tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
เรียนถามอาจารย์ครับ 1. ถ้าผมเอาเศษผักกองไว้ กxยxส ประมาณ 2x2x1 เมตร แล้วเอาขี้วัวเทคลุมข้างบน เอาฟางคลุม มันจะเป็นปุ๋ยหมักมั๊ยครับ 2. ในกรณีที่ผมวางเป็นชั้น โดย เศษผัก ฟาง ขี้วัว แต่ไม่ได้ผสมเศษผักกับฟางก่อน จะได้มั๊ยครับ (ขี้เกียจคลุกเศษผักกับฟาง  ) 3. รบกวนอาจารย์เปรียบเทียบ โดยใช้ วิธีการ ขี้วัว ปริมาตร เป็นตัวคงที่ แล้วใช้ เศษผัก ฟาง หรือวัสดุอื่น ๆ เป็นตัวแปร อยากทราบคุณภาพครับ (ในกรณีที่ต้องหาวัสดุบางอย่างมาอาจมีค่าใช้จ่ายครับ เลยอยากเปรียบเทียบเพื่อดูความคุ้มค่าครับ) ขอบคุณครับ ปล. เตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้วครับ แล้วจะส่งการบ้านครับ  - ถ้ากองเศษผักไว้สูง 1 เมตร ผลคือ เน่าครับ จะเหม็นและมีน้ำเสียดำ ๆ ไหลออกมา พีเอชของปุ๋ยจะเป็นกรดซึ่งพืชไม่ชอบ - วางสลับเศษผัก ฟาง ขี้วัว เป็นชั้น ถูกต้องที่สุดครับผม  เพราะถ้าใช้เศษผักสลับกับขี้วัวโดยไม่มีฟางหรือใบไม้ เศษผักจะอัดตัวแน่นทำให้อากาศเข้าไม่ได้ ก็จะเริ่มเเน่าอีก การมีเศษใบไม้หรือฟางจะช่วยพยุงไม่ให้แน่นเกินไป รับรองได้ว่าไม่มีการเน่นครับผม - เศษพืชนำมาใช้ได้ทุกชนิด ให้เลือกเอาที่ไม่ต้องซื้อ เพราะเป็นแค่คาร์บอนสำหรับจุลินทรีย์ครับ ค่าคุณภาพไม่ต่างกันครับ ยกเว้นเมื่อเอาพืชตระกูลถั่วมาเข้ากองปุ๋ย จะได้ไนโตรเจนมากกว่าพืชอื่นประมาณ 1% และถ้าเราโม่เปลือกและเมล็ดลำไยลิ้นจี่หรือมีเปลือกกล้วย ปุ๋ยจากพวกนี้จะให้โพแทสเซียมสูงกว่าปกติสัก 2-3% ครับ เพราะโพแทสเซียมจะสะสมที่เปลือกผลไม้ เมล็ดผลไม้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
saree691206
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 290
|
ปู๋ยคอก ปู๋ยหมัก และปู๋ไส้เดือน แตกต่างกันอย่างไรค่ะ  ปู๋ยชีวภาพ ปู๋ยอินทีย  อยากศึกเรื่องปู๋ยค่ะอาจารย์ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
ปู๋ยคอก ปู๋ยหมัก และปู๋ไส้เดือน แตกต่างกันอย่างไรค่ะ  ปู๋ยชีวภาพ ปู๋ยอินทีย  อยากศึกเรื่องปู๋ยค่ะอาจารย์  - ปุ๋ยคอกคือมูลสัตว์ที่นำมากองไว้ รดน้ำ ทิ้งไว้ให้ความร้อนลดลง สัก 2-3 เดือน ทิ้งให้แห้ง แล้วนำไปใช้ - ส่วนปุ๋ยหมักคือการนำเศษพืชและมูลสัตว์ (รวมทั้งสารอื่น ๆ แล้วแต่กรรมวิธี) มาเข้ากระบวนการ เมื่อเสร็จกระบวนการทิ้งให้แห้ง แล้วนำไปใช้ คุณค่าปุ๋ยคอกจะสู้ปุ๋ยหมักไม่ได้ตรงที่ (1) อินทรีย์วัตถุปุ๋ยคอกน้อยกว่า (2) ค่า N P K ปุ๋ยคอกน้อยกว่า (3) ค่าแคลเซียม แมกนีเซียม และจุลธาตุที่มีในเศษพืชก็จะมีน้อยกว่า (4) การเป็นวัสดุเพิ่มความพรุนปรับโครงสร้างดินก็สู้ปุ๋ยหมักไม่ได้ครับผม - ปุ๋ยไส้เดือน คือการเอาเศษอาหารเศษผักในตลาดมาวางบนขี้วัว แล้วให้ไส้เดือนกินเศษผักเศษอาหาร มูลของไส้เดือนเมื่อทำให้แห้งก็คือปุ๋ยไส้เดือนครับ - ปุ๋ยชีวภาพ คือปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์ที่มีชีวิตชนิดประเภทที่เป็นประโยชน์พิเศษเฉพาะด้านในการเพาะปลูก ไม่สามารถเก็บไว้ได้นานกว่า 6 เดือน - ปุ๋ยอินทรีย์ ก็คือปุ๋ยหมักครับ อันเดียวกัน
Liked By: wirot, ดวงพร, พี่ณัฐ, tung3955, AMOL, yong9, aun17, momnong, tom_freed, Ekachaiyan, woso, fajung, lief36
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Saendee
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 13
|
เข้ามาศึกษาใหม่ค่ะ มีความสนใจการทำปุ๋ยหมักของอาจารย์ มีข้อสงสัยเรียนถามอาจารย์ว่าหากไม่สะดวกในการหาฟางสามารถใช้ใบไผ่แทนได้หรือไม่ค่ะ เนื่องจากที่บ้านมีการปลูกไผ่ขายหน่อพอสมควร ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรุ้ที่ได้แบ่งบัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ae hatyai
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 791
|
อาจารย์ครับ ผมขอสอบถามอีกเรื่อง เผื่อเป็นประโยชน์ต่เพื่อนสมาชิกครับ
การวางกองปุ๋ย ถ้าเราเอาไม่พาเลท มาวางไว้หลาย ๆ อัน (เคยเจอว่ามีคนเคยทำอย่างนี้ครับ) ให้กว้างพอสมควร ปูด้วยแสลน หรือตาข่ายสีฟ้า แล้วเริ่มทำกองปุ๋ย
ผมว่าอากาศจะสามารถเข้ากองปุ๋ยได้ดีกว่าไหมครับ จะเป้นข้อดีหรือข้อเสียผมก้ไม่แน่ใจ หรืออาจจะทำให้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้นไหม
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
เข้ามาศึกษาใหม่ค่ะ มีความสนใจการทำปุ๋ยหมักของอาจารย์ มีข้อสงสัยเรียนถามอาจารย์ว่าหากไม่สะดวกในการหาฟางสามารถใช้ใบไผ่แทนได้หรือไม่ค่ะ เนื่องจากที่บ้านมีการปลูกไผ่ขายหน่อพอสมควร ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรุ้ที่ได้แบ่งบัน
- ได้ครับผม ผมเองก็อยากรู้เหมือนกันว่าจะเป็นปุ๋ยยากกว่าหรือช้ากว่าใบไม้ปกติหรือเปล่า ลองสมัครเพื่อส่งรูปกองปุ๋ยมาให้ดูดีไหมครับ ส่งรูปมาทุกขั้นตอน จะได้ช่วยติชมได้และเรียนรู้ไปด้วยกันครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2012, 01:59:14 PM โดย tera »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ae hatyai
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 791
|
- เรื่องตลกจากพี่ทวี แห่งบุรีรัมย์ต่อนะครับ - เรื่องที่สอง พอพี่ทวีได้ปุ๋ย แกก็เอาไปใส่นา แกจงใจแกล้งเพื่อนบ้านโดยเอาปุ๋ยอินทรีย์ไปใส่ในนาเน้นข้างถนนในหมู่บ้านโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อที่เพื่อนบ้านจะได้เห็น แกโทรมาบอกว่าต้นข้าวของแกเขียวดี ต้นแข็งแรงและสูง (เป็นที่เข้าใจกันดีว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไป จะไปปรับสภาพดิน ที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ตกค้างในดิน จากที่อยู่ในรูปไม่ละลายน้ำให้กลายเป็นอยู่ในรูปละลายน้ำที่ต้นข้าวสามารถเอาไปใช้ได้ เลยได้ประโยชน์สองเด้ง) แต่เรื่องที่ตลกคือ แกฟ้องว่าคนในหมู่บ้านรวบรวมเอาขี้ควายขายให้กับคนหนองคายที่มาซื้อถึงหมู่บ้าน ผมก็แบบว่า ... อ้าว... แล้วคนหนองคายซื้อเอาไปทำไม พี่แกตอบว่าซื้อเอาไปใส่ต้นยางพารา ผมก็ ... อ้าว (อีก) .. ถามต่อว่า แล้วถ้าหมู่บ้านเราจะทำปุ๋ยอินทรีย์ใส่ต้นข้าวแล้วจะเอาขี้ควายที่ไหนมาทำล่ะ พี่แกก็ตอบว่า ไม่รุ๊ ... ก็เห็นพวกนั้นพอได้เงินก็ออกไปซื้อปุ๋ยยูเรียกันนี่ แต่ของแกคิดว่าจะไปซื้อควายเพิ่มอีกสัก 2 ตัว จะเอาขี้มันมาทำปุ๋ย  เพราะเห็นแล้วว่าแนวทางนี้ดี ประหยัดดี ข้าวก็ได้เท่าเดิม ที่สำคัญคือดินดีขึ้นมาก แกบอกว่าถ้าผ่านมาให้มากินข้าวและนอนบ้านแก (ขอบคุณครับเสี่ยว) - ได้ข้อคิดอะไรบ้างครับจากเรื่องที่สองนี้ ผมคิดว่า พี่ทวีอยู่ไกลถึงบุรีรัมย์ แต่ดวงตาเห็นธรรม อยากพ้นทุกข์ เชื่อใจในครู อุตสาห์หาเบอร์โทรครูจนได้ เรียนการทำปุ๋ยทางโทรศัพท์ ตั้งอกตั้งใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำตามที่ครูบอก แล้วก็สำเร็จ หลุดพ้นจากบ่วงทุกข์ (ว่าไปนั่น) ต้นทุนต่ำ ดินดี ได้ข้าวเหมือนกัน - แต่สำหรับเพื่อนบ้าน ขนาดที่เห็นพี่ทวีประสบความสำเร็จ กลับไม่มีใครอยากเดินมาในทางนี้ กลับปฏิเสธที่จะยอมเปลี่ยนแปลง เหล่าเพื่อนบ้านก็เลยจมอยู่ในวงจรเดิม ๆ "ปัญหาเดิม ถ้าแก้ด้วยวิธีเดิม ก็จะไม่มีวันสำเร็จ.... ปัญหาเดิม ต้องแก้ด้วยวิธีใหม่จึงจะสำเร็จ" - เคยมีคนถามผมว่า ถ้าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ผมจะมีแนวทางอย่างไร ผมมักจะตอบว่า ของแบบนี้ต้องรอให้พวกเขามีดวงตาเห็นธรรม มีปัญญา เห็นทางพ้นทุกข์เสียก่อน แล้วพวกเขาจะยอมเปลี่ยนเอง สังเกตดูสิครับ บรรดาปราชญ์หรือผู้นำกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ เขาเหล่านี้ล้วนดำเนินชีวิตแบบสวนกระแส สวนสังคม สวนกับเพื่อนบ้าน ตั้งแต่ตอนเริ่มแรกไม่ใช่หรือครับ โดยมีความสำเร็จของคนอื่นเป็นเครื่องยืนยัน ของแบบนี้มันจะเกิดเองครับ บังคับไม่ได้ (เอ... หรือว่าเป็นบุญเก่าน้อ ?'.....) -ขอเสริมนิดนึ่งครับ เกษตรกรบ้านเราชอบเชื่อคนรวย คนมีเงิน เค้าบอกว่าดี ก็เชื่อ ที่เค้ารวยเพราะเค้าหลอกเรานั้นแหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4714
คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้
|
กระทู้อาจารย์ ฮอต จริงๆได้ทั้งความรู้เรื่องหมักปุ๋ย เรื่องการทำเกษตร และมุมมองของชีวิตอีก อยากรณรงค์ให้สมาชิกที่ทำสวน ไร่ นา หมักปุ๋ยใช้เองกันถ้วนหน้า สมัครกันเข้ามาเยอะๆนะคะใครที่หมักและได้บอกกล่าวคนอื่นๆได้เห็นเป็นตัวอย่าง ส่งรูปมาดูกันค่ะ  ;Dสนุกค่ะกระทู้นี้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
2502
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1558
|
สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอขอบคุณความรู้ที่ให้มานะคะ เพื่งจะมาเป็นเกษตรกรในตอนแก่นี่แหละค่ะ อ่อนกว่าอาจารย์ ๑ ปี อยากเรียนถามอาจารย์ว่า ถ้าใช้ผลสัปปะรดมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำปุ๋ยหมัก จะได้ไหมคะ พอดีมีผลสัปปะรดที่มันโดนเจาะ หรือเกือบเน่าหลายลูกค่ะ ตอนนี้ก็่สับ ๆ กองเอาไว้รวมกับเศษหญ้าที่ดายไว้ ส่วนขี้วัวกับฟางแห้ง มีแล้วค่ะ อยู่ข้าง ๆ บ้านนี่เอง เขาเลี้ยงวัวไว้ ยี่สิบกว่าตัว แล้วก็มีฟางแห้งอยู่ในโรงวัว ก็เลยเสร็จเรา ได้ขออนุญาติเอาไว้แล้ว มอบกุญแจโรงวัวมาให้ด้วย เพียงแต่เหลือแรงงานที่จะขน ก็คือตัวเองน่ะค่ะ มันก็เหนื่อยอยู่เหมือนกันเพราะไม่ใช่ทางราบ มันเป็นทางขึ้นเนิน ลงเนิน เดินหลายเที่ยวก็เอาเรื่องเหมือนกันสำหรับคนแก่ ตอนนี้รอคำตอบของอาจารย์อยู่ค่ะ จะได้เริ่มลงมือปฏิบัติ ขอบคุณอีกครั้งนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Saendee
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 13
|
เข้ามาศึกษาใหม่ค่ะ มีความสนใจการทำปุ๋ยหมักของอาจารย์ มีข้อสงสัยเรียนถามอาจารย์ว่าหากไม่สะดวกในการหาฟางสามารถใช้ใบไผ่แทนได้หรือไม่ค่ะ เนื่องจากที่บ้านมีการปลูกไผ่ขายหน่อพอสมควร ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรุ้ที่ได้แบ่งบัน
- ได้ครับผม ผมเองก็อยากรู้เหมือนกันว่าจะเป็นปุ๋ยยากกว่าหรือช้ากว่าใบไม้ปกติหรือเปล่า ลองสมัครเพื่อส่งรูปกองปุ๋ยมาให้ดูดีไหมครับ ส่งรูปมาทุกขั้นตอน จะได้ช่วยติชมได้และเรียนรู้ไปด้วยกันครับ มีความสงสัยอีกประการจะรบกวนถามอาจารย์ค่ะ คือบ่อน้ำในสวนมีแหนแดงสามารถใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยร่วมกันได้หรือไม่ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
อาจารย์ครับ ผมขอสอบถามอีกเรื่อง เผื่อเป็นประโยชน์ต่เพื่อนสมาชิกครับ
การวางกองปุ๋ย ถ้าเราเอาไม่พาเลท มาวางไว้หลาย ๆ อัน (เคยเจอว่ามีคนเคยทำอย่างนี้ครับ) ให้กว้างพอสมควร ปูด้วยแสลน หรือตาข่ายสีฟ้า แล้วเริ่มทำกองปุ๋ย
ผมว่าอากาศจะสามารถเข้ากองปุ๋ยได้ดีกว่าไหมครับ จะเป้นข้อดีหรือข้อเสียผมก้ไม่แน่ใจ หรืออาจจะทำให้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้นไหม
ขอบคุณครับ
- การเอาพาเลทวางแล้วเอาวัสดุทำปุ๋ยทับ เป็นการช่วยให้อากาศไหลเข้าในกองปุ๋ยจากข้างใต้พาเลทตราบใดที่มีอากาศร้อนไหลขึ้นไปจากกองปุ๋ย ซึ่งถ้าปัจจัยและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการไม่ครบ เช่นไม่สนใจเรื่องความชื้น ความร้อนก็ไม่เกิด อากาศก็ไม่ไหล วัสดุก็จะไม่เป็นปุ๋ยครับ ถ้าคิดจะวางสปริงเกลอร์ก็อย่าหวังว่าน้ำจะซึมลงในกองปุ๋ยนะครับ มันจะเปียกเฉพาะด้านบนเท่านั้น - วิธีนี้เทศบาลนครพิษณุโลกนำไปใช้ลดปริมาตรของขยะ ก่อนย้ายเข้าหลุมฝังกลบครับ ใช้เวลา 8 เดือนครับผม ซึ่งได้ปุ๋ยหมักมาใช้ส่วนหนึ่งด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
konthain(นพ)
Administrators
  
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 9910
ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ
|
เข้ามาศึกษาใหม่ค่ะ มีความสนใจการทำปุ๋ยหมักของอาจารย์ มีข้อสงสัยเรียนถามอาจารย์ว่าหากไม่สะดวกในการหาฟางสามารถใช้ใบไผ่แทนได้หรือไม่ค่ะ เนื่องจากที่บ้านมีการปลูกไผ่ขายหน่อพอสมควร ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรุ้ที่ได้แบ่งบัน
- ได้ครับผม ผมเองก็อยากรู้เหมือนกันว่าจะเป็นปุ๋ยยากกว่าหรือช้ากว่าใบไม้ปกติหรือเปล่า ลองสมัครเพื่อส่งรูปกองปุ๋ยมาให้ดูดีไหมครับ ส่งรูปมาทุกขั้นตอน จะได้ช่วยติชมได้และเรียนรู้ไปด้วยกันครับ มีความสงสัยอีกประการจะรบกวนถามอาจารย์ค่ะ คือบ่อน้ำในสวนมีแหนแดงสามารถใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยร่วมกันได้หรือไม่ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ http://www.youtube.com/v/2wvNXwxWf-4มีแหนแดง อย่าเอาไปหมักปุ๋ยเลยครับ เอาไปขายให้ชาวนา โดยเฉพาะชาวนาในเวปนี้จะดีกว่าครับ ช่วยบอกพิกัดสวนของคุณพี่ Saendee สักหน่อยสิครับว่าอยู่แถวไหน 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2012, 02:43:28 PM โดย konthain(นพ) »
|
บันทึกการเข้า
|
สำนึกดีครับรับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
เข้ามาศึกษาใหม่ค่ะ มีความสนใจการทำปุ๋ยหมักของอาจารย์ มีข้อสงสัยเรียนถามอาจารย์ว่าหากไม่สะดวกในการหาฟางสามารถใช้ใบไผ่แทนได้หรือไม่ค่ะ เนื่องจากที่บ้านมีการปลูกไผ่ขายหน่อพอสมควร ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรุ้ที่ได้แบ่งบัน
- ได้ครับผม ผมเองก็อยากรู้เหมือนกันว่าจะเป็นปุ๋ยยากกว่าหรือช้ากว่าใบไม้ปกติหรือเปล่า ลองสมัครเพื่อส่งรูปกองปุ๋ยมาให้ดูดีไหมครับ ส่งรูปมาทุกขั้นตอน จะได้ช่วยติชมได้และเรียนรู้ไปด้วยกันครับ มีความสงสัยอีกประการจะรบกวนถามอาจารย์ค่ะ คือบ่อน้ำในสวนมีแหนแดงสามารถใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยร่วมกันได้หรือไม่ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ - ได้ครับผม - แหนแดงมีไนโตรเจนสูงเกือบ 4% เกษตรกรบางรายจะเลี้ยงในนาข้าวด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tera
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4191
|
สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอขอบคุณความรู้ที่ให้มานะคะ เพื่งจะมาเป็นเกษตรกรในตอนแก่นี่แหละค่ะ อ่อนกว่าอาจารย์ ๑ ปี อยากเรียนถามอาจารย์ว่า ถ้าใช้ผลสัปปะรดมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำปุ๋ยหมัก จะได้ไหมคะ พอดีมีผลสัปปะรดที่มันโดนเจาะ หรือเกือบเน่าหลายลูกค่ะ ตอนนี้ก็่สับ ๆ กองเอาไว้รวมกับเศษหญ้าที่ดายไว้ ส่วนขี้วัวกับฟางแห้ง มีแล้วค่ะ อยู่ข้าง ๆ บ้านนี่เอง เขาเลี้ยงวัวไว้ ยี่สิบกว่าตัว แล้วก็มีฟางแห้งอยู่ในโรงวัว ก็เลยเสร็จเรา ได้ขออนุญาติเอาไว้แล้ว มอบกุญแจโรงวัวมาให้ด้วย เพียงแต่เหลือแรงงานที่จะขน ก็คือตัวเองน่ะค่ะ มันก็เหนื่อยอยู่เหมือนกันเพราะไม่ใช่ทางราบ มันเป็นทางขึ้นเนิน ลงเนิน เดินหลายเที่ยวก็เอาเรื่องเหมือนกันสำหรับคนแก่ ตอนนี้รอคำตอบของอาจารย์อยู่ค่ะ จะได้เริ่มลงมือปฏิบัติ ขอบคุณอีกครั้งนะคะ
- ต้องสับให้สับปะรดมีขนาดเล็กกว่า 2 นิ้วนะครับ - วางฟาง ใบไม้ สลับกับสับปะรดและขี้วัวเป็นชั้น ๆ รับรองไม่มีกลิ่นและแมลงวัน ปุ๋ยที่ได้ก็ไม่เป็นกรดด้วยครับ แต่ต้องดูแลความชื้นดี ๆ - ลองขึ้นกองปุ๋ยที่ข้างโรงวัวเลยสิครับ (ใกล้ ๆ ก๊อกน้ำ) จะได้ลดการขนย้ายครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sathit54
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 81
|
เรียนถามแบบไม่ค่อยมีความรู้นะครับ คือทำสวนยางครับ คิดไว้ว่าจะขุดบ่อ (หลุม)ตรงกลางร่องยาง ขนาด 1x1 ม @ 10 ม. แล้วจะเทปุ๋ยคอกลงไปเลย แล้วกลบ ถามว่าคุณค่าปุ๋ยคอกที่ใส่ไปเลย กับปุ๋ยหมัก มันต่างกันมากรึเปล่าครับ
- การรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ควรไปเยี่ยมถามจากห้องอื่นนะครับจะมั่นใจมากกว่าครับ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=48729.0- คุณค่าปุ๋ยคอกกับปุ๋ยหมักต่างกันครับ วิธีทำก็ต่างกัน ปุ๋ยคอกคือมูลสัตว์ที่นำมากองไว้ รดน้ำ ทิ้งไว้ให้ความร้อนลดลง สัก 2-3 เดือน ทิ้งให้แห้ง แล้วนำไปใช้ ส่วนปุ๋ยหมักคือการนำเศษพืชและมูลสัตว์มาเข้ากระบวนการ เมื่อเสร็จกระบวนการทิ้งให้แห้ง แล้วนำไปใช้ คุณค่าปุ๋ยคอกจะสู้ปุ๋ยหมักไม่ได้ตรงที่อินทรีย์วัตถุปุ๋ยคอกน้อยกว่า ค่า N P K ปุ๋ยคอกน้อยกว่า ค่าแคลเซียม แมกนีเซียม และจุลธาตุที่มีในเศษพืชก็จะมีน้อยกว่า การเป็นวัสดุเพิ่มความพรุนปรับโครงสร้างดินก็สู้ปุ๋ยหมักไม่ได้ครับผม - สรุปว่าอยากถามคุณค่าของการใช้ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์แน่ครับ? เพราะบางท่านยังเรียกมูลสัตว์ว่าปุ๋ยคอกอยู่ - ถ้าเป็นมูลสัตว์ กรณีใช้มูลสัตว์ในปริมาณไม่มากก็ไม่มีปัญหา เพราะปฏิกิริยาที่เกิดในดินก็จะไม่ชัดเจน ก็ยังเป็นประโยชน์ได้อยู่ แต่ถ้าใช้มูลสัตว์มาก ใช้รองก้นหลุมมาก จุลินทรีย์ในมูลสัตว์จะเริ่มทำงาน คราวนี้กินรากพืชแหลก แถมยังเกิดการย่อยสลายในดินแบบไม่ใช้อากาศ ซึ่งทำให้เกิดความเป็นกรด คราวนี้ธาตุอะลูมิเนียมเกิดไปละลายเข้ารากพืช พืชถึงกับแกร็นเชียวนะครับ เคราะห์หามยามร้ายเกิดเป็นโรคเชื้อราที่ทำให้เกิดโรครากเน่าก็จะยิ่งแย่ เพราะเชื้อราพวกนี้ชอบความเป็นกรดครับ - เคยคุยกับชาวสวนยางพาราหนองคาย เขาเคยแนะนำให้ขุดหลุมกว้าง ๆ ลึก ๆ เพื่อให้รากต้นอ่อนเดินหากินได้ง่าย รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ดินกลบหลุมก็ให้คลุกด้วยปุ๋ยหมักสัก 10 ต่อ 1 ครับ เขาเล่าว่ายางอายุ 3 ปีมีขนาดเท่าของเพื่อนบ้าน 5 ปีครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ให้ถามจากห้องกระทู้อื่น เดี๋ยวต้นยางจะมาเอียงและล้มเพราะผมนะครับ ฮิฮิ กระจ่างเลยครับ คล้ายกับดวงตาเห็นธรรม ขอบคุณอาจารย์มากครับ เกือบแล้วสวนเรา 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 4714
คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2012, 02:51:55 PM โดย ดวงพร »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|