89. ว่านเปราะหอมป่า --> แหล่งที่มา : K.mampopularity
สวย และ ชอบลายใบเค้ามากค่ะ ลายแบบว่านนกคุ้มเลยค่ะ ... ขอบคุณสำหรับการบ้านค่ะ
ตอนนี้มีใบใหม่งอกออกมาคลุมจนมิดใบเก่า เสียดายใบเก่าที่อยู่ใต้ใบลายสวย แต่ใบใหม่ลายไม่ค่อยออกสงสัยอยู่ร่มไปหน่อยค่ะ
ดอกบานแทบจะทุกวันเลยค่ะ
ดีใจค่ะที่ชอบ ใบสามารถนำไปผัดเหมือนผักทั่วไปได้ด้วยค่ะ (ไม่เคยลองทำ

)
ข้อมูลเพิ่มเติม
เปราะหอม
ชื่อท้องถิ่น : ว่านตีนดิน , ว่านหอม , เอื้องดิน(ภาคเหนือ) ; ซู(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; ว่านนอนหลับ , ว่านแผ่นดินเย็น , ว่านหมูน(เชียงใหม่) ; ว่านส้ม(ขอนแก่น) ; เปราะ , ว่านชะมด , หอมเปราะ(ภาคกลาง) ; ว่านหาวนอน(ราชบุรี) ; เปราะป่า(ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia galanga Linn.
ลักษณะลำต้น : ไม้เลื้อย มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน เปราะหอมมีอยู่ด้วยกัน2ชนิด คือ เปราะหอมขาว และเปราะหอมแดง ทั้ง2ชนิดจะแตกต่างกันตรงสีของใบและดอกเท่านั้น
ลักษณะใบ : ออกใบในช่วงฤดูฝน และเหี่ยวเฉาตายในช่วงฤดูหนาว ต้นหนึ่งมี 1-3 ใบ ใบอ่อนจะม้วนเป็นกลมๆแทงขึ้นมาจากหัวหรือเหง้า มีสีเขียวอ่อนอมม่วง ใบแก่เต็มที่จะแผ่ออกแบนราบติดกับพื้นดินเป็นรูปหัวใจหรือเกือบกลม สีเขียว มีขนาดเท่าๆฝ่ามือ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบมน ใบของเปราะหอมทั้ง2ชนิดต่างกันตรงที่เปราะหอมขาวมีท้องใบสีขาวหรือสีขาวนวล ส่วนเปราะหอมแดงมีท้องใบสีแดง ออกใบในช่วงฤดูฝน และเหี่ยวเฉาตายในช่วงฤดูหนาว
ลักษณะดอก : เปราะหอมทั้ง2ชนิดจะออกดอกเดี่ยวกลางต้น แต่ต่างกันที่สีของดอก คือ เปราะหอมขาวมีดอกสีขาว ส่วนเปราะหอมแดงมีดอกสีแดง และหาพบได้ยากกว่า ทั้ง2ชนิดออกดอกในราวเดือน พ.ค. – ก.ค.
แหล่งที่พบในไทย : พบขึ้นตามพื้นที่ชุ่มชื้นบริเวณป่าพื้นราบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบทั่วทุกภาค
แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน
สรรพคุณ : 1) “หัวหรือเหง้า”ใช้ผสมกับสมุนไพรตัวอื่นเพื่อรักษาโรคตับ 2) “เหง้าและใบ”ใช้ทานเป็นผักสด นอกจากนี้ในภาคเหนือจะใช้น้ำคั้นจากเหง้าและใบลูบศีรษะของควายเพื่อไม่ให้ตื่นตกใจ 3) “ใบอ่อน”ใช้นำไปแกงปลาเพื่อดับกลิ่นคาว และ 4) ทุกส่วนของพืชชนิดนี้หากใช้ในปริมาณมากหรือให้คนป่วยทาน อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้