หน้า: 1 ... 173 174 175 176 177 178 179 180 181 182 [183]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมพล คนปลูกมัน ... สำปะหลัง  (อ่าน 1991044 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
M@korat
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9


« ตอบ #2912 เมื่อ: เมษายน 25, 2018, 06:44:47 PM »

แถวๆบ้านนิยม MR 89 กับ ระยอง 72 ( 81  )
ไม่ฟันธงนะครับ พันธุ์ดีปลูกแล้วได้ผลผลิตดีจากที่อื่น นำมาปลูกที่สภาพดินเราอาจจะไม่ดีก็ได้


ก๊อปมาเช่นเคยนะครับ( .sut.ac.th )

ไม่จำเป็นต้องหาพันธุ์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา มันสำปะหลังส่วนใหญ่ที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร
 จะเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง  ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องพิจารณาเองว่า มันสำปะหลังพันธุ์เหล่านี้เหมาะสม
ที่จะปลูกในสภาพพื้นที่ของตัวเองหรือไม่  อาจจะทดลองปลูกในพื้นที่น้อย ๆ ก่อน
ถ้าพันธุ์ใดเหมาะกับพื้นที่ของเราแล้วค่อยขยายพันธุ์เพิ่มในปีต่อไป
มันสำปะหลังแต่ละพันธุ์อาจจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน

อายุ 12 เดือน

ระยอง 9........  4.94 ตัน/ไร่   ........% แป้ง....30.8
ระยอง 5......... 4.81 ตัน/ไร่...........% แป้ง....25.5
ระยอง 72........ 5.46 ตัน/ไร่..........% แป้ง....23.5
ระยอง 90........ 4.99 ตัน/ไร่..........% แป้ง....27.5
เกษตรศาสตร์ 50......4.99 ตัน/ไร่......% แป้ง....25.6



Liked By: panejon
บันทึกการเข้า

t.hnongkinpen
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 132


« ตอบ #2913 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2018, 09:42:26 PM »

  เรื่อยเปื่อย 4  ค่า PHหรือความเป็นกรดหรือด่างของดิน
 


 ค่าความเป็นกรดด่างของดิน หรือ พีเอช (pH)
 จะบอกค่าตัวเลขตั้งแต่ 0-14 หากดินมีค่าพีเอชน้อยกว่า7 ดินนั้นจะเป็นดินกรด  ยิ่งน้อยกว่า 7 มากก็จะเป็นกรดมาก
ถ้าดินมีพีเอ็ชมากกว่า 7จะเป็นดินด่าง แต่ปกติแล้วพีเอชของดินโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 5-8 หากดินมีพีเอชเท่ากับ 7
 แสดงว่าเป็นกลาง ความเป็นกรดเป็นด่างของดินจะเป็นตัวควบคุมการละลายหรือการตรึงธาตุอาหารในดินออกมาอยู่ในรูปสารละลายในดิน
เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ ได้
 ช่วงพีเอส 6.2-6.8เป็นช่วงที่ธาตุอาหารทั้งหมดที่จำเป็นแก่พืชจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ มากที่สุด
แต่ที่ค่า 5.5 ขึ้นไปหา6.8 ก็เป็นค่าที่ ธาตุอาหารหรือสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชละลายและพืชดูดซึมไปใช้ได้ดีเช่นกัน
ดังนั้นถ้ามันเป็นกรดมากๆ ค่า PH อาจจะต่ำมาก เราปรับPH ให้ขึ้นมาได้ที่ ซัก 5.5 ก็ดีแล้วครับ แล้วค่อยๆปรับเรื่อยๆ
  พีเอชสูงกว่า 6.8  อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุ ฟอสฟอรัสและธาตุเสริม เช่น เหล็ก (Fe),แมงกานีส (Mn) ,
สังกะสี (Zn),ทองแดง (Cu) , และโบรอน (Bo)
หากพีเอชต่ำกว่า 5.3 อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุแคลเซียม (Ca),แมกนีเซียม(Mg) ,กำมะถัน (S) และโมลิบดินัม (Mo)
ได้ หรือพืชจะแสดงอาการเป็นพิษจากแมงกานีส (Mg),มากเกินไป  แต่พืชบางชนิดอาจเจริญได้ดีที่เป็นกรด หรือเป็นด่างมากกว่านี้
...พูดง่ายๆ คือธาตุอาหารมันมีในดิน หรือมีเพราะเราให้แต่ พืชจะไม่สามารถเอาไปใช้ได้เพราะค่า PH หรือค่าความเป็นกรดด่างของดินเรา
ไม่เอื้อำนวยให้มันถูกปลดปล่อยเข้าไปในดินนั้นเอง ทำให้เกิดคำว่า ปุ๋ยตกค้างหรือสารอาหารธาตุอาหารตกค้างในดินนั่นเอง
  ค่าพีเอชสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดพีเอช (pH meter)

 การ ปรับดินด้วยสารปรับปรุงดิน เพื่อทำให้ค่า PH มาอยู่ที่ค่าเป็นกลางหรือไกล้เคียง และดินเราพร้อมจะรับปุ๋ยเคมีทุกรูปแบบ ไม่ใช่อย่างนั้นนะครับ
ประโยชน์ ต่างๆที่ดินเราจะได้รับไม่ใช่ว่า มันมาอยู่ค่าที่เขาว่ากันว่าดีแล้วงัย แล้วงัยต่อ  คือปกติเราจะปรับปรุงและบำรุงดินด้วยพวกขี้ไก่ขี้วัว หรือปุ๋ยคอกอื่นๆ
ซึ่งแน่นอนธาตุอาหารมันยังคงไม่เพียงพอ และเราต้องใช้จำนวนมาก แต่ถึงจะมากแค่ในธาตุอาหาร ก็ยังไม่ครบถ้วนเพียงพอ
การปลูกพืชบางอย่างอาจใช้สารอาหาร น้อยชนิด การปรับปรุงพืช ด้วยปุ๋ยคอกก็อาจจะเพียงพอ แต่การปลูกพืชอีกหลายชนิด แค่ปรับปรุงด้วยการใส่ขี้ต่างๆนั้นไม่พอแน่นอน

  การใช้สารปรับปรุงดินหลังทราบค่า PH ของดินเราแล้ว ด้วยสารปรับปรุงบำรุงดิน ที่จะได้ตามมาคือพวกสารปรับปรุงดิน อย่าง โดโลไมท์ ยิปซั่ม และปูนขาว
ล้วนแล้วแต่มี แคลเซี่ยม ปริมาณมาก แคลเซี่ยมถือว่าเป็นธาตุรอง นอกจาก พวก N-P-K นอกจากนี้ ถ้าใส่โดโลไมท์ จะได้แคลเซี่ยม และ แมกนีเซียม
และในโดโลไมท์ มีธาตุ หลัก อย่าง N(ไนโตรเจน) P(ฟอสฟอรัส) และK(โพแทสเซี่ยม) อยู่ด้วย
ในปริมาณ 50กิโลหรือ1กระสอบเทียบกับปุ๋ยเคมี NPKมันอาจจะมีน้อย แต่เราใส่ที เราใส่ทีละมาก ซึ่งโดโลไมท์ เราใส่ ต่อไร่เยอะมาก 200-500กก.ต่อไร่
หรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งราคาโดโลไมท์ ถูกกว่า ปุ๋ยเคมีอยู่มาก หลายเท่าตัว อยู่แล้ว เมื่อต้นทุนเท่าๆกันจะได้ พวกสารปรับปรุงดินเยอะกว่ามาก
  และถ้าใส่ ยิปซั่ม จะมีแคลเซี่ยมและกำมะถัน  ธาตุหลักอาจจะมีน้อยมากเมื่อเทียบกับโดโลไมท์หรือไม่มีเลย
..ปูนขาว ก็จะมีในส่วน แคลเซี่ยม ในปริมาณที่มากพอสมควร ซึ่งป฿นขาวที่มีความบริสุทธิ์ สูงก็จะให้แคลเซี่ยม ในเปอร์เซนต์ที่สูงด้วย

...ทุกวันนี้เท่าที่ดู ทุกตำบลน่าจะมี เกษตรตำบลอยู่แล้ว อยากรู้อยากทราบ ค่าPH ก็ลองติดต่อเกษตรตำบล ให้เขาลองประสานกับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องให้ครับ  มันสำคัญชนิดที่ชาวเกษตรกร รุ่นใหม่อยากเราๆต้องรู้ให้ได้ครับ มันทำให้ได้เปรียบในเรื่อง ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตอย่างยั่งยืนจริง
และทำให้ดินเราดีขึ้นแน่นอนครับ

...........อ่านเรื่อง การปรับค่าPH ของดินให้เข้าใจ และรู้ถึงแก่นแท้ ให้ดีๆครับผมจะปูทางไปเข้าเรื่อง
ที่มันเกี่ยวข้องและประโยชน์ที่จะได้รับในส่วนการทำ มันสำปะหลังครับ มันเกี่ยวข้องโดยตรงและเอื้อประโยชน์กับการเพิ่มผลผลิตมากจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
t.hnongkinpen
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 132


« ตอบ #2914 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2018, 09:42:44 PM »

 เรื่อยเปื่อย 5 ปรับสภาพดิน ด้วยสารปรับปรุงต่างๆที่มี แคลเซี่ยม (Ca)
 

  จากรูป  รูปนี้เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว และตอนนี้ก็ยังปลูกมันสำปะหลังอยู่ ทุกปี แต่ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นในสภาพดินร่วนทราย(ทรายส่วนมาก)
ที่มันเพิ่ม จากที่ว่าเคยได้เยอะ อยู่แล้ว ส่วนประกอปก็ ต้องยอมรับว่าทั้งเรื่อง การทำตามขั้นตอนอันพึงกระทำในการปลูกหรือทำมันฯ
ทั้งเอาหญ้า(คลุม+ฆ่า) ปุ๋ยตามช่วงอายุ  แต่ดูสีและสภาพดินครับ มันจะได้ซักเท่าไหร่กันเชียว.....ใช่มั๊ยครับ

..............

 ทั้งนี้มันจะยังได้เยอะเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นมากหรือน้อย เท่าไหร่ก็แล้วแต่ มันจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าเรา ไม่บำรุงดิน หรือปรับปรุงดินไปด้วย
ในทุกๆปี  ซึ่งของผม พอดีเลี้ยงวัว ก็ใส่ขี้วัว ทุกปี แต่ก็ต้องยอมรับว่าขี้วัวคุณประโยชน์ไม่ได้จะครอบคลุม ในทุกกระบวนการ
การเพิ่มผลผลิตของมัน สำปะหลังเรา อย่าว่าแต่ขี้วัวครับ จะขี้ไก่หรือ ปุ๋ยเคมีรองพื้นต่างๆ ก็ตามครับ

................................................


  ในขั้นตอนทุกขั้นตอนที่เราบำรุงหรือเสริมเพื่อปลายทางที่เพิ่มขึ้นแบบคุ้มทุนคือ หัวมันที่สมบูรณ์ หัวใหญ่แป้งดี
น้ำหนักเยอะ  การใส่ขี้วัว ที่เป็นของที่เราหาได้ ก็ถือว่าลดต้นทุนเยอะครับ ผลผลิตเพิ่ม ดินก็ค่อยๆฟื้นสมบูรณ์
ถ้าไม่มีขี้ต่างๆเป็นของตัวเองก็ต้องซื้อ หลายคนก็เน้นไปหาขี้ไก่ใส่แล้วมันงามมาก


  แต่ถ้าสภาพดินของท่านเลวมาก ทรายร่วน ร่วนทรายประมาณภาพข้างบนหรือเลวร้ายกว่านี้
ถ้าท่านจะต้องเสียเงินเสียทอง  จ่ายเงินในกระเป๋า  เพื่อซื้อหาอะไรมาปรับปรุงสภาพดินท่าน 
ผมแนะนำปูนขาว  หรือ โดโลไมท์หรือยิปซั่มซึ่งทั้งสามตัว มีแคลเซี่ยม (Ca)อยู่สูงมาก หลายท่านและหลายคนแถวบ้าน
ยังเข้าใจว่า ปูนขาวมีประโยชน์แค่ช่วยในเรื่อง ฆ่าเชื้อโรคที่หมักหมมสั่งสม ในดินกรณีพืชผักที่ปลูก มีโรครุม แค่นั้นเอง
เลยซื้อหามาใส่แบบ  บางๆ หว่านชนิดแค่กระสอบหนึ่งต่อไร่ก็หรู  จริงๆปูนขาวและโดโลไมท์ หรือยิปซั่ม (เอาแค่ประโยชน์กับมันสำปะหลังก่อน)
มันโคตรมีประโยชน์มหาศาลมากมาย 
....................................
  ปูนขาวและโดโลไมท์หรือยิปซั่ม(เป็นวัตถุคนละประเภทนะครับ) สามารถ ปรับค่า PHของดินไปได้ด้วย (ยกเว้นยิปซั่มที่ไม่ค่อยมีผลในการปรับค่า PH)
ทั้ง3มีปริมาณ แคลเซี่ยม (Ca)ในปริมาณมาก  แต่การจะปรับค่า PH ด้วยอะไรนั้นเราต้องรู้จากการตรวจหรือเข้าใจลักษณะว่าดินแบบนี้นะจะเป็นกรดหรือด่างก็ได้
อย่าไปทึกทักว่าสารปรับปรุงดิน ใส่มากๆแล้วดินมันจะเค็ม (เป็นกรด หรือPHต่ำมาก) เพราะสารปรับปรุงดินมีทั้ง ตัวที่ทำให้ดิน หายเป็นกรด หรือดึงให้ค่าPHสูงขึ้น
และหรือทำให้ดินกลายเป็นดินเค็มหรือกลายเป็นกรดหนักกว่าเดิมอีก เพราะฉนั้นจะต้องดูและทำความเข้าใจให้ดีๆ และที่สำคัญ ต้องรู้จะสถานะค่าPHของดินเราให้ได้ก่อนปรับจะดีมากๆครับ

ไอ้เจ้า แคลเซี่ยม (Ca)จะไปทำการดึงหรือทำให้พืชเพิ่มประสิทธิภาพในการ สังเคราะ ไนโตรเจนได้อย่างดีเยี่ยม
ถ้าใส่ หรือรองพื้น ด้วยปูนขาวหรือโดโลไมท์หรือยิปซั่ม ปริมาณ200-500กิโลกัม/ไร่ จะช่วยบำรุงและปรัปรุงในระยะยาว และประกอปกับใส่พวก
ปุ๋ยคอกพวกขี้ต่างๆเข้าไปด้วยแล้ว ท่านจะลดการใช้ปุ๋ยต่างๆที่เคยให้มันสำปะหลังลงได้ ไม่ว่าจะช่วงเอาต้นรากและใบ(ช่วง1-3เดือน)
และเอาหัว(4-6-8-10)เดือน   ปูนขาวและโดโลไมท์ หรือยิปซั่มใส่ปีนี้ในปริมาณนี้ปีต่อไปก็ค่อยๆลดได้หรือ ถือเห็นด้วยตาแล้วว่ามันช่วยเพิ่มผลผลิต
ได้สูงมากและเกินจุดคุ้มทุนมากจะใส่ปริมาณ เท่าเดิมก็ได้  แต่อย่าลืมหาเวลาเอาดินไปวัดค่า PH ด้วยก็ดีถ้ามันอยู่ในค่าที่
พอดีที่เหมาะกับการปลูกมันแล้ว ก็ลดปริมาณลง เน้นบำรุงดินด้วย พวก ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกครับ

................

ธาตุแคลเซียม เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น
 ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ด พืชจะมีความจำเป็นต้องใช้มาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนช่วยให้พืชโดยเฉพาะมันฯสังเคราะห์โพแทสเซี่ยม(K)
เกิดการสร้างอาหารสร้างแป้งมหาศาลและช่วยในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาพวกแป้ง(คาร์โบไฮเดรต)และโปรตีนในพืช
เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป ประกอบกับเป็นองค์ประกอบของสารที่เชื่อมผนังเซลล์ ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด
และช่วยให้เอ็นไซม์ท างานได้ดี
นอกจากนี้แคลเซียมยังเกี่ยวข้องกับการคายน้ำเพราะฉะนั้นในสภาพอากาศที่ร้อนต้องให้แคลเซียมมากขึ้น การใช้สารปรับปรุงดินที่มีแคลเซี่ยมเป็นส่วนประกอป
จึงมีประโยชน์มากมายหลายอย่างหลายด้านครับ

.......ยังมีเรื่องดีๆเกี่ยวกับการปรับปรุงดิน หรือปรับPH ของดินที่ส่งผลกับการทำมันสำปะหลังอีกเยอะครับ
บันทึกการเข้า
t.hnongkinpen
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 132


« ตอบ #2915 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2018, 09:44:07 PM »

เรื่อยเปื่อย 8 ความสัมพันธ์ ระยะปลูก/หญ้า/แสง/ การสร้างแป้ง

  เมื่อก่อนยุคการทำมันฯเป็นเรื่องของคนยุคเก่า ซึ่งก็คือพ่อแม่ ปู่ย่าเรา  เราเองไม่สามารถออกเสียงใดๆได้
แต่จริงๆเราก็ไม่ได้รู้เรื่องหรือหลักการใดๆ อยู่แล้ว  ได้แต่ทำตามไปเรื่อยๆ

   ที่สังเกตุเห็นอย่างนึง คือมันฯที่ปลูกระยะนจะชิดกันมาก ดูแล้วยังกะหว่านเอาซะงั้น พอรู้ที่มาที่ไปของคนยุคนั้นคือ
ปลูกห่างเอาหญ้าลำบาก  ถ้าปลูกห่าง พอดายหญ้าหรือทำรุ่นเสร็จที่ปลายไร่ก็ต้องย้อนมาเริ่มทำที่หัวไร่ใหม่
เป็นอันว่าไม่ต้องทำอะไร  เพราะความที่ว่าสมัยก่อน พ่อแม่หรือคนรุ่นเก่า  ทำเกษตรหลายอย่างเสร็จจากไร่ ต้องลงนา  ดำนาเสร็จ ค่อยย้อนมาทำรุ่นมันฯ
อยู่อย่างนี้  เลยต้องเลือกวิธีที่จะทำมันฯให้ เป็นเรื่องไม่ยุ่งยาก เพื่อให้มีเวลาไปทำอย่างอื่นได้ ที่ยังไม่ใช่การทำงานประจำแบบคนรุ่นเรา

  คือปลูกมันให้ระชิดเข้าไว้  พอดายหญ้าหรือทำรุ่นเสร็จ ใส่ปุ่ย ครั้งแรกมันก็จะเริ่มใบชิด  อันนี้คือระหว่างต้น ก่อน
พอดำนาเสร็จ กลับมาทำรุ่นครั้งสอง ตอนนี้หญ้าระหว่างต้นจะน้อย แต่ระหว่างแถว มองไม่เห็นดิน  พอทำรุ่นครั้งสองเสร็จ มันฯก็ปาเข้า อายุ2-3ดือนทีนี้จะใส่ปุ๋ยหรือไม่
ด้วยความที่แถวมันชิดอยู่แล้ว ใบยอดก็จะแทงและแตกพุ่มชิด กันในเวลาอันสั้นหลังทำรุ่น ครั้งที่2  หญ้าก็จะเกิดขึ้นยาก เกิดนะเกิดมีน่ะมี  แต่น้อย ด้วยความที่โดนใบมัน
ปกคลุม ก็เหมือนเอากะลาครอบต้นหญ้าไว้พอไม่โดนแสงก็ ไม่เกิด ที่เกิดก็ไม่โต  ที่ดตก็บางประเภทเท่านั้น

  แต่สมัยแต่ก่อน ดินยังดีอยู่ ถึงใส่ปุ๋ยำไม่มากแต่มันก็มีหัวเยอะ  แต่แค่ไม่โต หัวไม่หนักไม่ใหญ่  เพราะระยะมันชิด ที่6เดือนมันเริ่มทิ้งใบ เพราะใบข้างล่างไม่โดนแสง แล้วจะเอาจากใหนสร้างแป้ง  นั่นมันเรื่องสมัยโน้น ผมก็ไม่รู้ คนรุ่นโน้นก็ไม่รู้ รู้แต่ว่า คิดเอาว่า  ปลูกมันชิด คลุมหญ้าได้คลุมหญ้าอยู่เร็ว กลายเป็นภูมิปัญญา
แต่เป็นภูมิปัญญาที่คนรุ่นใหม่อยางเราควร แตกแถวออกมา คิดใหม่ ทำใหม่ พยายามอย่าไปยึดติด

  กรมวิชาการเกษตร และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชไร่  เขาได้ทดลองเกี่ยวกับมันในทุกๆด้าน นั่นแหละครับ แต่การเผยแพร่แนะนำเขาจะแนะนำ
ในสภาพดินที่ ชาวเกษตรกรส่วนใหญ่ มีในมือ  แนะนำสายพันธ์ ที่เหมาะกับดินในมือ  แนะนำสายพันธ์ที่ เหมาะกับท้องถิ่นหรือความเหมาะด้านความเอาใจใส่ของเรา
***แต่ทั้ง 2 หน่วยงานเขาก็ได้ทดลองในแบบสุดขีดหรือตกขอบ ประมาณว่า ถ้าลงทุนเต็มที่ มันจะได้ผลประมาณใหน  ปลูกระยะห่างทั้งแถวทั้งต้น แบบมีเวลาดูแลเต็มที่ ได้ผลเท่าไหร่คุ้มทุนมั๊ย เหมาะกับเกษตรกรตาดำๆทุนน้อยมั๊ย  เขาลองมาหมดครับ  แต่....แต่ก่อนราคามันฯ มันยังถุกมาก ถ้าทุ่มทุนและมีเวลาให้มันก็ยังมีความคุ้มทุน
แต่จะมีซักกี่คนที่ตั้งใจและบ้าทำ***
     นั่นมันเมื่อก่อน ลานมันน้อยราคาถูก แต่ทุกวันนี้อะไรที่ 2หน่วยงาน ทดลอง และมาวัดกับราคาปัจจุบันและเลย จุดคุ้มทุนมาเยอะ  เขาและอีกหลายคนกำลังช่วยกันโปรโมต แนะนำ แต่พลังของเขาทั้งหลายที่หวังดี  ยังน้อยอยู่ครับ มันรวมไปถึงเรื่อง ระบบน้ำหยด การปลูกมันแบบ ระยะต้นและแถวห่างด้วย

   นอกเรื่องมาไกล  เข้าเรื่องเลย พิมพ์ยาวไม่รู้จะมีใครอ่านมั๊ย
  ***การปลูกมันฯห่างๆกันมากๆข้อเสียชัดเจนมากคือ หญ้าขึ้นเร็วบ่อย+เยอะ และการทำรุ่นหรือเอาหญ้าจะให้สำเร็จต้อง มี2-3 ครั้งครับ
ต้องคลุมหญ้า ด้วยยาฉีดคลุมหญ้า การเอาหญ้า เน้นฉีดยาฆ้าหญ้า  อันนี้เป็นประเด็นหลายคนต่อต้าน หลายคนไม่สนใจขอแค่หญ้าตาย
แต่เชื่อเถอะว่า  การเอาหญ้าด้วยวิธี ฉีดพ่นด้วยยาฆ้าหญ้า คือวิธีที่ดีที่สุดครับ จริงๆท่านที่ต่อต้านมีทางเลือก  เพราะทุกวัยนนี้มันมีแบบ ชีวภาพที่ผ่านห้องแลบมาแต่พอมีคำถามอีกว่า มันราคาแพงกว่าเคมี จะคุ้มเหรอก็ต้อง บอกว่า ถ้าราคามันฯ เกิน 1.6-1.8 บาท คุ้มแน่นอนครับ
มาว่ากันต่อที่ว่า เอาหญ้าต้องมี2-3 ครั้ง ถึงจะได้ผลสุดขีด  และการปลูกมันห่างๆ มันก็อำนวยต่อการ เข้าไปหว่านปุ๋ยหรือฉีดฮอร์โมนถึงแม้มันจะอายุ 5-6 เดือนไปแล้ว
  แต่ก่อนมันอายุ4 เดือนก็ไม่สามารถเข้าไปถอนหญ้าหรือ ฉีดพ่นอะไรใดๆได้แล้ว เพราะมันสูงใหญ่ชิดกันแบบหนามาก

  พอเราปลูกห่างๆ อันนี้โฟกัสระยะแถว  ยิ่งถ้าได้ตามรูป  จะเห็นเลยว่า ถ้าไปกว่านี้อีก2-3เดือน คาดว่า ใบก็ไม่ถึงกัน จะทำให้แสงส่องถึงใบทั่วต้นครับ
ไอ้แสงที่ส่องทั่วต้นนี่แหละครับสำคัญนักในช่วง สังเคราะอาหารไปเก็บไว้ในรูปแป้งที่หัวมัน  1-4 เดือน ต้องสร้างและบำรุงต้นและใบหนักๆ ส่วนหัวที่เห็นใหญ่ขึ้นมาด้วย
มันเป็นหัวที่เจริญเติบโตเพื่อรองรับแป้งหรืออาหารช่วงที่มันจะสร้างเต็มที่ ถ้าเราไปกระตุ้น หรือให้ฮอร์โมนหรือปุ๋ยที่มันฯพร้อมจะสังเคราะหรือสร้างแป้งหนักๆเมื่อไหร่
มันฯก็จะหยุด เจริญเติบโตแบบเต็มที่  แต่ก็ยังมีแตกยอดนิดหน่อยแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จะสังเคราะห์สร้างอาหารไปเก็บที่หัว  ดังนั้นถ้าปลูกห่างๆก็ใจเย็นๆใจดีๆไว้ครับ ถ้ารอจน 5-6เดือนค่อย ใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นฮอร์โมนเร่งการสร้างแป้ง  จะดีที่สุด เพราะต้นและใบโตเจริญเต็มที่พร้อมเต็มที่

    ถ้าเป็นแบบปลูกชิด พอใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นฮอร์โมนเร่งการสร้างแป้ง ใบส่วนที่โดนแสงจะสังเคราะอาหารได้ดีเยี่ยม ส่วนที่ไม่ดดนจะกลายเป็นภาระที่
 ต้นและระบบต้องเอาอาหารไปเลี้ยง พอเป็นส่วนที่ไม่มีประโยชน์ ต้นก็จะผลัดใบส่วนนี้ทิ้ง ไม่ว่าจะถึงเวลาอันควรหรือก่อนเวลาอันควร ใบและก้านใบจากด้านล่าง จะเหี่ยวแห้งหรือเหลือถูกผลัดสลัดทิ้งเร็วมาก ลองสังเกตุเวลาท่านทั้งหลายใส่ปุ๋ย 0-0-60 หรือพร้อมกับแดพ่น ฮอร์โมนระเบิดหัวมัน  จะเกิดเหตุการณ์นี้

   แต่ขณะเดียวกัน  คนที่ปลูกห่างๆตามภาพนี้ ถ้าใส่ปุ๋ยเอาหัวและฉีดระเบิดหัว  ใบด้านล่างจะยังเหลือเยอะ หล่นหรือผลัดช้า  เพราะมันช่วยกันสร้างอาหารในปริมาณมาก
เพียงพอทั้งไปเก็บที่หัวและเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นและใบ  พอนึกภาพออกนะครับ ยิ่งประกอปกับถ้ามีระบบน้ำหยด
ที่คอยป้อนน้ำให้มันฯเพียงพอต่อกระบวนการสร้างอาหารที่ต้องคายน้ำเยอะด้วย ยิ่งทำให้ใบผลัดช้า มันท่านจะเพิ่มโอกาสในการสร้างแป้งส้รางอาหาร
ไปเก็บที่หัวอีกเยอะมากทำให้ แป้งที่หัวเยอะหัวหนัก ทำให้มันที่ได้ เปอร์เซนต์แป้งสูงด้วยครับ

  หลายคนบอกว่า  อยากใสปุ๋ยหรือฮอร์โมนหยุดโต หรือหยุดใบ ผมว่าไม่ต้องคิดจุดนี้ก็ได้ครับ ถ้าใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นฮอร์โมนเร่งการสร้างแป้ง แล้วมันยังแตกยอดถอดใบ
มันก็ดีนะครับ ส่วนนั้นจะได้ช่วยสังเคราะห์อาหารสังเคราะห์แป้ง ได้ด้วย  แต่ถ้าไม่ได้ใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นฮอร์โมนเร่งการสร้างแป้ง ในช่วงเอาหัว
 แต่มันแตกยอดแตกใบงามต้นงามใบไปเรื่อยๆ อันนั้นน่าห่วงครับ
บันทึกการเข้า
panejon
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 97


« ตอบ #2916 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2018, 03:20:29 PM »

หาต้นพันธุ์ยากจัง
บันทึกการเข้า
jackkey25
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 104



« ตอบ #2917 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2018, 04:28:29 PM »

สวัสดีครับ ขอเป็นสมาชิกคนปลูกมัน ... สำปะหลังด้วยคนครับ ทำงานประจำอยู่ปลูกมันเป็นอาชีพเสริม ปลูกมันปีแรกครับ ระยอง72 อายุ 45 วัน
แปลงนี้ทำเอาท่อนพันธุ์ 1.5 ไร่ อยู่ใกล้บ้านเลยไม่รกเท่าไหร่ ใส่ 25-7-7 ไปแล้ว 1 รอบ
อีกแปลง 6 ไร่ เอาหญ้าไม่ทัน ฝนตกชุกหญ้ารกมากแต่ยังมีหวังครับ ต้องรีบฉีดยาฆ่าหญ้า



บันทึกการเข้า
paveen
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


« ตอบ #2918 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2018, 10:58:43 PM »

มีใครปลูกมันอยู่นครนายกบ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า
many888
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #2919 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2018, 03:28:12 PM »

ข้อมูลดีๆ





คาสิโนออนไลน์
บันทึกการเข้า
tanawatn
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 179


« ตอบ #2920 เมื่อ: กันยายน 28, 2018, 11:00:20 PM »

เรียนถามครับ มีท่านใดเคยได้ยินชื่อมันสำปะหลังพันธุ์แชมเปี้ยนไหมครับ เจ้าของสวนเขาเรียกอย่างนี้ ผมค้นในกูเกิ้ลไม่เจอ
บันทึกการเข้า
Kawkonfirm
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2921 เมื่อ: มกราคม 17, 2023, 11:18:01 AM »

https://t.me/pump_upp - best crypto pumps on telegram
Make 1000% and more within 1 day, join channel @pump_upp !
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 173 174 175 176 177 178 179 180 181 182 [183]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: