สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
เรียน ว่าที่เกษตรกร เกษตรกรมือใหม่เอี่ยม และเกษตรกร part-time ทุกท่าน
จากที่เราได้คุยกับว่าที่เกษตรกรและเกษตรกรมือใหม่หลายท่านที่มาติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ และท่อน้ำหยดจากสวนวสา ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง เลยต้องขออนุญาตเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อให้ว่าที่เกษตรกรและเกษตรกรมือใหม่ไฟแรงหลายๆท่านลองพิจารณาเป็นข้อคิดก่อนจะลงมือทำอะไรไป เพราะการลงทุนในสาขาการเกษตรนั้น ไม่ว่าจะเพื่อหวังผลกำไร หรือแค่หวังเพื่อใช้เวลาว่างทำงานอดิเรกปลูกต้นไม้ ทุกอย่างที่ลงไปก็เป็นเงินทองที่เราเก็บหอมรอมริบมาทั้งนั้น หากลงทุนไปโดยขาดการไตร่ตรองล่วงหน้า หรือขาดการจัดการอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดผลเสียหาย ผลขาดทุน ความยุ่งยากที่ตามมามักทำให้เกษตรกรมือใหม่หลายคนท้อแท้ และเลิกไปในที่สุด ซึ่งทางสวนวสาไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น เราไม่อยากให้อาชีพเกษตรกรหายไปจากประเทศไทย ตรงกันข้ามเราอยากให้มีเกษตรกรรุ่นใหม่เกิดขึ้นมามากๆ คนที่มีการวางแผน มีการควบคุมผลผลิตที่มีคุณภาพ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพของโลก
Liked By: chaichomphu, Ekachaiyan, love_vgb, psit, lief36, FUJI, khanclub, PeeSo, boon_song, rangsan_10, Jamesmut, AMOL, yong9, เด็กน้อย, somchart536, Dome Olarn, chondan, nipun, galdior, sarakorn, sarawuit, misterwit, aun17, momnong, ดอน-บ้านดิน, MeeSook, หญิงเพี้ยน, wsone, converter, ลุงหนวด สานฝัน, junthartap, maekhing, รักษ์ไม้, sarisa, nssky, TABTIM_SIAM, Wisan_17, chunkung, rungsak, MeeJaGin, chaen_ 126, tharkorn (Oat), wawahaha, Nongpause, somwang2516, wanichapradit, mac2011, nookie, teeo, BoyAroma, upsara, Wachr, MagicDragon, iamnatee, Non19, popzfunpark, นาย_มนัส, Cheevit_thai, TANON, rujipars, s.dod, , Darkherov, out_site, jimy, sumattana, nuttawut29, BLACK TIGER, 9phon, Orange54, Seksun_56, hs3pko, nattakan_2499, pravit1234, tsricharoen, mee SCT, jenner, tyhguy, NU_Kaset Insider, panuwat5675, telauto, NaiKhaowhom, missB, jija2060, cossir, prymanvai, Bull Rider, tsit, tid-ko, napan.s, nongaob, kwan-28, andrew, jawchai111, ลุงโจ้, 9phah, boonjome, chaiyawan, surakit_eak, looknat, เทวดาไร้ปีก, tothsapon, yupinyamee, Kamon boonsaard, duidui2490, somsa, noynadun, a_bkk, Palm_SoDa, วิทูร1, anucha101, vichai sila, nantins, 3cha, vut2551, wee, muslin2557, Tor sangfay, Sangreal, Armata, Tony Tang, wachira BS, mangsabman, Srikarn, kaewmai, biggy48, loveland, chaitanun, Steve_Jeab, weiweishen, MANA1908, sureez, chaidhach, Kanjana Chaipunya, yothar, Aomlet, Freedom in mind, Tao789, laihan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 26, 2012, 05:33:13 PM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
ที่ดิน
การจะเริ่มทำการเกษตรได้นั้นเราควรมีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่ก่อนจะลงมือซื้อที่ดินผืนใด ขออนุญาตให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญก่อนซื้อที่ดินเพื่อทำการเกษตร ดังนี้
1. ในที่ดินต้องมีแหล่งน้ำหรือติดกับแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งปี เพราะการซื้อที่ดินที่ไม่มีน้ำ ก็เท่ากับไม่มีประโยชน์ในเชิงเกษตร แหล่งน้ำที่ว่านี้อาจจะเป็นคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ คลองธรรมชาติ แม่น้ำ ฯลฯ ถ้าเป็นที่ผืนใหญ่ไม่ควรเป็นน้ำบาดาล เพราะอาจมีปริมาณไม่พอเพียงและอาจจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการตะกอนในภายหลัง
2. ที่ดินควรใกล้กับถนน และไม่ไกลจากบ้านที่อยู่ประจำของคุณมากนัก การไปมาทำได้ง่าย เมื่อการเดินทางสะดวก ก็ทำให้เรารู้สึกอยากไปเยือนบ่อยๆ โดยเฉพาะเกษตรกร part-time ที่ต้องทำงานในวันธรรมดาและไปทำสวนได้เฉพาะวันหยุด หากคุณต้องขับรถ 500 กม. เพื่อไปสวนในวันเสาร์ และขับกลับอีก 500 กม. ในวันอาทิตย์ คุณจะเหนื่อยและท้อไปในที่สุด ระยะทางที่เหมาะสมน่าจะไม่เกิน 200 กม. จากบ้านคุณ อย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องระยะทางนี้ขึ้นกับทุนและความชอบส่วนบุคคล นอกจากนี้ราคาน้ำมันก็เป็นปัจจัยสำคัญด้วย คำนวณค่าน้ำมันคร่าวๆ ว่าระยะทาง 200 กม. รถคุณกินน้ำมันเฉลี่ย 8 กิโลลิตร น้ำมันลิตรละ 30 บาท ไป-กลับ จะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าน้ำมัน 1,500 บาทต่อเที่ยว เดือนหนึ่งไป 4 ครั้งก็ประมาณ 6,000 บาท ปีละ 72,000 บาท เทียบกับราคาที่ดินที่อาจจะแพงกว่าแต่ใกล้กว่า อย่างไหนคุ้มกว่ากัน อันนี้ควรคำนวณให้รอบคอบค่ะ
3. ที่ดินควรใกล้ตลาดหรือชุมชน หรือผู้ซื้อรายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถขนส่งผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้โดยง่าย (หากคิดจะปลูกเพื่อจำหน่าย) เช่น อยากปลูกมะม่วงส่งออกแต่ผู้ปลูกอยู่ภาคใต้ ส่วนผู้ส่งออกอยู่ภาคเหนือและภาคกลาง อย่างนี้ ถ้าปลูกไม่มากพอก็จะไม่มีผู้ซื้อวิ่งไปซื้อแน่ๆ ค่าน้ำมันทุกวันนี้แพงมากๆ ค่ะ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้ซื้อมักจะถามก่อนว่าปลูกกี่ไร่ กี่ต้น ผลผลิตกี่ตัน (ถ้าไม่ถึง 4-5 ตัน ส่วนมากรายใหญ่เขาไม่วิ่งมาค่ะ)
4. ควรมีเพื่อนบ้านและสังคมที่ดี ก่อนซื้อที่ดินควรลองไปสำรวจดูว่าเพื่อนบ้านมีอัธยาศัยเป็นอย่างไร ที่ดินบางผืนราคาถูกเพราะเพื่อนบ้านขี้ขโมย ผลผลิตอะไรออกมาหายหมด ติดตั้งปั๊มน้ำก็หาย บางทีเผลออาทิตย์เดียวบ้านทั้งหลังรื้อเอาไปขายก็มี ลองไปถามสถานีตำรวจในพื้นที่ดูว่าคดีลักขโมยมีแยะไหม ใครเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และทัศนคติเขาเป็นอย่างไร
5. ที่ดินควรมีต้นไม้ขึ้นอยู่ในที่บ้าง เพื่อแสดงว่าดินที่นี่ปลูกต้นไม้ได้ บางคนไปซื้อที่ดินที่เตียนโล่งแม้แต่หญ้าก็ไม่ขึ้น แล้วมาดีใจว่าไม่ต้องถางหญ้าปรับที่ดิน ซึ่งแท้ที่จริงเป็นดินเค็มที่เพาะปลูกอะไรไม่ได้ หากเป็นไปได้ลองสังเกตด้วยว่าต้นไม้ที่ขึ้นในที่ดินนั้นเป็นต้นอะไรเพื่อจะได้ทราบว่าที่ดินผืนนั้นเพาะปลูกผลไม้ชนิดใดได้ดีที่สุด
6. ที่ดินทำสวนเกษตรส่วนใหญ่ควรเป็นพื้นราบ เพราะหากเป็นที่ลาดชันเวลารดน้ำต้นไม้ น้ำจะไหลลงเบื้องล่างหมด หากต้องทำขั้นบันไดก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าที่ดินผืนราบ แต่หากจะปลูกไม้ยืนต้นพวกไม้ป่า ก็เป็นที่เนินเขาได้ค่ะ ทั้งนี้ขึ้นกับพืชที่เลือกจะปลูก
7. ไม่ควรเป็นที่น้ำท่วมขัง ที่ดินบางผืนในช่วงฤดูฝนจะตรงกับแนวน้ำท่วมพอดี อย่างนี้ปลูกพืชอะไรไม่ทันเก็บเกี่ยวก็ตายหมด แล้วอย่ามาดีใจว่าไม่ปลูกพืชก็ได้ไหนๆน้ำมากเลี้ยงปลาเสียเลย ขอโทษค่ะ พอน้ำท่วมขึ้นมาปลาที่เลี้ยงก็หายหมดเหมือนกัน
8. ให้สำรวจหน้าดินของที่ดินที่ซื้อด้วยค่ะ พอดีมีเพื่อนเกษตรกรโทรมาปรึกษา มีที่ดินแต่หน้าดินที่ปลูกพืชได้มีเพียง 1-2 เมตรลึกลงไปกว่านั้นกลายเป็นดินผสมหินแบบแข็งเลย รากพืชชอนไชลงไปไม่ได้ อย่างนี้หากก่อนซื้อเตรียมแผนไว้ก็คงต้องปรับแผนเพื่อปลูกพืชที่มีระบบรากไม่ลึกมากค่ะ
9. เวลาซื้อที่ดิน อย่ามองแค่ค่าที่ดินอย่างเดียว ให้คำนึงถึงว่าจะต้องมีค่าปรับปรุงที่ดินอีกเท่าไหร่ด้วย เช่น หากที่ดินมีต้นไม้รกเรื้อ หรือมีการขุดร่อง ขุดแนวคันเอาไว้ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเกษตรกร ต้องจ้างรถแม้คโครปรับปรุงใหม่อีกเท่าไหร่ ที่ดินมีไฟฟ้า มีถนนถึงหรือยัง หากซื้อที่ดินร่วมกับคนอื่นก็ต้องจ่ายค่าทำถนนเข้าไปยังที่ดินอีกเท่าไหร่ ค่าเดินสายไฟเข้าไปยังที่ดิน ค่าขุดคลองส่งน้ำหรือระบบชลประทาน แล้วยังค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกโฉนดอีก เรื่องพวกนี้รวมๆ แล้วอาจทำให้ที่ดินไร่ละ 5 หมื่นกลายเป็นไร่ละ 3 แสนก็เป็นได้ค่ะ
10. การซื้อที่ดินร่วมกับคนอื่น ควรตกลงกันให้แน่ชัดตั้งแต่แรกว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ จะร่วมกันรับผิดชอบอย่างไร ค่าโอนที่ดิน ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ นอกจากนี้ถนนที่จะตัดเข้าไปยังที่ดินของแต่ละคนจะตกลงค่าใช้จ่ายและกรรมสิทธิ์กันอย่างไร บางคนเห็นว่าที่ดินตนเองอยู่ด้านหน้าก็ไม่ต้องการร่วมออกค่าถนนกับคนที่ซื้อที่ดินที่ลึกไปด้านหลัง เลยทำให้มีปัญหากันได้ แล้วยังเรื่องน้ำ หากคนที่อยู่ต้นน้ำเก็บกักน้ำ คนที่อยู่ปลายน้ำจะทำอย่างไร ควรมีการทำสัญญากันไว้ให้ชัดเจน และเป็นภาระผูกพันกับที่ดิน เพราะหากวันนี้แม้เชื่อใจกัน ไม่มีปัญหากันก็จริง แต่พอผ่านไปหากคนหนึ่งขายที่ไปให้บุคคลอื่น ปัญหาก็อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ
Liked By: sydney97, Papa63, love_vgb, psit, lief36, FUJI, PeeSo, boon_song, rangsan_10, AMOL, somchart536, Dome Olarn, chondan, misterwit, หญิงเพี้ยน, wsone, ลุงหนวด สานฝัน, MANA1908, sarisa, TABTIM_SIAM, ฺBEERTHANA, chunkung, vichai sila, chaen_ 126, tharkorn (Oat), Nongpause, somwang2516, , mac2011, upsara, Non19, นาย_มนัส, s.dod, Darkherov, jimy, SCPSERVICE, Orange54, Seksun_56, hs3pko, Apple1270, tsricharoen, aun17, tyhguy, panuwat5675, telauto, NaiKhaowhom, nattakan_2499, missB, yuoxian, prymanvai, Bull Rider, tid-ko, nongaob, kwan-28, andrew, jawchai111, ลุงโจ้, chaiyawan, โสรายา, looknat, jackieindy, yupinyamee, duidui2490, Gift39, noynadun, Palm_SoDa, nantins, 3cha, wee, vichia, muslin2557, Sangreal, wachira BS, Srikarn, kaewmai, biggy48, chaitanun, Steve_Jeab, weiweishen, chaidhach, a_bkk, samchoo, somsa, Freedom in mind, Tao789, laihan, freedomkik
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 12, 2010, 07:54:23 AM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
การเลือกพืชที่จะเพาะปลูก
1. ก่อนจะปลูกอะไร กรุณาสำรวจสภาพดินและน้ำก่อนว่าเหมาะกับพืชในใจคุณหรือเปล่า อย่าบุ่มบ่ามลงมือปลูกตามกระแส หรือตามใจชอบ ตัวอย่างเช่นที่ดินสวนวสาเป็นดินเปรี้ยวเพาะปลูกพืชตระกูลส้ม-มะนาวได้ดี มะม่วง มะละกอได้ แต่ปลูกทุเรียน ลำไย มังคุดแล้วไม่โต (ลองแล้ว) ถึงกระนั้นก็ตามเวลาเรามี “เกษตรเกิน” (ผู้ที่แสดงตนว่ารู้มากกว่าเกษตรกร) มาเยี่ยมที่สวนก็มักจะแนะนำให้เราลองปลูกมังคุด ปลูกทุเรียนอยู่เสมอๆ เพราะส่งนอกได้ราคาดี คนแนะนำส่วนใหญ่ก็คิดแค่นั้น แต่เกษตรกรที่แท้จริงที่เป็นเจ้าของที่ดินควรศึกษาสภาพดินและน้ำก่อนลงมือปลูกอะไร เพื่อจะได้ประหยัดเวลาและทุนที่ถมลงไป
2. ควรเลือกพืชที่จะปลูกมากกว่า 1 ชนิดเพื่อบริหารความเสี่ยง เผื่อชนิดหนึ่งราคาตกหรือขายไม่ออก ชนิดอื่นจะได้ช่วยเฉลี่ยรายได้ แต่ไม่ควรหลายชนิดเกินไปจนปริมาณไม่คุ้มค่าขนส่ง เช่น มีที่ดิน 1 ไร่ แต่อยากปลูกมะม่วง มังคุด ลำไย มะนาว พริกขี้หนู เพื่อส่งออก แบบนี้แนะนำว่าให้ลืมเรื่องส่งออกไปได้เลย ให้ปลูกแบบพอเพียง คือเก็บทานเอง หรือส่งตลาดแถวสวนจะดีกว่าค่ะ
3. พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำไม่เท่ากัน หากจะปลูกผสมผสาน ควรเลือกพืชที่ต้องการน้ำ ปุ๋ยและยาคล้ายๆกันปลูกไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ปริมาณแสงก็เป็นสิ่งสำคัญ หากพืชชนิดหนึ่งต้องการแสงมาก ก็อย่าปลูกไว้ใกล้ๆกับพืชที่ให้ร่มเงา เช่น อย่าปลูกมะละกอไว้ใกล้กอไผ่ เพราะในที่สุดร่มเงาของไผ่จะบังมะละกอทำให้ไม่สามารถเติบโตได้ และเกิดโรคระบาดในที่สุด หรือ หากจะปลูกมะนาวทำนอกฤดู ก็ไม่ควรปลูกใกล้กับพืชที่ต้องการน้ำ เพราะพอเรางดน้ำเพื่อให้มะนาวออกดอก ต้นไม้ข้างๆ ก็จะตายไปด้วย ทำนองนี้
4. ตามทฤษฎีพอเพียง ควรปลูกพืชชนิดให้ประโยชน์เกื้อหนุนกับการเกษตรของท่านด้วย เช่น หากปลูกส้มหรือมะนาว ก็ควรเผื่อพื้นที่สำหรับปลูกไผ่ไว้ด้วย เพราะเวลาค้ำต้นมะนาวหรือส้มต้องใช้ไม้ไผ่ แทนที่จะไปซื้อ ก็ปลูกเองประหยัดกว่า นอกจากนี้หากใครคิดทำเกษตรอินทรีย์ ก็ปลูกพวกสะเดา หนอนตายหยาก หรือสมุนไพรอื่นๆไว้ด้วย จะได้เอาไว้ทำเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายค่ะ
5. นอกจากนี้ ให้คิดในใจเสมอว่า พื้นที่แต่ละพื้นที่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน อย่าคิดว่าการลอกเลียนแบบสวนที่ประสบความสำเร็จแล้วคุณจะประสบความสำเร็จด้วย การเกษตรไม่ใช่บะหมี่สำเร็จรูปที่ต้มกินที่ไหนก็รสชาติเดิม มักจะมีคนถามว่าหากปลูกมะนาวเหมือนสวนวสาต้องใส่ปุ๋ยเดือนไหน ฉีดยาเดือนไหน ฉีดอะไร ซึ่งขอเรียนว่า สวนวสาอยู่นครนายก สภาพภูมิอากาศและดินจะต่างจากสวนที่อยู่ราชบุรี พิษณุโลก หรือ เชียงใหม่ ดังนั้นเวลาที่ฉีดยา ใส่ปุ๋ย เก็บผลผลิตก็จะต่างกัน ช่วงเวลาเดียวกันที่สวนวสาเจอโรคราน้ำค้างแต่สวนอื่นอาจเจอเพลี้ยแป้ง อย่างนี้ยาที่ใช้ก็ต่างกัน ต้องหมั่นสังเกตอาการของพืชแล้วค่อยคิดเรื่องการบำรุงรักษาพืชค่ะ
6. เกษตรกรมือใหม่หลายๆ คนมักจะคิดว่า "พืช" ก็เหมือนวัตถุ สิ่งของ ที่ซื้อมาเก็บเอาไว้ก็ไม่เสื่อมสลาย ไม่เปลี่ยนรูป เหมือนเสื้อผ้า โต๊ะ เก้าอี้ ดังนั้นพออ่านประกาศโฆษณาขายเมล็ดพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์ชนิดโน้นชนิดนี้ ที่กำลังเป็นสมัยนิยมกัน ก็เกิดความอยากครอบครองเป็นเจ้าของ เลยสั่งมาเก็บไว้ก่อน ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้ปลูก บางคนยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้ซื้อที่ดินเลยด้วยซ้ำ!!! ทีนี้กว่าจะซื้อที่ กว่าจะปรับดิน ทำร่องน้ำ ทำระบบน้ำ เวลาก็ผ่านไปปีเศษ แล้วค่อยนำเมล็ดมาเพาะ แล้วก็พบว่า อ้าว.. เมล็ดที่ซื้อมาทำไมมันไม่งอก โดนหลอกขายมาแน่ๆเลย หรือไม่ก็เป็นกรณีกิ่งพันธุ์ที่ซื้อมา อุตส่าห์เอาลงกระถางไว้แล้วนะ บำรุงจนต้นโตเบ้อเริ่ม เอาลงดินมันต้องเก็บผลได้ในไม่กี่เดือนแน่นอน ในความเป็นจริงมันไม่ใช่แบบนั้นนะคะ อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนก็ตาม ยิ่งเก็บนานมันยิ่งมีอัตราการงอกต่ำ บางพันธุ์ดีหน่อยคืองอกแต่งอกช้า บางพันธุ์พอความชื้นในเมล็ดมันหมดเมล็ดก็แห้งตายไปและไม่งอกค่ะ ส่วนต้นไม้ ถ้าเรานำลงกระถางไว้นานๆ รากมันจะขดอยู่ในกระถาง เวลาเอาไปลงดินมันเลยโตช้า เพราะแทนที่รากจะได้ชอนไชไปหาอาหารไกลๆ ก็กลับจับวนกันเป็นก้อนที่ก้นกระถางค่ะ
7. การเลือกพืชที่จะปลูก นอกจากความแท้ของสายพันธุ์แล้ว ควรพิจารณาวางแผนการปลูกให้ผลผลิตออกมาเป็นพันธุ์แท้ด้วยค่ะ จะได้ไม่มีปัญหาด้านการตลาด และการขยายพันธุ์ต่อไปในอนาคต ขออนุญาตยกตัวอย่างมะนาวไร้เมล็ด (ซึ่งการขยายพันธุ์ทำโดยการตอนกิ่ง) หากปลูกรวมกันในระยะใกล้กันกับมะนาวมีเมล็ด เช่น มะนาวแป้น ก็มีความเสี่ยงว่าผลที่ออกมาอาจจะมีเมล็ดเนื่องจากเกสรอาจจะผสมกันได้ ทำให้มีปัญหาด้านการตลาดต่อไป เช่นเดียวกับมะละกอ หากปลูกหลายสายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน ก็อาจทำให้ผลที่ออกมามีรสชาติและกลิ่นแตกต่างไป ทำให้มีปัญหาด้านการตลาดค่ะ การปลูกพืชแนวผสมผสาน ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชตระกูลเดียวกันในพื้นที่เดียวกันค่ะ
8. โปรดชิม ก่อนปลูก มีลูกค้าจำนวนมาก โทรมาสั่งซื้อกิ่งพันธุ์มะนาวตาฮิติ และเมล็ดมะละกอฮอลแลนด์ของสวนวสา โดยประมาณ 30% ของลูกค้า มักมีคำถามประโยคที่ว่า "รสชาติมันเป็นยังไงครับ/คะ" ซึ่งทำให้ทางเราตอบไปว่า "กรุณาไปที่ซุปเปอร์ หรือ ตลาด แล้วซื้อมาชิมก่อน ถูกใจค่อยมาซื้อกิ่ง/เมล็ดพันธุ์ไปปลูก" เราอยากแนะนำเกษตรกรทุกคนนะคะ ก่อนจะปลูกพืช ผัก ผลไม้อะไร กรุณาชิมก่อน เพราะถ้าคุณซื้อตามกระแส โดยที่ตัวคุณเองก็ไม่ได้ชอบ อย่างนี้เวลาขายของ ลูกค้าถามว่าอร่อยไหม มันดียังไง เจ้าของสวนก็ตอบไม่ได้ แล้วจะขายของอย่างไรกัน และถ้าใจคนปลูกไม่ได้รักสิ่งที่ตนเองปลูก พืชผักมันก็ไม่งามนะคะ เพราะเจ้าของไม่ได้ชิมเอง ไม่รู้ว่ามันหวานหรือไม่หวาน น้ำเยอะไหม ทำกับข้าวได้ไหม อย่างนี้เป็นต้น ตัวอย่าง บางคนไม่ทานมะละกอ แต่จะปลูกมะละกอ เพราะในหนังสือเกษตรเขาลงกันทุกเล่ม มะละกอเงินล้าน เลยอยากได้เงินล้านบ้าง อย่างนี้ จุดตั้งต้นไม่ใช่เพราะอยากเป็นเกษตรกรแต่เป็นเพราะเงินล้าน มุ่งหาเงินโดยไม่รู้จักพืช ก็ไปไม่ถูกทางนะคะ ในที่สุดจะขาดทุนเปล่าๆ ไปซื้อชาเขียวกิน อาจจะได้เงินล้านง่ายกว่า ไม่ต้องเป็นหนี้เขาด้วย เป็นห่วงจริงๆ ค่ะ หลังๆ มานี่ มีการโหมกระแสพืชชนิดใหม่หลายชนิดจำนวนมาก ทั้งในหนังสือเกษตร ทั้งในเวบ ทั้งร้านต้นไม้ ทำให้เกษตรกรมือใหม่หลายๆ คนลงทุนซื้อกิ่งพันธุ์ไปโดยไม่รู้ด้วยซ้ำนะว่าผลมันออกมาหน้าตาเป็นยังไง รสชาติเป็นอย่างไร ได้แต่อ่านว่ามันดี ต้านทานโรค ดูแลง่าย มีอนาคตไกล ก็ตัดสินใจสั่งไปปลูกแล้ว 300 ต้น ปลูกไป 2 ปีพอเก็บผลได้ปรากฏว่าตลาดไม่รับซื้อ เสียเวลาเสียเงินไปเปล่าๆ แบบนี้มีเยอะมากค่ะ
Liked By: Papa63, chaichomphu, Ekachaiyan, love_vgb, psit, lief36, FUJI, PeeSo, boon_song, rangsan_10, AMOL, yong9, somchart536, Dome Olarn, chondan, MeeSook, หญิงเพี้ยน, wsone, ลุงหนวด สานฝัน, MANA1908, sarisa, TABTIM_SIAM, chunkung, vichai sila, chaen_ 126, tharkorn (Oat), somwang2516, mac2011, upsara, Non19, นาย_มนัส, s.dod, , Darkherov, jimy, Orange54, Seksun_56, Apple1270, tsricharoen, tyhguy, panuwat5675, telauto, nattakan_2499, missB, yuoxian, prymanvai, Bull Rider, tid-ko, nongaob, kwan-28, andrew, looknat, jackieindy, duidui2490, noynadun, Palm_SoDa, nantins, 3cha, wee, vichia, muslin2557, wachira BS, Srikarn, makcloud, kaewmai, chaitanun, Steve_Jeab, weiweishen, chaidhach, a_bkk, samchoo, Freedom in mind, Tao789, laihan, freedomkik
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 15, 2013, 09:33:09 PM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
การตลาด
1. การจะปลูกอะไร (เพื่อการค้า) ให้คิดว่าจะขายได้ที่ไหนก่อน ถ้าปลูกพืชแปลกมากและอยู่ไกลจากตลาด จะทำให้ขายยากค่ะ
2. อย่าเห่อปลูกตามกระแส เกษตรกรที่ดี ควรประเมินสภาพตลาดให้ดีด้วย และอย่าดูเหตุการณ์เพียงจุดเดียว ช่วงปีที่แล้วมะนาวลูกละ 10 บาท เลยเกิดกระแสปลูกมะนาวกันใหญ่ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น 5 ปีมีคนฟันมะนาวทิ้งไปทั้งจังหวัดเพราะราคาร้อยละ 20 บาท ไม่คุ้มค่าปุ๋ยค่ายา อยากให้เกษตรกรมองไปข้างหน้ายาวๆ ก่อนตัดสินใจปลูกอะไร ให้เน้นพืชที่ยังไงก็ขายได้ในพื้นที่ตนเองก่อน เช่น มีคนส่งเสริมปลูกต้นตะกู กฤษณา ฯลฯ ก่อนปลูกให้หาข้อมูลว่าผู้รับซื้อมีกี่ราย ขายยังไง ขายที่ไหน หากผู้รับซื้อรายที่มาส่งเสริมไม่ซื้อ จะเอาต้นดังกล่าวไปทำอะไร สูตรของสวนวสาคือ อย่างน้อยเราเองก็ต้องกินหรือใช้ได้เองด้วย
3. หากสนใจจะปลูกเพื่อการส่งออก ควรมีพื้นที่เพาะปลูกในจำนวนมากเกินกว่า 10 ไร่ หากมีน้อยกว่า 10 ไร่ ปลูกขายในประเทศได้ แต่ปลูกส่งออกไม่คุ้มการลงทุนค่ะ (เว้นแต่ในพื้นที่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันได้จำนวนมากพอที่ผู้ส่งออกจะสนใจ) มีระบบน้ำที่สม่ำเสมอ ที่ดินควรอยู่ไม่ไกลจากแหล่งส่งออก เกษตรกรต้องจดมาตรฐาน GAP ซึ่งมีกฎค่อนข้างมาก ต้องมีโรงเก็บปุ๋ย ยา แยกกัน มีโรงคัดแยกพืชผลที่แยกต่างหาก มีพื้นปูนไม่สัมผัสดิน ฯลฯ พวกนี้เป็นการลงทุนทั้งนั้นค่ะ ดังนั้นหากพื้นที่ใหญ่หน่อยจะคุ้มกว่าพื้นที่ขนาดเล็กค่ะ อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับชนิดของพืชด้วยค่ะ มีสมาชิกบางท่านสามารถปลูกพริกหหรือผักส่งออกได้ในพื้นที่ 2 ไร่ก็มีค่ะ
4. อย่าพยายามคิดการณ์ใหญ่เกินไปค่ะ จะสิ้นเปลืองทุนทรัพย์โดยใช่เหตุ เช่น ปลูกมะม่วงเพียง 5 ไร่ ผลผลิตปีละ 1 ตัน ในพื้นที่ก็ไม่มีคนอื่นเพาะปลูกพืชเหมือนๆกัน แต่คิดจะตั้งโรงงานแช่แข็ง หรือ โรงงานแปรรูปทำมะม่วงอบแห้ง หรือ คิดจะไปเซ้งแผงในตลาดไทเพื่อขายผลผลิตของตนเอง (เพราะมีเกษตรเกินมาแนะนำ) พอขายผลผลิตหมดก็ไม่รู้จะหาผลผลิตที่ไหนมาขายต่อ หรือแปรรูปต่อ จะเป็นการลงทุนโดยเสียเปล่าค่ะ หรือ การส่งสินค้าเข้าห้างก็เหมือนกันค่ะ ควรศึกษาเงื่อนไขให้ถ่องแท้ค่ะ บางทีนอกจากโดนหักเปอร์เซนต์แล้วเราต้องรับภาระสินค้าที่เน่าเสียหายเอง แถมกว่าจะเก็บเงินได้ต้องมีเครดิต 45 วันจึงจะได้เงิน นอกจากนี้บางที่เขามีสัญญาให้ส่งแบบต่อเนื่อง หากส่งไปครั้งสองครั้งแล้วหยุดก็อาจโดนหักเงิน ทำนองนี้
5. เรื่องการตลาดนี่ พอเขียนไปแล้วดูเหมือนจะทำให้หลายคนเครียดเกินไป วันนี้มีลูกค้าโทรมาหารือว่าถ้าผมปลูกมะนาว 20 ต้นจะหาตลาดได้ที่ไหน คำตอบที่สวนวสาให้คือ ให้หาตลาดแถวบ้านตัวเองค่ะ เพราะการปลูกมะนาว 20 ต้นนั้นผลผลิตต่อการเก็บ 1 ครั้งไม่น่าจะถึง 100 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยอาจจะแค่ 20-50 กิโลกรัม ดังนั้นหากคิดจะส่งตลาดไท แค่ค่าขนส่งก็มากกว่าค่ามะนาวแล้วค่ะ ส่วนการส่งออกไม่ต้องพูดถึงเลย นอกจากนี้หากมีร้านอาหาร ร้านค้าปลีกแถวบ้านก็สามารถไปติดต่อส่งได้ค่ะ สำคัญที่ขอให้รักษาผลผลิตให้มีป้อนร้านสม่ำเสมอและมีคุณภาพต่อเนื่องเท่านั้นเอง เรื่องการตลาดนี่ ไม่คิดถึงเลยก็ไม่ได้ คิดมากไปก็ไม่ดีค่ะ จะเครียดเปล่าๆ
Liked By: Papa63, chaichomphu, Ekachaiyan, love_vgb, psit, lief36, PeeSo, rangsan_10, AMOL, yong9, somchart536, chondan, MeeSook, หญิงเพี้ยน, wsone, ลุงหนวด สานฝัน, MANA1908, sarisa, TABTIM_SIAM, chunkung, vichai sila, chaen_ 126, tharkorn (Oat), somwang2516, mac2011, upsara, Non19, นาย_มนัส, s.dod, , jimy, Seksun_56, Teeplus, Apple1270, tsricharoen, panuwat5675, telauto, prymanvai, Bull Rider, tsit, tid-ko, nongaob, kwan-28, andrew, looknat, jackieindy, Palm_SoDa, 3cha, wee, vichia, muslin2557, wachira BS, Srikarn, kaewmai, chaitanun, Steve_Jeab, chaidhach, a_bkk, samchoo, Freedom in mind, Tao789, laihan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2012, 06:19:52 PM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
การเตรียมตัว/วางแผน
1. เมื่อมีที่ดินแล้ว มีทุนแล้ว ทราบว่าดินเป็นดินชนิดไหน เข้าใจสภาวะอากาศของพื้นที่แล้ว เลือกพืชที่เหมาะกับพื้นที่ได้แล้ว เราก็เริ่มวางแผนกันค่ะ อยากให้เกษตรกรทุกคนวางแผนบนกระดาษก่อนว่าจะแปลนสวนของตนเองอย่างไร บ้านจะอยู่ตรงไหน บ่อน้ำ(ถ้ามี) จะอยู่ตรงไหน และส่วนไหนกะว่าจะปลูกพืชอะไร จำนวนกี่ต้น
2. ระบบน้ำเป็นสิ่งสำคัญค่ะ ก่อนจะลงพืชชนิดใดๆ ระบบน้ำควรจะพร้อมก่อน หากพื้นที่เป็นสภาพเนินเขา ก็ไม่เหมาะกับการทำระบบร่องน้ำที่มีน้ำหล่อแบบร่องสวนที่ทำกันในพื้นที่ราบ แต่ควรใช้การขุดทางระบายน้ำเพื่อว่าหน้าฝนน้ำสามารถไหลลงมาได้โดยไม่เอ่อขังที่โคนต้นไม้ และใช้ระบบรดน้ำแบบตามท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ โดยอาจสูบน้ำไว้ที่สูงและปล่อยมาตามแรงดึงดูดโลก หรือใช้ปั๊มน้ำก็ได้ค่ะ ส่วนพื้นที่ราบนั้นให้ศึกษาว่าระบบน้ำที่เราใช้เหมาะกับพืชหรือไม่ เช่น หากปลูกมะม่วง มะนาว ในดินเหนียวก็ไม่ควรใช้น้ำหยดแต่ควรใช้สปริงเกอร์ เพราะระบบน้ำหยดจะหยดอยู่แค่วงแคบๆ ในขณะที่รากพืชแผ่ขยาย แต่หากปลูกพวกพริกหรือมะเขือเทศในถุงก็สามารถใช้ระบบน้ำหยด (dripping) ได้ค่ะ เรื่องการบริหารน้ำนี้มีผลต่อการเติบโตของพืชและคุณภาพผลผลิตค่ะ นอกจากนี้ มีเกษตรกรพาร์ทไทม์บางคนคิดว่าในช่วงเริ่มต้นไม่ต้องวางระบบน้ำก็ได้ พึ่งฝนฟ้าเอา และให้คนงานลากสายยางรดน้ำเอาก็ได้ พื้นที่แค่ไร่สองไร่เอง ก็อยากให้ทดลองรดน้ำเองดูค่ะว่าเหนื่อยแค่ไหน และก็อย่าหวังผลให้มากค่ะหากพืชผลออกมาไม่ได้ขนาด หรือร่วงไปแยะ หรือไม่ติดผล ซึ่งอยากให้คิดดีๆค่ะ ทีกิ่งพันธุ์เราไปอุตส่าห์เสาะหาจากแหล่งทั่วประเทศได้ ปุ๋ยหมักก็ไปเสาะหาส่วนประกอบต่างๆ มา ลงทุนลงแรงไปมากมาย แต่มาประหยัดกับเรื่องน้ำ แล้วต้นไม้ก็แคระแกร็น มันคุ้มไหม
3. เมื่อระบบน้ำพร้อมแล้ว ก็มาถึงกิ่งพันธุ์ของพืชที่จะลงค่ะ แนะนำให้ศึกษาจากเวบไซต์เกษตรพอเพียงและหนังสือเกษตรต่างๆ ค่ะ ราคากิ่งพันธุ์พืชชนิดเดียวกัน อาจต่างกันตามผู้ขายค่ะ หากปลูกจำนวนมาก อยากให้ผู้ซื้อแวะไปที่สวนของผู้ขายแต่ละรายค่ะจะได้สัมผัสกับต้นพันธุ์ของจริง รู้ว่าแท้หรือไม่แท้ อย่าดูแต่ในรูปค่ะ เพราะหากปลูกพันธุ์ไม่แท้จะมีปัญหาเรื่องการตลาดค่ะ นอกจากนี้ขอเรียนว่าราคากิ่งพันธุ์เป็นเงินลงทุนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบสัดส่วนกับต้นทุนรวมทั้งหมดของการเกษตร อยากให้ผู้ซื้อพิจารณาหลักๆ ในเรื่องความเสี่ยงเรื่องความแท้ของสายพันธุ์ บวกกับค่าน้ำมันที่ต้องไปเสาะหากิ่งพันธุ์ที่ต้องการ ก่อนตัดสินใจค่ะ
4. การบำรุงรักษา เมื่อปลูกพืชลงไปแล้วแน่นอนว่าจะต้องมีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ฉีดยา ตัดแต่งกิ่ง เก็บผลผลิต ตัดหญ้าที่รกๆ ในแปลง รวมไปถึงการดูแลในกรณีฉุกเฉินต่างๆ เช่น เครื่องสูบน้ำพัง ไฟฟ้าตัด น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ภาวะฝนแล้ง หนูแทะสายสปริงเกอร์ฯลฯ ดังนั้นหากท่านเป็นเกษตรกรเฉพาะเสาร์อาทิตย์ ก็ต้องมีคนงานที่ไว้ใจได้ช่วยดูแลค่ะ และค่าใช้จ่ายส่วนบำรุงรักษานี้ก็มากเสียด้วยสิ ที่สำคัญท่านต้องศึกษาหาความรู้ด้านนี้พอควรค่ะ ไม่งั้นโดนหลอกน่าดู เช่น หากจะจ้างคนมาตัดหญ้าควรจ่ายเหมาต่องานที่สำเร็จไม่ใช่จ่ายรายวัน เพราะบางทีก็มีอู้งานค่ะ
5. อุปกรณ์การเกษตร ที่จำเป็นต้องใช้ในสวนหลักๆ นอกจากพวกจอบ เสียม เครื่องมือพื้นฐานแล้ว ก็มีพวกเครื่องตัดหญ้า เครื่องฉีดยาแบบสะพายหลังหรือแบบลาก ถังหมักหรือผสมปุ๋ย ตะกร้าสำหรับเก็บผลไม้ค่ะ อุปกรณ์การเกษตรพวกนี้เวลาซื้อให้คุยหลายๆ ร้านค่ะ แต่ละร้านจะเป็นเอเย่นของแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน ถามความเห็นเพื่อนๆ ในเวบนี้ก็ได้ค่ะ แต่ละคนจะมีประสบการณ์ในอุปกรณ์หลายๆ แบบค่ะ ควรเลือกให้เหมาะกับงานในสวนค่ะ ที่สำคัญ อย่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย เช่น เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่ ราคามันมีตั้งแต่ 1,000 กว่าบาท - 10,000 กว่าบาท ซึ่งต่างกันมาก ของถูกก็แน่นอนว่าคุณภาพก็ตามราคา ตัดหญ้าสามวันก็อาจจะหลุดเป็นชิ้นๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าของแพงสุดจะดีที่สุดเสมอไป ให้ศึกษาจากเพื่อนเกษตรกรคนอื่นดูค่ะ ที่สำคัญ เวลาซื้ออุปกรณ์พวกนี้ต้องหาที่มีอะไหล่และศูนย์ซ่อมด้วยค่ะ บางยี่ห้อบอกว่าทนทานแต่คนเอามาขายขายแต่เครื่องอย่างเดียวไม่มีอะไหล่ พอเสียก็ต้องทิ้งเลย นอกจากนี้หากมอเตอร์เสีย เครื่องตัดหญ้าเสียจะซ่อมที่ไหนที่ใกล้ๆ ไม่ต้องขนไปขนมาถึงกรุงเทพ ควรเตรียมข้อมูลแหล่งซ่อมที่เชื่อถือได้ค่ะ ไม่งั้นโดยฟันเละค่ะ
Liked By: Papa63, chaichomphu, Ekachaiyan, love_vgb, psit, lief36, PeeSo, rangsan_10, AMOL, yong9, somchart536, chondan, MeeSook, หญิงเพี้ยน, wsone, ลุงหนวด สานฝัน, MANA1908, sarisa, TABTIM_SIAM, chunkung, chaen_ 126, tharkorn (Oat), somwang2516, mac2011, upsara, Non19, นาย_มนัส, s.dod, , jimy, yupinyamee, Seksun_56, Apple1270, tsricharoen, panuwat5675, telauto, prymanvai, Bull Rider, tid-ko, nongaob, kwan-28, andrew, looknat, jackieindy, PUCHONG J, Palm_SoDa, vichai sila, 3cha, wee, vichia, muslin2557, wachira BS, Srikarn, kaewmai, chaitanun, Steve_Jeab, weiweishen, chaidhach, a_bkk, samchoo, Freedom in mind, Tao789, laihan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2009, 07:49:24 AM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
คนงาน
1. ควรมีให้พร้อมค่ะ แต่อย่าคาดหวังอะไรมากเกินไป เพราะคนงานก็คือคนงานค่ะ ถ้าเขาขยันและฉลาดกว่านี้ เขาก็ไม่มาเป็นคนงานค่ะ การดูแลคนงานให้อยู่กันนานๆ บางทีก็ต้องหลับตาข้างหนึ่งค่ะ บางทีเขาอาจจะกินเหล้า เล่นหวย อู้งานบ้าง ตราบใดที่งานที่สั่งไว้เขาทำสำเร็จ ก็พอไปรอดค่ะ ที่สำคัญคือต้องไว้ใจได้ ของในสวนอย่าหาย (อาจมีเก็บไปกินบ้างก็ปล่อยๆ ไปค่ะ) แต่ประเภทยกมอเตอร์ไปขาย หรือให้เมียเปิดแผงที่ตลาดขายผลไม้ที่ขโมยมาจากในสวนเรา อันนี้ก็ต้องให้จรลีไปค่ะ ที่สวนวสาอนุญาตให้คนงานปลูกพืชผักที่อยากกินได้ตามสบาย หาเมล็ดผักมาให้เขาด้วย ผลไม้ในสวนหากอยากกินก็ให้เอาไปแต่พอกิน แต่ห้ามเอาไปขาย ให้จับปลาในร่องสวนมากินได้ แต่ห้ามจับไปขาย เว้นแต่คนงานจะลงทุนซื้อลูกปลามาเลี้ยงในกระชังเองก็ให้ทำได้แต่ต้องเลี้ยงนอกเวลางาน อยากเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ก็ให้เลี้ยงได้ในพื้นที่จำกัด เขาจะได้เก็บไข่กินได้เอง แต่ไม่อนุญาตให้ทำเพื่อค้าขาย ไม่งั้นวันๆ เอาแต่บำรุงรักษาพืชผักเป็ดไก่ของตัวเองจนไม่ได้ทำงานของเรา
2. ค่าจ้างคนงาน ส่วนมากเราใช้จ้างเป็นรายวันค่ะ แต่มีหัวหน้าคนงานที่เราจ่ายเป็นรายเดือน ค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 180-300 บาทค่ะ คนต่างด้าวจะได้ที่ราวๆ 180-250 บาท คนไทยได้ที่ 200-300 บาทค่ะ หากเกิน 5 โมงเย็นก็จะมีค่าล่วงเวลาให้ (ช่วงที่เร่งเก็บผลไม้และคัดแยกน่ะค่ะ) บางทีคนซื้อผลไม้เราเขาก็จะจ่ายค่าแรงให้คนงานเราในวันที่เก็บผลไม้ให้เขา เราก็ประหยัดไปได้ค่ะ เช่น การซื้อมะม่วงแบบเหมาสวน พ่อค้าจะมาพร้อมคนงานคัดแยก แล้วเขาจ้างเราเก็บผลไม้ให้ โดยให้ค่าแรงรายวันกับคนงานเราค่ะ ค่าจ้างนี่เราอาจปรับขึ้นให้ปีละหน ปลายปีอาจมีเงินแถมให้นิดหน่อยได้ค่ะ
3. วันหยุด คนงานไทยในต่างจังหวัดจะขอมีวันหยุดตามวันสำคัญทางศาสนาค่ะ เช่น วันเข้าพรรษา วันทำบุญทอดกฐิน วันสงกรานต์ วันแต่งงานญาติ วันงานศพญาติ ฯลฯ เรื่องพวกนี้เราต้องปล่อยวางค่ะ เกษตรกร part-time หลายคนอาจไม่ค่อยพอใจเพราะตรงกับวันหยุดยาวที่เราจะเข้าสวนได้พอดีเช่นกัน ก็ต้องทำใจค่ะ นอกจากนี้ วันหวยออก เป็นวันที่คนงานไม่ค่อยมีกะจิตกะใจทำงานกันเท่าไหร่ ดังนั้น พยายามอย่าคาดหวังมากค่ะ คุยกันให้เข้าใจตั้งแต่เริ่มงาน จะทำให้ความรู้สึกดีทั้งสองฝ่ายค่ะ
** ปรับปรุงอัตราค่าแรง ณ 23 มกราคม 2556 ค่ะ ของเก่าเขียนไว้ 4 ปีที่แล้วตอนที่ค่าแรงวันละ 150-200 บาทอยู่ค่ะ
Liked By: chaichomphu, Ekachaiyan, love_vgb, psit, lief36, PeeSo, rangsan_10, AMOL, yong9, somchart536, chondan, MeeSook, wsone, MANA1908, sarisa, TABTIM_SIAM, chunkung, chaen_ 126, tharkorn (Oat), somwang2516, mac2011, upsara, Non19, นาย_มนัส, s.dod, , jimy, Seksun_56, Apple1270, tsricharoen, panuwat5675, yuoxian, prymanvai, Bull Rider, tid-ko, nongaob, kwan-28, andrew, jackieindy, duidui2490, Palm_SoDa, วิทูร1, vichai sila, 3cha, vichia, muslin2557, wachira BS, Srikarn, makcloud, kaewmai, chaitanun, Steve_Jeab, chaidhach, a_bkk, samchoo, Freedom in mind, Tao789, laihan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 23, 2013, 04:03:39 PM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
การหาความรู้เพิ่มเติม
1. เป็นเกษตรกรต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอค่ะ ซึ่งแหล่งความรู้ที่ง่ายที่สุด เร็วที่สุด และไม่เสียเงินคือการหาตามเวบไซต์ แค่เข้าไปที่ google แล้วคีย์คำที่ต้องการทราบ เช่นคำว่า โรคมะนาว หรือ มะละกอใบหงิก ก็จะปรากฏรายการเวบต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคำที่ท่านคีย์เข้าไปมาให้ท่านได้ลองเข้าไปอ่าน หากไม่เจอข้อมูลที่ต้องการค่อยมาตั้งกระทู้สอบถามเพื่อนๆเกษตรกรท่านอื่นเพิ่มเติมได้ค่ะ อย่างไรก็ตามข้อมูลต่างๆ บนเวบอาจจะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปบ้างแล้วแต่เวบไซต์ที่เปิดเจอ เช่น เจอเวบขายปุ๋ยข้อมูลที่ออกมาอาจชี้นำไปสู่การซื้อปุ๋ยยาของเขา ดังนั้น อยากให้เกษตรกรเชื่อข้อมูลในเวบไซต์ของทางการเป็นหลัก เช่น เวบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (http://www.ku.ac.th/) เวบของกรมส่งเสริมการเกษตร (http://www.doae.go.th/) เป็นต้น เวบเหล่านี้มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมายค่ะ หลายเวบมีรูปภาพประกอบด้วย อยากให้เกษตรกรได้ลองขวนขวายหาความรู้ด้วยตัวเองจากหลายๆแหล่งข้อมูลค่ะ จะได้คิดวิเคราะห์ได้รอบทิศ ดีกว่าการมาตั้งกระทู้ถามเพียงอย่างเดียว ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าผู้ตอบแต่ละคนมีความรู้ในด้านนั้นๆ จริงหรือไม่ บางเรื่องแม้ผู้ตอบมีความประสงค์ดี แต่ตอบเอาตามที่นึก (เอาเอง) ว่ามันน่าจะเป็นเช่นนั้นโดยไม่มีประสบการณ์หรือหลักวิชาการสนับสนุน แล้วเกษตรกรไปทำตาม ผู้ที่เสียหายคือเกษตรกรเองค่ะ
2. นอกจากเวบไซต์แล้ว ก็มีหนังสือและวารสารเกษตรต่างๆ ที่สามารถหาอ่านเพิ่มความรู้ได้ค่ะ เช่น วารสารเคหเกษตร วารสารเมืองไม้ผล วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เป็นต้น สวนวสาได้มีโอกาสไปเยือนสวนเกษตรต่างๆ เพื่อเสาะหาพันธุ์พืชที่ต้องการก็ใช้ดูเอาตามวารสารพวกนี้ค่ะ บางทีเขาก็มีการจัดอบรมให้ฟรีๆ มีวิทยากรที่มีความรู้มาพูด มีเพื่อเกษตรกรที่มีประสบการณ์มาแบ่งปันเทคนิค เราก็จะได้ประโยชน์ค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าวารสารทุกเล่มจะจัดงานได้ดี สวนวสาเคยไปร่วมงานหนึ่งเป็นการอบรมครึ่งวัน แต่กว่าการกล่าวเปิดงานของบุคคลสำคัญต่างๆที่เชิญมาจะหมดก็ปาเข้าไปเกือน 10 โมงแล้ว แล้วยังพักเบรคยาวๆ ให้คนที่มาอบรมไปซื้อของที่สปอนเซอร์ต่างๆ มาออกร้านขาย ในที่สุดได้ฟังคนบรรยาย (แบบรีบๆ ให้จบ) แค่ไม่ถึงชั่วโมง เสียเวลาไปเหมือนกันค่ะ
3. หนังสือเกี่ยวกับคู่มือการเกษตรต่างๆ รวมถึงผลงานวิจัยบางงานที่มีประโยชน์ มีจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ศูนย์หนังสือจุฬา ที่ร้านหนังสือแพร่พิทยา และตามงานเกษตรแฟร์ นอกจากนี้ยังมีแจกให้ฟรีโดยกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ และหน่วยงานราชการบางหน่วยงาน ลองติดต่อขอไปดูได้ค่ะ
4. จากที่ได้รับโทรศัพท์จากลูกค้าและผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าและปลูกพืชเหมือนกับเรา รวมถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่สัมผัสมาเอง ทำให้ทราบว่า ประเทศไทยเราขาดแคลนฐานข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เชิงเกษตรอย่างแรง ทำให้เกษตรกรไทยเราต้องเกิดความเสียหายจากการลองผิดลองถูก หรือ การเชื่อคำบอกเล่าของบุคคลอื่น โดยขาดการค้นคว้าหาความรู้ คิด วิเคราะห์ ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน รอบด้าน หรือมืได้หารือจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง มีบ่อยครั้งมากๆๆๆๆๆๆๆๆ ที่ลูกค้าโทรมาบ่นให้ฟังว่าไปฟังอาจารย์บ้าง ผู้รู้บ้าง ท่านนั้นท่านนี้บอกให้ลองแบบนั้นแบบนี้ ปรึกษากันทางโทรศัพท์ คนเล่าอาการต้นไม้ก็เล่าไป รูปภาพก็ไม่เห็น คนให้คำแนะนำก็บอกได้เท่าที่จินตนาการ สรุปว่าพอทำตาม ต้นไม้ตายทั้งสวน อย่างนี้ความเสียหายอยู่ที่เกษตรกรค่ะ เพราะคนแนะนำอย่างมากก็กล่าวคำขอโทษ แต่คนที่เสียเงินคือเกษตรกร อยากให้พิจารณาหาความรู้ให้รอบด้านก่อนตัดสินใจทำอะไรไปค่ะ และที่สำคัญ ควรปรึกษาผู้ที่ลงมือทำจริงๆ ค่ะ
Liked By: Papa63, chaichomphu, Ekachaiyan, love_vgb, psit, lief36, PeeSo, rangsan_10, AMOL, chondan, MeeSook, หญิงเพี้ยน, wsone, MANA1908, sarisa, TABTIM_SIAM, chunkung, chaen_ 126, tharkorn (Oat), somwang2516, mac2011, ya r pin, kssn, upsara, Non19, นาย_มนัส, s.dod, , jimy, yupinyamee, Seksun_56, Apple1270, tsricharoen, panuwat5675, pook_kkf, prymanvai, Bull Rider, tid-ko, nongaob, kwan-28, andrew, jackieindy, duidui2490, Lobster57, วิทูร1, vichai sila, 3cha, vichia, muslin2557, wachira BS, Srikarn, makcloud, chaitanun, Steve_Jeab, tumnaja, ืnopsee, chaidhach, a_bkk, Freedom in mind, Tao789, laihan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2013, 09:28:37 AM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ไผ่หวาน
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 5510
ยินดีให้ข้อมูลด้วยความจริงจังและจริงใจ
|
ขอขอบคุณสำหรับบทความดีๆ อ่านแล้วจะนำไปประยุกต์ใช้ครับ
Liked By: PeeSo, AMOL, MANA1908, somwang2516, Non19, s.dod, konthain(นพ), RiceForLife, prymanvai, kwan-28, duidui2490, vichai sila, chaitanun, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนไผ่หวานเพชรน้ำผึ้ง
|
|
|
สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
ความต้องการ กับ ความเป็นจริง
ผู้ที่อยากเป็นเกษตรกรหลายท่านที่ทำงานประจำอยู่ ควรพิจารณาบริหารเวลา ครอบครัว และทุนทรัพย์ให้รอบคอบก่อนลงมือค่ะ บางทีเรามาอ่านๆ ในเวบต่างๆ เห็นคนอื่นเขาซื้อที่ดินกัน ลงมือทำกัน ก็เกิดแรงบันดาลใจอยากทำบ้าง แต่นั่นอาจเป็นความต้องการของคุณคนเดียวหรือเปล่า ลองดูปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ด้วยค่ะ
+ เวลา - คุณทำงานประจำในวันเสาร์อาทิตย์หรือเปล่า เพราะการเป็นเกษตรกร part-time นั้นอย่างน้อยต้องมีเวลาเสาร์-อาทิตย์ที่จะไปดูแลพืชผลที่ปลูกได้ หรือหากทำงานส่วนตัว ก็ต้องถามว่าสามารถจัดเวลาได้หรือเปล่าที่จะหาเวลาว่างแวะเวียนไปดูแลการเติบโตของพืชผล และแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หลายๆ คนไฟแรงแต่ตอนแรกๆ พอสักห้าหกเดือนผ่านไป ก็ทิ้งระยะเสียแล้ว จากทุกอาทิตย์ เป็นเดือนละหน เป็นสองเดือนหน ในที่สุดเหลือปีละหน อย่างนี้สิ่งที่ลงทุนไปก็จะเสียเปล่าค่ะ การทำเกษตรนั้นคนทำต้องมีความรับผิดชอบ (discipline) ที่ต่อเนื่องค่ะ ยิ่งถ้าที่ดินอยู่ไกลจากที่บ้านหรือที่ทำงานมากๆ อย่างที่เขียนไว้แล้วด้านบน ว่าส่วนใหญ่เจอค่าน้ำมันและเวลาขับรถไปก็จะท้อใจในที่สุด
+ ครอบครัว - เป็นสิ่งสำคัญค่ะ การซื้อที่ดินทำเกษตรนี่ครอบครัวทางบ้านต้องสนับสนุนนะคะ เพราะบางครั้งเป็นความต้องการเฉพาะของคุณพ่อบ้านอย่างเดียว แต่ครอบครัวทางบ้านไม่สนับสนุน เพราะเคยได้ยินคุณแม่บ้านบ่นว่าเสาร์อาทิตย์แทนที่จะได้พาลูกไปเรียนพิเศษ หรือได้ไปท่องเที่ยวกันตามแหล่งท่องเที่ยว ก็ต้องไปใช้ชีวิตกลางแดดร้อนๆ ขุดดิน ปลูกพืช เรื่องแบบนี้คุณแม่บ้านบางคน และเด็กๆ ไม่เข้าใจค่ะ อยากให้ทำความเข้าใจกันในบ้านให้เรียบร้อยก่อน เพราะไม่งั้นอาจมีปัญหาภายในครอบครัวได้ค่ะ
+ ทุน - สะสมมาพอไหม เวลาคำนวณเงินลงทุน คิดให้รอบคอบด้วยค่ะ นอกจากค่าที่ดิน ค่าคนงาน ค่ากิ่งพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าระบบน้ำ ค่าอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ แล้ว คิดได้เท่าไหร่ ให้คูณ 3 ไว้ก่อนเลย เพราะจริงๆ มันจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่คุณไม่คาดคิดเกิดขึ้นอีกมากๆๆๆๆๆ และถ้าเงินสะสมของคุณไม่มากพอ นำไปสู่การเป็นหนี้สินเพื่อนำมาลงทุน มันจะไม่ยั่งยืนน่ะค่ะ
Liked By: Papa63, chaichomphu, Ekachaiyan, love_vgb, psit, lief36, PeeSo, rangsan_10, AMOL, yong9, somchart536, chondan, MeeSook, หญิงเพี้ยน, wsone, ลุงหนวด สานฝัน, MANA1908, sarisa, TABTIM_SIAM, chaen_ 126, tharkorn (Oat), somwang2516, mac2011, ya r pin, kssn, upsara, Non19, นาย_มนัส, chunkung, s.dod, , jimy, yupinyamee, Seksun_56, Apple1270, tsricharoen, panuwat5675, prymanvai, Bull Rider, tid-ko, nongaob, looknat, jackieindy, duidui2490, Palm_SoDa, vichai sila, 3cha, vichia, muslin2557, wachira BS, Srikarn, makcloud, chaitanun, Steve_Jeab, chaidhach, Freedom in mind, laihan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2009, 08:06:00 AM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
พืชพลังงาน หรือ พืชอาหาร หรือ สวนป่า
จากปัจจัยเรื่องเวลา ครอบครัว และทุนที่พูดถึงด้านบน ก็มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชนิดพืชเพื่อทำสวนเกษตรเบื้องต้น ดังนี้ค่ะ
สวนป่า - ถ้าที่ดินอยู่ไกล เวลามีน้อย ภาระครอบครัวมีมาก ทุนมีกลางๆ ในช่วง 5-10 ปีนี้ แต่อยากเริ่มแล้ว ก็อยากให้พิจารณาเริ่มที่การทำสวนป่าไปก่อน คือ ปลูกพืชที่ตัดไม้ขายในภายหลัง เช่น สน ยูคา สัก หรือไม้ป่าอื่นๆ เพราะจะหนักแค่ช่วงปรับปรุงดินแรกๆ พอต้นกล้าตั้งหลักได้แล้ว ก็ผ่อนภาระการสิ่งไปดูแลบ่อยๆ ไป 5 - 10 ปี เช่นไปเดือนละหน หรือ สองเดือนหน ก็ได้ แต่ต้องไปนะคะ ไม่งั้นเพื่อนบ้านอาจจะมาบุกรุกเขาไปปลูกอะไรต่อมิอะไรเป็นการบันเทิงไป เราเจอมาแล้วกับที่ดินของเราที่อยู่ไกลๆ ไม่ค่อยได้ไปสามสี่เดือน มีสวนพริก สวนถั่ว เกิดขึ้นมาในที่ดินเราเฉยเลย ดีไม่ดีต้นกล้าที่เราปลูกไว้อาจเจอพืชอื่นเบียดเบียนตายไปก็ได้ หรือไม่ก็เจอมาแล้วค่ะ ที่ชาวบ้านเข้าไปจุดคบไฟหาหนู แล้วทำไฟไหม้สวนเราไปครึ่งสวน พวกสวนป่านี่ช่วงท้ายๆ ต้องเฝ้ากันดีๆ ด้วยเพราะไม่งั้นชาวบ้านแอบมาตัดไม้เราไปขาย ก็มีค่ะ
พืชอาหาร - ต้องการเวลาอย่างมากค่ะ อย่างที่เขียนมาแล้วว่าผู้ปลูกต้องมีความสม่ำเสมอในการไปดูแล เพราะไม่งั้นเผลอแป๊บเดียวโรคหรือแมลงลง ต้นไม้อาจจะตายไปทั้งสวนก็ได้ค่ะ ฝากคนงานเขาก็คงไม่ได้ใส่ใจมาก เพราะไม่ใช่สวนของเขาน่ะค่ะ พืชอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ พืชตระกูลธัญพืช หรือผักต่างๆ ต้องดูแลใกล้ชิดค่ะ นอกจากนี้ช่วงเก็บผลผลิตก็ต้องคอยหาตลาดให้ดี วางแผนการเก็บให้ดี การขนส่ง การเก็บรักษาอีก หากเกษตรกรยังไม่พร้อมก็แบ่งที่ดินปลูกเฉพาะที่พอกินเองไปก่อน ส่วนที่ดินที่เหลือก็ปลูกไม้ยืนต้นพวกสวนป่าไปก่อนค่ะ
พืชพลังงาน - พลังงานกำลังขาดแคลน คนเลยเห่อปลูกพืชพลังงานกันใหญ่ ตั้งแต่พวกมัน อ้อย ปาล์ม สบู่ดำ ฯลฯ ราคาก็ขึ้นลงตามที่เราเห็นๆ ค่ะ พืชน้ำมันนี่มันแทนที่พื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารนะคะ เวลานี้ทั่วโลกกำลังมีประเด็นเรื่องอาหารขาดแคลน เพราะหลายประเทศที่เคยทำเกษตรกรรมอาหาร เช่น มาเลย์ อินโด บราซิล อาร์เจนติน่า หันไปปลูกพืชพลังงานและยางพารากันใหญ่ ในระยะยาวแล้วราคาพืชอาหารจะแซงพืชพลังงานค่ะ สวนวสาจึงอยากเชียร์ให้ทุกคนกัดฟันปลูกพืชอาหารกันไปก่อนค่ะ และจะให้ข้อคิดสำหรับคนที่อยากปลูกพืชน้ำมันว่าควรอยู่ใกล้แหล่งรับซื้อนะคะ เช่นปลูกปาล์มควรอยู่ใกล้ๆ โรงกลั่นนะคะ หากมีหลายๆ โรงในพื้นที่ยิ่งดีค่ะ ไม่งั้นเก็บผลผลิตแล้วส่งไม่ได้ก็จะเสียหายมากค่ะ เราจะเห็นว่าบางทีพอราคาขึ้นและน้ำมันที่กลั่นแล้วยังขายไม่ได้ บางโรงกลั่นเขาปิดไม่รับซื้อก็มีค่ะ หากมีตัวเลือกก็จะดีค่ะ เพราะพืชน้ำมันนี่เอาไปวางขายตามตลาดก็ไม่ได้ กินเองก็ไม่ได้ ต้องขายเข้าผู้แปรรูปอย่างเดียวเลย
Liked By: Papa63, chaichomphu, Ekachaiyan, love_vgb, psit, lief36, PeeSo, rangsan_10, AMOL, yong9, somchart536, chondan, MeeSook, หญิงเพี้ยน, wsone, ลุงหนวด สานฝัน, MANA1908, sarisa, TABTIM_SIAM, chaen_ 126, tharkorn (Oat), somwang2516, ya r pin, upsara, Non19, นาย_มนัส, chunkung, s.dod, , jimy, yupinyamee, Seksun_56, Apple1270, tsricharoen, panuwat5675, RiceForLife, prymanvai, Bull Rider, tid-ko, nongaob, kwan-28, jackieindy, duidui2490, noynadun, Palm_SoDa, 3cha, vichia, muslin2557, wachira BS, Srikarn, makcloud, chaitanun, Steve_Jeab, chaidhach, samchoo, Freedom in mind, laihan, freedomkik
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2009, 08:55:06 AM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สวนวสา
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1222
|
การวางแผนเกี่ยวกับต้นไม้ที่ปลูก
1. สวนวสาได้รับโทรศัพท์จากลูกค้าจำนวนมาก (ส่วนใหญ่คือลูกค้าที่ปลูกมะละกอ) ว่าทำไงดี ต้นไม้ที่กำลังงามๆ เป็นโรคระบาดลามไปทั้งสวน สอบถามไปถามมา ส่วนหนึ่งของปัญหาคือการเว้นระยะห่างระหว่างต้นไม้ไม่เหมาะสมค่ะ ดังนั้น การปลูกพืชบางชนิด โดยเฉพาะพืชที่มีความเสี่ยงการระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว เช่น มะละกอ ซึ่งมีโรคประจำคือไวรัสวงแหวน อันมีพาหะคือเพลี้ยกระโดด ดังนั้น เวลาปลูกควรปลูกให้ห่างกันหน่อย อย่าไปเสียดายค่ะ กรณีศึกษามีแยะแล้ว มีลูกค้าหลายรายบอกว่าสวนวสาแนะนำปลูก 4x4 เมตรมันห่างไป ถ้าเขาปลูก 2x2 เมตรก็จะเพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 2 เท่า พอปลูกไปครึ่งปี ต้นงามสวย ออกผลดี พอกำลังจะเก็บเกี่ยว พุ่มใบก็มาชนกันพอดี ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงราก ผลที่ตามมาคือ พอฝนตกก็เกิดรากเน่า พอเจอเพลี้ยมันก็ลามเร็ว เผลอแป๊บเดียว ลามไปทั้งสวน สรุปคือ ผลผลิตที่ออกมามากก็จริง แต่เก็บขายไม่ได้ แถมยังต้องโค่นทิ้งอีกทั้งสวน มันคุ้มไหม
2. การปลูกพืชผสมผสาน ให้ระวังค่ะ พืชบางชนิดมีความอ่อนแอที่ราก ไม่ควรปลูกคู่กับพืชที่ขุดรากมาขาย เช่น มะละกอไม่ควรปลูกคู่กับพวกขิงข่าเผือกมันแกว และบางกรณีพืชที่เป็นเถาอันมีโรคเชื้อราเป็นขาประจำ และมีพวกแมลงพาหะชอบอาศัยอยู่ ก็ไม่ควรปลูกกับพืชที่มีความอ่อนไหวกับเชื้อราและแมลงค่ะ ควรศึกษาให้มากๆ ก่อนการลงทุนลงแรง เพราะจะได้ไม่เสียเปล่าค่ะ
3. การใช้ปุ๋ย ยา เคมีภัณฑ์ ชีวภาพ สวนวสาอยากแนะนำว่าให้เกษตรกรศึกษาวิธีการใช้ข้างกล่อง/ขวด ให้ดีๆ ค่ะ เวลาซื้อปุ๋ย-ยา ให้หาที่มีการบอกส่วนผสมไว้ด้วยว่าสิ่งที่อยู่ในขวดนั้นมันมาจากอะไรผสมอะไร อัตราส่วนความเข้มข้นเป็นอย่างไร เพราะทุกวันนี้มีผลิตภัณฑ์ปุ๋ย+ยา จำนวนมากที่เขียนทำนองว่า "ปุ๋ยยางพารา" แล้วไม่บอกว่ามีอะไร หรือไม่ก็ "เร่งดอก+ผล" แล้วไม่รู้ว่าผสมอะไรลงไป ยิ่งพวกชีวภาพเราประสบว่าหลายๆ ยี่ห้อผสมเคมีลงไปจำนวนมาก เช่น ผสมยูเรีย เวลาใส่ต้นไม้แล้วจะเห็นว่าใบเขียวสดงดงามรวดเร็วภายในวันสองวัน ทั้งๆ ที่ปุ๋ยชีวภาพนั้นจริงๆ ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะเห็นผล พวกสารธรรมชาติฆ่าแมลงก็เช่นกัน มีหลายยี่ห้อผสมสารเคมีฆ่าแมลงชนิดที่ต้องห้ามเสียด้วย ทำให้เกษตรกรบางคนพ่นสารสะเดาปุ๊บแมลงหงิกตายทันทีโดยไม่รู้ว่ามีเคมีที่เป็นพิาอยู่ พอเก็บผลผลิตไปอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้นะคะ(ไว้คิดออกจะมาเขียนต่อ) จบค่ะ
หวังใจอยากให้เป็นบทความที่ช่วยเพื่อนๆ ที่อยากเป็นเกษตรกร แล้วไม่รู้จะเริ่มที่ไหนดี ได้นำไปใช้ประโยชน์ค่ะ หากคิดอะไรออก จะมาปรับปรุงเพิ่มเติมเรื่อยๆ ค่ะ
ขอบคุณคุณ Sangreal ที่กรุณาเซฟบทความที่หายไปไว้ให้ค่ะ  พอดีทางเราเขียนแล้วก็ไม่ทันได้เก็บแบ้คอัพไว้ โชคดีที่คุณ Sangreal เก็บไว้ ขอบคุณมากๆ ค่ะ
สวนวสา
Liked By: Ekachaiyan, love_vgb, psit, lief36, PeeSo, AMOL, yong9, rangsan_10, chondan, wsone, MANA1908, sarisa, TABTIM_SIAM, ภูษาฟ้าไร้ตะเข็บ, chaen_ 126, tharkorn (Oat), somwang2516, ya r pin, MagicDragon, Non19, นาย_มนัส, chunkung, s.dod, , jimy, Seksun_56, Apple1270, Posan, tsricharoen, pook_kkf, panuwat5675, RiceForLife, yuoxian, Bull Rider, tid-ko, nongaob, kwan-28, andrew, looknat, jackieindy, duidui2490, Palm_SoDa, 3cha, vichia, muslin2557, kreingsaknum99, wachira BS, uncle joey, Srikarn, makcloud, chaitanun, tumnaja, KLP CRAYFISH, ืnopsee, Steve_Jeab, chaidhach, Freedom in mind, laihan
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2013, 10:26:54 PM โดย สวนวสา »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
dapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 302
|
นั่งอ่านรวดเดียวจบ ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เกษตรกรตัวสำรอง
|
|
|
jay2010
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 345
|
ขอบคุณมากคับ ได้ความคิดอีกเยอะเลย...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ชีวิตที่เรียบง่าย ธรรมดา ต.กฤษณา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
|
|
|
suteep
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 66
|
ขอบพระคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
makeanotherdive
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 25
play and learn ก็ เพลิน ดี
|
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pandaman
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 3
Get it By your Hand --> อย่าเฝ้ารอ จงไปคว้ามันมา!
|
ผมกำลังจะทำการเกษตรAutomation เป็นงานParttimeครับ รวมกลุ่มคนทำProject electronicได้3คนที่บ้าบอพอๆกัน  เป้าหมายไม่ได้ต้องการปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแต่ต้องการคุณภาพ ลดความซับซ้อนในการดูแลด้วยคน(แต่ก็ยังต้องใช้คนอยู่นะ) ใช้ปรับปรุงสวนของผมตามดินฟ้าอากาศด้วย เอาไปใช้กับที่ภูมิลำเนาอื่นไม่ได้ เป็นความฝันมาตั้งแต่จบใหม่ๆ ได้เคยอ่านบทความของสวนวสาและบทความใกล้เคียงกันมาแล้ว ...7ปีผ่านไปตอนนี้ก็ได้สถานที่ที่พอจะใกล้เคียงกับRequirementข้างบนพอควรเลยเริ่มครับเดี๋ยวจะหมดแรงทำซะก่อน คิดว่าเริ่มต้นจากพืชที่ลงทุนต่อต้นถูกๆ แต่ละเอียดอ่อนในการดูแลอย่างมะละกอน่าจะเหมาะสม ไปแล้วครับแล้วผมจะกลับมา อ่านมาเกือบปีพึ่งregisterเมื่อวาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
พา Microcontroller เข้าสวนกันดีกว่าแล้วดูซิว่ามันทำอะใรได้บ้าง
|
|
|
|