หน้า: 1 ... 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 [59] 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 ... 433   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนสมาชิกทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ของแม่โจ้ ไม่ต้องพลิกกลับกอง (มีสารบัญ)  (อ่าน 3021779 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #928 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 03:40:44 PM »

ขอถามอาจารย์ ธีระ หน่อยครับ ถ้าวัสดุ เป็นพวกขี้หม้อกรอง ,กากชานอ้อย,เศษปลอกไม้(ยูคา) เอามาใช้ทำปุ๋ยวิธีแม่โจ้ได้ไหมครับ
ถ้าได้ ใช้อัตราส่วนเท่าไหรครับ

ปล. จำนวนหน้าเยอะมากตามอ่านหาไม่เจอครับ

- ขี้หม้อกรองไม่ได้ครับ

- กากชานอ้อยได้ครับ ลอง 4 ต่อ 1 ดูนะครับ

- เศษเปลือกไม้ยูคาเคยมีคนทำครับ แถวหนองคาย เพื่อใช้กับการปลูกยางและเตรียมกล้า ทำด้วยวิธีอื่นแต่ใช้เวลานาน อาจเป็นเพราะเปลือกไม้ย่อยยากหรือด้วยปัจจัยอื่นเช่นไม่ได้ดูแลความชื้นหรือไม่ได้รีบใช้ เราอาจจะลองทำก็ได้ครับ ใช้ 3 ต่อ 1ครับ

- ใช้ 4 ต่อ 1 เมื่อเศษพืชเปื่อยได้ง่าย ใช้ 3 ต่อ 1 เมื่อเปื่อยยากครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2012, 03:56:18 PM โดย tera » บันทึกการเข้า

James
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2466


« ตอบ #929 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 03:45:43 PM »


- ใช้ 4 ต่อ 1 เมื่อเศษพืชเปื่อยได้ง่าย ใช้ 4 ต่อ 1 เมื่อเปื่อยยากครับ
อาจารย์ครับ เปื่อยยาก ไม่ใช่ 3 ต่อ 1หรือครับ


Liked By: ti_krab, Gnoy, AMOL
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #930 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 03:57:00 PM »


- ใช้ 4 ต่อ 1 เมื่อเศษพืชเปื่อยได้ง่าย ใช้ 4 ต่อ 1 เมื่อเปื่อยยากครับ
อาจารย์ครับ เปื่อยยาก ไม่ใช่ 3 ต่อ 1หรือครับ

โกรธ


Liked By: James, AMOL
บันทึกการเข้า
ti_krab
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #931 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 03:57:35 PM »

ขอบคุณมากครับ วัสดุ พวกต้นข้าวโพด มีราคาแพงมากครับแถวบ้านผม เพราะเขาเลียงวัวกันเยอะ ฟางข้าวก็แพงครับ เพราะปลูกผักกันเยอะเช่นกัน มีของเหลือจากโรงงานน้ำตาลนี่ละ ที่พอจะถูกกว่าเขาครับ

ขอถามอีกนิด ครับ กากมันใช้ได้ด้วยหรือไม่ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2012, 04:00:06 PM โดย ti_krab » บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #932 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 04:06:22 PM »

ขอบคุณมากครับ วัสดุ พวกต้นข้าวโพด มีราคาแพงมากครับแถวบ้านผม เพราะเขาเลียงวัวกันเยอะ ฟางข้าวก็แพงครับ เพราะปลูกผักกันเยอะเช่นกัน มีของเหลือจากโรงงานน้ำตาลนี่ละ ที่พอจะถูกกว่าเขาครับ

ขอถามอีกนิด ครับ กากมันใช้ได้ด้วยหรือไม่ครับ


- กากมันน่าจะได้ครับ แต่จะมีปัญหาตอนมันอัดแน่นในกองปุ๋ย คงต้องหาเศษพืชอย่างใบไม้เข้าร่วมด้วย

- เปลือกมันก็ใช้ได้นะครับ
บันทึกการเข้า
พี่ณัฐ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1338


« ตอบ #933 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 05:06:09 PM »

- คุณ orogaro อย่าลืมใช้เข่งตวงนะครับไม่งั้นจะเปลืองมูลสัตว์ ถ้าเป็นหญ้าหรือฟางใช้ 4 ส่วนต่อมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร อย่างเช่น ถ้าจะทำกว้าง 1 เมตร ก็ใช้หญ้า 2 เข่ง มูลสัตว์ 0.25 เข่งต่อชั้นนะครับ ไม่ทราบงงหรือเปล่า แต่ไม่เป็นไร ผมจะดูจากชั้นต่อไปก็แล้วกันครับ

ขออภัยครับคุณครู  ถ้าเป็นหญ้าหรือฟางใช้ 4 ส่วนต่อมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร  4:1
เพราะฉะนั้น ถ้าใช้หญ้า 2 เข่ง ก็ต้องใช้ มูลสัตว์ 0.5เข่ง /ชั้น หรือเปล่าครับผม ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

T.087-3293576
 *ขออภัย จำกัดสิทธิ์การใส่ Link-URL ในลายเซ็น*
saree691206
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 290


« ตอบ #934 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 05:15:50 PM »

อาจารย์ค่ะ ปุ๋ยแบบของอาจารย์ที่เขาทำขายกัน เขากันกระสอบที่เท่าไรค่ะ และหนักกี่โล ต้องอัดเม็ดไหม เศร้า

- ปุ๋ยแบบแม่โจ้เป็นเพียงวิธีการที่แตกต่างจากวิธีอื่นตรงที่พยายามให้ง่าย จูงใจให้นักเรียน เอ๊ย...เกษตรกรหันมาผลิตและใช้เอง ปุ๋ยแบบแม่โจ้ที่ไปส่งเสริมส่วนใหญ่เกษตรกรจึงมักจะผลิตและใช้เองครับ เพราะเกิดมาไม่เคยทำปุ๋ยหมัก พอทำเป็นก็รีบเอาไปใส่นาหมด ยังไม่มีเวลานึกถึงการค้าขาย แต่อีกหน่อยพอรู้ตัวก็ไม่แน่นะครับ

- ปุ๋ยอินทรีย์ในท้องตลาดทั่วไปมีทั้งกระสอบละ 30 กก. 50 กก. มีทั้งอัดเม็ด ปั้นเม็ด และเป็นผง ราคาก็อยู่ในช่วงกก.ละ 4 - 7 บาท สูงสุดคือ 10 บาท ทำขายที่บ้านห้วยทราย สันกำแพง เชียงใหม่ครับ ถ้าจะซื้ออัดเม็ด ปั้นเม็ด อย่าซื้อนะครับ มันไม่ละลายน้ำง่าย ๆ และมีดินเหนียวเป็นส่วนผสมเยอะ ส่วนใหญ่เลยตกเกณฑ์มาตรฐาน (เพราะถ้าไม่ใส่ดินเหนียวมันจะปั้นไม่ได้ และดินเหนียวทำให้ปุ๋ยมันหนักด้วย) ถ้าทำใช้เองก็ใช้แบบหยาบ ๆ ที่แห้งแล้ว ไม่ต้องเอาไปตีป่นก่อน
   ขอบคณุค่ะอาจารย์ ส่วนตัวจะทำไว้ใช้เองค่ะ ตอนนี้ศึกษาไปก่อนทางเวปค่ะ ได้ความรู้แยะเลยค่ะอาจารย์ ปลายปีนี้เตรียมลุยได้เต็มที่
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #935 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 05:17:11 PM »

- คุณ orogaro อย่าลืมใช้เข่งตวงนะครับไม่งั้นจะเปลืองมูลสัตว์ ถ้าเป็นหญ้าหรือฟางใช้ 4 ส่วนต่อมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร อย่างเช่น ถ้าจะทำกว้าง 1 เมตร ก็ใช้หญ้า 2 เข่ง มูลสัตว์ 0.25 เข่งต่อชั้นนะครับ ไม่ทราบงงหรือเปล่า แต่ไม่เป็นไร ผมจะดูจากชั้นต่อไปก็แล้วกันครับ

ขออภัยครับคุณครู  ถ้าเป็นหญ้าหรือฟางใช้ 4 ส่วนต่อมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร  4:1
เพราะฉะนั้น ถ้าใช้หญ้า 2 เข่ง ก็ต้องใช้ มูลสัตว์ 0.5เข่ง /ชั้น หรือเปล่าครับผม ยิ้มเท่ห์


- ฮิฮิ วนไม่ออกเลยงานนี้  โกรธ

- ของคุณถูกครับผม หญ้า 2 เข่ง ก็ต้องใช้ มูลสัตว์ 0.5เข่ง /ชั้น  โกรธ
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #936 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 06:35:40 PM »

- เกร็ดความรู้บางประการในการทำปุ๋ยหมักกองใหญ่

- เนื่องจากกองปุ๋ยของเราเป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 1.5 เมตรใช่ไหมครับ ในกรณีที่ใช้ฟาง เราก็จะเริ่มโดยนำฟาง 4 เข่งกับขี้วัว 1 เข่งมาวางเป็นชั้นหนา 10 ซม ซึ่งปกติก็จะได้ความยาวประมาณ 3-4 เมตร พอมีหลายชั้นเข้าเราก็จะเริ่มปรับให้เป็นรูปสามเหลี่ยม

- ทีนี้ พอความสูงได้ประมาณ 80 ซม เราก็จะพบว่าขืนเรายังใช้ฟาง 4 เข่งต่อชั้นอีก ชั้นนั้นก็จะหนากว่าที่กำหนด โดยอาจหนาถึง 20 ซม ซึ่งผิดสูตรที่ครูสอน แล้วจะทำยังไง

- เราก็ต้องใช้ "ครึ่ง" สูตร คือใช้ฟาง 2 เข่งกับขี้วัวครึ่งเข่ง ก็จะได้ความหนาชั้นกลับมาเป็น 10 ซม เหมีอนเดิม เอ๊ย..เหมือนเดิม

- พอทำไปเรื่อย ๆ ได้ความสูงสัก 1 เมตร จะพบว่าถ้ายังใช้ครึ่งสูตร ชั้นก็จะเริ่มหนาอีกแล้วเพราะจะเป็นบริเวณปลายแหลมแล้ว ก็เลยต้องใช้ "ครึ่งของครึ่งสูตร" คือใช้ฟาง 1 เข่งกับขี้วัว "หนึ่งในสี่" ของเข่ง ก็จะได้ความหนา 10 ซม เหมือนเดิม

- ชั้นสุดท้ายให้เป็นขี้วัวบาง ๆ วางกระจายทั่ว ๆ เพื่อช่วยทับฟางและให้มีอาหารกับจุลินทรีย์บริเวณนี้ การที่เรารดน้ำทุกวันให้ผิวนอกกองชื้นอยู่เสมอก็จะช่วยให้น้องจุลมีชีวิตได้ตามอัตภาพครับ

- การตวงด้วยเข่งแบบนี้พอขึ้นกองที่สองอาจไม่จำเป็นต้องใช้เข่งก็ได้ ถ้าชำนาญแล้วก็กะ ๆ เอา

- การรดน้ำประจำวันถ้ามีสายยาง ก็รดสักครึ่งนาทีหรือหนึ่งนาทีต่อความยาว 3-4 เมตร ก็เพียงพอครับ ให้นึกเสียว่าเป็นการรดน้ำไม้ดอกประจำวันก็แล้วกัน

- ช่วงไหนไม่อยู่ไม่ได้รดน้ำสักอาทิตย์นึง กลับมาค่อยรดก็ได้ น้องจุล "ทนได้"

- ค่าอุณหภูมิไม่จำเป็นต้องวัดครับ เพราะไม่ได้ทำวิจัยเหมือนครู ล้วง ๆ ดูให้พอรู้ว่าร้อนก็พอ ค่าอุณหภูมิจะสูงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพรุนในกองปุ๋ยด้วย ถ้าใช้วัสดุต่างกันความพรุนก็ต่างครับ

- เดินผ่านกองปุ๋ย ก็หมั่นแวะเช็คความชื้นในกองหน่อย ให้เป็นนิสัย แล้วจะรู้นิสัยของกองปุ๋ยของเรา ซึ่งใช้วัสดุคนละตัวของเพื่อนนักเรียนครับ ลอกกันก็ไม่ได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2012, 06:52:54 PM โดย tera » บันทึกการเข้า
nok7959
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 3671


ทุกสิ่งอย่างกำหนดได้...ด้วย..ใจ.. : )


« ตอบ #937 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 07:27:04 PM »

มาตามความรู้ค่ะ... จุมพิต จุมพิต จุมพิต  : )


Liked By: Gnoy, AMOL
บันทึกการเข้า

สวนหินบ่อทอง ยินดีต้อนรับค่ะ... : )
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=63000.96
มาเติมเต็มสิ่งดี ๆ ให้กับชีวิตของท่านค่ะ... : )
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=64691.0
tass08
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 340


« ตอบ #938 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 08:09:30 PM »

แหะๆอาจารย์ห้ามลอกกันน่ะ แลบลิ้น ยิ้มกว้างๆ


Liked By: Gnoy
บันทึกการเข้า
Nid_Noy
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 39


« ตอบ #939 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 08:31:32 PM »

- เกร็ดความรู้บางประการในการทำปุ๋ยหมักกองใหญ่

- เนื่องจากกองปุ๋ยของเราเป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 1.5 เมตรใช่ไหมครับ ในกรณีที่ใช้ฟาง เราก็จะเริ่มโดยนำฟาง 4 เข่งกับขี้วัว 1 เข่งมาวางเป็นชั้นหนา 10 ซม ซึ่งปกติก็จะได้ความยาวประมาณ 3-4 เมตร พอมีหลายชั้นเข้าเราก็จะเริ่มปรับให้เป็นรูปสามเหลี่ยม

- ทีนี้ พอความสูงได้ประมาณ 80 ซม เราก็จะพบว่าขืนเรายังใช้ฟาง 4 เข่งต่อชั้นอีก ชั้นนั้นก็จะหนากว่าที่กำหนด โดยอาจหนาถึง 20 ซม ซึ่งผิดสูตรที่ครูสอน แล้วจะทำยังไง

- เราก็ต้องใช้ "ครึ่ง" สูตร คือใช้ฟาง 2 เข่งกับขี้วัวครึ่งเข่ง ก็จะได้ความหนาชั้นกลับมาเป็น 10 ซม เหมีอนเดิม เอ๊ย..เหมือนเดิม

- พอทำไปเรื่อย ๆ ได้ความสูงสัก 1 เมตร จะพบว่าถ้ายังใช้ครึ่งสูตร ชั้นก็จะเริ่มหนาอีกแล้วเพราะจะเป็นบริเวณปลายแหลมแล้ว ก็เลยต้องใช้ "ครึ่งของครึ่งสูตร" คือใช้ฟาง 1 เข่งกับขี้วัว "หนึ่งในสี่" ของเข่ง ก็จะได้ความหนา 10 ซม เหมือนเดิม

- ชั้นสุดท้ายให้เป็นขี้วัวบาง ๆ วางกระจายทั่ว ๆ เพื่อช่วยทับฟางและให้มีอาหารกับจุลินทรีย์บริเวณนี้ การที่เรารดน้ำทุกวันให้ผิวนอกกองชื้นอยู่เสมอก็จะช่วยให้น้องจุลมีชีวิตได้ตามอัตภาพครับ

- การตวงด้วยเข่งแบบนี้พอขึ้นกองที่สองอาจไม่จำเป็นต้องใช้เข่งก็ได้ ถ้าชำนาญแล้วก็กะ ๆ เอา

- การรดน้ำประจำวันถ้ามีสายยาง ก็รดสักครึ่งนาทีหรือหนึ่งนาทีต่อความยาว 3-4 เมตร ก็เพียงพอครับ ให้นึกเสียว่าเป็นการรดน้ำไม้ดอกประจำวันก็แล้วกัน

- ช่วงไหนไม่อยู่ไม่ได้รดน้ำสักอาทิตย์นึง กลับมาค่อยรดก็ได้ น้องจุล "ทนได้"

- ค่าอุณหภูมิไม่จำเป็นต้องวัดครับ เพราะไม่ได้ทำวิจัยเหมือนครู ล้วง ๆ ดูให้พอรู้ว่าร้อนก็พอ ค่าอุณหภูมิจะสูงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพรุนในกองปุ๋ยด้วย ถ้าใช้วัสดุต่างกันความพรุนก็ต่างครับ

- เดินผ่านกองปุ๋ย ก็หมั่นแวะเช็คความชื้นในกองหน่อย ให้เป็นนิสัย แล้วจะรู้นิสัยของกองปุ๋ยของเรา ซึ่งใช้วัสดุคนละตัวของเพื่อนนักเรียนครับ ลอกกันก็ไม่ได้


แสดงว่าอยากให้ได้ปุ๋ยดีต้องเป็นนักล้วงกระเป๋าที่ดี  เอ้ย...เป็นนักล้วงกองปุ๋ยที่ดี ล้วงบ่อย ๆ ใช่ไหมครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
พี่ณัฐ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1338


« ตอบ #940 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 08:40:47 PM »

- คุณ orogaro อย่าลืมใช้เข่งตวงนะครับไม่งั้นจะเปลืองมูลสัตว์ ถ้าเป็นหญ้าหรือฟางใช้ 4 ส่วนต่อมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร อย่างเช่น ถ้าจะทำกว้าง 1 เมตร ก็ใช้หญ้า 2 เข่ง มูลสัตว์ 0.25 เข่งต่อชั้นนะครับ ไม่ทราบงงหรือเปล่า แต่ไม่เป็นไร ผมจะดูจากชั้นต่อไปก็แล้วกันครับ

ขออภัยครับคุณครู  ถ้าเป็นหญ้าหรือฟางใช้ 4 ส่วนต่อมูลสัตว์ 1 ส่วนโดยปริมาตร  4:1
เพราะฉะนั้น ถ้าใช้หญ้า 2 เข่ง ก็ต้องใช้ มูลสัตว์ 0.5เข่ง /ชั้น หรือเปล่าครับผม ยิ้มเท่ห์


- ฮิฮิ วนไม่ออกเลยงานนี้  โกรธ

- ของคุณถูกครับผม หญ้า 2 เข่ง ก็ต้องใช้ มูลสัตว์ 0.5เข่ง /ชั้น  โกรธ

อย่างน้อยคุณครูจะได้ทราบว่า สิ่งที่สอนไปเข้าใจจริงหรือเปล่าไงครับ ยิงฟันยิ้ม และสนใจแล้วคิดวิเคราะห์ตามไปด้วยหรือเปล่าจริงไหมครับ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

T.087-3293576
 *ขออภัย จำกัดสิทธิ์การใส่ Link-URL ในลายเซ็น*
pornchai nuamparm
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


« ตอบ #941 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 09:37:42 PM »

น่าสนใจดีครับ


Liked By: tera, Gnoy, AMOL
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #942 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 10:50:06 PM »

พอดีอาทิตย์นี้ผมพักร้อนเหลือ ก็เลยหยุดทั้งอาทิตยเลยครับเลยได้อยู่สวนนานหน่อย มีเวลาว่างเลยเอามือนั่งล้วงกองปุ๋ยเล่นครับจารย์ ร้อนมากครับ แต่ก็ร้อนแบบพอทนได้นะครับ ไม่ถึงขั้นมือลวกหรือพอง กองปุ๋ยยังชื้นอยู่ครับผม แต่ยังไงเสาร์ที่จะถึงนี้จะเช็คความชื้นอีกทีนะครับ




- นักเรียนปากแดงดอทคอมล้วงน้องปุ๋ย กลัวครูไม่เชื่อ !!!  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Weekend Farmer
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 56


« ตอบ #943 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 11:14:17 PM »

อาจารย์ครับ    หารูปเก่าที่ทำปุ๋ยแบบฉลาดน้อยมาให้ชมครับ ไม่ถือเป็นการบ้านครับ

กองหญ้า พด2 เกือบ 10 ซอง

2ปีผ่านไป ครับ2ปึ ผมคิดว่าน่าจะเป็นเศษหญ้าผุมากกว่า เป็นปุ๋ยครับ

ปี55 รวบรวมจากใบสักและใบสะเดาทำใหม่
ใส่ลงไปในบ่อ แล้วขึ้นไปเหยียบเพื่อให้ยุบ เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปเก็บใว้ครับ ขี้วัว 3 ถุงปุ๋ยเล็ก โรยเฉพาะหน้าบนอย่างเดียว
ราดน้ำให้เปียก 2 ครัง ในช่วง2-3เดือนแรกที่เริ่มทำ แล้วลืมครับ ให้กาลเวลาเป็นผู้ช่วยครับ (ทำตามลุงJACKครับ)
แล้วผมจะถ่ายรูปมาให้ขำครับ

รูปแมลงครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 [59] 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 ... 433   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: