ขอเข้าชมรมด้วยคนนะครับ ผมชื่อ หนุ่ยครับ
ตั้งใจว่าในเดือนมิถุนายน ปีนี้จะปลูกปาล์ม ที่สวน อ.แม่แตง พื้นที่ประมาณ 15 ไร่ พอดี มีความรู้เรื่องพันธุ์ปาล์ม อยู่พอสมควร
เพราะร่วมกับเพื่อนนำเข้าเมล็ดงอก จากต่างประเทศมาร่วมสิบปีแล้ว โดยนำเข้าจากปาปัวนิวกินี และคอสตาริก้า มีแปลงเพาะอยู่ที่ชุมพร พอดีมีกล้าพันธุ์ อยู่ จึงจะเริ่มปลูก แต่ขุดสระแล้ว ปรับพื้นที่แล้ว รอปักม็อบ และวางระบบน้ำ ขุดหลุม ก็จะลงมือปลูก
ระยะปลูก 9 X 9 เมตร จำนวน 348 ต้น
ส่วนที่มีคนสงสัยว่า DxP นั้นคืออะไร ตอบง่าย ๆ เป็น การผสม ระหว่างเกษรตัวเมียกับดอกตัวผู้ ของสายพันธุ์ ส่วนใหญ่ สายพันธุ์ จึงออกมาเป็นลูกผสม
ในไทย สายพันธุ์สุราษฏร์ ของกรมวิชาการเกษตร ส่วนใหญ่ ให้ผลผลิตประมาณ 2.7 ตัน/ไร่/ปี แต่ ของมาเลเซียอยู่ประมาณ 5-6 ตัน/ไร่/ปี เพียงแต่รัฐบาลมาเลเซีย มีนโยบายห้ามส่งออกสายพันธุ์ (มีแต่การลักลอบ) แม้ว่า ข้อตกลงอาเซียน จากมีผลบังคับใช้แล้ว แต่มาเลเซียก็ยังห้ามอยู่
สายพันธุ์ที่ดี จึงอยู่ที่ คอสตาริก้า ปาปัวนิวกินี ซึ่งตอนนี้ หากดูแลดี น้ำดี ปุ๋ยดี แต่งใบ ปาล์มอายุ 5 ปี จะให้ผลผลิตที่ 5 ตัน/ไร่/ปี
การปลูกปาล์มน้ำมัน ก่อนปลูกต้องตรวจคุณภาพดิน ก่อนครับ วัดทั้งค่า ความเป็นกรด หรือด่าง จริง ๆ ปาล์ม ชอบดินร่วนปนทราย แต่ปาล์มเป็นพืช ต้องใช้น้ำมาก ดังนั้นพื้นที่ไหน แล้ง 4-5 เดือน ต้องวางระบบน้ำ ซึ่งโดยเฉลี่ย หากพื้นที่ปลูก 15 ไร่ ต้องมีสระน้ำ 1 ไร่ ลึก 3-4 เมตร เป็นอย่างน้อย อาทิตย์นึง ต้องให้น้ำ 2-3 ครั้ง หากฝนไม่ตกเลย จะเป็นระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ มินิสปริงเกอร์ หรือระบบน้ำหยด ก็ได้ทั้งนั้น เท่าที่ศึกษาดู ปาล์ม 1 ต้น กินน้ำ 200 ลิตร/เดือน
ปัญหาใหญ่ ของการปลูกปาล์ม พื้นที่ใหม่ คือ คุณภาพ การตั้งต้นเตรียมการ ตั้งแต่สายพันธุ์ ดิน น้ำ และปุ๋ย ส่วนสวนปาล์มเก่าที่ปลูก ส่วนใหญ่ ใช้สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิต เดิม ๆ ไม่เกิน 3 ต้น/ไร่/ปี
เห็นด้วยครับ ปาล์มน้ำมัน เมื่อเจอแล้ง ขาดน้ำ ติดกัน 2-3 ปี จะไม่ค่อยให้ผลผลิต ดังนั้น การปลูกปาล์ม จึงต้องเอาใจใส่ มากกว่ายางพารา ครับ
ส่วนปาล์มสายพันธุ์ทนแล้ง นั้น จริง ๆ ก็ไม่ได้ทนมาก นะครับ เพราะปาล์ม ต้องการน้ำมาก จึงจะให้ผลผลิตตามมาตรฐานของสายพันธุ์
ราคากล้าพันธุ์ (ไม่รวมค่าขนส่ง) พันธุ์ดี ไม่ควรเกิน 120 บาท/ต้น หากซื้อเยอะ เค้าก็ลดให้ เหลือประมาณ 100 บาท/ต้น
ระดับคุณภาพสายพันธุ์ ของเมล็ดงอก แบ่งเป็น 3 เกรด คือ สแตนดาร์ด พรีเมียม และคอมแพ็ค ซึ่งจริง ๆ คอมแพ็ค ทางใบสั้น ปลูกในพื้นที่ต่อไร่ได้มากขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น แต่ หากนับจำนวนผลผลิต ต่อจำนวนต้นที่เท่ากัน ระหว่างพรีเมียมและคอมแพ็ค ผลผลิตจะพอพอกัน
สำหรับ เพาะเนื้อเยื่อ ราคาพันธุ์แพง มาก ครับ ไม่คุ้ม ที่คอสตาริก้า เขาพัฒนา แบบโคลน ซึ่งไทยติดกฎหมายนำเข้า เพราะตีความเป็นพืชจีเอ็มโอ แต่ให้ผลผลิตดี สูงถึง 7 ตัน/ไร่/ปี บ้านเราก็เป็นซะอย่างนี้แหละครับ เราเลยต้องก้มหน้า ปลูกพันธุ์ปาล์ม ที่ให้ผลผลิตส่วนใหญ่ไม่เกิน 3 ตัน
อ้อลืมไป ปาล์มน้ำมัน กินน้ำทั้งทางรากและทางใบ นะครับ นักวิชาการส่วนใหญ่ จึงเน้นพื้นที่ปลูก ที่มีปริมาณน้ำฝน มาก แต่ในต่างประเทศ เขาใช้ระบบสปริงเกอร์ พ่นน้ำแบบเป็นฝอย แทนน้ำฝน เพียงแต่ลงทุนสูง ไม่เหมาะกับไทย
สำหรับ ราคาปาล์มดิบ ราคารับซื้อน่าจะขึ้นลงระหว่าง 5-6 บาท/กก. โดยเฉลี่ย (ถ้านักการเมืองไม่เก็งกำไร) และน่าจะเป็นราคาฐาน ไปอักนาน เหมือนยางพารา ที่ราคาฐานอยู่ที่ระหว่าง 80-100 บาท/กก.
ทิศทางตลาด สำหรับอนาคตพืชน้ำมัน เช่นปาล์มน้ำมัน จึงยังมีอนาคตที่ดี ครับ เพราะปาล์มน้ำมัน เป็นทั้งพืชพลังงาน และพืชอาหาร เฉพาะส่งเข้าจีนและอินเดีย ก็ไม่พอแล้ว ยกเว้นว่า สปป.ลาว และพม่า ปลูกอีก สัก 50 ล้านไร่ อันนั้นก็ไม่แน่ แต่เป็นไปได้ยากมาก เพราะการปลูกปาล์มน้ำมัน ลงทุนสูง กว่าพืชเกษตรอื่น ๆ ราคากล้าพันธุ์ ก็ ไร่ละ 200จ บาท การปรับพื้นที่ไร่ละ 7500 บาท ค่าปุ๋ยอีก โอ้
ทิศทางการปลูกปาล์ม ในไทย ขยายตัวได้ไม่มาก ผมเข้าใจว่า เต็มที่ก็ไม่น่าจะเกิน 2 ล้านไร่ เพราะพื้นที่จำกัด (ราคาที่แพงขึ้น)
ทุนจีน จึงลงทุนปลูกใน สปป.ลาว และพม่า เป็นส่วนใหญ่ ส่วนทุนใหญ่ ๆ ของไทย เช่นปตท. ปทุมออยล์ ไปอินโดนีเซีย พื้นที่ปลูกในมาเลเซีย ก็อิ่มตัวแล้ว (พื้นที่เหลือมาก อยู่ที่เกาะบอรเนียว) แต่เป็นพื้นที่ป่าฝน เพื่อการอนุรักษ์ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนเขมร หรือกัมพูชา คุณภาพดิน ไม่ค่อยดี และที่สำคัญ มีระเบิดเยอะ (เสี่ยง)
หากมองทั้งโลก ประเทศบนเส้นศูนย์สูตร เช่นเวียดนาม ลาว ไทย เขมร พม่า ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย(บางส่วน) อเมริกากลาง และแอฟริกาตอนกลาง ในอนาคต เป็นพื้นที่ผลิตพืชพลังงาน และแหล่งอาหารของโลก แต่นั่นแหละ ธรรมชาติพิโรธ บ่อย ภาวะวิกฤติ ของปรากฎการณ์ลานินญา และแอลนินโญ รุนแรงมากขึ้น และถี่มากขึ้น ทำให้ภัยธรรมชาติ ทั้งลมและฝน รุนแรงขึ้น ถี่ขึ้น มีความเสี่ยงทางธรรมชาติมากขึ้น กว่าแต่ก่อนมาก ก็ต้องทำใจ
สำหรับคนที่จะปลูกใหม่ ผมแนะนำว่า ควรชวน พรรคพวก หรือ ตั้งเป็นชมรม หรือสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกร และปลูกพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เพราะเวลา ขายผลปาล์มสด จะได้คุ้มค่ากับการขนส่ง ไม่เช่นนั้นค่าขนส่งกินหมด ที่สำคัญ หากต้องการให้คุ่มค่า กับการลงทุน ด้านนี้ จริง ๆ ขนาดสวน หรือสเกล ควรจะปลูก รายละประมาณ 50 ไร่ จึงจะคุ้ม แหล่งเงินทุน ธกส. และกองทุนพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน สนับสนุนอยู่แล้ว สำหรับแหล่งรับซื้อผลปาล์มสด หากพื้นที่ปลูก ใกล้ ๆ กัน มีหลายพันไร่ ถึง หมื่นไร่ การตั้งโรงงานหีบน้ำมันปาล์มดิบ ตั้งได้ง่าย ลงทุนไม่มากนัก ก็ทำได้ แต่โรงงานสกัด แพงมากหน่อย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง รอบ ๆ กรุงเทพฯ ภาคใต้ และภาคตะวันออก
เอาละครับ พอเท่านี้ก่อน
หาก เพื่อน ๆ ต้องการแลกเปลี่ยน ยินดี แลกเปลี่ยนกับทุกคน ครับ Email ของผม
noomnoi509@gmail.com ขอบคุณครับ