tri
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1072
|
มาติดตามด้วยคนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
spyman
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 225
|
สอบถามอีกสัก 1 เรื่องครับ อาจารย์ ในมูลวัว จะประกอบไปด้วยเมล็ดหญ้า ซึ่งเป็นปัญหาหลักเลยของชาวสวน เวลาเราหมักแล้วอุณหภูมิสูง จะช่วยให้เมล็ดหญ้าฝ่อ ไปไหมครับ เพราะเวลาเอา มูลวัว(วัวที่เลี้ยงแบบชาวบ้าน) มาใส่โดยตรง มีแต่คนบ่นครับไม่เกิน 2 อาทิตย์หญ้าเต็มสวน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ถามนิดนึงครับ เห็นไส้เดือนของคุณหญ้าฯแล้วนึกถึงตัวเองที่ไปหาซื้อไส้เดือนมาทำปุ๋ย เลยอยากถามอาจารย์ว่าในเมื่อเบดดิ้ง(อาหาร)ของไส้เดือนเป็นขี้วัว ไส้เดือนกินแล้วถ่ายออกมาได้เป็นปุ๋ย เมื่อเทียบกับปุ๋ยหมักของอาจารย์ที่ได้จากขี้วัวผสมฟางแล้ว ขี้ไส้เดือนน่าจะมีแร่ธาตุน้อยกว่าหรืออย่างมากก็เท่ากับปุ๋ยหมัก ใช่ไหมครับ ถ้าใช่ผมเอาขี้วัวมาทำปุ๋ยหมักไม่ดีกว่าเหรอ เพราะเร็วกว่า แถมยุ่งยากน้อยกว่าด้วย ขี้วัวที่จะเอาให้ไส้เดือนกิน ต้องเอาไปหมักให้หายร้อนก่อนด้วย แต่กองปุ๋ยหมักใช้แบบแห้งๆจากกระสอบได้เลย
- ผมคิดว่าข้อแตกต่างของสองวิธีคือ วัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักกับการทำปุ๋ยไส้เดือนครับ การทำปุ๋ยหมักเหมาะกับเศษใบไม้ในสวนหรือฟางจากนา แต่ปุ๋ยไส้เดือนเหมาะกับเศษอาหาร เศษผัก - คุณภาพอาจไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าเราอยากได้ปุ๋ยสำหรับนา 20 ไร่ ผมคิดว่าปุ๋ยไส้เดือนก็ไม่เหมาะเพราะจะได้ปริมาณน้อย แต่เราก็สามารถทำปุ๋ยทั้งสองแบบในเวลาเดียวกันได้ เพราะมันช่วยกันได้ครับ
Liked By: konthain(นพ), oFFja, wirot, AMOL, yong9, aun17, Ekachaiyan, woso, fajung, lief36, o___O, patana-9
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
สอบถามอีกสัก 1 เรื่องครับ อาจารย์ ในมูลวัว จะประกอบไปด้วยเมล็ดหญ้า ซึ่งเป็นปัญหาหลักเลยของชาวสวน เวลาเราหมักแล้วอุณหภูมิสูง จะช่วยให้เมล็ดหญ้าฝ่อ ไปไหมครับ เพราะเวลาเอา มูลวัว(วัวที่เลี้ยงแบบชาวบ้าน) มาใส่โดยตรง มีแต่คนบ่นครับไม่เกิน 2 อาทิตย์หญ้าเต็มสวน
- ปกติถึงไม่ใส่ปุ๋ยอะไรหญ้าก็มาอยู่แล้วครับ เม็ดหญ้ามันปลิวมากับลม - ถ้าดินดี หญ้าก็จะงามด้วย เกษตรกรอินทรีย์ส่วนใหญ่ก็เลยถากหญ้าเอาไปทำปุ๋ยซะเลย - ในกองปุ๋ยวิธีนี้ อุณหภูมิจะขึ้นสูง เม็ดหญ้าบางส่วนจะฝ่อครับ ก็เหลือบ้างบางส่วนที่อาจไปงอกในสวน - เป็นธรรมดาครับ ต้องแลกคนละหมัด พอดินสวนดีหญ้าก็จะงามด้วย ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าอย่าไปใช้ยาฆ่าหญ้านะครับ นี่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายไส้เดือนกับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเลยครับ
Liked By: konthain(นพ), ปากแดงดอทคอม, eight, oFFja, wirot, spyman, thepunyapat, AMOL, aun17, Ekachaiyan, woso, fajung, lief36, o___O
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jukgree
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 177
|
อาจารย์ครับ ผมรอฟังเรื่องเล่าสตรอเบอรี่อยู่นะครับ พอดีว่าปีนี้จะทดลองปลูกสตรอเบอรี่สัก 1 งาน ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี อย่าได้มาแตะต้องผมไม่ให้เข้าสวนผม  อาจารย์พอมีประสบการณ์การปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์บ้างมั้ยครับและเกษตรกรปลูกที่ไหนกันบ้างครับที่ปลูกแบบปลอดสารจริงๆ จะได้ไปศึกษาครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
konthain(นพ)
Administrators
  
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 9908
ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ
|
สอบถามอีกสัก 1 เรื่องครับ อาจารย์ ในมูลวัว จะประกอบไปด้วยเมล็ดหญ้า ซึ่งเป็นปัญหาหลักเลยของชาวสวน เวลาเราหมักแล้วอุณหภูมิสูง จะช่วยให้เมล็ดหญ้าฝ่อ ไปไหมครับ เพราะเวลาเอา มูลวัว(วัวที่เลี้ยงแบบชาวบ้าน) มาใส่โดยตรง มีแต่คนบ่นครับไม่เกิน 2 อาทิตย์หญ้าเต็มสวน
- ปกติถึงไม่ใส่ปุ๋ยอะไรหญ้าก็มาอยู่แล้วครับ เม็ดหญ้ามันปลิวมากับลม - ถ้าดินดี หญ้าก็จะงามด้วย เกษตรกรอินทรีย์ส่วนใหญ่ก็เลยถากหญ้าเอาไปทำปุ๋ยซะเลย - ในกองปุ๋ยวิธีนี้ อุณหภูมิจะขึ้นสูง เม็ดหญ้าบางส่วนจะฝ่อครับ ก็เหลือบ้างบางส่วนที่อาจไปงอกในสวน - เป็นธรรมดาครับ ต้องแลกคนละหมัด พอดินสวนดีหญ้าก็จะงามด้วย ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าอย่าไปใช้ยาฆ่าหญ้านะครับ นี่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายไส้เดือนกับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเลยครับ ยิ่งติดตามกระทู้ที่ท่านอาจารย์ tera ถ่ายทอดความรู้มาทำให้คิดได้ว่ายิ่งทำให้ดินดี จะทำให้หญ้ายิ่งงาม แต่หญ้ายิ่งงามนั้นก็คือปุ๋ยอย่างดีที่จะเอามาทำปุ๋ยเพื่อส่งธาตุอาหารส่งกลับไปกับดินเพื่อพืชหลักที่เราปลูก หมุนเวียนกันอยู่อย่างเป็นประโยชน์ดินยิ่งดีมีทั้งอาหารและจุลินทรีย์ พืชแข็งแรงได้ผลผลิตเต็มที่และก็ยิ่งเป็นลดต้นทุนในการทำเกษตร เกษตรกรก็อยู่ได้อย่างมั่นคง ใช่ไหมครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สำนึกดีครับรับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 
|
|
|
naturefarm
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 818
|
ต้องขอบคุณอาจารย์มากนะครับ ที่ถ่ายทอดความรู้ให้ครับ ผมว่าวิธีการทำปุ๋ยหมักแบบไม่ต้องกลับกอง ของอาจารย์เป็นวิธี่ที่ง่ายสุด เป็นวิธีธรรมดาๆ ธรรมชาติที่สุด เอ...แต่ แปลก ทำไมไม่ค่อยมีคนทำ เพราะมัวแต่ไปคิดแต่สูตรพิเศษ สูตรพิสดาร สูตรผีบอก เลยลืมสูตรง่ายๆ
Liked By: konthain(นพ), oFFja, tera, wirot, หญ้าคมปาว, thepunyapat, AMOL, aun17, MeeSook, lief36, iceberk, o___O
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
konthain(นพ)
Administrators
  
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 9908
ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ
|
ต้องขอบคุณอาจารย์มากนะครับ ที่ถ่ายทอดความรู้ให้ครับ ผมว่าวิธีการทำปุ๋ยหมักแบบไม่ต้องกลับกอง ของอาจารย์เป็นวิธี่ที่ง่ายสุด เป็นวิธีธรรมดาๆ ธรรมชาติที่สุด เอ...แต่ แปลก ทำไมไม่ค่อยมีคนทำ เพราะมัวแต่ไปคิดแต่สูตรพิเศษ สูตรพิสดาร สูตรผีบอก เลยลืมสูตรง่ายๆ
สูตรการหมักปุ๋ยแบบของท่านอาจารย์ tera เป็นสูตรของคนขยันครับ ถ้าคนที่ขี้เกียจมักง่าย เขาไม่ค่อยอยากทำหรอก เพราะไม่สะดวกและใช้เวลานานครับ ยิ่งหลายปีที่ผ่านมา พวกเราถูกปลูกฝังกันให้ใช้แต่ปุ๋ยเคมีและสารเคมี กันจนหลงลืมภูมิปัญญาการให้ปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์กันไปแล้วครับ 
Liked By: oFFja, tera, ดวงพร, wirot, naturefarm, thepunyapat, mskh875, Gnoy, AMOL, aun17, woso, fajung, lief36, iceberk, o___O, patana-9
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สำนึกดีครับรับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 
|
|
|
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4714
คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้
|
Liked By: wirot, tera, konthain(นพ), naturefarm, Gnoy, thepunyapat, AMOL, aun17, lief36, iceberk, o___O, patana-9
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
อาจารย์ครับ ผมรอฟังเรื่องเล่าสตรอเบอรี่อยู่นะครับ พอดีว่าปีนี้จะทดลองปลูกสตรอเบอรี่สัก 1 งาน ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี อย่าได้มาแตะต้องผมไม่ให้เข้าสวนผม  อาจารย์พอมีประสบการณ์การปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์บ้างมั้ยครับและเกษตรกรปลูกที่ไหนกันบ้างครับที่ปลูกแบบปลอดสารจริงๆ จะได้ไปศึกษาครับ - เรื่องสตรอเบอรี่นะครับ มีเกษตรกรสตรอเบอรี่อินทรีย์ที่บ้านบ่อแก้ว ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง เชียงใหม่ ชื่อพี่วิทยา นาระต๊ะ ครับผม เจ้าของสวนดอยแก้ว ศิษย์เก่าแม่โจ้ มีที่พักโฮมสเตย์ด้วยเผื่อไปกินนอนที่นั่น บ้านแกเป็นศูนย์เกษตรพอเพียงครับผม ไปเยี่ยมตอนนี้เหมาะเลย จะได้หาเตรียมไหลไปในตัว ลองสืบค้นชื่อแกจากกูเกิ้ลก่อนก็ได้ครับ - เรื่องตามท้องเรื่องคือ มีวันหนึ่งเจ้าหน้าที่ ธกส.นำจดหมายมาให้ผมที่ทำงาน เนื้อหามีผู้ขอให้ผมไปช่วยเกษตรกรบ้านบ่อแก้ว เพราะมีเกษตรกรถวายฏีกาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ร้องเรียนว่ามีโรคเชื้อราแอนแทรกโนส ระบาด ทำให้เสียหายขาดทุน ผมก็เลยคุยสอบถามกับทาง ธกส.สะเมิง - คุณสุวิทย์ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธกส.สะเมิง (ตอนนี้ย้ายไป อ.แม่แจ่มแล้ว) ก็เล่ารายละเอียดให้ฟัง ก็เลยทราบว่าก็ได้มี รศ.