tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- แล้วอย่าลืมนะครับ หัวใจของการทำปุ๋ยอินทรีย์คือต้องรักษาความชื้นในและนอกกองปุ๋ยให้มีอยู่เสมอ อย่าให้บริเวณใดแห้ง - การทำปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้เลยสามารถนำไปทำได้ในนา ในสวน ในแปลงเพาะปลูก (แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำนะครับ) เพราะไม่ได้ใช้ไฟฟ้า ไม่ได้ใช้ท่อ จะได้ไม่ต้องขนวัสดุไปมา เปลืองเชื้อเพลิงอีก (ในสวนไม้ผลให้ทำนอกทรงพุ่มนะครับ ไม่งั้นต้นไม้จะตายจากความร้อนและความเค็มของปุ๋ย (ผมเคยทำต้นสักชาวบ้านตายมาแล้วครับ แฮ่ะ ๆ) - พื้นก็ไม่ต้องเทคอนกรีต หลังคาก็ไม่ต้องมี ตากแดดตากฝน วางบนดินไว้อย่างนั้นแหล่ะครับ สุด ๆ ของความพอเพียงครับ ลืมคำว่าโรงปุ๋ยที่ต้องมีคอก มีพื้นคอนกรีตได้เลย - แต่มันก็มีปัญหาบ้างนะครับ - ปัญหานั้นก็คือ เวลาเรารดน้ำกองปุ๋ย น้ำจะชุ่มแค่ผิว หนาสักคืบนึงเท่านั้น น้ำจะไม่ยอมซึมลงข้างล่าง  - ขนาดที่ว่า ฝนที่ตกลงมาแถวภาคใต้ น้ำยังไม่ซึมลงไปเลยครับ (นี่แปลว่าเราสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในหน้าฝนได้ด้วย ไชโย......!  ) - ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เนื้อปุ๋ยในกองปุ๋ยมีคุณสมบัติที่เรียกว่า Field Capacity คล้ายกับอินทรีย์วัตถุในดินที่จะซับน้ำไว้กับตัว ไม่ยอมให้น้ำซึมลงข้างล่างง่าย ๆ (ทีนี้ทราบแล้วนะครับ ที่เขาสอนว่าดินที่อุดมสมบูรณ์ มีอินทรีย์วัตถุ จะช่วยซับน้ำซับแร่ธาตุ - สำหรับการซับแร่ธาตุนั้น ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์วัตถุจะมีคุณสมบัติที่ชอบจับประจุของแร่ธาตุไว้ด้วย ดังนั้น การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จึงพบเสมอว่าเราสามารถใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณน้อย ๆ ได้ หรือเรียกว่าเป็นการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ)
Liked By: konthain(นพ), Noey, ดวงพร, กัญจน์, ครูซอส, Saithong, eight, nitidol, nongparei, AMOL, ปากแดงดอทคอม, deer art, cjaranram, roong2000, worawit6311, krading, wirot, supischa, พี่ณัฐ, sompol, ไม้หน้า3, keawjah, lerk asm, pp_79, rangsan_10, Gnoy, ti_krab, artith, chumpla, ทิดโส โม้ระเบิด, vason, Dui202, m.aree, nuidekdoy, yong9, ไก่โต้ง, aun17, nontanut, #mam#, banfa, angy, Ekachaiyan, woso, น้ำข้าว, lief36, charsurin, FUJI, siam05, วิสัณห์ ม, Ratthapatch, 5XXA, varapornpongsopa, Chakapol, thidadao, o___O, Bull Rider, Art Natthapol, patana-9, seri, s.prakarn, withya48bangongnang, KungFuu, JJJJ, Steve_Jeab, pcamark59
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
MR.Kasetsart
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 487
|
อาจารย์ครับ ขอวิธีการทำเป็นขั้นตอนและการดูแลกองปุ๋ยตลอด 2 เดือนด้วยนะครับ ผมถือว่าเป็น นวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรย์มีคุณค่าควรต่อการเผยแพร่เป็นอย่างยิ่งครับ
Liked By: Noey, konthain(นพ), ครูซอส, AMOL, cjaranram, ti_krab, nuidekdoy, yong9, aun17, ford, น้ำข้าว, วิสัณห์ ม, Ratthapatch, 5XXA, varapornpongsopa, thidadao
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- การทำปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ แม่โจ้ตั้งชื่อว่าวิธี "วิศวกรรมแม่โจ้ 1" ครับผม - วิธีการขึ้นกองปุ๋ยนะครับ
1. นำเศษข้าวโพดหรือฟางข้าว 4 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร (ถ้าเป็นเศษใบไม้ให้ใช้อัตราส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร) วางเป็นชั้นบาง ๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร จำนวน 15 - 17 ชั้น รดน้ำแต่ละชั้นให้มีความชื้น ขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร ส่วนความยาวของกองจะยาวเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ที่มี ความสำคัญของการที่ต้องทำเป็นชั้นบาง ๆ 15 - 17 ชั้นก็เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอน (มีอยู่ในเศษพืช) และธาตุไนโตรเจน (มีในมูลสัตว์) ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ ซึ่งจะทำให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว 2. รักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา (มีค่าประมาณร้อยละ 60 – 70) โดยมี 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า (ถ้าฝนตกก็ให้งดขั้นตอนนี้) ขั้นตอนที่ 2 ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40 เซนติเมตร ทำขั้นตอนที่สองนี้ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนที่สองนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทำ เพราะน้ำฝนจะไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ การที่ฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้เกษตรกรจึงสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ในฤดูฝนได้ด้วย ภายในเวลา 5 วันแรก กองปุ๋ยจะมีค่าอุณหภูมิสูงขึ้นมาก บางครั้งสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับกองปุ๋ยที่ทำได้ถูกวิธี ความร้อนสูงนี้เกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์มีมากมายและหลากหลายในมูลสัตว์อยู่แล้ว) และความร้อนสูงนี้ยังเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงานของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยอีกด้วย หลังจากนั้นอุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลงจนมีค่าอุณหภูมิปกติที่อายุ 60 วัน
3. เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน ก็หยุดให้ความชื้น กองปุ๋ยจะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร แล้วทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัวและไม่ให้เป็นอันตรายต่อรากพืช วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งอาจทำโดยทิ้งไว้ในกองเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน หรืออาจแผ่กระจายให้มีความหนาประมาณ 20 – 30 ซม. แล้วเกลี่ยไปมา ซึ่งจะแห้งภายในเวลา 3 – 4 วัน สำหรับผู้ที่ต้องการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ก็อาจนำปุ๋ยอินทรีย์ที่แห้งแล้วไปตีป่นให้มีขนาดเล็กสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 4-7 บาท กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตรจะสามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์เอาไว้ในกองปุ๋ย ความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับจุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวสูงขึ้นจะทำให้อากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าไปในภายในกองปุ๋ย ซึ่งเกิดจากการพาความร้อนแบบ Chimney Convection อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ
Liked By: กัญจน์, ดวงพร, konthain(นพ), automate, ครูซอส, Saithong, eight, pornpim, nitidol, AMOL, ปากแดงดอทคอม, cjaranram, krading, wirot, supischa, kongkrai, sompol, s_pong, lerk asm, pp_79, rangsan_10, Gnoy, ไม้หน้า3, artith, orogaro, Dui202, m.aree, iamnatee, nuidekdoy, yong9, 1977, ไก่โต้ง, aun17, nontanut, jobrard, MeeSook, ooh1991, Karamar, rosera, #mam#, banfa, cash001, angy, Ekachaiyan, woso, น้ำข้าว, fajung, tutan2000, Bigkeng, lief36, บอย ปากช่, Captoon, FUJI, siam05, วิสัณห์ ม, Ratthapatch, 5XXA, varapornpongsopa, satitnew, BB29, o___O, num29, Bull Rider, Art Natthapol, patana-9, s.prakarn, KungFuu, JJJJ, Steve_Jeab, Surakree, pcamark59
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- อย่าลืมนะครับ ...... หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกกองปุ๋ยด้วยวิธีการ 2 ขั้นตอนข้างต้น บริเวณใดที่แห้งเกินไปจุลินทรีย์จะไม่สามารถมีกิจกรรมการย่อยสลายได้ ทำให้วัสดุจะไม่มีการย่อยสลาย กระบวนการอาจใช้เวลานานถึง 6 เดือนถึง 1 ปีก็ได้
- ข้อห้ามของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” 1. ห้ามขึ้นเหยียบกองปุ๋ยให้แน่น หรือเอาผ้าคลุมกองปุ๋ย หรือเอาดินปกคลุมด้านบนกองปุ๋ย เพราะจะทำให้อากาศไม่สามารถไหลถ่ายเทได้ 2. ห้ามละเลยการดูแลความชื้นทั้ง 2 ขั้นตอน เพราะถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไปจะทำให้ระยะเวลาแล้วเสร็จนานและปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพต่ำ 3. ห้ามวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไป การวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไปจะทำให้จุลินทรีย์ที่มีในมูลสัตว์ไม่สามารถเข้าไปย่อยสลายเศษพืชได้ 4. ห้ามทำกองปุ๋ยใต้ต้นไม้ เพราะความร้อนของกองปุ๋ยอาจทำให้ต้นไม้ตายได้ 5. ห้ามระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ย เพราะความร้อนสูงในกองปุ๋ยจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีมากขึ้น และยังช่วยให้เกิดการไหลเวียนของอากาศผ่านกองปุ๋ยอีกด้วย
- เพราะฉะนั้น ใครที่เอาท่อหรือไม่ไผ่เจาะรูมาเสียบกองปุ๋ยแนวดิ่ง แนวนอน ก็ผิดแล้วครับ เพราะที่หวังว่าจะได้อากาศไหลเข้ากองปุ๋ย แต่จะกลายเป็นว่าความร้อนหนีไปจากกองปุ๋ยเสียนี่ พอกองปุ๋ยเย็นจุลินทรีย์ก็เลยทำงานไม่ดี การไหลของอากาศเข้ากองปุ๋ยก็เลยไม่ได้ด้วย
Liked By: กัญจน์, ดวงพร, konthain(นพ), ครูซอส, eight, Saithong, pornpim, nitidol, nongparei, AMOL, deer art, krading, supischa, sompol, tri, san, lerk asm, pp_79, rangsan_10, Gnoy, ไม้หน้า3, artith, Dui202, thw, iamnatee, yong9, ไก่โต้ง, aun17, nontanut, jobrard, MeeSook, wijarn, ooh1991, Karamar, rosera, #mam#, tom_freed, banfa, cash001, angy, Ekachaiyan, woso, น้ำข้าว, fajung, lief36, Captoon, เพียรบ้านไร่, FUJI, siam05, Ratthapatch, 5XXA, varapornpongsopa, RiceForLife, satitnew, o___O, num29, Bull Rider, Art Natthapol, patana-9, s.prakarn, KungFuu, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- แถมใครที่มีโรงปุ๋ย มีคอกซีเมนบล็อค ก็ผิดอีกครับ เพราะพออากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศเย็นด้านข้างจะไหลเข้าแต่เข้าไม่ได้เพราะติดผนังบล็อค จุลินทรีย์ก็เลยไม่ได้อากาศสำหรับการย่อยสลาย - ใครที่คิดขุดหลุมทำปุ๋ยก็ผิดครับ เพราะอากาศไหลเข้าด้านข้างไม่ได้ แถมพอฝนตกน้ำไปขังในหลุมจะเกิดกลิ่นเหม็นเน่า - วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นเงื่อนไขการย่อยสลายแบบใช้อากาศ จึงไม่มีทางจะมีกลิ่นเหม็นจากแอมโมเนียหรือแก๊ซไข่เน่า ไม่มีทางที่จะมีแก๊ซมีเทน ไม่มีทางจะเกิดน้ำเสีย หรือดึงดูดแมลงวัน ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จะมีค่าพีเอชเป็นกลางหรือเป็นด่างอ่อน ๆ พีเอชประมาณ 7-8 ที่เหมาะกับการใช้ของพืช และกระบวนการใช้เวลาสั้นกว่าแบบไม่ใช้อากาศมาก - การย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ (ทำน้ำหมัก ทำบ่อไบโอแก๊ซ หรือทำปุ๋ยหมักแต่เอาผ้าคลุม) เราจะได้กลิ่นแก๊ซไข่เน่าเสมอ มีกลิ่นแอมโมเนีย ได้แก๊ซมีเทน มีน้ำเสียเกิดขึ้น ดึงดูดแมลงวัน ผลิตผลจะมีความเป็นกรด พีเอชประมาณ 3-4 (เพราะฉะนั้น เวลานำน้ำหมักชีวภาพไปใช้เราจึงต้องเจือจาง 200 เท่าก่อนใช้ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ไม่ต้องเจือจาง แต่ต้องใช้ในปริมาณที่ไม่มากเพราะถ้าใช้มากไป ความเป็นปุ๋ยจะทำให้ต้นไม้ตายได้)
Liked By: กัญจน์, ดวงพร, konthain(นพ), ครูซอส, eight, Saithong, pornpim, nitidol, nongparei, AMOL, deer art, roong2000, sompol, san, lerk asm, pp_79, rangsan_10, Gnoy, ไม้หน้า3, Dui202, iamnatee, yong9, kai18, cafe de dusita, ไก่โต้ง, nontanut, jobrard, MeeSook, ooh1991, Karamar, rosera, suwinai, #mam#, cash001, angy, Ekachaiyan, woso, น้ำข้าว, fajung, lief36, Captoon, เพียรบ้านไร่, siam05, Ratthapatch, 5XXA, varapornpongsopa, RiceForLife, o___O, num29, Bull Rider, patana-9, s.prakarn, KungFuu, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ฐานกว้าง 2.5 เมตร เอาฟางข้าว 4 เข่งมาวางบาง ๆ ให้หนาสัก 10 เซนติเมตร (ฟางใช้เส้นยาว ๆ ได้เลยไม่ต้องสับ ใช้ฟางจากการเพาะเห็ดยิ่งหมูครับ)  - เอามูลสัตว์ 1 เข่ง (1 เข่งเท่ากับประมาณ 2 กระสอบ) มาเกลี่ยให้ทั่วฟาง (อย่าเหยียบกองปุ๋ย) แล้วรดน้ำให้ชุ่ม  - ทำชั้นที่สอง โดยเอาฟางข้าวอีก 4 เข่งมาวางบาง ๆ หนาไม่เกิน 10 เซนติเมตร แล้วเอามูลสัตว์ 1 เข่งมาเกลี่ยให้ทั่วฟาง (เป็น 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร - ใครอยากรู้โดยน้ำหนักให้ไปลองชั่งเอง ฮิฮิ) - ทำไปสัก 15 ถึง 17 ชั้น ในระหว่างที่กองปุ๋ยค่อย ๆ สูงขึ้นก็ทำให้เป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม ถ้าเศษพืชทำท่าจะหนาเกินไปก็ให้ลดสูตร เช่น ใช้ฟาง 2 เข่งมูลสัตว์ครึ่งเข่ง เป็นต้น  - ถ้าต้องการให้มีความยาวมากขึ้น ก็เพียงแต่ทำซ้ำขั้นตอนไปเรื่อย ๆ 
Liked By: กัญจน์, ดวงพร, konthain(นพ), ครูซอส, eight, Saithong, poppy, nitidol, nongparei, AMOL, deer art, James, sompol, s_pong, lerk asm, pp_79, rangsan_10, Gnoy, ไม้หน้า3, ทิดโส โม้ระเบิด, Dui202, iamnatee, yong9, ไก่โต้ง, aun17, nontanut, jobrard, MeeSook, ooh1991, Karamar, #mam#, cash001, angy, Ekachaiyan, woso, น้ำข้าว, lief36, เพียรบ้านไร่, FUJI, siam05, Ratthapatch, 5XXA, varapornpongsopa, o___O, num29, Bull Rider, jamaybe, Art Natthapol, patana-9, s.prakarn, KungFuu, Steve_Jeab, leknoppadon.p
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2012, 05:52:23 PM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ภายในเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากขึ้นกองปุ๋ย จุลินทรีย์จะทำงานแล้วคายความร้อนออกมา ความสูงของกองปุ๋ย 1.5 เมตรจะทำให้สะสมความร้อนเอาไว้ได้ดี จนเกิดเป็นความร้อนในกองปุ๋ยที่ลอยออกมาจากกองปุ๋ย ที่ภาคเหนือหน้าหนาวหรือหน้าฝนช่วงเช้า ๆ จะเห็นเป็นไอสีขาวลอยออกมาจากกองปุ๋ย ในรูปสังเกตนะครับว่ากองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยม กองนี้ทำจากเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับขี้ไก่ครับ (ทำบนดินในแปลงเพาะปลูก) ที่นี่เป็นของฟาร์มไก่ เคยขายขี้ไก่กิโลละ 0.25 บาท เลยเพิ่มมูลค่าโดยไปเอาเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาฟรี ๆ (เขาจะเผาทิ้งอยู่แล้ว) มาเข้ากระบวนการกับขี้ไก่ ฟาร์มนี้อยู่ที่เชียงรายครับผม - ท่านที่ยืนอยู่คือรองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของแม่โจ้ครับ 
Liked By: ดวงพร, konthain(นพ), กัญจน์, ครูซอส, eight, Saithong, nitidol, nongparei, AMOL, deer art, ปากแดงดอทคอม, krading, supischa, James, sompol, lerk asm, pp_79, rangsan_10, Gnoy, ไม้หน้า3, artith, ทิดโส โม้ระเบิด, Dui202, iamnatee, aun17, nontanut, jobrard, MeeSook, ooh1991, rosera, #mam#, 5XXA, Boonyaporn, Ekachaiyan, nookie, woso, น้ำข้าว, fajung, lief36, FUJI, Ratthapatch, varapornpongsopa, o___O, num29, Bull Rider, Art Natthapol, patana-9, s.prakarn, KungFuu, Steve_Jeab, leknoppadon.p, Surakree, weiweishen
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2012, 05:55:21 PM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
Liked By: กัญจน์, konthain(นพ), ดวงพร, ครูซอส, eight, Saithong, nitidol, nongparei, AMOL, deer art, roong2000, supischa, wirot, sompol, lerk asm, pp_79, rangsan_10, Gnoy, ไม้หน้า3, chumpla, ทิดโส โม้ระเบิด, Dui202, iamnatee, yong9, aun17, nontanut, jobrard, MeeSook, ooh1991, Karamar, rosera, #mam#, tom_freed, Boonyaporn, angy, Ekachaiyan, woso, น้ำข้าว, fajung, lief36, เพียรบ้านไร่, Ratthapatch, 5XXA, RiceForLife, o___O, num29, Bull Rider, Art Natthapol, patana-9, s.prakarn, KungFuu, Steve_Jeab, Surakree
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2012, 02:01:32 PM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
konthain(นพ)
Administrators
  
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 9908
ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ
|
ขอบคุณครับท่านอาจารย์ tera ผมนั่งอ่านข้อเขียนของท่านอาจารย์แล้วชอบใจมากๆเลยครับ อธิบายได้เข้าใจง่าย ไม่มีศัพท์วิชาการมากมายให้ชาวบ้านงง ผมว่าอาจารย์น่าจะเขียนหนังสือสักเล่ม(พิมพ์ขาย)นะครับ จะได้ช่วยให้เกษตรกรที่เข้าไม่ถึงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างพวกผม ได้มีโอกาสรับรู้ด้วยขอบคุณครับ 
Liked By: ดวงพร, ครูซอส, nongparei, AMOL, tri, ไม้หน้า3, friendy, ทิดโส โม้ระเบิด, iamnatee, aun17, nontanut, jobrard, ooh1991, tom_freed, Ekachaiyan, woso, Sanya_Sr, น้ำข้าว, NoomRatburi, punny, 5XXA, varapornpongsopa, RiceForLife, o___O
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สำนึกดีครับรับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 
|
|
|
jukgree
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 177
|
ขอขอบคุณอาจารย์ tera มากครับ ที่ช่วยเหลือเกษตรกรช่วยลดต้นทุนไปเยอะเลยทีเดียวครับ แต่ผมยังไม่เข้าใจอยู่นิดนึงครับ คำว่า อัตราส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร หมายความว่ายังไงครับอาจารย์ช่วยขยายความให้ผมเข้าใจหน่อยนะครับ 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2012, 02:24:40 PM โดย jukgree »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ในปี 2554 มีความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มูลนิธิชัยพัฒนา อ.แม่สาย จ.เชียงราย (อีก 5 กิโลเมตรก่อนถึงแม่สาย) จำนวน 30 ตัน เพื่อปรับปรุงดิน 30 ไร่ แม่โจ้เลยติดต่อกลุ่มเกษตรกรที่เป็นเครือข่ายที่บ้านโป่ง ต.โป่งงาม อ.แม่สาย ที่อยู่ใกล้ ๆ ศูนย์ ให้ช่วยผลิตปุ๋ยให้ ในรูปจ้างผลิตกิโลละ 4 บาท (ให้ยืมเงินค่าขี้วัว) ปรากฏว่าสมาชิกกลุ่มไม่ค่อยให้ความสำคัญ ตัวประธานคือพี่ถวิลเลยรับทำเอง ตอนนี้แกส่งปุ๋ยไปให้ศูนย์ครบแล้ว ผลคือรับเงินไปเหนาะ ๆ 120,000 บาท ผมพยายามบีบถามว่าตกลงแกกำไรเท่าไร แกไม่ยอมบอกครับ - ใครอยากไปเยี่ยมแกก็เชิญนะครับ ไปดูกองปุ๋ยของแก ไปสอบถามที่ อบต.โป่งงาม ใกล้วัดบ้านถ้ำก็ได้ครับ ตอนนี้แกทำปุ๋ยอยู่เรื่อย ๆ และเดินหน้าเรื่องการปลูกผักและข้าวอินทรีย์ครับ ข้าวกล้องของแกอร่อยมากครับ  - ขอประชาสัมพันธ์นิดนึงว่า ร้านจันกะผักของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มีสลัดอินทรีย์ ส้มตำ อาหาร กาแฟ และไอสครีมโยเกริ์ต ที่อร่อยมาก ทานเสร็จอยากขอเข้าไปดูงานในศูนย์ก็จะมีประชาสัมพันธ์พาเข้าไปดู ที่นี่เขาผลิตเมล็ดพันธุ์พืชและเก็บไว้ รอเวลาเกิดภัยพิบัติที่เกษตรกรต้องการเมล็ดพันธุ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็จะพระราชทานไปให้ครับ การจัดบริเวณที่นี่น่ารัก เรียบง่าย และพอเพียงครับ มีกองปุ๋ยของแม่โจ้ในศูนย์นี้ด้วยครับ   
Liked By: ดวงพร, กัญจน์, ครูซอส, eight, Saithong, nitidol, nongparei, AMOL, deer art, ปากแดงดอทคอม, krading, sompol, lerk asm, ไม้หน้า3, Dui202, iamnatee, aun17, nontanut, jobrard, MeeSook, ooh1991, rosera, angy, Ekachaiyan, woso, น้ำข้าว, fajung, lief36, Ratthapatch, 5XXA, varapornpongsopa, o___O, num29, Bull Rider, patana-9, s.prakarn, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ขอขอบคุณอาจารย์ tera มากครับ ที่ช่วยเหลือเกษตรกรช่วยลดต้นทุนไปเยอะเลยทีเดียวครับ แต่ผมยังไม่เข้าใจอยู่นิดนึงครับ คำว่า อัตราส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร หมายความว่ายังไงครับอาจารย์ช่วยขยายความให้ผมเข้าใจหน่อยนะครับ  - คือว่า ในการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ต้องมีสัดส่วนผสมใช่ไหมครับ สัดส่วนผสมก็มี 2 แบบ คือ โดยน้ำหนัก และโดยปริมาตร - ถ้าโดยน้ำหนักก็คือ เอาเศษพืชมา 2 ตันกับมูลสัตว์อีก 300 กิโลกรัม (สมมติเฉย ๆ นะครับ) เป็นต้น ซึ่งมีปัญหาว่าเกษตรกรคงไม่มีตาชั่งขนาดนั้น - ถ้าเป็นโดยปริมาตร ก็คือ ถ้ามีเศษพืช 400 เข่งก็ต้องมีมูลสัตว์ 100 เข่งไงครับ
Liked By: konthain(นพ), ดวงพร, กัญจน์, ครูซอส, Saithong, nongparei, AMOL, sompol, s_pong, san, lerk asm, rangsan_10, Gnoy, friendy, artith, ทิดโส โม้ระเบิด, yong9, aun17, nontanut, ooh1991, Karamar, tom_freed, angy, Ekachaiyan, น้ำข้าว, fajung, lief36, NoomRatburi, 5XXA, varapornpongsopa, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4714
คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้
|
ขอบคุณมาก ขอบคุณจริงๆค่ะ ได้การหมักปุ๋ยแบบไม่กลับกองไปใช้ในสวนยางของตัวเองแล้วค่ะ ฟางวัตถุดิบหาได้ง่ายอยู่ค่ะเพราะที่สวนหมักปุ๋ยทุกปีและจำนวนมากแต่ยังไม่ได้รายละเอียดแบบของ อาจารย์ที่เห็นภาพชัดเจนและทำง่าย
ใช้แกลบในการหมักแบบนี้ได้ด้วยใหมคะ
Liked By: konthain(นพ), กัญจน์, ครูซอส, Saithong, AMOL, tri, ทิดโส โม้ระเบิด, yong9, nontanut, ooh1991, Karamar, Boonyaporn, น้ำข้าว, 5XXA, varapornpongsopa
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
testcha
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 14
|
นึกออกแล้วที่บ้านมีใบยางพาราร่วงเยอะมาก กำลังคิดอยู่ว่าจะเอามาทำปุ๋ยแบบนี้ดีกว่า.....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
konthain(นพ)
Administrators
  
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 9908
ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ
|
ขอบคุณมาก ขอบคุณจริงๆค่ะ ได้การหมักปุ๋ยแบบไม่กลับกองไปใช้ในสวนยางของตัวเองแล้วค่ะ ฟางวัตถุดิบหาได้ง่ายอยู่ค่ะเพราะที่สวนหมักปุ๋ยทุกปีและจำนวนมากแต่ยังไม่ได้รายละเอียดแบบของ อาจารย์ที่เห็นภาพชัดเจนและทำง่าย
ใช้แกลบในการหมักแบบนี้ได้ด้วยใหมคะ
นึกออกแล้วที่บ้านมีใบยางพาราร่วงเยอะมาก กำลังคิดอยู่ว่าจะเอามาทำปุ๋ยแบบนี้ดีกว่า.....
สมาชิกท่านใดที่อ่านวิธีการทำจนเข้าใจแล้ว และได้นำไปลงมือปฏิบัติช่วยนำผลการปฏิบัติเอามาลงเป็นข้อมูล ไว้ด้วยนะครับ(กระทู้นี้ก็ได้)จะได้เป็นข้อมูลรวมให้สมาชิกที่สนใจ ได้ติดตามกัน ขอบคุณครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สำนึกดีครับรับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 
|
|
|
spyman
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 225
|
ทำความเข้าใจว่า(ตามที่ผมเข้าใจ) วัสดุ คือ ฟาง (เศษพืช) 3 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน
วาง ฟาง 10 เซ็น โรยด้วย มูลสัตว์ รดด้วยน้ำ ทำ 16-17 ชั้น เป็นรูป 3 เหลี่ยม ฐาน2.5เมตร สูง 1.5 เมตร
รดน้ำทุกวัน หรือ ฝนตกไม่ต้องรด วางไว้กลางแจ้งบนดิน ห้ามไต้ต้นไม้ ไม่ต้องมีหลังคา ไม่ต้องมีอีเอ็ม ไม่ต้องมี พด ไม่ต้องมีน้ำหมัก
รอ 2 เดือน นำไปใส่ต้นไม้ได้เลยใช่ไหมครับ อาจารย์ ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|