eight
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 155
|
ไปเจอข้อมูลจากเวปหมอชาวบ้าน มีข้อมูลหน้าสนใจเกี่ยวกับเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วเขียว ถั่วเขียว อาหารสำหรับหน้าร้อน อากาศร้อนหลังทำงานเหน็ดเหนื่อย กินถั่วเขียวต้มสักชามก็จะรู้สึกชุ่มฉ่ำใจ แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี ถ้านอนดึกมีอาการร้อนใน หรือตาแดง เจ็บคอ ท้องผูก ถ้าต้มถั่วเขียวกินก็จะทำให้อาการดังกล่าวหายไป เราสามารถเลือกกินได้ทั้งร้อนหรือเย็น หวานหรือจืดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna radiate L. วงศ์ Leguminosae หน้าร้อนผิวหนังมักเป็นผดผื่นคัน ใช้ถั่วเขียว ใบบัว และน้ำตาลทราย ต้มกินน้ำ ก็จะทำให้อาการผดผื่นคันบรรเทาและหายไป หรือจะเอาถั่วเขียวที่ต้มแล้วพอกบริเวณผดผื่นคัน ก็จะทำให้หายเร็วขึ้น หน้าร้อนต้มถั่วเขียวกิน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เนื่องจากในหน้าร้อน เมตาโบลิซึมของร่างกายสูง ทำให้เหงื่อออกมาก ร่างกายสูญเสียพลังงานไปมาก ถั่วเขียวนอกจากจะสามารถแก้ร้อน ลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่นและขับปัสสาวะแล้ว ถั่วเขียวยังอุดมไปด้วยโปรตีนกลุ่มวิตามินบี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น แป้งที่ทำจากถั่วเขียว แก้ร้อนใน ฝี และแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เปลือกหุ้มเมล็ด (สีเขียว) มีสรรพคุณรักษาโรคตาต่างๆ เช่น ตาแดง ตาอักเสบ ถั่วงอกจากถั่วเขียว หรือดอกต้นถั่วเขียว แก้อาการเมาเหล้า ใบถั่วเขียวตำให้แหลกคั้นน้ำ เติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย ทำให้อุ่น แก้กินน้ำ แก้อาการอาเจียนและท้องเดิน สรรพคุณ ถั่วเขียว แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาฝี เปลือก (สีเขียว) แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง รักษาตาอักเสบ ถั่วงอก แก้พิษเหล้า ตำรับยา 1. คางทูม (เป็นใหม่) ต้มถั่วเขียว 70 กรัม จนใกล้สุก ใส่แกนกะหล่ำปลีลงไป 2 หัว ต้มอีก 15 นาที กินเฉพาะน้ำ วันละ 2 ครั้ง อาการคางทูมก็จะหาย 2. อาเจียน (จากการดื่มเหล้า) ให้ดื่มน้ำถั่วเขียวพอประมาณ 3. ตาพร่า ตาอักเสบ ต้มถั่วเขียวกินครั้งละ 15-20 กรัม เป็นประจำ สารเคมีที่พบ ในเปลือก (สีเขียว) ของถั่วเขียว มีโปรตีน 79.0 % มีกรด Amino หลายชนิดคือ Aspartic acid 94.42 ม.ก./กรัม Thrconine 24.98 ม.ก./กรัม Serine 41.73 ม.ก./กรัม Glutamic acid 145.77 ม.ก./กรัม Proline 29.84 ม.ก./กรัม Glycine 27.92 ม.ก./กรัม Alanine 32.18 ม.ก./กรัม Valine 40.05 ม.ก./กรัม Cystine 3.78 ม.ก./กรัม Methionine 10.02 ม.ก./กรัม Iso-leucine 33.40 ม.ก./กรัม Leucine 67.02 ม.ก./กรัม Tyrosine 26.42 ม.ก./กรัม Phenylalanine 51.04 ม.ก./กรัม Lysine 52.44 ม.ก./กรัม Histidine 19.26 ม.ก./กรัม Arginine 50.24 ม.ก./กรัม Tryptophan 9.02 ม.ก./กรัม ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของหมอชาวบ้าน กับเว็บไซต์วิชาการดอทคอม www.doctor.or.thจากข้อมูล สารเคมีที่พบ ในเปลือก (สีเขียว) ของถั่วเขียว มีโปรตีน 79.0 % มีกรด Amino หลายชนิดคือ Aspartic acid 94.42 ม.ก./กรัม Thrconine 24.98 ม.ก./กรัม Serine 41.73 ม.ก./กรัม Glutamic acid 145.77 ม.ก./กรัม Proline 29.84 ม.ก./กรัม Glycine 27.92 ม.ก./กรัม Alanine 32.18 ม.ก./กรัม Valine 40.05 ม.ก./กรัม Cystine 3.78 ม.ก./กรัม Methionine 10.02 ม.ก./กรัม Iso-leucine 33.40 ม.ก./กรัม Leucine 67.02 ม.ก./กรัม Tyrosine 26.42 ม.ก./กรัม Phenylalanine 51.04 ม.ก./กรัม Lysine 52.44 ม.ก./กรัม Histidine 19.26 ม.ก./กรัม Arginine 50.24 ม.ก./กรัม Tryptophan 9.02 ม.ก./กรัมท่านอาจารย์ tera มีความเห็นว่ากระไรครับ  - คุณนพครับ ขอบพระคุณครับ อะไรจะว่องไวปานนั้น - ถ้าเอาไปทำปุ๋ยอินทรีย์ก็น่าเสียดายคุณค่าของเปลือกถั่วเขียว เอ ... หรือเอาไปเลี้ยงหมูดี (หรือเลี้ยงไก่ ?) แต่เอาไปโรยแปลงแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก็ดีนะครับ ไนโตรเจนสูงดี - คุณ eight ครับ ถ้าจะทำปุ๋ยอินทรีย์ ก็ต้องมีเศษใบไม้หรือฟางกับมูลสัตว์นะครับ วางเศษพืชเป็นชั้นบาง ๆ ทับด้วยมูลสัตว์ แล้วทับด้วยเปลือกถั่วเขียว รดน้ำ ทำชั้นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนได้ความสูง 1.5 เมตร กองเป็นรูปสามเหลี่ยม ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีค่าไนโตรเจนประมาณ 3-4% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานกำหนดสัก 3 เท่าครับ - ขอบคุณ คุณนพ และ อาจารย์ธีระมากครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
หญ้าคมปาว
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2436
|
เสียดายไม่ได้เข้าชั้นเรียน เพราะวัสดุฟางได้คลุมโคนยางเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมาใช้ไปหมดแล้ว คงรอปลายปีค่ะ  
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
KRTISAPHON
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 60
|
ติดตามชมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cjaranram
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 496
|
ไว้เกี่ยวข้าวเสร็จก่อน จะเข้าร่วมโครงการครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
หญ้าคมปาว
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2436
|
รากฝอยมันก็ลอยขึ้นมากินปุ๋ยนะ แต่ก็ไม่เคยมีปัญหาเรื่องการล้ม นี่คือเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ยาง 3 ปี 6 เดือน ปลูกในที่ดินลูกรังเกือบล้วนๆ เจ้าของไม่ค่อยมีเวลาดูแลต้องใช้ฟางคลุมกันพวกหญ้าน่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
tong3829
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 913
|
ขอถาม ต่ออีกนิดนะครับ พี่ใส่ทั้งกระสอบปุ๋ยเลยหรือครับ แบบไม่เทออกมา วางทั้งกระสอบเลย ใช้ฟางคลุม พี่กลัวไฟหมครับ เพราะก็อยากเอามาใช้บ้างแต่กลัวไฟในหน้าแล้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หญ้าคมปาว
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2436
|
พี่ใส่ทั้งกระสอบเพราะถ้าหว่านรอบๆ หญ้าจะแย่งกันขึ้น..สิ่งไหนยางชอบวัชพืชก็ชอบ ประภทว่าให้รากยางหากินเอง แต่หน้าแล้งไม่รู้รากฝอยหายไปไหน เพราะกระสอบปุ๋ยก็ขาด
พี่ก็กล้วนะเรื่องไฟใหม้..พี่จึงไถกลบร่องยางกันไฟลามได้..แต่ถ้าได้ฝนจะชุ่มตลอดค่ะ พี่ก็ว่ายางที่เห็นก็แลดูสุขภาพดีนะ สำหรับสวนที่ไม่มีคนเฝ้า เจ้าของทำงานอยู่กทม.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หญ้าคมปาว
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2436
|
ใส้เดือนก็เริงร่า  นี่คือการหว่านปุ๋ยหมักวัชพืชเพียบ  ต้องเสียเวลาจ้างคนถอน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
wirot
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2303
|
ถามนิดนึงครับ เห็นไส้เดือนของคุณหญ้าฯแล้วนึกถึงตัวเองที่ไปหาซื้อไส้เดือนมาทำปุ๋ย เลยอยากถามอาจารย์ว่าในเมื่อเบดดิ้ง(อาหาร)ของไส้เดือนเป็นขี้วัว ไส้เดือนกินแล้วถ่ายออกมาได้เป็นปุ๋ย เมื่อเทียบกับปุ๋ยหมักของอาจารย์ที่ได้จากขี้วัวผสมฟางแล้ว ขี้ไส้เดือนน่าจะมีแร่ธาตุน้อยกว่าหรืออย่างมากก็เท่ากับปุ๋ยหมัก ใช่ไหมครับ ถ้าใช่ผมเอาขี้วัวมาทำปุ๋ยหมักไม่ดีกว่าเหรอ เพราะเร็วกว่า แถมยุ่งยากน้อยกว่าด้วย ขี้วัวที่จะเอาให้ไส้เดือนกิน ต้องเอาไปหมักให้หายร้อนก่อนด้วย แต่กองปุ๋ยหมักใช้แบบแห้งๆจากกระสอบได้เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
|
|
|
saree691206
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 290
|
ขั้นตอนถูกต้องไหมอาจารย์ ช่วยชี้แนะด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
konthain(นพ)
Moderator
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 9908
ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ
|
ถามนิดนึงครับ เห็นไส้เดือนของคุณหญ้าฯแล้วนึกถึงตัวเองที่ไปหาซื้อไส้เดือนมาทำปุ๋ย เลยอยากถามอาจารย์ว่าในเมื่อเบดดิ้ง(อาหาร)ของไส้เดือนเป็นขี้วัว ไส้เดือนกินแล้วถ่ายออกมาได้เป็นปุ๋ย เมื่อเทียบกับปุ๋ยหมักของอาจารย์ที่ได้จากขี้วัวผสมฟางแล้ว ขี้ไส้เดือนน่าจะมีแร่ธาตุน้อยกว่าหรืออย่างมากก็เท่ากับปุ๋ยหมัก ใช่ไหมครับ ถ้าใช่ผมเอาขี้วัวมาทำปุ๋ยหมักไม่ดีกว่าเหรอ เพราะเร็วกว่า แถมยุ่งยากน้อยกว่าด้วย ขี้วัวที่จะเอาให้ไส้เดือนกิน ต้องเอาไปหมักให้หายร้อนก่อนด้วย แต่กองปุ๋ยหมักใช้แบบแห้งๆจากกระสอบได้เลย
ขออนุญาตร่วมแจมสักเล็กน้อยนะครับ ในมุมมองของผม(ไม่มีข้อมูลทางวิชาการนะครับ  ) ปุ๋ยขี้ใส้เดือน(เบดดิ้งจากขี้วัว)น่าจะดีกว่าขี้วัวหมัก เพราะในใส้เดือนมีจุลินทรีย์อยู่หลายตัวถ้าจะเปรียบเทียบกัน น่าจะเป็นอาหารที่ปรุงสำเร็จรูปเลยสำหรับพืชที่นำไปใช้ได้เลย(ใส้เดือนเปรียบเป็นแม่ครัว)เมื่อเทียบกับปุ๋ยหมักจากขี้วัวและวัสดุอื่นๆยังไงก็รอฟังความรู้และการชี้แนะจากท่านอาจารย์ tera อีกทีนึงนะครับ  เรื่องนี้น่าจะมีการวิจัยกันมาบ้างสำหรับนักศึกษาแม่โจ้นะครับ 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 25, 2012, 04:01:53 PM โดย konthain(นพ) »
|
บันทึกการเข้า
|
สำนึกดีครับรับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 
|
|
|
หญ้าคมปาว
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2436
|
ใส้เดือนที่เพื่อนสมาชิกเห็นนี้ หลังจากที่ถอนวัชพืชแล้วนะคะ จะมีอยู่เยอะมาก และใส้เดือนก็ตัวอ้วนด้วย การหมักปุ๋ยใช้ทำให้ดินลูกรังที่เห็น..โปร่ง ใส้เดือนไชดินมีรูเยอะมาก เราไม่เคยคิดซื้อใส้เดือนมาทำปุ๋ยเลย..แต่ใส้เดือนมันชอบอยู่ใต้แกลบชุ่มๆนะคะพี่วิโรจน์ รอให้อาจารย์วิเคราะห์ให้ฟังค่ะ   ใช้จอบขุดเดินทีไร สับถูกใส้เดือนดิ้นแด่วๆ ทุกที  
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|