ดร.นุชนาฎ ผอ.โรคพืชโครงการหลวงลงพื้นที่ช่วยเกษตรกรแล้ว ช่วยด้านวิธีการใช้ยาปราบศัตรูพืชและการจัดการแปลงที่ดี ถามไปถามมา พี่สุวิทย์แกหลุดมาคำนึงว่าพีเอชดินเท่ากับ 4 เลยทราบว่านี่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคแอนแทรกโนส เพราะเชื้อราพวกนี้รวมทั้งโรครากเน่าอื่น ชอบความเป็นกรดของดิน - ถ้าอย่างนั้นคงต้องแก้ปัญหาที่ดินก่อน เพราะถ้าเกษตรกรปรับปรุงดินให้เป็นกลางได้ โรคพวกนี้ไม่ชอบครับ แถมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินที่เพิ่มมากขึ้นจากการที่เรานำสารอาหารและอินทรีย์วัตถุไปให้ จะเพิ่มปริมาณมากจนไปแย่งอาหารที่ทำกินของพวกโรคร้าย เป็นการจัดการดินแบบชีววิธี เสริมกับการจัดการแปลงของ ดร.นุชนาฏได้ - ก็เลยนัดแนะขอให้มีการจัดฝึกอบรมเกษตรกรเรื่องการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์เพื่อต้านโรคแอนแทรกโนส มีเกษตรกรเข้าฟัง 40 คน เสร็จแล้วก็ลงมือปฏิบัติขึ้นกองปุ๋ย  - คุณวิทยา เกษตรกรสตรอเบอรี่อินทรีย์ครับ  - คุณสุวิทย์ครับผม  - คุณถนัด ผู้จัดการ ธกส.สะเมิง  - อบรมเสร็จก็ฝึกปฏิบัติการ ขึ้นกองปุ๋ยครับ คุณพี่วิทยารับปากจะดูแลความชื้นให้หลังการอบรม  - ลักษณะโรคแอนแทรกโนสที่ไหลสตรอครับ  - แอนแทรกโนสที่ใบครับ พอเป็นโรค เชื้อก็เข้าที่ผล ก็จบครับ เจ๊ง 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2012, 07:22:00 AM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- เป็นที่น่าสังเกตว่า แปลงของพี่วิทยาก็ติดโรค แต่การระบาดน้อย ก็ยังได้ผลผลิตสตรออยู่ นักท่องเที่ยวจะไปเก็บสตรอจากสวนแกและซื้อในราคากิโลกรัมละ 250 บาทครับ สามารถกินได้ทันทีไม่ต้องล้าง ใครจะไปให้ไปหน้าหนาวนะครับ เตรียมเสื้อผ้าหนา ๆ อุณหภูมิตอนเช้าประมาณ 3-5 องศาได้ ส่วนสวนของรายอื่นไม่ได้สตรอเลย - พอได้พูดคุยกับ ธกส.สะเมิง ก็ได้ความรู้เพิ่ม ผมถามว่าทำไมเจ้าหน้าที่ ธกส.ถึงสนใจและมีความรู้ด้านเกษตรมากมาย ผู้จัดการถนัดบอกว่ารู้ไหมครับ เจ้าหน้าที่ ธกส.ไม่ได้เหมือนเจ้าหน้าที่ธนาคารอื่นที่ทำงานเฉพาะบนโต๊ะไม่ต้องออกไปไหน แต่เจ้าหน้าที่ ธกส.ทุกคนต้องรู้เรื่องของเกษตรกร ต้องทำงานสองด้าน สามด้าน ลงพื้นที่เพื่อช่วยเกษตรกร แต่ไม่มีใครรู้ ที่ผมไปอบรมที่สะเมิงนี่ ธกส.ก็ออกค่าใช้จ่ายให้ ค่าอาหารอบรม ค่าวัสดุกองปุ๋ย ก็ต้องขอบคุณ ธกส.นะครับ ที่ทำงานปิดทองหลังพระอย่างนี้ (พูดถึงปิดทองหลังพระ ช่วยเตือนด้วยนะครับ เพราะมีเรื่องต้องขยาย ....  ) - ในการอบรม ผมขอให้เกษตรกรไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ปลูกแค่ในพื้นที่เท่าที่มีกำลังและเอาหญ้าทัน ทำปุ๋ยอินทรีย์ในแปลง ส่วนการจัดการแปลงก็ขอให้ทำตามที่ ดร.นุชนาฏสอน (เด็ดก้านติดโรคไปเผาไกล ๆ เปลี่ยนหรือล้างรองเท้าก่อนเข้าแปลง ใช้สารเคมีตามที่ท่านสอน) - พออบรมเสร็จ ก็สรุปว่า ถ้าใครสนใจจะทำปุ๋ยแบบนี้ในแปลงเพื่อลดเชื้อโรค โดยค่าขี้วัวทาง ธกส.