chomnapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 165
|
ดินแบบที่ว่าน่าจะเป็นชุดดินลพบุรี เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด สีดำหรือสีเทาเข้ม ในฤดูแล้งจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างกว่า 1 เซนติเมตร ที่ความลึก 50 เซนติเมตร และรอยแตกนี้จะคงอยู่นานกว่า 90 วัน ในดินชั้นล่างจะพบรอยถูไถและมีก้อนหินปูนสะสมทั่วไป เป็นดินเหนียวจัด เมื่อแห้งจะแข็งมากแต่พอเปียกน้ำจะแฉะ ถ้าไถพรวน ไม่ถูกวิธีจะทำให้การไถพรวนยากลำบากและทำให้โครงสร้างของดินเสีย มีความเป็นด่างสูง ดินแบบนี้จะไม่เหมาะต่อการปลูกพืชรากลึกเพราะเมื่อรากลงไปเจอดินปูนที่เป็นด่างจัด ข้างล่าง ก็จะดูดน้ำดูดอาหารไม่ขึ้น และจะเริ่มยอดเหลือง กิ่งผุหัก ตายลงมาเรื่อยหรือแคระแกรนไม่ออกดอกออกผล วิธีการทำให้ดินใช้ปลูกไม้ผลต่างได้ต้องใส่อินทรีย์วัตถุมากๆไม่ว่าขี้หมู ขี้ไก่ ขี้วัว โดยการขุดหลุมปลูกขนาดใหญ่กว่าปกติ เช่นกว้าง 2 x2x2 เมตร เมื่อขุดแล้วใส่พวกอินทรีย์วัตถุพวก ซังข้าวโพด หญ้าแห้ง ฟางข้าว โดยอาจจะทำเป็นบ่อที่ทิ้งขยะจากพืช ใส่มูลสัตว์ต่างลงไป ราดด้วยน้ำหมักชีวภาพ ปล่อยให้หมักย่อยสลายนานเป็นปี สภาพของดินในหลุมก็จะดีขึ้น ความเป็ด่างจะลดลง จากนั้นค่อยปลูกไม้ผลไม้ที่มีระบบรากไม่ลึกมากได้
ขอบคุณค่ะ พอดีได้ให้คนขุดหลุุมแล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ แต่ลึกแค่ 80x80x80 ซม. เองค่ะ แต่ก็จะลองปลูกขนุนดู และถ้าเป็นหลุ่มที่ฝังขยะพวกพลาสติก รวมกับซากพืชซากสัตว์ แล้วราดด้วยน้ำหมัก ไม่ต้องเป็นพืชหรือมูลสัตว์ทั้งหมดจะได้ไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ขอบคุณค่ะ พอดีได้ให้คนขุดหลุุมแล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ แต่ลึกแค่ 80x80x80 ซม. เองค่ะ แต่ก็จะลองปลูกขนุนดู และถ้าเป็นหลุ่มที่ฝังขยะพวกพลาสติก รวมกับซากพืชซากสัตว์ แล้วราดด้วยน้ำหมัก ไม่ต้องเป็นพืชหรือมูลสัตว์ทั้งหมดจะได้ไหมคะ หลุมเล็กไปครับ หลุมขนาดที่ว่าต้องใหญ่ เพราะพืชอย่างขนุนมีระบบรากลึก เวลามันโตขึ้น รากไปเจอดินปูนก็จะดูดน้ำ อาหารไม่ขึ้นก็จะแคระแกรน แต่สำหรับเศษไม้ พลาสติกอื่นปนไปบ้างก็ไม่มีปัญหา
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 21, 2011, 07:46:11 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jobrard
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1012
|
 ขออนุญาต Save เก็บไว้เป็น PDF นะครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ . . .
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
chomnapat
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 165
|
ดินแบบที่ว่าน่าจะเป็นชุดดินลพบุรี เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด สีดำหรือสีเทาเข้ม ในฤดูแล้งจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างกว่า 1 เซนติเมตร ที่ความลึก 50 เซนติเมตร และรอยแตกนี้จะคงอยู่นานกว่า 90 วัน ในดินชั้นล่างจะพบรอยถูไถและมีก้อนหินปูนสะสมทั่วไป เป็นดินเหนียวจัด เมื่อแห้งจะแข็งมากแต่พอเปียกน้ำจะแฉะ ถ้าไถพรวน ไม่ถูกวิธีจะทำให้การไถพรวนยากลำบากและทำให้โครงสร้างของดินเสีย มีความเป็นด่างสูง ดินแบบนี้จะไม่เหมาะต่อการปลูกพืชรากลึกเพราะเมื่อรากลงไปเจอดินปูนที่เป็นด่างจัด ข้างล่าง ก็จะดูดน้ำดูดอาหารไม่ขึ้น และจะเริ่มยอดเหลือง กิ่งผุหัก ตายลงมาเรื่อยหรือแคระแกรนไม่ออกดอกออกผล วิธีการทำให้ดินใช้ปลูกไม้ผลต่างได้ต้องใส่อินทรีย์วัตถุมากๆไม่ว่าขี้หมู ขี้ไก่ ขี้วัว โดยการขุดหลุมปลูกขนาดใหญ่กว่าปกติ เช่นกว้าง 2 x2x2 เมตร เมื่อขุดแล้วใส่พวกอินทรีย์วัตถุพวก ซังข้าวโพด หญ้าแห้ง ฟางข้าว โดยอาจจะทำเป็นบ่อที่ทิ้งขยะจากพืช ใส่มูลสัตว์ต่างลงไป ราดด้วยน้ำหมักชีวภาพ ปล่อยให้หมักย่อยสลายนานเป็นปี สภาพของดินในหลุมก็จะดีขึ้น ความเป็ด่างจะลดลง จากนั้นค่อยปลูกไม้ผลไม้ที่มีระบบรากไม่ลึกมากได้
โครงสร้างของดินเสีย หมายความว่าอย่างไรคะ และจะมีผลอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
โครงสร้างของดิน เป็นสมบัติของดินที่เกิดขึ้นจากการเกาะจับกันของอนุภาคที่เป็นของแข็งในดิน (ส่วนที่เป็นแร่ธาตุหรืออนินทรียสารและอินทรียวัตถุ) เกิดเป็นเม็ดดินหรือเป็นก้อนดินที่มีขนาด รูปร่าง และความคงทนแข็งแรงในการยึดตัวต่างๆกัน โครงสร้างของดินมีผลต่อการซึมผ่านของน้ำที่ผิวดิน การอุ้มน้ำ ระบายน้ำ และการถ่ายเทอากาศในดิน รวมถึงการแพร่กระจายของรากพืชด้วย โครงสร้างดิน เป็นสมบัติที่เปลี่ยนแปลงสภาพได้ง่าย ในดินที่มีการใช้ปลูกพืชมานาน โครงสร้างดินย่อมเสื่อมลง เนื่องมาจากปริมาณอินทรียวัตถุในดินที่ลดลงทำให้ดินซึ่งเดิมมีโครงสร้างที่ดีขาดตัวยึดเกาะจึงแตกสลายไป หรือเกิดความแน่นทึบ เนื่องจากการไถพรวนบ่อยๆ เกินไปทำให้โครงสร้างของดินถูกทำลาย คังเช่นที่เกิดเป็นชั้นดานของดินทำให้น้ำไม่ซึมลงสู่ดินชั้นล่าง หรือเกิดหน้าดินแข็ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
liver_555
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2621
|
ขอถามพี่วุฒิครับว่าเราจะทราบเองได้ยังไงว่าดินของเรามี N P K อยู่เท่าไร มีวิธีตรวจสภาพดินเองไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ชุดตรวจสอบดินไปหาซื้อได้ที่ภาควิชาปฐพีวิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งมีขายพร้อม cd ปุ๋ยสั่งตัดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
liver_555
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2621
|
ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
เราสามารถปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมาดีได้ด้วยการใส่อินทรีย์วัตถุอย่างต่อเนื่องหรือปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเป็ระยะๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการจับตัวกันเป็นเม็ดดินถ้าดินชั้นล่างเกิดเป็นดินดานก็อาจจะไถระเบิดดินดานก่อนใส่ปุ๋นอินทรีย์ต่างๆ สำหรับในพื้นที่ซึ่งมีการกัดเซาะ ชะล้างดินรุนแรงก็ควรมีพืชคลุมดินหรือปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวกันการกัดเซาะจะทำให้โครงสร้างของดินไม่เสียได้โดยง่าย ดินหลายชนิดได้ชื่อว่าเป็นดินไม่มีโครงสร้าง เช่น ดินทรายไม่มีการเกาะกันเป็นโครงสร้าง จึงไม่มีสมบัติทางด้านการอุ้มน้ำที่ดี เมื่อฝนตกดินอุ้มน้ำได้น้อยจึงเกิดสภาพแห้งแล้งได้ง่าย พืชที่ปลูกจะขาดน้ำง่าย
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2011, 07:47:18 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นายพล
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 43
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
golfpyy
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 44
|
ได้ความรู้ดีมากๆ ครับ รอฟังต่อไป 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Phon_17
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 10
|
ขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านเลยนะครับที่มาร่วมตอบข้องสงสัย ให้ทุกคนได้ความรู้มากมายเลยครับ ขอบคุณจากใจเลยครับผม.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
josave69
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2633
|
กระทู้นี้ดีต้องเก็บ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
เมื่อมีการปลูกพืชลงบนดิน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน เนื่องจากในขณะที่พืชมีการเจริญเติบโต พืชจะดูดดึงธาตุอาหารในดินไปใช้และเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ได้แก่ ใบ ลำต้น ดอก ผล จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกไปจากพื้นที่ ธาตุอาหารที่สะสมอยู่เหล่านั้นย่อมถูกนำออกไปจากพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ธาตุอาหารบางส่วนยังเกิดการสูญหายไปในรูปก๊าซ ถูกดินหรือสารประกอบในดินจับยึดไว้ บางส่วนถูกชะล้างออกไปจากบริเวณรากพืช หรือสูญเสียไปกับการชะล้างพังทลายของดิน
ดังนั้นการเพาะปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน โดยไม่มีการเติมธาตุอาหารลงไปในดิน ย่อมทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง และในที่สุดดินจะกลายเป็นดินเลวปลูกพืชไม่เจริญเติบโตอีกต่อไป ในการปลูกพืชจึงต้องมีการใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดิน ช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชและคงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้อยู่เสมอ ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อย หรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่หลายๆ ครั้งต่อปีธาตุอาหารบางอย่าง เช่น ไนโตรเจน เมื่อให้ลง ไปในดินแล้วจะไหลซึมได้ง่าย ถ้าเราให้ในปริมาณมากๆ ในครั้งเดียวพืชจะเอาไปใช้ไม่ทัน และธาตุอาหารอื่นๆ ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน กล่าวคือ พืชจะทยอยใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การใส่ปุ๋ยจึงควรแบ่งใส่ ๒-๓ ครั้ง หรือมากกว่าต่อปี ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอายุของต้นไม้ด้วยไม้ผลที่ยังเล็กอยู่ควรแบ่งใส่หลายๆ ครั้ง เพราะระบบรากยังไม่แข็งแรงพอ ไม้ผลที่โตแล้วมักแบ่งใส่เป็น ๓ ครั้งต่อปี เช่น ครั้งแรกให้ก่อนหรือต้นฤดูฝน ครั้งที่สองให้ตอนปลายฤดูฝน และอีกครั้งหนึ่งตอนก่อนออกดอก หรือหลังเก็บเกี่ยวผลแล้วอย่างไรก็ดีควรพิจารณาสภาพท้องที่ และชนิดของไม้ผลประกอบด้วย
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 04, 2011, 07:41:39 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
flycatcher_xiii
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 103
|
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ปริมาณ N P K ในปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|