ขออนุญาติเพิ่มรายละเอียดพันธุ์สำหรับผู้ที่สนใจ
พันธุ์ระยอง 5วันที่รับรอง : 28 ตุลาคม 2537
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ประวัติ : ได้มาจากการผสมพันธุ์และคัดเลือก ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง เมื่อปี 2525 ระหว่างพันธุ์ 27-77-10 กับ พันธุ์ระยอง 3 นำเมล็ดมาเพาะและปลูกคัดเลือก
เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น เปรียบเทียบในไร่เกษตรกร และนำมาทดสอบในไร่เกษตรกร จนได้พันธุ์ดี
ลักษณะดีเด่น :
1. ให้ผลผลิตหัวสดสูง 4,420 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 ระยอง 60 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 เท่ากับ 23, 9, 4, 12 และ 9 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
2. ให้ผลผลิตแป้งสูง 1,027 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 ระยอง 60 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 เท่ากับ 44, 35, 21, 6 และ 8 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
3. ให้ผลผลิตมันแห้งสูง 1,554 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 ระยอง 60 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 เท่ากับ 23, 37, 11, 9 และ 7 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
4. ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
5. มีความงอกดีและอยู่รอดจนถึงการเก็บเกี่ยวสูง 93 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่แนะนำ :
มันสำปะหลังพันธุ์ CMR25 - 105 - 112 มีเสถียรภาพในด้านการให้ผลผลิตดี ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถปลูกได้ทั้งภาคตะวันออก และภาคตะวันออก เฉียงเหนือที่เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังของประเทศ
ข้อควรระวัง : เป็นโรคใบไหม้ได้ง่ายกว่าพันธุ์อื่นๆ แต่อาการไม่รุนแรงถึงตาย
พันธุ์ระยอง 7ประวัติ: มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์ CMR30-71-25 กับพันธุ์ OMR29-20-118 ในปี 2535 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้ผ่านการคัดเลือกพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง และทำการประเมินพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ สถานีทดลองพืชไร่ และไร่เกษตรกร รวม 13 จังหวัด แปลงทดลอง รวม 51 แปลง ระยะเวลาการทดลอง 12 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2547
ลักษณะเด่น :
1. ปลูกปลายฤดูฝนได้ดี เนื่องจากให้ความงอกเร็ว เปอร์เซ็นต์การงอก และเปอร์เซ็นต์การอยู่รอดสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานที่เกษตรกรนิยมปลูกทุกพันธุ์
2. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานที่เกษตรกรนิยมปลูกทุกพันธุ์ โดยให้ผลผลิตหัวสด 6.08 ตันต่อไร่ ให้ผลผลิตแป้ง 1.71 ตันต่อไร่ และให้ผลผลิตมันเส้น 2.35 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 90 ระยอง 5 เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72 ตามลำดับ
3. ให้ปริมาณแป้งในหัวสดสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานที่เกษตรกรนิยมปลูกทุกพันธุ์ โดยให้ปริมาณแป้งในหัวสด 27.7 เปอร์เซ็นต์
ข้อควรระวัง: ถ้าปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและเกิดภาวะแล้งยาวนาน หลังจากได้รับน้ำฝนอีกครั้งจะเกิดการแตกตาตามลำต้นมากกว่าในสภาพปกติ ดังนั้น การนำลำต้นดังกล่าวไปเป็นท่อนพันธุ์ ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้นสูง จะได้ต้นมันสำปะหลังที่มีเปอร์เซ็นต์การอยู่รอดสูงเหมือนกับใช้ท่อนพันธุ์สภาพปกติ
พันธุ์ระยอง 9ประวัติ: มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 เป็นลูกผสมปี 2535 ได้จากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ CMR31-19-23 เป็นแม่และ OMR29-20-118 เป็นพ่อ ผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง และประเมินศักยภาพของพันธุ์ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งสิ้น 38 แปลงทดลอง ระหว่างปี 2535-2542 พบว่า สายพันธุ์ระยอง 9 ให้ผลผลิตแป้งและผลผลิตมันแห้งสูง ในปี 2544-2547 ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองจึงร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในการประเมินผลผลิตเอทานอลจากสายพันธุ์ระยอง 9 ร่วมกับลูกผสมชุดเดียวกันนี้อีก 2 สายพันธุ์เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน ได้แก่ ระยอง 5 ระยอง 72 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 ในระดับห้องปฏิบัติการโดยใช้ในเส้นเป็นวัตถุดิบ แล้วคัดเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเอทานอลสูงจากการทดลองระดับห้องปฏิบัติการ 2 พันธุ์ คือ สายพันธุ์ระยอง 9 และพันธุ์ระยอง 90 ไปทดลองผลิตเอทานอลในระดับโรงงานต้นแบบขนาดกำลังผลิต 1,500 ลิตร ที่ใช้หัวสดเป็นวัตถุดิบ พบว่า สายพันธุ์ระยอง 9 ให้ผลผลิตเอทานอลสูงกว่าพันธุ์ระยอง 90 สายพันธุ์ระยอง 9 จึงเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมเอทานอล และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ได้แก่ แป้งมัน มันเส้น และมันอัดเม็ด
ลักษณะเด่น:
1. ผลผลิตแป้งและผลผลิตมันแห้งสูง 1.24 และ 2.11 ตันต่อไร่ ตามลำดับ
2. ให้ผลผลิตเอทานอลสูงทุกอายุเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บเกี่ยวอายุ 8 เดือน 12 เดือนและ 18 เดือน ให้เอทานอล 191 208 และ 194 ลิตร จากหัวสด 1 ตัน ตามลำดับ
3. ทรงต้นดี สูงตรง ได้ต้นพันธุ์ยาวขยายพันธุ์ได้มาก อัตราขยายพันธุ์สูงกว่า 1: 8
4. เป็นโรคใบพุ่มน้อยกว่าพันธุ์มาตรฐานทุกพันธุ์
พื้นที่แนะนำ:
มันสำปะหลังสายพันธุ์ระยอง 9 ปลูกในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังได้ทั่วไป ศักยภาพในการให้ผลผลิตขึ้นกับศักยภาพของพื้นที่และการดูแลรักษา
ข้อควรระวัง:
ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 1 ปี เนื่องจากสายพันธุ์ระยอง 9 มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแต่สะสมน้ำหนักช้า ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วจะให้ผลผลิตหัวสดต่ำกว่าพันธุ์มาตรฐานอื่น ๆ
พันธุ์ห้วยบง 60มันสำปะหลัง ห้วยบง 60” เป็นมันสำปะหลังที่พัฒนาขึ้นมา โดยความร่วมมือของนักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย พันธุ์นี้เกิดจาก การผสมพันธุ์ ระหว่าง พันธุ์ระยอง 5 และเกษตรศาสตร์ 50 ตั้งแต่ พ.ศ.2534 ทำการคัดเลือกและทดสอบ ตั้งแต่ พ.ศ.2535-2544 มีคุณสมบัติดีเด่นที่ให้ผลผลิตสูงและเชื้อแป้งในหัวสูงด้วย และได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์ว่า “ห้วยบง 60” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์พระราชูปถัมภ์ของมูลนิธิฯ
ประวัติ : มันสำปะหลังพันธุ์ “ห้วยบง 60” นี้ เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ระยอง 5 และพันธุ์เกษตรศาสตร์50 โดยผสมพันธุ์ที่ สถานีวิจัยศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ.2534 ซึ่งมีขั้นตอนในการคัดเลือกและทดสอบ ดังนี้พ.ศ.2535-2541 คัดเลือก ไว้ 5 สายพันธุ์ ตามขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง จากทั้งหมดของคู่ผสมนี้ 963 สายพันธุ์ (ต้น)พ.ศ.2541-2545 ทำการทดสอบและเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นและในไร่กสิกร จำนวน 30 แปลงทดลองใน 10 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ระยอง กาญจนบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น และชัยภูมิ จากผลการทดลองทั้งหมดพบว่า สายพันธุ์ MKUC 34-114-206 เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง และมีเชื้อแป้งในหัวสูงและแป้งมีคุณภาพดี ลักษณะต้นพันธุ์งอกดี สมควรแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย จึงขอพระราชทานชื่อ สายพันธุ์ MKUC 34-114-206 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า “ห้วยบง 60” “ห้วยบง” แสดงถึง ศูนย์วิจัยและพัฒนามันสำปะหลังของมูลนิธิสถาบันมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา และเป็นศูนย์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จ พระราชดำเนินทรงเยี่ยมชมและประทับแรม เมื่อวันที่1-2 กันยายน 2537“60” แสดงถึง ปีที่ครบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546
ลักษณะเด่น :
ลักษณะของพันธุ์ “ห้วยบง 60” จะใกล้เคียงกับพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มาก ที่แตกต่างกันเพียงพันธุ์ “ห้วยบง 60” มียอดสีม่วงอ่อน และแตกกิ่งแรกที่ความสูงระดับ 90-140 เซนติเมตร ขณะที่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มียอดสีม่วงเข้ม และแตกกิ่งน้อยกว่า
โดยลักษณะอื่นๆ ของพันธุ์ “ห้วยบง 60” มีดังนี้
1. เปอร์เซ็นต์ความงอกและความอยู่รอดสูง
2. ต้านทานโรคใบจุดปานกลาง
3. ให้ผลผลิตหัวสดและหัวแห้งสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ประมาณ 8-10 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 5.0-6.4 ตัน/ไร่
4. ปริมาณแป้งในหัวสูงใกล้เคียงกับพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 โดยให้ปริมาณแป้งในหัวเฉลี่ย 25.4 เปอร์เซ็นต์
5. การที่มีผลผลิตและปริมาณแป้งสูงทำให้ได้ผลผลิตแป้งต่อไร่สูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 อยู่ 11 เปอร์เซ็นต์
6. มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง ที่ละลายน้ำได้ (เช่น น้ำตาล) อยู่ต่ำ ซึ่งจะทำให้ได้ปริมาณแป้งต่อหัวมาก เพราะการมีน้ำตาลมากจะทำให้แป้งที่จะสกัดได้จากหัวมันสำปะหลังลดลง
7. แป้งมีความหนืดสูง สามารถนำไปใช้กับอุสาหกรรมต่อเนื่องได้หลายชนิด
ข้อแนะนำในการปลูก:
มันสำปะหลังพันธุ์ “ห้วยบง 60” นี้ สามารถขึ้นได้ดีในดินปลูกมันสำปะหลังทั่วไป อย่างไรก็ตามแต่ละท้องที่การปรับตัวของพันธุ์ต่อสภาพแวดล้อมจะต่างกัน เมื่อได้รับพันธุ์ “ห้วยบง 60” นี้แล้ว ควรจะทดลองปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ดีพันธุ์อื่นที่ใช้อยู่ หากได้รับผลผลิตสูงกว่าและลักษณะอื่นเป็นที่พอใจจึงขยายปลูกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น การที่จะปลูกให้ได้ผลผลิตสูงควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-7-18 (เป็นปุ๋ยสำหรับยางพารา) หรือสูตร 16-8-16 หรือ 15-15-15 อัตรา 25-50 กิโลกรัม/ไร่ หลังปลูก 1-2 เดือน (ในขณะที่ดินมีความชื้น) หรือใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 500-1,000 กิโลกรัม/ไร่ หว่านก่อนพรวนดินปลูก และไม่ควรเก็บเกี่ยวมันอายุน้อยกว่า 10 เดือน
หมายเหตุ : เกษตรกรสามารถผสมปุ๋ยสูตร 16-8-16 แทน ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ขึ้นมาใช้เองโดยใช้
(1) ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จำนวน 12 กิโลกรัม
(2) ปุ๋ยแด๊ป (15-46-0) จำนวน 9 กิโลกรัม รวม 35 กิโลกรัม
(3) ปุ๋ยม๊อป (0-0-60) จำนวน 14 กิโลกรัม
จะได้ปุ๋ย 35 กิโลกรัม ที่มีธาตุอาหารเท่ากับปุ๋ยสูตร 16-8-16 จำนวน 50 กิโลกรัม (1 กระสอบ)
ลักษณะประจำพันธุ์ : ความสูง 180-250 ซม. ยอดสีม่วงอ่อนและไม่มีขนอ่อน ก้านใบเขียวอมม่วง ลำต้นสีเขียวเงิน สีเปลือกหัวน้ำตาล สีเนื้อหัวมีสีขาว
พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50เป็นพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลำต้นโค้งเล็กน้อย สีเขียวเงิน สูง180-250 เซนติเมตร แตกกิ่งระดับแรกที่ความสูง 80-150 เซนติเมตรผลผลิตเฉลี่ย 4.4 ตันต่อไร่ มีแป้งเฉลี่ย 23 เปอร์เซ็นต์ในฤดูฝน และ28 เปอร์เซ็นต์ในฤดูแล้ง ต้นพันธุ์เก็บไว้ได้นานประมาณ 30วันหลังจากตัดต้น
ลักษณะดีเด่น :
- ผลผลิตสูง
- เปอร์เซ็นต์แป้งสูง 23 %ในฤดูฝนและ 28 %ในฤดูแล้ง
- ต้นพันธุ์เก็บไว้ได ประมาณ 30 วันหลังจากตัดต้น
พันธุ์มันห้านาที เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่มีปลูกมานานในประเทศไทย (คาดว่ามาจากทางภาคใต้ ผ่านมาทางประเทศมาเลเซีย) โดยไม่ทราบเวลา- - นำเข้าที่แน่นอน มีการปลูกจำนวนเล็กน้อยเพื่อใช้รับประทาน
ลักษณะเด่น เนื้อหัวร่วน เหมาะสำหรับทำขนม เช่น เชื่อม ย่าง
ผลผลิตและคุณภาพ ผลผลิตค่อนข้างต่ำ 1,500-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกในสภาพสวนจะมีคุณภาพของหัวดีกว่า ปลูกในสภาพไร่ กรดไฮโดรไซยานิคในหัวค่อนข้างต่ำ
ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นตรง สูง แตกกิ่งสูง ก้านใบสีแดง ใบกว้าง ยอดอ่อนสีเขียว
ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม หัวเปลือกนอกสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในสีขาว เปลือกในสีม่วง รูปร่างหัวเรียวยาว เปลือกปอกง่าย
การเก็บเกี่ยว ในสภาพไร่ ไม่ควรเก็บเกี่ยวอายุเกิน 10 เดือน เพราะจะมีเส้นใยมากในสภาพสวนเก็บเกี่ยวอายุ 8 เดือน
ความต้านทาน ต้านทานโรคปานกลาง
ฤดูปลูกที่เหมาะสม ฤดูฝนเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ที่มา
http://web.sut.ac.th/cassava/index.php?name=1cas_source/cas_source/ปัจจุบันมี มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 กำลังตามข่าวอยู่ กับพันธุ์ห้วยบง80 ถ้าทราบจะเอารายละเอียดมาเสนอต่อไป