ข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้หม้อต้มไอน้ำ(ทุกขนาดแรงดัน) 1. การเกิดตะกรัน สาเหตุการเกิด เกิดจากการต้มน้ำที่มีความกระด้าง(น้ำที่มีประจุของแมกนีเซียม,แคลเซียม,ซิลิกาในปริมาณสูง) โดยตะกรันจะเกิดบริเวณที่สัมผัสความร้อน
ผลกระทบ 1. สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เนื่องจากตะกรันจะเป็นฉนวนความร้อนกั้นอยู่ระหว่างผิวโลหะกับน้ำ ทำให้ต้องใช้เชื่อเพลิงเพิ่มขึ้น
2. ความเสี่ยงจากการระเบิดของถัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 วิธีดังนี้
2.1 เกิดจากการที่ตะกรันทำตัวเป็นฉนวนทำให้การถ่ายเทความร้อนจากผนังโลหะไปยังน้ำไม่สมบูรณ์ ทำให้อุณหภูมิของผนังโลหะสูงขึ้น จนอาจถึงจุดหลอมเหลว เมื่อเร่งไฟมากเกินไป
2.2 เกิดจากการที่ตะกรันไปอุดตันในท่อหรือจุดที่ใช้เป็นทางผ่านของไอน้ำ(โดยเฉพาะการต้มน้ำในท่อ)
3. ลดอายุการใช้งานของหม้อต้ม
วิธีป้องกัน 1. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำกระด้างในการต้ม (แหล่งที่สำคัญของน้ำกระด้างคือน้ำบาดาล)
2. หมั่นระบายน้ำในหม้อทิ้งเพื่อลดการสะสมของความกระด้าง
3. ตรวจท่อทางเดินไอน้ำอย่างสม่ำเสมอ (หากต้มน้ำในท่อ)
4. ใช้ำน้ำยาป้องกันและกำจัดตะกรัน
2. การกัดกร่อนของสารเคมี สาเหตุการเกิด เกิดจากการสะสมของสารเคมีที่เจือปนมากับน้ำ (น้ำทีใช้ในการต้มหากไม่ใช่น้ำกลั่นย่อมต้องมีสิ่งเจือปนอยู่ เมื่อเราต้ม สิ่งที่ออกไปจากหม้อมีแต่เฉพาะน้ำ(H
2)เท่านั้น ส่วนสิ่งที่เจือปน,สารเคมียังคงเหลืออยู่ เมื่อเราเติมน้ำำลงไปใหม่โดยไม่ระบายน้ำที่เหลือจากการต้มทิ้ง เท่ากับเพิ่มสิ่งเจือปน,สารเคมีลงไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากสารเคมีที่เจือปนเป็นกรด,ด่าง มันจะเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของกรด,ด่างไปเรื่อยๆ)
ผลกระทบ 1. เกิดการรั่วซึม อายุการใช้งานสั้นลง
2. หากผนังถูกกรัดกร่อนจนบางมากๆอาจทนแรงดันไม่ได้
วิธีป้องกัน 1. ตรวจคุณภาพของน้ำที่ใช้ต้ม
2. หมั่นระบายน้ำที่เหลือจากการต้มทิ้งไป
3. หากต้องการประหยัดน้ำ ต้องหมั่นตรวจสอบคุณภาพของน้ำที่คงค้างในหม้อ
3. การแห้งของหม้อขณะต้ม (โอกาศเกิดขึ้นน้อย)
สาเหตุการเกิด 1. เกิดการรั่วซึมที่สังเกตุไม่เห็นหลังการเติมน้ำ
2. การเติมน้ำน้อยเกินไป
ผลกระทบ 1. อายุการใช้งานสั้นลง
2. หากรีบเติมน้ำแทนดับไฟจะเกิดการระเบิด
วิธีป้องกัน ตรวจสอบปริมาณน้ำในหม้อทุกครั้งก่อนทำการต้ม
4. การเกิดโคลน,กรวดทรายในหม้อ สาเหตุการเกิด เช่นเดียวกับการกัดกร่อน
ผลกระทบ 1. สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เพราะบางส่วนจะเป็นฉนวน
2. ลดอายุการใช้งาน เนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่งในการกัดกร่อน
3. การคำนวนปริมาณน้ำในหม้อผิดพลาด
วิธีป้องกัน
1. หากใช้น้ำผิวดิน(น้ำจากแม่น้ำลำคลองห้วยหนองคลองบึง) ในการต้มควรทิ้งไว้ให้ตกตะกอนก่อนอย่างน้อย12ชั่วโมง,กรองน้ำ,ใช้สารส้ม,polymer,PACเร่งการตกตะกอน ก่อนใช้
2. หมั่นทิ้งน้ำเหลือใช้จากการต้มอย่างสม่ำเสมอ
สรุป 1. ติดตั้งวาล์วน้ำทิ้ง และหมั่นระบายน้ำทิ้ง(หากน้ำคุณภาพดีอาจไม่ต้องทิ้งบ่อยนัก)
2. ติดตั้งวาล์วนิรภัย
3. ตรวจสอบท่อทางเดินไอน้ำ (หากใช้ต้มน้ำ) อย่างสม่ำเสมอ
4. จดสถิติการใช้เชื้อเพลิงและเวลาในการต้มทุกครั้ง หากมีการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นแสดงว่าเริ่มมีปัญหาภายในหม้อ
ปล. 1. ติดตั้งวาล์วทั้ง 2 ชนิดเถอะครับ มันถูกกว่าชีวิตคุณตั้งเยอะ
2. การตรวจสอบคุณภาพน้ำสามารถติดต่อบริษัทผู้็ผลิตเครื่องกรองน้ำสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมได้เกือบทุกบริษัท

ขอบคุณสำหรับสาระและความรู้ดีๆครับ
จะได้ดัดแปลงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปครับ
