หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 ... 433   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนสมาชิกทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ของแม่โจ้ ไม่ต้องพลิกกลับกอง (มีสารบัญ)  (อ่าน 3021775 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 11 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
namneung
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1507


« ตอบ #80 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2012, 10:07:05 PM »

น่าสนใจมากเลยค่ะ  ฟางข้าวที่ไร่มน ปีที่แล้วเผาทิ้งเกือบครึ่้งปีนี้ คงต้องรบกวนอาจารย์ขอความรู้เรื่องทำปุ๋ยหมักมาใช่ใน่ไร่บ้างแล้ว
บันทึกการเข้า

tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #81 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2012, 10:18:28 PM »

   ก่อนอื่นต้องขอ ขอบคุณอาจารย์ tera  มากเลยครับ

ผมจะำนำความรู้นี้ไปทำดูครับ ฟางแถวบ้านผมจะได้เกิดประโยนชนฺ์มากขึ้น มากกว่าการเผาทำลายก่อให้เกิดผลเสียหลายด้าน
ผมอยู่จังหวัดชัยนาท มีการทำนาเป็นส่วนใหญ่หลังจากเกี่ยวข้าวแล้วผมจะรีบเก็บฟางมาหมักปุ๋ย
และจะนำวิธีการของอาจารย์เผยแพร่ต่อชุมชนให้รับความรู้มากทีสุดต่อไปครับ

ก่อนหน้านี้ผมก็เก็บฟางมาคลุมต้นไม้ในสวน บอกกับคนข้างบ้านว่าอย่าเผาเลยดินเสียโลกร้อนด้วย"แต่ได้ีัรับคำตอบว่าถ้าไม่เผาแล้วจะเอาไปทำอะไร ขนก็เหนื่อยนะนาหลายไร่" ผมก็ได้แต่มึนงงตอบไม่ถูกได้แต่บ่นในใจทำไมไม่มีหน่วยงานคิดค้นวิธีนำฟางไปใช้ให้เกิดคุณค่าบ้าง"นอกจากการทำเห็ดฟาง
แต่ตอนนี้ผมมีคำตอบแล้ว ยิงฟันยิ้ม

ขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับ 


- ขอบคุณมากครับ เราคงต้องทำเป็นตัวอย่างไปก่อน

- ฟางในนา ควรนำไปขึ้นกองปุ๋ยในนา ใกล้ ๆ แหล่งน้ำ (คลอง คลองซอย) จะได้ไม่ต้องขนไปมา แบ่งทำหลายกอง หลายจุด ถ้ากลัวกองปุ๋ยแช่น้ำ ก็อาจจะปั้นคันดินล้อมรอบก็ได้ วุ่นวายนิดนึง แต่ดินจะอุดมสมบูรณ์ดีครับ

- การเผาฟางในนา ส่งผลให้ดินแน่นแข็ง จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จะตายหมด สวนทางกับสิ่งที่พวกเราจะทำกัน แถมอินทรีย์วัตถุในดินที่มีน้อยอยู่แล้วก็พลอยระเหยไปกับความร้อนด้วย น่าเสียดายครับ  ลังเล
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #82 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2012, 10:33:54 PM »

- แล้วก็มีเครือข่ายของแม่โจ้อีกแห่งหนึ่งครับ ที่ผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่ต้องพลิกกลับกอง แล้วนำไปใช้ในงานเกษตรกรรม แกทำปุ๋ยมากก็ใช้มาก จนไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย

- แกเป็นปราชญ์ชาวบ้านของลำพูนครับ ชื่อสุรัตน์ อยู่ที่บ้านห้วยแหนพัฒนา ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ ลำพูน เป็นประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยแหนพัฒนา เป็นคนหัวไว กล้าเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะช่วยเหลือเป็นวิทยากรให้กับชุมชนอื่นเสมอ

- แกเคยมาอบรมที่แม่โจ้ปี 2547 เรื่องการทำปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ พอกลับไปบ้านก็ไปทำครับ และก็ได้ทำเรื่อยมา มาในปีนี้ก็ได้เปลี่ยนไปทำปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบใหม่โดยไม่ต้องใช้พัดลมแล้ว

- วันก่อนได้มีโอกาสไปเยี่ยม ก็พบว่าแกซื้อที่ดินอีกแปลงใกล้ ๆ ที่เดิม ที่นี่มีต้นลำไยของเจ้าของเดิม แกก็จัดการปรับปรุงทั้งดินทั้งใบ ที่ดินนอกทรงพุ่มก็จัดการปลูกพืชผสมผสาน แล้วแปลงโฉมที่ดินเป็นฐานเรียนรู้ 5 ฐานครับ เพื่อให้เกษตรกรมาดูงาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2012, 06:15:20 AM โดย tera » บันทึกการเข้า
ครูซอส
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8122



« ตอบ #83 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2012, 10:38:57 PM »

ที่โรงงานน้ำตาลใกล้บ้านครูซอส มีดินขี้เถ้ากับดินขี้ด่างมากมาย ราคาตันละ 40 บาท
ค่าขนส่ง คันสิบล้อ เที่ยวละ 300 บาท ..อาจารย์ช่วยคิดสูตรนำของเหล่านี้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้หน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
phueng
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 22


« ตอบ #84 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2012, 11:24:54 PM »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ


Liked By: Ratthapatch, 5XXA
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #85 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 05:55:19 AM »

ที่โรงงานน้ำตาลใกล้บ้านครูซอส มีดินขี้เถ้ากับดินขี้ด่างมากมาย ราคาตันละ 40 บาท
ค่าขนส่ง คันสิบล้อ เที่ยวละ 300 บาท ..อาจารย์ช่วยคิดสูตรนำของเหล่านี้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้หน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณค่ะ

- ครูซอสครับ ผมเคยข่วยโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ลำพูนเพื่อเอาขี้เถ้ามาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์แล้วค่อยนำไปใช้ แต่ว่าการผสมยุ่งยากมาก เพราะขี้เถ้าเป็นผงปลิวเข้าตา แถมเป็นด่างจัด กัดมืออีก พีเอชตั้ง 12 ก็เลยไม่สำเร็จ กะว่าถ้าสำเร้จจะเอาไปใส่นาชาวบ้านที่ดินเป็นกรดจากการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างยาวนาน ตกลงล้มเหลวครับ

- ไม่รู้ว่าขี้เถ้าจะเหมือนกันหรือไม่ แต่ของที่นี่เวลาโดนหญ้าแล้วหญ้าตายครับ

- ในทางทฤษฎีแล้ว ผมคิดว่าน่าจะนำไปใส่นาที่ดินเป็นกรดได้ เพื่อปรับให้ดินเป็นกลาง เกษตรกรจะได้ไม่ต้องเผาฟางเอาขี้เถ้า แต่ในทางปฏิบัติแล้วยุ่งยากครับ ขนก็ลำบาก ใช้ก็ลำบาก เป็นฝุ่น กัดมือ

- ต้องมีนักคิดอีกหลายท่านสามารถลงมือ นำขี้เถ้าไปใช้ประโยชน์แน่ ๆ ในอนาคตครับ

- อย่างเช่น เอาไปทำสบู่ น้ำยาล้างจาน หรือเอาไปล้างน้ำเพื่อลดความเป็นด่าง แล้วเอาน้ำด่างนั้นไปใช้ในงานอุตสาหกรรมครับ
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #86 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 06:11:31 AM »

- มาดูพี่สุรัตน์ ปราชญ์ชาวบ้าน ยังดูหนุ่มแน่นมากเลย



- ฐานเรียนรู้ทำน้ำส้มควันไม้ของที่นี่ น้ำสัมก็ขายได้ ถ่านก็ขายได้ นอกจากนั้นก็ยังมีฐานน้ำหมักชีวภาพ ฐานสกัดสมุนไพร ฐานทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง ฐานปลูกผักอินทรีย์



- แกปลูกผักผสมผสานระหว่างทรงพุ่มลำไยโดยใช้แค่ปุ๋ยหมักที่ทำเอง ติดสปริงเกลอร์ซะ แกอธิบายว่าด้วยการขายผักนี้ทำให้แกมีรายได้ประจำทุกวัน ปีนึงก็ได้เป็นแสน (วันละ 200-300 บาท) ได้พอ ๆ กับลำไย 6 ไร่ ตอนนี้ปลดหนี้ ธกส.ได้แล้วจากการเกษตรแบบนี้



- โชว์ปุ๋ยจากในกองครับว่าเปื่อยขนาดไหน



บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #87 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 06:26:38 AM »

- ปุ๋ยที่แห้งแล้ว แล้วนำไปตีป่น ถ้ามีเกษตรกรมาขอซื้อแกก็ขายครับ มีทั้งแบบป่นและแบบปั้นเม็ดแล้วแต่ลูกค้า เงินทั้งนั้น (ถึงตอนนี้จำได้ว่า พ่อเคยสอนว่าอย่าหมื่นเงินน้อย อย่าคอยเงินนาน และอีกประโยคครับ ให้สร้างโอกาสอย่ารอโอกาสอย่ายืมจมูกคนอื่นหายใจ)



