หน้า: 1 ... 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 [28] 29 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 246706 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #432 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 02:03:06 PM »

ด้านการก่อสร้างห้องน้ำ

ก็ช้า ตามสไตล์ช่าง

สองอาทิตย์ พี่งได้เท่านี้




ด้านการวางมาตรฐาน GAP
แม้ว่าเราส่งน้ำไปตรวจแล้ว จะสะอาดดี ผ่านมาตรฐานทั่วไป แต่เพื่อความปลอดภัยสูงสุด จึงควรต้องมีการกรองอีกชั้นหนึ่ง

จึงติดตั้งชุดกรองคาร์บอน และกรองเรซิน เพื่อปรับสภาพน้ำ




บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์

สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #433 เมื่อ: กันยายน 07, 2015, 10:05:07 AM »




แวะมาทักทายครับ
บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง
pom307
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 198


« ตอบ #434 เมื่อ: กันยายน 07, 2015, 01:08:07 PM »

อ่านแล้ว เหมือนกับ TRAIN ON TE JOB  เยี่ยม
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #435 เมื่อ: กันยายน 07, 2015, 02:25:41 PM »

เสาร์นี้ ขึ้นไปตรวจคุณภาพน้ำ ด้วยเครื่องวัด PH แบบง่ายๆ

ได้ 7.7 ถือว่าดี เป็นกลาง

แต่มะนาว มะกรูดชอบน้ำ 6.5 และแร่ธาตุต่างๆ ละลายดีที่ 6.5

จึงต้องปรับ PH น้ำบ้าง สัก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ให้ลงไปที่ 6.5



นอกจากนี้ยังมีเพื่อนๆ จากในเพจชมรมผู้ปลูกมะกรูดตัดใบเพื่อการค้า มาเยี่ยมชมถึงสวน



ยินดีอย่างยิ่ง ตั้งแต่เปิดสวนมา มีคนเข้ามเยี่ยมชม นับสิบแล้ว แต่พึ่งได้มีโอกาสถ่ายภาพเป็นที่ระลึก 555

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 17, 2015, 10:22:38 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #436 เมื่อ: กันยายน 07, 2015, 02:35:18 PM »

ส่วนความคืบหน้างานห้องน้ำ

มีปัญหาให้แก้ไขตลอด

รอบนี้ปัญหาเยอะ เพราะห้องน้ำ ไม่ได้เขียนแบบจริงจัง

แค่เขียนแบบโครงสร้าง แต่แบบท่อ ไม่ได้เขียน ตำแหน่งท่อต่างๆ บอกช่างเอาไว้เฉยๆ

ช่างก็ ช่างชาวบ้าน ซึ่งก็.... ช่างไม่รู้อะไร...บ้างเลย...


หัวเกลียวฝั่งกำแพง สั่งว่า ให้จำง่ายๆ ต้องเกลียวในทั้งหมด ของที่ซื้อให้ก็เป็นเกลียวใน

พี่ท่านก็ไปหยิบหาจากจุดอื่น ที่เก็บอุปกรณ์ท่อ ไปเอาเกลียวนอกมาใส่

แถมยังเถียงอีกด้วย ว่า สายฝักบัว มันก็เป็นเกลียวใน จะเอาเกลียวในใส่ได้ไง

เลยต้องย้อนถามสั้นๆ ว่า "ลุงเอาสายฝักบัวต่อกำแพงเลย แล้วลุงจะปิดน้ำฝักบัวตรงไหน"

"ก๊อกลุงก็ยังไม่ได้ต่อ ก๊อกน้ำทุกตัวมาตรฐานคือ เกลียวใน เป็นตัวผู้ ลุงจะไปเอาก็อกเกลียวนอก ตัวเมียมาจากไหนให้ผม"

งานนี้ก็แก้กันไป เจาะกำแพงทิ้ง ตัดท่อ เดินใหม่ วุ่นวาย...








การทำงานห้องน้ำครั้งนี้สอนให้รู้ว่า...

อย่าได้ไว้ใจช่าง...

ห้องน้ำดีๆ สวยๆ  จะเสียก็เพราะช่าง

... จริงๆ น่าจะเชื่อในความรู้ตัวเองว่า...

"งานสร้างห้องน้ำ คือ งานที่วัดระดับฝีมือของช่าง"

ไอ้เราก็ดันเห็นว่าสร้างโรงเรือนมาได้ ก็น่าจะสร้างห้องน้ำได้... ไม่น่าเลย...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2015, 08:20:41 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #437 เมื่อ: กันยายน 07, 2015, 02:43:06 PM »

ระบบจ่ายน้ำปุ๋ย

มีสองระบบคือ วาล์วเวนจูรี่ กับ วาล์วหน้าปั้ม

หลังจากทดลองใช้งานวาล์วเวนจูรี่แล้ว ก็พบปัญหาว่า ถ้าแรงดันไม่ถึง การดูดปุ๋ยจะทำได้ช้า และค่อยข้างปรับแต่งวุ่นวาย

ส่งผลให้คนจะจ่ายปุ๋ยต้องเรียนวิธีการใช้งาน ต้องมีประสบการณ์

พอแปลงมะกรูด ผมเลยเปลี่ยนเป็น วาล์วหน้าปั้มแทน

ติดตั้งง่ายๆ ก็แค่ ติดข้อต่อสามทางแบบลด หน้าท่อดูด ในระยะที่ไม่กวนการดูด คือ ห่างจากหน้าปั้มสัก ฟุตสองฟุต

แล้วก็เดินท่อ พร้อมวาล์ว แบบในรูป

ซึ่งความจริง ติดตั้งตายตัวก็ได้ แต่ผมเลือกใช้สายยาง เพื่อกะว่าให้สามารถขยับย้ายถังปุ๋ยได้ง่ายๆ

งานนี้ยังไม่ได้ทดลอง

และคาดว่า สายยางน่าจะแบนติดกัน เพราะแรงดูด ถ้าปล่อยสายให้ว่างๆ แบบนี้

ก่อนใช้งานจริง ต้องล่อน้ำเข้าไปให้เต็มก่อน เพื่อให้ไม่เกิดสภาพสูญญากาศจากแรงดูดของปั้ม

ส่วนเวลาใช้ก็แค่เปิดวาล์ว น้ำในถังก็จะถูกดูดไปง่ายๆ แค่นี้ คุมด้วยวาวล์เดียว จบ ไม่เหมือนเวนจูรี่ ที่ต้องคุมด้วยหลายวาล์ว




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2015, 08:21:49 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #438 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 08:18:27 AM »

สงสัยกูเกิ้ล เปลี่ยนระบบ เอาลิงก์ url รูปมาเฉยๆ ไม่ได้
ภาพเลยไม่ขึ้น

ผมลองแก้แล้ว รบกวนเพื่อนๆ ช่วยดูหน่อย มีภาพไหนไม่ขึ้นอีกไหมครับ

บางทีผมมองเห็นภาพ เพราะเป็นสิทธิ์ความเป็นเจ้าของภาพ เลยมองเห็น


บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
บ่าววี-สวนแห่งฝัน
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 516



« ตอบ #439 เมื่อ: กันยายน 12, 2015, 12:19:30 PM »

วันนี้ได้น้องนักออกแบบที่น่ารัก รับแนวคิดไป แล้วพัฒนาโลโก้ของสวน เสร็จเรียบร้อย เลยเอามาแบ่งปันให้ชมกันครับ



ผมเลือกใช้ นกฮูก และใบโคลเวอร์ เพราะ นกฮูกเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอชุมแพ มีที่มาจาก ผานกเค้า (หลายคนคิดว่าผานกเค้าอยู่ภูกระดึง เพราะเป็นจุดจอดรถ แต่จริงๆ อยู่ในอำเภอชุมแพครับ)

ส่วนใบโคลเวอร์ 4 ใบ หมายถึง ความโชคดี เพราะปกติ ใบโคลเวอร์จะออกเพียง 3 ใบ มีโอกาสน้อยมากๆ ที่จะออก 4 ใบ ใครได้เจอย่อมหมายถึงโชคดี และเป็นความโชคดีที่เกี่ยวกับพืช ต้นไม้ จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้แทนทั้งชื่อ "โชคดี" และความโชคดีในการทำการเกษตรต่อไปในอนาคต



สวัสดีคับ  ยิ้มเท่ห์
แวะมาจอบ หลอยมาชม "สวนมะกูดแห่งใหม่ของภาคอิสาน"คับ
โลโก้ดูดีมากคับ  อายจัง อายจัง อีกไม่นานน่าจะได้เจอในสินค้าตามท้องตลาดแน่ๆเลยนะคับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า

สุขสำราญฟาร์ม-สวนแห่งฝัน สวรรค์บนดิน
เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง
ติดแคมป์โคขุนโพนยางคำ อำเภอเมือง จ.สกลนคร
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #440 เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 09:13:10 AM »

ขอบคุณครับ คุณบ่าววี

แต่กว่าจะถึงปลายทาง ทำผลิตภัณฑ์เอง คงอีกนานครับ

ความฝันที่ว่าจะเป็นที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ก็เจอปัญหาใหญ่คือ "ตัวคน" นิสัย และวิถีชีวิตของพวกเขาเอง

หลายครั้งที่ปัญหาวิ่งเข้ามา ผมถามตัวเองย้ำๆ หาคำตอบในความผิดพลาด ไม่อยากแม้แต่จะโยนให้ผู้อื่น

แต่ด้วยเหตุของปัญหาหลายๆ ครั้ง มันจบที่ตัวแปรเดียวเสมอคือ "คน"

ทุกวันนี้ผมตอบตัวเองลึกๆ ว่า

ไม่แปลกใจเลยที่หลายๆ ปัญหาในชาติ เกิดขึ้นเพราะอะไร ต้นทุนความคิดของ "คน" ของเรา ต่ำมาก

ทำให้ระบบความคิดมันเพี้ยน พอระบบความคิดเพื้ยน ระบบสายตาก็จะสั้น มองอะไรยาวๆ ไม่เป็น มองแต่เฉพาะหน้า แก้ปัญหาไปวันๆ

อย่างวันนี้ พึ่งอ่านข่าวเจอว่า ต่างประเทศไม่รับซื้อก้อนยางจากภาคอีสาน เพราะใส่กรดซัลฟูริก

เหตุที่ใส่กรด ก็เพราะ กรดราคาถูก

แต่ไม่มีฐานความรู้เลยว่า กรดที่ว่า ใส่ไปแล้ว ทำให้ยางไม่ได้คุณภาพ

....

ไม่รู้บ่นทำไม 55




บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #441 เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 09:20:35 AM »

เขียนถึง โลโก้หน่อย

เริ่มต้นความคิดของโลโก้ ก็มาจากชื่อสวนครับ อันประกอบด้วย

เกษตร
โชคดี
ชุมแพ

ผมจึงคิดว่าอะไรเป็นตัวแทนของทั้งสามอย่างบ้าง

การเกษตร - งั้นต้องมีอะไรเขียวๆ เกี่ยวกับพืช ต้นไม้
โชคดี - อะไรเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีบ้าง
ชุมแพ - อะไรคือ สัญลักษณ์ชุมแพ

จาก 3 สิ่ง ผมได้ออกแบบง่ายๆ ในโปรแกรม Office ออกมาเป็นแบบนี้



ซึ่งยังขาด "นกฮูก" สัญลักษณ์ของชุมแพ

และมันเกินความสามารถของผม จึงส่งให้น้องนักออกแบบ ที่สนิท ช่วยดำเนินการให้จนออกมาเป็นโลโก้อย่างที่เห็น และต้องการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2015, 09:30:14 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #442 เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 10:14:43 AM »

วันเสาร์ที่ผ่านมา

ขึ้นไปแก้งานระบบน้ำ ให้ถูกต้องตามที่ออกแบบ

เดิมออกแบบไว้ แต่มีปัญหาเฉพาะหน้า จึงแก้ไขให้ใช้งานไปก่อน ใช้แบบนี้มา 1 ปี ปีนี้มีเงินทุนมาลง จึงจัดการให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

ด้วยปั้มแช่ มิซูบิชิขนาด 400W (ครึ่งแรงม้า) ตามสเปก จ่ายน้ำที่ 1 บาร์ ได้ 6000 ลิตร ซึ่งเป็นไปตามการออกแบบน้ำในส่วนของมะนาว

ติดตั้งแบบตัวยูคว่ำ โดยที่เลือกใช้ตัวนี้ เพราะมีระบบลูกลอยในตัว ซึ่งช่วยให้ไม่ต้องใช้ตู้คอนโทรลแบบควบคุมลูกลอยอีก เวลาสูบก็สามารถปล่อยให้สูบจนน้ำหมดแท็งก์ได้เลย

โดยระยะเวลาดูดหมดแท็งก์ ประมาณ 40 นาที ก็เท่ากับน้ำประมาณ 4000 ลิตร

แต่ก็ขำตัวเองครับ

ติดตั้งเสร็จ ลองเปิด ใช้ได้ดี ...แต่ ปิดแล้ว น้ำไม่หยุด 555

ลืมใส่วาล์วอากาศ

ของเดิมมีใส่ไว้ เอาออกไปแล้วลืมเอามาติดอีกที




ตู้คอนโทรลรอบนี้ ติดตั้งอุปกรณ์เองทั้งหมด ก็ไม่ยากอะไร ถ้าเข้าใจการเดินสายไฟของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยากและควรจ้างคือ ถ้าไม่มีอุปกรณ์ในการจัดทำ เช่น ดอกสว่านเจาะรู ขนาด 21mm (หัวหนึ่งก็หลายร้อย พอดีผมเคยซื้อไว้ทำอย่างอื่นนานแล้ว) ไว้เจาะช่องเข้าออกของสายไฟ และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น หลอดไฟ สวิตซ์เลือก

ถ้าไม่มีอุปกรณ์จ้างเอาอาจคุ้มกว่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2015, 11:22:13 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #443 เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 10:34:36 AM »

พอได้มีโอกาสปีนไปบนแท็งก์ เลยถ่ายรูปมุมสูง ภาพรวมๆ ของทั้งสวนมาฝากครับ

สวนมะนาว 800 ต้น



นาข้าว ที่ใกล้แท็งก์ก็ได้น้ำเยอะ ที่ไกลๆ ก็ไม่มีน้ำ โตช้า ถึงกับไม่โตเลย


มุมมะกรูด จะเห็นช่วงที่ตัดหญ้าแล้ว กับยังไม่ได้ตัด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2015, 11:17:29 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #444 เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 10:39:24 AM »

อันนี้ อนาคต สมบัติของลูกชาย

ไม้ยืนต้นทั้งหลาย ที่กว่าจะสวยงาม ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี




และนี้ภาพสุดท้ายของสัปดาห์นี้ครับ

ระบบกรองน้ำที่แก้เรียบร้อยเป็น 4 หม้อกรอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2015, 09:32:52 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #445 เมื่อ: กันยายน 15, 2015, 09:22:01 AM »

วันนี้ขอเสนอเกี่ยวกับการจัดการน้ำของพืชครับ

ในการให้น้ำเรามีหลักการตรวจสอบว่าน้ำที่ให้เพียงพอหรือไม่ แบบง่ายๆ 3 ทางให้เลือก

แบบแรกแค่ซื้ออุปกรณ์วัดความชื้นในดินมาวัดครับ หน้าตาเป็นแบบในภาพที่ 1 เป็นอุปกรณ์ราคาถูก ใช้ง่าย แต่ไม่เที่ยงตรงนักครับ เพราะใช้หลักการแลกเปลี่ยนทางไฟฟ้า ถ้าดินมีความชื้น แท่งสองแท่งจะสื่อกันได้ ทำให้เข็มวัดขยับ (ผมอธิบายด้วยภาษาแบบง่ายๆ นะครับ) แต่เจ้าแท่งนี้วัดได้แค่ดินตื้นๆ ผิวดิน แต่วัดลึกไม่ได้ (ถ้าจะวัดลึกก็ต้องขุดดินลงไปวัด 55)

แบบสองเรียก Tensiometer จะเป็นกระเปาะเซรามิก แบบนี้วัดความชื้นได้แม่นยำมากกว่า และสามารถเลือกระดับชั้นดินที่จะวัดได้

โดยทั้งสองแบบ เราต้องใช้เครื่องมือวัดที่ระดับผิวดิน และชั้นใต้ดินลึกอย่างน้อย 40 ซม. ขึ้นไป แล้วนำค่าที่ได้มาใช้ควบคุมการจ่ายน้ำ กล่าวคือ เราจะจ่ายน้ำให้ดินจนเกิดความชื้นในระดับ 50 ซม. ก็จะหยุดจ่าย และจะเริ่มจ่ายน้ำอีกทีเมื่อผิวดินเริ่มแห้ง และดินชั้น 50 ซม. เริ่มมีความชื้นน้อยลง

วิธีการแบบนี้เป็นวิธีทางวิชาการที่ถูกต้องและประหยัดน้ำที่สุด แต่ก็ยังต้องใช้คนควบคุม และคอยตรวจสอบ อยู่เสมอ จึงอาจไม่สะดวกนัก

วิธีที่สาม คือ การใช้ค่าสัมประสิทธิ์ของพืช หรือ Kc (Crop Coefficient ; Kc) ค่านี้เป็นค่ามาตรฐานในการใช้น้ำของพืช ซึ่งพืชแต่ละชนิดในแต่ละภูมิภาคจะมีค่าไม่เท่ากัน เราปลูกพืชอะไรก็ใช้ค่านั้นมาคำนวณ โดยท่านสามารถดูค่า Kc ของพืช 40 ชนิดในไทย ได้จากลิงก์นี้ http://water.rid.go.th/hwm/cropwater/CWRdata/Kc/

เมื่อได้ค่ามาแล้ว ท่านต้องใช้อีกค่าหนึ่งคือ ค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง หรือ ETo ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการทดสอบและเก็บข้อมูลสถิติแยกตามจังหวัดไว้แล้ว ในลิงก์นี้ http://water.rid.go.th/hwm/cropwater/CWRdata/ETo/

เมื่อได้ค่าทั้งสองมาแล้ว จึงเอามาคำนวณ หาค่า ปริมาณการใช้น้ำจริงของพืชต่อวัน โดยหน่วยที่ได้จะออกมาเป็น มม.ต่อตารางเมตร (1 มม. เท่ากับเติมน้ำ 1 ลิตร)

ตัวอย่างเช่น สมมติให้ มะนาวมีค่า Kc เท่ากับ 1.2 ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเดือนมกราคมมีค่า ETo เท่ากับ 5 ก็จะได้ว่า ปริมาณการใช้น้ำจริงของมะนาว คือ 1.2*5 = 6 มม./ตร.ม

สมมติว่า มะนาวต้นนั้นมีขนาดรัศมี 1 เมตร เท่ากับรากปกคลุมพื้นที่ประมาณ 3.141 ตารางเมตร ก็ต้องรดน้ำเท่ากับ 3.141*6 = 18.846 ลิตร ต่อต้น

เราก็นำค่านี้ไปคำนวณหาระยะเวลาที่จ่ายน้ำรดต้นไม้ เช่น ถ้าใช้หัวน้ำหยดขนาด 8 ลิตรต่อชั่วโมง ก็ต้องรดน้ำประมาณ 2 ชั่วโมง 20 นาทีต่อวัน เป็นต้น

ซึ่งค่า ET หรือปริมาณการใช้น้ำจริงของพืชนั้น เป็นค่าทางสถิตที่คำนวณร่วมกับสภาพอากาศของแต่ละพืชที่ จึงชดเชยการระเหยของน้ำและความต้องการใช้น้ำของพืชไว้เรียบร้อยแล้ว

---------------------------------
ข้อมูลนี้มีประโยชน์อย่างไร ....ในยามน้ำเยอะคงไม่มีใครสนใจ เพราะมีน้ำต้นทุนเพียงพอ แต่ในยามแล้ง ยามที่น้ำหายาก... ถ้าเราไม่รู้ว่าต้นไม้ต้องใช้น้ำจริงๆ เท่าไร ก็อาจส่งผลถึงผลผลิตที่จะออกได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2015, 11:13:54 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #446 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2015, 08:36:42 AM »



หลุมขนมครกของเรา

พึ่งขุดเมื่อเมษายนที่ผ่านมา กักเก็บน้ำได้ 800,000 ลิตรโดยประมาณ ปีนี้เต็มแล้ว ถือเป็นโชคดี ...อย่างน้อยๆ แล้งนี้ก็มีน้ำต้นทุน

งานต่อไปคือ ปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างร่มเงา เพื่อลดการระเหยน้ำ ปรับสภาพน้ำเพื่อเลี้ยงปลา เป็นแหล่งรายได้เสริม

เดินช้าๆ...ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวง

....

ผมไม่ได้เข้าสวนมา 1 เดือนเต็มๆ แล้ว

มีภารกิจที่ กทม ยาวทุกเสาร์อาทิตย์

ถือว่าได้พักผ่อนเป็นครั้งแรก ในรอบ 6 เดือน จากการวิ่งขึ้นลง กทม ชุมแพ ทุกเสาร์อาทิตย์

แต่ใจก็ยังห่วงๆ เพราะยังเหลืองานอีกเพียบ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #447 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2015, 01:29:40 PM »

หลังจากติดภารกิจ งานประจำ และงานของลูก ป่วยด้วย รวมๆ กัน ไม่ได้ไปสวนเลย 6 อาทิตย์เต็มๆ

ขึ้นไปอีกที เลยมีภาพนี้มาฝากเลย



ลูกหลง 555

คนงานไม่กล้าเด็ด ทั้งๆ ที่บอกไว้แล้วให้เด็ดเลย

เลยชวนลูกชายไปเด็ดเอง



ได้มาหลายลูกอยู่ ทั้งเล็ก ทั้งใหญ่ (ส่วนใหญ่จะเล็กๆ)

-----------------------------------------------

ส่วนงานการจัดการ GAP ก็โดนพี่ฝน ทำให้ต้องเลื่อนมาเรื่อยๆ



เลยได้แต่เตรียมอุปกรณ์ไว้...

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
หน้า: 1 ... 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 [28] 29 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: