนุกและเสร็จเร็ว
- ในกองปุ๋ยจึงมีน้องจุลหลากหลายประเภท หลากหลายสายพันธุ์ ช่วยกันทำงานในสภาวะต่าง ๆ ....ข้อดีของการใช้มูลสัตว์คือในมูลสัตว์จะมีน้องจุลหลากหลายประเภท หลากหลายสายพันธุ์ ครบเลย ผมจึงไม่เคยคิดจะคัดแยกสายพันธุ์พิเศษมาใช้ในการทำปุ๋ยหมักเลย เพราะในกองปุ๋ยมีช่วงความร้อนต่างกันครับ
- สำหรับน้องจุลพวกไม่ใช้อากาศ ตัวอย่างคือจุลินทรีย์สารเร่ง พด2 ที่ผลิตมาเพื่อให้เกษตรกรทำน้ำหมักชีวภาพ น้องจุลพวกนี้มีนิสัยเสียปล่อยกลิ่นเหม็นจากแก๊สไข่เน่า ปล่อยแก๊สมีเทนที่ติดไฟ มีความสามารถทำให้สภาวะแวดล้อมเป็นกรด ข้อด้อยของน้องอีกอย่างคือทำงานช้า ช้ากว่าพวกใช้อากาศมากกว่า 30 เท่า ข้อเสียอีกข้อนึงคือเชื้อราเชื้อโรคในดินมักจะอยู่ในกลุ่มไม่ใช้อากาศนี้ ดังนั้นเมื่อใดที่ดินเพาะปลูกมีความเป็นกรด เชื้อโรคพืชกลุ่มนี้จึงระบาดได้เร็ว
- น้องจุลใช้อากาศนี่นิสัยดีไม่ปล่อยกลิ่น ไม่ปล่อยมีเทน ...... น่าร๊อคคคค อ่า..... ทำงานได้เร็วกว่ามาก การทำปุ๋ยหมักจึงส่งเสริมให้มีอากาศให้กับน้องจุล ไม่ว่าจะเป็นการพลิกกอง หรือเติมอากาศ หรือแบบของพวกเรา ที่สำคัญคือไม่มีตัวใดที่เป็นเชื้อโรคของพืช
- ไปกินน้ำก่อน
Liked By: James, nongparei, nok7959, kmsmily, maprang, กัญจน์, Gnoy, Noey, pp_79, patcha.c, ปากแดงดอทคอม, natnapat ..^=^กาแฟเย็น, AMOL, yong9, MeeSook, Ekachaiyan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2012, 10:27:32 AM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ในอากาศทั่วไป ในน้ำ ก็มีสปอร์น้องจุลลอยไปลอยมา แม้เมื่อเราล้างมือให้สะอาดเต็มที่ ผ่านไป 5 นาทีก็ประมาณว่าจะมีน้องจุลอย่างน้อย 20 ชนิดที่มาเกาะมือเรา ถ้าหน้าเราเป็นสิวอย่างของนักเรียนจีน้อย  แล้วเผลอไปแคะไปลูบไปบีบ เชื้อโรคในมือก็เลยไปลงที่หัวสิว สิวก็เลยไม่หายสักที ลองสังเกตดูสิครับคนที่เป็นสิวไม่หายนี่ชอบเอามือไปลูบหน้าตลอดเวลา (มือบอน) - เวลาเราหุงข้าว กินข้าวเสร็จ ข้าวเกือบหมดหม้อ ทีนี้ถ้าลืมล้างหม้อข้าว 2-3 วันแต่เปิดฝาไว้ ข้าวมันจะบูดแบบไม่มีกลิ่น แต่ถ้าเป็นหม้อข้าวที่ปิดฝามันจะบูดแบบมีกลิ่นเหม็นแถมมีเชื้อรามีสปอร์ขึ้นเต็มในหม้อ สปอร์พวกนี้ลอยได้ในอากาศก็ต้องระวังนะครับ ที่บ้านผม ผมจะเป็นประเภทแรกคือถูกใช้ให้ล้างหม้อข้าว ชอบลืมล้างแต่โชคดีเสมอที่ฝาก็ไม่ปิด ก็เลยไม่ค่อยเหม็นเวลาล้าง  - ถ้าที่บ้านมีแกงกะทิเหลือ ทิ้งไว้ข้ามคืนมันจะบูดส่งกลิ่นเหม็น นั่นเป็นเพราะว่าเกิดการย่อยสลายในสภาวะไม่ใช้อากาศ จากก๊าซที่เกิดขึ้นเราเลยมองเห็นเป็นฟองปุด ๆ (แกงกะทิมันมักจะข้น อากาศเลยลงไปในถ้วยไม่ได้) ทีนี้ถ้าเราไม่อยากให้มันบูดแบบไม่ใช้อากาศที่เหม็น เราจะทำอย่างไร ก็ต้องบังคับให้แกงในถ้วยมีสภาพมีอากาศให้ได้ ง่าย ๆ คือโดยการกวนช้า ๆ พลิกช้า ๆ ให้อากาศลงไป ทำอย่างนี้ทั้งคืน มันจะไม่บูดแบบมีกลิ่นครับ (รับรองว่าที่บ้านจะหาว่าเป็นบ้าไปแล้ว) ถ้ากวนช้า ๆ ให้อากาศเข้าไปได้แบบนี้ประมาณ 3 - 6 เดือน น้องจุลก็จะจัดการจนแกงกะทิกลายเป็นน้ำใส ๆ จากการที่มีจำนวนน้องจุลขยายตัวมากขึ้น ๆ เพราะน้องจุลในถ้วยแกงมีการปรับตัวและคัดสายพันธุ์คล้าย ๆ กับในกองปุ๋ย ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ - ทีนี้ถ้าเราอยากเร่งกระบวนการธรรมชาติให้เสร็จ สมมติในเวลาสัก 4 ชั่วโมง เราก็ต้องไปหาถังใหม่ที่มีน้ำและมีน้องจุลที่เก่ง ๆ มีประสบการณ์ตรงกับน้ำแกงกะทิ และมีจำนวนมาก ๆ มีการเติมอากาศ (ด้วยอุปกรณ์คล้ายตู้ปลา) การย่อยสลายให้เป็นน้ำใสก็จะเสร็จภายใน 4 ชั่วโมง ซึ่งอันนี้คือหลักการการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศครับ ถ้านักเรียนจะเปลี่ยนสายวิชาไปเป็นคนงานระบบบำบัดน้ำเสียก็บอกมาได้นะครับ จะได้สอนต่อ - ส่วนถ้าเราไม่อยากเปลืองค่าไฟเติมอากาศ แต่อยากเอาน้ำกะทิไปทำให้บูดแบบไม่ใช้อากาศเพื่อเอาก๊าซมีเทนไปใช้เป็นก๊าซชีวภาพ ก็ต้องเอาไปใส่ในถังปิดไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งไว้ 30 วัน ก็จะได้ก๊าซ แต่น้ำที่ออกมาจะเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็น และมีความเป็นกรดอยู่ - เหนื่อย
Liked By: James, ดวงพร, nongparei, nok7959, kmsmily, maprang, กัญจน์, Gnoy, Noey, pp_79, tass08, thepunyapat, patcha.c, natnapat ..^=^กาแฟเย็น, ปากแดงดอทคอม, AMOL, yong9, MeeSook, Ekachaiyan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2012, 10:57:05 AM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ถ้านักเรียนลืมเก็บแกงเข้าตู้เย็นแล้วมันบูด ก็ลองอธิบายคนที่บ้านตามทฤษฎีที่สอนมานะครับ รับรองว่าเคลิ้มเลย
- กระบวนการย่อยสลายของกองปุ๋ยที่ใช้อากาศ ฝรั่งเรียกว่า Composting ตัวปุ๋ยหมักเลยเรียกว่า Compost
- กระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ เรียกว่า Fermentation ครับผม อย่างเช่นการหมักถั่วให้เป็นเต้าเจี้ยว การหมักไวน์ เป็นต้น เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ผมจึงมักจะเลี่ยงการใช้คำว่าปุ๋ยหมัก แต่จะใช้คำว่าปุ๋ยอินทรีย์แทน เพราะไม่อยากให้นักเรียนเข้าใจผิดว่าปุ๋ยหมักมันเกิดจากกระบวนการหมัก เดี๋ยวจะพาลเอาผ้าคลุมกองปุ๋ย มันจะยุ่ง น้องปุ๋ยหายใจไม่ออก
- มันมีปุ๋ยอีกชนิดนึง คือปุ๋ยชีวภาพ เป็นปุ๋ยที่มีน้องจุลยังมีชีวิตอยู่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้น้องจุลไปทำงานเฉพาะอย่าง มีอายุไม่เกิน 6 เดือน ใครจะทำขายก็ต้องไปขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรก่อนครับ ซึ่งผมไม่มีความรู้เลย .... ยาก
- จบ
Liked By: ดวงพร, nok7959, kmsmily, nongparei, maprang, กัญจน์, Gnoy, pp_79, tass08, patcha.c, ปากแดงดอทคอม, natnapat ..^=^กาแฟเย็น, AMOL, yong9, MeeSook, Ekachaiyan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2012, 11:09:06 AM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kmsmily
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 3554
|
ผมจะไปหาน้องจุลเก่งๆให้ยากทำไมครับ รอเอาแกงกระทิที่อาจารย์ค้นนั้นแหละเป็นหัวเชื้อ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4714
คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2012, 02:15:24 PM โดย ไก่โต้ง »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ผมจะไปหาน้องจุลเก่งๆให้ยากทำไมครับ รอเอาแกงกระทิที่อาจารย์ค้นนั้นแหละเป็นหัวเชื้อ  - หัวเชื้อน้องจุลที่ว่าเก่ง ๆ นี่ อย่าให้คุณครูใหญ่ดวงพรเดินผ่านนะครับ ผ่านปุ๊บ ตายปั๊บ แกเค็มครับ น้องจุลไม่ชอบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
maprang
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 283
|
ผมจะไปหาน้องจุลเก่งๆให้ยากทำไมครับ รอเอาแกงกระทิที่อาจารย์ค้นนั้นแหละเป็นหัวเชื้อ  - หัวเชื้อน้องจุลที่ว่าเก่ง ๆ นี่ อย่าให้คุณครูใหญ่ดวงพรเดินผ่านนะครับ ผ่านปุ๊บ ตายปั๊บ แกเค็มครับ น้องจุลไม่ชอบ ครูใหญ่ดวงพรแกทำงานหนักอ่ะครับ นักเรียนก็เิริ่มเยอะ เหงื่อออกมากก็คงต้องมีเค็มๆบ้างครับ อ.tera 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ผมจะไปหาน้องจุลเก่งๆให้ยากทำไมครับ รอเอาแกงกระทิที่อาจารย์ค้นนั้นแหละเป็นหัวเชื้อ  - หัวเชื้อน้องจุลที่ว่าเก่ง ๆ นี่ อย่าให้คุณครูใหญ่ดวงพรเดินผ่านนะครับ ผ่านปุ๊บ ตายปั๊บ แกเค็มครับ น้องจุลไม่ชอบ ครูใหญ่ดวงพรแกทำงานหนักอ่ะครับ นักเรียนก็เิริ่มเยอะ เหงื่อออกมากก็คงต้องมีเค็มๆบ้างครับ อ.tera  - ใช่ครับ กะอยู่แล้วว่า ถ้าแกตาเขียวก็จะบอกแกอย่างนี้แหล่ะครับ เผลอ ๆ เป็นปลื้มเราอีกต่างหาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- เอ้า เร้ว .... นักเรียนตอบเร้ว ทำไมกองปุ๋ยจากขยะของเทศบาลบ้านกลางไม่มีกลิ่น ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
2502
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1558
|
อาจารย์คะ ถึงไม่ใช่นักเรียนที่ส่งการบ้าน ก็ขอตอบหน่อยได้ไหมคะ ตามที่อาจารย์อธิบายคุณภาพของน้องจุลมา คิดว่าน่าจะเป็นเพราะอานุภาพของน้องจุลเขาล่ะค่ะ ก็คล้าย ๆ กับนักเรียนบางคนที่เอาผักจากตลาดมาทำปุ่ย ถ้าทิ้งไว้เฉย ๆ ก็มีน้ำออกมาและมีกลิ่นด้วย แต่อาจารย์แนะนำให้ทำวิธีของแม่โจ้ ก้เลยปลอดกลิ่น ปลอดแมลงวัน ไม่ทราบว่าเข้าใจตามนี้ถูกต้องไม๊คะ อธิบายไม่ค่อยเก่งด้วยซิคะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|