หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 ... 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 246705 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sura_40
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 257


« ตอบ #112 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2014, 09:20:03 AM »

ขอติดตามด้วยคนครับ ผมคนชุมแพโดยกำเนิดแท้ๆเลยครับ ดูจากรูปที่ดินน่าจะอยู่เเถวๆ ตำบลโนนหันเปล่าครับ  เห็นวิวเป็นเขานางนอนอยู่ลิบๆ อายจัง หรือแถวบ้านหนองตุ้มนกครับบ...
บันทึกการเข้า

คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #113 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2014, 10:29:59 AM »

ขอติดตามด้วยคนครับ ผมคนชุมแพโดยกำเนิดแท้ๆเลยครับ ดูจากรูปที่ดินน่าจะอยู่เเถวๆ ตำบลโนนหันเปล่าครับ  เห็นวิวเป็นเขานางนอนอยู่ลิบๆ อายจัง หรือแถวบ้านหนองตุ้มนกครับบ...

อยู่โนนหันครับ ลงเนินก็ถึงครับ

ผมต้องฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
ฟาร์มเงิน สารคาม
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1057


« ตอบ #114 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2014, 01:27:32 PM »


  แวะมาเยี่ยมเยือน และเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ ครับ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

มหาสารคาม
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #115 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2014, 08:26:39 AM »

ช่วงนี้ขออภัย

ไม่มีสมาธิ เรียบเรียง เขียนประสบการณ์

แต่ถ้าตอบคำถาม ไม่มีปัญหาครับ  เจ๋ง

แต่ต้นเดือนหน้า คงจะมีเรื่องให้เล่ามากมาย
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
เพียรบ้านไร่
seller
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 596



« ตอบ #116 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2014, 09:31:14 AM »

ช่วงนี้ขออภัย

ไม่มีสมาธิ เรียบเรียง เขียนประสบการณ์

แต่ถ้าตอบคำถาม ไม่มีปัญหาครับ  เจ๋ง

แต่ต้นเดือนหน้า คงจะมีเรื่องให้เล่ามากมาย

สวัสดีครับคุณ avatayos

ขอให้พักผ่อนให้เพียงพอแล้วกลับมามีสมาธิเขียนเรื่องราวต่าง ๆ  ได้เหมือนเดิม  ผมติดตามอ่่านอยู่เสมอนะครับ
บันทึกการเข้า

เกษตรอินทรีย์เพื่อความมั่นคงทางอาหารสะอาด สิ่งแวดล้อมที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรงของผู้ผลิตและผู้บริโภค
ไม่หมู
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 697


« ตอบ #117 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2014, 09:49:08 AM »

ได้ความรู้เยอะมากค่ะ อายจัง
บันทึกการเข้า
git007
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6


« ตอบ #118 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2014, 07:13:23 PM »

อ่านยังไม่จบ ถึงหน้า 3 ลงชื่อไว้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า
ลุงโจ้
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248


« ตอบ #119 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2014, 12:11:31 AM »

ขอถาม น้ำยาฉีดปลวก พีโปรนิล หาซื้อได้ที่ไหนครับ ราคาด้วย
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Manit_A
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 344


« ตอบ #120 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2014, 12:49:35 AM »

ได้ความรู้มากเลยครับ ผมมีความฝันแต่ทฤษฎีและการคำนวณต่างๆแบบที่ท่านเจ้าของกระทู้มี ยังห่างไกลตัวผมมากโขเลยครับ ขอติดตามอ่าน เพื่อใช้ในสวนนะครับ
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #121 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2014, 12:39:25 PM »

ขอถาม น้ำยาฉีดปลวก พีโปรนิล หาซื้อได้ที่ไหนครับ ราคาด้วย
ขอบคุณครับ

ร้านเสรีการเกษตร ตลาดรังสิต ขวดละ 900 ครับ

ได้ความรู้มากเลยครับ ผมมีความฝันแต่ทฤษฎีและการคำนวณต่างๆแบบที่ท่านเจ้าของกระทู้มี ยังห่างไกลตัวผมมากโขเลยครับ ขอติดตามอ่าน เพื่อใช้ในสวนนะครับ

ตามไปอ่านมาแล้วครับ

อิจฉาครับ 555 ผมยังไม่ได้ลงสักต้นเลย มีแต่ต้นทดลอง ที่บ้าน 2 ต้น

เป็นสองต้นที่เลี้ยงแบบผิดๆ เพื่อเรียนรู้

แป้นพิจิตรทนแคงเกอร์ ผมทำให้เป็นได้แล้วครับ

555

ภูมิใจทำไมเนี่ย
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #122 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2014, 09:22:16 AM »

วันนี้เข้าเว็บตั้งใจสั่งซื้อหนังสือในเน็ต เพราะหาตามศูนย์หนังสือแล้วไม่มี (ม.เกษตร ก็ไม่มี)

หนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการฟาร์ม (สวน ไร่)

เลยเจออันนี้ครับ เอาลิงก์มาให้ก่อน

แล้วผมจะแปลเป็นภาษาไทยให้โหลดอีกที

http://smallfarms.oregonstate.edu/sites/default/files/growing_farms_workbook.pdf

สิ่งหนึ่งที่ผมพบ และยืนยันแนวคิดของผม คือ workbook เล่มนี้ คือ Business Proposal ที่ว่าด้วยธุรกิจการเกษตรนั้นเอง

เป็นเครื่องยืนยันว่า ผมมาถูกทางแล้วละ

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
thidadao
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 318


« ตอบ #123 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2014, 10:38:10 PM »

เข้ามาเป็นกำลังใจครับ...
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #124 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2014, 08:22:40 AM »

เช้าวันจันทร์ ได้พักผ่อนเสาร์อาทิตย์ ดูภาพยนตร์ไป 6 เรื่อง (พักจริงๆ เห็นเปล่่า 555)

แต่ก็ยังไม่สามารถยกภูเขาความเครียดออกจากอกได้ สิ่งที่ทำได้ก็แค่ "ปล่อยมันไป" แล้วกาลเวลาจะทำให้เราผ่านภูเขานั้นไปเอง

-------------------------------------------------------------------
พูดถึงเรื่องการเกษตรหัวข้อต่อไปที่ต้องเตรียมพร้อมดีกว่า นั้นคือ คลังแสงการเกษตร

เรียกเสียสวย จริงๆ ก็คือ ห้องเก็บปุ๋ย เคมี และอุปกรณ์ครับ

ตามหลัก GAP ที่ดี GOOD AGRICULTURAL PRACTICES
(ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านศึกษาและอาจผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน GAP กันไปแล้ว แต่สำหรับสวนใหม่ๆ อย่างผม จึงต้องใส่ใจเรื่อง GAP เป็นอย่างดี)

หนึ่งในหลักปฏิบัติที่ดีของ GAP คือ การจัดระเบียบเกี่ยวกับ ปุ๋ย เคมี และอุปกรณ์การเกษตร ให้มีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย มีการบันทึกอย่างเหมาะสม

โดยแนวทางที่ผมศึกษา (อาจยังไม่เข้าใจถ่องแท้ต้องขออภัยด้วยนะครับ) แล้วได้นำมาวางแผนคือ

1. โรงปุ๋ยหมัก ต้องอยู่ห่างจากบ้านที่อยู่อาศัย อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 เมตร และอยู่ในทิศทางใต้ลม
         - ทำร่องคู ระบายน้ำ และบ่อกักน้ำขนาดเล็ก เพื่อป้องกันน้ำหมักปุ๋ยเข้มข้นเกินไป ไหลเข้าทำร้ายต้นไม้ในสวน
         - มีพื้นที่เก็บอุปกรณ์การเกษตรแยกต่างหากจากอุปกรณ์การเกษตรอื่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาการปนเปื้อนใดๆ

2. คลังเคมี เป็นห้องเก็บของที่มีหน้าต่างหรือช่องลม เพื่อการถ่ายเทอากาศที่ดี มีตู้เก็บเคมีเป็นตู้เหล็ก ประตูกระจก เพื่อการมองเห็น และสามารถควบคุมปริมาณแสงในห้องได้อย่างเหมาะสม
         - แยกชั้นเก็บ ตามแถบสีความอันตราย
         - แยกตู้เก็บ ระหว่างเคมีกลุ่มกำจัดศัตรูพืช กับเคมีกลุ่มควบคุมพืช (เร่ง หยุด ชะลอ การเติบโต)
         - แยกตู้เก็บ เพื่อจัดเก็บสารชีวภาพ
         - เคมีทุกชนิด ต้องมีจัดเก็บสำรองไว้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการหยุดปัญหา ตามกรอบ Cut Loss ของ Risk Management ที่วางแผนไว้อย่างน้อย 1 รอบการจัดการ
 
3. คลังปุ๋ย เป็นโรงเก็บปุ๋ยที่หมักสำเร็จ หรือปุ๋ยสั่งซื้อ โดยหลักการโรงเก็บนี้จะกำหนดให้มีระยะเวลาการจัดเก็บให้สั้นที่สุด กล่าวคือ ซื้อมาแล้วต้องใช้ให้หมดเร็วที่สุด พยายามไม่สต๊อกปุ๋ยค้าง โดยใช้ให้หมดตามช่วงอายุที่เหมาะสม
         - เพื่อให้ปุ๋ยที่ได้เป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพดีที่สุด
         - เพื่อสร้างวินัยด้านการเงิน การกำหนดและควบคุมกระแสเงินสด
-----------------------------------------------------

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
Buaroeynop
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1592


« ตอบ #125 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2014, 11:53:53 AM »

"นาและสวนชั่งหัวมัน" ผมอยู่บ้านโนนเพิ่ม แถวๆคลองน้ำผุดทัพลาว คอนสารครับ แต่ตอนนี้ประจำการที่บึงกาฬ ไว้กลับบ้านหนองทุ่ม หนองเขียด จะแวะมาเยี่ยมครับ
บันทึกการเข้า
taton60
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« ตอบ #126 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2014, 12:39:01 PM »

สวัสดีครับ คุณ avatayos
  ผมขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเจาะนำ้บาดาล ผมสนใจว่าจะเจาะครับ บ่อนำ้บาดาลแถวบ้านผมเป็นบ่อ 4 นิ้ว ลึกประมาณ 40 เมตรเกือบทุกบ่อมีคนเจาะกันหลายบ่อแล้วครับ โดยปกติช่างจะใส่ท่อกันดินทรุดให้ 2 ท่อนpvc ช่างที่ผมติดต่อว่าจะเจาะก็ใส่ให้ 2 ท่อน แล้วแถวบ้านก็สูบใช้กันก็มีปัญหาบางบ่อนำ้สีเหลืองขุ่นๆสูบใส่ข้าวข้าวก็ตาย อีกหลายๆบ่อสูบนำ้ไม่พอใช้บอกเปลืองค่านำ้มันสูบนำ้ เขาใช้ปั้ม 2 นิ้วต่อกับรถไถนาเดินตามครับ ส่วนบ่อที่ผมจะเจาะคือ 5 นิ้วเจาะจนเจอะนำ้ ใส่กันดินทรุด 2 ท่อน 15000 ผมจะใช้นำ้ในนาข้าว20ไร่ ปัญหาคือกลัวว่าเจาะแล้วจะมีปัญหาเหมือนกับบ่ออื่นๆจึงอยากขอคำแนะนำในการเจาะบ่อบาดาลครับ
1. ปกติช่างเขาจะเป่าบ่อให้ฟรีไหมครับหลังเจาะบ่อเสร็จหรือถ้าช่างบอกไม่มีการเป่าบ่อต้องทำไงครับ
2. ใส่ท่อกันทรายกันดินทรุดต้องใส่กี่เมตรครับ สมมุติบ่อ40เมตร
3.ต้องเจาะท่อpvcกันดินทรุดกี่ท่อนเพื่อให้นำ้ไหลเข้าบ่อ สมมุติใส่กันทรุดทั้ง40เมตร
4. ถ้าบ่อบาดาลผมนำ้เป็นสีเหลืองขุ่นๆมีวิธีแก้ไขไหมครับ
5. ระหว่างซัมเมอร์สกับปั้มติดรถไถนาใช้นำ้มันอันไหนมีความคุ้มค่าในการสูบนำ้และประหยัดพลังงานกว่ากันครับแล้วซัมเมอร์สขนาดกี่แรงใช้กับบ่อบาดาล5นิ้วครับ
6. ไปขอไฟฟ้าขยายเขตที่ดินตอนลงหม้อแปลงไฟฟ้าต้องมีบ้านเลขที่ไหมครับเพราะถ้ามีบ้านเลขที่มันจำเป็นต้องมีบ้านเป็นหลังในที่ของเราไหมครับ
7. ถ้าไปขอไฟฟ้าขยายเขตที่เพื่อเอามาสูบนำ้จาบ่อบาดาลโดยตรงจะมีปัญหาเรื่องบ่่อบาดาลผิดกฏหมายไหมครับ เผื่อเวลาไปขอไฟกลัวเขาถามเรื่องบ่อบาดาลครับ
8. หม้อแอมป์ไฟฟ้าใช้กับซัมเมอร์ส 1แรงครึ่ง ใช้15แอมป์ได้ไหมครับถ้าไม่ได้แล้ว15แอมป์ใช้กับปั้มกี่แรงครับ
      คำถามอาจจะเยอะไปหน่อยนะครับวกไปวนมายังไงก็ขอคำแนะนำด้วยนะครับ
      ขอบคุณคำตอบล่วงหน้านะครับ
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #127 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2014, 01:29:00 PM »

"นาและสวนชั่งหัวมัน" ผมอยู่บ้านโนนเพิ่ม แถวๆคลองน้ำผุดทัพลาว คอนสารครับ แต่ตอนนี้ประจำการที่บึงกาฬ ไว้กลับบ้านหนองทุ่ม หนองเขียด จะแวะมาเยี่ยมครับ

ผมยังไม่ได้ประจำที่สวนครับ แต่อนาคตอันใกล้ (หรือไกล) ก็ไม่แน่ครับ

สักวันคงได้เจอกัน

สวัสดีครับ คุณ avatayos
  ผมขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเจาะนำ้บาดาล ผมสนใจว่าจะเจาะครับ บ่อนำ้บาดาลแถวบ้านผมเป็นบ่อ 4 นิ้ว ลึกประมาณ 40 เมตรเกือบทุกบ่อมีคนเจาะกันหลายบ่อแล้วครับ โดยปกติช่างจะใส่ท่อกันดินทรุดให้ 2 ท่อนpvc ช่างที่ผมติดต่อว่าจะเจาะก็ใส่ให้ 2 ท่อน แล้วแถวบ้านก็สูบใช้กันก็มีปัญหาบางบ่อนำ้สีเหลืองขุ่นๆสูบใส่ข้าวข้าวก็ตาย อีกหลายๆบ่อสูบนำ้ไม่พอใช้บอกเปลืองค่านำ้มันสูบนำ้ เขาใช้ปั้ม 2 นิ้วต่อกับรถไถนาเดินตามครับ ส่วนบ่อที่ผมจะเจาะคือ 5 นิ้วเจาะจนเจอะนำ้ ใส่กันดินทรุด 2 ท่อน 15000 ผมจะใช้นำ้ในนาข้าว20ไร่ ปัญหาคือกลัวว่าเจาะแล้วจะมีปัญหาเหมือนกับบ่ออื่นๆจึงอยากขอคำแนะนำในการเจาะบ่อบาดาลครับ
1. ปกติช่างเขาจะเป่าบ่อให้ฟรีไหมครับหลังเจาะบ่อเสร็จหรือถ้าช่างบอกไม่มีการเป่าบ่อต้องทำไงครับ
2. ใส่ท่อกันทรายกันดินทรุดต้องใส่กี่เมตรครับ สมมุติบ่อ40เมตร
3.ต้องเจาะท่อpvcกันดินทรุดกี่ท่อนเพื่อให้นำ้ไหลเข้าบ่อ สมมุติใส่กันทรุดทั้ง40เมตร
4. ถ้าบ่อบาดาลผมนำ้เป็นสีเหลืองขุ่นๆมีวิธีแก้ไขไหมครับ
5. ระหว่างซัมเมอร์สกับปั้มติดรถไถนาใช้นำ้มันอันไหนมีความคุ้มค่าในการสูบนำ้และประหยัดพลังงานกว่ากันครับแล้วซัมเมอร์สขนาดกี่แรงใช้กับบ่อบาดาล5นิ้วครับ
6. ไปขอไฟฟ้าขยายเขตที่ดินตอนลงหม้อแปลงไฟฟ้าต้องมีบ้านเลขที่ไหมครับเพราะถ้ามีบ้านเลขที่มันจำเป็นต้องมีบ้านเป็นหลังในที่ของเราไหมครับ
7. ถ้าไปขอไฟฟ้าขยายเขตที่เพื่อเอามาสูบนำ้จาบ่อบาดาลโดยตรงจะมีปัญหาเรื่องบ่่อบาดาลผิดกฏหมายไหมครับ เผื่อเวลาไปขอไฟกลัวเขาถามเรื่องบ่อบาดาลครับ
8. หม้อแอมป์ไฟฟ้าใช้กับซัมเมอร์ส 1แรงครึ่ง ใช้15แอมป์ได้ไหมครับถ้าไม่ได้แล้ว15แอมป์ใช้กับปั้มกี่แรงครับ
      คำถามอาจจะเยอะไปหน่อยนะครับวกไปวนมายังไงก็ขอคำแนะนำด้วยนะครับ
      ขอบคุณคำตอบล่วงหน้านะครับ

1. ขึ้นกับช่างครับ แล้วแต่ตกลง บางคน ก็แค่ค่าน้ำมัน บางคนไม่เจอน้ำ ไม่คิดเงิน

2. อันนี้ไม่ชำนานครับ แต่โดยทั่วไป ใส่จนถึงชั้นหินครับ

3. ปกติ น้ำบาดาลคือ น้ำใต้ดิน ใต้ชั้นหินครับ แต่บางพื้นที่ มีน้ำใต้ดิน ในชั้นดินด้วย (เช่นบางคนขุดบ่อน้ำแล้วมีน้ำออกมาตลอดเวลา) หากเจาะแบบนั้นต้องใส่ท่อกันทรุด เพื่อป้องกันดินไหลมาปิดท่อครับ

4. อันนี้ไม่ทราบครับ แต่โดยทั่วไป สูบขึ้นมาแล้ว ต้องบำบัด แต่บำบัดอย่างไร ก็ขึ้นกับสภาพน้ำครับ ต้องส่งน้ำไปตรวจ ผมถึงซีเรียสว่า ไม่สูบน้ำบาดาลมารดน้ำต้นไม้เลย

5. มันมีข้อต้องคิดตรงที่ ปริมาณน้ำที่ไหลครับ เช่น

ระดับความสูงผิวน้ำอยู่ที่ 7 เมตร หมายถึง ต้องใช้ปั้มน้ำที่สูบได้ลึกกว่า 7 เมตร ขึ้นไป

สมมติว่า สูบได้ 10 เมตร เท่ากับว่าสูบได้จริงๆ 3 เมตร

ได้ปริมาณเท่ากับสูตร (H Pi r กำลัง2) คือ

r = 5/2 = 2.5 นิ้ว แปลงเป็น เมตร เท่ากับ 0.0635 เมตร

คำนวณได้ = 3*3.14159*0.0635*0.0635 = 0.038 ลบ.ม.

ดังนั้นหากน้ำที่ไหลมาทดแทน 100 ลิตรต่อนาที

แล้วคุณใช้ปั้มขนาด 100 ลิตรต่อนาที หรือ 6000 ลิตรต่อชั่วโมง

คุณก็จะสูบน้ำได้พอดิบพอดี และสูบได้ตลอดเวลา

แต่หากน้ำที่ไหลมาทดแทนในบ่อ เร็ว 99 ลิตรต่อนาที แต่คุณใช้ปั้มขนาด 6Q ต่อชั่วโมง

แสดงว่าน้ำจะหายไปจากบ่อ 1 ลิตรต่อนาที

คุณจะสูบได้แค่ 38 นาทีโดยประมาณ ก็ต้องหยุดสูบ เพราะน้ำลดลงต่ำกว่า 10 เมตร จึงสูบต่อไม่ได้

นี้เป็นวิธีการคำนวณ ของแต่ละบ่อบาดาล ว่าทำไม บางแห่งสูบได้ตลอดเวลา บางแห่งสูบแล้วต้องหยุด

เพราะเลือกปั้มไม่สัมผัสกับปริมาณน้ำไหลทดแทน

หากจะหาว่าอะไรคุ้มค่า ก็ต้องคำนวณทั้งหมดครับ

แต่โดยทั่วไป ปั้มติดรถไถนา เป็นประเภท Q เยอะ ซึ่งหมายถึง จะเจอปัญหาแบบต้องหยุดสูบน้ำบ่อยๆ จะไม่สะดวก

แต่หากใช้ปั้มซับเมิร์ส ซึ่งจุ่มลงไปลึก เช่น

จากโจทย์ตัวอย่างจุ่มลงไป 40 เมตร

ก็ได้ปริมาณน้ำในบ่อเท่ากับ 500 ลิตร หรือกว่าจะหยุดสูบต้องผ่านไป 500 นาที ก็เกือบๆ 10 ชั่วโมง

แต่ถ้าไม่อยากคำนวณ ผมแนะนำซับเมิร์สครับ ใช้อุปกรณ์ให้ตรงกับสภาพแวดล้อมดีที่สุดครับ



6. ขอหม้อเกษตร ไม่ต้องมีบ้านเลขที่ครับ แต่ถ้าจะขอหม้อถาวรต้องมีครับ
จะมีบ้านเลขที่ได้ต้องมีสิ่งปลูกสร้าง ต้องมีผู้ใหญ่บ้านรับรอง แล้วไปทำเรื่องขอทะเบียนบ้านให้เรียบร้อยครับ

7. ขอไฟฟ้าไม่ต้องพูดอะไร แค่บอกว่าขอสำหรับทำการเกษตร เขาก็มาติดตั้งให้ครับ / บ่อบาดาลต้องขออนุญาตให้เรียบร้อยถูกต้อง ปลอดภัยดีที่สุดครับ

8. ปกติ หม้อไฟฟ้า 15A ขนาดมาตรฐาน จะใช้งานได้ 45แอมป์ครับ ปั้ม 1 แรงคือ 750W เท่ากับ 3.4A สบายๆ ครับ

ที่ต้องระวังคือ การกระชากไฟครับ ปกติจะ 7-8 เท่าของแรงมอเตอร์ปกติ คิดง่ายๆ ก็ 3.4*8 = 27.2A

ดังนั้น ถ้าเปิดปั้ม 1 แรงพร้อมๆ กับ 2 ตัว อาจส่งผลให้ไฟฟ้าดับ เบรกเกอร์ทิป ได้ (จังหวะมันกระชากนี้ เสี้ยวของเสี้ยววินาทีเลยครับ)

ดังนั้น ระบบที่ออกแบบดีๆ จะมีการหน่วงเวลาในการเปิดไฟฟ้า เหมือนที่มีในชุดคอนโทรลของมอเตอร์ 3 เฟส ครับ


มีอะไรสงสัยถามได้ตลอดครับ

ยินดีครับ


การตอบคำถามใครๆ ถือเป็นการทบทวนความรู้ไปในตัวครับ ผมชอบ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 ... 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: