ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4714
คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้
|
แฮ่...อาจารย์คะแบบนี้ใส่กะละมัง ง่ายกว่าเยอะหรือไม่ก็ถังพลาสติกเหมือนที่อาจารย์นำมาให้ดูนะคะใส่ในถังแล้วกลิ้งๆน่าจะง่ายกว่าเจ้าตาข่ายนี่ แบบตาข่ายนี่เหมาะออกกำลังกายมากกว่าค่ะตักเข้าตักออกน่าจะไมใ่ไหว แต่ส่วนดีก็คือคืดว่าอากาศเข้าได้ง่ายเพราะโปร่ง อะไรประมาณนั้นน่ะค่ะ  ;Dครูใหญ่หัวไม่ค่อยดีค่ะวิจารณ์ไม่ค่อยถูก ต้องรอคุณ นพ โน่นค่ะเจ้านั้นเขาเก็บรายละเอียดเก่ง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
konthain(นพ)
Moderator
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 9908
ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ
|
- มีอีกแนวหนึ่งในการทำปุ๋ยอินทรีย์ คือทำในกรงตาข่ายเหล็ก หรือในเสวียนไม้ไผ่ ที่ไม่มีก้น ถ้าต้องการเสร็จใน 1 เดือนจะต้องออกกำลังกาย (แต่ถ้าไม่รีบใช้ ก็ไม่ต้องเสียกำลัง เอ๊.... ยังไง) - วิธีการ เอาตาข่ายเหล็กหรือเสวียนไม้ไผ่ทำเป็นทรงกระบอก ที่ไม่มีก้น เส้นผ่านศูนย์กลางสัก 70 ซม. สูงสัก 1.2 เมตร เอาใบไม้กับขี้วัว 3 ต่อ 1 ใส่เข้าไป ตอนใส่ก็รดน้ำด้วย ทุก ๆ วันให้ดึงตาข่ายขึ้น วัสดุก็จะร่วงออกมา ตักวัสดุเข้าไปในกรงใหม่ แค่นี้ก็ได้ออกกำลังกายแล้ว ถ้าความชื้นเริ่มหายก็เติมน้ำ - ถ้าทำได้ทุกวันจะได้ปุ๋ยใน 1 เดือน หลังจากนั้นทำให้แห้ง แล้วค่อยเอาไปใช้ - ถ้าไม่มีแรงก็ให้ทิ้งไว้อย่างนั้น ไม่ต้องยกกรงออก กรงจะมีก้นหรือไม่ก็ได้ แต่ให้รดน้ำทุกวัน คอยเจาะด้านบนกองปุ๋ยเพื่อใส่น้ำเข้าไป ข้อสำคัญว่าจะต้องคอยล้วงเข้าไปเช็คความชื้นด้วย ถ้ามีก้นที่โปร่งจะช่วยไม่ให้มีน้ำขังที่ก้นถัง วิธีนี้จะเสร็จช้าหน่อย คือ ควบคุมเวลาแล้วเสร็จไม่ได้       - อยากให้สมาชิก กพพ.ที่อ่านกระทู้นี้ และนักเรียนโรงเรียน กพพ.วิทยาทุกท่าน (รวมคุณครูใหญ่ ผจก. ภารโรง) ลองวิจารณ์การทำปุ๋ยแบบนี้ ว่าสอดคล้องกับทฤษฎีการทำปุ๋ยอินทรีย์หรือไม่อย่างไร (ห้ามวิจารณ์ในทำนองนี้ ...ว่าจะเหนื่อย หรือไม่มีแรง หรือจะหาซื้อตาข่ายไม่ได้นะครับ) - ตาข่ายนี้ทำได้ไม่กี่ครั้งก็บุบบี้ไปแล้วครับ ไอเดียทำปุ๋ยแบบใช้กรงของอาจารย์ tera อันนี้ได้ออกกำลังกายจริงๆเลยนะครับ ได้ปุ๋ยไวด้วย  แฮ่...อาจารย์คะแบบนี้ใส่กะละมัง ง่ายกว่าเยอะหรือไม่ก็ถังพลาสติกเหมือนที่อาจารย์นำมาให้ดูนะคะใส่ในถังแล้วกลิ้งๆน่าจะง่ายกว่าเจ้าตาข่ายนี่ แบบตาข่ายนี่เหมาะออกกำลังกายมากกว่าค่ะตักเข้าตักออกน่าจะไม่ไหว แต่ส่วนดีก็คือคืดว่าอากาศเข้าได้ง่ายเพราะโปร่ง อะไรประมาณนั้นน่ะค่ะ  ;Dครูใหญ่หัวไม่ค่อยดีค่ะวิจารณ์ไม่ค่อยถูก ต้องรอคุณ นพ โน่นค่ะเจ้านั้นเขาเก็บรายละเอียดเก่ง  ถ้าไม่ว่ากันเรื่องปริมาณที่จะได้ปุ๋ยน้อยไปหน่อย(จากรูปทำเสร็จคงได้ปุ๋ยประมาณ 20 กก.เหมาะกับสวนผักบ้านครูใหญ่ดวงพรมากๆครับ  ) ข้อดีที่ท่านอาจารย์ tera ว่าไว้คือถ้าขยันยกกรงออกและตักวัสดุหมักทุกวัน คุมเรื่องความชื้นให้ดี(ดูเรื่องน้ำ) จะได้เป็นปุ๋ยภายใน 1 เดือนเป็นหลักแบบการเติมอากาศใช่ไหมครับการยกกรงและตักทุกวันเป็นการเติมอากาศให้กองปุ๋ยอย่างดี แต่ถ้าไม่ยกกรงเลย(ไม่มีแรงยกแรงตัก)ทิ้งไว้แบบนั้นแต่คอยคุมเรื่องความชื้น(รดน้ำ)เวลากลายเป็นปุ๋ยก็อาจจะช้าหน่อยประมาณนั้น สรุปคือถ้าจะหมักปุ๋ยได้เร็ว ก็คือต้องควบคุม ความชื้น อากาศ อุณหภูมิ ของกองปุ๋ย ถูกต้องหรือเปล่าครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สำนึกดีครับรับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 
|
|
|
Nid_Noy
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 39
|
สวัสดี ครับ อาจารย์ คุณครู และนักเรียนทุกท่าน ผมติดตามกระทู้นี้หลายวันแล้วครับ แต่ละคำถามที่มีคนถามเป็นประโยชน์มากเลย แต่ผมมีคำถามอยากเรียนถามอาจารย์ว่า ถ้าสมมุติว่า ผมหมักปุ๋ยตามวิธีของอาจารย์ โดยผมมีขี้วัว 1 ตัน พอหมักครบ 2 เดือนกลายเป็นปุ๋ยเสร็จ ผมจะได้ปุ๋ย 1 ตััน หรือ น้อยกว่า 1 ตัน หรือ มากกว่า 1 ตัน ประมาณเท่าไหร่ครับ เพราะคิดว่าเมื่อคุณจุลินทรีย์เข้าไปย่อยแล้ว น้ำหนักของปุ๋ยคงจะลดลง(อันนี้คิดไปเอง) รบกวนช่วยให้คำชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากแดงดอทคอม
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1657
|
วิธีการเอาใส่กรง แล้วต้องมาเทออก พื้นก็เลอะเทอะ ตักเข้าไปใหม่ทุกวันแบบนี้ มันก็ไม่ต่างจาก ทำกองปุ๋ยกองเล็ก ๆ แบกะดินแล้วก็ไปกลับกองทุกวัน สิครับอาจารย์
อย่างวิธีใส่ถัง แล้วเจาะรูถัง แล้วกลิ้งถังไปมา นี่ยังพอเห็นประโยชน์ตรงที่พื้นไม่เลอะ ไม่มีการสูญเสียปุ๋ยเนื่องจากการเทออกแล้วตักเข้าไปใหม่นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
thepunyapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1750
|
- ขอให้นักเรียนและท่านสมาชิกที่อ่านอยู่ ช่วยกันตอบนะครับ ถือว่าฝึกสมองก็แล้วกัน วันนี้ครูน้อย tera จะยังไม่เฉลย ให้นักเรียนทะเลาะ เอ๊ย... แลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับ ตอนนี้กำลังเตรียมโจทย์ใหม่อยู่ - ภารโรง thepunyapat กับนักเรียนหนูจีน้อย พูดกันดี ๆ นะวันนี้ อาจารย์ครับ... นักเรียนจีน้อยเขาน่ารักอ่ะครับ เมื่อคืนผมฝันว่าเขาแบ่งขี้วัวให้ผมด้วย...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
thepunyapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1750
|
Answer....  ทำได้เหมือนกันครับแต่ยุ่งยากกว่าและได้ปริมาณน้อย  จากนักเรียนภารโรงหมายเลข 9 ขั้นเทพ...( เรื่องไม่ฉลลาด )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
สวัสดี ครับ อาจารย์ คุณครู และนักเรียนทุกท่าน ผมติดตามกระทู้นี้หลายวันแล้วครับ แต่ละคำถามที่มีคนถามเป็นประโยชน์มากเลย แต่ผมมีคำถามอยากเรียนถามอาจารย์ว่า ถ้าสมมุติว่า ผมหมักปุ๋ยตามวิธีของอาจารย์ โดยผมมีขี้วัว 1 ตัน พอหมักครบ 2 เดือนกลายเป็นปุ๋ยเสร็จ ผมจะได้ปุ๋ย 1 ตััน หรือ น้อยกว่า 1 ตัน หรือ มากกว่า 1 ตัน ประมาณเท่าไหร่ครับ เพราะคิดว่าเมื่อคุณจุลินทรีย์เข้าไปย่อยแล้ว น้ำหนักของปุ๋ยคงจะลดลง(อันนี้คิดไปเอง) รบกวนช่วยให้คำชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
