tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ขอขอบคุณอาจารย์ที่มอบสิ่งดีๆ มาให้สำหรับความพอเพียงครับ  ผมขออนุญาตสอบถามอาจารย์สักสองข้อครับ 1.ฟางข้าวที่ทำเห็ดฟางแล้ว(โรงเรือน)มันยังมีปุ๋ยยูเรียหลงเลืออยู่และอื่นๆอีกถ้าเราเอามาทำมันจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่เจือปนมั้ยครับ 2.มูลของเราเองทำได้มั้ยครับ(ถ้าตักจากถังส้วมซึม) ขออภัยครับที่ถามเช่นนี้ - ฟางข้าวเหลือจากทำเห็ดแล้วจะเปื่อยไปส่วนหนึ่ง เมื่อเอามาเข้ากระบวนการจะเป็นปุ๋ยง่ายกว่าฟางปกติครับ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ไม่ถือว่าถูกเจือปนครับ - มูลของเราทำได้ครับ แต่ให้ระวังเชื้อโรคที่อาจปลิวเข้าจมูก ปาก ตา และติดมือ ติดเสื้อผ้า ที่เมืองจีนเขาทำกันเป็นเรื่องปกติครับ จนห้องส้วมที่บ้าน ห้องส้วมสาธารณะ หรือตามปั๊มน้ำมันของบ้านเขาจะมีการออกแบบที่ใช้น้ำไม่มาก จะได้ขนได้สะดวก
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 23, 2012, 08:32:22 PM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ไม่มีขี้วัว เอาขี้หมู หรืออย่างได้ไหมครับ
- ขี้หมู ขี้ไก่ ขี้ช้าง ได้หมดครับ ยกเว้นที่ออกมาจากไบโอแก๊ซ เพราะจุลินทรีย์ไม่เหลือแล้ว - ถ้ามีขี้ค้างคาว เอาไปขายเหอะครับ ได้ราคาดี ฮิฮิ รบกวนถามอาจารย์ว่ามูลจากไบโอแก๊ส ที่ว่าจุลินทรีย์ไม่เหลือนี่ หมายถึงมันใช้ไม่ได้หรือไม่มีความเป็นปุ๋ยครับ ถามต่ออีกนิดถ้าเทียบระหว่างมููลสดๆที่ได้จากสัตว์ กับมูลที่ผ่านระบบไปโอแก๊ส ถ้าผมจะซื้อมาใช้ในสวนควรเลือกซื้อแบบไหนครับ และตัวไหนให้คุณค่าทางปุ๋ยมากกว่ากันครับ - สิ่งที่ออกมาจากบ่อไบโอแก๊สมีความเป็นปุ๋ยครับ เมื่อทิ้งให้แห้งก็ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้เลย - แต่มูลที่ออกจากไบโอแก๊สไม่มีจุลินทรีย์ที่จะใช้เป็นหัวเชื้อในกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ครับ จะสู้มูลสดไม่ได้ - มูลจากไบโอแก๊สถ้าแห้งแล้ว เป็นปุ๋ยที่ดีกว่าการใช้มูลสัตว์สด เพราะมูลสัตว์สดเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ การใช้ในปริมาณที่มากไปอาจส่งผลเสียต่อพืชได้ครับ แต่ถ้าใช้ในปริมาณไม่มากและมีการทิ้งช่วงในแปลงก็ไม่มีปัญหาครับ
Liked By: konthain(นพ), tung3955, ดวงพร, พี่ณัฐ, ครูซอส, AMOL, yong9, Karamar, Ekachaiyan, fajung, lief36
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ผมอยากทราบว่าการปล่อยให้เศษไม้เศษหญ้าใบไม้ผุพังเน่าเปื่อยแบบธรรมชาติกับนำมาทำปุ๋ยหมักมันต่างกันตรงไหนครับ อยากรู้คำตอบจะได้อธิบายให้คนอื่นฟังครับ
- เศษใบไม้เศษหญ้าเมื่อผุพังก็เป็นปุ๋ยอินทรีย์ครับ แต่มีคุณภาพที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับมาตรฐานของประเทศไทย เป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่ใช้เวลานาน อาจ 1-2 ปี หรือมากกว่า - การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีต่าง ๆ เป็นการเร่งกระบวนการให้แล้วเสร็จเร็ว ร่นเวลาให้เหลือ 1-6 เดือน และให้มีคุณภาพสูงเพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูก โดยการกำหนดให้มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยในกระบวนการที่เหมาะสม เพื่อให้มีการเปลี่ยนสภาพเศษพืชให้เป็นเหมือนฮิวมัสในเวลาอันสั้นครับ - ในป่าตามธรรมชาติ เศษพืชที่ผุพังจะกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดินและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน และถึงแม้ว่าจะมีคุณภาพสู้มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ไม่ได้ แต่ในระยะยาว 5-10 ปี ดินป่าก็มีความอุดมสมบูรณ์ได้ครับ จนมีบางสูตรให้เข้าป่าไปเอาจุลินทรีย์ป่ามาเป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักไงครับ
Liked By: tung3955, ดวงพร, พี่ณัฐ, AMOL, aun17, Karamar, tom_freed, Ekachaiyan, Sanya_Sr, fajung, lief36
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 23, 2012, 08:36:27 PM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ถ้าใช้แกลบดิบเป็นวัตถุดิบ เวลาต้องมากกว่า2เดือนใช่ไหมครับ
- นานกว่า 2 เดือนครับ อาจเป็น 6-8 เดือน ไม่น่าสนใจครับ คล้าย ๆ กับขี้เลื่อยหลังจากเพาะเห็ดครับ - แต่ถ้าเราเอามาแซมในกระบวนการบ้าง เช่น เศษใบไม้ 3 ส่วนหนา 10 เซ็นติเมตร มูลสัตว์ 1 ส่วนวางทับ แล้วเอาแกลบหรือขี้เลื่อยเพาะเห็ดอีก 1 ส่วนวางทับแล้วรดน้ำ ทำอย่างนี้ 15 ชั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม แบบนี้ภายใน 2 เดือนเราก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปริมาณมากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อดินเพาะปลูกที่จะร่วนซุยเมื่อนำไปใช้ (แต่แกลบและขี้เลื่อยเพาะเห็ดจะไม่เปื่อยสมบูรณ์นะครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
สมัครด้วยคนครับ ผมใช้วัสดุเปลือกและซังข้าวโพดและขี้หมู เพื่อจะใช้ในสวนส้มเขียวหวาน(ส้มสีทองเมืองน่าน) ยินดีต้อนรับสมาชิกที่จะเข้าไปเยี่ยมให้กำลังใจครับ
- คุณครูใหญ่ดวงพรครับ มีนักเรียนมาสมัครใหม่ครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tong3829
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 913
|
ถามอีกครับ ที่บอกว่าปุ๋ยที่ได้ ห้ามนำมาใส่ต้นไม้โดยตรงแบบไม่ผสมอะไรเลย เพราะอะไรครับ เข้าใจแบบภาษาชาวบ้านว่ามันเค็มแต่มันกมาจากธรรมชาติ100% แล้วมีอัตราส่วนไหมครับ เช่นปลูกไม้กระถาง ดินกี่ส่วนปุ๋ยหมักกี่ส่วน ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น อัตราส่วนยังไงครับ 50/50ได้ไหมครับ อีกคำถามครับ บางแห่งเค้าเอาขี้เถ้าแกลบมาหมักโดยผสมปุ๋ยคอก แสดงว่าผิดหลักการใช่ไหมครับ การใส่ปุ๋ยหมักแบบของ อ.นี้ ใช้หว่านหรือฝังกลบครับ วิธีไหนดีสุดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ถามอีกครับ ที่บอกว่าปุ๋ยที่ได้ ห้ามนำมาใส่ต้นไม้โดยตรงแบบไม่ผสมอะไรเลย เพราะอะไรครับ เข้าใจแบบภาษาชาวบ้านว่ามันเค็มแต่มันกมาจากธรรมชาติ100% แล้วมีอัตราส่วนไหมครับ เช่นปลูกไม้กระถาง ดินกี่ส่วนปุ๋ยหมักกี่ส่วน ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น อัตราส่วนยังไงครับ 50/50ได้ไหมครับ อีกคำถามครับ บางแห่งเค้าเอาขี้เถ้าแกลบมาหมักโดยผสมปุ๋ยคอก แสดงว่าผิดหลักการใช่ไหมครับ การใส่ปุ๋ยหมักแบบของ อ.นี้ ใช้หว่านหรือฝังกลบครับ วิธีไหนดีสุดครับ
- คำถามนี้ถ้าสมาชิกท่านอื่นจะช่วยเสริมก็จะขอบคุณมากนะครับ - ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ถ้านำมาใช้แทนวัสดุปลูกในกระถาง ต้นไม้จะตายเรียบ เพราะในปุ๋ยอินทรีย์มีแร่ธาตุหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) มีธาตุอาหารรอง (แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์) และจุลธาตุ ถ้าใช้ล้วน ๆ ธาตุอาหารเหล่านี้จะซึมเข้ารากพืช และทำให้พืชสำลักธาตุอาหารตายครับ - การนำปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้ก็ไม่ต้องผสมอะไรครับ เพียงแต่ใช้ในสัดส่วนที่พอสมควร เช่น กรมวิชาการเกษตรกำหนดให้ใช้ 300 กิโลกรัม ถึง 3,000 ตันต่อไร่ (แล้วแต่คุณภาพดินเพาะปลูก) ส่วนใหญ่ก็พูดกันที่ 1 ตันต่อไร่ ก็แปลว่า 0.6 กิโลกรัมต่อตารางเมตรครับ ในปริมาณนี้ถือว่าเป็นการเจือจางอยู่แล้วครับ ไม่เข้มข้นอะไร - ที่บ้านผมใช้ดิน 10 ส่วนกับปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วนโดยปริมาตรสำหรับปลูกไม้กระถาง สำหรับไม้ยืนต้นที่ไม่เคยใส่ปุ๋ยอินทรีย์เลยถ้าเป็นต้นไม้ใหญ่ผมก็อยากใช้ 50 กิโลต่อต้น ใช้ในทรงพุ่ม (ถ้าทำเองก็ไม่แพง แต่ถ้าต้องซื้อก็น่าจะแพงมาก) ถ้าต้นเล็กก็ใช้ลดลง - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควรพรวนให้อยู่ในดิน ถ้าแค่โรยที่ผิวดินจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยครับ - กรณีใช้ขี้เถ้าแกลบในการเพาะปลูก คาดว่าผู้ใช้ต้องการลดความเป็นกรดของดิน แต่ถ้าเอาใส่ในกองปุ๋ยผมว่าไม่น่าจะถูกต้องครับเพราะมีโอกาสที่จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยจะตายจากความเป็นด่างที่มากเกินไป
Liked By: konthain(นพ), tung3955, tong3829, เอ, พี่ณัฐ, AMOL, yong9, Karamar, tom_freed, Ekachaiyan, fajung, lief36, Chathree
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 23, 2012, 11:05:45 PM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
thepunyapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1750
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
thepunyapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1750
|
ลงชื่อสมัครประกวดกองปุ๋ยนะครับ เริ่มส่งการบ้าน ขอเวลาอีก 1 อาทิตย์ถัดไปนะครับ ขอรวบรวมเศษพืชก่อนนะครับ
ของผมทำไว้แล้ว... เอามาส่งได้ไหมคร้าบบบบ.... ถ้าให้ทำใหม่ ต้องรอฟางข้าวปีหน้าแล้วอ่ะครับ...  ปีนี้ได้มาแค่ 3 คันอีแต๋น ทำหมดแล้วคร้าบบบบบ..... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ผมมีเรื่องจะเล่าครับ - มีวันนึงเมื่อ 2 ปีก่อน ผมได้รับโทรศัพท์เข้ามือถือ ปรากฏว่าเป็นผู้หญิงชื่อทวี โทรจากบุรีรัมย์ อยากทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้ - ผมเข้าใจว่าพี่เขาคงได้ยินข่าวเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์ ก็เลยโทรดั้นด้นมาที่มหาวิทยาลัย แล้วเจ้าหน้าที่ก็คงให้เบอร์โทรไป - สรุปว่าพี่เขามีที่นาเคยให้เขาเช่า ตอนนี้จะไม่ให้เช่าแล้ว จะทำเอง มีควายมีขี้ควาย ก็อยากทำปุ๋ยแบบแม่โจ้จะได้ไม่ต้องพลิกกลับกอง - ผมก็เลยสอนวิธีทำให้ทางโทรศัพท์ แล้วก็ให้ไปเตรียมวัสดุให้พร้อม ถ้าพร้อมเมื่อไรก็ให้โทรมา จะได้ให้คำปรึกษาอีก - แกทำกองปุ๋ยจากฟางข้าวและขี้ควายครับ - ก็เป็นอย่างนี้จนพี่เขาขึ้นกองปุ๋ยได้ 1 กอง ก็กำชับให้ขึ้นกองเพิ่ม กำชับเรื่องความชื้น (ทางโทรศัพท์) ช่วงนี้ก็เลยรู้ว่าแกเกิดปีเดียวกันกับผมครับ ปีจอ ก็เลยเหมาในใจว่าเราเป็นเพื่อนเสี่ยวกัน - แล้วก็มีเรื่องตลกเกิดขึ้นสองเรื่อง เรื่องที่หนึ่งครับ มีวันนึงพี่ทวีโทรมาฟ้องว่า มีเพื่อนบ้านมารุมล้อมกองปุ๋ยของแก และพนันกันว่าจะได้ปุ๋ยหรือไม่ ฟางจะเป็นปุ๋ยหรือไม่ - ข้อนี้ทำให้คิดได้ว่า เรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์เดี๋ยวนี้กลายเป็นสิ่งที่เกษตรกรของไทยไม่รู้จักและไม่เข้าใจ เกษตรกรรู้อย่างเดียวว่าทำนาต้องใส่ยูเรีย ผมคิดว่าเกษตรกรส่วนใหญ่คงมองคนทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เนี่ยเป็นพวกไม่เต็มบาท คงคิดว่าคนอะไรมัวไปทำเรื่องยุ่งยากอะไรก็ไม่รู้ ทำไมไม่ทำให้มันง่าย ๆ อย่างเช่นขับรถไปซื้อปุ๋ยเคมี เดี๋ยวเดียวก็ได้ ไม่เห็นต้องเปลืองแรงเปลืองเวลาเลย เพราะฉะนั้น พอเห็นพี่ทวีทำกองปุ๋ย เพื่อนบ้านก็เลยตื่นเต้นและตั้งวงพนันกันใหญ่ - ข้อที่สองไว้พรุ่งนี้เช้านะครับ 
Liked By: tung3955, ดวงพร, konthain(นพ), กัญจน์, พี่ณัฐ, eight, AMOL, aun17, supischa, Karamar, Ekachaiyan, woso, fajung, lief36
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2012, 06:49:25 AM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Stream
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 65
|
ผมมีน้ำลันจากบ่อก๊าซชีวภาพ สามารถใช้แทนน้ำเปล่าในการราดกองปุํยหรือเปล่าครับอาจารย์ เข้่าใจว่าน่าจะเพิ่มธาตุอาหารให้กองปุํยเป็นไปได้ไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ลงชื่อสมัครประกวดกองปุ๋ยนะครับ เริ่มส่งการบ้าน ขอเวลาอีก 1 อาทิตย์ถัดไปนะครับ ขอรวบรวมเศษพืชก่อนนะครับ
ของผมทำไว้แล้ว... เอามาส่งได้ไหมคร้าบบบบ.... ถ้าให้ทำใหม่ ต้องรอฟางข้าวปีหน้าแล้วอ่ะครับ...  ปีนี้ได้มาแค่ 3 คันอีแต๋น ทำหมดแล้วคร้าบบบบบ.....  - ลองหาใบไม้จากสวนอื่น ขอฟางจากนาข้างทางหรือเพื่อนบ้าน มาทำดีไหมครับ จะได้เห็นรูปเพื่อให้ครู tera ติชมไงครับ พอปีหน้ามีฟางของเรา ก็เก่งพอดีไงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ผมมีน้ำลันจากบ่อก๊าซชีวภาพ สามารถใช้แทนน้ำเปล่าในการราดกองปุํยหรือเปล่าครับอาจารย์ เข้่าใจว่าน่าจะเพิ่มธาตุอาหารให้กองปุํยเป็นไปได้ไหมครับ
- ได้ครับผม ดีเลยครับ แถมน้ำจะได้ไม่ไหลลงคลองมาก แต่ต้องทำใจนิดนึงนะครับ ว่ากองปุ๋ยเราจะมีกลิ่น ไม่เหมือนของสมาชิกอื่น ในน้ำนั้นยังมีไนโตรเจนเหลืออยู่ครับ - ใครมีน้ำขี้หมูก็เหมือนกันครับ ได้ไนโตรเจนเพิ่ม แต่กองปุ๋ยจะมีกลิ่นบ้างเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- เรื่องตลกจากพี่ทวี แห่งบุรีรัมย์ต่อนะครับ - เรื่องที่สอง พอพี่ทวีได้ปุ๋ย แกก็เอาไปใส่นา แกจงใจแกล้งเพื่อนบ้านโดยเอาปุ๋ยอินทรีย์ไปใส่ในนาเน้นข้างถนนในหมู่บ้านโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อที่เพื่อนบ้านจะได้เห็น แกโทรมาบอกว่าต้นข้าวของแกเขียวดี ต้นแข็งแรงและสูง (เป็นที่เข้าใจกันดีว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไป จะไปปรับสภาพดิน ที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ตกค้างในดิน จากที่อยู่ในรูปไม่ละลายน้ำให้กลายเป็นอยู่ในรูปละลายน้ำที่ต้นข้าวสามารถเอาไปใช้ได้ เลยได้ประโยชน์สองเด้ง) แต่เรื่องที่ตลกคือ แกฟ้องว่าคนในหมู่บ้านรวบรวมเอาขี้ควายขายให้กับคนหนองคายที่มาซื้อถึงหมู่บ้าน ผมก็แบบว่า ... อ้าว... แล้วคนหนองคายซื้อเอาไปทำไม พี่แกตอบว่าซื้อเอาไปใส่ต้นยางพารา ผมก็ ... อ้าว (อีก) .. ถามต่อว่า แล้วถ้าหมู่บ้านเราจะทำปุ๋ยอินทรีย์ใส่ต้นข้าวแล้วจะเอาขี้ควายที่ไหนมาทำล่ะ พี่แกก็ตอบว่า ไม่รุ๊ ... ก็เห็นพวกนั้นพอได้เงินก็ออกไปซื้อปุ๋ยยูเรียกันนี่ แต่ของแกคิดว่าจะไปซื้อควายเพิ่มอีกสัก 2 ตัว จะเอาขี้มันมาทำปุ๋ย  เพราะเห็นแล้วว่าแนวทางนี้ดี ประหยัดดี ข้าวก็ได้เท่าเดิม ที่สำคัญคือดินดีขึ้นมาก แกบอกว่าถ้าผ่านมาให้มากินข้าวและนอนบ้านแก (ขอบคุณครับเสี่ยว) - ได้ข้อคิดอะไรบ้างครับจากเรื่องที่สองนี้ ผมคิดว่า พี่ทวีอยู่ไกลถึงบุรีรัมย์ แต่ดวงตาเห็นธรรม อยากพ้นทุกข์ เชื่อใจในครู อุตสาห์หาเบอร์โทรครูจนได้ เรียนการทำปุ๋ยทางโทรศัพท์ ตั้งอกตั้งใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำตามที่ครูบอก แล้วก็สำเร็จ หลุดพ้นจากบ่วงทุกข์ (ว่าไปนั่น) ต้นทุนต่ำ ดินดี ได้ข้าวเหมือนกัน - แต่สำหรับเพื่อนบ้าน ขนาดที่เห็นพี่ทวีประสบความสำเร็จ กลับไม่มีใครอยากเดินมาในทางนี้ กลับปฏิเสธที่จะยอมเปลี่ยนแปลง เหล่าเพื่อนบ้านก็เลยจมอยู่ในวงจรเดิม ๆ "ปัญหาเดิม ถ้าแก้ด้วยวิธีเดิม ก็จะไม่มีวันสำเร็จ.... ปัญหาเดิม ต้องแก้ด้วยวิธีใหม่จึงจะสำเร็จ" - เคยมีคนถามผมว่า ถ้าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ผมจะมีแนวทางอย่างไร ผมมักจะตอบว่า ของแบบนี้ต้องรอให้พวกเขามีดวงตาเห็นธรรม มีปัญญา เห็นทางพ้นทุกข์เสียก่อน แล้วพวกเขาจะยอมเปลี่ยนเอง สังเกตดูสิครับ บรรดาปราชญ์หรือผู้นำกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ เขาเหล่านี้ล้วนดำเนินชีวิตแบบสวนกระแส สวนสังคม สวนกับเพื่อนบ้าน ตั้งแต่ตอนเริ่มแรกไม่ใช่หรือครับ โดยมีความสำเร็จของคนอื่นเป็นเครื่องยืนยัน ของแบบนี้มันจะเกิดเองครับ บังคับไม่ได้ (เอ... หรือว่าเป็นบุญเก่าน้อ ?'.....)
Liked By: konthain(นพ), ดวงพร, James, กัญจน์, kmsmily, tung3955, oFFja, พี่ณัฐ, thepunyapat, pp_79, Gnoy, ครูซอส, AMOL, yong9, aun17, supischa, MeeSook, Karamar, Ekachaiyan, woso, fajung, lief36, NRM, Captoon
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2012, 07:23:43 AM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ชวนคุยเรื่อย ๆ นะครับ - 5 ปีก่อน ผมเคยไปช่วยอาจารย์พรรคพวกที่ไปทำแผนแม่บทของ สปก.พิจิตร เพื่อช่วยคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ สปก. ก็ไปพบเห็นบางเรื่องครับ - หนึ่งในนั้นคือ เกษตรกรพิจิตรขยันสุดยอด - แต่บางพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ ก็ต้องเจาะบาดาล หรือขุดบ่อน้ำติ้น เพื่อสูบเอาน้ำมาทำนา - ถ้าไฟฟ้าเข้าถึงก็เจาะบาดาล ถ้าไฟฟ้าไม่มีก็ขุดบ่อน้ำตื้น (ที่ลึก 20 เมตร) เพื่อลงไปเอาปั๊มน้ำลงไปสูบน้ำเข้านา - ผมก็เลยได้เห็นสายพานยาว ๆ ที่นี่แหล่ะครับ ปั๊มอยู่ใต้บ่อ ลึก 20 เมตร เครื่องยนต์อยู่ข้างบน - ตอนนั้นผมคิดว่า ขนาดชาวนาทั่วไปที่มีน้ำชลประทาน ยังขาดทุนเลย แล้วนี่ต้องสูบน้ำเข้านาแล้วจะไปเหลือกำไรอะไร  - ผมถามเกษตรกรว่า ถ้าน้ำหายาก ทำไมไม่ปลูกพืชน้ำน้อย ปลูกถั่ว ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - เกษตรกรตอบว่า ถ้าไม่ปลูกข้าว แกก็ไม่รู้จะปลูกอะไร เพราะบ้านแกปลูกข้าวมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นพ่อ - ผมสรุปว่า (1) เกษตรกรไม่กล้าเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำได้ไม่ง่ายอย่างที่พูด (2) ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่ผ่านมา ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างตรงจุด ปล่อยให้เป็นปัญหาซ้ำซาก (3) เกษตรกรต้องรับภาระความเสี่ยงเอาเองทั้งหมด ถ้าหันมาปลูกถั่วเหลือง ก็ต้องหาตลาดเอง ถ้าขาดทุนก็ต้องไปกู้เอาเอง ถ้าต้องขายนาก็จัดการเอาเอง - เกษตรกรเล่าว่า การลงไปเอาทรายที่ก้นบ่อออกประจำวัน มีความเสี่ยงมาก เพราะอากาศที่ใต้บ่อน้ำลึก 20 เมตรไม่ค่อยมี บางครั้งสามีลงไปแล้วขาดอากาศหายใจฟุบอยู่ข้างล่าง ภรรยาก็ลงไปช่วย ก็เลยตายทั้งสองใต้บ่อ ข่าวแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยในพื้นที่ ...เศร้าครับ - ข้อคิดต่อนะครับ (4) สมาชิก กพพ.ที่ท้อใจกับปัญหา ผมคิดว่าปัญหาของท่านน่าจะน้อยกว่าของชาวนาพิจิตรนะครับ ยังไงก็สู้ ๆ ครับ ที่สำคัญ ขอให้ขยันชก แต่ให้ตรงเป้าหน่อย
Liked By: ดวงพร, Thailandranch, James, กัญจน์, kmsmily, maprang, tung3955, พี่ณัฐ, konthain(นพ), pp_79, Gnoy, supischa, AMOL, yong9, นัท ฉัตรชัย สุพรรณโมก, aun17, MeeSook, Karamar, Ekachaiyan, woso, nookie, fajung, lief36
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|