หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การปลูกผักหวานป่าภูมิปัญญาคนอีสาน  (อ่าน 379714 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:15:46 AM »

การปลูกผักหวานป่า  คงเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ คนที่คิดจะปลูก  เพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า  ผักหวานป่าเป็นพืชผักที่ปลูกยากและตายง่าย  แต่ว่าด้วยรสชาติของผักหวานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในแวดวงผักพื้นบ้านของไทย  วันนี้ผมจึงขออนุญาตนำเสนอการปลูกผักหวานป่า  ตามภูมิปัญญาของคนกาฬสินธุ์  ซึ่งไปค้นเจอมาในเว็บไซต์ของคุณ สุชาติ ไชยสุข ต.นาโก อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์  พวกเราชาวเกษตรพอเพียง  ขอขอบพระคุณสำหรับภูมิปัญญาที่ท่านได้ถ่ายทอดไว้ในเว็บไซต์ตามภาพด้านล่าง
บันทึกการเข้า

ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:23:31 AM »


การปลูกผักหวานป่า  ของคุณสุชาติ ไชยสุข ต.นาโก อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์  เป็นการปลูกโดยใช้ไม้นำ  หรือไม้พี่เลี้ยง  ซึ่งได้แก่  ต้นตะขบ  ที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันเป็นอย่างดี  ....  เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า  ผักหวานป่าตามธรรมชาตินั้นเขาสามารถขึ้นได้และเจริญเติบโตได้จะต้องพึ่งพาต้นไม้ใหญ่คอยให้ร่มเงา  การนำผักหวานบ้านมาปลูกเดี๋ยวๆ กลางแจ้ง  ก็  หาที่กำับังแดดให้ก็ตามแต่  ก็ไม่สามารถชดเชยการพึ่งพาอาศัยกันตามหลักธรรมชาติได้เลยแม้แต่นิดเีดียว!!!~


อธิบายตามลักษณะของภาพ  ระยะห่างของการปลูกผักหวานน่าจะอยู่ที่ 3-4 เมตร  วิธีการปลูก็เตรียมหลุมและต้นพันธุ์ตะขบ  โดยใช้ ต้นตะขบ 1 ต้น + ผักหวาน 1 ต้น ต่อ 1 หลุม  สรุปว่า  1 หลุมปลูก  จะมีต้นไม้อยู่ด้วยกัน 2 ต้น  ... และไม่ต้องกลัวว่ามันจะแย่งอาหารกันนะครับ  แต่มันเป็นการปลูกโดยใช้หลักของการพึ่งพาอาศัยกัน
บันทึกการเข้า
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:26:19 AM »

ผักหวานอายุ 7 เดือนครับ  ยังเล็กๆ อยู่เลย  แต่ต้นตะขบโตแล้ว  สูงกว่า 1 เมตรแล้ว  แต่ไม่ต้องตกใจ  ว่าผักหวานจะไม่โต  เราก็รดน้ำใส่ปุ๋ยตามปกติ  เดี๋ยวก็ค่อยๆ แตกยอดอ่อนเองล่ะ
บันทึกการเข้า
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:28:52 AM »

ผักหวานอายุ 7 เดือน ครับ  ดินแดนอีสานมีข้อจำกัดเรื่องน้ำ  ดังนั้นการเจริญเติบโตอาจแตกต่างกันออกไป  หาท่านปลูกในพื้นที่อื่น
บันทึกการเข้า
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:30:54 AM »

ผักหวานบ้าน  อายุ 1 ปี 3 เดือน สูงได้แค่นี้เอง  แต่ต้นตะขบสูงเกือบ 2 เมตร แล้วครับ
บันทึกการเข้า
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:32:33 AM »

ผักหวานอายุ 1 ปี 7 เดือนครับ
บันทึกการเข้า
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:34:47 AM »

สภาพต้นตะขบ  หลังอายุ 1 ปี 3 เดือน สูงและเริ่มเป็นป่าตะขบแล้ว  ผลพลอยได้อีกประการคือ  มีผลไม้กินด้วย  อิอิ ส่วนผักหวานที่อยู่เบื้องล่างก็กำลังโตเช่นกัน  ไม่นานก็ได้ทั้งผักหวาน  ได้ทั้งต้นตะขบ  และได้ทั้งป่าในเวลาเดียวกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 12, 2008, 09:44:51 AM โดย ชาวนา™ » บันทึกการเข้า
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:37:36 AM »

ไม้นำบางต้นก็ตาย  เหลือไว้แต่ผักหวาน  มันก็ยังสามารถรอดได้อย่างปาฎิหารย์ ครับพี่น้อง!!!~  ในภาพนี้ผักหวานอายุ 2 ปี กับ 3 เดือนแล้วครับ
บันทึกการเข้า
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:39:58 AM »

ผักหวานอายุ 2 ปี 3 เดือน  ต้นตะขบสูงหลายเมตรแล้ว  นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี  ผักหวานโต 1 เมตรกว่าๆ ครับ  ขอยกย่องและชมเชยในความคิดอันชาญฉลาดของคนอีสานบ้านเฮา  ที่ได้ถ่ายทอดความรู้มาถึงพวกเรา
บันทึกการเข้า
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:41:30 AM »

เริ่มจะเก็บยอดได้แล้วครับ  ถ้าให้น้ำและปุ๋ยดีๆ  คราวนี้รับรองเป็นเถ้าแก่สวนผักหวานบนแผ่นดินอีสานแน่ๆ
บันทึกการเข้า
ชาวนา™
Administrator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11795


เกษตรพอเพียง


« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:43:46 AM »

สภาพป่าตะขบไม้พี่เลี้ยงผักหวาน  หลังผ่านไป 2 ปี (และไม่ต้องตัดไม้ตะขบทิ้งล่ะ  เดี๋ยวผักหวานจะตรอมใจตาย)  เราก็ปล่อยให้มันอยู่ด้วยกันแบบนั้น  โดยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
บันทึกการเข้า
thumsiri
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 12:52:55 PM »

ขอขอบคุณคุณTenGG มาก ๆ ครับ..ที่นำความรู้ดี ๆ มาฝาก เรื่องผักหวานป่านี่ผมก็สนใจครับ..เลยขออนุญาตลงข้อมูลที่มีอยู่เพิ่มเติมนะครับ..เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาหาข้อมูลเรื่องผักหวานต่อไปครับ...นี่เป็นการรตอนผักหวานป่าครับผม
http://www.ch7.com/News/sbnews.aspx?NwType=02&SbType=06&SeqNo=23290

ส่วนอันนี้เป็นการตอนผักหวานป่าด้วยดินจอมปลวก ครับผม
http://www.ch7.com/News/sbnews.aspx?NwType=02&SbType=06&SeqNo=23952


และนี่เป็นเทคนิคการบังคับผักหวานป่า ครับผม
http://www.ch7.com/News/sbnews.aspx?NwType=02&SbType=06&SeqNo=15833

และนี่การวิธีปลุกผักหวานป่าอาชีพเสริมนา  ครับผม
http://www.ch7.com/News/sbnews.aspx?NwType=02&SbType=06&SeqNo=16823

ขอขอบคุณช่อง 7 สี ที่นำเสนอครับผม...



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]


Liked By: Papa63, kundach, nitiwanna
บันทึกการเข้า
ดวงพร
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4714


คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกทำชีวิตให้ดีได้


« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 07:55:02 PM »

แหมพี่กำลังอยากหาข้อมูลผักหวานป่าอยู่ชอบๆๆกินมากๆๆจ้าต้องหาปลูกแล้วล่ะ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


Liked By: Papa63, Tawandin
บันทึกการเข้า
หล่อเล็ก
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 265



« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 08:48:41 PM »

ผักหวานกินตากบ เหรอว่าตากบ กิน ผักหวานนี่


Liked By: Papa63, Tawandin
บันทึกการเข้า
jeab
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 56


« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 15, 2008, 01:50:51 PM »

ขอถามครับผักหวานทนน้ำท่วมขังได้เปล่าครับ พอดีพื้นที่แถวบ้านบางมีน้ำจะท่วมนะครับ บางปีท่วมเป็นเดือนเลยครับ ไม่ทราบว่าจะปลูกได้เปล่าครับ


Liked By: Papa63, Tawandin
บันทึกการเข้า
JIN
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 16, 2008, 10:53:11 AM »

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ แต่สงสัยนิดนึงครับ ถ้าปลูกกล้วยแทนตะขบจะได้ป่าวครับ
 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: