หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 ... 183   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมพล คนปลูกมัน ... สำปะหลัง  (อ่าน 1964721 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wakeup
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 380


« ตอบ #48 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 08:28:50 PM »

มันงามเเละมันใหญ่มากครับ คุณ Redmoutain ... รองก้นหลุมปลูกด้วยเหรอครับ ท่าทางจะใช้เเรงงานเยอะเลยน่ะครับเนี่ย ......


Liked By: gui_man, Taweekrit, sompol
บันทึกการเข้า

kemanone
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 340



« ตอบ #49 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:06:34 PM »

บางอันก็ไม่ออกหัวตรงที่ฝาน เสียเวลาจริงๆ




แบบนี้ผมก็โดนมาแล้วครับ ย้อนไป เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผมล้มเหลวในการทดลองปลูกมันคอนโด เจออาการเดียวกัน ปลูกไปแล้วแผลที่ควั่นตาเพื่อทำคอนโดมันไม่งอก ผมก็เอ๊ะ ทำตามเหมือนในอินเตอร์เน็ตเลยหนิทุกอย่าง ทำไมไม่งอก จนผมไปเจอวิธีควั่นตาที่ถูกต้อง ว่าต้องควั่นยังไง ถึงจะถูกต้อง แต่ผมก็ยังไม่ได้เชื่อซะทีเดียวเลยนะครับ แบบนี้ก็ต้องพิสูจน์กันด้วยหลักวิทยาศาสตร์อีกรอบ

ผมทดลองปลูกมันคอนโดอีก 30 ต้น แล้วผมได้ควบคุมตัวแปรในการปลูก(แบบชาวบ้านๆ) แต่สิ่งที่ต่างกันออกไป คือวิธีการควั่นตา
มัน แบ่งออกเป็น 3 ชุดทดสอบครับ ชุดละ 10ต้นครับ (เดี๋ยวผมจะวาดรูปมาให้ดูนะครับ เอาแบบทฤษฏีไปก่อน ผิดถูกยังไงอย่าว่ากันนะครับ)

ชุดที่ 1 ปาดแบบธรรมดาเลยครับเหมือนเฉือนหมูเลย แนวระนาบ
ชุดที่ 2 เฉือนแผล บนและล่าง อย่างละครึ่ง ให้แผลเป็นรูปตัว V แต่ไม่ต้องลึกถึงขนาดแก่นมันนะครับ เอาพอประมาณ
ชุดที่ 3 เฉือนแผลจากด้านล่างขึ้นบนแต่อย่าให้ขาด แล้วเอามีดตัดเข้าไปที่ปลายแผลให้มันขาด

ทำอย่างละ 10 ครับ แล้วก็ทำกระบวนการเหมือนกันหมด แช่น้ำยา รองก้นหลุม รดน้ำ 3 เดือนแรก

และแล้วเวลาผ่านไป 6 เดือน ไวเหมือนโกหก ผลที่ออกมาคือ ชุดที่ 1 เปอร์เซนต์การงอกที่แผลน้อยครับ ประมาณซัก 30-40 เปอเซ็นต์ได้มั้งครับ / ชุดที่ 2 ดีกว่าชุดที่ 1 หน่อย แต่ผลต่างกันไม่มาก แต่ที่น่าตกใจ คือชุดที่ 3 โอกาสเกิดหัวที่ตา มีมากกว่า 85เปอเซนต์ได้นะครับ ดังนั้นก็เลยสรุปได้ว่า วิธีที่ 3 ถูกต้องที่สุด ขอโทษนะครับที่ยังไม่ว่างวาดรูปประกอบการพูด ไว้เเด๋ยวว่างๆจะวาดให้ครับ


เดี๋ยวมาต่อให้ครับ ติดงานอีกแล้ว



Liked By: Dui202
บันทึกการเข้า
kaset-engineer
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 507


« ตอบ #50 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:26:33 PM »

เรียนท่านผู้มีประสบการณ์ครับ เห็นในรูปจากแปลงที่ยกร่องดูเหมือนจะยกร่องสูงพอสมควร
จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องยกร่องปลูกมันสูงๆ หรือที่ยกร่องสูงๆ เพราะมีผลต่อการเก็บหัวมันง่าย

และเราสามารถปลูกมันที่ก้นร่อง แทนที่จะปลูกที่สันร่อง เพราะมองว่าน่าจะได้น้ำและปุ๋ยดีกว่า
จะได้ผลดีกว่าหรือไม่

และการปลูกแบบ ปักต้นพันธุ์ต้นหน้าฝน ใส่ปุ๋ยรอบเดียวตอนปลูก และพึ่งเทวดาอย่างเดียว
กลับมาอีกทีตอนเก็บหัวมันอีก 9-10 เดือน จะได้ผลผลิต กี่ตัน/ไร่/ปี ครับ

ขอบคุณครับ
คนไม่เคยปลูกเลย


Liked By: sompol
บันทึกการเข้า
wakeup
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 380


« ตอบ #51 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:35:00 PM »

บางอันก็ไม่ออกหัวตรงที่ฝาน เสียเวลาจริงๆ



แบบนี้ผมก็โดนมาแล้วครับ ย้อนไป เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผมล้มเหลวในการทดลองปลูกมันคอนโด เจออาการเดียวกัน ปลูกไปแล้วแผลที่ควั่นตาเพื่อทำคอนโดมันไม่งอก ผมก็เอ๊ะ ทำตามเหมือนในอินเตอร์เน็ตเลยหนิทุกอย่าง ทำไมไม่งอก จนผมไปเจอวิธีควั่นตาที่ถูกต้อง ว่าต้องควั่นยังไง ถึงจะถูกต้อง แต่ผมก็ยังไม่ได้เชื่อซะทีเดียวเลยนะครับ แบบนี้ก็ต้องพิสูจน์กันด้วยหลักวิทยาศาสตร์อีกรอบ

ผมทดลองปลูกมันคอนโดอีก 30 ต้น แล้วผมได้ควบคุมตัวแปรในการปลูก(แบบชาวบ้านๆ) แต่สิ่งที่ต่างกันออกไป คือวิธีการควั่นตา
มัน แบ่งออกเป็น 3 ชุดทดสอบครับ ชุดละ 10ต้นครับ (เดี๋ยวผมจะวาดรูปมาให้ดูนะครับ เอาแบบทฤษฏีไปก่อน ผิดถูกยังไงอย่าว่ากันนะครับ)

ชุดที่ 1 ปาดแบบธรรมดาเลยครับเหมือนเฉือนหมูเลย แนวระนาบ
ชุดที่ 2 เฉือนแผล บนและล่าง อย่างละครึ่ง ให้แผลเป็นรูปตัว V แต่ไม่ต้องลึกถึงขนาดแก่นมันนะครับ เอาพอประมาณ
ชุดที่ 3 เฉือนแผลจากด้านล่างขึ้นบนแต่อย่าให้ขาด แล้วเอามีดตัดเข้าไปที่ปลายแผลให้มันขาด

ทำอย่างละ 10 ครับ แล้วก็ทำกระบวนการเหมือนกันหมด แช่น้ำยา รองก้นหลุม รดน้ำ 3 เดือนแรก

และแล้วเวลาผ่านไป 6 เดือน ไวเหมือนโกหก ผลที่ออกมาคือ ชุดที่ 1 เปอร์เซนต์การงอกที่แผลน้อยครับ ประมาณซัก 30-40 เปอเซ็นต์ได้มั้งครับ / ชุดที่ 2 ดีกว่าชุดที่ 1 หน่อย แต่ผลต่างกันไม่มาก แต่ที่น่าตกใจ คือชุดที่ 3 โอกาสเกิดหัวที่ตา มีมากกว่า 85เปอเซนต์ได้นะครับ ดังนั้นก็เลยสรุปได้ว่า วิธีที่ 3 ถูกต้องที่สุด ขอโทษนะครับที่ยังไม่ว่างวาดรูปประกอบการพูด ไว้เเด๋ยวว่างๆจะวาดให้ครับ


เดี๋ยวมาต่อให้ครับ ติดงานอีกแล้ว


รอชมภาพประกอบด้วยคนครับ ...
บันทึกการเข้า
Redmountain
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 327


« ตอบ #52 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:46:01 PM »

ผมประสบการณ์โง่เยอะครับ ขอลองตอบเท่าที่เคยโง่มา

ยกร่องไม่ต้องสูงเท่านี้ก็ได้ครับ แต่ถ้าจะทำอย่างนั้น เวลารถไถชักผานให้ยึดท่อนเหล็กไว้ข้างหลังให้ปาดยอดร่องให้แบนที่สุด
ยิ่งแบนและเป็นแอ่งตรงกลางร่อง ก็จะเก็บน้ำได้ดีเวลาฝนตก (ตามทฤษฎี)

แต่เห็นสูงๆอย่างนี้ เจอฝนไม่กี่ครั้ง เดี๋ยวก็จะฟุบลงมากว่า๓๐-๕๐เปอร์เซนต์
อย่างของผมท่อนพันธุ์ยาว๓๐ ซม. ฝังลงไปมากกว่าครึ่งท่อน ดังนั้นต่อให้ฟุบก็ไม่โอนเอน

เคยเห็นที่เค้าไม่ยกร่องเหมือนกันครับ แต่คิดว่าน่าจะจัดการหญ้าลำบากพอดู
เช่นเดียวกับการปลูก ระหว่างร่อง วัชพืชจะจัดการยากกว่าหัวร่อง

ของผมรองก้นหลุมด้วย ปุ๋ยหมักผสม (ขี้หมู ขี้วัว ขี้เค้กอ้อย และส่วนผสมจุลินทรีย์)
ที่ต้องเดินให้หลุมต่อหลุม เพราะ ไม่อยากเปลืองปุ๋ยโดยการไถกลบทั่วแปลง
เพิ่มกำลังคนขึ้นมาประมาณ ๒๕เปอร์เซนต์ (เดินเรียงแถว คนแรกขุด คนที่สองใส่ปุ๋ย-วางท่อนพันธุ์ คนที่สามปักกลบท่อนพันธุ์)

ถ้าปักต้นฝน ใส่ปุ๋ยรอบเดียว ทำแบบชาวไร่ทั่วไป (ตามธรรมชาติ) ๙-๑๐ เดือน น่าจะได้ไม่เกินสี่ตัน/ไร่
ช่วงหน้าฝนน้ำเยอะก็จริง แต่อัตราความเข้มข้นของแสงจะน้อยกว่าหน้าแล้ง
สมการง่ายๆ น้ำ บวก แสง บวก คลอรอฟิลด์ในใบมัน สร้างแป้ง
ส่วนปุ๋ยที่มีทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ก็เหมือนสารอาหารและวิตามิน กระตุ้นการทำงานให้สมการนี้สมบูรณ์แบบ


Liked By: Dui202, Taweekrit
บันทึกการเข้า
wakeup
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 380


« ตอบ #53 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 11:01:21 PM »

ผมประสบการณ์โง่เยอะครับ ขอลองตอบเท่าที่เคยโง่มา

ยกร่องไม่ต้องสูงเท่านี้ก็ได้ครับ แต่ถ้าจะทำอย่างนั้น เวลารถไถชักผานให้ยึดท่อนเหล็กไว้ข้างหลังให้ปาดยอดร่องให้แบนที่สุด
ยิ่งแบนและเป็นแอ่งตรงกลางร่อง ก็จะเก็บน้ำได้ดีเวลาฝนตก (ตามทฤษฎี)

แต่เห็นสูงๆอย่างนี้ เจอฝนไม่กี่ครั้ง เดี๋ยวก็จะฟุบลงมากว่า๓๐-๕๐เปอร์เซนต์
อย่างของผมท่อนพันธุ์ยาว๓๐ ซม. ฝังลงไปมากกว่าครึ่งท่อน ดังนั้นต่อให้ฟุบก็ไม่โอนเอน

เคยเห็นที่เค้าไม่ยกร่องเหมือนกันครับ แต่คิดว่าน่าจะจัดการหญ้าลำบากพอดู
เช่นเดียวกับการปลูก ระหว่างร่อง วัชพืชจะจัดการยากกว่าหัวร่อง

ของผมรองก้นหลุมด้วย ปุ๋ยหมักผสม (ขี้หมู ขี้วัว ขี้เค้กอ้อย และส่วนผสมจุลินทรีย์)
ที่ต้องเดินให้หลุมต่อหลุม เพราะ ไม่อยากเปลืองปุ๋ยโดยการไถกลบทั่วแปลง
เพิ่มกำลังคนขึ้นมาประมาณ ๒๕เปอร์เซนต์ (เดินเรียงแถว คนแรกขุด คนที่สองใส่ปุ๋ย-วางท่อนพันธุ์ คนที่สามปักกลบท่อนพันธุ์)

ถ้าปักต้นฝน ใส่ปุ๋ยรอบเดียว ทำแบบชาวไร่ทั่วไป (ตามธรรมชาติ) ๙-๑๐ เดือน น่าจะได้ไม่เกินสี่ตัน/ไร่
ช่วงหน้าฝนน้ำเยอะก็จริง แต่อัตราความเข้มข้นของแสงจะน้อยกว่าหน้าแล้ง
สมการง่ายๆ น้ำ บวก แสง บวก คลอรอฟิลด์ในใบมัน สร้างแป้ง
ส่วนปุ๋ยที่มีทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ก็เหมือนสารอาหารและวิตามิน กระตุ้นการทำงานให้สมการนี้สมบูรณ์แบบ
ท่อนพันธุ์ที่ปักลงก้นหลุมที่รองพื้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักนั้น มันจะมีปัญหาในการเติบโตเหรอเปล่าครับ ประมาณว่าปุ๋ยเเรงเกินไปสำหรับต้นอ่อนๆ ... เท่าที่ผมเคยทำมาขุดระหว่างต้นเเล้วใส่ปุ๋ยขี้หมูอัดเม็ดลงไปเเต่ไม่ได้กลบเพราะทำเองคนเดียวหมดเลย เปลืองปุ๋ยด้วย ผลที่ได้คือมันสูงขึ้นกว่าระหว่างต้นที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเลยครับ 


Liked By: Dui202, Taweekrit
บันทึกการเข้า
Redmountain
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 327


« ตอบ #54 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 11:11:35 PM »

ชิบหายแล้วสิตู  ลังเล
ตามนั้นจริงๆครับ ที่อ่านตำรามาก็มีคำเตือนเหมือนกันว่าไม่ให้ใส่เยอะเกินไป ผมก็เพลามือที่สองกำต่อหลุม

วิธีลงระหว่างต้นของคุณเวคอัพ น่าสนใจครับ ถ้าระยะระหว่างต้น๘๐ซม. นี่ ราก/หัวน่าจะรับปุ๋ยเฉลี่ยได้จากทั้งสองทาง
เดี๋ยวรุ่นเดือน เม.ย. จะลองทำเปรียบเทียบทั้งสองวิธีดูครับ


Liked By: Dui202
บันทึกการเข้า
kaset-engineer
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 507


« ตอบ #55 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 11:20:29 PM »

ผมประสบการณ์โง่เยอะครับ ขอลองตอบเท่าที่เคยโง่มา

ยกร่องไม่ต้องสูงเท่านี้ก็ได้ครับ แต่ถ้าจะทำอย่างนั้น เวลารถไถชักผานให้ยึดท่อนเหล็กไว้ข้างหลังให้ปาดยอดร่องให้แบนที่สุด
ยิ่งแบนและเป็นแอ่งตรงกลางร่อง ก็จะเก็บน้ำได้ดีเวลาฝนตก (ตามทฤษฎี)

แต่เห็นสูงๆอย่างนี้ เจอฝนไม่กี่ครั้ง เดี๋ยวก็จะฟุบลงมากว่า๓๐-๕๐เปอร์เซนต์
อย่างของผมท่อนพันธุ์ยาว๓๐ ซม. ฝังลงไปมากกว่าครึ่งท่อน ดังนั้นต่อให้ฟุบก็ไม่โอนเอน

เคยเห็นที่เค้าไม่ยกร่องเหมือนกันครับ แต่คิดว่าน่าจะจัดการหญ้าลำบากพอดู
เช่นเดียวกับการปลูก ระหว่างร่อง วัชพืชจะจัดการยากกว่าหัวร่อง

ของผมรองก้นหลุมด้วย ปุ๋ยหมักผสม (ขี้หมู ขี้วัว ขี้เค้กอ้อย และส่วนผสมจุลินทรีย์)
ที่ต้องเดินให้หลุมต่อหลุม เพราะ ไม่อยากเปลืองปุ๋ยโดยการไถกลบทั่วแปลง
เพิ่มกำลังคนขึ้นมาประมาณ ๒๕เปอร์เซนต์ (เดินเรียงแถว คนแรกขุด คนที่สองใส่ปุ๋ย-วางท่อนพันธุ์ คนที่สามปักกลบท่อนพันธุ์)

ถ้าปักต้นฝน ใส่ปุ๋ยรอบเดียว ทำแบบชาวไร่ทั่วไป (ตามธรรมชาติ) ๙-๑๐ เดือน น่าจะได้ไม่เกินสี่ตัน/ไร่
ช่วงหน้าฝนน้ำเยอะก็จริง แต่อัตราความเข้มข้นของแสงจะน้อยกว่าหน้าแล้ง
สมการง่ายๆ น้ำ บวก แสง บวก คลอรอฟิลด์ในใบมัน สร้างแป้ง
ส่วนปุ๋ยที่มีทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ก็เหมือนสารอาหารและวิตามิน กระตุ้นการทำงานให้สมการนี้สมบูรณ์แบบ
แล้วอย่างที่ชาวบ้านทั่วไป ที่ปลูกโดยอาศัยธรรมชาติ ได้ 4 ตัน/ไร่ ต้นทุนการปลูกอยู่ที่เท่าไหร่/ไร่ครับ
และถ้าหากทำแบบดูแลเต็มที่ ใช้เทคนิดการเร่งรากและแป้ง กำจัดหญ้าและโรคเพลี้ยให้น้ำช่วงหน้าแล้ง จะมี
ต้นทุน/ไร่ เท่าไหร่ แล้วเก็บผลผลิตได้กี่ตัน/ไร่/ปี ครับ


Liked By: sompol
บันทึกการเข้า
wakeup
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 380


« ตอบ #56 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 11:26:32 PM »

ชิบหายแล้วสิตู  ลังเล
ตามนั้นจริงๆครับ ที่อ่านตำรามาก็มีคำเตือนเหมือนกันว่าไม่ให้ใส่เยอะเกินไป ผมก็เพลามือที่สองกำต่อหลุม

วิธีลงระหว่างต้นของคุณเวคอัพ น่าสนใจครับ ถ้าระยะระหว่างต้น๘๐ซม. นี่ ราก/หัวน่าจะรับปุ๋ยเฉลี่ยได้จากทั้งสองทาง
เดี๋ยวรุ่นเดือน เม.ย. จะลองทำเปรียบเทียบทั้งสองวิธีดูครับ
อยากเห็นเหมือนกันครับ ของผมที่ทำไปมันไม่เต็มเเปลง เเต่เปลืองปุ๋ยมากๆๆอย่างที่บอก ตอนเเรกก็กะจะรองก้นหลุม เเต่ปุ๋ยมาถึงหลังปลูกไปเเล้ว ... เเละก็กลัวมันจะเเรงไปเหรอเปล่าไม่เเน่ใจ ....  ได้ผลยังไงจัดมาให้ชมกันด้วยน่ะครับ ........ มันจะอาจะเป็นผลดีก็ได้ครับ


Liked By: Dui202
บันทึกการเข้า
Redmountain
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 327


« ตอบ #57 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 08:24:42 AM »

พึ่งไปถามลุงคิมมา มีอีกแนวทางนึงครับ คือการผสมปุ๋ยในน้ำแล้วพ่นให้ทางดิน (พร้อมการให้น้ำ)

ก็คือ รองก้นหลุมตามความเหมาะสม แล้วค่อยทยอยให้ปุ๋ยทางน้ำเพิ่ม

การรองก้นหลุม ถ้าใส่มากจนเกินไป แบบว่า หลุมละกิโล ผมว่าก็คงน๊อคนะครับ
อ้อ แล้วผมจะไม่ใช้ปุ๋ยขี้สัตว์แบบยังไม่ได้หมัก ผมหมักเองด้วยจุลินทรีย์พื้นถิ่น
ลองคำนวณย้อนกลับจากที่เค้าบอกว่าให้ใส่ปุ๋ยหมัก หนึ่งตัน/ไร่  ถ้าคิดจำนวนต้นระยะปลูก๑ม.-๑ม. จะมี๑๖๐๐ต้น
ก็จะเฉลี่ยได้ต้นละ๖ขีด แต่กระจายทั่วพื้นที่หารสอง จะได้ต้นละ๓ขีด จึงเป็นที่มาของปุ๋ยสองกำมือ

จากที่เคยลองทำแบบรองก้นหลุม กับไม่รองก้นหลุม ขุดขึ้นมาดูแล้วความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ จำนวนหัว ที่รองก้นหลุมจะมีหัวมากกว่าเกือบสองเท่า แต่ขนาดหัวยังไม่เห็นความแตกต่างมากนัก น่าจะเป็นเรื่องของน้ำ (รุ่นที่โดนเพลี้ย แล้วเด็ดยอดทิ้งพ่นน้ำข้หมูตาม)


Liked By: Dui202, Taweekrit
บันทึกการเข้า
wakeup
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 380


« ตอบ #58 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 11:30:37 AM »

คุณ Redmoutain ลองผสมน้ำส้มควันไม้ ฉีดพ่นทางใบดูครับ ผมลองมาเเล้วช่วยไล่เพลี้ยะได้บ้างเหมือนกัน รวมทั้งใช้วิธีการปล่อยตัวเบียน, ห้ำ เพื่อตัดวงจรของเเมลงที่มีผลเสียต่อต้นมันสำปะหลัง ... ผมมองว่าเพลี้ยะมันชอบมาหน้าเเล้ง เเต่ถ้าเราให้น้ำในหน้าเเล้งได้ ถือว่าเป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตเเละลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเพลี้ยะได้ด้วยครับ ... ปัญหาใหญ่ในหน้าเเล้งเลยครับเพลี้ยะเนี่ย ..... หรือไม่ก็ขุดขายตอนหน้าเเล้งเลยครับ เเล้วเหลือพันธุ์ไว้ปลูกต่อ


Liked By: sompol
บันทึกการเข้า
Redmountain
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 327


« ตอบ #59 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 11:58:07 AM »

นำรูปมาข่มขวัญมือใหม่ครับ
เป็นรูปของไร่ใกล้เคียง เมื่อต้นปีนี้
ไปทีไปหมด แก้ยังไงก็แก้ไม่ทัน ... ต้องป้องกันอย่างเดียว
มีอีกแปลงใกล้ๆที่ รอให้เพลี้ยกินจดโกร๋นแล้วค่อยขุด ช้าไปแล้ว หัวเน่าหมด










รุ่นที่เก็บเกียวเม.ย.ที่ผ่านมา อายุมันผม๒๐เดือน แต่ไล่พ่นใบด้วยน้ำขี้หมูสมุนไพรมาตั้งแต่หน้าฝน
แทบจะไม่มีเพลี้ยให้เห็นเลย ได้ห้าตัน/ไร่ ผมยังเจ็บใจว่ารีบขุดเร็วไป รออีกเดือนเดียว ราคาขึ้นอีกหลาย แถมจะได้ขายท่อนพันธุ์ด้วย
และจะได้ไม่ต้องเสียค่าโง่กับ การรดน้ำตอนกลางวันทำลาย มันรุ่นเม.ย.นี้ไปฟรีๆ (คิดแล้ว กรรม จริงๆ)

แต่ รุ่นที่ลงเม.ย.นั้น ให้น้ำตอนกลางวัน รากไหม้สุก ใบร่วง แล้วเพลี้ยก็มายำใหญ่
อีกแปลงลงพ.ย. ก่อนหน้่่านั้น ชะล่าใจ ไม่ได้พ่นใบเดือนเดียว เพลี้ยเกาะแล้ว ไล่พ่นยังไงก็ไม่ทัน ต้องเล็ดใบแทน แต่ก็ยังฟื้นตัวได้

ทำให้ผมสรุปได้ว่า
๑) ต้นแข็งแรง ด้วยน้ำขี้หมู และสมุนไพร เพลี้ยจะมีน้อยมากๆ และไม่ลาม
๒) ถ้าจะไม่ให้มีเพลี้ย ต้องฉีดป้องกันหรือรีบเด็ดยอดตอนที่เริ่มเห็น ทำได้เท่าั้นี้ จะมาพ่นไล่หรือฆ่าทีหลังไม่ได้เลย
ถึงเพลี้ยจะตาย มันก็จะจับกลุ่มกันตาย ทำให้ยอดไหม้ไปด้วย

มีทางเดียวคือ ป้องกัน (ด้วยการเสริมความแข็งแรง)

ใครคิดจะมาลองปลูกมันสำปะหลัง คิดให้ถี่ถ้วนก่อนนะครับ
แต่บางทีคิดหลายตลบมากไปอย่างผม เจอแผลใหญ่เข้าให้ แผลเป็นนี้จำไปจนวันตายครับ


Liked By: Taweekrit, sompol
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2010, 12:02:49 PM โดย Redmountain » บันทึกการเข้า
Redmountain
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 327


« ตอบ #60 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 12:06:57 PM »

อีกอย่าง ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
อย่าลืมไหว้เจ้าที่ของไร่ หรือ ของพื้นที่โดยรวมด้วยนะครับ

ผมไปดูหมอมา เค้าทักว่า เอ๊ะมีเจ้าที่อยู่ไม่ใช่หรือ ทำไมไม่เคยดูแลท่าน แล้วท่านจะมาคุ้มครองได้ยังไง
เราก็มาบางอ้อ ว่าคนรุ่นก่อนเคยตั้งศาลไว้เชิงเขา แต่เราไม่เคยดูแลเลย

อาทิตย์ก่อน รีบจัดแจงซ่อมแซมศาลเจ้า นำของมาเซ่นไหว้ทันที
แหม ฝนตกมาสองคราเลย (จะบอกว่าตรงกับสภาพอากาศทั้งประเทศก็เหอะ)
เจ้าที่ไร่ผมแรงส์จริง หวังว่ารุ่นพ.ย.นี้ และ เม.ย.หน้า จะได้ ๑๐ตัน/ไร่


Liked By: Taweekrit, sompol
บันทึกการเข้า
kaset-engineer
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 507


« ตอบ #61 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 12:17:26 PM »

คุณ Redmoutain เล่นซ๊ะใจผมฝ่อเลย...มือใหม่ป้ายแดง บ้านไกล เวลาน้อย
เข้าทางเพลี๊ยหมดเลย  ไหนจะปัญหาหญ้าอีก ....

รบกวนถาม คุณ Redmoutain และ คุณ Wakeup อีกครับว่า
หากไม่มีเวลาดูแลมากนัก (เดือนละครั้ง) เนื่องจากทำงานอยู่กรุงเทพฯ จะทำไร่มัน
ได้อย่างไร โดยอาศัยฝนฟ้า และไม่เจอปัญหาเรื่องเพลี๊ยและหญ้า ผลผลิตขอให้พอ
ได้บ้าง  เนื่องจากมีที่ว่างอยู่ 8 ไร่ ....รอขยายพันธุ์ปลูกไผ่ให้เต็ม ในปีที่ 2 คือต้อง
หาอะไรก็ได้ มาลงและพอได้เงิน มาทำทุนทำไผ่ต่อครับ ตอนนี้มองมันกะไผ่อยู่ ยัง
มีตัวอื่นอีกไหม หากมันสำปะหลัง ไม่น่ารอด........ขอบคุณครับ


Liked By: Taweekrit, sompol
บันทึกการเข้า
Redmountain
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 327


« ตอบ #62 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 01:02:41 PM »

ผมขอเอาต้นทุนมาคลี่ให้ดู กรณีเบิกที่โล่งเรียบร้อยแล้ว (ส่วนใหญ่ค่าเบิก จ้างรถไถทำงาน ตก ๑๒๐๐บาท/ไร่ แบบว่าไม่รกมาก)

๑) ค่าไถผาน๓ ผาน๗ ยกร่อง รวมๆ ประมาณ ๑๑๐๐/ไร่
๒) ค่าท่อนพันธุ์ ถ้าไม่มีของเดิม ไปเหมาเค้ามา ไร่ละ ๓๐๐๐ ปลูกได้ ๘ไร่ (ท่อนพันธุ์ยาว๓๐ซม.) ดังนั้น ค่าท่อนพันธุ์ ๔๐๐/ไร่
๓) ค่าแรงลงท่อนพันธุ์ แล้วแต่จะจ้างรายวันหรือต่อไร่ ปกติ ๒๐๐-๒๕๐/ไร่
๔) ค่าปุ๋ยรองก้นหลุม .... ผมซื้อวัตถุดิบขี้หมูขี้วัวฯลฯ และมีจุลินทรีย์ของตัวเอง รวมค่าแรงคนงาน ประมาณ ๑๒๐๐/ตัน ... ผมใช้เฉลี่ย ๓ขีดต่อหลุม ปลูก๑๖๐๐ต้น/ไร่ (ระยะ๘๐-๑๒๐) ก็ประมาณ ๖๐๐/ไร่
๕) ค่าแรงพ่นน้ำลงดิน (ไม่รวมว่าน้ำสระของตัวเอง) ตามตลาดเฉลี่ย ๑๐๐/ไร่ (พ่นใบ ๕๐/ไร่)
๖) ค่าถากหญ้า เฉลี่ย ๓๐๐/ไร่
๗) เก็บเกี่ยว ค่าแรงตัดต้น เฉลี่ย ๓๐๐/ไร่ (เครื่องตัด) แต่ถ้าใช้แรงงานคนตัดเอากิ่งพันธุ์ ก็น่าจะประมาณใกล้ๆกัน
๘) เก็บเกี่ยว รวม ค่ารถขุด ค่าแรงขึ้นหัวมัน ค่าขนส่งในระยะ๕๐กม. ประมาณ ๕๕๐-๖๐๐/ตัน

ลองบวกลบคูณหารดูนะครับ ... สูตรนี้ ถ้าพ่นน้ำ๑๐ครั้ง ผมประมาณผลผลิตที่ ๘-๑๐ตัน/ไร่


Liked By: Taweekrit, sompol
บันทึกการเข้า
kaset-engineer
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 507


« ตอบ #63 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 01:49:56 PM »

ผมขอเอาต้นทุนมาคลี่ให้ดู กรณีเบิกที่โล่งเรียบร้อยแล้ว (ส่วนใหญ่ค่าเบิก จ้างรถไถทำงาน ตก ๑๒๐๐บาท/ไร่ แบบว่าไม่รกมาก)

๑) ค่าไถผาน๓ ผาน๗ ยกร่อง รวมๆ ประมาณ ๑๑๐๐/ไร่
๒) ค่าท่อนพันธุ์ ถ้าไม่มีของเดิม ไปเหมาเค้ามา ไร่ละ ๓๐๐๐ ปลูกได้ ๘ไร่ (ท่อนพันธุ์ยาว๓๐ซม.) ดังนั้น ค่าท่อนพันธุ์ ๔๐๐/ไร่
๓) ค่าแรงลงท่อนพันธุ์ แล้วแต่จะจ้างรายวันหรือต่อไร่ ปกติ ๒๐๐-๒๕๐/ไร่
๔) ค่าปุ๋ยรองก้นหลุม .... ผมซื้อวัตถุดิบขี้หมูขี้วัวฯลฯ และมีจุลินทรีย์ของตัวเอง รวมค่าแรงคนงาน ประมาณ ๑๒๐๐/ตัน ... ผมใช้เฉลี่ย ๓ขีดต่อหลุม ปลูก๑๖๐๐ต้น/ไร่ (ระยะ๘๐-๑๒๐) ก็ประมาณ ๖๐๐/ไร่
๕) ค่าแรงพ่นน้ำลงดิน (ไม่รวมว่าน้ำสระของตัวเอง) ตามตลาดเฉลี่ย ๑๐๐/ไร่ (พ่นใบ ๕๐/ไร่)
๖) ค่าถากหญ้า เฉลี่ย ๓๐๐/ไร่
๗) เก็บเกี่ยว ค่าแรงตัดต้น เฉลี่ย ๓๐๐/ไร่ (เครื่องตัด) แต่ถ้าใช้แรงงานคนตัดเอากิ่งพันธุ์ ก็น่าจะประมาณใกล้ๆกัน
๘) เก็บเกี่ยว รวม ค่ารถขุด ค่าแรงขึ้นหัวมัน ค่าขนส่งในระยะ๕๐กม. ประมาณ ๕๕๐-๖๐๐/ตัน

ลองบวกลบคูณหารดูนะครับ ... สูตรนี้ ถ้าพ่นน้ำ๑๐ครั้ง ผมประมาณผลผลิตที่ ๘-๑๐ตัน/ไร่


รบกวนถามพี่เพิ่มเติมครับ...คือว่าไม่รู้จริงๆ
1. ต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าสารเร่ง หลังจากปลูกแล้วหล่ะครับ มีต้นทุนต่อไร่ ที่เท่าไหร่ครับ
2. ตลอดระยะในการปลูก ต้องถากถอนหญ้ากี่ครั้งครับ และทุกระยะกี่เดือน
3. ต้องฉีดยาค่าเพลี๊ยหรือไม่ ถ้าต้องฉีด ฉีดตอนไหน กี่ครั้ง ต้นทุนเท่าไหร่ครับ
4. การพ่นน้ำลงดิน และลงใบ ต่อรอบการปลูก ต้องพ่นอย่างละกี่ครั้ง ระยะเวลาไหนครับ
5. ปลูกมัน  เจอปัญหาเรื่องสัตว์เลี้ยงที่ข้างเคียง บุกรุกกินต้นมันหรือไม่ และต้องระวัง
   สัตว์อะไรบ้าง ป้องกันได้อย่างไร

ขอบคุณครับ


Liked By: sompol
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 ... 183   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: