markonikove
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1839
|
ตลาดไก่บ้านยังอยู่ไม่เปลี่ยนคับ แค่ไม่ขยายเพิ่ม ( อาจจะเพิ่มแค่ตามจำนวนประชากร )
คนที่เขากินไก่บ้าน เขาจะไม่กินไก่สามสายแบบเลี้ยงโรงเรือน ( 2 เดือนจับ ) ตลาดไก่สามสายเลือด จะเป็นกลุ่มลูกค้าคนจีนในตัวเมือง ที่จะปรุงอาหารจีน ซึ่งมีความต้องการไก่บ้านที่ต่างออกไปจากไก่บ้านแบบไทยๆ เราจึงไม่เห็นอุตสาหกรรมไก่พื้นเมืองแบบดั้งเดิม ( เพราะยังคงรูปแบบการผลิตดั้งเดิมอยู่ ) ... ก็ไก่เกรดสูงที่ผมว่ามานั่นแหละ คือ ตลาดไก่บ้านแบบดั้งเดิมล่ะ
ตลาดไก่บ้านแบบดั้งเดิม ยังคงมีความต้องการสูงอยู่ แต่เขาต้องการไก่ที่มีคุณลักษณะเฉพาะแบบดั้งเดิมเพื่อนำไปประกอบอาหารพื้นเมืองต่างๆ ซึ่งไก่ยุคอุตสากรรมการเกษตรไม่สามารถตอบสนองให้ได้ ....
............
สำหรับแง่มุมคำว่าพัฒนาเพื่อแข่งขัน .... เราต้องอ่านตลาดเราให้ออกก่อนครับว่า ตลาดต้องการแบบใหน จากนั้นเราจึงผลิตออกมาให้ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งไก่ประดู่ มช. วันนี้ก็เดินมาได้ตรงแนวทางมากที่สุดในบรรดาการพัฒนาสายพันธุ์ไก่ในเมืองไทยแล้วล่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
markonikove
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1839
|
ตลาดไก่บริโภคในเมืองไทย บริษัทใหญ่ ยึดไปได้แค่ครึ่งเดียวนะครับ อีกครึ่งก็ยังเป็นของเกษตรกรไทย ที่ ซีพี เข้าไม่ถึง
ซึ่งเป็นไก่คนละเกรดกัน และ แยกออกจากกันอย่างชัดเจน
..............
ท่านเองก็ต้องศึกษาตลาดไก่ให้กระจ่างก่อนครับ .... เพราะท่านเองก็กำลังหลงอยู่กับ " ชื่อเรียก " มากไปจนทำให้ท่านสับสนระหว่าง ... ตลาดไก่บ้าน ที่เป็นเกรดสูง .... กับ .... ตลาดไก่สามสาย ที่เมื่อเข้าเมืองแล้วเขาจะใช้ชื่อคำว่า " ไก่บ้าน " ( แบบสมัยก่อน ที่ข้วหอมปทุม ทำข้าวหอมมะลิเสียหายเพราะพ่อค้าเห็นแก่ตัวใช้ชื่อซ้ำกัน )
ในขณะที่ ตลาดไก่บ้านเกรดสูง ไม่สามารถทำตลาดในตัวเมืองได้ เพราะความต่างของราคาขายที่สูงกว่ากันเยอะ เพราะต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูง และ ใช้ระยะเวลาเลี้ยงนาน
..........
ผมว่า ถ้าจะปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ไก่บ้าน เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมการเกษตร คงต้องพัฒนาไก่ให้เนื้อเหนียวมากๆ จนไก่อายุแค่ เดือน 2 เดือน ก็เหนียวเท่ากับไก่ชนอายุ 7 - 8 เดือนนั่นแหละ ..... ซึ่งในโลกนี้ก็ยังหาไก่แบบนี้ไม่ได้เสียด้วยซิ เลยไม่มีต้นพันธุ์ที่จะนำมาใช้ปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์
ส่วนเรื่องจะพัฒนาสายพันธุ์ให้เลี้ยง 5 - 6 เดือนแล้วใช้อาหารในระบบอุตสาหกรรมการเกษตรคุ้มทุน .... เอิ่มมมมม ขนาดไก่เนื้อ พวกไก่คอป ของ ซีพี เขายังทำไม่ได้เลย ( เขาถึงต้องเลี้ยงไก่แค่ 50 วัน เพราะถ้าเกินกว่านั้นเขายังขาดทุนเลย )
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2017, 08:31:18 PM โดย markonikove »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
markonikove
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1839
|
ไก่บ้านเกรดสูงที่ตลาดพื้นเมืองต้องการ จะแพงกว่าไก่ในอุตสาหกรรมการเกษตรราวๆ เท่าตัวโน่นเลยนะคับ ซึ่งเมื่อเข้าเมืองไปแล้ว คนเมืองเขาไม่ซื้อไก่แบบนี้กิน เพราะติว่าราคาแพง
เกษตรกรจึงผลิตไก่อีกแบบมาตอบสนองความต้องการของคนเหล่านี้ ซึ่งก็คือ ไก่สามสายเลือด ที่จะมีต้นทุนการผลิตในแบบอุตสาหกรรมการเกษตร แล้วขายในราคาตรงกลางระหว่างไก่บ้านเกรดสูง กับ ไก่เนื้อในอุตสาหกรรมการเกษตร
ซึ่งทำให้เมืองไทยเรามีตลาดไก่เนื้อหลักๆ อยู่ 3 ตลาด ( ไม่ใช่แค่ 2 อย่างที่ท่านเข้าใจผิด ) ..... นี่ยังไม่นับรวมไก่ดำ พวกนั้นอีกที่เป็นตลาดปลีกย่อย เล็กๆ น้อยๆ
ปล. ไก่พื้นเมืองดั้งเดิมเอามาทำไก่ทอด กินไม่อร่อยคับ ต้องใช้ไก่สามสายเลือดที่เลี้ยงแบบอุตสาหกรรมการเกษตร หรือ ไก่เนื้อสีขาวในระบบอุตสาหกรรมการเกษตร เท่านั้น
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2017, 08:33:44 PM โดย markonikove »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
farmer by finger
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2647
|
เป็นห่วง เกษตรกรรุ่นใหม่ๆ ครับ ผมอ่านเวปไซด์ และ เฟสบุ้คของเกษตรกรใหม่จำนวนมาก มักจะหาทางหลบ ไม่สู้กับตลาดของยักษ์ใหญ่ ด้วยการไปเลี้ยงสัตว์แปลกๆ เช่น ไก่บ้าน ไก่ต๊อก ไก่งวง แล้วจบด้วยการ ขายไม่ได้ และต้นทุนการผลิตของสัตว์พวกนี้ก็ไม่มีบันทึกกันจริงจังว่า ราคายุติธรรม มันควรจะเป็นเท่าไร บางคนเอาเงินที่เก็บสะสมมา จม ลงไปกับความไม่รู้ อย่างน่าเสียดาย
ในกระบวนการเลี้ยงสัตว์นี่ ไก่บ้าน ถือเป็นอันดับหนึ่งในการทำคนเจ๊งครับ เพราะ ลงทุนน้อย เริ่มเลี้ยงง่าย ราคาจูงใจ แต่ไม่มีบันทึกต้นทุนจริงกัน และ ไม่รู้เลี้ยงเป็นอาชีพแล้ว จะเอาไปขายที่ไหน (ไปตกใจตอนไก่โต มีภาระค่าอาหารแล้ว)
จึงเอามาลงไว้ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
markonikove
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1839
|
เขาเชื่อนักวิชาการเกษตร และ ตำราเรียน อันนี้ทำอะไรไม่ได้จริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
markonikove
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1839
|
ไก่ตลาดอุตสาหกรรมการเกษตร .... คุณต้องทำใจเรื่อง เป็นฟาร์มลูกเล้าเขา ที่มาพร้อมกับเงินลงทุนหลายล้านบาท ( การลงทุนมีความเสี่ยง การเดินทางไม่ได้เจอถนนที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ )
ไก่ในตลาดไก่บ้านตัวเมือง .... เราต้องเข้าระบบอุตสาหกรรมการเกษตร ที่เราต้องแบกรับความเสี่ยงทุกอย่างด้วยตัวเราเอง ( พ่อค้าไก่ เขาแค่รับซื้อเรา ซึ่งความไม่แน่นอนของปริมาณที่รับซื้อ เราต้องแบกรับความเสี่ยงตรงนี้เอง .... ถ้าเขาไม่ซื้อ หรือ ซื้อแค่บางส่วน เราก็จบแบบไม่สวยด้วยตัวเราเอง )
ตลาดไก่บ้านตามบ้านนอก .... มีความต้องการสูง อีกทั้งผลิตไม่พอขาย แต่เทคโนโลยีการผลิตหาไม่ได้ในตำรา และ นักวิชาการ ต้องสร้างขึ้นมาเอง ด้วยเหตุผลว่า มันไม่สามารถเลี้ยงแบบระบบอุตสาหกรรมการเกษตรได้ .... ส่วนหาตามท้องถิ่นต่างๆ องค์ความรู้ก็มีมั่ง ไม่มีมั่ง ใช้ได้มั่ง ไม่ได้มั่ง มั่วไปหมด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
mitrkaset
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 220
|
ถ้าเป็นไก่ไข่เลี้ยงตั้งแต่อายุ 1 วันถึง 17-18 สป.ไม่น่าจะกินอาหารถึง 9 กก. ไก่ไข่อายุ1-17 สป. กินอาหารสะสม 5.60 กก. ได้น้ำหนัก 1.44-1.50 กก. อาหารไก่ไข่เฉลีย 12 บาท/กก. %สูญเสีย 5% ต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ย 70 บาท/ตัว ไก่ไข่ระยะให้ไข่ กินอาหารเฉลี่ย 40 กก./ตัว/52สป. ไก่เนื้อกินอาหารเฉลี่ย 3.96 กก./ตัว ไก่พ่อแม่พันธุ์กินอาหารเฉลี่ย 50 กก./ตัว/ปี โคนมกินอาหารข้น 4.5 กก./ตัว/วัน กินหญ้า 7%ของน้ำหนักตัว หมูขุน 295 กก./ตัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
markonikove
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1839
|
ถ้าเป็นไก่ไข่เลี้ยงตั้งแต่อายุ 1 วันถึง 17-18 สป.ไม่น่าจะกินอาหารถึง 9 กก. ไก่ไข่อายุ1-17 สป. กินอาหารสะสม 5.60 กก. ได้น้ำหนัก 1.44-1.50 กก. อาหารไก่ไข่เฉลีย 12 บาท/กก. %สูญเสีย 5% ต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ย 70 บาท/ตัว ไก่ไข่ระยะให้ไข่ กินอาหารเฉลี่ย 40 กก./ตัว/52สป. ไก่เนื้อกินอาหารเฉลี่ย 3.96 กก./ตัว ไก่พ่อแม่พันธุ์กินอาหารเฉลี่ย 50 กก./ตัว/ปี โคนมกินอาหารข้น 4.5 กก./ตัว/วัน กินหญ้า 7%ของน้ำหนักตัว หมูขุน 295 กก./ตัว
ไปเอาตำรามาอ้าง ระวังคนเขาไม่รู้มาอ่านเจอกดเครื่องคิดเลข มันใช่เลย ว่าแล้วก็ลงมือ ..... โป้งเดียวเจ๊งเอานะคับ ท่าน ฟาร์มบายฟิงเงอร์ ก็พยายามติงด้วยความเป็นห่วงตรงนี้อยู่ ... ผมก็ยังพูดอยู่ว่า ช่วยอะไรคนเหล่านี้ไม่ได้ เพราะเขาเชื่อนักวิชาการเกษตร และ ตำรา เลยต้องเจ๊งหมดตรูด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 14, 2017, 08:24:24 PM โดย markonikove »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
mitrkaset
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 220
|
ตัวเลขนี้มันเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เกษตรกรระดับฟาร์มเขารู้อยู่แล้วว่าสัตว์แต่ละประเภทกินอาหารสะสมเท่าไหร่ มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน( ADG) มีอัตราแลกเนื้อ (FCR) อัตราการสูญเสียเท่าไหร่ ผลิตปศุสัตว์แล้วมีกำไร มีตลาดรองรับหรือไม่ มีข้อได้เปรียบเรื่องปัจจัยการผลิตมีต้นทุนต่ำหรือไม่ จึงวางแผนการลงทุน วางระบบบัญชี งบประมาณรายรับ-รายจ่าย และการทำเกษตรไม่ว่าจะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ ระดับรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ ต้องอาศัยวิชาการ ความรู้ทางด้านสายพันธุ์ ความรู้ทางด้านอาหารสัตว์ การจัดการ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะ สม ศึกษาหาความรู้และใช้องค์ความรู้ใหม่ๆมาวิเคราะห์ และลงมือทำฟาร์มปศุสัตว์ จึงจะประสบความสำเร็จครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
markonikove
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1839
|
ตำรากะทำงานจริง มันคนละเรื่องครับ
มันใช้ได้จริงๆ แค่ฟาร์มขนาดใหญ่เท่านั้น ส่วนระดับฟาร์มเกษตรกร แวริเอชั่นมันสูงเกินไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
farmer by finger
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2647
|
คุณ มิตรเกษตรครับ ข้อมูล โอเค ครับ
คนที่รู้แล้ว ผมไม่ห่วงหรอกครับทำไปก็ผิดพลาดไม่ถึง10%หรอก
ที่เอามาโพสไว้ คือ ห่วงน้องๆ ถึง ลูกๆหลานๆ ที่เก็บเงิน(ด้วยความอุสาหะ)มาได้ก้อนนึง แล้วอ่านข้อมูลจากเน็ต ไม่รู้ ถูก หรือ ไม่ถูก แล้วพยายามจะทำ ครับ บางคนเงินสูญไปอย่างน่าเสียดาย เพราะ ข้อมูลผิดๆ กว่าจะหามาชดเชยได้ อีกหลายเหนื่อยเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Puifai
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 162
|
ถามด้วยครับ ถ้าเลี้ยงไก่เบตงทำยังไงถึงจะมีกำไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
markonikove
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1839
|
ไก่เบตง ถ้าเลี้ยงแบบขายเนื้อเป็นกิโล ขาดทุนแน่ๆคับ คนที่เขาเลี้ยงๆกันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าไม่เลี้ยงเพื่อเอาไว้ดูเล่น ก็พวกขายพันธุ์ตัวละหลายๆร้อย หรือเป็นพันบาท
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
farmer by finger
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2647
|
การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบถึงอัตราการเจริญเติบโต ระหวางไกพื้นเมืองเบตงและไกลูกผสมระหวางเบตง+โรด และ เบตง+บาร โดยไดรับการเลี้ยงดูดวยอาหาร และการจัดการที่ เหมือนกันทุกอยางโดยภาพรวม ลักษณะตางๆ ไกพื้นเมืองเบตง, เบตง+บาร, และเบตง+โรด ไมมีความแตกตางกันทางสถิติ (P>0.05) โดยที่ผลจากการศึกษาสรุปไดวาอัตราการเจริญเติบโต เมื่ออายุ 12 สัปดาห เทากับ 785.07, 797.97 และ 746.37 กรัม ตามลําดับ สวนประสิทธิภาพการใชอาหารเทากับ 4.93, 5.568 และ 6.10 ตามลําดับ จะใหไขฟองแรกเมื่ออายุ 168, 192 และ 182 วัน ตามลําดับ น้ําหนักตัวเมื่อเริ่มไขเฉลี่ย 1694.67, 1739.00 และ 1748.33 ตามลํำดับ
งานวิจัยสมัยโบราณ อ่านยาก ครับ ทำเป็นตารางเอาจะเข้าใจง่าย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
farmer by finger
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2647
|
สรุปแบบนี้ครับ ไก่เบตง เบตง+โร้ด เบตง+บาร์
นน.เมื่ออายุ12สัปดาห์ 785 797 746 อัตราแลกเนื้อ ที่ 12สัปดาห์ 4.93 5.57 6.10 (แปลว่า)1 ตัวกินอาหาร (กก.) 3.74 4.39 4.55 แต่เลี้ยง 12สัปดาห์ น้ำหนักมันยังขายไม่ได้ เราจะเลี้ยงกี่สัปดาห์ดี
อายุเริ่มไข่ 168วัน 192วัน 182วัน หรือ 24สัปดาห์ 24-25 สัปดาห์ 26 สัปดาห์ นน.เริ่มไข่ (กก.) 1.694 1.739 1.748
ดูแบบนี้เราก็พอประมาณได้ว่าต้องเลี้ยง 25-26 สัปดาห์ละ กว่าจะขายได้ ลองประมาณดูต้นทุนเอาครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|