tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
Liked By: max_nk, MANA1908, 8888, MasterTK, v.toy, Bankao, i_nam, monomusic, oPNPo, nee-amp, Guevara, tosak, ชาย ท่ายาง, แสนคำ, Ekachaiyan, pom2day, baoyai, vigo74
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 09:10:38 AM โดย tavid »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sookanunfarm
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 383
|
ปูเสื่อแล้วครับรอชมคนแรก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
MANA1908
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 518
|
รอชมด้วยคน และขอราคารวมอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยครับ ว่าจะเอาไปให้ญาติใช้ที่โคราชครับ ขอบคุณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Henry
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 462
|
ผมเคยใช้แก๊สกับเครื่องปั่นไฟรุ่นนี้ พอจูนเสร็จ ใช้งานประมาณ 30 นาที เครื่องมันจะกระตุก ต้องรีบวิ่งมาเพิ่มแก๊ส อยากจะรู้ว่าสาเหตุมาจากอะไรเหรอครับ? เวลารดน้ำคนเดียว ต้องคอยฟังเสียงเครื่องยนต์ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
rung038
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 8
|
กำลังจะซื้อพอดี รีบติดตั้งเลยเอาด้วยครับ
Liked By:
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bigkeng
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1019
|
 พี่นุมีของดีมาเล่นอีกแล้วนะครับ รอชมด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
...หนุ่มอาร์ตตัวพ่อจะลุยสวน....
|
|
|
apisit_jub
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 469
สบายใจที่ได้ทำเกษตร
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ทำงานที่สมุทรปราการ .....ทำไร่ที่โคกสำโรง ลพบุรี
|
|
|
tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
มาต่อครับ พอดีเมื่อเช้าไฟดับ ก่อนติดตั้งต้องหาของกันก่อน อุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบด้วย 1. หม้อต้มแก๊สสำหรับเครื่องยนต์เล็ก (ในรูปจะอยู่ซ้ายมือ) สั่งซื้อตามร้านติดตั้งแก๊ส 2. เรกูเลเตอร์ เป็นอุปกรณ์ลดแรงดันแก๊สก่อนเข้าหม้อต้ม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หัววาล์วแก๊ส หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายเตาแก๊ส 3. ท่อนำแก๊ส ท่อที่จ่ายแก๊สจากถังไปที่หม้อต้มอาจจะใช้ท่อแก๊สแบบPVCแบบเดียวกับที่ใช้ในเตาแก๊สบ้านก็ได้ซึ่งเป็นท่อแบบแรงดันต่ำ แต่ท่อแก๊สที่ใช้ต่อจากหม้อต้มเข้าเครื่องยนต์ควรจะใช้ท่อแก๊สแบบทนความร้อน หาซื้อได้ตามร้านที่ขายเครื่องมือสำหรับเชื่อมแก๊ส 4. ท่อแวคคั่มรถยนต์ เป็นท่อยางขนาดเล็กทนความร้อน หาซื้อได้ตามร้านขายอะไหล่รถยนต์บอกคนขายว่าเอาท่อแวคคั่ม รูขนาด1หุน ความโตเท่าไหร่ก็ได้แต่ให้มีรูขนาด1หุนก็พอ 5. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่นพวกแคล้มรัดท่อแก๊ส ข้อต่อหางปลาไหล ท่อทองแดงขนาด1/8นิ้ว(1หุน) ไปขอตามร้านติดตั้งแอร์ใช้นิดเดียวยาวสัก2นิ้วก็พอ เอามาทำท่อแวคคั่ม 
Liked By: 8888, MANA1908, Meesak, oPNPo, Guevara, pomnuay, แสนคำ, choke017, bicyclerid, Ratthapatch, , baoyai
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 09:13:10 AM โดย tavid »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
ก่อนติดเราต้องทำความเข้าใจการทำงานของหม้อต้มก่อนนะครับ มาผ่าหม้อต้มกันก่อน ทำไมเขาถึงเรียกว่าหม้อต้ม มันต้มยังไง หรือคนซื้อโดนต้ม 55 ถ้าใครเคยใช้สีสเปรย์แบบกระป๋อง จะสังเกตุเห็นว่าถ้าเราฉีดสเปรย์ไปสักพัก กระป๋องจะลดอุณภูมิลงอย่างรวดเร็ว เย็นมากจนมีไอน้ำมาเกาะ เนื่องจากแก๊สที่ถูกอัดด้วยแรงดันสูงๆเมื่อถูกลดแรงดันอย่างรวดเร็วในอัตราการไหลสูงๆจะทำให้อุณภูมิลดอย่างรวดเร็ว ถ้าไหลนานๆก็จะแข็งตัว จนแก๊สไม่สามารถไหลได้เราจึงแก้ปัญหานี้โดยการเพิ่มอุณหภูมิขึ้นอีกเพื่อไม่ให้เกิดการแข็งตัว โดยการใช้ความร้อนจากน้ำในหม้อน้ำของรถยนต์ ที่ผมกล่าวมานั่นคือระบบแก๊สในรถยนต์ที่lpgมีสถานะเป็นของเหลว ซึ่งจะต่างจากแก๊สที่เราใช้ในบ้านที่ตอนอยู่ในถังมีสถานะเป็นของเหลวพอออกมานอกถังจะสถานะเป็นก๊าซ ทีนี้ระบบแก๊สที่เรา จะติดตั้งในเครื่องยนต์เอนกประสงค์ขนาดเล็ก จะบริโภคแก๊สค่อนข้างน้อย หมายถึงอัตราการไหลของแก๊สต่ำ และมีสถานะเป็นก๊าซ มันจึงไม่แข็งตัว หม้อต้มของเราก็เลยไม่ต้องต้ม แต่ที่เรียกหม้อต้มก็เพราะเรียกติดปากมาจากหม้อต้มของรถยนต์ ตัวของมันมี2หน้าที่ คือลดแรงดันแก๊ส และควบคุมการจ่ายแก๊สตามความต้องการของเครื่องยนต์ หมายถึงเครื่องยนต์ต้องการแก๊สมากหม้อต้มก็จะจ่ายแก๊สมาก เครื่องต้องการแก๊สน้อยหม้อต้มก็จะจ่ายน้อย ถ้าเครื่องยนต์ดับกลางคัน หม้อต้มก็จะปิดแก๊สไปเลยไม่ยอมจ่าย เพื่อป้องกันแก๊สรั่วไหล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
หม้อต้มที่เราจะเอามาใช้กับเครื่องยนต์เกษตรขนาดเล็ก ควรจะเป็นชนิดที่ออกแบบมาเฉพาะไม่ควรเอาหม้อต้มของรถยนต์มาใช้ เพราะอัตราการจ่ายแก๊สไม่เท่ากันและราคาสูงเกินไป การทำงานของหม้อต้มจะเป็นแบบ 2state regulator คือจะทำการปรับแรงดัน2ระดับ เพื่อป้องกันการแข็งตัวของแก๊ส และอัตราการจ่ายแก๊สที่นิ่งกว่าระดับเดียว ตอนแรกที่ผมได้หม้อต้มมา เขาระบุว่าได้เทสแรงดันที่1000KPa (กิโลปาสคาล) หรือประมาณ145psi ซึ่งถังแก๊สLPGบ้านเราจะมีแรงดันอยู่ที่180-200psi ถ้าหม้อต้มเทสมาที่145psi ดูแล้วไม่น่าจะปลอดภัยเท่าไหร่ ผมจังต้องใส่ Regulator ที่หัวถังแก๊สเข้าไปอีกตัวนึงเพื่อความปลอดภัย ระบบนี้จึงกลายเป็น 3state regulator มีผลทำให้ระบบจ่ายแก๊สได้นิ่งมาก เครื่องเดินเบาได้เหมือนกับใช้น้ำมันเลย และมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เอ้ามาดูหม้อต้มกันก่อนดีกว่า เพราะถ้าเราเข้าใจการทำงานของหม้อต้มแล้วการติดแก๊สก็หมูเลยครับ มาดูหน้าด้าน เอ๊ย ด้านหน้าหม้อต้มกันก่อน ให้สังเกตุตามที่ผมลากเส้นอธิบายในรูป 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 09:14:52 AM โดย tavid »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
ด้านหลัง  ข้างในหม้อต้มจะแบ่งออกเป็น2ห้อง คือห้องแรงดันสูงกับห้องแรงดันต่ำ งานนี้ต้องผ่าดูเนื้อในครับ เปิดฝาด้านแรงดันสูงจะเจอกับสปริง สปริงทำหน้าที่กดแผ่นได้อะแฟรมและแผ่นไดอะแฟรมก็จะไปกดกระเดื่องวาล์วควบคุมการไหลของแก๊สอีกที  แรงกดของสปริงจะมีผลทำให้แรงดันของแก๊สลดลง เป็นการลดแรงดันของแก๊สไปได้ระดับหนึ่ง เมื่อเราเปิดแผ่นไดอะแฟรมด้านแรงดันสูงออกมา ก็จะเห็นกระเดื่องควบคุมการจ่ายแก๊สตามแรงกดของสปริง 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 09:18:15 AM โดย tavid »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
เมื่อผมถอดกระเดื่องออก ก็จะมองเห็นรูที่แก๊สแรงดันสูงเข้ามา ในรูปที่ผมเขียนว่าแก๊สออกทางรูนี้หมายถึงแก๊สเข้ามาทางช่อง Gas (มีลูกศรชี้เข้า) แล้วมาโผล่ทางรูนี้นั่นเอง  ต่อไปมาเปิดฝาด้านแรงดันต่ำ เปิดมาปุ๊บก็จะเห็นแผ่นไดอะแฟรมปั๊บ แต่ยังมองไม่เห็นอะไร  ต่อไปเปิดแผ่นไดอะแฟรมออกมา  ที่ผมวงกลมสีเหลืองด้านล่างจะมีรูที่แก๊สที่ถูกปรับลดแรงดันลงแล้วจากอีกด้านจะไหลมาออกที่รูนี้ อัตราการไหลจะถูกควบคุมโดยแผ่นไดอะแฟรมแผ่นใหญ่นั่นแหละ และการกดของแผ่นไดอะแฟรมก็จะถูกควบคุมด้วย แรงดูดของเครื่องยนต์ผ่านช่องที่ผมเขียนว่า "แก๊สออกทางรูนี้" ถ้าเกิดแรงดูดแผ่นไดอะแฟรมจะยุบตัวไปกดกระเดื่อง ทำให้กระเดื่องกระดก วาล์วก็จะเปิด เปิดมากเปิดน้อยขึ้นอยู่กับแรงดูด แต่ลำพังแรงดูดของเครื่องยนต์เพียงท่อเดียวไม่สามารถควบคุมการจ่ายแก๊สได้เพียงพอในกรณีที่เครื่องยนต์ได้รับภาระหนักๆ ก็จะมีแผ่นไดอะแฟรมอีกแผ่น (ที่วงกลมสีแดง) เป็นตัวช่วยเพิ่มปริมาณแก๊สให้เพียงพอในกรณีที่มีโหลดหนักๆ ซึ่งแรงดูดของไดอะแฟรมตัวนี้จะมาจากท่อแวคคั่มที่เราเจาะเพิ่มเติม
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 09:20:46 AM โดย tavid »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
ทดสอบเอาท่อยางเสียบที่ท่อแวคคั่มแล้วใช้ปากดูด จำลองเหตุการตอนนี่เครื่องยนต์ได้รับโหลดหนักๆ แผ่นไดอะแฟรมจะยุบตัว มีผลให้ปริมาณแก๊สเพิ่มขึ้นเพราะกระเดื่องจะกระดกมากขึ้น รูปนี้เครื่องยนต์ได้รับโหลดเต็มที่ แผ่นไดอะแฟรมจะยุบลงจนสุด  รูปนี้ขณะเครื่องยนต์เดินเบา ไม่มีโหลด  ต่อไปเมื่อถอดกระเดื่องด้านแรงดันต่ำจะเห็นรูที่แก๊สจากอีกฝั่งส่งเข้ามา การทำงานจะคล้ายๆกันแต่แรงกดสปริงจะน้อยกว่า  จบเรื่องหม้อต้มไว้แค่นี้ก่อน ใครสงสัยตรงไหนถามมาได้เลยครับ อย่าได้เกรงใจ ผมไม่มีกั๊กอยู่แล้วถ้ารู้จะบอกหมดเปลือก ถ้าไม่รู้ก็จะไปหาไปค้นมาให้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 09:23:03 AM โดย tavid »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
ต่อไปก็มาสร้างท่อแว๊คคั่มให้กับเครื่องยนต์ก่อน เพราะเครื่องยนต์ขนาด5.5หรือ6.5แรงม้า จะไม่มีท่อแว๊คคั่มมาให้ เราจึงต้องเจาะเอง ตำแหน่งที่จะเจาะ เราจะต้องถอดคาบิวออกมาก่อน ตามตัวอย่างนี้เป็นเครื่องยนต์ขนาด5.5แรงม้า แบบฮอนด้านะครับ ถ้าเป็นเครื่องปั่นไฟก็คล้ายๆกันแต่ตัวกรองจะใหญ่กว่า พอเป็นแนวทางนะครับ เปิดกรองอากาศออกก่อน แล้วถอดนัต2ตัวที่ยึดคาบิวออก  แล้วดึงท่อไอดีออกมา หัวใจหลักคือถอดท่อไอดีออกมาให้ได้ ไม่ว่าเป็นเครื่องรุ่นไหนก็ตาม ประยุกต์ได้หมด  ถอดท่อน้ำมันและขาคันเร่ง ขากัลวานาออกให้หมด แล้วดึงคาบิวออกมา จะเห็นแผ่นพลาสติกสีดำดังรูป ให้ดึงออกมาทำการเจาะรู โดยใช้ดอกสว่านขนาด1หุน(1/8) หรือประมาณ4มิล  ดึงออกมาเตรียมเจาะ  เจาะตำแหน่งนี้เท่านั้น เจาะค่อยๆระวังแตกด้วยนะครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 09:36:16 AM โดย tavid »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
รูที่เจาะได้  เอาท่อทองแดงขนาด1หุนดัดให้งอแล้วเสียบเข้าไปในรู  ใช้กาวซิลิโคนมาพอกกันรั่วและหลุด อาจจะเจาะรูมัดด้วยลวดอีกทีเพื่อความแน่นหนา   ใส่กลับเข้าไปที่เดิม ประกอบคาบิว ท่อน้ำมัน ขากัลวานา เข้าที่เดิม แต่อย่าเพิ่งใส่ท่อไอดี เอาท่อไอดีมาเจาะรูทำท่อแก๊สเข้าก่อน เจาะที่ด้านล่างเลยครับ 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 09:40:22 AM โดย tavid »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tavid
Moderator
ออฟไลน์
กระทู้: 2875
|
เอาท่อแก๊สขนาด 3/8นิ้ว(3หุน) เสียบเข้าไปในรูที่เจาะไว้แล้วใช้กาวร้อนติดประสานให้ทั่ว ทดลองดึงแรงๆก็ไม่หลุดครับ กาวร้อนใช้ติดท่อยางจะแน่นมาก   ถ้ากลัวท่อจะหลุดก็อาจจะใช้แคล้มรัดท่อรัดด้านในตามรูปด้านล่างอีกทีนึงก็ได้ครับ  เสร็จแล้วทั้งท่อแว๊คคั่มและท่อจ่ายแก๊สเข้า ประกอบทุกอย่างเข้าที่เดิมตามลำดับ คือแผ่นเพลทอยู่ด้านในสุด คาบิว และท่อไอดีอยู่นอกสุด และอย่าลืมใส่แผ่นปะเก็นด้วยนะครับ สามารถใช้ปะเก็นอันเก่าได้  ถ้าเป็นเครื่องปั่นไฟ ก็แค่เจาะรูหม้อกรองอากาศแล้วเอาท่อยางแหย่เข้าไป จัดแจงยึดโยงให้แน่น แล้วแต่เทคนิกของใคร หลักสำคัญคือเอาแก๊สจ่ายเข้าไปในท่อไอดีให้ได้ก็พอ อันนี้เป็นตัวอย่างการต่อแก๊สเข้าที่กรองอากาศของเครื่องปั่นไฟขนาด2.5กฺโลวัตต์  ตัวอย่างการต่อท่อแวคคั่มในเครื่องปั่นไฟโดยใช้ท่อทองแดงร่วมกับท่อซิลิโคนซึ่งทนความร้อนได้ดี  อีกรูปเป็นของเครื่องปั่นไฟขนาด5กิโลวัตต์ เครื่องยนต์13แรงม้า 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2013, 09:53:21 AM โดย tavid »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|