- ไม่ทราบว่าจะเอาขี้วัวไปทำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักครับ - ถ้าเอาไปทำปุ๋ยคอก ซึ่งเป็นการทำให้ขี้วัวเสถียร (Stabilize) โดยไม่เติมอะไร มีแต่ขี้วัว น้ำหนักจะลดลงครับ อาจจะเหลือสัก 600-700 กก. - ถ้าเอาไปทำปุ๋ยหมักวิธีนี้ น้ำหนักจะเพิ่มครับ อาจได้เป็น 2 ตัน เพราะต้องเอาเศษพืชใส่เข้าไปด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
thepunyapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1750
|
รูปครับอาจารย์ กำลังจะไถกลบและดำนาเร็วๆนี้ ครับ ผมคิดว่าไม่ค่อยถูกต้อง ใช่ไหมครับ  รูปที่หนึ่ง  รูปที่สอง  รูปที่สาม  และทั้งสามรูปก็จะมีผลกับที่นา ที่จะปลูกข้าว ต่างกัน (ความคิดผมนะครับ)รอนักเรียนท่านอื่นด้วยดีไหมครับอาจารย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- รูปที่ 1 ฟางในนามีมาก แต่ไม่เยอะมากกกกก นามีน้ำ
- รูปที่ 2 ฟางในนามีเยอะมากกกกกกกกกกก นามีน้ำ
- รูปที่ 3 ฟางในนามีเยอะมากกกกกกกกกก นาแห้ง
- สมาชิกและนักเรียนลองถกปัญหานี้สิครับ ว่าถ้าไถกลบ จะเกิดอะไรขึ้น ดีหรือไม่ดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
thepunyapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1750
|
ขอเสริมอีกนิดครับอาจารย์ เป็นเปลือกข้าวโพดครับ มีแกนติดมานิดหน่อย ประมาณ 20% เปื่อยมาก เปื่อยปานกลาง เปื่อยน้อย ไม่มีเป้ยปานวาด 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2012, 10:43:01 PM โดย thepunyapat »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
patcha.c
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1100
|
อาจารย์คะ ตรงกรงตาข่าย ถ้าเราทำตาข่ายปิดรู อาจเป็นสี่เหลี่ยม แล้วผูกแบบง่ายๆ เหมือนทำฝาปิดทั้งบนและล่่าง เราก็กลิ้งๆมัน แล้วจับตั้งขึ้นอีกด้าน สลับไปเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องโกยเข้าออกแล้ว . .. หนูจะได้ C ขึ้นไหมคะอาจารย์  ตัด curve หรืออิงเกณฑ์คะ  ครั้งนี้เป็นอะไรที่ไม่ชำนาญ ไม่ค่อยมีทักษะ ไม่ค่อยมั่นใจเลยค่ะ ....แต่ หนู สู้ๆ ค่ะ  และ ก็ชอบลองอะไรที่มันแปลกๆ กองที่จะทำใหม่ หนูก็ว่าจะลองค่ะ ..มันหยุดไม่ได้จริงๆ ...อยากรู้น่ะค่ะ .. . ขอลองตอบข้อที่นาค่ะ ฟางทำเป็นปุ๋ยนี้ก็ยังย่อยสลายไม่ดี ไม่หมด ดูแล้ว ไม่สม่ำเสมอ มีด้านแฉะมาก ชื้นมาก แห้ง และถ้าเป็นปุ๋ยไม่สมบูรณ์ เอาไปใช้ ก็จะทำให้จุลินทรีย์ไปทำให้ต้นไม้เฉาได้ เพราะมันมีคาร์บอนให้ย่อยสลายต่ออีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
patcha.c
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1100
|
โอ้ ลืมถ่ายรูป 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
chumpla
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 173
|
สวัสดีครับอาจารย์ธีระ ได้ติดตามอ่านกระทู้ความรู้นี้มาตลอด ขอขอบพระคุณมากสำหรับความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักเองแบบไม่ยากเลย สำหรับเกษตรตรกร ผมเองก็สนใจที่จะลองทำดูบ้าง แต่มีปัญหาเรื่อง มูลสัตว์ที่จะนำมาเป็นส่วนผสม เพราะแถวบ้านผมหายากมาก แต่พวกเศษซากพืช ฟางข้าวมีเยอะมาก ก็เลยรบกวนถามอาจารย์ว่า ถ้าเราเศษซากพืชมาวางเป็นชั้นตามแบบที่อาจารย์ได้อธิบายมา แล้วรดด้วย น้ำจุลินทรีย์ EM ตามเป็นชั้นๆแทนการใช้มูลสัตว์ จะได้หรือเปล่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
iamfree
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 86
|
รบกวนเรียนถามอาจาร์ยครับ ถ้าผมมีกากกาแฟ ที่ได้จากการทำกาแฟสดหน่ะครับ เนื่องด้วยโดยคุณสมบัติค่อนข้างจะมี N2 อยู่พอตัว ผมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในส่วนผสมอย่างไรได้บ้างครับ เช่น เศษใบไม้ 3 มูลสัตว์ 1 กากกาแฟ 1 แบบนี้ได้หรือเปล่าครับ ขอบพระคุณ อาจาร์ยล่วงหน้าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Tommy_LA
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 3287
|
- มีอีกแนวหนึ่งในการทำปุ๋ยอินทรีย์ คือทำในกรงตาข่ายเหล็ก หรือในเสวียนไม้ไผ่ ที่ไม่มีก้น ถ้าต้องการเสร็จใน 1 เดือนจะต้องออกกำลังกาย (แต่ถ้าไม่รีบใช้ ก็ไม่ต้องเสียกำลัง เอ๊.... ยังไง) - วิธีการ เอาตาข่ายเหล็กหรือเสวียนไม้ไผ่ทำเป็นทรงกระบอก ที่ไม่มีก้น เส้นผ่านศูนย์กลางสัก 70 ซม. สูงสัก 1.2 เมตร เอาใบไม้กับขี้วัว 3 ต่อ 1 ใส่เข้าไป ตอนใส่ก็รดน้ำด้วย ทุก ๆ วันให้ดึงตาข่ายขึ้น วัสดุก็จะร่วงออกมา ตักวัสดุเข้าไปในกรงใหม่ แค่นี้ก็ได้ออกกำลังกายแล้ว ถ้าความชื้นเริ่มหายก็เติมน้ำ - ถ้าทำได้ทุกวันจะได้ปุ๋ยใน 1 เดือน หลังจากนั้นทำให้แห้ง แล้วค่อยเอาไปใช้ - ถ้าไม่มีแรงก็ให้ทิ้งไว้อย่างนั้น ไม่ต้องยกกรงออก กรงจะมีก้นหรือไม่ก็ได้ แต่ให้รดน้ำทุกวัน คอยเจาะด้านบนกองปุ๋ยเพื่อใส่น้ำเข้าไป ข้อสำคัญว่าจะต้องคอยล้วงเข้าไปเช็คความชื้นด้วย ถ้ามีก้นที่โปร่งจะช่วยไม่ให้มีน้ำขังที่ก้นถัง วิธีนี้จะเสร็จช้าหน่อย คือ ควบคุมเวลาแล้วเสร็จไม่ได้       - อยากให้สมาชิก กพพ.ที่อ่านกระทู้นี้ และนักเรียนโรงเรียน กพพ.วิทยาทุกท่าน (รวมคุณครูใหญ่ ผจก. ภารโรง) ลองวิจารณ์การทำปุ๋ยแบบนี้ ว่าสอดคล้องกับทฤษฎีการทำปุ๋ยอินทรีย์หรือไม่อย่างไร (ห้ามวิจารณ์ในทำนองนี้ ...ว่าจะเหนื่อย หรือไม่มีแรง หรือจะหาซื้อตาข่ายไม่ได้นะครับ) - ตาข่ายนี้ทำได้ไม่กี่ครั้งก็บุบบี้ไปแล้วครับ ใช้ตาข่ายพลาสติก ขึงกับเสาสี่มุม น่าจะพอแก้ปัญหาได้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Gnoy
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2078
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|