จะจ่ายให้หมด ให้ยกมือขึ้น ปรากฏว่ามีคนยกมือแค่ 1 คน คือพี่วิทยาครับ  - เอาไหม่ เกลี้ยกล่อมแล้ว เกลี้ยกล่อมอีก พูดอ้อมไปอ้อมมาจนไปถึงการกลับมามีเงินมีทองจากการปลอดโรค ไม่ต้องเจ๊งอย่างที่เป็นอยู่ ขอเพียงปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกสตรอเสียใหม่ ส่วนผู้จัดการ ธกส.ก็บอกว่าผลผลิตที่ได้ แกจะรับซื้อหมด เอ้า ... ใครจะเข้าร่วมโครงการ ยกมือขึ้น - ผลปรากฏว่า มีคนยกทั้งหมด 5 คน จาก 40 คนครับ  - นี่คือเกษตรกรไทยใจเหี้ยมหาญครับ  ขนาดที่ว่ามีคนมาสอน มีตัวอย่างความสำเร็จของพี่วิทยาให้ดู มีคนจ่ายค่าขี้วัวให้ ก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเลย อย่างนี้ที่เรียกว่าดวงตายังไม่เห็นธรรมไงครับ
Liked By: ดวงพร, konthain(นพ), กัญจน์, naturefarm, spyman, thepunyapat, AMOL, roong2000, yong9, aun17, dalad_oil, Ekachaiyan, woso, fajung, lief36, keawjah, o___O, patana-9
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ตอนไปอบรมนั่นเดือนกันยา 53 ครับ - พอตุลา 53 ก็ขึ้นไปตามงาน ก็มีคุณสุวิทย์รูปหล่อมารับและพาไปครับ - พอไปถึงก็ไปเช็คกองปุ๋ยก่อน กองปุ๋ยก็ยุบตัวดี แต่ความชื้นบางจุดก็ไม่ถึง แห้งไปหน่อย ทำให้วัสดุไม่เปื่อย ผมใช้ดัชนีชี้วัดอย่างนี้ครับ ถ้าบริเวณใดมีเชื้อราสีขาวเกิดขึ้นแสดงว่าบริเวณนั้นผ่านการขาดความชื้นมาก่อน เพราะเชื้อราสีขาวจะชอบบริเวณที่ความชื้นต่ำ แต่เชื้อราสีขาวก็เป็นพวกดีนะครับ ช่วยย่อยสลายด้วยเหมือนกัน (บางคนไปซื้อปุ๋ยอินทรีย์จากโรงงานที่ยังไม่แห้งดี พอขนกลับถึงบ้านพบว่ามีเชื้อราสีขาวขึ้นก็ดีใจใหญ่ว่าปุ๋ยมีชีวิต ก็...แล้วแต่จะคิดนะครับ ความจริงมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศระบุชัดว่าความชื้นที่ซื้อขายได้ต้องไม่เกิน 30%)  - ไปดูแปลงของพี่วิทยา ดินของแกดำและร่วน รากฝอยสีขาวแสดงถึงสุขภาพที่ดี สังเกตนะครับ ใบสตรอของแกพรุนไปหมด แต่ขอให้ได้สตรอที่นักท่องเที่ยวมาเก็บได้ ก็โอเคนะครับ เงินทั้งนั้น   - เสร็จแล้วก็ประชุมกับเกษตรกร 5 คนในโครงการ ก่อนจะเข้าดูพื้นที่  - แปลงแรกครับ ของพี่บุญเรือง ปลูก 7 ไร่ ปีนี้คาดว่าจะติดโรคอีกแต่ก็ต้องลองเสี่ยงอีกปี ปีนี้ปรับตัวยังไม่ทันตามที่อบรม ยังไม่ได้ทำปุ๋ย แถมสารภาพว่าไม่สามารถเก็บเด็ดกิ่งใบที่ติดโรคไปทำลายตามที่ ดร.นุชนาฏสอน เพราะพื้นที่มากไป และยังอดไม่ได้ที่จะใช้ยาฆ่าหญ้าเพราะเอาไม่ทัน  - รายนี้หนักหน่อยของลุงจูม ดินไม่ดี เพราะไปเอาที่นามาปลูกสตรอ โรคในแปลงเตรียมไหลก็มากแต่เมียแกยังเสียดายอยากเลือกไหลดี ๆ มาปลูก สังเกตนะครับว่ารากฝอยสุขภาพไม่ดีเลยเพราะโรค แล้วเห็นดินเป็นอย่างไรครับเมื่อเทียบกับของพี่วิทยา งานนี้เลยให้แกไปเบิกปุ๋ยที่ฐานเรียนรู้ของผม 10 กระสอบ เอามาแก้ไขดินด่วน    - แถมยังมีโรคใหม่ที่ใบจะฝ่อ ลีบ และแข็ง ไม่ยอมเจริญเติบโตอีก จากสวนของพี่ประพันธ์  - ขากลับจอดรถถ่ายวิวสวย ๆ ครับ 
Liked By: ดวงพร, กัญจน์, konthain(นพ), naturefarm, eight, AMOL, yong9, Ekachaiyan, woso, lief36, o___O
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2012, 07:24:52 AM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- งานนี้ถ้าวิเคราะห์จะพบว่า - สตรอเบอรี่มีโรคเยอะมาก โดนฝนก็จะเป็นเชื้อรา มดก็ชอบ ทากก็เอา ราแป้งก็มา แอนแทรกโนสอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ยาและสารเคมีจะใช้เยอะมาก ต้นทุนสูง แต่รายได้ก็ดีปีละหลายแสน หากท่านสมาชิกจะทานสตรอก็ให้เลือกสวนด้วยนะครับ...พี่น้อง (มีข่าวลือว่ามีโรงงานใหญ่ที่รับซื้อสตรอไปทำแยมขาย เขาจะฟอกสีสตรอให้เป็นสีขาวเสียก่อน แล้วค่อยเติมสีเข้าไปให้เป็นสีแดง เพราะสตรอเวลาทำแยมนี่จะเป็นสีออกดำคล้ำ ๆ ไม่สวย ไม่เชื่อลองไปดูแยมสตรอของนอกในห้างดูสิครับ สีไม่สวยเลย บรื้อออออ.....) - การเพาะปลูกพื้นที่มาก ๆ ทำให้เกษตรกรต้องหันไปพึ่งยาปราบศัตรูพืชมาก เมื่อผนวกกับการเร่งด้วยปุ๋ยเคมี เมื่อวันเวลาผ่านไปเป็นสิบปีก็ส่งผลให้ดินเป็นกรด หมดความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีอินทรีย์วัตถุ โรคระบาดจึงชอบและอยู่ได้ดี ในขณะที่สวนอินทรีย์กลับไม่ได้รับผลกระทบ (ได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็ยังมีกำไรเหลือเฟือ) - เคยดูในทีวี สถานีเกษตรหลวงอ่างขางบังคับให้เกษตรกรในโครงการปลูกสตรอได้คนละไม่เกิน 1 ไร่ครับผม - ขนาดที่ว่ามีสวนเปรียบเทียบให้ดูแล้ว เกษตรกรก็ไม่ยังสามารถบังคับตนเองให้ปรับเปลี่ยนวิถีได้ ยังคงหวังพึ่งยาและสารเคมี ว่าจะช่วยแก้ได้ แต่ก็ไร้ผล ก็ต้องขาดทุนมาตลอดสามปี สุดท้ายก็ต้องไปกู้ ธกส.เพิ่ม อันนี้พูดถึงเกษตรกรในโครงการ 5 คนนะครับ อีก 35 คนที่ผ่านการอบรมจะเป็นยังไง ใครเดาได้บ้างครับ - สองสามปีมานี้ สตรอเบอรี่จากบ่อแก้ว สะเมิง ที่เคยผลิตได้มากที่สุด ก็เลยไม่มีผลิตผลออกมา ราคาในท้องตลาดก็เลยสูง พอ ๆ กับของต่างประเทศ - ค่าพีเอชดินเท่ากับ 4 คล้ายกับของสวนส้มฝางที่ประสบปัญหาโรครากเน่า สองแห่งนี่มีความคล้ายกันอย่างไรบ้างครับ 1. ปลูกพื้นที่มากเกินกำลังเหมือนกัน เคยได้กำไรมาก ๆ เหมือนกัน ตอนขาดทุนก็ไม่เหลืออะไรเหมือนกัน เงินหายไปไหนหมดก็ไม่รุ๊ 2. ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้าอย่างหนักหน่วงเหมือนกัน 3. ไม่เคยบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยอินทรีย์ ไม่เคยมีใครทำปุ๋ยอินทรีย์เองด้วยซ้ำ 4. เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ก็ยังดันทุรังแก้ด้วยวิธีเดิม แล้วมันจะแก้ได้ยังงาย ? ? ?  5. กล่าวโดยรวมแล้ว ก็คือ ความไม่ยั่งยืน ที่มีสาเหตมาจากความไม่พอเพียง
Liked By: กัญจน์, ดวงพร, naturefarm, konthain(นพ), eight, thepunyapat, AMOL, yong9, aun17, Ekachaiyan, woso, fajung, lief36, suteera, o___O, patana-9
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- เดือนธันวา 53 ผมก็ขึ้นไปตามงานอีกครั้ง สวนของพี่วิทยาที่ทำอินทรีย์ก็เริ่มเก็บสตรอได้แล้ว พี่แกงานล้นมือเพราะนักท่องเที่ยวมาตลอดเวลา จนไม่มีเวลาเอาน้ำหมักขี้หมูมาใส่แปลงเพราะกลัวนักท่องเที่ยวจะเหม็น  - โรงปลูกสตรอของพี่เขา ทำเสาสูงเพื่อป้องกันมดและทาก และนักท่องเที่ยวจะได้เก็บง่าย ๆ และหลังคายังช่วยเรื่องป้องกันเชื้อราที่ชอบมาหลังใบโดนน้ำฝน  - ทำอินทรีย์ ใบเป็นรู ดูไม่เท่ แต่ได้กำไรครับพี่น้อง   - แกปลูกสตรอในถุงขาวด้วย เพื่อลดปัญหาเชื้อโรคในดิน  - กองปุ๋ยที่ ธกส.ให้ขี้วัว 300 กระสอบกับเกษตรกรในโครงการ ได้ปุ๋ยมาก็จะแบ่งกันใช้ครับ  - คราวนี้ปุ๋ยเปื่อยย่อยดีครับ  - พี่แกเลี้ยงหมูหลุมด้วย ได้ปุ๋ยจากหมูหลุมใช้ด้วย กลิ่นไม่มีเลยครับผม แกเล่าว่าช่วงคริสมาสแกจะแต่งตัวลูกหมูให้เป็นซานต้า แล้วให้เดินต้อนรับนักท่องเที่ยว ฮิฮิ  - ไปเยี่ยมแปลงของพี่บุญเรืองกับพี่จูม สองรายนี้หมดหวัง เพราะไม่ได้สตรอเลย ส่วนแปลงของพี่ประพันธ์และพี่ดำรงค์สองพี่น้องสองแปลง พี่เขาดูแลแปลงดี แถมเปลี่ยนไหลเป็นพันธุ์ 80 (ที่ปกติเกษตรกรไม่ค่อยชอบ เพราะขนส่งไม่ค่อยได้ มักจะช้ำง่าย) ทำให้ได้ผลผลิตออกมาบ้าง ในรูปเป็นแปลงของพี่ดำรงค์ครับ   - พอดีฝนจะตก ก็เลยเห็นเกษตรกรอื่นรีบวิ่งแบกถังบอโดจะไปฉีดยาป้องกันโรคเชื้อราถ้าใบโดนฝน เห็นว่ายากระป๋องละ 350 บาท เฮ้อ...    - แต่ก็ยังมีเรื่องให้ปลื้มใจครับ เกษตรกรสองคนนี้เขาทำปุ๋ยด้วยครับจากการที่ไปอบรม แล้วเอาไปใช้ในแปลง กองอาจจะไม่ได้ขนาดตามที่สอนแต่ก็ได้ปุ๋ย เย้ .........  ก็ขอให้โชคดีนะครับ  - อันนี้เป็นปุ๋ยของแกที่เหลืออยู่ในกระสอบครับ 
Liked By: ดวงพร, กัญจน์, konthain(นพ), eight, AMOL, yong9, Ekachaiyan, woso, fajung, lief36, o___O
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2012, 07:30:46 AM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
- ปี 54 ไม่ได้ขึ้นไปสะเมิงเลย เพราะเกิดอุบัติเหตุหกล้ม กระดูกซี่โครงหัก 2 ซี่ ไปทิ่มปอด หมอเลยเจาะปอดเอาลมและเลือดออก อยู่ รพ.ได้อาทิตย์นึง กลับไปนอนเลียแผลที่บ้านอีกเดือน ต้องนอนโดยไม่ได้พลิกตัว พลิกไม่ได้ครับ เจ็บ  - เรื่องนี้ต้องขยาย ช่วยเตือนด้วยนะครับ หลายเรื่องแล้ว
Liked By: กัญจน์, ดวงพร, konthain(นพ), AMOL, yong9, aun17, nipun, Ekachaiyan, woso, fajung, lief36, patana-9
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4714
คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้
|
Liked By: ครูโต, กัญจน์, konthain(นพ), spyman, nongparei, eight, thepunyapat, supischa, Noey, kamnun, AMOL, roong2000, m.aree, yong9, aun17, MeeSook, ToongHuaChang, D2011, Ekachaiyan, woso, lief36, iceberk, keawjah, o___O, patana-9
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|