- ตรงไหนว่างก็ขึ้นกองปุ๋ยซะเลย



- ต้นข้าวโพดที่ขึ้นเองข้างกองปุ๋ย แกชี้ให้เห็นว่านี่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีเลยแต่ฝักก็เริ่มออกมาให้เห็นแล้ว



- แกไปเก็บกะหล่ำปลีให้ผมเอากลับบ้านครับ หัวโตดีแท้ อร่อยครับ กรอบ หวาน (เคยทานคะน้าอินทรีย์ไหมครับ กรอบ หวาน และไม่มีกลิ่นยาเคมีน่ะ ..... ให้ไปหาซื้อมาผัดดูนะครับ)



- วันนั้นพอดีช่วงบ่ายมีเกษตรกรมาฝึกอบรม 80 คน ก็เลยอยู่ฟังด้วย



- คนมาอบรมเป็นปลื้มกับกะหล่ำปลีอินทรีย์หัวใหญ่ ๆ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2012, 07:00:34 AM โดย tera » บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #88 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 06:36:28 AM »

- ขอขอบพระคุณปราชญ์ และตัวอย่างผู้นำเกษตรกรที่ได้เอ่ยถึงในกระทู้นี้ ที่ทำให้มีตัวอย่างดี ๆ  อายจัง สร้างความมั่นใจให้กับสมาชิก กพพ. เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติใช้แล้วขยายผลไปมาก ๆ ช่วยคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยต่อไป จะได้ลดหนี้ลงให้หมด 

- ผิดพลาดประการใด ผมก็จะขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียวครับผม  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #89 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 09:23:50 AM »

- แล้วก็มีกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านแพะพัฒนา ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว เชียงใหม่ ประธานกลุ่มชื่อลุงศรี จะมาเล่าให้ฟังครับ

- ประธานศรีเคยปลูกผักเคมีมา แต่มีเหตุการณ์พลิกผันทำให้ต้องเลิกครับ คือแกเคยเกือบตายมาครั้งหนึ่ง ถึงขั้นนอนโรงพยาบาล เพราะไปกินผักสดของแม่ค้าส้มตำที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง แกเลยสาบานว่าจะไม่กินผักของใครอีก และจะปลูกผักอินทรีย์เองให้ได้ ตอนนั้นแกถึงกับทะเลาะกับเมียอย่างหนัก เพราะเมียไม่เชื่อว่าจะมีใครปลูกผักได้โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีไม่ใช้ยาเคมี

- ในปี 2548 ผมได้งบวิจัยจาก สวทช.ซื้อพัดลม ท่อ เพื่อให้กลุ่มของแกผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ กลุ่มนี้ก็เลยเหมือนกับติดปีก สามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้มาเรื่อย ๆ

- ตอนนี้กลุ่มนี้ก็เลิกทำปุ๋ยแบบเติมอากาศแล้ว และหันมาทำแบบกองแถวยาวไม่พลิกกลับกองแทน เพราะง่ายกว่ามาก โดยในปี 52 สวทช.ก็ตามมาสนับสนุนทุนเพื่อให้ 20 ครัวเรือนของหมู่บ้านนี้ทำปุ๋ยอินทรีย์ครัวเรือนละ 2 ตัน เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความคิดเห็นครับ

- กลุ่มนี้เป็น 1 ใน 4 ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ดอกคำของเชียงใหม่ ที่ส่งข้าวอินทรีย์ขายต่างประเทศกิโลกรัมละ 40 บาท (ราคาในปี 49 ตอนนี้คงสูงกว่านี้) แถมพ่อกำนันประพันธ์ ซึ่งเป็นสมาชิก ตอนนี้ขึ้นไปเป็นนายก อบต.เขื่อนผาก ก็เลยทำให้เกษตรอินทรีย์เป็นยุทธศาสตร์ของตำบลนี้ไป กลุ่มนี้ส่งผักอินทรีย์ขายในราคาท้องตลาดปกติ โดยส่งไปขายที่แม่โจ้ทุกวันพุธ วันอื่นก็ขายที่ตลาดอิ่มบุญ ตลาดเจเจ นอกเหนือจากขายที่ตลาดในชุมชน

- ที่เล่ามานี้ ก็เพื่อให้เห็นว่าการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ จะสามารถทำการเพาะปลูกได้โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีสารเคมีเลย ทีนี้หากสมาชิก กพพ.ยังไม่พร้อมที่จะหักดิบ ก็อาจใช้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยกับปุ๋ยอินทรีย์ ผลิตผลต้องได้แน่นอนครับ (แต่ไม่ควรซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของใครใช้นะครับ ถ้ามีความพอเพียงอยู่ในใจ ทำเองดีกว่า)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2012, 09:29:32 AM โดย tera » บันทึกการเข้า
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4714


คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้


« ตอบ #90 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 09:36:35 AM »

ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะที่มีรูปภาพการทำเกษตรผสมผสานแบบบ้านๆที่ ทุกคนสามารถทำได้มาให้ สมาชิกท่านอื่นๆได้ชมและได้เป็นแรงบันดาลใจที่จะทำตามให้เกิดความสำเร็จ พึ่งตัวเองได้ ค่ะ

อาจารย์มีรูปภาพการทำเกษตรผสมผสานแบบบ้านๆอีกเอามาดูเยอะๆนะคะ ชอบมากค่ะ ยิงฟันยิ้ม ;Dมาร่วมด้วยช่วยกันให้สมาชิกได้ทำสำเร็จจะได้พึ่งตัวเอง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
kmsmily
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3554


« ตอบ #91 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 09:49:55 AM »

   ก่อนอื่นต้องขอ ขอบคุณอาจารย์ tera  มากเลยครับ

ผมจะำนำความรู้นี้ไปทำดูครับ ฟางแถวบ้านผมจะได้เกิดประโยนชนฺ์มากขึ้น มากกว่าการเผาทำลายก่อให้เกิดผลเสียหลายด้าน
ผมอยู่จังหวัดชัยนาท มีการทำนาเป็นส่วนใหญ่หลังจากเกี่ยวข้าวแล้วผมจะรีบเก็บฟางมาหมักปุ๋ย
และจะนำวิธีการของอาจารย์เผยแพร่ต่อชุมชนให้รับความรู้มากทีสุดต่อไปครับ

ก่อนหน้านี้ผมก็เก็บฟางมาคลุมต้นไม้ในสวน บอกกับคนข้างบ้านว่าอย่าเผาเลยดินเสียโลกร้อนด้วย"แต่ได้ีัรับคำตอบว่าถ้าไม่เผาแล้วจะเอาไปทำอะไร ขนก็เหนื่อยนะนาหลายไร่" ผมก็ได้แต่มึนงงตอบไม่ถูกได้แต่บ่นในใจทำไมไม่มีหน่วยงานคิดค้นวิธีนำฟางไปใช้ให้เกิดคุณค่าบ้าง"นอกจากการทำเห็ดฟาง
แต่ตอนนี้ผมมีคำตอบแล้ว ยิงฟันยิ้ม

ขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับ 


- ขอบคุณมากครับ เราคงต้องทำเป็นตัวอย่างไปก่อน

- ฟางในนา ควรนำไปขึ้นกองปุ๋ยในนา ใกล้ ๆ แหล่งน้ำ (คลอง คลองซอย) จะได้ไม่ต้องขนไปมา แบ่งทำหลายกอง หลายจุด ถ้ากลัวกองปุ๋ยแช่น้ำ ก็อาจจะปั้นคันดินล้อมรอบก็ได้ วุ่นวายนิดนึง แต่ดินจะอุดมสมบูรณ์ดีครับ

- การเผาฟางในนา ส่งผลให้ดินแน่นแข็ง จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จะตายหมด สวนทางกับสิ่งที่พวกเราจะทำกัน แถมอินทรีย์วัตถุในดินที่มีน้อยอยู่แล้วก็พลอยระเหยไปกับความร้อนด้วย น่าเสียดายครับ  ลังเล
การเผาฟางในนาข้าวจะทำให้สูญเสียธาตุอาหารหลัก ธาตุรอง และจุลธาตุ  แต่ละธาตุไปกี่เปอร์เซ็นครับ
เช่น สมมุติในฟางข้าวมี N = 7.6 กก.,Ca = 3.8 กก.,Si = 41.9 กก. เป็นต้น (อาจารย์มีข้อมูลผลวิจัยไหมครับ)
ผมอยากรู้มานานแล้ว  จะได้คำนวนออกมาเป็นตัวเงินเวลาไปคุยกับชาวบ้านที่ชอบเผาฟาง


Liked By: oFFja, AMOL, Karamar, lief36, dakob, 5XXA
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #92 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 09:58:38 AM »

- ประธานศรีครับผม



- กองปุ๋ยทำจากกากถั่วเหลืองกับขี้วัว (กองปุ๋ยต้องสูง 1.5 เมตร เป็นรูปสามเหลี่ยมนะครับ ทำสลับเศษพืชกับมูลสัตว์ 15-17 ชั้น ห้ามทำชั้นเศษพืชหนา ห้ามเหยียบ ห้ามเอาผ้าคลุม รดน้ำทุกชั้น ไม่ต้องพลิกกลับกอง หัวใจความสำเร็จอยู่ที่การรักษาความชื้นตลอดเวลา สองเดือนเสร็จ)



- มีลุงอยู่คนนึงในกลุ่มดอกคำ ปลูกผสมผสานในแปลงเดียวกัน เอาฟางคลุมแปลงเพื่อป้องกันหญ้าและรักษาความชื้น ปลูกต้นหอมผักชี พร้อมกับพริกและขิงในแปลงเดียวกัน รดน้ำทีเดียวได้ทุกพืช ผักชีต้นหอมพอเก็บขายหมดก็เก็บพริกขายต่อ พอพริกเริ่มวายขิงก็โตพอดี ฟางก็เปื่อยพอดี ลุงแกเอามือเจาะดินให้เห็นเลยว่าดินของแกนุ่มอย่างไร ผมเห็นใส้เดือนดิ้นกระแด่ว ๆ ด้วย แสดงว่าจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินมีมาก ลุงแกปลูกไผ่ริมรั้วเพื่อใช้ทำค้าง ก็ลดปัจจัยภายนอกได้มากเลยครับ



- ข้าวอินทรีย์ครับ ปลูกแบบนาหว่าน



- ดูลุงคนนี้ปลูกสิครับ ผสมผสานสุดยอด ทุกอย่างเก็บขายได้หมด กล้วยพอตัดเครือก็ล้มเอาไปทำปุ๋ย มีต้นมะแคว่น (สมุนไพรใส่ลาบเชียงใหม่) ที่เก็บขายได้ แล้วยังมีสับปะรด ผักกินกับลาบ ขิงข่ากระชาย ที่สามารถขายได้ทุกวันหมุนเวียนไป แกบอกว่าแมลงไม่ค่อยมารบกวน สงสัยจะเวียนหัวครับ



- ทางเดินในสวนแกปลูกผักที่ขายได้ทั้งหมด ส่วนลำไยแกไม่สนครับ เพราะไม่ทำกำไรมาหลายปีแล้ว ตอนนี้แกเอาต้นลำไยเป็นค้างปลูกฟักแฟงครับ ตลกมาก





- ส่วนพี่รสรินทร์นี่แกปลูกส้มอินทรีย์ครับ ทำสปริงเกลอร์ผสมน้ำหมักที่โคนต้น ก็ได้ส้มเยอะเหมือนกัน แกเคยปลูกส้มเคมีแล้วเจ๊งครับ ตอนนี้พ่อค้าเขามาเหมาสวนทุกปี จะเปรี้ยวยังไงก็เอา ส้มจะลายก็เอา แถมไม่ต้องแว็กซ์อีกด้วย ก็ได้ดีไปครับ เรื่องส้มเคมีนี่ต้องขยายในเวลาต่อไปครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2012, 07:09:08 AM โดย tera » บันทึกการเข้า
chauat
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 446



« ตอบ #93 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 10:00:42 AM »

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ



Liked By: 5XXA
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #94 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 10:04:22 AM »

การเผาฟางในนาข้าวจะทำให้สูญเสียธาตุอาหารหลัก ธาตุรอง และจุลธาตุ  แต่ละธาตุไปกี่เปอร์เซ็นครับ
เช่น สมมุติในฟางข้าวมี N = 7.6 กก.,Ca = 3.8 กก.,Si = 41.9 กก. เป็นต้น (อาจารย์มีข้อมูลผลวิจัยไหมครับ)
ผมอยากรู้มานานแล้ว  จะได้คำนวนออกมาเป็นตัวเงินเวลาไปคุยกับชาวบ้านที่ชอบเผาฟาง


- ตอบคุณคุณ kmsmily นะครับ ผมขอลอกจากกรมพัฒนาที่ดินมาดังนี้นะครับ ลึก ๆ กว่านี้ผมก็ไม่ได้แล้วครับ  ยิ้ม

- "ปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรกรรมของประเทศไทยมีระดับปริมาณอินทรียวัตถุในดินค่อนข้างต่ำมาก ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 191 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากธาตุอาหารในดินสูญเสียไปอยู่ในส่วนของพืชเป็นปริมาณสูง จากการสำรวจวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรพบว่า ในแต่ละปีมีปริมาณตอซังและฟางข้าวมากกว่า 29 ล้านตัน ตอซังข้าวโพด 7.8 ล้านตัน ตอซังและเศษใบอ้อย 2 ล้านตัน และเศษพืชตระกูลถั่วและข้าวฟ่างพืชไร่ชนิดอื่น 2.4 ล้านตัน จากปริมาณวัสดุดังกล่าวเมื่อคำนวณเป็นปริมาณปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเท่ากับ 2.8, 0.7 และ 5.9 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 1,930.2, 741.4 และ 4,731.4 ล้านบาท ตามลำดับ รวมเป็นมูลค่าของปุ๋ยทั้งสิ้น 7,043 ล้านบาท ดังนั้น การเผาทำลายเศษพืชแต่ละครั้งจึงเท่ากับเป็นการสูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินเป็นจำนวนมาก (กรมพัฒนาที่ดิน. ไม่ปรากฏปี)"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2012, 10:07:50 AM โดย tera » บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #95 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 11:42:06 AM »

- ทีนี้ถ้าเรามีเศษใบไม้สัก 1 กะละมัง อยากเอาไปทำปุ๋ยอินทรีย์ จะทำได้ยังไง เพราะปริมาณมันน้อย ไม่พอที่จะทำเป็นกองใหญ่ ๆ

- ก็มีวิธีครับ ให้เอาเศษใบไม้ 3 ส่วน ผสมคลุกเคล้ากับมูลสัตว์ (ขี้วัวก็ได้) อีก 1 ส่วนโดยปริมาตรในกะละมัง (คะเนด้วยสายตาก็พอครับ เช่นใบไม้ 3 ถุง มูลสัตว์ 1 ถุง)





- ผสมน้ำลงไปแล้วคลุกเคล้า เติมน้ำในปริมาณที่ทำให้วัสดุไม่แห้งเกินไป ไม่เปียกโชกเกินไป



- คลุกเคล้าวันละครั้ง จะบีบไป ขยำไป ก็ยิ่งดี จะใส่ถุงมือก็ได้ จะเอาไม้เขี่ยพลิกก็ดีครับ ถ้าแห้งก็เติมน้ำซะ วัสดุในกะละมังก็จะเริ่มเปลี่ยนสี เริ่มเปื่อยยุ่ย แต่ไม่มีกลิ่น ไม่มีน้ำเสีย ไม่ดึงดูดแมลงวัน และปริมาตรเริ่มหดลงทุกวัน

- เอากะละมังแอบไว้ใต้ต้นไม้ก็ดี จะได้ไม่แห้งเร็วและเวลาฝนตกน้ำจะได้ไม่ขัง ใครจะใช้กะละมังแตกที่ก้น หรือจะเจาะรูที่ก้นก็ได้





- พลิกกลับวันละครั้ง คอยเติมน้ำอย่าให้แห้ง พอครบ 30 วันก็ถือว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์แล้ว แต่ยังใช้ไม่ได้ ต้องทำให้แห้งเสียก่อนโดยอาจตากแดดก่อนนำไปใช้ พอแห้ง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จะมีขนาดเล็ก นุ่ม มีสีดำ สามารถนำไปใช้ในการปลูกต้นไม้ที่บ้านได้อย่างดี

- เหตุที่ใช้เศษใบไม้ 3 ส่วน ใช้มูลสัตว์ 1 ส่วน ก็เพื่อให้มีคาร์บอนและไนโตรเจนเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ก็มาจากมูลสัตว์ คาร์บอนมาจากเศษใบไม้ ไนโตรเจนมาจากมูลสัตว์

- การคอยเติมน้ำจะทำให้จุลินทรีย์สามารถทำงานได้ ถ้าแห้งเกินไปก็ทำงานไม่ได้

- การพลิกกลับทุกวัน เป็นการนำอากาศไปให้จุลินทรีย์ใช้ เพราะจุลินทรีย์ที่ย่อยเศษพืชเก่งในกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศครับ

- ทฤษฎีการทำปุ๋ยอินทรีย์มีแค่นี้ครับ ถ้าทำเล็ก ๆ ในกะละมังเป็น แล้วค่อยทำใหญ่ ๆ แบบวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ก็น่าจะมั่นใจได้

- ลองทำนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 ... 433   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: