vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
การปลูกพืชตามปกติต้องอาศัยดินเป็นวัสดุปลูก ดังนั้นเราต้องทำความรู้จักกับมันเสียก่อน ดินเกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ ผสมกับซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมกันเป็นเวลาหลายล้านปี ดินหลังจากเปิดป่าใหม่จะเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ดี ปลูกพืชงามและมีผลผลิตสูง เมื่อใช้ดินทำการเพาะปลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน ดินจะมีสภาพเสื่อมโทรมลง ธาตุอาหารหรือปุ๋ยเดิมในดินจะหมดไป รวมทั้งลักษณะการโปร่ง ร่วนซุยของดินก็จะแน่นทึบ ไถพรวนยาก ถ้าไม่แก้ไขปรับปรุง ก็จะทำให้ไม่สามารถปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูงอีกต่อไป
ดินเป็นแหล่งผลิตปัจจัยทั้ง 4 ของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นอกจากนี้ดินเปรียบเสมือนเครื่องกรองที่มีชีวิต สามารถนำไปใช้ในการกำจัดของเสียทั้งในรูปของแข็งและของเหลว ดินเป็นแหล่งของจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถเปลี่ยนสารประกอบต่างๆที่เป็น พิษในดินให้ไปอยู่ในรูปที่ไม่เป็นพิษได้ ดินทำหน้าที่เป็นที่เกาะยึดของรากพืช ไม่ให้ล้ม ให้อากาศแก่รากพืชในการหายใจ และให้ธาตุอาหารพืชเพื่อการเจริญเติบโต(จากคู่มือสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ ธรรมชาติของดินและปุ๋ย โครงการรวมพลังพลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทย )
Liked By: ideaphone, NyGmember, somjade, torri, thepunyapat, Ekachaiyan, iamsu, praken, vichai sila, gs33dv, saksidht, mongkol23
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:11:02 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ส่วนประกอบของดินตามธรรมชาติ 1 อนินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่เกิดจากชิ้นเล็กชิ้นน้อยของแร่และหินต่างๆ ที่สลายตัวโดยทางเคมี กายภาพ และชีวเคมี ทำหน้าที่เป็นแหล่งของธาตุอาหารให้กับพืช และเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดิน 2 อินทรียวัตถุ ได้แก่ส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังหรือการสลายตัวของเศษเหลือของพืชและสัตว์ที่ทับถมกันอยู่บนดิน ทำหน้าที่ เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ให้พลังงานแก่จุลินทรีย์ดิน และ ควบคุมสมบัติทางกายภาพของดิน เช่นโครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำและการแลกเปลี่ยนอากาศของดิน แต่มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ 3 น้ำ ที่อยู่ในดินนั้น ทำหน้าที่ให้น้ำแก่พืช และช่วยละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และขนย้ายอาหารพืช 4 อากาศ ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่รากพืช และจุลินทรีย์ในการหายใจ 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:12:54 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ดินมีความลึกหรือความหนา แต่ถ้ามองความลึกนั้นลงไปตามแนวดิ่ง จะเห็นว่าดินนั้นทับถมกันเป็นชั้นๆ ดินที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ ตามแนวดิ่งนั้นเรียกว่า หน้าตัดดิน ตามปกติดินที่เกิดใหม่มักมีอินทรียวัตถุสะสมอยู่ที่ดินบน แต่จะมีปริมาณน้อยในดินล่าง ในระดับที่ลึกลงไปตามแนวหน้าตัดของดินจะพบหินบางชนิดที่กำลังสลายตัวอยู่ใน ชั้นล่างเรียกว่า วัตถุต้นกำเนิดดิน ใต้วัตถุต้นกำเนิดดินลงไปเรียกว่าหินพื้น ซึ่งเป็นชั้นที่ยังไม่ได้ผ่านการสลายตัวผุพัง รากพืชจะเจริญเติบโต และดูดธาตุอาหารในส่วนที่เป็นดินบนและดินล่าง ซึ่งมีความลึกไม่เท่ากันในดินแต่ละชนิด ดินที่ลึกก็จะมีพื้นที่ที่ให้พืชหยั่งรากและดูดธาตุอาหารได้มากกว่าดินที่ ตื้น ดังนั้นการปลูกพืชให้ได้ผลดีควรพิจารณาความลึกของดินด้วย 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:14:06 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
การที่พืชจะเจริญเติบโตเป็นปกติได้นั้นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ 1 แสงสว่าง เป็นแหล่งพลังงานซึ่งพืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างน้ำตาลและแป้ง 2 อุณหภูมิ อุณหภูมิของดินและของบรรยากาศควบคุมอุณหภูมิภายในต้นพืช กระบวนการต่างๆ ภายในพืช เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ 3 ความชื้นหรือน้ำ เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์แสง และทำหน้าที่ต่างๆ มากมายในพืช เช่น ทำให้เซลล์เต่งตัว เป็นตัวกลางในการขนย้ายธาตุอาหาร และอินทรียสาร 4. ชนิดและปริมาณของก๊าซต่างๆ ในดิน อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วยก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนจากอากาศในดินหายใจ ถ้ามีก๊าซนี้ไม่เพียงพอรากจะไม่เจริญเติบโต ระบบรากไม่ดี ซึ่งทำให้ดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อย 5. สภาพกรดด่างของดิน นิยมบอกเป็นค่าพีเอช ดินที่มีพีเอช เท่ากับ 7 ถือว่าเป็นกลาง แต่ถ้าต่ำกว่า 7 ก็เป็นดินกรดและสูงกว่า 7 เป็นดินด่าง พืชโดยทั่วไปเจริญเติบโตได้ดีหากดินมีพีเอชใกล้เป็นกลาง 6. โรคและแมลงศัตรูพืช สิ่งมีชีวิตบางอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคและแมลงหลายชนิดเป็นศัตรูร้ายแรง ต่อพืช ดังนั้นถ้ามีโรคและแมลงรบกวนมากย่อมจำกัดการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช 7. ธาตุอาหารในดินและสมบัติต่างๆ ของดิน สมบัติของดินทางเคมี กายภาพ และชีวภาพต่างก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งสิ้น ธาตุอาหารในดินถูกพืชดูดขึ้นไปใช้สร้างผลผลิต และสูญเสียไปจากดินอย่างถาวร ถ้าไม่มีการชดเชยส่วนที่หายไป ดินจะเสื่อมโทรมและมีปัญหาในการผลิตพืชต่อไป 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:15:20 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 16 ธาตุ ในจำนวนนี้ 3 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ได้จากน้ำและอากาศ ส่วนธาตุอาหารอีก 13 ธาตุนั้นมาจากดิน ในบรรดาธาตุอาหารทั้ง 13 ตัวนั้น เอ็น พี เค เป็นธาตุอาหารที่พืชใช้ในปริมาณมากที่สุด ดังนั้นการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไปในดินในรูปของปุ๋ยจึงเน้นเฉพาะ เอ็น พี เค ส่วนธาตุอาหารอีก 10 ตัวนั้น จัดเป็นธาตุอาหารรองและจุลธาตุ หรือธาตุอาหารเสริม ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการใส่ให้กับพืชบ้างหากดินบริเวณที่ปลูกพืชนั้นขาดแคลน เช่น ดินทราย ดินที่เป็นกรดมากไปหรือเป็นด่างมากไปเป็นต้น 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:16:23 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
มื่อมีการเก็บเกี่ยวพืชออกไปจากดินในรูปของผล หรือใบก็ตาม ธาตุอาหารต่างๆ ก็จะสูญหายไปกับพืชที่เก็บเกี่ยว โดยจะสูญเสีย เอ็น พี เค มากกว่าธาตุอาหารตัวอื่นๆ ถ้าเราไม่ใส่ธาตุอาหาร เอ็น พี เค เพิ่มเติมลงไปในดิน ดินก็จะมีธาตุอาหารลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดดินก็เสื่อมโทรม และไม่สามารถผลิตพืชได้ เมื่อถึงเวลานั้นการที่จะปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม จะใช้เวลานานมาก ดังนั้นเราจึงควรทะนุบำรุงรักษาดินของเราไม่ให้เสื่อมโทรม โดยการใส่ธาตุอาหารพืชลงไปในดินให้เท่ากับการสูญเสียออกไป การสูญเสียธาตุอาหารไปจากดินมีหลายทางคือ 1 สูญเสียไปกับส่วนของพืชที่เก็บเกี่ยวออกไปจากพื้นที่ปลูก 2 ถูกชะล้างออกไปจากบริเวณรากพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน 3 สูญหายไปในรูปของก๊าซ กรณีของไนโตรเจน 4 เกิดการตรึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัส การตรึงหมายถึงธาตุอาหารถูกดินหรือสารประกอบในดินจับไว้ พืชไม่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 04, 2010, 05:05:25 PM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
การใช้ที่ดินเพื่อการผลิตพืชเป็นการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดความสูญหายของปริมาณธาตุอาหารพืชที่อยู่ในดิน เนื่องจากพืชดูดธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของพืช ธาตุอาหารบางส่วนจะถูกเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของลำต้น ใบและผล เมื่อมนุษย์เก็บเกี่ยว ผลผลิตออกจากพื้นดินที่ปลูก ธาตุอาหารที่ติดอยู่กับผลผลิตก็จะถูกนำออกจากพื้นที่นั้นด้วย หากใช้ที่ดินผลิตพืชเป็นเวลานานโดยปราศจากการทดแทนปริมาณธาตุอาหารที่ติดไปกับผลผลิต ดินในบริเวณ ดังกล่าวจะกลายเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและไม่สามารถใช้ผลิตพืชได้ในที่สุด ดังนั้นเพื่อทดแทนปริมาณธาตุอาหารพืชที่สูญหายไปกับผลผลิตจำเป็นต้องมีการ เพิ่มธาตุอาหารให้กับดินที่ปลูกพืชนั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและนำไปสู่การผลิตพืชที่ยั่งยืนตลอดไป การใส่ปุ๋ยเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดิน ดังนั้นเพื่อทดแทนปริมาณธาตุอาหารพืชที่สูญหายไปกับผลผลิตจำเป็นต้องมีการ เพิ่มธาตุอาหารให้กับดินที่ปลูกพืชนั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและนำไปสู่การผลิตพืชที่ยั่งยืนตลอดไป การใส่ปุ๋ยเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดิน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:17:09 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ปุ๋ย-สารประกอบที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ปุ๋ยเคมี คือสารประกอบอนินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช เพียงแต่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เมื่อนำมาใส่ลงไปในดินที่มีความชื้น สารประกอบเหล่านี้จะละลายและพืชสามารถดูดกินไปใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตได้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:17:48 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ปุ๋ยอินทรีย์นั้นหมายถึงสารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่พืช สัตว์ จุลินทรีย์ โดยผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ มีประโยชน์ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินเป็นต้นว่า ทำให้ดินโปร่ง ร่วน ซุย เพิ่มความสามารถในการระบายน้ำและอากาศ ทำให้การชอนไชของรากเพื่อหาธาตุอาหารง่ายขึ้น ส่วนเรื่องปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์นั้นมีอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์เช่น มีธาตุไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตีน แต่เมื่อใส่ลงไปในดิน สารประกอบเหล่านี้ไม่สามารถเป็นประโยชน์กับพืชได้ทันที จำเป็นต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์เสียก่อน โดยสุดท้ายจะปลดปล่อยธาตุอาหารในรูปสารประกอบอนินทรีย์ชนิดเดียวกับปุ๋ยเคมี
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:18:08 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
การบ่งบอกปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี
บนฉลากปุ๋ยเคมีทุกชนิดจะระบุปริมาณธาตุอาหารหลักเป็นตัวเลข 3 จำนวนเรียงกันเรียกว่า “สูตรปุ๋ย” โดยตัวเลขจะหมายถึง % โดยน้ำหนักของไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม หรือ เอ็น-พี-เค เรียงตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 13-0-46 แสดงว่ามีไนโตรเจน 13% ไม่มีฟอสฟอรัส และมีโพแทสเซียม 46% สำหรับธาตุอาหารอื่นๆ ในปุ๋ยเคมี ผู้ผลิตจะระบุหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าระบุก็จะเขียนบอกบนฉลากปุ๋ยว่ามีธาตุอะไรบ้าง และมีเท่าไร รูปของธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี
1 ไนโตรเจน (N) : ในปุ๋ยเคมีอาจจะอยู่ในรูปแอมโมเนียมหรือไนเตรตหรือยูเรีย ปริมาณไนโตรเจนในสูตรปุ๋ย หมายถึงปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดิน พืชสามารถดูดกินได้ทันที
2 ฟอสฟอรัส (P) : ในปุ๋ยเคมีอาจจะมีอยู่ทั้งในรูปที่พืชดูดกินได้ที่เรียกว่า รูปที่เป็นประโยชน์ และบางส่วนอาจจะอยู่ในรูปที่พืชดูดกินไม่ได้ ตัวเลขที่บอกปริมาณฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยจะหมายถึง เฉพาะรูปที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยหินฟอสเฟตบด ถ้ามีฟอสฟอรัสทั้งหมด 30% แต่อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้ เพียง 3% ก็จะมีสูตรเป็น 0-3-0 เท่านั้น
3 โพแทสเซียม (K) : ในปุ๋ยเคมีก็อาจจะมีอยู่ทั้งในรูปที่พืชดูดกินได้ หรือที่เรียกว่า รูปที่ละลายน้ำได้ และรูปที่พืชดูดกินไม่ได้ ซึ่งตัวเลขในสูตรปุ๋ยก็จะหมายถึงเฉพาะรูปที่พืชดูดกินได้เท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์- ปุ๋ยเคมี ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ 1. ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น 1. ปริมาณธาตุอาหารต่ำ ต้องใส่ในปริมาณมาก 2. อยู่ในดินนาน (ค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหาร) 2. ใช้เวลานานกว่าจะเป็นประโยชน์ 3. ส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์ดีขึ้น 3. ราคาแพงเมื่อเทียบกันต่อหน่วยธาตุอาหารพืช 4. ส่งเสริมสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน 4. หายากในปัจุบัน 5. มีจุลธาตุอาหาร
ข้อดีของปุ๋ยเคมี ข้อเสียของปุ๋ยเคมี 1. มีปริมาณธาตุอาหารสูงมาก (ใช้นิดเดียวก็เพียงพอ) 1. ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมทำให้ดินเป็นกรด 2. ราคาถูก เมื่อเทียบต่อหน่วยธาตุอาหารพืช 2. ไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงดิน 3. หาง่าย 3. มีความเค็ม 4. ใช้ง่าย 4. ต้องมีความรู้ในการใส่ปุ๋ยเพียงพอ 5. ให้ผลเร็ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช 1. ตัวอย่างดินต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่จะตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน 2. อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด 3. ตัวอย่างดินแต่ละตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอ และขนาดของพื้นที่ ไม่ควรเกิน 50 ไร่ แต่ถ้าพื้นที่มีขนาดใหญ่ ไม่สม่ำเสมอ มีความลาดเทต่างกัน ปลูกพืชต่างชนิดกัน หรือเคยใช้ปุ๋ยต่างกัน ฯลฯ ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อยๆ แล้วเก็บตัวอย่างดิน เพื่อให้ได้ตัวแทนของแต่ละแปลงย่อย (1 ตัวอย่าง 1 แปลงย่อย เก็บดิน 15-20 จุด) 4. การเก็บตัวอย่างดินจะทำเมื่อไรก็ได้ แต่ถ้าปลูกพืชตามฤดูกาล ควรเก็บตัวอย่างดินก่อนการปลูกพืช เพื่อให้ได้ข้อมูลธาตุอาหารพืชในดินที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
อุปกรณ์และวิธีการ ในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ทางด้านการเกษตร 1. อุปกรณ์ 2. วิธีการ แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย แล้วกำหนดหมายเลขแปลงย่อยเหล่านั้นโดยดูลักษณะพื้นที่ซึ่งมีความใกล้เคียงกันทั้งเรื่องความลาดเท ลักษณะของเนื้อดิน และสิ่งอื่นๆที่สังเกตุได้เป็นหนึ่งแปลงย่อย( หนึ่งตัวอย่างดิน) 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:20:19 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
2) เดินสุ่มเก็บตัวอย่างให้ทั่วในแต่ละแปลงย่อย เก็บตัวอย่างดินในแต่ละแปลงย่อย 15-20 จุด 3) การเก็บตัวอย่างดินแต่ละจุด ใช้พลั่วหรือจอบขุดดินเป็นหลุม รูปคมขวาน หรือรูปลิ่ม ลึกประมาณ 15 ซม. ใช้พลั่วแซะดินด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 ซม. ลึก 15 ซม. ตัวอย่างดินที่ได้นี้เป็นดิน 1 จุด แล้วใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติก สำหรับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เก็บดินที่ความลึก 0-15 และ 40-50 ซม. 4) คลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากัน เทลงบนผ้าพลาสติก คลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง กองดินเป็นรูปฝาชี แบ่งดินออกเป็น 4 ส่วน เก็บดินไว้เพียงส่วนเดียว ให้ได้ดินหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ 5) ถ้าดินเปียก ตากในที่ล่ม แล้วบดให้ละเอียด เก็บใส่ถุง และเขียนหมายเลขกำกับไว้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:20:38 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
เกษตรกรที่ต้องการใช้คำแนะนำปุ๋ยเฉพาะพื้นต้องรู้จักชุดดินหรือชนิดของดินในไร่นา สวนของตนเองอย่างดี โดยติดต่อ สถานีพัฒนาที่ดินซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่านที่สุด หลังจากนั้น ต้องเก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆเพื่อขอคำแนะนำการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องในพื้นที่ของเรา
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 12, 2010, 06:10:29 PM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vud
staff
ออฟไลน์
กระทู้: 5471
|
ดินเปรี้ยว หรือดินกรด (Acid soil) หมายถึง ดินที่มีค่า pH วัดได้ต่ำกว่า 7.0 พื้นที่ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ ดินเปรี้ยวจัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดช่วงฤดูฝนและลักษณะของดินเป็นดินเหนียว มื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของดินเปรี้ยวจัดพบว่าความเป็นกรดอย่างรุ่นแรงของดินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของพืชและผลผลิตของพืชตกต่ำ เพราะทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารหลักของพืชลดลงหรือมีไม่พอเพียงต่อความต้องการของพืช ธาตุอาหารของพืชที่มีอยู่ในระดับต่ำคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ส่วนธาตุอาหารของพืชบางชนิดมีเกินความจำเป็นซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการเจริญเติบโนและผลผลิตของพืชที่ปลูก เช่น อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส และความเป็นกรดจัดยังมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินและมีประโยชน์ต่อพืชมีปริมาณที่ลดลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องหาลู่ทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้สูงขึ้น ภาพหน้าตัดดินเปรี้ยวจัดเมื่อขุดลึกลงไป ด้านบนจะเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดแต่เมื่อลึกลงไปจะมีเนื้อดินสีเหลืองๆเป็นสารประกอบ จาโรไซท์ ที่เกิดจากการทำปฏิกริยาของอากาศกับสารไพไรท์ใต้ดิน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2012, 03:20:55 AM โดย vud »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|