ฟาร์มเงิน สารคาม
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1057
|
สวัสดีครับ นับถือๆ ตัวผมเองจบ for civil ก็จริง แต่ระบบการทำ คิด วางแผน และทำการบ้านไม่เป็นระบบเหมือนท่านเลย ส่วนท่านจบด้านคอมพิวเตอร์มา ทำได้ดีกว่า นับถือครับท่าน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
มหาสารคาม
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ปัญหามีมาให้เก่งขึ้นได้ทุกวัน หลังจากส่งดินไปตรวจ กำหนดรับผลคือ 20 กรกฎาคม แต่ไม่มีความคืบหน้า เลยโทรไปตามเอง วันนี้ทางศูนย์วิจัยเลยส่งอีเมล์มาให้เรียบร้อย ผลตรวจง่ายๆ PH = 6.65 ECe = 4.07 OM = 0.5 P = 4.26 K = 41.60 สรุปได้ความว่า ค่า PH กำลังดี แต่ ECe หรือความเค็ม สูงเกินไปนิด น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 2 ส่วน OM หรือ อินทรีย์วัตถุ น้อยมากเกินไป ส่วนธาตุ P ก็น้อยเกินไป และ K มีปานกลาง หมายถึงอะไร หมายถึงว่า ต้องแก้ปัญหาดินเค็ม ซึ่งแก้ได้หลายวิธีเช่น สูบน้ำแช่ที่ดิน ให้เกลือละลายออก แล้วสูบน้ำออกไปทิ้ง หรือใช้ยิปซัม ปรับสภาพโครงสร้างดินให้ลดความเค็มลง หรือ ยกร่องลูกฟูก (ซึ่งทำแล้ว) แล้วจ่ายน้ำบนลูกฟูกให้ชุ่ม เพื่อให้เกลือค่อยๆ เดรนออกมากับน้ำด้านข้าง แต่วิธีนี้ เกลือจะมากองที่ทางเดินแทน และอาจมีเกลือหลงเหลืออยู่บนหลังลูกฟูก ส่วนผมจะแก้ไขอย่างไร คงต้องปรึกษา ท่านอาจารย์ อีกที ส่วน OM แก้ง่าย เพราะในหลุมปลูก เราผสมวัสดุ ตามต้องการอยู่แล้ว ซึ่งมี OM ปริมาณมากอยู่แล้ว ไม่ว่าจะปุ๋ยอินทรีย์ แกลบเผา หญ้าป่น จึงน่าจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของ OM ได้ค่อนข้างมาก และถือเป็นโชคดี เพราะมะนาว ใช้พื้นที่ดินเพียงรอบทรงพุ่ม ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องลงทุนปรับสภาพดินทั้งผืน แต่ปรับแค่บริเวณที่รากเดินถึงก็เพียงพอ (ซึ่งค่อยๆ ทะยอยทำได้ด้วย เพราะกว่ารากจะเดินยาวเป็นเมตร ก็เป็นปี) 
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, nitiwatn, nomadic_man, nopmtp, เพียรบ้านไร่, KENETIC_E®, LG, adulsri, ultranoi, กัญจน์, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
วันศุกร์พ่อตา โทรมา บอกว่าทางไฟฟ้าจะมาติดตั้งให้ในวันเสาร์ แผนชีวิตเลยเปลี่ยนหมด ตอนบ่ายวันศุกร์ รีบไปซื้อ สาย PE เพื่อขนขึ้นไป (ราคากรุงเทพร้านที่ผมซื้อ ถูกกว่าราคาที่ Do home หรือ ไทวัสดุ ไม่กี่สิบบาท แต่ถูกกว่าร้านในตัวอำเภอชุมแพ ร้อยกว่าบาท) ผมเลยจัดไป 8 ม้วน 1600 เมตร เต็มคันรถพอดีๆ มูลค่าที่ประหยัดได้ถือว่าขึ้นไปรอบนี้ไม่เสียค่าน้ำมัน 555  การไปดูงานติดตั้งหม้อไฟฟ้าเอง ก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างมาก 1. ลูกรอกและแร็กที่ติดบนเสาไฟฟ้า ชุดละร้อยนิดๆ ไม่เกิน 140 บาท สำหรับสองเส้น 2. ลูกรอกทำหน้าที่รั้งให้สายไฟตึง ไม่ตกท้องช้าง 3. เจ้าหน้าที่จะค่อยๆ หมุนลูกรอกจนสายไฟตึง (พอปล่อยจะหย่อนลงพองาม) 4. เสาไฟฟ้า ที่ลงหลุมแล้วได้มาตรฐาน ปีนยังไงก็ไม่มีโยก แต่ที่หน้างานปรากฎว่าโยนไป 2 ต้น เนื่องจากดินนิ่มมากเกินไป ต้องแก้โดยการเทปูนเสริมฐาน 5. เสาไฟตามมุม หากมีการหักมุมสายไฟ จะต้องมีสลิงดึงรั้งเพื่อยึดเสาไฟให้มั่น ไม่งั้นแรงดึงจากสายไฟฟ้าจะทำให้เสาล้มได้ (รวมถึงเสาไฟฟ้าต้นสุดท้ายด้วย) ไปๆ มาๆ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเสาไฟฟ้าทั้งหมด 5 หมื่นกว่าบาท เป็นค่ามัดจำหม้อไฟฟ้า 6 พันกว่า ที่เหลือค่าเสาไฟฟ้าและค่าอุปกรณ์และค่าแรง งานนี้แม้มีความรู้ แต่ไม่ลงมือเอง จ้างมืออาชีพทำดีกว่าครับ ปลอดภัยกว่า แต่เราออกแบบกำหนดสเปกไว้หลักๆ ที่สำคัญ เพื่อตอบโจทย์การจัดการคือ 1. ต้องติดตั้งสะพานไฟตั้งแต่จุดแรกหลังหม้อไฟฟ้า (ติดตั้งในเสาที่ดินเราเอง ไม่สามารถติดตั้งที่เสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้) เพื่อ อนาคตมีการแก้ไขงานไฟฟ้าภายในสวน จะสามารถตัดไฟฟ้าได้ทั้งระบบ คล้ายๆ กับเบรกเกอร์ชุดเมนของบ้านพักอาศัย 2. ต้องต่อจุดจ่ายไฟฟ้าทิ้งไว้เป็นระยะๆ และ ตอกสายดิน ให้เหมาะสม เพื่อ ในอนาคตหากต้องการไฟฟ้าจะได้มีจุดต่อจากเสาไฟฟ้าเลย ของผมให้ติดตั้งเบรกเกอร์และสะพานไฟไว้ในตู้ เลย แต่ไม่ได้เดินสายเพิ่มเพราะยังไม่จำเป็นต้องใช้   ภาพนี้ครับ จะเห็นมีเสาหนึ่ง เอียง ต้องให้รถเครนมาช่วยดึงกลับ แล้วเทปูนแก้ฐานราก  ส่วนปัญหาเดิมที่การไฟฟ้าไม่มาติดตั้งนั้น มีสองเรื่อง 1. ระยะที่ดินผมเกินกำหนด 1000 เมตร (มาแค่ไม่ถึง 80 เมตร) เลยแก้ไขด้วยการติดมิเตอร์ที่เสาไฟฟ้าต้นสุดท้าย และยอมเดินสายยาวจากเสาไฟฟ้านั้น เลียบผ่านแนวเสาไฟฟ้าปกติ จนถึงหน้าที่ดิน หากอนาคตมีการขยายไฟฟ้า ก็ค่อยย้ายมิเตอร์ในภายหลังได้ (อันนี้ข้อมูลพ่อตาผมผิด เพราะเข้าใจผิดเรื่องหม้อแปลง สายที่มาที่หน้าที่ดินใช้หม้อแปลงคนละตัวกับที่เห็น ระยะที่ตรวจสอบจึงผิด) 2. งานเยอะ เพราะหน้าฝน สายไฟขาดหรือมีปัญหาเยอะ แล้วทีมงานทำมีน้อย จึงต้องไปทำเคสเร่งด่วนก่อน เคสผมจึงช้า รวมระยะเวลา 2 เดือนเต็มกับการขอหม้อไฟฟ้า 3. เนื่องจากผมจ้างเพิ่มเติมนอกเหนือความรับผิดชอบของการไฟฟ้า คือ เดินสายไฟฟ้าภายในที่ดินด้วย งานจึงทำได้แค่วันเสาร์หรืออาทิตย์ ทำให้คิวที่ได้ช้า ------------------------------- ตอนนี้สบายใจขึ้นเยอะ และช่วงนี้คงเหนื่อยเยอะ เพราะเหลืองานอีกบานเลย กว่าจะลงต้นกล้าที่เพาะไว้ได้ 555
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, adulsri, KENETIC_E®, LG, nopmtp, nomadic_man, เพียรบ้านไร่, กัญจน์, ultranoi, TonyComes, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, muslin2557, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
ฟาร์มเงิน สารคาม
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1057
|
ยินดีด้วยครับเรื่องไฟฟ้า  สัมฤทธิ์ผลไปอีกอย่างแล้ว แต่ปัญหาการทำเกษตร ผมเองยอมรับเลย มีมาให้แก้เรื่อยๆ สู้ๆ ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
มหาสารคาม
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ใช่ครับ คุณ FarmNgern มีมาให้แก้ไข ให้เปลี่ยนเรื่อย
อย่างเรื่องระบบจ่ายน้ำเหมือนกัน
ตอนแรกจะใช้ Hunter แต่ดันไปเจอตู้คอนโทรลปั้มน้ำสำเร็จรูป
ดูแล้วงานดี ช่างไฟฟ้าปกติซ่อมได้
ขาดความสามารถแค่การควบคุมวาวล์ ซึ่งสามารถเสริมอุปกรณ์ได้ แต่ก็จะได้แค่ 1 จุด (สนนราคาก็ใกล้เคียงกัน)
แต่ประโยชน์ที่ได้ ที่ทำให้ผมต้องเปลี่ยนใจคือ ระบบออกแบบมาให้รองรับไฟฟ้า 190-240 โวลต์
หากต่ำกว่าหรือสูงกว่า จะมี Timer คุมให้หยุดการทำงานนาน 3 นาที
ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ไฟฟ้าไม่เสถียรได้ดี
ในขณะที่ของ Hunter หากอนาคตระบบไฟฟ้ามีปัญหา ผมต้องหาอุปกรณ์อื่นๆ มาติดตั้งเพื่อแก้ปัญหาเหมือนกัน
สรุป ผมเปลี่ยนใจใช้ของไทย คนไทยประกอบ เพราะ 1. หากเสีย ช่างไฟฟ้าทั่วไป ซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนได้ หากผมไม่สะดวก ก็ยังจ้างคนงานวิ่งไปซื้อของตามรหัส แล้วให้ช่างไฟฟ้าแถวๆ สวนเปลี่ยนได้ 2. ได้วงจรป้องกันไฟตก ไฟเกิน แบบมี Timer (จริงๆ ตัวปั้มมีชุดคอนโทรลเล็กๆ อยู่แล้ว แต่ไม่แน่ใจเรื่องเคสที่รองรับว่าดีแค่ไหน และเป็นรีเลย์ดังนั้น ถ่วงเวลาไม่นานมากเหมือนตู้คอนโทรล 3. ติดตั้งง่าย เดินสายง่าย งานเรียบร้อย
-------------------------------------------------- และจากการไม่ใช้ Hunter เท่ากับว่า ผมไม่มีอะไรไปสั่งวาวล์ ให้เปิดหรือปิด (ถ้าไม่หาชุดคอนโทรลมา)
ผมเลยเปลี่ยนการออกแบบ จากเดิมใช้มินิสปริงเกอร์ในการจ่ายน้ำ แล้วต้องแบ่งถึง 4 โซน
ผมเปลี่ยนเป็น จ่ายน้ำด้วยระบบหัวน้ำหยด ซึ่งด้วยประสิทธิภาพของปั้ม SAER BP/5 ทำให้ผมสามารถจ่ายน้ำได้ทั้งหมดในพื้นที่ โดยไม่ต้องแบ่งโซน
ส่วนการควบคุมปริมาณน้ำ ของพืช ใช้หัวน้ำหยดรุ่นที่สามารถหมุนปรับแรงได้แทน
ซึ่งด้วยสเปกปั้มเอาง่ายๆ 20,000 ลิตรต่อชั่วโมง หรือเท่ากับ 333.33 ลิตรต่อนาทีโดยประมาณ
หากหัวน้ำหยด 1 หัวจ่ายน้ำได้ 3 ลิตรต่อชั่วโมง เท่ากับปั้ม 1 ตัว รองรับต้นไม้ได้ 6666 ต้น
ซึ่งถ้าปลูกมะนาวระยะ 2*4 ไร่หนึ่งปลูกได้ 200 ต้น เท่ากับ ปั้ม 1 ตัวรองรับได้ถึง 30 ไร่
แต่ผมจะปรับหัวจ่ายน้ำหยด เป็นหัวจ่ายน้ำไหล 555 โดยคำนวณให้จ่ายน้ำ 10 นาที ได้น้ำ 5 ลิตร
ดังนั้น จะรองรับได้ 666 ต้น ซึ่งตอบโจทย์ในเฟสแรกที่จะปลูกมะนาวประมาณ 600 ต้น
คำนวณได้ตามนี้ เลยเปลี่ยนแผนความคิดเลย
ซึ่งหมายถึง ไม่ต้องใช้วาวล์ไฟฟ้าในการควบคุมแล้ว ประหยัดได้ 10,000 บาท ---------------------------------------------------------
แต่ยังติดปัญหาเรื่อง กาลักน้ำ ในระบบปั้มอีก ปัญหาหนึ่ง
กล่าวคือ ปั้มน้ำทั่วไป น้ำจะไหลผ่านได้ ดังนั้นหากปั้มต่ำกว่าระดับน้ำ น้ำจะไหลไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำจะหมด
งานนี้แก้ไขด้วยการเดินท่อสูบ แล้วติดตั้งเช็ควาวล์กลับหัว ไว้จุดบนสุดแทน เพื่อในเวลาที่ไม่เปิดปั้ม แรงดันน้ำจะน้อยกว่าแรงดันอากาศและอากาศจะถูกดูดมาแทนที่ ซึ่งทำให้สภาพกาลักน้ำถูกทำลายนั้นเอง
ส่วนอากาศที่ถูกดูดเข้ามาบ้าง ก็จะถูกไปกักไว้ใน แอร์แวะ แทน ซึ่งจะช่วยสร้างสภาพแรงดันให้ดีขึ้น พอหยุดปั้ม ก็จะมีแรงดันอยู่ระยะหนึ่งจนอากาศหมดสภาพแรงดัน อากาศส่วนหนึ่งก็จะไหลออก ตามหัวน้ำหยด
กลับสู่สมดุลย์ ----------------------------------------------
สิ่งที่เขียนนี้ เป็นอย่างไร อีกไม่กี่สัปดาห์จะไปติดตั้งจริงๆ แล้ว จะถ่ายภาพมาอธิบายละเอียดๆ อีกที
--------- อัพเดต 16/02/2558 เผื่อใครตามอ่าน------ ผมเปลี่ยนจากหัวน้ำหยดปรับได้ เป็นแบบปรับไม่ได้ เพราะมันทำงานได้ยากมาก ปรับไม่ได้ทำงานสบายกว่าเยอะ
Liked By: KENETIC_E®, LG, nopmtp, adulsri, ฟาร์มเงิน สารคาม, nomadic_man, เพียรบ้านไร่, กัญจน์, ultranoi, @konhimdoi, aorjor, TAWUN
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 16, 2015, 10:22:55 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
เมื่อคืนคุยกับคุณ Pasin_458 สั่งประกอบตู้คอนโทรลไปเรียบร้อย สองตู้ ตู้แรก ควบคุมปั้มบาดาล โดยมีฟังก์ชันดังนี้ 1. ป้องกันไฟตก ไฟเกิน ด้วย Phase Protector 2. มีเบรกเกอร์ใหญ่ควบคุมทั้งตู้ 3. มี Timer ตั้งเวลา ได้วันละ 17 ครั้ง กำหนดช่วงเวลาอิสระ กำหนดวันได้ตามโปรแกรม เป็นดิจิตอล ไฟฟ้าดับโปรแกรมไม่หาย 4. เชื่อมต่อสวิตซ์แรงดัน สำหรับเปิดการทำงานในกรณีที่แรงดันน้ำในท่อลดลง 5. มีไฟบอกสถานะการทำงานของปั้ม 6. มีสวิตซ์ควบคุม Auto, Manual, Off 7. ตู้เหล็กกันน้ำล็อกได้ ตู้สอง ควบคุมปั้มจ่ายน้ำ โดยมีฟังก์ชันคล้ายกันดังนี้ 1. ป้องกันไฟตก ไฟเกิน ด้วย Phase Protector 2. มีเบรกเกอร์ใหญ่ควบคุมทั้งตู้ 3. มี Timer ตั้งเวลา ได้วันละ 17 ครั้ง กำหนดช่วงเวลาอิสระ กำหนดวันได้ตามโปรแกรม เป็นดิจิตอล ไฟฟ้าดับโปรแกรมไม่หาย 4. เชื่อมต่อสวิตซ์ลูกลอยแบบตลับ ป้องกันน้ำหมดแท็งก์ และปลอดภัยด้วยแปลงให้เป็นระบบ 12V 5. มีไฟบอกสถานะการทำงานของปั้ม 6. มีสวิตซ์ควบคุม Auto, Manual, Off 7. ตู้เหล็กกันน้ำล็อกได้ สนนราคารวมอุปกรณ์ลูกลอยและสวิตซ์แรงดัน พร้อมค่าขนส่ง 9800 บาท ไม่แพง ไม่ถูกสุด --------------------------------------------------------------------- ช่วงนี้ ผู้จัดการกิตติมศักดิ์ หรือ พ่อตาของผม เริ่มทำงานเข้าขากันดี เห็นภาพรวมตรงกัน (คนเราก็แบบนี้ละ กว่าจะทำงานกันลงตัวก็ต้องใช้เวลาศึกษาร่วมกัน) งานช่วงนี้เลยเดินหน้าได้เรื่อยๆ ตามแผนงาน เมื่อวานวันจันทร์ คนงานก็ไปเคลียร์พื้นที่ ปักไม้ตำแหน่งปลูก ได้ 800 ต้นพอดีๆ  ไม่ผิดจากที่คำนวณ แต่ปลูกจริงๆ คงไม่ถึง เพราะต้องเว้นพื้นที่บางจุดที่มีต้นไม้ใหญ่ ที่ยังไม่ได้เคลียร์ออก ส่วนเสาไฟฟ้าชุดแรกเสร็จแล้ว เหลือชุดสอง ที่ยังมาส่งไม่ได้ เนื่องจากฝนตก ดินนิ่ม รถบรรทุกเข้าไม่ได้ เลยยังเอาเสามาลงไม่ได้ก็ต้องรอกันต่อไป เสานะรอ แต่สายไฟ ไม่รอ 555 ผมกะวางลงดินเลย เป็นการชั่วคราว เพราะสายไฟมีฉนวนอยู่แล้ว
Liked By: KENETIC_E®, ฟาร์มเงิน สารคาม, aorjor, somjit_nong, กัญจน์, เพียรบ้านไร่, nopmtp, ultranoi, nomadic_man, Jakkrapong kul, LG, TonyComes, TAWUN, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
pook_kkf
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 184
|
แวะมาให้กำลังใจ สู้ๆๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนเราถ้ามีฝัน แล้วลงมือทำ ถึงแม้จะทำแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป วันละเล็กละน้อย สุดท้ายความฝันนั้นก็ต้องมีวันเป็นจริงแน่นอน
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
เมื่อวานโทรไปสั่งอุดหนุนคุณชาย ท่ายาง ตามโครงการคืนความสุขเรียบร้อย อีก 630 ต้น
ความมันบังเกิดตรงที่ค่าขนส่งมะนาวเท่ากับ 12*300 = 3600 บาท มูลค่าขนาดนี้ แม้ว่าหากคิดค่าเสื่อมรถยนต์ของเราเองจะคุ้มค่าก็ตาม
แต่ผมไม่เคยไปเยี่ยมสวยคุณชายเลย
เลยจัดโปรแกรม กทม. ท่ายาง ชุมแพ... นัดหมายเรียบร้อย 23 สิงหาคม รับกิ่งตอน มะนาวแป้นรำไพ
วางแผนงานไปมา โอ้ว... ชีพจรลงล้อทุกสัปดาห์... จนกว่าจะปลูกเสร็จ
เพราะประสบการณ์มีแล้ว ทิ้งไม่ได้ สั่งเฉยๆ ไม่ได้ ต้องอยู่ดูจนจบ เพื่อให้งานออกมาถูกใจเราที่สุด
555
เมื่อวานเมล์วิธีแก้ดินเค็มของศูนย์ ส่งมา มีข้อมูลตามนี้
แนวทางการแก้ไขปัญหาดินเค็ม ผลวิเคราะห์ดินรายงานเลขที่ SF2557/178 มีค่า ECe ประมาณ 4 dS/m แสดงว่าความเค็มของดินเริ่มมีผลกระทบต่อพืชที่ไม่ทนเค็ม จึงควรระวังอิทธิพลของความเค็มต่อพืช อาจทำโดย - หมั่นดูแลให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อชะเกลือที่จะมาสะสมในบริเวณรากพืช - รักษาผิวหน้าดินไม่ให้ว่างเปล่า เพื่อลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ซึ่งจะเป็นเหตุที่ส่งเสริมให้เกลือขึ้นมาสะสมที่ผิวดิน อาจทำโดยการคลุมดิน หรือปลูกพืชปกคลุมผิวดิน - ลดระดับน้ำใต้ดินลง เพื่อลดการเคลื่อนที่ของเกลือโดยละลายมากับน้ำขึ้นสู่ผิวดิน อาจทำโดยปลูกต้นไม้ทนเค็ม - ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีการระบายน้ำดี อาจทำโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด - ในกรณีที่ยังไม่ได้ปลูกมะนาว แนะนำให้ใส่แกลบหรือใส่ผสมกับยิปซั่มรองก้นหลุม
--------------------------------------------------------------------
ดังนั้นในการปลูกมะนาวของผม ผมมีสูตรผสมวัสดุปลูกแตกต่างจากคนอื่นๆ
เนื่องจากดินต้องแก้ปัญหา จึงต้องขุดหลุมใหญ่ 50*50*40 เพื่อเอาดินที่รากจะทำงานในช่วงปีแรกๆ ออก
แล้วใส่ดินสูตรพิเศษเพื่อรองก้น ดังนี้
ดินปลูกรองก้นหลุม สูตร 1 (คำนวณให้เฉพาะในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ใครต้องการลอก ต้องไปปรับแต่งตามผลตรวจดินเองครับ)
กลุ่มปุ๋ยคอก (เก่าเก็บ) 1. ปุ๋ยขี้ค้างคาว 1 ส่วน 2. ปุ๋ยขี้วัว 4 ส่วน 3. ปุ๋ยขี้ไก่ 1 ส่วน
กลุ่มอินทรีย์วัตถุโดยตรง 4. แกลบเผา 4 ส่วน 5. แกลบดิบ 3 ส่วน (แบ่งไป 1 ส่วน รองก้นหลุม)
กลุ่มแก้ปัญหาดิน 6. ภูไมท์ซัลเฟต 1 ส่วน
จากนั้นผสมส่วนประกอบทั้ง 6 เข้าด้วยกัน เก็บไว้แยกเป็นดินปลูกรองก้นหลุม
จากนั้นทำดินปลูกสูตร 2
เป็นกลุ่มดินที่จะอยู่ใกล้ราก โดยสูตรจะเป็นต่อต้น ดังนั้นในการผสมจะปลูกกี่ต้น ก็คูณเข้าไปผสมทีเดียวได้เลย
ประกอบด้วย 1. หินฟอสเฟต 100 กรัม 2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาสด จากข้าวสวย 2 ช้อน 3. สตาร์เกิลจี ป้องกันแมลงระยะต้นอ่อน ได้ 45 วัน 10 กรัม 4. แกลบดิบ 1 กิโลกรัม 5. ปุ๋ยคอก 1 กิโลกรัม
จากนั้น วิธีการปลูก 1. นำแกลบดิบ รองก้นหลุมให้ทั่ว ไม่ต้องหนามาก 2. ราดน้ำยาป้องกันแมลง ฟิโฟรนิล ป้องกันมด ปลวก แมลงใต้ดินต่างๆ ประมาณหลุมละ 5 ลิตร 3. ตักดินบริเวณหลุม มาผสมกับดินปลูกรองก้นหลุม สูตร1 ในปริมาณ ดิน 1 ต่อ ดินปลูก 10 ส่วน 4. นำดินที่ผสมแล้วเติมลงไปให้เหลือหลุมขนาด 20*20*20 5. นำต้นกล้ามะนาว มาตั้งให้ตรง ผูกเข้ากับไม้หลัก โดยไม้หลักวางแนว 45 องศากับพื้น 6. นำดินปลูกสูตร 2 ใส่ลงไปให้เต็มหลุม 7. รดน้ำให้ชุ่ม 8. เติมดินปลูกรองก้นหลุม ให้พูนโคนต้น 9. นำหญ้าสับ มาปิดคลุมหน้าดินให้รอบโคนต้น ป้องกันหญ้า และรักษาความชื้น
เป็นอันเสร็จ
--------------------------------------------------------- นี่คือ แผนงานที่จะทำในวันที่ 24 ส.ค. วันที่ผมอาจเรียกได้ว่า เป็นวันแรกของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ที่ได้ลงปลูกต้นกล้าต้นแรก ตามความฝัน
Liked By: aorjor, adulsri, ฟาร์มเงิน สารคาม, ไม่หมู, nopmtp, ultranoi, กัญจน์, nomadic_man, เพียรบ้านไร่, Jakkrapong kul, LG, TonyComes, @konhimdoi, TAWUN, ยศนิธิ, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ขออนุญาต เปลี่ยนชื่อแสดงในเว็บนะครับ
ของเดิม avatayos คนอ่านไม่ออก ไม่เข้าใจ อาจจะ งงๆ กันไป
เปลี่ยนใหม่เป็น "คุณบรีส ชุมแพ"
จะได้เข้าใจง่ายๆ ว่าใคร อิอิ
....
ปล. แจ้งสำหรับคนอื่นๆ ที่เข้ามาอ่านใหม่ๆ จะได้ไม่งงว่า แรกๆ ทำไมเรียกกัน avatayos
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, ไม่หมู, เพียรบ้านไร่, KENETIC_E®, nopmtp, ultranoi, กัญจน์, nomadic_man, LG, TonyComes, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
ไม่หมู
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 697
|
เมื่อเย็นวาน ได้คุยกับกูรูมะนาวท่านหนึ่ง เคยปลูกเมื่อหลายปีมาแล้ว มะนาวตลอดฤดู ไม่ใช้วงบ่อ แต่ที่ต้องไม่มีน้ำขัง ขุดหลุมลึกประมาณ 60 cm กว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยทุกชนิดแบบขี้วัว แกลบ ฟางข้าว ฯลฯ แบบฉบับชาวบ้านว่างั้น ผสมกับหน้าดินประมาณ 30 cm ยังคงความลึกไว้ที่ 30 cm นะคะแล้วปลูกกล้ามะนาว เทคนิคคือการใส่ปุ๋ยเคมีกับน้ำเดือนละ 2 ครั้ง ใส่น้ำให้เต็มปากหลุม ประมาณนี้ละคะ(เป็นความรู้ใหม่) ดึกมากแล้วแกก็เมาด้วย  เลยได้มาเเค่นี้ วันหลังจะถามมาอีกนะคะว่าการบำรุง ดูแลรักษายังไง จากที่ศึกษามาก็ประมาณมะนาวกระถาง วงบ่อ ยกดิน แต่ยังไม่มีมะนาวหลุม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
เมื่อเย็นวาน ได้คุยกับกูรูมะนาวท่านหนึ่ง เคยปลูกเมื่อหลายปีมาแล้ว มะนาวตลอดฤดู ไม่ใช้วงบ่อ แต่ที่ต้องไม่มีน้ำขัง ขุดหลุมลึกประมาณ 60 cm กว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยทุกชนิดแบบขี้วัว แกลบ ฟางข้าว ฯลฯ แบบฉบับชาวบ้านว่างั้น ผสมกับหน้าดินประมาณ 30 cm ยังคงความลึกไว้ที่ 30 cm นะคะแล้วปลูกกล้ามะนาว เทคนิคคือการใส่ปุ๋ยเคมีกับน้ำเดือนละ 2 ครั้ง ใส่น้ำให้เต็มปากหลุม ประมาณนี้ละคะ(เป็นความรู้ใหม่) ดึกมากแล้วแกก็เมาด้วย  เลยได้มาเเค่นี้ วันหลังจะถามมาอีกนะคะว่าการบำรุง ดูแลรักษายังไง จากที่ศึกษามาก็ประมาณมะนาวกระถาง วงบ่อ ยกดิน แต่ยังไม่มีมะนาวหลุม จริงๆ แล้ว การจะปลูกอะไร ขอให้เข้าใจนิสัยมันก็พอครับ แล้วไปประยุกต์เอาตามความเหมาะสมของพื้นที่ มะนาวมีนิสัย - ชอบชื้นๆ ไม่ชอบเปียก ดังนั้นน้ำขังไม่ได้ ถ้าน้ำขัง รากเน่า โคนเน่ามาเลย ... ภาพรวมมะนาวส่วนใหญ่ที่ปลูกแล้วสำเร็จกัน จึงมีทั้งแบบยกร่องสวน แถวๆ เพชรบุรี หรือปลูกในบ่อซีเมนต์ ซึ่งถ้าดูส่วนผสมลงปลูกแล้วจะเห็นว่า มีการใส่ทรายด้วยซ้ำไป เพื่อให้เกิดการระบายน้ำได้ดี และเพราะต้องชื้นๆ ดังนั้น ดินที่ปลูกจึงต้องมี OM มาก เพื่ออุ้มความชื้น แต่ไม่อุ้มน้ำ ส่วนการบังคับออกผล ก็ใช้หลัก C/N ตามปกติ หากรอบการบำรุงชัดเจน มะนาวก็สามารถออกลูกได้ทั้งปี โดยไม่จำเป็นต้องทำแค่รอบเดียว เมื่อใดที่กิ่งอายุเกิน 90 วัน เขาจะพร้อมออก ตาดอก หรือ ตาใบ การจะออกเป็นตาดอก ก็ต้องมีดู C/N ว่าพร้อมไหม ถ้าพร้อมมันก็ออก บางสวน จึงไม่ทำนอกฤดู แต่เลี้ยงแบบให้ออกทั้งปี การจะให้มะนาวออกลูกอย่างไร จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของสวนต้องคิดครับ ว่า จะให้ออกเรื่อยๆ ได้เงินเรื่อยๆ Cash Flow มาเรื่อยๆ สบายๆ หรือจะอดเปรี้ยวไว้กินหวาน อดมะนาวไม่ให้ออก เด็ดทิ้งหมด แล้วทำครั้งเดียวให้ออกพร้อมๆ กันทุกกิ่ง ได้จำนวนผลมาก ได้ราคาสูง ... ที่สำคัญ ผมเคยเขียนไว้หน้าก่อนๆ... การเกษตร ที่ประสบความสำเร็จคือ ระบบการเกษตรที่ทำซ้ำได้ หมายถึง ให้คนอื่นๆ ไปทำซ้ำได้ ความสำเร็จของสวนมะนาวบางสวน อาจสำเร็จ เพราะปรับจนเหมาะกับพื้นที่ตนเอง แต่นำหลักการแบบเดียวกันไปใช้ที่อื่นๆ ไม่ได้ผล... ส่วนผม ผมเลือกใช้ สูตรสวนมะนาวในฝันของอาจารย์รวีครับ สูตรของอาจารย์ เกือบ 100% เดินตามผู้ใหญ่...ตามรุ่นพี่ๆ ที่เดินมาก่อน ยังมิกล้าลองผิดลองถูกด้วยตนเองครับ (แต่มีแน่นอน อย่างที่บอกไว้แล้วว่า มีพื้นที่สวนทดลองเพื่อทดสอบสิ่งต่างๆ ของตนเอง) เป้าหมายผม ลงมะนาวทุกต้น ก่อน กันยายน ถึงมิถุนายนปีหน้า ต้นมะนาวจะอายุ 10 เดือน มีความเหมาะสม และโตพอจะทำสาว ให้ลูกได้ ก็จะทำนอกฤดูในเดือนมิถุนายน เก็บลูกขาย เดือนเมษายน ปี 2559 และทุกปี จะตอนกิ่งขายช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม และเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งในปี 58 จะเริ่มทำกิ่งตอน เดือนพฤษภาคม เป็นรอบแรกครับ เป้าหมายชุดแรก ก็จะตอนใช้ภายในสวนเกษตรโชคดีชุมแพก่อน เพราะต้องปลูกขยายอีก 1200 ต้น ปี 2561 ถึงจะมีกำลังการผลิตลูกมะนาวเต็มกำลังครับ ตั้งเป้าไว้แค่ 200 ลูกต่อต้น ก็ 400,000 ลูกต่อปี แต่เห็นอาจารย์รวีท่านว่า ลงดินตอนนี้หลักพันลูก ถ้าได้จริงๆ ก็ 2,000,000 ลูก เก็บกับมือระวิงเลยละครับ 555 ตอนนี้ก็ได้แต่ฝัน สร้างภาพในหัว แล้วลงมือทำให้เป็นจริง...
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, ไม่หมู, เพียรบ้านไร่, adulsri, KENETIC_E®, nopmtp, ultranoi, กัญจน์, nomadic_man, LG, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, wondermo
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
ฟาร์มเงิน สารคาม
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1057
|
อดเลยปีนี้ ว่าจะเอาข้าวหอมมะลิสารคาม ไปแลกเปลี่ยนมะนาวชุมแพ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
มหาสารคาม
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
มีปัญหาให้แก้ไขได้ทุกวัน 555
วันนี้ขอเสนอเรื่อง การแก้ไขดิน ในเรื่องของ OM หรือ อินทรีย์วัตถุ
เรื่องวัสดุปลูก เดิมทีค่อยๆ ทะยอยสะสมแกลบดิบ จากชาวบ้าน เก็บมาเรื่อยๆ เพราะบางบ้านสีข้าวกินกันเอง เหลือแกลบใส่ถุงไว้
ถึงตอนนี้เก็บมาได้ประมาณ 150 ถุงปุ๋ย ถามว่าพอไหมสำหรับมะนาว 800 ต้น
บอกเลยว่า ไม่พอ
เนื่องจากผลตรวจดินออกมาว่ามี OM เพียง 0.57% โดยพื้นฐานต้องทำให้ได้ 3% ตามน้ำหนักขึ้นไป
แต่หากคิดตามน้ำหนักจะยาก เพราะต้องหาน้ำหนักดินก่อนว่าเท่าไร แล้วมาเอาเป็นน้ำหนัก OM
ซึ่งน้ำหนัก OM มันเบากว่าเยอะ ดังนั้นโดยปริมาตรแล้ว จะต้องใช้มากกว่า ปริมาตรของดิน
โดยทั่วไป ดินร่วน 1 ลบ.ม. หนักประมาณ 1.2 ตัน ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย ก็จะมากกว่า 1.2 ตัน
ผมขอใช้ตัวเลขนี้ คือ 1200 กิโลกรัม
เราต้องการ OM 3% ก็เท่ากับ 36 กิโลกรัมต่อลบ.ม.
แกลบดิบ 1 ลบ.ม หนักประมาณ 300 กิโลกรัม
ดังนั้นต้องใช้แกลบ 0.12 ลบ.ม
แต่จะใช้แกลบดิบอย่างเดียวไม่ได้ เพราะกว่าจะย่อยสลาย จึงต้องใช้เป็นแกลบดำ ผสมด้วยอย่างละครึ่งๆ
ดังนั้น แกลบดิบต้องใช้ 0.06 ลบ.ม แต่แกลบดำ ต้องใช้ 0.12 ลบ.ม เพราะโดยน้ำหนัก แกลบดำจะหนักกว่าแกลบดิบ 2 เท่า
ข้อมูลเรื่องน้ำหนักผมหาจากเน็ตนะครับ ไม่รู้ว่าเชื่อถือได้แค่ไหน
ดังนั้นหากคิดง่ายๆ ผมต้องใช้แกลบจริงๆ 0.18 ลบ.ม ต่อหลุม
หรือเท่ากับ 144 ลบ.ม
แต่ทั้งนี้หมายถึง 144 ลบ.ม เท่ากับ 3% โดยน้ำหนักของดิน
สูตรคำนวณนี้จะใช้สำหรับ ผืนดินที่ต้องการปรับปรุงสภาพทั้งผืน โดยความลึก 1 เมตร ซึ่งถ้าทำนาทั่วๆ ไป ความลึกหลังผลิกดินก็เท่ากับ 50 ซม.
และผมคำนวณโดยใช้ 800 เป็นตัวคูณ จึงหมายถึง 800 ตร.ม. และหากลดความลึกลง ก็จะได้ว่า 1 ไร่ (1600 ตร.ม.) ต้องเสริมแกลบลงไป 144 ลบ.ม หรือ 144*300 = 43200 กิโลกรัม
เท่ากับประมาณ 2 คันรถบรรทุก
----------------------------------------------- แต่ในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ หลุมปลูกของเราใส่ดินน้อยมาก หากคิดเป็นดินจริงๆ น่าจะไม่เกิน 3 พลั่ว ประมาณ 20 กิโลกรัมของน้ำหนักดิน
เมื่อคำนวณด้วยสูตรข้างบน ที่ 3%
เท่ากับต้องเพิ่ม OM = 0.65 กิโลกรัม
ต้องใช้ 800 หลุมก็ประมาณ 520 กิโลกรัม
แต่เพื่อให้ดินปลูกมีคุณสมบัติที่สุดยอด และพร้อมสำหรับการเดินราก
ผมตั้ง OM ไว้ที่ 40% ดังนั้นต้องใช้แกลบทั้งหมด 6400 กิโลกรัม
หรือประมาณ 22 ลบ.ม.
โดยใส่หลุมเป็นปริมาตร ประมาณหลุมละแค่ 50 * 50 * 12 ซม. เท่านั้นเอง เมื่อคลุกกับดิน ปุ๋ย และอื่นๆ ก็จะได้พอดี (อาจทำให้ % ของ OM ลดลงบ้าง อยู่แล้วตามธรรมชาติ เมื่อรดน้ำ ดินก็ยุบตัว แต่ด้วย KPI ที่ตั้งไว้ 40% จึงเหลือเฟือ ใช้ได้อีกนาน)
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, ไม่หมู, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, nomadic_man, เพียรบ้านไร่, nopmtp, กัญจน์, LG, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, wondermo
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
เห็นนิ้วหัวแม่มือ อยู่หน้ากระทู้ เอ๊ะ..มันคืออะไร ลองเข้ามาอ่านดู ไม่ผิดหวังจริงๆ ได้แนวคิด และความรู้ อีกเยอะเลย นี่แค่หนังต้นเรื่อง ยังเข้มข้นขนาดนี้ ไม่ติดตามดูต่อ คงพลาดของดีเป็นแน่เลย หนังเรืองนี้ยาวครับ 555 ติดตามกันไปนะครับ -------------------------------------- วันนี้เคลียร์แผนงานกับพ่อตาเรียบร้อย จัดคนงานลงขุดหลุม 50*50*50 วางแผนแก้ปัญหา หากหาแกลบมาได้ไม่เพียงพอ ด้วยการเตรียมหลุมแบบง่ายๆ ตามภาพ 555  ส่วนหลุมจริงๆ ตอนนี้ขุดเรียบร้อย 50*50*50 (ดูจากภาพเหมือนเล็กๆ )  งานเผาแกลบดิบ เป็นแกลบดำ ก็ทำตามวิธีการพื้นฐานครับ จัดหาปี๊บ ปล่องควัน เจาะรูที่ปี๊บ จุดไฟในปี๊บ แล้วเอาแกลบใส่ คอยกลับบ้าง ห้ามไหม้ พอได้ที่ก็ฉีดน้ำ ให้หยุดเผาไหม้ตัวเอง  จบเรื่องวัสดุปลูกไปได้ เรื่องต่อไปคือ เสาไฟฟ้า ที่มาไม่ครบเมื่อสัปดาห์ก่อน วันนี้ก็มาส่งตามกำหนด และจ้างเพิ่มเติมในการวางแท็งก์น้ำ ขนาดรวม 9 คิว    เห็นงานเดินหน้า แม้ตัวจะอยู่ กทม. ก็สบายใจ
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, เพียรบ้านไร่, nopmtp, สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, กัญจน์, o_un, หมอน, @konhimdoi, aorjor, TAWUN
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ทบทวนการออกแบบระบบให้น้ำการเกษตร
เสาร์อาทิตย์ วิ่งวุ่นซื้ออุปกรณ์สำหรับเดินระบบน้ำ
เพราะไม่แน่ใจว่าอุปกรณ์ที่เราต้องการในตัวอำเภอจะมีครบไหม บางอย่างที่กทมก็ถูกกว่า
อุปกรณ์ท่อ PVC นี่ เป็นสิ่งของที่เหมือนไม่ต้นทุน แต่ต้นทุนเต็มๆ เลย 555
คิดไปคิดมา ผมจึงทบทวนโจทย์บางอย่าง ตามที่ได้แจ้งไว้ในข้อความก่อนๆ
โจทย์คือ "เป็นไปได้ไหมที่จะให้ปั้ม SAER BP/5 ตัวเดียวจ่ายน้ำได้ 10 ไร่ ให้กับมะนาว 2000 ต้น"
ดูจากสเปกปั้มแล้ว จ่ายน้ำสบายได้ 20Q ต่อชั่วโมง หรือเท่ากับต้นละ 10 ลิตรต่อชั่วโมง
ทีนี้มาดูหลักการปรับแบบที่เคยออกกันครับ
สเปกปั้มจริงๆ จ่ายได้ 40Q แต่การใช้งานพื้นฐานได้ 25Q ผมเอาเลข 20Q เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ และตัดปัญหาเรื่องการสูญเสียแรงดันต่างๆ ภายในท่อออกไปด้วย จะได้ไม่ต้องเอาค่า H มาเทียบคำนวณ (แต่ถ้าใครอยากคำนวณแบบแม่นๆ ก็จัดไปครับ สูตรตามที่ผมเคยเขียนไว้)
ก่อนอื่นเลือกท่อก่อน ท่อเมนใหญ่สุดที่ใช้ได้คือ ท่อ 3 นิ้ว เพราะอัตราไหลสูงสุดในท่อคือ 27Q ต่อชั่วโมง
ใช้ท่อ 2 นิ้วไม่ได้ เพราะอัตราไหล 12.5Q ต่อชั่วโมง (น้อยกว่าที่ปั้มทำได้ จะกลายเป็นอั้นอัตราไหลของปั้ม) ใช้ท่อ 4 นิ้วไม่ได้ เพราะอัตราไหล 45.5Q ต่อชั่วโมง (มากเกินไปที่ปั้มจะทำได้ เท่ากับลงทุนโดยเปล่าประโยชน์)
จากนั้น ท่อ 3 นิ้ว เราแตกท่อแขนงได้สูงสุดเท่าไร ก็เลือกท่อตามปริมาณน้ำที่ต้องจ่าย
ในสภาพแวดล้อมภายในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ผมเลือกท่อแขนง ทั้งหมด 6 ท่อ เป็นท่อ 2 นิ้ว
อัตราไหลรวมจริงๆ หากใช้ท่อ 2 นิ้วจ่ายน้ำออก จะเท่ากับ 75Q ต่อชั่วโมง ... แต่ตัวเลขนี้เราไม่ใช้ 555
ในเฟสแรก เราจะต่อท่อแขนง 2 นิ้ว จ่ายน้ำเพียง 3 ท่อ โดย 2 ท่อ จ่ายน้ำให้กับมะนาว 800 ต้น
ส่วนอีก 1 ท่อ จ่ายน้ำให้กับ กอไผ่ ประมาณ 100 ก่อ
โดยจากท่อ 2 นิ้ว จะเชื่อมต่อไปยังท่อ PE 20mm โดยท่อ 2 นิ้วชุดที่จ่ายน้ำให้มะนาว แต่ละท่อจะเชื่อมต่อกับ PE ทั้งหมด 20 เส้น
ตัว PE 1 เส้น จ่ายน้ำได้ตามสเปกที่ 1.6Q ต่อชั่วโมง แต่ 1 เส้น ใช้กับมะนาว 40 ต้น
เท่ากับจ่ายได้สูงสุดต้นละ 40 ลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งเพียงพอต่อการจ่ายน้ำให้หัวน้ำหยด
(ซึ่งหมายถึงถ้าจะใส่หัวมินิสปริงเกอร์ขนาด 120 ลิตรต่อชั่วโมง ก็ไม่มีประโยชน์ ต้องปรับการออกแบบอีก)
ทีนี้ท่อแขนง 2 นิ้ว ผมต่อกับ PE 20 เส้น เท่ากับ 32Q ต่อชั่วโมง (มาจาก 1.6Q*20)
แต่ท่อ 2 นิ้ว อัตราไหลสูงสุด 12.5Q ต่อชั่วโมง
และท่อเมน 3 นิ้ว อัตราไหลสูงสุด 27Q (แต่ปั้มจ่ายได้สูงสุดคิดที่ 20Q)
ต่อท่อ 2 นิ้ว 3 ท่อ เท่ากับจ่ายน้ำให้ท่อ 2 นิ้วได้ 20/3 = 6.66Q ต่อชั่วโมง
ดังนั้น ท่อ PE แต่ละเส้นจะได้น้ำไปเพียง 9000/20 = 333.33 ลิตรต่อเส้น
แต่ละเส้นจ่ายน้ำให้ต้นมะนาว 40 ต้น เท่ากับ ได้น้ำต้นละ 8.3 ลิตรต่อชั่วโมง
ซึ่งมะนาวเป็นต้นไม้ที่ชอบดินชื้นๆ การจ่ายน้ำ 8 ลิตรต่อชั่วโมง ถือว่าไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับมะนาว
-------------------------------------- ทีนี้ เราก็ต้องมาเลือกหัวน้ำหยด จากสเปกได้ 8 ลิตรต่อชั่วโมง เราจะเลือกหัวแบบตายตัวที่ 8 ลิตรต่อชั่วโมงเลยก็ได้
แต่ด้วยราคาเท่าๆ กัน ผมเลือกหัวจ่ายน้ำหยดแบบปรับปริมาณได้ 1-120 ลิตรต่อชั่วโมง มาแทน
เป็นงานยากขึ้น เพราะต้องมานั่งวัดก่อนว่าหมุนหัวเท่าไร จ่ายน้ำเท่าไร 555 แต่ก็ดีในอนาคต หากมีการปรับการออกแบบ เช่น ใช้ปั้มใหญ่ขึ้น เปลี่ยนท่อ
หรือแบ่งโซน เพื่อจ่ายน้ำให้เยอะขึ้น ก็สามารถปรับหัวจ่ายให้จ่ายน้ำมากกว่านี้ได้
แต่หากเลือกน้ำหยด ตายตัว จะปรับอะไรไม่ได้เลย
---------------------------------------
ส่วน ตารางการจ่ายน้ำ เนื่องจาก ผมทำแท็งเก็บน้ำไว้เพียง 9 คิว (ใช้จริงๆ น่าจะได้แค่ 8 คิว เพราะเผื่อพื้นที่ตะกอนก้นบ่อไว้พอควร)
ดังนั้นจ่ายน้ำครั้งหนึ่ง เพียง 20-24 นาที น้ำก็จะหมดแท็งก์
และเวลาในการเติมน้ำ ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที
สรุป 1 รอบจ่ายน้ำใช้เวลา 2 ชั่วโมง
ทั้งนี้ เพราะ ปั้มจ่ายน้ำเป็นปั้ม 2 แรง ส่วนปั้มเติมน้ำเป็นปั้ม 1 แรง หากเปิดรวมกัน 3 แรง จะเท่ากับ 10.3A โดยประมาณ
อาจส่งผลให้มีปัญหากรณีเกิดไฟตกขึ้นได้
จริงไม่ควรให้ปั้มทั้งสองทำงานพร้อมๆ กัน (แต่ก็ทำได้ไม่ใช่ทำไม่ได้ เช่น รดน้ำหยดตอนตีสาม แบบนี้ไม่แย่งไฟฟ้าใครใช้เลย)
แต่ของจริงจะจ่ายน้ำอย่างไร ต้องดูหน้างานอีกที เพราะมีตัวแปรอื่นๆ ให้ต้องร่วมคำนวณด้วย --------------------------------
Liked By: ไม่หมู, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, pook_kkf, เพียรบ้านไร่, ฟาร์มเงิน สารคาม, กัญจน์, o_un, panasbamboo, aorjor, TAWUN, aumblueford, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
|