thepunyapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1750
|
- วันนี้มีโจทย์มาถามครับ หลังจากที่เรียนมา 20 วัน ว่าสองรูปนี้เป็นวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องอย่างไร ขอให้ทุกท่านลองช่วยตอบนะครับ อย่าได้อาย และอย่าลอกกันเด้อ   แงๆ... :'(ไม่มีใครให้ลอกเลย ตามสูตรแม่โจ้ ผิดครับ อาจารย์ เพราะทั้งสองวิธี อากาศไม่สามารถหมุนวนได้ อากาศเข้าด้านข้างไม่ได้เพราะถูกกั้น และไม่มีอากาศเข้าเพราะถูกปิด คราวนี้น่าจะถูกนาาาาาาาา....
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 10:43:55 PM โดย thepunyapat »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
konthain(นพ)
Administrators
  
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 9908
ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ
|
- วันนี้มีโจทย์มาถามครับ หลังจากที่เรียนมา 20 วัน ว่าสองรูปนี้เป็นวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องอย่างไร ขอให้ทุกท่านลองช่วยตอบนะครับ อย่าได้อาย และอย่าลอกกันเด้อ   มาขอตอบบ้างนะครับจากที่นั่งอ่านและเรียนรู้ จากท่านอาจารย์ tera มาหลายวันแล้ว กองปุ๋ยทั้ง 2 แบบในรูปเป็นวิธีหมักปุ๋ยที่ไม่ใช่แบบของแม่โจ้ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลายเป็นปุ๋ย เพราะขาดปัจจัยไป 2 เรื่องคือ อากาศและความชื้น  รูปแรกนี่ดูว่ากองปุ๋ยไม่มีความชื้นเลย คงไม่มีการรดน้า(อาจจะรดโดยฝนทางด้านบนบ้างแต่ไม่พอเพียงแน่นอน) และด้านข้างก็ปิดไว้ขาดการหมุนเวียนของอากาศ   รูปที่สองนี่ยิ่งแล้วใหญ่ขาดทั้งอากาศและความชื้นที่ควรจะได้รับ กว่าจะกลายเป็นปุ๋ยได้น่าจะใช้เวลามากกว่า 4-6 เดือนและคงจะย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้ไม่หมดทั้งกอง  อันนี้ผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่าครับท่านอาจารย์ tera ครับ 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2012, 02:49:02 AM โดย konthain(นพ) »
|
บันทึกการเข้า
|
สำนึกดีครับรับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 
|
|
|
Gnoy
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2078
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2012, 11:58:07 AM โดย Gnoy »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ขอให้นักเรียนและท่านสมาชิกที่อ่านอยู่ ช่วยกันตอบนะครับ ถือว่าฝึกสมองก็แล้วกัน วันนี้ครูน้อย tera จะยังไม่เฉลย ให้นักเรียนทะเลาะ เอ๊ย... แลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับ ตอนนี้กำลังเตรียมโจทย์ใหม่อยู่ - ภารโรง thepunyapat กับนักเรียนหนูจีน้อย พูดกันดี ๆ นะวันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
nongparei
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 585
|
ภาพบน กอง 4 เหลี่ยม อากาศหมุนเวียนเข้าในกองไม่ได้ ไม่น่าถูกตามสูตาอาจารย์
ภาพล่าง เขาน่าจะไปเร็วกว่าพวกเรา กองปุ๋ยรูป3เหลี่ยมอาจจะเป็นปุ๋ยเรียบร้อยแล้วรอให้แห้งแต่ฝนจะตกเลยต้องคลุมไว้ก่อน ก็เป็นได้นะครับ หน้านี้เป็นหน้าฝน อยากจะตกวันไหนก็ตกไม่รอ กรมอุตุ บอกก่อน
ผิดถูกอย่างไร รออาจารย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
patcha.c
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1100
|
กองปุ๋ยตีกรอบ คล้ายของฝรั่งทำเลยค่ะ composting แบบทำที่บ้าน เขาก็ตีกรอบไม้เอา ได้ปุ๋ยนานเหมือนกัน ขึ้นกับว่าใส่อะไรลงไปบ้าง เวลาใช้ก็ขุดเอาล่างๆมาใช้ก่อน ข้างบนก็ใส่เรื่อยๆ พลากสติกดำนี่ แบบ รดด้วย พด เลยค่ะ ที่ต้องคลุมให้มันอับๆชื้นๆ แต่เราต้องเปิดมากลับกองด้วย สองวิธีข้างต้น ก็เป็นปุ๋ย แต่ไม่เหมือนวิธีของอาจารย์ค่ะ ปล. ยังเช้าอยู่เลยยังไม่แอบหลับในห้องค่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Gnoy
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2078
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2012, 11:55:49 AM โดย Gnoy »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Gnoy
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2078
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
orogaro
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 73
|
ขอนอกเรื่องนิดนึงนะครับ คือว่าช่วงนี้เข้าหน้าฝนแล้ว
ขนุนที่ปลูกไว้ ช่วงหน้าแล้งก็ทำคันหลุมรอบๆ เพื่อเวลารดน้ำแล้วน้ำจะได้ขังไม่กระจายไปไหน แต่พอหน้าฝนแล้วน้ำมันขังมาก ถ้าผมจะเอาดินไปพอกไว้บริเวณโคนต้นขนุนจะมีผลกระทบต่อต้นมั้ยครับ
ปล. จริงไม่ได้มีแค่ขนุนอย่างเดียว เพราะปลูกพริกขี้หนูสวนไว้ด้วย ตอนนี้โคนแฉะมาก จนกลัวว่าจะเน่า เลยไม่รู้ว่าจะแก้วิธีไหนดี เลยมาถามดูครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4714
คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4714
คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้
|
ขอนอกเรื่องนิดนึงนะครับ คือว่าช่วงนี้เข้าหน้าฝนแล้ว
ขนุนที่ปลูกไว้ ช่วงหน้าแล้งก็ทำคันหลุมรอบๆ เพื่อเวลารดน้ำแล้วน้ำจะได้ขังไม่กระจายไปไหน แต่พอหน้าฝนแล้วน้ำมันขังมาก ถ้าผมจะเอาดินไปพอกไว้บริเวณโคนต้นขนุนจะมีผลกระทบต่อต้นมั้ยครับ
ปล. จริงไม่ได้มีแค่ขนุนอย่างเดียว เพราะปลูกพริกขี้หนูสวนไว้ด้วย ตอนนี้โคนแฉะมาก จนกลัวว่าจะเน่า เลยไม่รู้ว่าจะแก้วิธีไหนดี เลยมาถามดูครับ
ถ้าได้ขุดคันระบายน้ำได้ก็ระบายเลยค่ะเพราะน้ำขังนานๆไม่ดีค่ะ ขนุนตายได้นะถ้าต้นยังเล็กๆ สำหรับพริกนั้นน้ำขังนานๆไม่ได้เลยค่ะ มะละกอด้วย ขุดคันระบายก่อนค่ะช่วงหน้าฝน  ;Dตอบจากประสบการณ์ที่ปลูก ขนุนที่สวนค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- เฉลยข้อสอบครับ - ข้อที่ 1 ถูกทุกคนเลยครับ  การทำปุ๋ยแบบนี้อากาศเข้าด้านข้างไม่ได้ การทำกองต่ำจะเก็บความร้อนไม่ได้ สูตรนี้ไม่เน้นสอนเรื่องความชื้น ให้พลิกกลับบ้างเมื่อว่าง นานครับถึงจะได้ปุ๋ย และได้ปุ๋ยทีนึงก็ได้น้อยไม่พอกับความต้องการ จากรูปน่าจะได้ปุ๋ยสัก 300 กก. - ข้อนี้มีผจก.นพ คุณจีน้อย คุณ nongparei คุณปากแดง คุณภารโรง thepunyapat ตอบ โดยมีคุณผัดฉ่าตอบตีกรรเชียง วนไปวนมาไม่ยอมตอบซักที ส่วนคุณนพตาดีถึงกับมองออกว่าความชื้นไม่เพียงพอ - ข้อที่ 2 ถูกทุกคนเหมือนกัน การคลุมกองปุ๋ยนี่บางสูตรเชื่อว่าจะทำให้ปุ๋ยเน่าและเป็นปุ๋ยได้เร็ว และไม่ต้องดูแลความชื้นบ่อย ต้องพลิกกองเป็นบางครั้ง การแล้วเสร็จช้ากว่ามาก ปุ๋ยมีกลิ่นเหม็นแอมโมเนีย (ยกเว้นการคลุมกองปุ๋ยตามวิธีของคุณ kmsmily ที่มีการเจาะรูด้วยที่สามารถระบายอากาศได้) เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าปุ๋ยหมักปกติจะต้องเน่า จะต้องมีกลิ่น ต้องมีแก๊ส - คุณ nongparei ตอบใกล้เคียงกับที่มาที่ไปของภาพได้อย่างน่ากลัวครับ คุณ nongparei ตอบว่า " เขาน่าจะไปเร็วกว่าพวกเรา กองปุ๋ยรูป3เหลี่ยมอาจจะเป็นปุ๋ยเรียบร้อยแล้วรอให้แห้งแต่ฝนจะตกเลยต้องคลุมไว้ก่อน ก็เป็นได้นะครับ หน้านี้เป็นหน้าฝน" ซึ่งข้อเท็จจริงคือ กองปุ๋ยนี้เป็นแบบวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เกษตรกรดูแลได้ถูกต้องกำลังรอให้แห้ง ทีนี้ฝนจะตกแกเลยรีบไปหาผ้ามาคลุมกลัวปุ๋ยที่แห้งจะกลายเป็นไม่แห้ง เอ๊ย... จะเปียก จะเสียเวลาตากแดดอีก พอดีผมไปตรวจงานเลยถ่ายรูปเอาไว้ ไม่คิดว่าจะได้มาสอนออนไลน์และมีเด็กนักเรียนน่ารักอย่างนี้ กองปุ๋ยยาวและสูงเป็นรูปสามเหลี่ยมแบบนี้ในสูตรอื่นไม่มีใครทำครับ วันหลังถ้าเจอก็ให้รู้ว่าเป็นของโรงเรียนเรานะครับ - อยากให้นักเรียนสังเกตนิดนึงว่า วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบอื่น ๆ มีโอกาสที่จะไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศ เนื่องจากเป็นการถ่ายทอดและสังเกตตาม ๆ กันมา ไม่ได้วิจัยและส่งเข้าห้องแล็ปวิเคราะห์แบบเรา แต่รู้ไหมครับว่าปุ๋ยหมักพวกนี้เมื่อเอาไปใช้ส่วนใหญ่ก็ส่งผลดีกับพืชทุกที เกษตรกรมากมายทำอินทรีย์ได้ผลก็ด้วยวิธีทำปุ๋ยหมักของเขา....... สรุปว่า พืชไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย ต้องการแค่ความอุดมสมบูรณ์และอินทรีย์วัตถุของดินเท่านั้น ที่เหลือธรรมชาติจัดการให้ วิธีของพวกเราเป็นการลดการพลิกกลับ ลดเวลาแล้วเสร็จ (ควบคุมได้) และได้ปุ๋ยทีละมาก ๆ ที่แตกต่างกันก็มีแค่นี้ครับ ผมหวังว่าความง่ายและข้อดีของมันจะจูงใจให้เกษตรกรและพวกเราหันมานำเศษพืชที่ไร้ประโยชน์มาผลิตเป็นปุ๋ยแล้วนำไปใช้เองเพื่อลดต้นทุนเพิ่มรายได้ครับผม
Liked By: konthain(นพ), Gnoy, ดวงพร, eight, nongparei, naturefarm, pp_79, พี่ณัฐ, tass08, natnapat ..^=^กาแฟเย็น, friendy, Dui202, AMOL, aun17, MeeSook, o_stephen, Ekachaiyan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2012, 04:44:39 PM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Gnoy
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2078
|
ขอนอกเรื่องนิดนึงนะครับ คือว่าช่วงนี้เข้าหน้าฝนแล้ว
ขนุนที่ปลูกไว้ ช่วงหน้าแล้งก็ทำคันหลุมรอบๆ เพื่อเวลารดน้ำแล้วน้ำจะได้ขังไม่กระจายไปไหน แต่พอหน้าฝนแล้วน้ำมันขังมาก ถ้าผมจะเอาดินไปพอกไว้บริเวณโคนต้นขนุนจะมีผลกระทบต่อต้นมั้ยครับ
ปล. จริงไม่ได้มีแค่ขนุนอย่างเดียว เพราะปลูกพริกขี้หนูสวนไว้ด้วย ตอนนี้โคนแฉะมาก จนกลัวว่าจะเน่า เลยไม่รู้ว่าจะแก้วิธีไหนดี เลยมาถามดูครับ
ถ้าได้ขุดคันระบายน้ำได้ก็ระบายเลยค่ะเพราะน้ำขังนานๆไม่ดีค่ะ ขนุนตายได้นะถ้าต้นยังเล็กๆ สำหรับพริกนั้นน้ำขังนานๆไม่ได้เลยค่ะ มะละกอด้วย ขุดคันระบายก่อนค่ะช่วงหน้าฝน  ;Dตอบจากประสบการณ์ที่ปลูก ขนุนที่สวนค่ะ ช่วงหน้าฝน ต้องปรับดินบริเวณต้นไม้ที่ปลูกค่ะ จากเดิมหน้าร้อนที่ต้องปรับเป็นรูปกะทะหงาย เพื่อให้เป็นแอ่งรับน้ำ พอหน้าฝน ก็ต้องไปพรวนดิน ตรงโคนใหม่ให้เป็นรูปกะทะคว่ำ หรือหลังเต่า เพื่อไม่ไห้มีน้ำขัง เพราะหากท่วมขังนาน ๆ อันตรายค่ะ และถ้าให้ดี หาจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มาผสมดินที่โคนต้น หรือ ผสมน้ำราดที่โคนก็ดีค่ะ จะได้ช่วยป้องกันโรครากเน่า โคนเน่าได้อีกระดับนึง หรือถ้าจะเอาแบบไม่มีเวลาจริง ๆ ก็เซาะให้เป็นร่องน้ำไหลออกจากโคนต้นไม่ให้ท่วมขังค่ะ แล้วพอหมดฝน ก็ปรับใหม่อีกทีให้เป็นกะทะหงายเพื่อรับน้ำตามเดิม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- มีอีกแนวหนึ่งในการทำปุ๋ยอินทรีย์ คือทำในกรงตาข่ายเหล็ก หรือในเสวียนไม้ไผ่ ที่ไม่มีก้น ถ้าต้องการเสร็จใน 1 เดือนจะต้องออกกำลังกาย (แต่ถ้าไม่รีบใช้ ก็ไม่ต้องเสียกำลัง เอ๊.... ยังไง) - วิธีการ เอาตาข่ายเหล็กหรือเสวียนไม้ไผ่ทำเป็นทรงกระบอก ที่ไม่มีก้น เส้นผ่านศูนย์กลางสัก 70 ซม. สูงสัก 1.2 เมตร เอาใบไม้กับขี้วัว 3 ต่อ 1 ใส่เข้าไป ตอนใส่ก็รดน้ำด้วย ทุก ๆ วันให้ดึงตาข่ายขึ้น วัสดุก็จะร่วงออกมา ตักวัสดุเข้าไปในกรงใหม่ แค่นี้ก็ได้ออกกำลังกายแล้ว ถ้าความชื้นเริ่มหายก็เติมน้ำ - ถ้าทำได้ทุกวันจะได้ปุ๋ยใน 1 เดือน หลังจากนั้นทำให้แห้ง แล้วค่อยเอาไปใช้ - ถ้าไม่มีแรงก็ให้ทิ้งไว้อย่างนั้น ไม่ต้องยกกรงออก กรงจะมีก้นหรือไม่ก็ได้ แต่ให้รดน้ำทุกวัน คอยเจาะด้านบนกองปุ๋ยเพื่อใส่น้ำเข้าไป ข้อสำคัญว่าจะต้องคอยล้วงเข้าไปเช็คความชื้นด้วย ถ้ามีก้นที่โปร่งจะช่วยไม่ให้มีน้ำขังที่ก้นถัง วิธีนี้จะเสร็จช้าหน่อย คือ ควบคุมเวลาแล้วเสร็จไม่ได้       - อยากให้สมาชิก กพพ.ที่อ่านกระทู้นี้ และนักเรียนโรงเรียน กพพ.วิทยาทุกท่าน (รวมคุณครูใหญ่ ผจก. ภารโรง) ลองวิจารณ์การทำปุ๋ยแบบนี้ ว่าสอดคล้องกับทฤษฎีการทำปุ๋ยอินทรีย์หรือไม่อย่างไร (ห้ามวิจารณ์ในทำนองนี้ ...ว่าจะเหนื่อย หรือไม่มีแรง หรือจะหาซื้อตาข่ายไม่ได้นะครับ) - ตาข่ายนี้ทำได้ไม่กี่ครั้งก็บุบบี้ไปแล้วครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2012, 05:32:24 PM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|