หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 ... 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 244141 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #32 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 03:56:46 PM »

55+
สำหรับผม
ความพอเพียงคือความพอดี
พอดี ไม่ใช่การหยุด
แต่พอดี คือความพอเหมาะ ความเหมาะสม
ในที่นี้คือ "กำลัง" และ "ความสามารถ"

ดังนั้น
ความพอดีของผม จึงเปลี่ยนเป้ามาหลายครั้ง ตามกำลังและความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทีละน้อย

จาก
10000 บาท/เดือน ได้แล้ว
30000 บาท/เดือน ได้แล้ว
50000 บาท/เดือน ได้แล้ว
100000 บาท/เดือน ยังห่างไกล 555+

ภายไต้ทรัพยากรที่เรามี ..... ที่ดินทำกิน 2 ไร่กว่าๆ

และถ้าวันหนึ่ง เราเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพมากขึ้น ได้มากกว่านี้ ผมอาจจะเป้าตั้ง 200000 บาท/ไร่/เดือน ก็ได้

ฝันได้ แต่ต้องฝันแบบ "SMART"

1. Specific ความเฉพาะเจาะจง ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั่วทั้งองค์กร
2. Measurable เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดอื่นและใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้
3. Attainable ( Achievable ) สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดผลได้โดยตรง
4. Realistic มีความสมจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กรและไม่ใช้ต้นทุน การวัดที่สูงเกินไป
5. Timely  สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด ควรปรับปรุงตัวชี้วัด ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง

ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #33 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 04:09:51 PM »

55+
สำหรับผม
ความพอเพียงคือความพอดี
พอดี ไม่ใช่การหยุด
แต่พอดี คือความพอเหมาะ ความเหมาะสม
ในที่นี้คือ "กำลัง" และ "ความสามารถ"

ดังนั้น
ความพอดีของผม จึงเปลี่ยนเป้ามาหลายครั้ง ตามกำลังและความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทีละน้อย

จาก
10000 บาท/เดือน ได้แล้ว
30000 บาท/เดือน ได้แล้ว
50000 บาท/เดือน ได้แล้ว
100000 บาท/เดือน ยังห่างไกล 555+

ภายไต้ทรัพยากรที่เรามี ..... ที่ดินทำกิน 2 ไร่กว่าๆ

และถ้าวันหนึ่ง เราเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพมากขึ้น ได้มากกว่านี้ ผมอาจจะเป้าตั้ง 200000 บาท/ไร่/เดือน ก็ได้

ฝันได้ แต่ต้องฝันแบบ "SMART"

1. Specific ความเฉพาะเจาะจง ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั่วทั้งองค์กร
2. Measurable เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดอื่นและใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้
3. Attainable ( Achievable ) สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดผลได้โดยตรง
4. Realistic มีความสมจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กรและไม่ใช้ต้นทุน การวัดที่สูงเกินไป
5. Timely  สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด ควรปรับปรุงตัวชี้วัด ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

เห็นด้วยมากๆครับว่า ความพอเพียงคือความพอดี
บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
Adisak009
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #34 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 07:06:44 PM »

รอติดตาม ตอนต่อไปนะครับ....
...ผมคนหนึ่งกำลังวางแผนอนาคตที่ยั่งยืน และอยู่ในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็เริ่มเก็บเกี่ยวข้อมูลในเวบ กพพ.นี้เช่นครับ  ขอผมศึกษาและร่วมลองผิดลองถูกไปด้วยกันนะครับ
..ตอนนี้ก็ ทำงานอยู๋ กทม. แพลนว่า อีก 2ปี จะลงจริงๆจังสักที

มีที่ดินหรือยังครับ

ผมแนะนำให้รีบเคลียร์เรื่องที่ดินก่อน เป็นของเราแล้ว ราคาไม่วิ่ง

ผมยังเสียดายว่า ตอนแต่งงานไม่คิดซื้อ ถ้าซื้อตอนนั้นถูกกว่าตอนนี้ 10 เท่า ...


ขอเข้ามาติดตามอ่านเป็นกำลังใจให้ครับ อายจัง

ขอบคุณเช่นกันครับ

ที่ดิน เพิ่งซื้อไปครับ ที่นา 30 ไร่  ที่ทำสวน 8 ไร่ ครับ   ตอนนี้ เริ่มทำนาอินทรีย์ ปลอดสาร ปีแรก แต่แล้งมากมาย 555 สงสัยฟ้าฝนยังไม่เป็นใจ
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #35 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 08:12:34 AM »



ที่ดิน เพิ่งซื้อไปครับ ที่นา 30 ไร่  ที่ทำสวน 8 ไร่ ครับ   ตอนนี้ เริ่มทำนาอินทรีย์ ปลอดสาร ปีแรก แต่แล้งมากมาย 555 สงสัยฟ้าฝนยังไม่เป็นใจ

ปีนี้ตามพยากรณ์อากาศของเมืองนอก แล้งครับ ฝนตกแต่ปริมาณน้อย ต้องระวังนะครับ

ผมใช้พยากรณ์อากาศเมืองนอก เพราะแม่นกว่า ตามปกติ ช่วงนี้ ลมจากออสเตรเลีย ต้องเริ่มพัดเข้ามา ซึ่งจะทำให้เกิดพายุ เกิดฝน แต่ถึงตอนนี้ยังไม่พัดเข้ามาเลย ดังนั้น ฝนจะมาช้ากว่าปกติไปเป็นเดือนครับ (ถ้าผมจำที่อ่านพยากรณ์เมื่อต้นเดือนที่แล้วไม่ผิดพลาดนะครับ)

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #36 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 08:32:56 AM »

มาเล่าต่อครับ
-----------------------------------
กระบวนการที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้ ใช้เวลาศึกษาอยู่หลายเดือนนะครับ ยังไม่ได้คำตอบเลยด้วยซ้ำว่า จะปลูกอะไร แต่ได้แนวทาง ซึ่งแนวทางนี้ละสำคัญ

ตามหลักการบริหารธุรกิจพื้นฐาน เราต้องกำหนด

Mission
Vision
Strategies
Goals
Action

ถึงจุดนี้ (ในตอนนั้น) ผมได้ Mission และ Vision ค่อนข้างชัดเจนแล้ว แต่กระบวนการสำคัญคือ ต้องตรวจสอบ สองเรื่องนี้ว่า มันใช่จริงหรือเปล่า

ผมจึงเริ่มออกเดินทางไปเที่ยวชมสวน ของคนอื่นๆ เขาบ้าง

เพื่อดู แนวคิด วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ดูเป้าหมาย และกระบวนการทำงาน

สิ่งหนึ่งที่ผมพบในการเรียนรู้สวนของท่านอื่นๆ คือ องค์ความรู้ของแต่ละท่าน ใช้ประสบการณ์เป็นเครื่องพิสูจน์ น้อยนักที่จะใช้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องพิสูจน์ เช่น
 
สวนไผ่รายหนึ่ง (ไม่ขอเอ่ยนาม เพราะแต่ละท่านมีความเชื่อไม่เหมือนกัน) เลี้ยงไก่ในสวนไผ่ โดยให้ข้อดีว่า ไก่ไข่ได้ดี ไข่แข็งแรง ได้ไข่อินทรีย์ และไม่ต้องมานั่งกวาดใบไผ่ แนะนำผมว่าให้ปลูกไผ่ แล้วเลี้ยงไก่ไปด้วย ได้รายได้สองทาง

สวนไผ่อีกแห่งหนึ่ง ยืนยันเลยว่า ไม่ให้เลี้ยงไก่ในสวนไผ่ เพราะไก่เขี่ยโคนไผ่ เสียหายหมด ลองแล้ว พบว่าไม่คุ้มกัน

สวนไผ่อีกแห่งใช้ซังข้าวโพด ในการคลุมดิน หมักมันตรงนั้นเลย บอกว่าย่อยสลายเอง

นี่แค่สวนไผ่นะ มีอีกหลายๆ สวนที่ไปเยี่ยมชมแล้ว ได้ความรู้มาตีกันมันมาก 555

แล้วแต่ละสวนก็อยากขายผลิตภัณฑ์ของตนเอง เมื่อรู้ว่าเรากำลังจะสร้างสวน ก็ยิ่งมองเราเป็นลูกค้าชั้น A

พยายามใส่ข้อมูลทุกอย่างที่โน้มน้าวให้เราปลูกโดยใช้พันธุ์ของเขาให้ได้

ผมก็รักษาน้ำใจด้วยการซื้อมาต้นสองต้น บอกเอามาทดลองก่อน ถ้าพันธุ์ดีจริง จะกลับมาซื้อ 555

บอกตรงๆ ตอนนั้น มึนไปเลยครับ ไม่รู้เชื่อใคร เชื่ออะไร ดี

แต่ผมรู้อย่างหนึ่งคือ วิชาการเกษตร เชื่อถือได้

ผมจึงหาคอร์สเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้ที่ตนเองได้มา และตรวจสอบว่าสิ่งที่เราสนใจจะลงทุนนั้น เป็นไปได้จริงมากน้อยแค่ไหน




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2014, 08:36:05 AM โดย avatayos » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #37 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 08:47:04 AM »

จากคอร์สของอาจารย์รวี ผมบอกได้เลย ว่า ผมไปนั่งเรียนการบริหารจัดการสวน มากกว่าการปลูกมะนาว

และสิ่งที่เรียนยิ่งตอกย้ำระบบความคิดที่ผมวางแผนไว้ค่อนข้างมาก

อย่างคำว่า "สั่งได้" ท่านอาจารย์ รวี เป็นคนพูดเอง ส่วนผมในตอนนั้นคิดว่า "เราต้องควบคุมได้" พอเรียนจบกลับมา ผมเลยขอใช้คำของอาจารย์ซึ่งแทนความหมายได้ดีกว่า คือ "สั่งได้"

สิ่งที่เรียนเริ่มต้นตั้งแต่ ดิน --> ผศ.อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน ท่านสอนว่า

