หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 433   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนสมาชิกทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ของแม่โจ้ ไม่ต้องพลิกกลับกอง (มีสารบัญ)  (อ่าน 3021774 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 11 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 10:48:22 AM »

- สวัสดีนะครับ ผมชื่อธีระพงษ์ สอนหนังสือที่แม่โจ้ รับผิดชอบดูแลฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง โดยใช้เศษใบไม้ในมหาวิทยาลัยและมูลสัตว์ (ขี้วัว) มาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แล้วเปิดให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมทุกวันเวลาราชการ ..ฟรี

- ฐานเรียนรู้นี้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2547 ระยะแรกก็ใช้วิธีแบบเติมอากาศที่ผมเป็นผู้คิดค้น ในช่วงนั้นสนุกมากเพราะเป็นครั้งแรกที่พวกเราและเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง เสร็จภายในเวลา 1 เดือนเท่านั้น ทำได้ครั้งละ 10 กอง ๆ ละ 1 ตัน ต้นทุนตกกระสอบละ 25 บาท (30 กิโล) ราคาในท้องตลาดกระสอบละ 150 - 350 บาท

- ในปี 2552 ผมวิจัยพบวิธีใหม่ กองเป็นแถวยาวไม่ต้องพลิกกลับกอง แต่ไม่ต้องใช้พัดลม ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า สองเดือนเสร็จ ใช้เศษพืชกับมูลสัตว์เหมือนเดิมโดยไม่ต้องพลิกกลับกอง เลยเลิกวิธีเติมอากาศครับ

- ปัจจุบัน ทีมนักวิจัยของผมได้เดินสายไป 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเศษพืชมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีใหม่นี้แทนการเผาทำลาย และพบว่าเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผักตบชวา เศษผักในตลาด และฟางข้าวสามารถย่อยได้เร็วกว่าสองเดือน รองลงมาก็เป็นเศษใบไม้สด และใบไม้แห้ง

- วิธีใหม่นี้ผมเน้นให้เกษตรกรนำไปผลิตในนา หรือผลิตในสวนเลย จะได้ไม่ต้องขนไปมา

- ผลิตในสวน ใช้ในสวน ลดการขนส่ง

- ที่สำคัญครับ ปุ๋ยที่ผลิตได้จะมีคุณภาพตามที่มาตรฐานของประเทศ ปี 2551 กำหนด ไม่ว่าจะเป็นค่าการนำไฟฟ้า ค่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ (Germination Test) ค่าอินทรีย์วัตถุ และอื่น ๆ

เรื่องโครงสร้าง "ครอบครัวปุ๋ย"
แนะนำตัว
ปุ๋ยหมักวิธีใหม่ของแม่โจ้ ไม่ต้องพลิกกลับกอง สองเดือนเสร็จ  
ข้อดี ของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้  
ทฤษฎีของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ก็คือ
ถ้าจะให้มีคุณภาพดี ๆ จะทำอย่างไง?
กองปุ๋ยมีรูปสามเหลี่ยม เพื่อการพาความร้อน
หัวใจของการทำปุ๋ยอินทรีย์คือ ต้องรักษาความชื้นในและนอกกองปุ๋ยให้มีอยู่เสมอ
การทำปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ แม่โจ้ตั้งชื่อว่าวิธี "วิศวกรรมแม่โจ้ 1"
ข้อห้ามของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1”
วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นเงื่อนไขการย่อยสลายแบบใช้อากาศ
วิธีการขึ้นกองปุ๋ย
ตัวอย่าง กองนี้ทำจากเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับขี้ไก่
ในเศษพืช ไม่ว่าใบไม้หรือฟางข้าว ล้วนอุดมไปด้วยแร่ธาตุและจุลธาตุ
ทำปุ๋ยอินทรีย์ในกะละมัง
การทำปุ๋ยอินทรีย์ในกะละมัง ถ้าขาดปัจจัยอันใดอันหนึ่งจะเกิดอะไรบ้าง  
ถ้าขาดปัจจัยอันใดอันหนึ่งจะเกิดอะไรบ้าง (ต่อ)
คนจีนมีวัฒนธรรมที่จะไม่ให้ "ของดี" ของสวนเขาไหลไปให้คนอื่น
การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร
ทำปุ๋ยจากเศษอาหารต่อนะครับ
ข้อแตกต่างในการทำปุ๋ยกองเล็กกับกองใหญ่
อีกแนวหนึ่งในการทำปุ๋ยอินทรีย์ คือทำในกรงตาข่ายเหล็ก หรือในเสวียนไม้ไผ่ ที่ไม่มีก้น  
วันนี้เราจะเรียนเรื่อง "ปุ๋ย" กัน  
เกร็ดความรู้บางประการในการทำปุ๋ยหมักกองใหญ่
พื้นที่ไม่ยาวก็ทำเป็นแถวสั้น เรียงกันไปก็ได้จ้า เอาไกล้น้ำไว้ก่อน
เรื่องถ้าจะเอาปุ๊ปุ๊ของคนมาแทนขี้วัวได้อย่างไร
ทั้งปุ๊ปุ๊ของคน ทั้งขี้วัว ทั้งเศษพืช เราจะนำไปใช้กับพืชโดยไม่ผ่านกระบวนการย่อยสลายเสียก่อนไม่ได้

คำถามที่พบบ่อย ในการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง "วิศวกรรมแม่โจ้ 1"
คำถามที่พบบ่อย ชุดที่ 1

เรื่องของ น้องจุล(ลินทรีย์) แสบ ซน ซ่า
วันนี้มาเล่าสู่กันฟังเรื่องน้องจุลกันดีกว่า
เรื่องน้องจุล ต่อ
น้องจุลมีกี่ชนิด  
น้องจุลมีในที่ต่าง ๆ ในอากาศทั่วไป ในน้ำ ก็มีสปอร์น้องจุลลอยไปลอยมา  
กระบวนการย่อยสลายแบบใช้อากาศ และไม่ใช้อากศ

เรื่องของ ฐานเรียนรู้
ฐานเรียนรู้ของผมนะครับที่แม่โจ้ ทำปุ๋ยทุกวัน ได้ปุ๋ยทุกวัน
ที่ฐานเรียนรู้ เมื่อครบสองเดือนคนงานก็จะเอาปุ๋ยออกตากแดดให้ปุ๋ยแห้ง จุลินทรีย์จะได้สงบตัว
เปลือกมะม่วงสุกโรงงานนำมาทำปุ๋ยด้วยวิธีใหม่นี้
น่าคิดนะครับว่าทำไมไม่มีน้ำเสียออกมา ทำไมไม่มีแมลงวัน
เคยพูดถึงกองปุ๋ยนี้ว่า มีความดีใจที่สุดในโลก
กองปุ๋ย ดีใจที่สุดในโลก  
ในที่สุดกองปุ๋ยจากฟาง 4 กอง ที่อายุไล่กัน 7 วันก็เสร็จ และกองที่ 5 ทำจากใบไม้ก็มาแล้ว

เรื่องของ โครงการความร่วมมือ
โครงการที่แม่โจ้ร่วมมือกับ นสธ.ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี 2552
ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มูลนิธิชัยพัฒนา อ.แม่สาย จ.เชียงราย  
มาดูกองปุ๋ยยาวที่สุดในโลก ยาว 1 กิโลเมตร ของจังหวัดลำพูนนะครับ
เทศบาลนครเชียงใหม่ผลิตปุ๋ยจากเศษใบไม้ที่มาตั้งแต่ปี 2553
ไปช่วยสอนทำปุ๋ยที่ อบต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม เชียงใหม่  
ทำปุ๋ยจากเศษผักในตลาด เทศบาลสำโรงใต้ สมุทรปราการ  
โครงการที่แม่โจ้ร่วมกับห้างเซ็นทรัลที่เชียงใหม่ ทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้
การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร บ้านแม่โจ้ หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย เชียงใหม่  

เรื่องของ หน่วยงานหรือเกษตรกร ที่นำวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้
มีเกษตรกรน่ารักที่นำวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้ แล้วสร้างเป็นฐานเรียนรู้ ขยายผลไปหมู่บ้านอื่นอีกหลายแห่ง
กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโพธิทองเจริญ อ.ดอยสะเก็ด เชียงใหม่
ข้อสังเกต จากกรณีของลุงเจริญ  
มีใครรู้จักลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้งจากสุพรรณบ้างครับ
ปราชญ์ชาวบ้านของลำพูนครับ ชื่อสุรัตน์ อยู่ที่บ้านห้วยแหนพัฒนา ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ ลำพูน
ฐานเรียนรู้ 5 ฐาน ของ พี่สุรัตน์ ปราชญ์ชาวบ้าน  
ปุ๋ยที่แห้งแล้ว แล้วนำไปตีป่น
กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านแพะพัฒนา ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว เชียงใหม่
ประธานกลุ่มชื่อลุงศรี  กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านแพะพัฒนา  
เรื่องตลกจากพี่ทวี แห่งบุรีรัมย์
เรื่องตลกจากพี่ทวี แห่งบุรีรัมย์ต่อนะครับ
ชวนคุยเรื่อย ๆ นะครับ
กองปุ๋ยจากฟางข้าวและขี้วัวครับ
กองปุ๋ยจากเศษใบไม้ของสวนไม้ไทยพ่อเลี้ยงหมื่น อำเภอเมือง ลำพูน
รูปวันที่วิศวกรแม่โจ้ไปแก้กองปุ๋ยยาว 1 กม.ที่อำเภอลี้ ลำพูน
รูปของกลุ่มครูดารา บ้านหนองแฝก ต.หนองแฝก อ.สารภี เชียงใหม่
นักศึกษาวิศวแม่โจ้  ทำปุ๋ยหมักขาย ใช้ฟางกับเศษข้าวโพด
ไอเดียโรงปุ๋ยพอเพียง ไม่มีหลังคา ไม่มีคอก ไม่มีพื้นคอนกรีต ไม่ต้องพลิก  
การทำปุ๋ยของกลุ่มเกษตรกรบ้านป่าลาน ต.สองแคว อ.ดอยหล่อ เชียงใหม่
เทศบาลตำบลบ้านกลางมีปัญหาหลุมฝังกลบขยะ (แบบกอง ๆ บนดิน)
ได้ไปส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักแต่ก็ยังไม่สำเร็จนัก
ผมได้มีโอกาสไปสอนทำปุ๋ยที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เพชรบุรี
รูปของเกษตรกรบ้านบ่อโจง ต.หนองหนาม อ.เมือง ลำพูน
ไปอบรมเรื่องปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ แก้ปัญหาแอนแทรกโนส ที่บ้านบ่อแก้ว อ.สะเมิง เชียงใหม่  
สอนคูโบต้าทำปุ๋ย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการทำเอกสารเผยแพร่ให้กับเกษตรกร
รูปพี่ถวิล โป่งงาม อ.แม่สาย เชียงราย ที่รับจ๊อบส่งปุ๋ยให้ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ 30 ตัน

เรื่องของ ภาพในหลาย ๆ ที่
ภาพการทำปุ๋ยอินทรีย์ในหลาย ๆ ที่
เอารูปกองปุ๋ยสวย ๆ มาให้ดูนะครับ
เรื่องเศร้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกข้าวของเกษตรกร ที่เชียงใหม่  
ภาพที่ไม่อยากให้เกิด แต่เป็นภาพปกติใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน  
รูปการทำปุ๋ยหมักจากเศษผักในตลาด
เอารูปมาให้ดูอีกนะครับ
สวนกินได้
รูปหญ้าบนกองปุ๋ย
รูปการเจาะรูห่างกัน 40 เซ็นติเมตร (ทุก 10 วัน) เจาะให้ถึงพื้น แล้วกรอกน้ำลงไป เสร็จแล้วปิดรู
รูปทำปุ๋ยจากเศษใบไม้ในบ้านผมครับ
รูปกระทะเคี่ยวน้ำตาลที่คลองดำเนินสะดวกมาให้ดู รูปนี้คล้ายกับการไหลของอากาศในกองปุ๋ยครับ
นี่น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของน้ำป่าไหลหลากครับ
ตอนผ่าน อ.แม่ขะจาน เจอโรงโม่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ข้างทาง
น้องปุ๋ยตัวจริงเสียงจริง (นังปุ๋ย)
ไปเจอหญ้าข้างถนนถูกฉีดยาฆ่าหญ้า ไม่รู้ว่าผู้ใหญ่บ้านหรือ อบต.ฉีด
ไปเจอภาพเก่า ๆ เลยเอามาฝากครับ

เรื่อง อื่นๆ รอบๆห้องเรียน
กรณีสวนส้มที่อำเภอฝาง เชียงใหม่ครับ
เรื่องส้มต่อนะครับ
เรื่องส้มต่อนะครับ
สวนส้มเคมี เปรียบเทียบกับสวนส้มอินทรีย์
ปัญหาโรคแอนแทรกโนส ที่สวนสตรอเบอรี่
การจัดฝึกอบรมเกษตรกรเรื่องการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์เพื่อต้านโรคแอนแทรกโนส
อบรมเดือนกันยายน 53 พอเดือนตุลาคม 53 ขึ้นไปตามงาน  
วิเคราะห์ ปัญหาสาเหตุ
เดือนธันวาคม 53  ก็ขึ้นไปตามงานอีกครั้ง
เดือนมิ.ย. 54  สรุปว่าแนวทางการแก้ไขปัญหามีคร่าว ๆ
เดือนมกรา 55 ออกพื้นที่ ก็พบว่าเกษตรกร 5 รายในโครงการประสบความสำเร็จ โรคไม่มี
นักท่องเที่ยวมากันเยอะ ที่สวนสตรอเบอรี่อินทรีย์ของคุณวิทยา
มีใครสนใจซื้อเครื่องพลิกกลับกองปุ๋ยจากอเมริกาบ้างไหมครับ มือสอง อวมท. ราคา 5 ล้าน
มีอีกรุ่นครับ รุ่นนี้ใช้แทรคเตอร์ลาก

.
.
.
.
.

ความรู้เสริม เติมเต็มในช่องว่าง
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วเขียว
ให้ปุ๋ยต้นไม้แบบวางกระสอบ  
การทำปุ๋ยอินทรีย์
การหมักปุ๋ยง่าย ๆ
การสูบน้ำเข้านาแบบพอเพียง ลดพลังงาน ลดการจ้าง
แบบถุงบรรจุปุ๋ยเป็นตัวอย่าง โดยคุณ James  
ตารางเปรียบเทียบปริมาณ N P K จากวัสดุเกษตรต่าง ๆ
ทำปุ๋ยหมักแบบง่ายที่ ม.แม่โจ้
ค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศ ปี 2551
การทำน้ำสกัดมูลสุกร


Liked By: วัตครับ, konthain(นพ), กัญจน์, mskh875, เอ, ดวงพร, spyman, supischa, Noey, Siripa, jutima_p, ครูซอส, eight, Saithong, โจ้, nitidol, oFFja, nongparei, lookpu99, AMOL, NoWhere_Man, Magnum (rew), Patanasa, ปากแดงดอทคอม, deer art, patcharanin, cjaranram, krading, wirot, i_nam, blatand, looknat, neiizpooh, thepunyapat, Kittitoy, tosak, Piengchan Sreehatagam, lhin_yana, knok, pornpim, sucktichai, BTLพ่อน้องเจษ, Mr.Ball, naturefarm, James, tong3829, sixtycrown, o___O, patatlantic, s_pong, arjanaud, BlueZone, ไม้หน้า3, rasit, tri, 106, tumtump, Only_You, change, lerk asm, pp_79, jira, aem, rangsan_10, ไก่โต้ง, Gnoy, ทิดโส โม้ระเบิด, nacha13, jimmylin04, มหาบ้านนอก, ti_krab, IMoOI, tavid, mrsuksamer, chumpla, Marnjomyoot, punny, SupotPom, Tik@18, Freedom in mind, babaecom, nok7959, หมู, Naiteetee, vason, udompost, guitarcake, Papa63, cattarock, Nattawat, testcha, Manjunk, zeazar, Athikarn, Weekend Farmer, Pethai, Dui202, mai12, nong-wanvisa, pocky, monjmc, PRY20, kasedt50, econground, hiranrath, nuidekdoy, dalad_oil, Packbung, เกษตรIT, ตุ๊กตุ๊ก, Guevara, p_thunkitchai, PUTIN, narong545, liver_555, นัท ฉัตรชัย สุพรรณโมก, iamday, friendy, deemeechai, iamnok, brt761, Karamar, Dome Olarn, mayttt, YAKA, ฤทธิ์ ชัยนาท, FUJI, natnapat ..^=^กาแฟเย็น, nooch, paraluntao, mixfeed, aun17, pon 1, galdior, nontanut, พริกขี้หนู, jobrard, วิสัณห์ ม, kwangja, toonrtaf, Happy farmer, Khunplong, vichai sila, ยาหวาน, Nitiphoom, kwanbanna, taweesaknoona, wee, MeeSook, อัศว์ สวนจันท์, amata, nipun, JJJJ, ideaphone, Chonpratan, Dongkasat, ฟาร์มงัวยิ้ม, tom_freed, suwinai, RJF, dooom, sitcs, D2011, monchai02, Faisal, 5XXA, ford, suthipongnuy, prateep007, Boonyaporn, JIN, Kru Kae, Sawek, $tung, tong3805, porpeang-01, tass08, angy, อาโป, knab, Paul2010, Eakchai14, budsarawadee, orogaro, Ekachaiyan, flycatcher_xiii, St.SeiYa, toolateman, majigza, nookie, woso, Hunter_x, mimnongbook, น้ำข้าว, Captoon, นาพ่อ, ยอด ราชบุรี, Orangie, NoomRatburi, pochnarin, surapun, meowzilla, วราวุธ, hs3vds, noppon_h, ptrpkk, forte26, siammint, thiraphat, NRM, somjade, chai23, iceberk, linfong, หง, ฟาร์มเงิน สารคาม, nalinee2548, suanchamni, eakmachine, Sanya_Sr, 9phon, saenta, Tawandin, phuthakan, Ratthapatch, FreedomX, chaisom, varapornpongsopa, Taweekrit, aPoCaLyPsE, mosoman, Chakapol, chai7, chainut, Tommy_LA, Chonsawat, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, sparkee, ลมพัดไผ่, satitnew, NaiKhaowhom, lart, pop724, uoonsabye, nushpng, pourman, Bull Rider, jamaybe, Gift39, okcomth, เหนือ สาร, mcka, nongaob, wa04, patana-9, surasitp, Bensir, emmainoi, โสรายา, duidui2490, krunang pkc, seri, kaewmai, andrew, jacky5566, t-cha, Lung M., สวนปู่-ย่า, Armata, kapompeek, KungFuu, toyth, mnrs999, mohock03, chaitanun, ทำตามคำพ่อ, Steve_Jeab, Pinho, แว่นแก้ว, Surakree, tphairote, Bangmeroom, a_bkk, Nithiyos, วิชัย เกษตรอินดี้, นายออโต้, so007, kimjelly, 2511wp
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 09, 2013, 09:53:17 PM โดย ไก่โต้ง » บันทึกการเข้า

konthain(นพ)
Administrators
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9908


ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา การให้ที่ยิ่งใหญ่ไม่สิ้นสุดคือให้ปัญญาและมิตรภาพ


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 10:55:09 AM »

ขอบคุณมากครับ ดีใจที่มีอาจารย์ที่เป็นอาจารย์เกษตรจริงๆ ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนให้ความรู้แก่สมาชิกชาวเกษตรพอเพียง
และผู้ที่สนใจทั่วไป เป็นนิมิตรหมายอันดี ที่จะพัฒนาการเกษตรของเราไปได้อย่างถูกต้องและก้าวไกลต่อไป
ขอบคุณมากๆเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มเท่ห์

คำถาม - คำตอบ
   ==> ถ้าใช้ถั่วมะแฮะบำรุงสวนยาง
   ==> ยังไม่เข้าใจอยู่นิดนึงครับ คำว่า อัตราส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร
   ==> ทำความเข้าใจ ภาพรวม
   ==> เรายังไม่ใช้สามารถวางทิ้งต่อไปได้เรื่อยๆไหมคะ ถ้าได้จะทิ้งไว้ได้นานแค่ไหน
   ==> ไม่มีขี้วัว  เอาขี้หมู หรืออย่างอื่นได้ไหมครับ
   ==> ด้านบนของกองปุ๋ยมันจะย่อยสลายหรือครับเมื่อมันโดนอากาศภายนอกตลอดเวลาไม่เกิดความร้อนด้านบน
   ==> หญ้าสดๆที่ยังไม่แห้งแล้วเราเอาไปคลุมโคนต้นไม้เล็ก เช่น ต้นยางพาราที่ปลูกใหม่ มันจะเป็นอันตรายต่อรากของต้นไม้ไหมครับ
   ==> ต้องรดน้ำมากน้อยแค่ไหนเอาอะไรมาวัดว่าเพียงพอ
   ==> ในกรณีที่มีเศษใบไม้ไม่มากเช่นบ้านในหมู่บ้านเราสามารถใช้วิธีเดียวกันได้ไหมครับ
   ==> กรณีใช้เศษผักที่ได้จากตลาด
..
.
.
.
.
ปุ๋ยอินทรีย์ วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 (แบบไม่ต้องพลิกกลับกอง)

มี Video เรื่องของปุ๋ยแม่โจ้ ที่เห็นภาพและทำตามได้เลย ช่วยกันนำไปเผยแพร่ด้วยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2013, 08:33:36 PM โดย konthain(นพ) » บันทึกการเข้า

สำนึกดีครับ
รับจ้างล้างรถ และแจกจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

 ยิงฟันยิ้ม
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:00:32 AM »

- กองปุ๋ยจากฟางข้าวและขี้วัว วันที่ 1



- กองปุ๋ยกองเดียวกันที่อายุ 2 เดือน โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง กิจกรรมมีเพียงต้องดูแลความชื้นอย่างดีทั้งภายในภายนอกตลอดเวลา



- พอเฉาะออกมาดู ก็พบว่าฟางข้าวกลายเป็นผงแบบนี้ เสร็จแล้วต้องทิ้งให้แห้ง ให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยที่กำลังสนุกกับการย่อยเศษพืชสงบตัวเสียก่อน ก่อนที่จะนำไปใช้




นักเรียน ในห้อง (คลิกที่ชื่อจะลิงค์ไปที่บอร์ดการบ้าน) เพื่อให้อาจารย์ตรวจ เพื่อนนักเรียนให้คำปรึกษา แนะนำ ลอกการบ้าน

**********************************************************
อนาคต จำนวนการบ้านมีหลายหน้า   เพื่อสะดวกต่อการไปตรวจการบ้าน
คลิก ที่ชื่อ ไปยัง หน้าแรกของการบ้าน
คลิก ที่เลขหน้า ไปยัง  หน้านั้นๆ  

***********************************************************


……...ชื่อ…………............. p1p2p3p4p5p6p7p8p9p10p11p12p13
1.คุณ  ปากแดงดอทคอม **
2.คุณ ดวงพร.....(หมักกองเล็ก).**
3.คุณ ae hatyai..**
4.คุณ nongparei...*
5.คุณ deer art.
6.คุณ ไร่ร่มโพธิ์ทอง**
7.คุณ oFFja..**
8.คุณ keawjah...***
9.คุณ thepunyapat..*
10.คุณ patcha.c....(หมักกองกะละมัง)..**
11.คุณ pp_79...***
12.คุณ Gnoy.....************
13.คุณ James.....**
14.คุณ ทิดโส โม้ระเบิด...(หมักกองเล็ก)......
15.คุณ tass08 .....* *
16.คุณ supischa.......*
17.คุณ aeksit.ra................
18.คุณ Sk.kk.......*
19.คุณ cjaranram.....*
20.คุณ wirot.....*
21.คุณ ครูซอส.....*
22.คุณ nacha13...............
23.คุณ tong3829.......**
24.คุณ loongnan2......*
25.คุณ macaber................
26.คุณ tavid.....................
27.คุณ jeejee......**
28.คุณ nok7959................
29.คุณ Weekend Farmer ....**
30.คุณ หมู.............................
31.หนูนางฟ้า…(การบ้านแอบในกระทู้ผัดฉ่า)...*
32.คุณ naturefarm…….*
33.คุณ mskh875......***
34.คุณ samart4....**
35.คุณ nti……****
36.คุณ Saksitsri….******
37.คุณ krading.....***
38.คุณ BB29......
39.คุณ hiranrath.......
40.คุณ n_ong.......
41.คุณ Pite…..*
42.คุณ kobha.....*
43.คุณ Supparit.......  
44.คุณ num32......*
45.คุณ whisky......
46.คุณ narong545.....  
47.คุณ 2502


================================================
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2017, 10:27:01 PM โดย tera » บันทึกการเข้า
กัญจน์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11578


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:02:14 AM »

ขอบคุณครับกับความรู้ดีๆที่มาช่วยต่อเติมความฝันของใครหลายคนให้ก้าวเดินสู่หนทางแห่งความมั่นคงที่เราสามารถผลิตปุ๋ยเองไว้ใช้ได้โดยไม่ต้องจ่าย ยิ้มเท่ห์ อายจัง อายจัง อายจัง อายจัง
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:06:20 AM »

ขอบคุณมากครับ ดีใจที่มีอาจารย์ที่เป็นอาจารย์เกษตรจริงๆ ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนให้ความรู้แก่สมาชิกชาวเกษตรพอเพียง
และผู้ที่สนใจทั่วไป เป็นนิมิตรหมายอันดี ที่จะพัฒนาการเกษตรของเราไปได้อย่างถูกต้องและก้าวไกลต่อไป
ขอบคุณมากๆเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มเท่ห์

- ผมเป็นน้องใหม่ ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวนะครับ ทำอะไรผิดพลาดไปก็ขอช่วยแนะนำครับ
- ผมเองรู้สึกดีใจที่มีเว็บดี ๆ และเห็นสมาชิกมีความช่วยเหลือกัน เป็นปลื้มครับกับเรื่องดี ๆ สิ่งที่สมาชิกได้ทำกันมันหมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกและเกษตรกรในอนาคต ผมอยากช่วยและเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากกว่าที่เป็นอยู่ครับ


คำถามประจำห้องเรียน

*** วันนี้มีโจทย์มาถามครับ หลังจากที่เรียนมา 20 วัน ว่าสองรูปนี้เป็นวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องอย่างไร
คำตอบจาก
  ==> ปากแดงดอทคอม
  ==> thepunyapat
  ==> konthain(นพ)
  ==> Gnoy
  ==> nongparei
  ==> patcha.c

- เฉลยข้อสอบครับ

*** โจทย์มีอยู่ว่า ........ นายก (อ่านว่านาย ก.) มีลำไยขึ้นราตามในรูป 10 ตัน ต้องการทำเป็นปุ๋ยหมัก เราจะแนะนำนายกอย่างไรดี
คำตอบจาก
  ==> Gnoy
  ==> spyman
  ==> Gnoy
  ==> ดวงพร
  ==> konthain(นพ)

- เฉลยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2012, 11:01:14 PM โดย ไก่โต้ง » บันทึกการเข้า
เอ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388


« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:11:39 AM »

สวัสดีครับอาจารย์ tera

ผมปลูกยางพาราไปเมื่อวันที่8นี้เองครับและผมได้หว่านถั่วมะแฮะทั่วทั้งแปลงยางด้วย ผมมีความคิดอย่างนี้ครับ เมือต้นถั่วมะแฮะโตและมีใบเยอะแล้วผมตั้งใจว่าจะขุดหลุมรอบต้นยางห่างประมาณ 2ฟุตแล้วสับใบถั่วมะแฮะลงหลุมแล้วราดด้วยน้ำหมักแล้วเอาดินกลบเลย อาจารย์มีความเห็นอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2012, 01:24:24 PM โดย เอ » บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:17:05 AM »

- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ เกษตรกรสามารถนำไปผลิตได้ครั้งละมาก ๆ กองนึงอาจยาวได้ถึง 100 เมตรก็ได้ถ้าอยากทำ
- กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 300 กิโลถึง 3,000 กิโลต่อไร่ ใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
- โดยเฉลี่ยสำหรับเกษตรกรที่ทำอินทรีย์ เขาใช้ 1 ตันต่อไร่ ซึ่งหมายความว่าหากเรามีที่ดินทำกิน 30 ไร่ ก็ต้องใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ 30 ตันทุกปี ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีเดิม ๆ ที่ต้องพลิกกลับกอง
- เราจึงพบว่า ทุกคนอยากซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของคนอื่นใช้ กระสอบหนึ่งอาจสูงถึง 350 บาท โดยไม่ทราบว่าคุณภาพจริง ๆ ดีหรือไม่ รู้แต่ว่าใช้แล้วได้ผลดี
- เหตุที่ใช้แล้วได้ผลดีเป็นเพราะ จุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ได้สารอาหารจากอินทรีย์วัตถุที่เราเติมลงไป ก็จะเจริญเติบโตขยายจำนวนมากขึ้นแล้วไปแย่งอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นโชื้อโรคในดิน
- ปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ (เป็นอันเดียวกัน) มีคุณสมบัติช่วยลดการเป็นกรดจัดและด่างจัดของดิน ช่วยให้พีเอชดินเป็นกลางซึ่งเป็นสภาพที่พืชต้องการ
- ในสภาพดินเป็นกรด เชื้อราโรครากเน่าชอบมาก รวมทั้งแอนแทรกโนส เกษตรกรจึงประสบปัญหาการระบาดของโรคเสมอ และความเป็นกรดยังละลายเอาอะลูมิเนียมออกมาจากดินและซึมเข้ารากพืช ทำให้พืชไม่แข็งแรง เป็นโรคง่าย เกษตรกรต้องไปซื้อยาเคมีมาฉีดพ่นอีก เปลืองเงิน เพื่มต้นทุน
- ปุ๋ยอินทรีย์ที่เราผลิตเอง หากต้องการเพิ่มคุณค่าเข้าไปอีก ก็สามารถทำได้โดยเติมปุ๋ยเคมีในช่วงก่อนบรรจุกระสอบ รวมทั้งโดโลไมท์ หรือหินฟอสเฟต รวมทั้งน้ำหมักชีวภาพจาก พด 2 และ พด 3
บันทึกการเข้า
daecha1121
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 976


« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:18:24 AM »

ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่มีความรู้ดีๆมาบอกกันผมหวังว่าชาวเกษตรพอเพียงจะได้รับความคำแนะนำความรู้ดีๆจากอาจารย์อีกนะครับ
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:23:06 AM »

สวัสดีครับอาจารย์ tera

ผมปลูกยางพาราไปเมื่อวันที่8นี้เองครับและผมได้หว่านถั่วมะแฮะทั่วทั้งแปลงยางด้วย ผมมีความคิดอย่างนี้ครับ เมือต้นถั่วมะแฮะโตและมีใบเยอะแล้วผมตั้งใจว่าจะขุดหลุมรอบต้นยางห่างประมาณ 2ฟุตแล้วสับใบถั่วมะแฮะแล้วราดด้วยน้ำหมักแล้วเอาดินกลบเลย อาจารย์มีความเห็นอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

- ฝังกลบถั่วอย่างเดียวก็เยี่ยมแล้วครับ เมื่อรากเขายื่นไปถึงก็จะได้ใช้ประโยชน์ได้ครับ น้ำหมักไม่ต้องครับเพราะเดี๋ยวดินบริเวณนั้นกลายเป็นกรดก็จะยิ่งแย่ ยกเว้นเป็นการราดแบบเจือจาง 200 เท่าจนไม่เป็นกรดครับผม
- ผมคิดว่าการขุดหลุมให้กว้างและลึก จะทำให้ยางโตได้ดีเพราะรากระยะแรกจะได้ไม่ต้องทำงานมาก รวมทั้งการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่แห้งและดินกลบหลุมที่ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 10 ต่อ 1 (ดิน 10 ปุ๋ยอินทรีย์ 1 โดยปริมาตร) ก็จะทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีครับ
บันทึกการเข้า
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4714


คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้


« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:26:14 AM »

ขอบคุณมากครับ ดีใจที่มีอาจารย์ที่เป็นอาจารย์เกษตรจริงๆ ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนให้ความรู้แก่สมาชิกชาวเกษตรพอเพียง
และผู้ที่สนใจทั่วไป เป็นนิมิตรหมายอันดี ที่จะพัฒนาการเกษตรของเราไปได้อย่างถูกต้องและก้าวไกลต่อไป
ขอบคุณมากๆเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มเท่ห์
- ผมเป็นน้องใหม่ ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวนะครับ ทำอะไรผิดพลาดไปก็ขอช่วยแนะนำครับ
- ผมเองรู้สึกดีใจที่มีเว็บดี ๆ และเห็นสมาชิกมีความช่วยเหลือกัน เป็นปลื้มครับกับเรื่องดี ๆ สิ่งที่สามชิกได้ทำกันมันหมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกและเกษตรกรในอนาคต ผมอยากช่วยและเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากกว่าที่เป็นอยู่ครับ

ขอบคุณ อาจารย์มากๆค่ะที่มาแนะนำการทำปุ๋ยอินทรีย์แบบใหม่ น่าสนใจมากค่ะดวงพรก็หมักปุ๋ยปีนึงหลายตันใช้ค่ะ ได้วิธีใหม่อีกแบบจากอาจารย์ ถ่ายทอดความรู้เสร็จขออนุญาตอาจารย์ ย้าย ความรู้นี้เข้าคลังความรู้นะคะ เพราะกระทู้ในเวปเราจะตกเร็วมาก

ขอบคุณที่มาร่วมด้วยช่วยกันจริงๆค่ะ
บันทึกการเข้า
spyman
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 225


« ตอบ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:32:31 AM »

เข้ามารออ่านครับ
กำลังจะทำปุ๋ยหมักพอดีเลยครับ
จะได้ลองวิธีใหม่เลยครับ
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:36:52 AM »

- ทฤษฎีของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ก็คือ ต้องมีสภาวะที่เหมาะสมกับการทำงานของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยให้มากที่สุด เพื่อให้การย่อยสลายแล้วเสร็จเร็วที่สุด
- จุลินทรีย์ต้องการอากาศในการทำงานเพราะเป็นกลุ่มใช้ออกซิเจน เพราะฉะนั้นการทำปุ๋ยอินทรีย์วิธีทั่วไปจึงต้องพลิกกลับกองเพื่อนำอากาศให้กับจุลินทรีย์นั่นเอง (ดังนั้น การนำผ้าไปคลุมกองปุ๋ยก็ผิด การเหยียบกองปุ๋ยให้แน่นก็ผิด และการเอาดินไปคลุมด้านบนก็ผิดครับผม)
- แล้วจุลินทรีย์จะเอามาจากไหน? กรมพัฒนาที่ดินเขาจึงผลิตจุลินทรีย์ใส่ซอง เรียกว่าสารเร่ง พด 1 (พด 2 ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ พด 3 ใช้เติมในปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้มีจุลินทรีย์ที่ไปทำลายโรคเชื้อราในดิน คล้าย ๆ กับการเติมไตรโคเดอร์มาลงในปุ๋ยอินทรีย์ก่อนใช้) แล้วแจกเกษตรกรทั่วประเทศ ไปขอได้ที่สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดครับ และในมูลสัตว์ทุกชนิดก็มีจุลินทรีย์ด้วย การทำปุ๋ยอินทรีย์บางวิธีก็ไปเอาจุลินทรีย์ขุยไผ่ในป่า (แต่ถ้าจะทำปุ๋ยอินทรีย์ครั้งละ 30 ตัน แล้วจะไปหาขุยไผ่ที่ไหนถึงจะพอ)
- มีเศษพืชแล้ว มีจุลินทรีย์แล้ว ก็น่าจะเริ่มกิจกรรมการย่อยสลายได้ แต่............ถ้าไม่มีความชื้นจุลินทรีย์ก็ทำงานไม่ได้ เพราะฉะนั้น ใครขี้เกียจดูแลความชื้นกองปุ๋ย การเป็นปุ๋ยก็จะแล้วเสร็จช้ามาก ๆ ๆ ๆ หรือไม่เสร็จเลย ใบไม้ก็เป็นใบไม้เหมือนเดิม
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:48:13 AM »

- พอมีจุลินทรีย์ มีเศษพืช มีอากาศ มีความชื้น จุลินทรีย์ก็จะเริ่มทำงานย่อยสลายเศษพืชและคายความร้อนออกมา ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ก็จะมีคุณภาพห่วย ๆ
- อ้าว ... ไหงเป็นงั้น แล้วถ้าจะให้มีคุณภาพดี ๆ จะทำอย่างไง?
- คืองี้ครับ จุลินทรีย์เมื่อเริ่มย่อยสลาย เขาต้องการธาตุคาร์บอนและไนโตรเจนไปในการสร้งเซลล์และเจริญเติบโต โชคดีที่ในเศษพืชมีคาร์บอนอยู่แล้ว (บางสูตรเลยต้องไปซื้อรำข้าวมาใส่) เราเลยไม่ต้องไปหาซื้อคาร์บอน ส่วนไนโตรเจนมีในปุ๋ยยูเรีย มีในกากน้ำตาล และมีในมูลสัตว์ ถ้าเราหาสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเศษพืชและไนโตรเจนได้ จุลินทรีย์ก็สามารถย่อยสลายเศษพืชได้สมบูรณ์ ปุ๋ยอินทรีย์ก็จะมีคุณภาพดีตามมาตรฐาน ก็เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมสูตรของ พด ต้องใส่ปุ๋ยยูเรียด้วย และบางสูตรต้องใส่กากน้ำตาลด้วย
- ผมเลยใช้มูลสัตว์เป็นแหล่งทั้งจุลินทรีย์และไนโตรเจนครับ และวิจัยออกมาได้ว่า ถ้าเป็นเศษใบไม้ก็ใช้ใบไม้ 3 ส่วนกับมูลสัตว์ (ขี้วัว ขี้หมู ขี้ไก่ ขี้ช้าง อะไรก็ได้ ยกเว้นที่ออกมาจากบ่อไบโอแก๊ซ) อีก 1 ส่วนโดยปริมาตร และถ้าเป็นฟางข้าว เศษข้าวโพด ก็ใช้ 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร อย่างเช่น ถ้ามีเศษใบไม้ 300 เข่ง ก็ต้องใช้มูลสัตว์ 100 เข่ง เป็นต้น ซึ่งมากกว่าวิธีของ พด นิดหน่อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 03:56:36 PM โดย tera » บันทึกการเข้า
maprang
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 283



« ตอบ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 11:59:57 AM »

มาลงชื่อเข้าชมครับ..เพื่อศึกษาหาความรู้ในด้านนี้ครับ.. ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
testcha
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14


« ตอบ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 12:17:58 PM »

มารอดูวิธีการ อีกคนครับ   .....
บันทึกการเข้า
tera
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4191


« ตอบ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 12:21:40 PM »

- เมื่อมีเศษพืช มีจุลินทรีย์ มีคาร์บอน มีไนโตรเจน และมีความชื้น จุลินทรีย์ก็จะเริ่มการย่อยสลายและคายความร้อนออกมา และถ้าเราทำกองปุ๋ยให้สูงพอ ประมาณ 1.5 เมตร กองปุ๋ยสูงขนาดนี้จะสะสมความร้อนไว้ในกองปุ๋ยได้ดี ความร้อนในกองปุ๋ยบางครั้งขึ้นสูงถึง 70 องศา แต่ปรากฏว่าจุลินทรีย์ที่มาจากมูลสัตว์ชอบครับ ดันไม่ตาย แต่กลับย่อยได้เก่งเสียนี่ จุลินทรีย์กลุ่มนี้เรียกว่า Thermophiles และ Mesophiles (ลองค้นดูในกูเกิ้ลก็ได้นะครับ ค้นคำว่า Thermophiles in composting - compost แปลว่าปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ครับ ส่วน composting แปลว่าการทำปุ๋ยหมักครับ)
- ดีล่ะ ..... ในเมื่อมีความร้อนสะสมในกองปุ๋ย ผมเลยอาศัยหลักการทางวิชาการที่เรียกว่าการพาความร้อน มาช่วยให้เกิดการไหลของอากาศเข้าไปในกองปุ๋ยเองครับ หลักการพาความร้อน (Chimney Convection) กล่าวว่า เมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น (ตามธรรมชาติแล้ว ความร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นไปเอง) อากาศเย็นจะไหลเข้ามาแทนที่ ผมเลยกำหนดให้กองปุ๋ยมีรูปสามเหลี่ยมสูง 1.5 เมตรเพื่อให้กองปุ๋ยร้อน เมื่อกองปุ๋ยร้อน อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นและอากาศเย็นกว่าที่อยู่ข้างนอกจะไหลเข้าไปในกองปุ๋ยแทนที่ ก็เลยกลายเป็นว่าตราบใดที่กองปุ๋ยร้อน เราจะมีการเติมอากาศเข้าในกองปุ๋ยแบบตามธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา เราเลยไม่ต้องพลิกกองปุ๋ยเลย
- แล้วทำไมต้องเป็นสามเหลี่ยม ทำไมไม่เป็นสี่เหลี่ยม? คำตอบคือ ถ้าเป็นสี่เหลี่ยม เวลาอากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น อากาศเย็นจะไหลเข้ากองปุ๋ยแล้วลัดวงจรลอยขึ้นไปข้างบนโดยไม่ไหลเข้ามาข้างในกองปุ๋ย จุลินทรีย์ก็เลยจะไม่ได้อากาศสำหรับการย่อยสลาย
- ดังนั้น เราสามารถทำกองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยม สูง 1.5 เมตร ฐานกว้างสัก 2.5 เมตร ความยาวทำได้ไม่จำกัดเพราะความยาวไม่เกี่ยวกับกิจกรรมการย่อยสลาย เราอาจทำกองยาว 10 เมตร หรือ 100 เมตร หรือ 1,000 เมตรก็ได้ แบบที่จังหวัดลำพูนกำลังทำอยู่ http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=120329160233
- ทุก ๆ ความยาว 4 เมตร เมื่อครบสองเดือนจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตัน
- ทุก 4 เมตรจะใช้มูลสัตว์ประมาณ 30 กระสอบ สมมติว่ากระสอบละ 30 บาท ก็จะเป็นต้นทุนการผลิตตันละ 900 บาท (ไม่คิดค่าแรง ซึ่งมีค่าแรงเฉพาะตอนขึ้นกองปุ๋ยกับล้มกองและใส่กระสอบ) แต่ถ้าเราไปซื้อของบริษัท เราอาจต้องจ่ายสูงถึงตันละ 7 พันบาททีเดียว
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 433   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: