หน้า: 1 ... 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 [23] 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 ... 433   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนสมาชิกทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ของแม่โจ้ ไม่ต้องพลิกกลับกอง (มีสารบัญ)  (อ่าน 3017135 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apichi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 216


« ตอบ #352 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 08:50:37 PM »

ที่สวนมีใบสักอยู่เยอะเลยต้องเผาตลอดในช่วงหน้าแล้งกลัวไฟ หากเอามาทำปุ๋ยแบบนี้จะได้ไหมครับ


Liked By: AMOL
บันทึกการเข้า

ปากแดงดอทคอม
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1657



« ตอบ #353 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 09:27:06 PM »

กลับมาถึง กทม ล่ะครับ มาถึงก็มาอัพรูปเลยครับ


จากเมื่อวานนี้ที่ว่าฟาง 5 ก้อนหมดแล้ว เหมือนโชคดีไปได้ขุยมะพร้าวแบบที่เจ้าของเค้าวางกองทิ้ง ๆ ไว้ไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์อะไรก็เลยขอซื้อเข้ามา ทั้งคันรถกระบ 1500 บาท รวมค่าโกยใส่กระสอบค่าขนส่งแล้วนะครับ มีทั้งหมด 110 กระสอบ สงสัยคงไม่ต้องไปซื้อฟางมาเพิ่มแล้วครับ คำนวณราคาแล้วขุยมะพร้าวที่ซื้อมานี้ถูกกว่าฟาง แต่ถ้าไปซื้อขุยมะพร้าวตามร้านที่เค้าทำขายโดยเฉพาะจะตกกระสอบละ 40 บาท ต้องไปขนเองด้วยนะครับ


หากใครอยากได้ของแบบนี้ ผมแนะนำทริกให้นะครับ ลองขับรถไปตามถนนมองหาตามสองข้างทางนะครับ หาพวกโรงที่เค้าทำมะพร้าวเผา (เอามะพร้าวอ่อนมาเผา) แล้วสังเกตโรงงานด้วยว่าเค้าจะกองเปลือกมะพร้าวทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ไว้เยอะแยะ ถ้าเจอแบบนี้แสดงว่า เค้าไม่สนใจที่จะขายเปลือก (ถ้าเป็นพวกโรงมะพร้าวแกง พวกนี้จะทำขุยมะพร้าวขายต่างหาก เราจะได้ราคาแพง) พอเจอแบบนี้ก็เลี้ยวรถเข้าไปคุยกับเค้าได้เลยครับ แล้วก็ไปเสนอขอซื้อเลยครับ ผมใช้วิธีนี้แหละครับ

ผมเข้าไปคุยกับเจ้าของ คุยไปคุยมาเค้าก็สนใจวิธีทำปุ๋ยเช่นเดียวกัน ก็เลยเล่าวิธีของอาจารย์ให้เค้าฟัง เค้าบอกจะไปลองทำดูบ้าง ผมกะว่าทำแล้วได้ผลยังไงจะเอาปุ๋ยไปให้เค้าลองดูเหมือนกันครับ เป็นการสร้างคอนเนคชันกันไว้ ยังมีขุยมะพร้าวอีกเยอะให้ผมไปซื้อได้อีกหลายปี  ยิ้มกว้างๆ


แกะออกมา 40 กระสอบก่อนครับ กะด้วยสายตาแล้ว ใช้เท่านี้บวกกับขี้วัวอีกหน่อย ก็ทำให้กองปุ๋ยหมักสูง 1.5 เมตรได้ แต่เสียอย่างตรงขุยมะพร้าวที่ซื้อมาบางทีจะมีขยะเช่นถุงพลาสติก หลอด โฟม กระดาษ ติดมาด้วย พอเทออกมาแล้วก็ต้องมาเสียเหงื่อเสียเวลาเอาขยะออกอีกครับ (บอกแล้วครับ เจ้าของไม่ตั้งใจจะขายมัน ก็เลยไม่ได้พิถีพิถันดูแลเรื่องไม่ให้มีขยะอื่นมาปนในกองขุยมะพร้าว)
บันทึกการเข้า

ปากแดง@บ้านสวนสันท์ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=15221.msg562596#msg562596
ปากแดงดอทคอม
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1657



« ตอบ #354 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 09:44:25 PM »


ดูเนื้อขุยกันไกล้ ๆ ครับ อาจารย์ครับ แบบนี้ผมควรจะผสมขี้วัวด้วยอัตราส่วน 4:1 เหมือนฟาง หรือเปล่าครับ แล้วผมจะต้องกังวลเรื่องที่ขุยมะพร้าวเวลามันโดนน้ำมันจะจับตัวกันแน่น ทำให้อากาศผ่านได้ไม่สะดวกด้วยหรือเปล่าครับ ผมควรจะหาเศษหญ้าแห้งหรือวัสดุอื่นมาคลุกกับขุยมะพร้าวด้วยไหมครับ


ซูมเข้าไปดูกันไกล้ ๆ ครับ


มีทั้งขุยหยาบและขุยละเอียดปน ๆ กันไปครับ

กองทิ้งไว้ก่อนครับ ไม่มีเวลาแล้วต้องรีบกลับล่ะครับ อาทิตย์หน้าค่อยมาตั้งกองให้ถึง 1.5 เมตรนะครับ อ้อวันนี้ฝนตกนะครับ กองปุ๋ยหมักที่ผมทำแล้วชุ่มเลยครับ แต่ว่าพอผมเอามือล้วงเจาะเข้าไปสัก 1 นิ้วชี้ เหมือนกันมันแห้งแต่ก็รู้สึกได้ถึงความอุ่น ๆ นะครับ อย่างนี้แสดงว่าการเจาะกองปุ๋ยแล้วเอาน้ำเติมลงไปต้องเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เพราะเราจำเป็นต้องควบคุมให้มีความชื้นสม่ำเสมอ ใช่มั้ยครับจารย์

=====

จาก กองปุ๋ย 2 X 2.5 X 1.5 นะครับ ผมประเมินไว้คร่าว ๆ ว่า

1. ขี้วัว 20 กระสอบ กระสอบละ 24 บาท เป็นเงิน 480 บาท
2. ขุยมะพร้าว 40 กระสอบ ตีเป็นกระสอบละ 15 บาท เป็นเงิน 600 บาท
3. ฟาง 5 ก้อน ก้อนละ 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท

รวมต้นทุนขั้นต้น 1,280 บาท ผมยังไม่ได้คิดค่าน้ำ นะครับ ไม่แน่ใจว่าเมื่่อเสร็จแล้วจะได้น้ำหนักปุ๋ยเท่าไร เดี๋ยวต้องมาดูอีกทีครับ แต่ต่อไปผมมีความคิดว่า จะประกาศรับซื้อ ผักตบชวา/จอก/สาหร่ายหางกระรอก แห้ง กิโลละ 50 สตางค์ ดูซิว่าจะมีคนสนใจเอามาขายมั้ย เอามาใช้แทนขุยมะพร้าวแทนฟาง ผมกะ ๆ ดูแล้วลำพังจอกกับสาหร่ายหางกระรอกในสวนมะพร้าวผมคงไม่พอที่จะทำได้แน่ครับ ต้องใช้วิธีรับซื้อเอา

ไว้อาทิตย์หน้าจะมาโพสต์ใหม่นะครับ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

ปากแดง@บ้านสวนสันท์ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=15221.msg562596#msg562596
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #355 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 09:48:14 PM »

ที่สวนมีใบสักอยู่เยอะเลยต้องเผาตลอดในช่วงหน้าแล้งกลัวไฟ หากเอามาทำปุ๋ยแบบนี้จะได้ไหมครับ

- ใบสักนี่อย่างหรูเลยครับ แต่ขอให้รถหรือคนเหยียบ ๆ ให้ใบมีขนาดเล็กลงก่อน ไม่อย่างนั้นเวลาขึ้นกองปุ๋ยใบสักมันจะโปร่งเกินไป ความร้อนหนีได้ง่ายครับ จะเก็บความร้อนไม่ได้ (แต่เวลาขึ้นกองปุ๋ยนี่ห้ามเหยียบนะครับ)


Liked By: AMOL, Ekachaiyan, lief36
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #356 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 10:01:27 PM »

- คุณปากแดงดอทคอมครับ สุดยอดเลยครับ ทั้งเรื่องการวิเคราะห์ ทั้งเรื่องความเป็นเหตุเป็นผลในกระบวนการทำปุ๋ยหมัก

- ถูกต้องครับที่ว่าขุยมะพร้าวมีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้กองปุ๋ยมีความพรุนที่ไม่ดี อากาศในกองจะไหลถ่ายเทไม่ดี ตัวขุยมะพร้าวเองก็ย่อยสลายได้ยาก การนำเศษใบไม้ ฟาง ผักตบ มาสลับหรือคลุกในชั้น จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ตัวขุยมะพร้าวเองก็ช่วยซับความชื้นอาจทำให้วัสดุในกองปุ๋ยแฉะได้ แต่ยังไงเราสามารถทดลองต่อไปได้ครับ ปุ๋ยที่ได้ยังไงก็มีคุณภาพสูงครับผม รับประกันได้

- ระวังการรับซื้อเศษพืชจะทำให้ต้นทุนการทำปุ๋ยแพงเกินไป จากกองละ 1 พันจะกลายเป็นกองละ 4 พันได้

- ชอบที่คุณปากแดงสังเกตว่าลึกลงไปวัสดุเริ่มแห้ง อันนี้ชอบมากครับ ถ้าสมาชิกได้ลงมือทำแบบนี้ก็จะได้เข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลที่อธิบายได้ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่สูตรผีบอก การทำกองต่อไปก็ไม่ยากแล้วครับ

- เข้าใจแล้วนะครับที่คุณครูใหญ่ดวงพรอยากให้พวกเราสมาชิกลงมือทำ ... ก็เพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสเรียนรู้จากการที่ครูน้อย tera แนะนำและอธิบายให้กับท่านที่ลงมือทำไงครับ
บันทึกการเข้า
ปากแดงดอทคอม
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1657



« ตอบ #357 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 10:21:46 PM »

- ระวังการรับซื้อเศษพืชจะทำให้ต้นทุนการทำปุ๋ยแพงเกินไป จากกองละ 1 พันจะกลายเป็นกองละ 4 พันได้

ขอบคุณครับอาจารย์ ตรงนี้ผมก็คิดไว้นะครับ แต่ตอนนี้เป็นตอนเรียนรู้ก่อนครับ พอจบกระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ก็จะมานั่งวิเคราะห์ต่้อว่าจะลดต้นทุนได้อย่างไรอีก ถ้ารับซื้อจุดคุ้มทุนจะอยู่ที่กี่บาท ถ้าไ่ม่คุ้มต้องหาวิธีอื่น นี่ก็มอง ๆ แปลงไกล้ ๆ กันเค้าปลูกข้าวโพดไว้ครับว่าจะลองไปคุยดูว่าหลังจากล้มข้าวโพดแล้วจะขอเค้ามาได้มั้ย ถ้าไม่ได้นี่จะต้องซื้อด้วยราคาเท่าไหร่ ตอนนี้ขับรถไปไหนสายตาจับจ้องหาเศษพืชที่คนเค้ามองข้ามตลอดเวลาเลยครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

ปากแดง@บ้านสวนสันท์ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=15221.msg562596#msg562596
Tommy_LA
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3287


« ตอบ #358 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 10:55:27 PM »

- ทำโครงการนี้ แม่โจ้ไม่หวังว่าหมอกควันจะลดครับ มันจะลดได้ยังไงในเมื่อสาเหตุของการเผามีมากมายอย่างที่พูดมาแล้ว แม่โจ้ช่วยได้เฉพาะการบริการวิชาการ เอาความรู้ไปช่วยให้เกษตรกรนำเศษพืชมาใช้ประโยชน์แทนการเผา สอนให้เกษตรกรเอาวิกฤติเป็นโอกาส แม่โจ้ไม่มีงบประมาณครับ พวกผมมีหน้าที่สอนอย่างเดียว จะไปบังคับไปสั่งให้ผู้ว่าราชการหรือรัฐมนตรีจัดงบประมาณมาช่วยหมอกควันได้อย่างไร ทำแค่นี้ก็ผิดปกติของจานทั่วไปแล่ว

- เท่าที่ทราบ แต่ละจังหวัดไม่มีงบช่วยหมอกควันครับผม มีบ้างก็ในระดับล้านบาท

- ถ้ารัฐบาลมีความจริงใจจริงเกี่ยวกับหมอกควันพิษ ไม่อยากให้พี่น้องไทยเจ็บป่วยจากหมอกควัน เอกชนได้รับผลกระทบ นักท่องเที่ยวหนี ก็น่าจะจัดงบด่วนให้จังหวัดละสัก 1 พันล้าน แปดจังหวัดก็แปดพันล้าน เอาไปแก้ปัญหาในทุกตำบลทุกหมู่บ้าน เศษพืชทุกเส้นถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน เป็นปุ๋ยให้หมด เงินนี้เอาไปจ้างคนเฝ้าป่า เอาไปจ่ายชดเชยให้กับเกษตรกรที่ต้องการเผาป่าเพื่อปลูกข้าวโพด แปดพันล้านบาทเปรียบเทียบกับแสนล้านบาทแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพนี่ ผมว่าเทียบกันไม่ได้เลยครับ (ผมไม่ได้ว่ารัฐบาลใดครับ ผมว่าทุกรัฐบาลใส่ใจไม่เพียงพอเหมือน ๆ กัน)

- ทำอย่างนี้สัก 10 ปี การเผาก็น่าจะหายไปครับ
ท่าน อ. ว่า กระทรวง ทบวง กรม ไหน ควรเป็นแม่งานครับ
กระทรวงเกษตรฯ หรือ กระทรวงทรัพย์ครับ กรมไหน
หากอยู่ในสาย ผมจะได้กระซิบบอกได้ครับ


Liked By: AMOL
บันทึกการเข้า
2502
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1558


« ตอบ #359 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 08:20:51 AM »

อาจารย์คะ ได้ขึ้นกองปุ๋ยตามที่อาจารย์แนะนำ แต่ไม่ถึงสิบห้าชั้นหรอกนะคะ  ทำเท่าที่มีแรงจะขนฟางและขี้วัวได้ สลับกับชั้นของสับปะรดสับ ได้ซักประมาณ เจ็ด_แปดชั้น  เมื่อคินนี้ฝนตก เช้านี้เลยไม่ต้องรดน้ำ  คงไม่ได้ส่งการบ้านอาจารย์หรอกค่ะ แต่เรียนมาให้ทราบว่า  เจ้าของฟางและขี้วัว เขามาเห็นตอนเช้านี้ แล้วเขาสนใจมาก ๆ เขาบอกว่าจะลองทำ แต่ให้พ้นช่วงข้าวนาปีก่อน  เพราะจะได้มีฟางเยอะ ๆ และถ้าใครโม่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก็จะให้มาโม่ที่โรงวัวด้วย  ปกติเขาก็ให้รถมาโม่ข้าวโพดที่โรงวัวอยู่แล้วค่ะ  บางทีช่วงหน้าข้าวโพดหวาน ก็ไปหักต้นข้าวโพดมาให้วัวกิน เรื่องต้นทุนด้านขี้วัว ฟาง ซังข้าวโพด เป็นอันว่าตัดไป เหลือแต่ค่าน้ำมันที่ใช้วิ่งขนเท่านั้นแหละค่ะ  ถ้าเขาเริ่มทำเมื่อไหร่ จะเรียนให้ทราบเป็นระยะ ๆ นะคะ  คงต้องไปศึกษาเรื่องการโพสรูปด้วย  เพราะใช้ไม่เป็น ยิ้มกว้างๆ

[/quot


คุณ 2502 สมัครแข่งหมักปุ๋ย ชิงรางวัลจากเวปด้วยใช่ใหมคะ ดวงพรจะได้บรรจุชื่อ ลงในรายชื่อด้วยน่ะค่ะ สมาชิกท่านใดดูการบรรยายการหมักปุ๋ย ใช้ปุ๋ยหมักกับพืชต่างๆแล้วก็มาลงชื่อหมักแข่งกันเป็นกิจกรรมสนุกๆและได้ประโยชน์ด้วยกันนะคะ ยิงฟันยิ้ม
คุณดวงพรคะ  คงไม่ได้ร่วมสนุกกับทางเวปหรอกค่ะ  เพราะความสามารถไม่ให้  อย่างน้อยก็ยังถ่ายรูปไม่ได้ และโพสรูปไม่เป็นอีกด้วยค่ะ  เพราะไม่กล้าใช้กล้องของคุณสามี เขาหวงมาก ๆ แค่เฉพาะเลนซ์อย่างเดียวก็หลักหมื่นแล้ว เดี๋ยวของเขาเสีย ขอลุ้นและเป็นกำลังใจให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันกันดีกว่าค่ะ   อายจัง


Liked By: ดวงพร, AMOL
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #360 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 08:59:21 AM »

- ระวังการรับซื้อเศษพืชจะทำให้ต้นทุนการทำปุ๋ยแพงเกินไป จากกองละ 1 พันจะกลายเป็นกองละ 4 พันได้

ขอบคุณครับอาจารย์ ตรงนี้ผมก็คิดไว้นะครับ แต่ตอนนี้เป็นตอนเรียนรู้ก่อนครับ พอจบกระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ก็จะมานั่งวิเคราะห์ต่้อว่าจะลดต้นทุนได้อย่างไรอีก ถ้ารับซื้อจุดคุ้มทุนจะอยู่ที่กี่บาท ถ้าไ่ม่คุ้มต้องหาวิธีอื่น นี่ก็มอง ๆ แปลงไกล้ ๆ กันเค้าปลูกข้าวโพดไว้ครับว่าจะลองไปคุยดูว่าหลังจากล้มข้าวโพดแล้วจะขอเค้ามาได้มั้ย ถ้าไม่ได้นี่จะต้องซื้อด้วยราคาเท่าไหร่ ตอนนี้ขับรถไปไหนสายตาจับจ้องหาเศษพืชที่คนเค้ามองข้ามตลอดเวลาเลยครับ  ยิ้มกว้างๆ

- เยี่ยมครับผม แต่ให้ระวังว่าต้นข้าวโพดต้องผ่านเครื่องโม่ก่อนขึ้นกองปุ๋ยนะครับ (ข้าวโพดหวานหรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ครับ) ให้ไปหาเศษซังและเปลือกข้าวโพดที่เขาโม่เอาเม็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เศษพวกนี้เขามักเผาทิ้งครับ ของฟรี
บันทึกการเข้า
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4714


คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้


« ตอบ #361 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 09:01:02 AM »

- ระวังการรับซื้อเศษพืชจะทำให้ต้นทุนการทำปุ๋ยแพงเกินไป จากกองละ 1 พันจะกลายเป็นกองละ 4 พันได้

ขอบคุณครับอาจารย์ ตรงนี้ผมก็คิดไว้นะครับ แต่ตอนนี้เป็นตอนเรียนรู้ก่อนครับ พอจบกระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ก็จะมานั่งวิเคราะห์ต่้อว่าจะลดต้นทุนได้อย่างไรอีก ถ้ารับซื้อจุดคุ้มทุนจะอยู่ที่กี่บาท ถ้าไ่ม่คุ้มต้องหาวิธีอื่น นี่ก็มอง ๆ แปลงไกล้ ๆ กันเค้าปลูกข้าวโพดไว้ครับว่าจะลองไปคุยดูว่าหลังจากล้มข้าวโพดแล้วจะขอเค้ามาได้มั้ย ถ้าไม่ได้นี่จะต้องซื้อด้วยราคาเท่าไหร่ ตอนนี้ขับรถไปไหนสายตาจับจ้องหาเศษพืชที่คนเค้ามองข้ามตลอดเวลาเลยครับ  ยิ้มกว้างๆ

ครูใหญ่เข้าประจำห้องแล้วค่ะเช้านี้ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ชื่นใจจริง ที่นักเรียนคนที่ 1 ลำดับที่1 มีความตั้งใจมากมายกับการหมักปุ๋ยแบบใหม่ขนาดนี้คะแนนคงนำลิ่วคนอื่นแน่ๆ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
คนอื่นๆที่ลงชื่อไว้แล้ว ทะยอยๆส่งการบ้านอาจารย์นะคะ....ถ้าได้ลงมือทำไปแล้ว
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #362 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 09:12:34 AM »

- ทำโครงการนี้ แม่โจ้ไม่หวังว่าหมอกควันจะลดครับ มันจะลดได้ยังไงในเมื่อสาเหตุของการเผามีมากมายอย่างที่พูดมาแล้ว แม่โจ้ช่วยได้เฉพาะการบริการวิชาการ เอาความรู้ไปช่วยให้เกษตรกรนำเศษพืชมาใช้ประโยชน์แทนการเผา สอนให้เกษตรกรเอาวิกฤติเป็นโอกาส แม่โจ้ไม่มีงบประมาณครับ พวกผมมีหน้าที่สอนอย่างเดียว จะไปบังคับไปสั่งให้ผู้ว่าราชการหรือรัฐมนตรีจัดงบประมาณมาช่วยหมอกควันได้อย่างไร ทำแค่นี้ก็ผิดปกติของจานทั่วไปแล่ว

- เท่าที่ทราบ แต่ละจังหวัดไม่มีงบช่วยหมอกควันครับผม มีบ้างก็ในระดับล้านบาท

- ถ้ารัฐบาลมีความจริงใจจริงเกี่ยวกับหมอกควันพิษ ไม่อยากให้พี่น้องไทยเจ็บป่วยจากหมอกควัน เอกชนได้รับผลกระทบ นักท่องเที่ยวหนี ก็น่าจะจัดงบด่วนให้จังหวัดละสัก 1 พันล้าน แปดจังหวัดก็แปดพันล้าน เอาไปแก้ปัญหาในทุกตำบลทุกหมู่บ้าน เศษพืชทุกเส้นถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน เป็นปุ๋ยให้หมด เงินนี้เอาไปจ้างคนเฝ้าป่า เอาไปจ่ายชดเชยให้กับเกษตรกรที่ต้องการเผาป่าเพื่อปลูกข้าวโพด แปดพันล้านบาทเปรียบเทียบกับแสนล้านบาทแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพนี่ ผมว่าเทียบกันไม่ได้เลยครับ (ผมไม่ได้ว่ารัฐบาลใดครับ ผมว่าทุกรัฐบาลใส่ใจไม่เพียงพอเหมือน ๆ กัน)

- ทำอย่างนี้สัก 10 ปี การเผาก็น่าจะหายไปครับ
ท่าน อ. ว่า กระทรวง ทบวง กรม ไหน ควรเป็นแม่งานครับ
กระทรวงเกษตรฯ หรือ กระทรวงทรัพย์ครับ กรมไหน
หากอยู่ในสาย ผมจะได้กระซิบบอกได้ครับ

- ผมว่าทำเป็นโครงการประชานิยมได้เลย

- ให้งบผ่านผู้ว่าจะดีกว่า เพราะผู้ว่าคุมได้ทุกกรมที่อยู่ในจังหวัด

- ที่ผ่านมาในการแก้ไขปัญหาหมอกควันพิษเจ้าหน้าที่เกษตรจะนิ่งเงียบ ทสจ.แต่ละจังหวัดก็ทำงานแต่ในตึกทำแต่ในกระดาษ สิ่งแวดล้อมภาคยิ่งเงียบ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ก็ไม่มีผลงาน จนอดีต สส.ต้องออกโรงฟ้องอธิบดี

- ถ้ามีงบให้ เงินต้องลงถึงพื้นที่ตั้งแต่เดือนกันยาตุลานี้แล้ว เพราะพฤศจิกานี่เขาเริ่มเผาฟางเผาเศษข้าวโพดกันแล้ว

- อยากให้มีระบบหักเงินงบประมาณของ อปท.ที่ปล่อยให้มีการเผา มีเงินพิเศษให้ อปท. ผญบ.ที่มีผลงานดีเด่น อยากให้มีระบบดีดไข่เจ้าหน้าที่ที่ปล่อยปละละเลย อยากให้มีระบบสายสืบที่โทรเข้าหา call center

- ไม่อยากให้ใช้งบประมาณในรูปของการซื้อเครื่องย่อยเศษพืช 160 ล้านอย่างปีนี้ เพราะทุกวันนี้ของก็ยังไม่มาเลย แล้วเครื่องย่อยมันไปเกี่ยวอะไรกับฟางกับซังข้าวโพดครับ ?

- ให้มีการตรวจสอบการใช้เงินอย่างละเอียด (หลังจากหัก % แล้ว !)

บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #363 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 09:20:13 AM »

อาจารย์คะ ได้ขึ้นกองปุ๋ยตามที่อาจารย์แนะนำ แต่ไม่ถึงสิบห้าชั้นหรอกนะคะ  ทำเท่าที่มีแรงจะขนฟางและขี้วัวได้ สลับกับชั้นของสับปะรดสับ ได้ซักประมาณ เจ็ด_แปดชั้น  เมื่อคินนี้ฝนตก เช้านี้เลยไม่ต้องรดน้ำ  คงไม่ได้ส่งการบ้านอาจารย์หรอกค่ะ แต่เรียนมาให้ทราบว่า  เจ้าของฟางและขี้วัว เขามาเห็นตอนเช้านี้ แล้วเขาสนใจมาก ๆ เขาบอกว่าจะลองทำ แต่ให้พ้นช่วงข้าวนาปีก่อน  เพราะจะได้มีฟางเยอะ ๆ และถ้าใครโม่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก็จะให้มาโม่ที่โรงวัวด้วย  ปกติเขาก็ให้รถมาโม่ข้าวโพดที่โรงวัวอยู่แล้วค่ะ  บางทีช่วงหน้าข้าวโพดหวาน ก็ไปหักต้นข้าวโพดมาให้วัวกิน เรื่องต้นทุนด้านขี้วัว ฟาง ซังข้าวโพด เป็นอันว่าตัดไป เหลือแต่ค่าน้ำมันที่ใช้วิ่งขนเท่านั้นแหละค่ะ  ถ้าเขาเริ่มทำเมื่อไหร่ จะเรียนให้ทราบเป็นระยะ ๆ นะคะ  คงต้องไปศึกษาเรื่องการโพสรูปด้วย  เพราะใช้ไม่เป็น ยิ้มกว้างๆ

[/quot


คุณ 2502 สมัครแข่งหมักปุ๋ย ชิงรางวัลจากเวปด้วยใช่ใหมคะ ดวงพรจะได้บรรจุชื่อ ลงในรายชื่อด้วยน่ะค่ะ สมาชิกท่านใดดูการบรรยายการหมักปุ๋ย ใช้ปุ๋ยหมักกับพืชต่างๆแล้วก็มาลงชื่อหมักแข่งกันเป็นกิจกรรมสนุกๆและได้ประโยชน์ด้วยกันนะคะ ยิงฟันยิ้ม
คุณดวงพรคะ  คงไม่ได้ร่วมสนุกกับทางเวปหรอกค่ะ  เพราะความสามารถไม่ให้  อย่างน้อยก็ยังถ่ายรูปไม่ได้ และโพสรูปไม่เป็นอีกด้วยค่ะ  เพราะไม่กล้าใช้กล้องของคุณสามี เขาหวงมาก ๆ แค่เฉพาะเลนซ์อย่างเดียวก็หลักหมื่นแล้ว เดี๋ยวของเขาเสีย ขอลุ้นและเป็นกำลังใจให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันกันดีกว่าค่ะ   อายจัง

- คุณน้อง 2502 ครับ น้องเป็นผู้หญิง น้องต้องเป็นช้างเท้าหน้าของครอบครัวสิครับ น้องต้องเป็นถังข้าวสารอย่างที่คนทำงานบ้านผมเป็นสิครับ ฮิฮิ บอกช้างเท้าหลังของบ้านไปเลยว่า หัวหน้าครอบครัวคนนี้อยากได้กล้องดิจิตอลปัญญาอ่อนสักอัน ราคาไม่เกิน 8 พัน หรือถ้าไม่อยากตายให้รีบให้ซื้อ Canon G12 ราคา 17,000 บาท ใช้ถ่ายรูปกองปุ๋ยได้ดีนักแลครับ (ซื้อแบตของปลอมสำรองไว้ก็ดี ราคาไม่เกิน 2 พัน)



Liked By: testcha, AMOL
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2012, 07:47:34 AM โดย tera » บันทึกการเข้า
konthain(นพ)
Administrators
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9908


ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ


« ตอบ #364 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 09:23:13 AM »

- ทำโครงการนี้ แม่โจ้ไม่หวังว่าหมอกควันจะลดครับ มันจะลดได้ยังไงในเมื่อสาเหตุของการเผามีมากมายอย่างที่พูดมาแล้ว แม่โจ้ช่วยได้เฉพาะการบริการวิชาการ เอาความรู้ไปช่วยให้เกษตรกรนำเศษพืชมาใช้ประโยชน์แทนการเผา สอนให้เกษตรกรเอาวิกฤติเป็นโอกาส แม่โจ้ไม่มีงบประมาณครับ พวกผมมีหน้าที่สอนอย่างเดียว จะไปบังคับไปสั่งให้ผู้ว่าราชการหรือรัฐมนตรีจัดงบประมาณมาช่วยหมอกควันได้อย่างไร ทำแค่นี้ก็ผิดปกติของจานทั่วไปแล่ว

- เท่าที่ทราบ แต่ละจังหวัดไม่มีงบช่วยหมอกควันครับผม มีบ้างก็ในระดับล้านบาท

- ถ้ารัฐบาลมีความจริงใจจริงเกี่ยวกับหมอกควันพิษ ไม่อยากให้พี่น้องไทยเจ็บป่วยจากหมอกควัน เอกชนได้รับผลกระทบ นักท่องเที่ยวหนี ก็น่าจะจัดงบด่วนให้จังหวัดละสัก 1 พันล้าน แปดจังหวัดก็แปดพันล้าน เอาไปแก้ปัญหาในทุกตำบลทุกหมู่บ้าน เศษพืชทุกเส้นถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน เป็นปุ๋ยให้หมด เงินนี้เอาไปจ้างคนเฝ้าป่า เอาไปจ่ายชดเชยให้กับเกษตรกรที่ต้องการเผาป่าเพื่อปลูกข้าวโพด แปดพันล้านบาทเปรียบเทียบกับแสนล้านบาทแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพนี่ ผมว่าเทียบกันไม่ได้เลยครับ (ผมไม่ได้ว่ารัฐบาลใดครับ ผมว่าทุกรัฐบาลใส่ใจไม่เพียงพอเหมือน ๆ กัน)

- ทำอย่างนี้สัก 10 ปี การเผาก็น่าจะหายไปครับ
ท่าน อ. ว่า กระทรวง ทบวง กรม ไหน ควรเป็นแม่งานครับ
กระทรวงเกษตรฯ หรือ กระทรวงทรัพย์ครับ กรมไหน
หากอยู่ในสาย ผมจะได้กระซิบบอกได้ครับ

- ผมว่าทำเป็นโครงการประชานิยมได้เลย

- ให้งบผ่านผู้ว่าจะดีกว่า เพราะผู้ว่าคุมได้ทุกกรมที่อยู่ในจังหวัด

- ที่ผ่านมาในการแก้ไขปัญหาหมอกควันพิษเจ้าหน้าที่เกษตรจะนิ่งเงียบ ทสจ.แต่ละจังหวัดก็ทำงานแต่ในตึกทำแต่ในกระดาษ สิ่งแวดล้อมภาคยิ่งเงียบ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ก็ไม่มีผลงาน จนอดีต สส.ต้องออกโรงฟ้องอธิบดี

- ถ้ามีงบให้ เงินต้องลงถึงพื้นที่ตั้งแต่เดือนกันยาตุลานี้แล้ว เพราะพฤศจิกานี่เขาเริ่มเผาฟางเผาเศษข้าวโพดกันแล้ว

- อยากให้มีระบบหักเงินงบประมาณของ อปท.ที่ปล่อยให้มีการเผา มีเงินพิเศษให้ อปท. ผญบ.ที่มีผลงานดีเด่น อยากให้มีระบบดีดไข่เจ้าหน้าที่ที่ปล่อยปละละเลย อยากให้มีระบบสายสืบที่โทรเข้าหา call center

- ไม่อยากให้ใช้งบประมาณในรูปของการซื้อเครื่องย่อยเศษพืช 160 ล้านอย่างปีนี้ เพราะทุกวันนี้ของก็ยังไม่มาเลย แล้วเครื่องย่อยมันไปเกี่ยวอะไรกับฟางกับซังข้าวโพดครับ ?

- ให้มีการตรวจสอบการใช้เงินอย่างละเอียด (หลังจากหัก % แล้ว !)


ใช่เลยครับ นึกถึงโครงการงบมิยาซาว่า สมัยก่อนที่เอาเงินมาจ้างชาวบ้านไปถางหญ้าขุดดิน ใช้งบประมาณไปไม่รู้เท่าไหร่ เฮ้อตราบใดที่ความคิดของผู้มีอำนาจไม่เปลี่ยนไปในทางที่จะเห็นผลประโยชน์ของเกษตรกรมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้พวกเราก็คงต้องพึ่งตนเอง และคอยปรึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกันต่อไป
ได้เห็นท่านอาจารย์ tera มาช่วยเหลือเวปเกษตรพอเพียง ในการมาใช้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ผมก็ดีใจมากๆครับ หวังว่าจะมีคนอย่างท่านอาจารย์ tera ได้มาพบเจอเวปเกษตรพอเพียงแห่งนี้กันหลายๆท่านเพิ่มขึ้นนะครับ  ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มเท่ห์


Liked By: AMOL, aun17, lief36
บันทึกการเข้า

สำนึกดีครับ
รับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

 ยิงฟันยิ้ม
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4714


คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้


« ตอบ #365 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 09:28:09 AM »

- คุณปากแดงดอทคอมครับ สุดยอดเลยครับ ทั้งเรื่องการวิเคราะห์ ทั้งเรื่องความเป็นเหตุเป็นผลในกระบวนการทำปุ๋ยหมัก

- ถูกต้องครับที่ว่าขุยมะพร้าวมีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้กองปุ๋ยมีความพรุนที่ไม่ดี อากาศในกองจะไหลถ่ายเทไม่ดี ตัวขุยมะพร้าวเองก็ย่อยสลายได้ยาก การนำเศษใบไม้ ฟาง ผักตบ มาสลับหรือคลุกในชั้น จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ตัวขุยมะพร้าวเองก็ช่วยซับความชื้นอาจทำให้วัสดุในกองปุ๋ยแฉะได้ แต่ยังไงเราสามารถทดลองต่อไปได้ครับ ปุ๋ยที่ได้ยังไงก็มีคุณภาพสูงครับผม รับประกันได้

- ระวังการรับซื้อเศษพืชจะทำให้ต้นทุนการทำปุ๋ยแพงเกินไป จากกองละ 1 พันจะกลายเป็นกองละ 4 พันได้

- ชอบที่คุณปากแดงสังเกตว่าลึกลงไปวัสดุเริ่มแห้ง อันนี้ชอบมากครับ ถ้าสมาชิกได้ลงมือทำแบบนี้ก็จะได้เข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลที่อธิบายได้ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่สูตรผีบอก การทำกองต่อไปก็ไม่ยากแล้วครับ

- เข้าใจแล้วนะครับที่คุณครูใหญ่ดวงพรอยากให้พวกเราสมาชิกลงมือทำ ... ก็เพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสเรียนรู้จากการที่ครูน้อย tera แนะนำและอธิบายให้กับท่านที่ลงมือทำไงครับ


------------

อ้างคำพูดอาจารย์นะคะ  จริงๆเวปเกษตรพอเพียง นี้พวกเราลูกเกษตรได้ร่วมก่อตั้งกันมา จากคนที่มีอุดมการณ์เรื่องความพอเพียงกันค่ะ และเมื่อมีสมาชิกเวปตอนนี้กว่าแสนคน มีการใช้งานคลิกเข้ามาชมวันเกิน 2 หมื่นครั้ง  ออนไลน์พร้อมกันวันละเกือบ 3 พันคน ..ไม่น้อยนะคะอาจารย์..เมื่ออาจารย์ผู้มีความรู้เรื่องการหมักปุ๋ย และ มีภาพประกอบที่เป็นเรื่องราวจริง อยากให้คนที่มีความตั้งใจทำเกษตรอินทรีย์ ที่มีความเชื่อมั่นแนวทางนี้และหวังพึ่งตัวเอง ลดต้นทุนในการเกษตรที่ตัวเองทำ....เมื่อเจอผู้รู้จริงๆ  ไม่อยากให้ความรู้อันมีค่ามหาศาลนี้เป็นแค่กระทู้ กระทู้หนึ่ง ที่เมื่อถึงเวลาก็เป็นแค่ ตัวหนังสือ สมาชิกแค่อ่านไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ...มันก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใดค่ะ..........เมื่ออาจารย์มีความตั้งใจอยากแบ่งปันขนาดนี้......นั่งพิมพ์บรรยายและเก็บรายละเอียดภาพมาประกอบ
ทีมงานต้องใส่ใจค่ะ เพราะทีมงานต้องการผู้รู้จริงเรื่องเกษตรแนวพึ่งตัวเอง หรือเรื่องเกษตรอื่นๆ ได้มาแบ่งปันความรู้ให้สมาชิกเพื่อจะได้นำความรู้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำเกษตรต่อไป ผลลัพธ์จะมากน้อย......พวกเราทีมงานเวปก็มีความภูมิใจแล้วค่ะ สังคมเกษตรออนไลน์แห่งนี้มีความพิเศษใช่ใหมคะ อาจารย์ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ความรู้การหมักปุ๋ยแบบใหม่ของอาจารย์ เป็นการทำที่ไม่ยากใครๆก็ทำได้....อยากให้สมาชิกที่สนใจได้ลงมือทำเชื่อว่าเมื่อสมาชิกทำแล้วได้ผลดีคนในชุมชนก็อาจมีความสนใจ ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนอาจารย์ว่า .....ผู้ถ่ายทอดความรู้แบบอาจารย์ เมื่อ ถ่ายทอดแล้วมีคนทำตามได้ผล....ดวงพรคิดว่า คนที่มีจิตแบ่งปันแบบอาจารย์ก็คงมีความภาคภูมิใจ......ที่การมาถ่ายทอดวิชาในเวป เกษตรพอเพียง ได้รับการตอบรับและมีผู้ปฏิบัติจริงยิ่งมีรูปภาพส่งกลับมาให้อาจารย์ได้ดูได้แนะนำ แม้ผู้ปฏิบัติจริงไม่กี่คนก็ถือว่าอาจารย์ได้รับผลสำเร็จในการแบ่งปันความรู้ในครั้งนี้ค่ะ  และทีมงานก็มีความสุข และ ความภาคภูมิใจเหมือนกันค่ะที่ได้ทำสิ่งนี้ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ทีมงานเวปเกษตรพอเพียง ยินดีจะสนับสนุนการแบ่งปันครั้งนี้ของอาจารย์ ตลอดไปค่ะ  และขอเชิญชวน อาจารย์สาขาอื่นๆเรื่องเกษตร ของ ม.แม่โจ้  มาถ่ายทอดความรู้ด้วยนะคะ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #366 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 09:30:55 AM »

- ทำโครงการนี้ แม่โจ้ไม่หวังว่าหมอกควันจะลดครับ มันจะลดได้ยังไงในเมื่อสาเหตุของการเผามีมากมายอย่างที่พูดมาแล้ว แม่โจ้ช่วยได้เฉพาะการบริการวิชาการ เอาความรู้ไปช่วยให้เกษตรกรนำเศษพืชมาใช้ประโยชน์แทนการเผา สอนให้เกษตรกรเอาวิกฤติเป็นโอกาส แม่โจ้ไม่มีงบประมาณครับ พวกผมมีหน้าที่สอนอย่างเดียว จะไปบังคับไปสั่งให้ผู้ว่าราชการหรือรัฐมนตรีจัดงบประมาณมาช่วยหมอกควันได้อย่างไร ทำแค่นี้ก็ผิดปกติของจานทั่วไปแล่ว

- เท่าที่ทราบ แต่ละจังหวัดไม่มีงบช่วยหมอกควันครับผม มีบ้างก็ในระดับล้านบาท

- ถ้ารัฐบาลมีความจริงใจจริงเกี่ยวกับหมอกควันพิษ ไม่อยากให้พี่น้องไทยเจ็บป่วยจากหมอกควัน เอกชนได้รับผลกระทบ นักท่องเที่ยวหนี ก็น่าจะจัดงบด่วนให้จังหวัดละสัก 1 พันล้าน แปดจังหวัดก็แปดพันล้าน เอาไปแก้ปัญหาในทุกตำบลทุกหมู่บ้าน เศษพืชทุกเส้นถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน เป็นปุ๋ยให้หมด เงินนี้เอาไปจ้างคนเฝ้าป่า เอาไปจ่ายชดเชยให้กับเกษตรกรที่ต้องการเผาป่าเพื่อปลูกข้าวโพด แปดพันล้านบาทเปรียบเทียบกับแสนล้านบาทแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพนี่ ผมว่าเทียบกันไม่ได้เลยครับ (ผมไม่ได้ว่ารัฐบาลใดครับ ผมว่าทุกรัฐบาลใส่ใจไม่เพียงพอเหมือน ๆ กัน)

- ทำอย่างนี้สัก 10 ปี การเผาก็น่าจะหายไปครับ
ท่าน อ. ว่า กระทรวง ทบวง กรม ไหน ควรเป็นแม่งานครับ
กระทรวงเกษตรฯ หรือ กระทรวงทรัพย์ครับ กรมไหน
หากอยู่ในสาย ผมจะได้กระซิบบอกได้ครับ

- ผมว่าทำเป็นโครงการประชานิยมได้เลย

- ให้งบผ่านผู้ว่าจะดีกว่า เพราะผู้ว่าคุมได้ทุกกรมที่อยู่ในจังหวัด

- ที่ผ่านมาในการแก้ไขปัญหาหมอกควันพิษเจ้าหน้าที่เกษตรจะนิ่งเงียบ ทสจ.แต่ละจังหวัดก็ทำงานแต่ในตึกทำแต่ในกระดาษ สิ่งแวดล้อมภาคยิ่งเงียบ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ก็ไม่มีผลงาน จนอดีต สส.ต้องออกโรงฟ้องอธิบดี

- ถ้ามีงบให้ เงินต้องลงถึงพื้นที่ตั้งแต่เดือนกันยาตุลานี้แล้ว เพราะพฤศจิกานี่เขาเริ่มเผาฟางเผาเศษข้าวโพดกันแล้ว

- อยากให้มีระบบหักเงินงบประมาณของ อปท.ที่ปล่อยให้มีการเผา มีเงินพิเศษให้ อปท. ผญบ.ที่มีผลงานดีเด่น อยากให้มีระบบดีดไข่เจ้าหน้าที่ที่ปล่อยปละละเลย อยากให้มีระบบสายสืบที่โทรเข้าหา call center

- ไม่อยากให้ใช้งบประมาณในรูปของการซื้อเครื่องย่อยเศษพืช 160 ล้านอย่างปีนี้ เพราะทุกวันนี้ของก็ยังไม่มาเลย แล้วเครื่องย่อยมันไปเกี่ยวอะไรกับฟางกับซังข้าวโพดครับ ?

- ให้มีการตรวจสอบการใช้เงินอย่างละเอียด (หลังจากหัก % แล้ว !)


ใช่เลยครับ นึกถึงโครงการงบมิยาซาว่า สมัยก่อนที่เอาเงินมาจ้างชาวบ้านไปถางหญ้าขุดดิน ใช้งบประมาณไปไม่รู้เท่าไหร่ เฮ้อตราบใดที่ความคิดของผู้มีอำนาจไม่เปลี่ยนไปในทางที่จะเห็นผลประโยชน์ของเกษตรกรมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้พวกเราก็คงต้องพึ่งตนเอง และคอยปรึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกันต่อไป
ได้เห็นท่านอาจารย์ tera มาช่วยเหลือเวปเกษตรพอเพียง ในการมาใช้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ผมก็ดีใจมากๆครับ หวังว่าจะมีคนอย่างท่านอาจารย์ tera ได้มาพบเจอเวปเกษตรพอเพียงแห่งนี้กันหลายๆท่านเพิ่มขึ้นนะครับ  ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มเท่ห์

- โครงการมิยาซาว่าใช้เงินส่วนหนึ่งสร้างโรงปุ๋ยพร้อมกับเครื่องปั้นเม็ดแจกจ่ายไปทุกหมู่บ้าน แล้วทิ้งร้างเพราะชาวบ้านทำปุ๋ยไม่เป็นครับ

- โครงการที่ผมสมองเฟื่องคิด ไม่มีโรงปุ๋ย ไม่เน้นการก่อสร้าง เน้นการผลิตปุ๋ยและพลังงานชีวมวลที่สามารถนับได้ ใครทำได้มากเอางบไปมาก แต่ขอร้องอย่างหนึ่งครับ อย่าเพิ่งติติงว่าทำปุ๋ยทำพลังงานแล้วไม่มีความคุ้มค่าหรือต้นทุนสูง เพราะตอนนี้ขอเพียงให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากเศษพืชเป็น การลงทุนแบบนี้ก็คุ้มแล้วครับ เป็นโครงการเดียวที่มีผลผลิต มี Productivity กลับคืนมา ไม่เหมือนโครงการอื่นที่ใส่ลงไปแล้วหายต๋อม  
บันทึกการเข้า
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4714


คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้


« ตอบ #367 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 09:39:20 AM »

-อ่อ ..อาจารย์คะ อาจารย์รู้ใหมอาจารย์เป็นสมาชิกเวป  ลำดับที่ 104349 มิน่า......เพิ่งเป็นสมาชิก กพพ. ไม่นานถ้าเป็น สมาชิก กพพ.ก่อนหน้านี้ซัก 3ปี   ......การหมักปุ๋ยแบบใหม่ ครั้งนี้คงมี เกษตรกรดวงตาเห็นธรรมหลายคนแน่ๆค่ะ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

-เรามาช่วยกันนะคะอาจารย์ ให้เกษตกรเราพึ่งตัวเองได้ แม้พวกเราจะเป็นจุดเล็กๆ....แต่มันคือจุดเริ่มต้นที่จะใหญ่ๆๆต่อไป เหมือน เวป กพพ.......ที่อนาคตเราจะเป็นกลุ่มเกษตกรออนไลน์อันดับ 1ของประเทศไทย ค่ะ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2012, 10:04:43 AM โดย ดวงพร » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 [23] 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 ... 433   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: