ขอแบ่งปันประสพการณ์เรื่องไผ่จากการศึกษาด้วยตัวเองนะครับ ขอนำเสนอไผ่ที่ออกดอกเมื่อปลายปี56 คือไผ่ซางหม่นจากอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่โปรดอ่านตอนท้ายๆคือที่ไปที่มาครับ

ลักษณกอของไผ่ซางหม่น หากมีการบริหารจัดการที่ดีหน้าตาจะหล่อกว่านี้เยอะ อันนี้ถ่ายจากสวนชาวบ้าน

หน่อของไผ่ซางหม่น แบบบ้านๆ

หน่อเดียวเทียบกับสมุดไดอารี่ หน่อเดียวกินทั้งบ้านและเพื่อนบ้านอีกต่างหาก

ลำที่โตเต็มที่ก็อยู่ที่6นิ้วครึ่ง

ความหนาเนื้อไม้อยู่1นิ้วเหมาะสำหรับการขัดให้สวยโชว์เนื้อไม้

ใบจะใหญ่2นิ้วครึ้งถึง3นิ้ว ยาว9นิ้วถึง12นิ้ว

ปลายปี56 ไผ่ซางหม่นเชียงดาวมีการดอก

หลายๆจุดมีการออกดอกเช่นกัน

การออกดอกแต่ละสถานที่จะออกไล่เลี่ยกัน

เราได้ดำเนินการเก็บเมล็ดเพื่อศึกษา

เก็บจากหลายๆจุดที่เกิดการออกดอก

อีกจุดที่มีกการเก็บเมล็ด

จุดนี้ก็ออกดอกเช่นกัน

การเก็บเมล็ดก็รวบรวมแต่ละกอแยกเป็นถุงๆเพื่อง่ายกับการจดบันทึก

เมล็ดหลังจากเก็บรอบแรก รอบสองที่ไปเก็บถัดจากรอบแรก1เดือน

อีกจุดที่ถ่ายเก็บไว้

การคัดแยกเมล็ดเพื่อดูเปอร์เชนต์

จากหมื่นเมล็ดได้มาไม่ถึง20เมล็ด

คัดจากการฟัดด้วยกระด้งแล้วมาคัดเมล็ดต่อเมล็ด หนึ่งกอได้124เมล็ดถ้วนๆ

เมล็ดไผ่ซางหม่นเทียบกับไม้บรรทัด

เมล็ดไผ่เดือนแรก

เดือนที่สาม

เดือนที่ห้า

เดือนที่หก

เดือนที่เจ็ด

เรากลับไปดูกอไผ่ซางหม่นที่ออกดอกนะครับ ตายยกกอ

ลำจะมีสีเหลืองแล้วค่อยซีดไปเป็นเทา

ส่วนมากจะตายยกกอทั้งหมด

เรากลับมาดูที่ไต้ต้นกอไผ่ที่ออกดอกนะครับจากภาพที่เคยถ่ายไว้ด้านบน มีเมล็ดที่ร่วงนับล้านๆเมล็ดที่งอกจากธรรมชาติน้อยมากๆ

บริเวณที่สมบูรณ์จริงจะเจอแค่สองกล้าที่งอกติดกันเป็นไผ่ที่หวงเมล็ด และงอกตามธรรมชาติเปอร์เซนต์ที่น้อยมากๆครับ
เรามาดูกันว่าถ้าไผ่ที่ลำตรงเปลาคือจากโคนถึงปลายยอดมีขนาดที่ไม่ต่างกันมาก และมีความหนาของเนื้อไม้มากกว่าไผ่ทั่วไป คำถามคือเราจะนำไปใช้ทำอะไร

หากเรามีซางหม่นสายพันธุ์เล็ก พอมีอายุครบ4-5ปีสามารถทำอะไรได้บ้าง

ลำขนาดกลางของไผ่ซางหม่นก็ใช้เป็นส่วนประกอบได้เหมือนกัน

ซางหม่นสายพันธุ์ใหญ่ก็ใช้ทำเสาก็ดูดีไปอีกแบบ

แล้วถ้าลำขนาดกลางกับลำขนาดเล็กเข้ากันได้หรือปล่าวเอ่ย?

หรือจะนำมาผสมผสานกันลำขนาดเล็กกับลำขนาดใหญ่ก็ยังไปด้วยกันได้อีกนั่นแหละ

ลำขนาดกลางแบบโชว์เดี่ยว หรือแปรสภาพให้เป็นเสาต้นใหญ่ก็ดูมีลูกเล่นไม่ใช่น้อยเลยนะนี่
ปล.รูปที่นำมาอ้างอิงนำมาจากอินเตอร์เน็ท เพื่อเป็นภาพประกอบเท่านั้นนะครับบ้านเรายังไปได้ไม่ไกลขนาดนั้น ด้วยเงื่อนไขหลายๆอย่างซึ่งคนที่ชอบไผ่น่าจะนำไปคิด นำไปต่อยอดผมเป็นแค่คนที่เพียรรักษาและนำเสนอไผ่ดีๆที่กำลังจะหายไปกับระบบทุนนิยม เท่าที่ได้พูดคุยลึกๆกับคนพื้นที่ได้ความว่าการที่ชาวบ้านนำไผ่ออกจากป่ามาสานมาถักนั้นเป็นการแปรสภาพของไม้เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจากเจ้าหน้าที่ ท้ายที่สุดแล้วไม้ไผ่ที่แปรรูปร่างเป็นก๋วย เป็นสุ่มไก่ หรืออะไรก็แล้วแต่ ด้วยค่าจ้างที่ถูกแสนถูกนั้น ถูกนำไปตัด บด เป็นชิ้นเล็กๆเข้าสู่เตาเผาพลังงานเชื้อเพลิงของโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ณ ปัจจุบันไผ่ชนิดนี้เหลือน้อยมากๆ น้อยขนาดไหนลองไปถามคนพื้นที่ที่อายุรุ่นๆว่ารู้จักไผ่ซางหม่นมั๊ย?คำตอบที่ได้คือรอยยิ้มที่เป็นมิตรและส่ายหัวแบบว่ามีไม้แบบนี้ด้วยหรือ คำตอบจะเปลี่ยนไป ถ้าถามคำถามเดียวกันคนเถ้าคนแก่ แล้วชาวบ้านจะทำอย่างไรต่อไป ปัญหานี้แก้ได้ง่ายมากๆเข้าที่ป่าไผ่ผืนใหญ่ครับ จำนวนปากท้องที่หวังพึ่งรายได้จากนำไผ่ออกจากป่านั้นมีพลังเพียงพอที่จะโค่นแบบเงียบๆแต่ทรงอนุภาพ ไม่ต้องดูที่อนาคตนะครับ ป่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรครับ สองเดือนที่แล้วได้มีโอกาสไปแถวบ้านหนองเขียว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อหนองเขียวแต่เขียวไปด้วยข้าวโพด ต้นไม้ใหญ่เรียงรายแบบคนฟันหลอ เรียงแบบห่างๆเขาหนึ่งลูกนับต้นไม้ที่เหลือแบบไม่หลงไม่ลืมครับ
เพื่อนๆสมาชิกครับการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เกิดจากการออกแรงคนละนิดคนละหน่อยของคนจำนวนมากครับ
ท่านใดมีข้อมูลเพื่มเติมได้ครับช่วยๆกัน