กระทู้นี้ต่อเนื่องเรื่องแมลง ผมก็ขออนุญาตโพสเรื่องแมลงให้ชมกันนะครับ ผมไม่รู้จักหรอก รู้แต่ว่าตัวที่อยู่ด้านล่างนี้เป็นแมลงด้วงปีกแข็ง ที่มีฟันแข็งแรงมาก กัดต้นมะม่วงพรุนเลยครับขอบอก

คาดว่าน่าจะเป็นชนิดเดียวกัน หรือกลุ่มเดียวกันครับ ผมชอบแงะเปลือกมะม่วงไล่ล่าเจ้าหนอนก่อนที่มันจะเป็นตัวด้วง มะม่วงโค่นเพราะเจ้าตัวนี้มีให้เห็นแล้วครับ

(จาก maipradaponline.com)
ด้วงเจาะลำต้นมะม่วง (Stem boring beetle)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plocaedrus fulvicovnis Guer.
ลักษณะการทำลายและความสำคัญ
ตัวหนอนของแมลงชนิดนี้จะเจาะลำต้นหรือกิ่งมะม่วง ทำให้ลำต้นตายได้ ตัวเมียหลังผสมพันธุ์จะวางไข่ ตามรอยแผลหรือตามเปลือกที่แตก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวหนอน เริ่มใช้ปากเจาะไชเข้าไปในลำต้นบริเวณ ที่กัดกินคือ เนื้อเยื่อเจริญใต้เปลือกและชั้นท่อน้ำท่ออาหาร ทำเป็นอุโมงค์มีทิศทางไม่แน่นอน ตัวหนอน โตเต็มที่จะฝังตัวอยู่ในเนื้อไม้ โดยมีเศษของเนื้อไม้เป็นขุยคล้ายขี้เลื่อยสีน้ำตาลเข้มอัดแน่นรอบลำตัว ภายในอุโมงค์ที่หนอนอยู่ การเคลื่อนที่จะเคลื่อนไปตามแนวทางที่กัดกิน มักพบว่าการเคลื่อนที่จะคดเคี้ยว ไปมา ไม่ทราบทิศทางการเคลื่อนที่แน่ชัด เนื่องจากกัดกินทำลายชั้นท่อน้ำ ท่ออาหาร จึงมีผลทำให้ลำต้น อ่อนแอ และใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่น ต้นจะตายอย่างรวดเร็วเมื่อมีการทำลายรอบลำต้น จากนั้นเมื่อจะเข้าดักแด้หนอนจะหดสั้นเข้าและเคลื่อนมาอยู่บริเวณใกล้เปลือกของลำต้น
การแพร่กระจายของฤดูการระบาด
อายุของแมลงชนิดนี้ไม่สามารถศึกษาได้ คาดว่าใช้เวลาหลายเดือนระยะดักแด้กินเวลามากกว่า 4 เดือน ในต้นมะม่วงจะพบหนอนวัยต่างๆ และดักแด้ปรากฏให้เห็นตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่พบตัวเต็มวัยมากที่สุดคือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ช่วงเวลาที่พบด้วงชนิดนี้ระหว่างพระอาทิตย์เริ่มตกดินจะไม่พบด้วงชนิดนี้
การป้องกันกำจัด
1. เมื่อพบตัวแก่ซึ่งเป็นด้วงปีกแข็งและมีหนวดยาว ก็จับแล้วทำลายเสีย เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์
2. กิ่งที่ถูกหนอนทำลาย ถ้าหากตัดโค่น ได้ก็ควรตัดเผาไฟเสีย
3. สำหรับต้นที่ถูกทำลายจนตาย ให้รีบโค่นแล้วเลื่อยเป็นท่อนสั้น ๆ เผาไฟเช่นกัน ถ้ากรณีระบาดมากในสวนจนกระทั่งปฏิบัติไม่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ให้สุมไฟเผาต้นช่วยเสียก่อน
4. เมื่อหนอนเข้าทำลายแล้ว การกำจัดทำได้ยาก แต่ถ้าหากระยะที่พบหนองเริ่มทำลาย ให้แกะเปลือกออกบ้างแล้วพ่นหรือทาลำต้นให้ทั่วด้วยสาร คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) แต่ถ้าอยู่ระยะ เข้าทำลายรุนแรง การรักษาต้นไม้ให้ฟื้นตัวเป็นไปได้ยาก
5. ทาหรือพ่นโคนต้นมะม่วงจากพื้นดินจนถึงระดับความสูง 2 เมตร เดือนละครั้ง ด้วยสารอัลดริน (adrin) อัตรา 400 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม สำหรับต้นที่ถูกทำลายรุนแรง แต่สารชนิดนี้มีข้อเสียคือพิษตกค้างในดินนานมาก