ไม่ว่าเราจะทำไร่ หรือทำสวน เราต้องจัดการดินให้พร้อมเสียก่อน

วิธีจัดการก็แสนง่ายคือ ส่งดินไปตรวจ 3 ปี ต่อครั้ง ถือว่า ต้นทุนการตรวจนั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับ ผลรายงานที่ออกมา แล้วจะช่วยให้เราวางแผน บริหารจัดการ การให้ปุ๋ย การปรับปรุงต่างๆ ได้

เรียนกลับมา ผมก็รีบไปขุดตัวอย่างดิน ส่งไปทดสอบเลย 555



หัวใจสำคัญที่ผมได้เรียนจาก อาจารย์ อรรถศิษฐ์ คือ ความเข้าใจในดิน กล่าวคือ

พืชต้องการแร่ธาตุทางดิน 3 ประเภท ได้แก่ ธาตุ N P K เรียกธาตุหลัก และ C Mg S เป็นธาตุรอง ส่วนธาตุที่ต้องการน้อยแต่ขาดไม่ได้เรียกว่า จุลธาตุ คือ Fe Cu Mn Zn B Mo Cl Ni

ปกติในดินจะมีธาตุเหล่านี้อยู่ แต่ดินที่แย่จะขาดธาตุตัวใดตัวหนึ่ง เรามีหน้าที่เติมเข้าไปให้เพียงพอต่อการเติบโตของพืชในแต่ละช่วง เช่น ช่วงสร้างกิ่ง ก็ต้องเติม N เยอะๆ ช่วงสร้างผลต้องเติม K เยอะๆ เป็นต้น

ดังนั้นเราสามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้ตามปริมาณที่ขาด โดยไม่ได้ทำให้ดินเสียหาย จริงๆ แล้วอาการที่เหมือนดินเสีย เกิดจากการขาดธาตุรองและจุลธาตุมากกว่า หรือขาดอินทรีย์วัตถุ

กล่าวคือ แม้ว่าดินจะมีอินทรีย์วัตถุมาก แต่ไม่มีแร่ธาตุเลย ก็ใช้ไม่ได้ ดินที่มีธาตุครบ แต่ขาดอินทรีย์วัตถุก็ใช้ไม่ได้ ปัญหามันเกิดจากเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป โดยไม่เติมธาตุรองและจุลธาตุ รวมถึงอินทรีย์วัตถุ

เมื่อเติมแต่ธาตุหลัก N P K ดินก็ย่อมจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสีย...

ดินเสียจริงๆ เพราะเผา เพราะไม่ยอมปรุงดินให้เหมาะสม เพราะใช้อย่างเดียวไม่เติมสิ่งที่ขาดเลย ต่างหาก

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #38 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 09:03:53 AM »

ส่วนของท่านอาจารย์ รวี ได้ให้ข้อคิด ที่ล้างความเชื่อหลายอย่างที่เคยเรียนมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น

จะซื้อที่ดิน ต้องซื้อที่ดินดีๆ

แต่แนวคิดของท่านอาจารย์ คือ "ทำให้ได้ตามที่เราต้องการ ดีกว่า แก้ไขให้ได้ตามที่เราต้องการ"

เหตุเพราะ การบริหารจัดการสวนที่ดี ต้องสั่งต้นไม้ได้

และพืชสวนเมืองไทย อยากสั่งต้นไม้ได้ "ต้องเลือกที่ดินซึ่งดินเป็นดินเลว"

เพราะดินดี ต้นไม้จะมีอำนาจมากกว่าคนปลูก มันตามใจตัวมันเอง มีธาตุครบ ขี้เกียจ สั่งไม่ได้

แต่ดินเลว ดินขาดอะไร ต้นไม้จะฟ้อง เรามีหน้าที่จัดการเติมเข้าไป และใช้หลักเคมีในพืชเป็นเครื่องมือในการควบคุม ให้โตอย่างไร ให้ออกดอกเมื่อไร ให้ออกผลเมื่อไร

ซึ่งหลักการนี้ท่านได้แนะนำชาวสวนผลไม้มาแล้วแทบทุกชนิด มะม่วง มะขาม ลิ้นจี่ ลำใย ส้ม จนล่าสุดมีปัญหาเรื่องราคามะนาวตอนปี 43 ท่านจึงเริ่มลงมาทำเรื่องมะนาว ตัวอย่างดินเลวที่เยี่ยมที่สุดคือ ที่ดินแถวมาบตาพุด ระยอง ที่เป็นดินเลวมาก ฝนตกแล้วดินไม่เก็บน้ำเลย ซึ่งหมายถึงไม่เก็บแร่ธาตุด้วย แต่สามารถปลูกมะม่วงและบังคับออกนอกฤดูได้จนติดตลาด

-----------------------------------------------
ด้วยหลักการนี้ เดิมผมตั้งเป้าว่า จะทำเกษตรอินทรีย์ ก็ต้องเปลี่ยนใจ เพราะเกษตรอินทรีย์ทำได้ ทำดี แต่ใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลลัพธ์

แต่ก็ใช่ว่าจะทิ้งแนวทางอินทรีย์ เรียกว่า ใช้ให้ได้มากที่สุด ลดการใช้เคมีให้ได้น้อยที่สุดดีกว่า

เช่น ปุ๋ย ต้องใช้ผสมผสาน ใช้ปุ๋ยเคมีด้วย เพราะปุ๋ยอินทรีย์ที่แร่ธาตุคงที่ทุกรอบการผลิตนั้น หาได้ยาก มีแค่ไม่กี่ยี่ห้อ แต่ปุ๋ยเคมีที่เลือกจะเป็นปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยที่มีฟิลเลอร์น้อยที่สุด

รวมถึงราคาเมื่อคำนวณแล้ว ต่ำที่สุดด้วย

โดยผมได้ทำไฟล์คำนวณการผสมปุ๋ยเอาไว้ แจกอยู่ในห้อง IT ZONE หรือใครจะกดจากที่นี้ก็ได้ครับ

http://www.mediafire.com/view/qzlfdeh8jaisixr/โปรแกรมคำนวณสูตรปุ๋ยจากแม่ปุ๋ย.xls

โดยหลักการคือ เราไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ตามสูตรที่ทางการกำหนด หรือตามหนังสือ

แต่เราต้องใส่ปุ๋ย ตามดินที่ขาด ตามความต้องการของต้นไม้ที่เราปลูก ซึ่งความต้องการดังกล่าวค้นหาได้จากฐานข้อมูลวิชาการว่าพืชที่เราจะปลูกแต่ละรอบนั้นใช้ N P K เท่าไร

คำถามง่ายๆ

สมมติ พืช A ต้องการอาหาร N P K เท่ากับ 16-16-16 ทางการเลยแนะนำให้ใส่ปุ๋ย 16-16-16

แต่ดินคุณมี N P K = 0-16-16

ถ้าคุณใส่ สูตรตามทางการบอก หรือตามหนังสือบอก ดินคุณจะมีค่าธาตุเป็นอย่างไร (สมมติง่ายๆ ว่าสัดส่วนเท่าๆ กัน)

ดินคุณจะมีธาตุเป็น 16-32-32 แทน

ซึ่งหมายถึง P กับ K มันเกิน

แล้วสมมติถ้า 16-16-16 เท่ากับ กิโลละ 10 บาท
แต่ 46-0-0 มันเท่ากับกิโลละ 10 บาท เท่ากันเลย

คำถามคือ คุณใส่ 46-0-0 ดีกว่าหรือไม่


คำตอบคือ คุณซื้อ 46-0-0 มาปรับปรุงดินดีกว่า เพราะคุณใส่แค่ 0.34 ส่วน ก็ทำให้ดินมีแร่ธาตุเท่ากับ 16-16-16 หรือเท่ากับใช้เงินแค่ 3.4 บาท ในขณะที่สูตร 16-16-16 คุณต้องใช้เงิน 10 บาท

----------------------------------------
นี่คือ หนึ่งในหลักการสำคัญ ในการจัดการสวนที่เจ้าของสวนต้องเข้าใจ เป็นหนึ่งในแนวทางการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #39 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 09:12:54 AM »

วิธีการใช้โปรแกรมคำนวณปุ๋ยใน Excel

1. โหลดและเปิดไฟล์ขึ้นมา จะพบหน้าจอแบบนี้


จากนั้น นำสูตรปุ๋ย ที่คุณต้องใช้งาน กรอกลงในช่อง ลูกศรสีแดง

จากตัวอย่างคือ 16-16-16

แล้ว กรอกปริมาณที่คุณต้องใช้ หน่วยเป็น กรัม ในช่องลูกศรสีเขียว

คุณจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น ช่องลูกศรสีน้ำเงิน

ว่าจากแม่ปุ๋ยทั้ง 3 ตัว จะต้องตักแต่ละตัวกี่กรัม

ง่ายไหมครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #40 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 09:19:03 AM »

จากโปรแกรมสูตรปุ๋ย

สิ่งสำคัญที่คุณต้องคิดต่อ คือ ปุ๋ยสำเร็จ แต่ละสูตร มีราคาไม่เท่ากัน ดังนั้น สิ่งสำคัญนอกจากคำนวณเป็น ตวงและผสมเป็นแล้ว

คุณต้องรู้ว่า ต้นทุนที่คุณนำปุ๋ยมาผสมกันนั้น เป็นมูลค่าเท่าไร

หากพบว่า ปุ๋ยที่ต้องนั่งผสมเอง สูตร 16-16-16 มีราคา 16 บาท

แต่ปุ๋ยที่ขายอยู่แถวบ้าน มีสูตร 15-15-15 ราคา 15 บาท

คุณจะผสมเองทำไมให้เหนื่อย จริงไหมครับ


การผสมปุ๋ย มีไว้เพื่อการปรับปรุงดินครั้งแรก ให้มีคุณสมบัติ เหมาะสมกับต้นไม้ที่เราจะปลูก แต่ในครั้งต่อๆ ไป เมื่อต้นไม้บริโภคแร่ธาตุไปแล้ว ตามความต้องการของต้นไม้ โดยพื้นฐาน มันควรหมดเป็น 0 ซึ่งหมายถึง การเติบแร่ธาตุครั้งต่อๆ ไป

จะเติมในสูตรคงที่มาตรฐาน ซึ่งคุณอาจไม่ต้องคำนวณอีกเลย หรือถ้าคุณใช้เยอะ อาจให้โรงงานผสมปุ๋ย ทำมาให้สำเร็จเฉพาะคุณก็ได้

หากแร่ธาตุในดิน เหลือมากกว่า 0 หมายถึง....ง่ายๆ คือ คุณเติบปุ๋ยมากเกินความจำเป็นของต้นไม้ นั้นเอง

ดังนั้น การตรวจสอบดิน จึงควรทำทุกๆ 3 ปี ครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #41 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 12:35:10 PM »

มาถึงหัวข้อต่อไปที่ได้เรียนมา ก็ตอกย้ำหลักคิดของผมที่ว่า การบริหารการเกษตร จริงๆ มันก็คือ การบริหารธุรกิจนั้นละ ไม่ได้ต่างกันเลย

หัวข้อที่เรียนต่อมาคือ เรื่องของโรคและแมลงในสวน จาก ผศ.อุไรวรรณ นิลเพ็ชร

ประเด็นสำคัญที่ผมได้มา คือ การบริหารจัดการความเสี่ยง หรือ Risk Management

การที่แมลงหรือโรค มารบกวนนั้น ถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ ความเสี่ยงที่ผลิตผลจะเป็นศูนย์

ซึ่งปัญหาโดยมากของเกษตรกรคือ ความกลัว เจอแมลง เจอโรค รีบวิ่งหายาแก้

แต่ไม่ได้เอาหลักคิดทางวิทยาศาสตร์มาใช้ กล่าวคือ เมื่อเจอแมลง ต้องสันนิษฐานก่อนว่า ระบาด แค่ไหน

โดยมีกระบวนการตรวจสอบการระบาดตามหลักสถิติ และชนิดของแมลง เช่น แมลงที่ต้องอาศัยพาหะอื่นเป็นตัวพาไป อย่าง เพลี้ยแป้ง ต้องอาศัยมด

หมายความว่า การระบาดจะออกเป็นคลื่นวงกลม ดังนั้น เราตรวจสอบจากต้นใกล้ๆ กันได้ ว่า มีระบาดไปถึงหรือยัง

หรือแมลงประเเภทบินได้ อันนี้จะระบาดได้ไกล ก็อาจใช้วิธีสุมตรวจแบบ ก้นหอย คือ ค่อยๆ ตรวจต้น ข้างๆ แล้ววนออกไป

หากเราพบว่า มีการระบาด

สิ่งที่ต้องคิดต่อมาคือ Cut Loss เราอยู่ตรงไหน

เช่น สมมติเราบอกว่า ผลผลิต 100% เรายอมให้เกิดการเสียหายจากโรคและแมลงได้ 1%

เราก็มาคำนวณเลยว่า ไอ้ที่ถูกระบาดจนเสียหายแล้วนั้น มันน้อยกว่า 1% หรือเปล่า

ถ้ามันน้อยกว่า แนวโน้มการระบาดเป็นอย่างไร รวดเร็ว กว้าง

เราก็ต้องคิดต่อมาว่า ความเร็วในการระบาดระดับนี้ เราเหลือเวลาตัดสินใจป้องกันนานแค่ไหน

สมมติ เหลือ 3 วัน ก็รอ 3 วัน

ง่ายๆ แค่นั้น

เหตุที่ต้องรอ เพราะโดยธรรมชาติ แมลง มีทั้งแมลงดี และแมลงไม่ดี

แมลงไม่ดี คือ แมลงศัตรูพืชที่มาทำลายผลผลิตของเรา

ส่วนแมลงดี คือ แมลงที่มาป้องกัน มาช่วยทำงานให้เรา

3 วันที่ว่า เป็นช่วงเวลาให้โอกาส แมลงดี เข้ามาทำงาน

หากมันเข้ามาทำงานแล้ว การระบาดย่อมหมดไป ซึ่งหมายถึง คุณไม่ต้องเสียต้นทุนการป้องกัน ไม่ต้องเหนื่อย ผลผลิตไม่ต้องปนเปือนเคมี

แต่หาก 3 วันแล้วก็ยังไม่มา ผลผลิตก็เสียหายเพิ่มขึ้นใกล้ 1% คุณก็ต้องตัดสินใจฉีดยาจัดการให้เรียบร้อย


กระบวนการวางแผน กระบวนการคิดเหล่านี้ มันคือ หลักการพื้นฐานของ Risk Management นั้นเอง
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
LG
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14


« ตอบ #42 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 03:44:59 PM »

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับ..
บันทึกการเข้า
korat1977
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 386


« ตอบ #43 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 08:47:58 PM »

ขอบคุณสำหรับ กระทู้ดีๆครับ จะติดตามนะครับ เฮ่อๆๆ
บันทึกการเข้า

"ฟาร์มฮัก" กะ "เศษตะกอน" ในความหมายของผม ก็คือ... "ความรัก ความอบอุ่น ที่มีต่อ น้ำ หิน ดิน ทราย และ การเป็น เกษตรกร"
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #44 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 09:27:14 PM »


เกษตรที่ดีต้องอิงวิทยาศาสตร์ ประกอบประสบการณ์ จึงจะออกมาเปนความสำเร็จ
บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #45 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2014, 08:15:04 AM »

เอารูปลงบ้าง สลับกับเนื้อหานะครับ 555

คนนี้ เจ้าของสวนตัวจริง ลูกชายของผมครับ

ตั้งใจสร้างทุกอย่างให้เป็นสมบัติ หมดเวลาของเรา ถึงเวลาของเขาจะขาย จะทำต่อ จะอย่างไร ก็สุดแล้วแต่เขา

แต่สวนที่เป็นสมบัตินี้ คงจะช่วยเปิดโอกาสในชีวิตให้เขาได้มากมาย ในยามที่เราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว



ภาพนี้ตอนเมษายน ปี 56 ยังไม่ได้โอนที่ดิน ชาวบ้านที่มาเช่าที่ดินปลูกอ้อยตัดอ้อยไปหมด เหลือไว้แต่ตอ พ่อตาไม่ให้เขาเช่าที่ดินต่อ เพราะเราจะซื้อ
ปล่อยไว้ ตอเดิมมีอ้อยขึ้นบ้าง ประปราย ต้นปี 57 ตัดเก็บได้ 2 หมื่นกว่าบาท ตกไร่ละพัน ...เทวดาเลี้ยงสุดๆ ไม่มีปุ๋ย ไม่มีให้น้ำ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #46 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2014, 08:29:26 AM »

หลังจากโอนที่ดิน 2 ม.ค. (หรือ 3 ม.ค. 57 วันแรกที่เปิดทำการหลังปีใหม่เลยครับ)

ก็ให้คนไถเอาตออ้อยออก แล้วก็หว่านปอเทืองไปในปลายเดือนกุมภาพันธ์

พอต้นเดือนมีนาคม ก็ขึ้นไปดูการงอกของปอเทือง

ปรากฎว่า เงิบ...ไม่งอก

ความร้อนแล้ง ทำให้ปอเทืองไม่งอกเลย งอกเพียง 10% เท่านั้น

น้ำก็ยังไม่มี ไฟฟ้าก็ยังไม่มี บ่อน้ำข้างๆ ก็แห้งน้ำน้อย

แผนการบำรุงดิน ก็เลยต้องปรับ โดยต้องรอให้มีระบบน้ำก่อน หรือ ฝนตกติดต่อกันสักสองสามวันก่อน



ปรากฎว่า โชคดี ช่วงสงกรานต์ มีพายุฝนตกลงมาบ้าง จึงสั่งให้รีบหว่านปอเทือง และปอเทืองก็ขึ้นได้ดี
แต่ด้วยความที่พ่อตาก็เห็นว่ามันก็แค่ปอเทือง จึงทิ้งช่วง ไม่ได้ลงไปดูแลที่ดินเลย (บ้านพ่อตาห่างทีดิน 300 เมตร)
ผลคือ หนอนปุ้งปอเทืองแถบขาว กินเรียบครับ

เป็นอันว่า การปรับปรุงดินให้ดีขึ้นด้วยปอเทืองรอบนี้ ไม่เห็นผลใดๆ เลย

จุดนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนแผนครั้งสำคัญ จากแผนที่ผมตั้งใจว่าจะทำ "เกษตรพาร์ทไทม์" คือ สั่งงานทางโทรศัพท์ มาดูแลเสาร์อาทิตย์ที่ว่างๆ
ก็คงต้องยกเลิกไป หากคิดจะทำตามแผนการที่วางไว้ จะทำเกษตรพาร์ทไทม์ได้ ต้องมีเกษตรตัวจริง ใส่ใจจริง อยู่ในพื้นที่ด้วย

จาก Gantt Chart แผนงานในกระดาษที่วางไว้ทั้งหมด ก่อนช่วงโอนที่ดิน เรียกว่า ล้างทิ้งหมดเลย เพราะผิดแผนหมดทุกกรอบเวลา 555

จากเดิมตั้งใจว่า ผลผลิตน่าจะได้เก็บช่วงต้นปีหน้า (58) ก็จบกัน พอขยับแผนการใหม่หมด มีเวลาเหลือ 6 เดือนเต็มๆ

--------------------------------------------------------

ผมเลยหันไปศึกษา พืชที่ มีรอบเก็บเกี่ยว 6 เดือน แทน เพื่อไม่ให้ที่ดินว่างไว้โดยเปล่าประโยชน์
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #47 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2014, 09:11:17 AM »

เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยน โจทย์ก็เลยเปลี่ยน

ผมจึงหันไปใส่ใจระบบน้ำ และระบบไฟฟ้า อย่างจริงจังก่อน (เดิมวางแผนไว้ว่าทำคู่ๆ กันไป เพราะพืชบางชนิด ใช้สูบน้ำเครื่องยนต์ สูบรดได้)

หลังจากศึกษาระบบน้ำ นอกจาก บ่อ 2 ไร่ ที่ต้องขุดเมื่อมีเงิน แล้วผมต้องเจาะบาดาลเพิ่มเติมด้วย

จึงหารายชื่อช่างเจาะบาดาลจากกรม เจอชื่อช่างใกล้ๆ ที่ดิน อยู่หนองบัวลำภู ก็ติดต่อ นัดหมาย ทำเรื่องให้เรียบร้อย

วันมาเจาะก็เป็นเรื่องอีก

ผมเดินทางจาก กทม ตีสอง เพื่อไปถึงเช้าแปดโมง ตามนัดหมาย

แต่พอไปถึง ฝนตก ไม่มาก ตกไม่ทั่วฟ้า แต่บ้านของช่างที่หนองบัวลำภู ตกหนัก

แปดโมง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์เรียกมา ผมก็เลยเรียกไป เพื่อถามว่าช่างอยู่ไหน คำตอบคือ "ผมให้ลูกน้องไปเจาะที่อื่นแล้ว ฝนมันตกหนัก ชุมแพคงหนักไม่แพ้กัน"

จุกครับ จุก... งงครับ งง

ผมเลยถามช่างไปว่า "พี่ตกขนาดไหนพี่ถึงเจาะไม่ได้"
ได้คำตอบว่า "ก็ถ้าปรอยๆ เจาะได้ แต่ถ้าลงมาแรง ก็ต้องหยุดเจาะ ฝนหยุดก็เจาะใหม่ได้"

ปกติผมเป็นคนใจดี ใจเย็น แต่งวดนี้ต้องงัดวิชาการบริหารมาใช้ "พี่ครับ ผมนัดกับพี่ไว้ พี่บอกว่า ลุยเป็นลุย ถึงฝนตกก็เจาะ ผมถึงตีรถขึ้นมารอพี่ตั้งแต่แปดโมง แต่ตอนนี้พี่ดันเอารถไปเจาะที่อื่น ผมเสียเวลานะครับ"

"แล้วผมก็ไม่รู้ว่าจะว่างอีกทีเมื่อไร จะนัดให้พี่มาเจาะอีกทีเมื่อไรก็ไม่รู้ ยังไงวันนี้ยังมีเวลา พี่จัดการเรียกช่างมาเจาะให้ผมตามเดิมเลยครับ เพราะที่ชุมแพนี้ ฝนมันไม่ตก"

"ฝนไม่ตกครับ ดูจากเมฆแล้ว ตกอีกทีคงเย็นนู้น" ...(สรุปวันนั้น ตกแค่ตอนเช้าเบาๆ แล้วไม่ตกอีกเลย)

ช่างรีบขอโทษแล้วบอกว่า จะเคลียร์รถมาเจาะให้

กว่าจะมาเจาะได้ก็เกือบสิบเอ็ดโมง ใช้เวลาเจาะห้าชั่วโมง

ภาพรวมถือว่าทำงานดีครับ ถ้าไม่ติดเรื่องมาเปลี่ยนนัดหมายเราโดยไม่แจ้ง

เจาะเสร็จก็ล้างบ่อให้เรียบร้อย แต่ไม่ได้วัดปริมาณน้ำ ว่าได้น้ำเท่าไร แต่จากการล้างบ่อช่างบอกว่า น้ำเยอะใช้ได้
--------------------------------------------------------

จากนั้นผมก็ศึกษา เรื่องปั้มน้ำบาดาล ต่อ

สรุปง่ายๆ

1. ยอมซื้อของแพง มียี่ห้อเถอะครับ เพราะอุปกรณ์ครบ การติดตั้งปั้มน้ำบาดาล ต้องมี ตัวปั้ม ตัวมอเตอร์ สายไฟ 3X1.5 อย่างน้อยๆ มากกว่าความลึกสัก 5 เมตร สายดิน(สำหรับกรณีปั้มที่ใช้ระบบ 4 สาย) ตู้คอนโทรลป้องกันไฟตก ไฟเกิน มอเตอร์ร้อน ไฟกระชาก ฝาบ่อ

ทั้งหมดนี้รวมๆ กัน ของจีนหรือไต้หวัน ก็ต้องใช้งบหลักหมื่น
ผมจึงเลือก แฟรงกิ้น ซึ่งซื้อได้ถูกที่ 12,500 บาท มีครบหมด (ยกเว้นสายดิน ซื้อเพิ่มอีก 250 บาท) ร้านในเว็บนี่ละครับ ส่วนร้านที่อำเภอชุมแพ 13,900 บาท ก็ถือว่าคุ้มที่วิ่งรถอ้อมไป 30 โล ไปซื้อมา

2. ขนาดที่ซื้อควรซื้อขนาดที่ H มากกว่าความลึกของบ่ออย่างน้อย 10 เมตร และควรดูว่าขนาด Q สูงสุดที่ส่งได้นั้น อยู่ที่ H ที่เท่าไร ผมเลือกแฟรงกิ้น เพราะที่ 40 เมตร ส่งได้ Q สูงสุด 6Q ต่อชั่วโมง แต่ของจีนหรือไต้หวัน หย่อนไป 40 เมตร จะดูดได้แค่ 2Q ทั้งๆ ที่ใช้กำลังไฟฟ้าเท่ากัน

ดังนั้นต้นทุนค่าไฟในการสูบน้ำ แฟรงกิ้นจะประหยัดกว่า

จึงยิ่งตอกย้ำว่าในระยะยาวแล้ว ปั้มแฟรงกิ้น แม้จะแพงกว่าในตอนเริ่ม แต่ค่าใช้จ่ายรวมถูกกว่าแน่นอน แถมได้ปริมาณน้ำมากกว่าในเวลาที่เท่าๆ กัน

3. พิจารณาปริมาณน้ำที่ต้องใช้งาน ว่า แต่ละวันต้องใช้งานกี่คิว เนื่องจากผมยังไม่ได้ทดสอบปริมาณน้ำ ผมจึงประเมินไว้ที่ 50% หรือ 12 ชั่วโมง เช่น สูบชั่วโมงเว้นชั่วโมง เท่ากับว่าวันๆ หนึ่งผมจะได้น้ำที่ 72Q หรือ 72,000 ลิตร หรือเท่ากับ ถ้าจ่ายน้ำทั้งพื้นที่ 20 ไร่ ก็ไร่ละ 3,600 ลิตรต่อวัน

ปริมาณขนาดนี้ อาจไม่พอสำหรับพืชบางชนิด แต่หากบริหารจัดการดีๆ ก็ถือว่าพอเพียง (เพราะอนาคตผมจะมีบ่อน้ำอีก 2 ไร่ด้วย)

แต่กลับกัน หากใช้ปั้มไต้หวัน หรือจีน ได้น้ำแค่ 2Q ต่อชั่วโมง วันหนึ่งจะได้แค่ 24Q หรือเท่ากับไร่ละ 1,200 ลิตร ก็เรียกว่าอาจจะน้อยเกินไปด้วยซ้ำ

จาก 3 ข้อในการคำนวณ ผมจึงเลือกปั้มมียี่ห้อไปเลยดีกว่า

----------------------------------------------------
ได้ของมา แกะดูก็พบว่า คุ้มค่า การออกแบบอุปกรณ์ทำได้ดี มีมาตรฐานมาก กล่องคอนโทรล ก็ออกแบบมาดีครับ ชุดกล่องนี้ ถ้าจ้างเขาทำมี 2,000 บาทขึ้นแน่ๆ แต่อันนี้ดูดี ใช้ง่าย ต่อง่ายกว่าเยอะ


การต่อสายของปั้มแฟรงกิ้น ขนาด 1 แรง มีทั้งหมด 4 สาย

ดังนั้นสายไฟที่แถมมาในชุดจะไม่พอ ต้องวิ่งไปซื้อเพิ่มอีก 1 เส้น (ใครจะซื้อก็ซื้อสายดินมาเลยครับ)

ส่วนการต่อก็ง่ายๆ ต่อตามสีเลย ส่วนไฟเมนวิ่งเข้า ต่อบวกหรือลบสลับยังไงก็ได้ เพราะไฟกระแสสลับอยู่แล้ว

จากนั้นก็นำไปทดสอบในโอ่ง เอาสายไฟที่เป็นข้อต่อที่พันเทปละลาย ลงไปในน้ำด้วย เพื่อทดสอบการรั่ว

เสียบปลั้กปุ๊บ น้ำพุ่งสูงชนหลังคาเลยครับ รีบปิดแทบไม่ทัน 555



เตรียมอุปกรณ์เสร็จ ก็เอาลงไปติดตั้ง

โดยใช้ท่อ 1 1/4 นิ้ว ใส่ข้อต่อเกลียวนอก เกลียวใน ลงไปทั้งหมด 10 เส้น ได้ระยะ 40 เมตรโดยประมาณ

ใช้ข้อต่อเกลียวเพื่อสำหรับอนาคตไว้เซอร์วิสปั้ม (อย่าลืมจดข้อมูลปั้มไว้ด้วย)

แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้ลองปริมาณน้ำ

เพราะไม่มีไฟฟ้า 555


---------------------------------
ความจริง ผมเตรียมอุปกรณ์ทดสอบไว้แล้ว โทรคุยกับช่างแฟรงกิ้นแล้ว ช่างบอกว่า ตู้คอนโทรลเขียนไว้ว่าใช้ 7.5A (หมายถึงถ้าต่อเบรกเกอร์ก็ต่อ 10A ก็พอ) ซึ่งคำนวณง่ายๆ

P = IV  ดังนั้น
P = 7.5*220 =  1650W

ผมเลยซื้อ Inverter แบบไม่แพงมาก ขนาด 2000W มาแทน ซึ่งรับ Peak ได้ 4000W ก็คิดว่าน่าจะพอ

แต่ทดสอบแล้วครับ อินเวอร์เตอร์ ร้องตลอดเวลา เพราะจ่ายไฟไม่พอ

ไม่รู้ว่าเพราะอินเวอร์เตอร์ห่วย ได้ไม่เต็ม W จริง หรือเพราะ มันกินไฟกระชากตามทฤษฎีที่ 8 เท่า หรือ 750*8 = 6000W กันแน่


บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 ... 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: