ท่าน Nine. ครับ
สนุกสนานกันครับ มีเรื่องเฮฮาตลอดทาง อากาศค่อยยังชั่วไม่ร้อนมาก
เพราะรถตู้คุณแปร๋นของทิดโสแอร์เสีย ยังไม่มีจังหวะซ่อมเลย
ก็ไปกันแบบลมธรรมชาติครับ เปิดกระจกวิ่ง ก็สบายดี 5555
ท่าน mahajoan ครับ
ยังมีไม้อีกหลายพันธุ์ครับ ที่มีความสำคัญและเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ
ว่าง ๆ จะมาเล่าสู่กันฟังครับ
วันนี้ ขอพูดเรื่องที่ทำให้คนทั้งประเทศเข้าใจผิดกันมานานสักหน่อยครับ
พอดีผมไปเจออยู่ในบริเวณอุโบสถวัดไชโยฯ เช่นกัน คือต้นสาละลังกาหรือต้นลูกปืนใหญ่

นี่คือสาละลังกา ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Couroupita guianensis Aubl. เป็นไม้ในตระกูลจิก
มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาใต้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแม้แต่น้อย
แต่คนเข้าใจผิด เห็นเรียกสาละฯ ก็ไพล่ไปคิดถึงสาละอินเดีย ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ
เพราะไม้สาละอินเดีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea robusta C.F. Gaertn. มีถิ่นกำเนิดในเนปาลเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติที่สำคัญ 3 เหตุการณ์
ประสูติ บนเส้นทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ มีสวนชื่อว่า ลุมพินีวัน
พระนางสิริมหามายทรงประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละใหญ่ และขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์
และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร ซึ่งตรงกับวันศุกร์ วันเพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
คำว่า “สิทธัตถะ” แปลว่า “สมปรารถนา”
ตรัสรู้ เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจุอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว
ได้ทรงอธิษฐานว่า ถ้าพระองค์ได้สำเร็จพระโพธิญาณ ขอให้การลอยถาดทองคำนี้
สามารถทวนกระแสน้ำแห่งแม่น้ำเนรัญชลาได้ เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด
ปรากฏว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละใหญ่
ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งบนบัลลังก์ภายใต้ร่มเงาต้นโพธิ์
และได้ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในเวลารุ่งอรุณยามสาม ณ วันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45
ปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก
ได้เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญเดือน 6
วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช ได้ประทับในบริเวณสาลวโณทยาน พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก
จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ
ระหว่างต้นสาละใหญ่ 2 ต้น แล้วพระองค์ก็ทรงเอนพระวรกายลง
ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือการนอนครั้งสุดท้าย
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา (นอนตะแคงขวาพระบาทซ้ายซ้อนทับพระบาทขวา)
และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน
ต้นสาละอินเดียที่ว่านี้ จะอยู่ในวงศ์ต้นพะยอม เต็ง รังครับ

ไปละ อิอิอิ
