หน้า: 1 2 3 4 [5] 6   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ  (อ่าน 172009 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #64 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 01:49:47 PM »

 ดินที่เราเหยียบย่ำอยู่ในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันออกไป สิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีของดิน ซึ่งมีทั้ง สีดำ สีน้ำตาล สีแดง หรือสีเหลือง เป็นต้น หรือลักษณะของเนื้อดินที่มีความหยาบ-ละเอียด แข็ง-นุ่ม แตกต่างกัน ซึ่งความต่างเหล่านี้เป็นผลมาจากปัจจัยและกระบวนการเกิดดินที่แตกต่างกัน



Liked By: chaiya8889, vichai sila
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2012, 01:52:40 PM โดย vud » บันทึกการเข้า

vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #65 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 02:04:33 PM »

ดินทรายเป็นเนื้อดินที่มีอนุภาคขนาดทราย เป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ 85 โดยอนุภาคจะเกาะตัวกันหลวมๆ และมองเห็นเป็นเม็ดเดี่ยวๆ ได้ ปกติดินทรายเป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก แต่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ น้ำซึมผ่านได้อย่างรวดเร็ว มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารพืชน้อย พืชที่ขึ้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งธาตุอาหารและน้ำ
บันทึกการเข้า
vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #66 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 02:07:00 PM »

ดินร่วนเป็นดินที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก เพราะไถพรวนง่าย มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี และมักจะมีความอุดมสมบูรณ์ดี
บันทึกการเข้า
vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #67 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 02:09:12 PM »

ดินเหนียวเป็นเนื้อดินที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไป เป็นดินที่มีเนื้อละเอียด
ในสภาพดินแห้งจะเกาะตัวกันเป็นก้อนแข็ง เมื่อเปียกน้ำแล้วจะมีความยืดหยุ่น สามารถปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ ลักษณะเหนียวติดมือ มีทั้งที่ระบายน้ำและอากาศดีและไม่ดี สามารถอุ้มน้ำ ดูดซับและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ดี บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวจัดจะไถพรวนลำบาก เพราะเมื่อดินแห้งจะแข็งมาก แต่เมื่อเปียกดินจะเหนียวติดเครื่องมือไถพรวน
บันทึกการเข้า
vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #68 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 02:12:41 PM »

สีของดิน..เป็นสมบัติของดินที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าสมบัติอื่นๆ จากสีของดิน เราสามารถที่จะประเมินสมบัติบางอย่างของดินที่เกี่ยวข้องได้ เช่น การระบายน้ำของดิน อินทรียวัตถุในดิน ระดับความความอุดมสมบูรณ์ของดิน.
บันทึกการเข้า
vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #69 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 02:14:52 PM »

ดินสีดำ สีน้ำตาลเข้มหรือสีคล้ำ ส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เนื่องจากมีการคลุกเคล้าด้วยอินทรียวัตถุมาก โดยเฉพาะดินชั้นบน แต่บางกรณี สีคล้ำของดิน อาจจะเป็นผลมาจากอิทธิพลของปัจจัยที่ควบคุมการเกิดดินอื่นๆ นอกเหนือไปจากการมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินมากก็ได้ เช่น ดินที่พัฒนามาจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่ผุพังสลายตัวมาจากหินที่ประกอบด้วยแร่ที่มีสีเข้ม เช่น หินภูเขาไฟ และมีระยะเวลาการพัฒนาไม่นาน หรือดินมีแร่แมงกานีสสูง ก็จะให้ดินที่มีสีคล้ำได้เช่นกัน

บันทึกการเข้า
vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #70 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 02:18:52 PM »

ดินสีเหลืองหรือแดง  เป็นดินที่มีการระบายน้ำดี แต่มักจะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินสีเหลืองแสดงว่าดินมีออกไซด์ของเหล็กที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ ส่วนดินสีแดงจะเป็นดินที่ออกไซด์ของเหล็กหรืออลูมิเนียมไม่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ

บันทึกการเข้า
vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #71 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 02:21:29 PM »

    ดินสีขาวหรือสีเทาอ่อน าเป็นดินที่เกิดมาจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกที่สลายตัวมาจากหินที่มีแร่สีจาง เป็นองค์ประกอบอยู่มาก เช่น หินแกรนิต หรือหินทรายบางชนิด หรืออาจจะเป็นดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างอย่างรุนแรง จนธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชถูกซึมชะออกไปจนหมด หรือมีสีอ่อนเนื่องจากมีการสะสมปูน ยิปซัม หรือเกลือชนิดต่างๆ ในหน้าตัดดินมากก็ได้ ซึ่งดินเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

บันทึกการเข้า
mookmoo
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 119



« ตอบ #72 เมื่อ: กันยายน 21, 2012, 03:59:22 PM »

เป็นประโยนช์มากเลยครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นขอบคุณครับ  อายจัง อายจัง
บันทึกการเข้า

@@@Mook@@@
vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #73 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2012, 08:32:59 PM »

หน่วยงานที่รับวิเคราะห์ดิน น้ำ และปุ๋ย มีดังนี้
 1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
 http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/clgc-services/s-soils
  2.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 http://ser.wu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2&Itemid=37
  3.  บริษัทห้องปฎิบัติการกลาง จำกัด
 http://www.centrallabthai.com/web/th/main/contact.php
  4.กรมพัฒนาที่ดิน
  http://osd101.ldd.go.th/
  5.กรมวิชาการเกษตร
   http://www.doa.go.th/apsrdo/
  6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
   http://www.soiltest-ku.agr.ku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=15:2010-02-25-07-32-20&catid=3:service-fee&Itemid=3
   7. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8  กรมวิชาการเกษตร
   http://www.doa.go.th/oard5/07analy_serv/analysis-01.html
   8. ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป
   http://www.ilab.asia/ilab/iLab.html
   9. คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  http://ag.kku.ac.th/Land/service.html
   10. ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์กลาง
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     http://natres.psu.ac.th/CC-LAB/index.htm
   11.Eucalyptus Technology Co.,ltd (Eu-Tech)Mobile:085-8353437
     


Liked By: vichai sila
บันทึกการเข้า
Kittichet
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 70


« ตอบ #74 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2012, 05:45:04 PM »

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีมากเลยครับ  คุณวุฒิ จบ soil หรือปล่าวครับ ผมก็จบ Soil 46 แต่ไม่เคยทำเกษตรเลย
ทำทางโรงงานอุตสาหกรรม ตอนนี้เริ่มทดลองทำเกษตรก็มาน้ำท่วม ที่ ศาลาลำดวน สระแก้ว นะครับ 
คือผมมีเรื่องอยากสอบถาม ว่า เรื่องน้ำหมักชีวภาพเนี่ย น่าจะเกี่ยวกับ Soil Micro. ไหมครับ ตอนเรียนไม่ได้สนใจ
แต่ตอนนี้ ถ้าใช่ผมสนใจ แต่ไม่รู้จะหาตำรา หรือเอกสารอ่านที่ไหนนะครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ ผมลองหาแล้วไม่เคยเจอเลย
ขอบคุณมากครับ


Liked By: vichai sila
บันทึกการเข้า
Noppavong
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1186


« ตอบ #75 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2012, 06:30:07 PM »

มาศึกษาด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า
vud
staff
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5471


« ตอบ #76 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 03:24:31 PM »

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีมากเลยครับ  คุณวุฒิ จบ soil หรือปล่าวครับ ผมก็จบ Soil 46 แต่ไม่เคยทำเกษตรเลย
ทำทางโรงงานอุตสาหกรรม ตอนนี้เริ่มทดลองทำเกษตรก็มาน้ำท่วม ที่ ศาลาลำดวน สระแก้ว นะครับ 
คือผมมีเรื่องอยากสอบถาม ว่า เรื่องน้ำหมักชีวภาพเนี่ย น่าจะเกี่ยวกับ Soil Micro. ไหมครับ ตอนเรียนไม่ได้สนใจ
แต่ตอนนี้ ถ้าใช่ผมสนใจ แต่ไม่รู้จะหาตำรา หรือเอกสารอ่านที่ไหนนะครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ ผมลองหาแล้วไม่เคยเจอเลย
ขอบคุณมากครับ

 ผมจบ  ป. โทปฐพีวิทยาครับ  จากบางเขน เรื่อง  จุลินทรีย์นั้นเดี๋ยวนี้มีบทบาทมากในวงการเกษตร เนื่องจากผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น น้ำหมักชีวภาพก็เป็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา พร้อมๆกับการผลิตฮอร์โมนส์บางตัวออกมากระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ในเวบนี้มีผู้ที่เรียน Soil  โพสเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพหลายคนลองตามเข้าไปดูครับ
 http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=65928.0
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=72361.0
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=8106.0
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=292.0


Liked By: vichai sila
บันทึกการเข้า
tri
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1072


« ตอบ #77 เมื่อ: มกราคม 18, 2013, 08:26:22 AM »

ขอศึกษาด้วยคนนะครับ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
chaiya8889
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 297


« ตอบ #78 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 05:17:47 AM »

ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ เป็นความรู้ที่ประโยชย์ยิ่งสำหรับการทำเกษตร


Liked By: jiggho
บันทึกการเข้า
sluddai
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


« ตอบ #79 เมื่อ: มีนาคม 23, 2013, 08:51:21 AM »

ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ ที่เผยแพร่ความรู้ดีๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: