หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 ... 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 244195 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nomadic_man
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 756


« ตอบ #96 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2014, 11:29:43 PM »

นั่งอ่านรวดเดียวเกือบ 2 ชม.  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม มันส์มาก  อายจัง พร้อมเก็บความรู้ไปปรับใช้อีกเพียบ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  โกรธ หากถึงเวลาที่ผมอาจจะต้องใช้ประโยชน์กับระบบน้ำ,ระบบไฟอย่างจริงจัง คงต้องแวะเวียนมาขอครับปรึกษานะครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า

คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #97 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2014, 08:17:13 AM »

นั่งอ่านรวดเดียวเกือบ 2 ชม.  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม มันส์มาก  อายจัง พร้อมเก็บความรู้ไปปรับใช้อีกเพียบ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  โกรธ หากถึงเวลาที่ผมอาจจะต้องใช้ประโยชน์กับระบบน้ำ,ระบบไฟอย่างจริงจัง คงต้องแวะเวียนมาขอครับปรึกษานะครับ  ยิ้ม

ยินดีครับ แบ่งปันความรู้กันและกัน ผิดถูกช่วยกันขัดเกลานะครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #98 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2014, 08:59:10 AM »

วันนี้มาต่อเรื่องเครื่องมือการเกษตร

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของงานการเกษตรคือ "แรงงาน"

ทำอะไรก็แล้วแต่ ผมคิดถึงแรงงานเป็นหลัก คิดถึงกรณีเลวร้ายที่สุด ถ้าไม่มีใครทำให้เราได้ เราพร้อมทำเองได้ไหม

อะไรที่ยากเกินความสามารถของเรา ผมก็จะไม่คิดทำ ไม่คิดปลูก แต่อะไรที่คิดว่าพอทำเองได้ ก็จะศึกษาต่อว่าต้องมีเครื่องมืออะไรช่วยบ้าง

เท่าที่ดู มีที่ต้องควรซื้อติดสวนไว้ แน่ๆ คือ อุปกรณ์พ่นยา

จากการศึกษาผมต้องมีอุปกรณ์พ่นยา 2 แบบ คือ แบบสะพายหลัง สำหรับการพ่นจำกัดพื้นที่ และแบบเครื่องพ่น 3 สูบ สำหรับการพ่นปริมาณมาก

-----------------------------------------
เหตุที่ต้องมี 2 แม้ว่าปั้ม 3 สูบจะทำงานแทนได้หมดก็ตาม นั้นคือ เรื่องของค่าใช้จ่ายพลังงาน

ระบบปั้ม 3 สูบที่ใช้กันส่วนใหญ่คือ ระบบอัตโนมัติ

กล่าวคือ ถ้าเราพ่นน้ำน้อย น้ำส่วนใหญ่จะไหลกลับลงถัง ....นั่นหมายความว่า ปั้มทำงานที่แรงดันเดียว

น้ำที่ไหลกลับ หมายถึง พลังงานที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์

การใช้ปั้มพ่นยา 3 สูบ ที่เหมาะสมคือ การปรับความเร็วมอเตอร์ หรือเครื่องยนต์ ให้สามารถพ่นแล้ว น้ำไหลกลับลงถังน้ำ น้อยที่สุด


ทีนี้หมายความว่า หากเราจะพ่นยาน้อยๆ บางๆ อ่อนๆ เรียกว่า แทบไม่มีความเป็นไปได้เลย

ทางเลือกที่เหมาะสมอีกทางหนึ่งคือ การใช้ถังพ่นยาแบบสะพายบ่า นั้นเอง

เพราะแรงดันน้อยกว่า สามารถพ่นจำกัดพื้นที่ได้ สะดวกและดีกว่า

ผมจึงวางแผนใช้ ปั้ม 3 สูบ สำหรับงาน ปุ๋ยทางใบ งานกำจัดศัตรูพืช งานป้องกัน ที่ต้องการฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณ โดยไม่ยึดติดว่าต้องเป็นต้นไหน

ด้วยปั้ม 3 สูบ พื้นที่ขนาด 10 ไร่ จะใช้เวลาไม่นานก็ทำเสร็จ

จึงประหยัดต้นทุนเรื่องค่าพลังงาน และค่าแรง
ตามหลักของ "สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน"


ส่วนปั้มสะพายบ่า จะใช้กับเคมีที่ทำงานเฉพาะ และต้องการจำกัดพื้นที่ เช่น การฉีด GA หรือ แพ็กโค เพื่อควบคุมให้มะนาวออกลูกนอกฤดู สารบางตัวห้ามลงดิน เพราะมีผลเสียหายต่อราก ก็ต้องฉีดพ่นบางๆ ให้จับใบ ให้หมด ไม่ให้กระจายฟุ้ง ลอย ลงดินได้

ซึ่งแม้จะเสียเวลานานกว่า แต่เราควบคุมได้ตามหลักการ

------------------------------------------

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ประจวบเหมาะ เพราะบ้านพี่ชาย ปลวกขึ้น เลยได้โอกาสประหยัดเงินค่าฉีดปลวก จัดการฉีดเอง ด้วยเครื่องพ่นยา

น้ำยาฉีดปลวกก็คือ พีโปรนิล ซึ่งเป็นเคมีการเกษตรอยู่แล้ว จึงไปซื้อร้านขายส่งที่ตลาดรังสิต (ใช้เป็นกล่อง ฉีดทุกบ้าน บ้านพี่บ้านน้องรวมแล้วหลายหลัง คุ้มเลย)

หมดค่าเคมีฉีดไป 9000 บาท

จากนั้นอยู่แถวรังสิตแล้ว เลยขอแวะไปดู ร้านที่เขาว่าถูกสุดๆ หน่อย คือ Do home รังสิต

ปรากฎว่า...

กำลังจัดลดราคา เครื่องพ่นยาแบบใช้เครื่องยนต์ ของจีน คุณภาพไม่ต้องบอก แต่ราคาน่าสนใจมาก แค่ 64xx บาท

ประกอบด้วย

- เครื่องยนต์ 6.5 แรงม้า 4 จังหวะ
- ปั้มพ่นยา 3/4 นิ้ว แบบอัตโนมัติ มีหม้อแรงดัน
- หัวฉีดละอองหมอก
- สายฉีดพ่น ความยาว 50 เมตร
- โครงเหล็ก แบบเข็นได้
- ล้อหมุนเก็บสายฉีดพ่น

คำนวณแล้ว ไม่ต้องคิดมาก จัดมาเลย 1 เครื่อง



ซื้อแล้วก็มาตรวจสอบ จารบี พบว่าอัดมาให้เรียบร้อยแล้ว
ที่เหลือก็แค่ใส่น้ำมันเครื่อง ที่ตัวปั้ม และตัวเครื่องยนต์

(ไม่อยากบอกเลยว่า แอบโง่ ไม่รู้ว่าช่องใส่น้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ มีทั้งสองฝั่ง ก็ยังคิดว่า มันออกแบบยังไงนะ ให้มาใส่ฝั่งที่ติดๆ ขัดๆ พอใส่เสร็จ มาดูอีกที อ้าวมีสองด้านนิน่า แอบโง่เลย)





เวลาใช้งานก็มีเรื่องตลกๆ

เพราะเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ สตาร์ทเครื่องยนต์แบบนี้เอง

ความโง่ๆ เริ่มจาก

1. ดึงสายสตาร์ท แล้วพบว่า ดึงได้แค่ 10 ซม. ก็งงๆ ว่า ทำไมดึงไม่ขึ้น หรือเครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่เราเห็นมันดึงแค่นี้

- ปรากฎว่า ....มันต้องใช้แรงกระชาก พอควร ไม่ใช่แค่ดึงเฉยๆ แล้วท่าดึงตอนแรกคือ นั่งดึง ไม่ใช่ยืนดึง เลยมีแรงดึงไม่พอ ...นั่งขำกับพี่ชาย คงเป็นเรื่องเล่าได้ยันลูกบวช 555

2. ระบบกรองอากาศแบบใช้น้ำมัน กลายเป็นตัวอุดตัด ทำให้อากาศไม่ค่อยเข้า จึงสตาร์ทติดยาก น่าจะเพราะใส่น้ำมันเยอะไป
- วิธีแก้ง่ายๆ เปิดมา บีบน้ำมันออกจากฟองน้ำ 555

3. มันจะมีก้านโช็ค มั้ง ให้ปรับเพื่อให้เครื่องสมดุลย์ ตอนสตาร์ทถ้าปรับไม่ดี จะสตาร์ทไม่ติด เราก็ปรับตามที่เครื่องบอกคือ สุด สตาร์ทเท่าไรก็ไม่ติด พอโยกมาครึ่งทาง ติดเลย

4. ใช้ไปจนน้ำมันจะหมด เครื่องสะดุด ก็คิดไปนู้นนี่ ว่าสะดุดเพราะอะไร กว่าจะหาเจอว่า สะดุดเพราะน้ำมันหมด เล่นเอา ฮาตามๆ กันไป

สรุปน้ำมัน 3 ลิตร ใช้พ่นได้ประมาณ 3 ชั่วโมง
ยังไม่แน่ว่าเป็นอัตราบริโภคจริง เพราะยังปรับแต่งความแรงของเครื่องไม่ดีนะ

เครื่อง 6.5 แรง น่าจะแรงเกินไปสำหรับปั้มพ่นยา เพราะปรับให้เครื่องยนต์เดินเบาสุดๆ ก็ยังอัดปั้มได้แรงเท่าๆ กับเร่งเครื่องให้เครื่องยนต์เดินเต็มกำลัง

---------------------------------------------------

เมื่อวานเลยเรียกได้ว่าเก็บประสบการณ์ในการใช้เครื่องพ่นยา ไป 1 หน่วยกิต 555

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #99 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2014, 09:06:19 AM »


 ค่าหน่วยกิตยังไม่แพงครับ ผมเองจ่ายค่าหน่วยกิตชีวิตไปเปนล้าน ยังผ่อนจ่ายอยู่เลยครับ
บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
KENETIC_E®
"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ"
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3083


จักสร้างฝันให้เป็นจริงจงได้


« ตอบ #100 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2014, 07:58:02 AM »

ขอเข้ามาหาความรู้ในสวนเทคโนโลยีและการบริหารจัดการดีเยี่ยมอีกสวนหนึ่งด้วยคนนะครับ.... อายจัง

และขอเข้ามานั่งเรียนเพิ่มหน่วยกิต สาขาวิชาชีวิตวิทยา คณะชีวิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยชีวิตจริง ด้วยคนนะครับ....

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

"If tomorrow never comes."  อาจไม่มีพรุ่งนี้ให้ได้เห็น...
กระทู้ส่วนตัว :  สวน(ป่า)ออมรัก  *ขออภัย จำกัดสิทธิ์การใส่ Link-URL ในลายเซ็น*
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #101 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2014, 08:05:45 AM »

ขอเข้ามาหาความรู้ในสวนเทคโนโลยีและการบริหารจัดการดีเยี่ยมอีกสวนหนึ่งด้วยคนนะครับ.... อายจัง

และขอเข้ามานั่งเรียนเพิ่มหน่วยกิต สาขาวิชาชีวิตวิทยา คณะชีวิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยชีวิตจริง ด้วยคนนะครับ....

ขอบคุณครับ

เจ้าความรู้ด้านน้ำ ผมเองต่างหากต้องขอบคุณพี่ KENETIC_E® ถ้าไม่ได้พี่ ผมคงไม่มีความเข้าใจเรื่องน้ำ

ใคร งง เรื่อง น้ำ พี่ KENETIC_E® นี่ละตัวจริง
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #102 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2014, 08:40:30 AM »

ระหว่างเครื่องยนต์ กับมอเตอร์ เลือกอะไร

ตอนผมเลือกเครื่องพ่นยาสามสูบ ผมเลือกมอเตอร์ เพราะไม่ต้องการจัดการปัญหาต่างๆ อันเกี่ยวกับเครื่องยนต์ให้วุ่นวาย และคิดว่า ในระยะยาว จะจัดการระบบไฟฟ้าในสวนให้ดี

แต่สุดท้ายก็มาตายของถูก 555

เพราะราคา 64XX นั้น มันถูกกว่ามอเตอร์เสียอีก

คำนวณแบบง่ายๆ ใช้งานแค่ 1-2 ปี ก็คุ้มค่ามากมายแล้ว สำหรับค่าเครื่องยนต์ (น่าจะไม่เกิน 3 พันบาท)

แต่ผมเชื่อว่า หลายๆ คนต้องมีคำถามเหมือนผมว่าจะเลือก ตัวต้นกำลังอย่างไรดี

ผมมีวิธีคิดง่ายๆ อย่างนี้ครับ

1. ปลั๊กไฟที่สวน มีอยู่กี่จุด ห่างกันเท่าไร เกิน 100 เมตรหรือไม่
2. ระบบไฟฟ้าในสวน จากสายเมนของการไฟฟ้า เป็นอย่างไร ใช้สายไฟเส้นใหญ่หรือเปล่า

สองตัวแปรนี้ สำคัญตรงที่ ถ้าคุณจะเลือกใช้แบบมอเตอร์จริงๆ คุณต้องดูว่า แรงดันไฟฟ้า หรือ V นั้น ตกลงมากน้อยแค่ไหน

ถ้ามี Volt Meter ก็เอาไปวัดเลยครับ

แต่ถ้าไม่มีคงต้องคำนวณเอา จากตารางค่าการสูญเสียแรงดันในสายไฟ



ที่มา http://www.kmitl.ac.th/eeml/PDF/Voltage%20Drop.pdf

อันนี้เป็นสาย THW (สายทองแดง)

โดยหลักการคำนวณคือ  สูตรของไฟระบบ 2 เฟส ( 3 เฟสใช้อีกสูตรนะครับ)

VD =  2 I R L

โดย
R คือ ค่าความต้านทานต่อเมตร (เอาจากตาราง)
I คือ โหลดแอมป์ที่ต้องการใช้งาน
L คือ ความยาวของสาย

ค่า VD คือ Voltage Drop หรือแรงดันไฟฟ้าที่ตกลง

เช่น

เลือกใช้สายไฟ THW ขนาด 2.5 mm ต้องจ่ายไฟให้มอเตอร์ 3 แรง (750*3= 2250W --> I = 10.23A) โดยมอเตอร์วางห่างจากปลั๊กเมน 100 เมตร  ค่า VD ได้เท่ากับ

VD = 2 * 10.23 * 0.0088658 * 100
VD = 18.14V

หมายความว่า ณ จุดจ่ายไฟฟ้าที่มอเตอร์ แรงดันไฟฟ้าเหลือเพียง 220-18.14 = 201.86V

หากมอเตอร์ 3 แรงม้า ที่เราซื้อมา รับแรงดันได้ 220-240 ก็จะใช้งานไม่ได้ หรืออาจมีปัญหาในระยะยาว

ทางแก้จึงต้องเพิ่มขนาดสายไฟ เพื่อให้ค่าโอมห์ ลดลง

โดยทั่วไปแล้วเราจะไม่ให้แรงดันตกต่ำกว่า 3%

เรื่องตรงนี้ สำหรับสวนเล็กๆ คงไม่เท่าไร แต่สำหรับสวนที่มีพื้นที่มาก ค่าใช้จ่ายด้านสายไฟ ค่าเสาไฟฟ้า เป็นเงินมิใช่น้อยๆ

ผมเองลงทุนค่าเสาไฟฟ้า และสายไปแล้ว 5 หมื่นกว่าบาท

ดังนั้นโดยพื้นฐาน สวนของผมจึงใช้ มอเตอร์แทนการใช้เครื่องยนต์ได้ทั้งหมด เพราะระบบไฟฟ้าเดินไว้อย่างครอบคลุม

แต่ผมเลือกเครื่องยนต์ เพราะ....

มันถูกอะ 555

แค่นั้นจริงๆ

ดังนั้นจะตัดสินใจว่า มอเตอร์หรือเครื่องยนต์นั้น ง่ายมาก คือ ถ้าไฟฟ้าพร้อม ครอบคลุมทุกพื้นที่ เอามอเตอร์ครับ ค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองต่างๆ น้อยกว่าเครื่องยนต์แน่นอน

แต่เครื่องยนต์จะสะดวกกว่ามาก หากพื้นที่ใช้งานไม่มีไฟฟ้า หรือไม่สามารถเดินสายไฟเข้าไปได้

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2014, 08:51:47 AM โดย avatayos » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #103 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2014, 05:09:26 PM »

 พี่  avatayos ผมมีเรื่องปรึกษาครับ จากเหตุเรื่องการรุกล้ำที่ดิน ทำให้ผมต้องรีบรังวัด(นอกรอบ)ในวันอาทิตย์นี้ (22 มิย)

   นัดฝั่งคู่กรณีได้แล้ว เลยจะเข้ามาถามพี่ก่อน เพราะตั้งใจจะขึ้นไปรังวัดแล้วปรับที่ ขุดสระเลย เลยตั้งใจสอบถามก่อนลงมือปฎิบัติครับ

ปล.ผมสอบถามพี่ avatayos และทุกท่าน นะครับ เพื่อใ้ห้แฟนผม (ผบทบ ตัวจริง) เลือกวิธีที่จะปรับที่ดินที่เหมาะกับครอบครัวเรา

มั่นใจว่า ต้องนำความรู้ มาประยุกต์รวมกันแน่ครับ



  อันนีเป็นรูปที่ดินผม



ผมจะขอถามยึดตามด้านของรูปที่โพสต์นะครับ

 ที่ดินผมจะเป็นเนินเขาทั้งหมด ไล่ระดับมาจนสุดปลายที่ติดถนนเส้นชุมแพ-หล่มสัก เรียกได้ว่า แทบไม่มีที่ราบเลยครับ
      
        ด้านบนของที่ดิน เป็นเนินเขา จะอยู่ทางทิศใต้ (ที่ดินผมอยู่เกือบสูงสุดของเนิน มีอีกแปลงจะอยู่ถัดจากผมไป มีถนนสาธารณะคั่น)

        ด้านลา่งของที่ดิน ติดถนนใหญ่ สายชุมแพ หล่มสัก จะอยู่ทางทิศเหนือ

        ด้านซ้ายของที่ดิน ติดที่ดินอีกแปลงของตำรวจ และติดถนนสาธารณะบางส่วน

        ด้านขวาของที่ดิน ติดที่ดินอีกแปลง (เป็น ภบท ใน นส 3ก ของผมจึงระบุเป็นที่ว่าง จริงๆแล้วเป็นรีสอร์ทเล็กๆ มีเจ้าของดั้งเดิมอยู่)

ที่ดินแห่งนี้ ผมซื้อด้วยเงินของพีน้อง 3 คน (ผมเปนคนสุดท้อง) ตั้งใจว่า จะไปใช้ชีวิตที่เหลืออย่างพอเพียงทีนั่น โดยหารายได้จากการทำ

โฮมสเตย์เล็กๆ 4 หลัง และปลูกพืชผักขายตลาดท้องถิ่น


      คำถามนะครับ ( ผมลองคิดเองหลายตลบแล้วแต่คิดไม่ออกครับ)

1.ผมกะจะทำแทงค์น้ำซีเมนต์ขนาดความจุ 40,000 ลิตร จุเยอะ เพราะกะจะเอาไว้ใช้กับโฮมสเตย์อีก 4 ห้องด้วยครับ เอาไว้มุมขวาบนสุดของพื้นที่

เพื่อใช้แรงโน้มถ่วงในการจ่ายน้ำ (เสียเงินเฉพาะตอนสูบน้ำขึ้นจากบ่อบาดาล) แต่ผมไม่รู้ว่า

    แทงค์น้ำ 40,000 ลิตร นี้ ต้องอยู่ห่างจากบ้านที่ผมจะสร้างอย่างน้อยเท่าไร จึงจะมีแรงดันพอครับ (ผมโคตรอ่อนคำนวณครับพี่)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2014, 06:53:12 PM โดย ultranoi » บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #104 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2014, 05:54:30 PM »



   ข้อจำกัดของผมจะอยู่ตรงที่ วิวสวยๆจะต้องอยู่ด้านบนๆของที่ดิน และจะเห็นเทือกเขาน้ำหนาวได้จากฝั่งซ้ายเท่านั้น (มองไปทางซ้ายของที่ดิน จะวิวดีครับ)

เลยตั้งใจจะสร้างบ้านก่อน(โฮมสเตย์ เอาไว้ก่อนครับ) แต่จะทำมาสเตอร์แพลนไว้ว่า ผังที่ดินโดยรวมจะใช้ประโยชน์อะไรบ้าง โซนไหนที่ยังไม่มีเงินทำ

ต้้งใจจะปลูกต้นไม้ไว้ก่อน ตอนแรกสุด โครงการผมคือ

 1.ปรับที่ดิน เพื่อดูทางน้ำไหลลงจากเนินเขา ปกติน้ำจะมาจากฝั่งบนสุดและฝั่งซ้ายของที่ดิน(ไหลลงมาจากเนินเขาอีกเนิน ต่อจากที่ดินของนายตำรวจ)

ตั้งใจว่าจะ ขุดสระรอรับน้ำจากทั้งสองเนินเขา โดยจะ
 
   - ขุดสระขนาด 40*30 เมตร ความลึกเล่นระดับ 2/4/6 เมตร เพื่อเลี้ยงปลา,ปลูกบัว ฯลฯ
 
   - ขุดร่องน้ำดักตะกอนและดักสารเคมีไว้ฝั่งซ้ายและฝั่งน้ำไหลจากทิศเหนือ

ตามแผนผังนะครับ ขอสารภาพว่า ผมทำแผนผังที่ดินโดยใช้คอมไม่เป็นครับ เลยต้องวาดออกมา

บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #105 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2014, 06:37:23 PM »


  ตั้งใจว่าจะสร้างบ้านยกสูงจากพื้น 80 ซม ขนาด 2 นอน 2 น้ำ ห้องกินข้าว,รับแขก เป็นห้องเดียวกันตรงกลาง + ห้องเก็บของขนาดใหญ่หน่อย

  พื้นที่ทั้งหมดของตัวบ้านไม่รวมเฉลี่ยงน่าจะสัก 80 ตรม ครับ

ตั้งใจจะนำน้ำจากการอุปโภคประจำวัน ต่อท่อออกห่างจากตัวบ้านไปตามแนวรูปที่ดิน โดยขุดเป็นคูลึก 0.5 เมตร แล้วใส่กรวด,หิน แทน

(ใช้ grey water มาสร้างความชุ่มชื้น แล้วปลูกต้นไม้สองฟากของคู)

  คำถาม ผมต้องใช้ถังบำบัดไหมครับ หรือ สามารถต่อท่อน้ำทิ้งลงคูดังกล่าวได้เลย (ท่อจะถูกเจาะรูจากเล็กไปหาใหญ่ จนสุดที่ดิน)

 
2. ที่ดินผมเป็นป่าวัชพืช+ มีต้นไม้ขนาดเล็กหลายร้อยต้นที่ต้องไถปรับทิ้ง เพราะต้องขุดสระ+ปรับที่ทำโฮมสเตย์+สร้างบ้าน

บอกคนขับรถไถปรับที่ดินแล้วว่าให้ เก็บต้นไม้ทุกชนิดที่พอเก็บได้ โซน A / C ที่ไม่ได้ทำอะไร จะมีต้นไม้หนาแน่นมากครับ วางแผนว่าจะปลูกต้นไม้แซม

ลงไปกับต้นที่มีอยู่เดิม+ลงพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้

คำถาม ต้นไม้หลายร้อยต้นนั้น ควรนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร สามารถนำไปไว้ในคูชะลอน้ำเพื่อกันดินสไลด์ หรือ ทำประโยชน์ใดที่ดีกว่านี้ได้ครับ

3.ผมควรทำถนนขวางที่ดินไหมครับ (ถนนระหว่างคูน้ำที่รับน้ำจากเนินเขาด้านบนกับสระน้ำขุด และเชื่อมไปยังโฮมสเตย์ )

4.แนวถนนที่ยาว 195 ม ผมตั้งใจจะปลูกต้นสัก ไว้ 2 ข้าง โดยเว้นระยะห่าง 2 เมตร ถ้าปลูกสักห่างจากแนวเขตที่ดิน 0.5 เมตรพอไหมครับ

5.ต้นไม้ให้ร่มเงา เก็บกวาดง่าย สวยงาม รากไม่ทำลายฐานบ้าน รูปทรงสวย ชนิดใดที่ควรปลูกไว้ใกล้บ้านครับ และควรปลูกห่างจากบ้าน กี่ ม. ครับ

6.ที่ดินเป็นเนิน slope ควรขุดสระเก้บน้ำตรงไหน ตรงส่วนล่างสุด หรือ ขุดเปนสระย่อยๆ แล้วสระย่อยๆควรมีกี่สระ ตำแหน่งไหนดีครับ แต่รีสอรทข้างๆที่

ขุดสระลึก 2 เมตร ด้านล่างสุดของที่ดินเขา ปรากฎน้ำแห้งเลยครับ ( ข้อมูล ณ 7 มิย 57) แต่ที่อยุ่เหนือขึ้นไปเก็บน้ำได้ (น่าจะลึกกว่า)

7.สระน้ำใหญ่ที่ผมจะทำขนาด 40*30 เมตร เล็กหรือใหญ่ไปไหมครับ สำหรับการใช้งาน+การนำดินไปถม แล้วรูปร่างสระน้ำที่ดี ควรเป็นสี่เหลี่ยม

หรือเป็นรูปแบบไหน่จึงเหมาะกับที่ดินผมครับ

8.คูที่จะใช้ชะลอน้ำจากสองด้าน ควรลึกเท่าไร กว้างยาวเท่าไรจึงเหมาะสมครับ (ส่วนตัวคิดว่าลึก 2 เมตร กว้าง 2 เมตร)

 
** ผังที่ดินที่ผมทำ หากอันไหนไม่เหมาะสม แจ้งตรงๆได้เลยนะครับ ผมครูพักลักจำเอา อาจนำมาประยุกต์แล้วไม่เหมาะกับการใช้งานจริง


** ขอโทษครับที่ถามเยอะแต่ผมไม่รู้จะถามใคร ข้อมูลเต็มหัวไปหมด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2014, 07:07:43 PM โดย ultranoi » บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
Ball121
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« ตอบ #106 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2014, 07:54:13 PM »

สุดยอดครับ กระทู้นี้มีประโยชน์มหาศาล
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #107 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2014, 08:21:34 AM »

คำถามยาวมาก 555

ก่อนอื่น ผมเองก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญมากนักนะครับ อาศัยอ่านเยอะ ดูเยอะครับ จึงมีหลักคิดเยอะ แต่หลักคิดทุกอย่าง ต้องนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับหน้างานเอง

ผมจึงขอตอบเป็นหลักการดีกว่าครับ แยกเป็นข้อๆ เพื่อให้คิดทีละข้อครับ

1. ที่ดิน มีความลาดเอียงมากน้อยเพียงใด ต้องรู้ให้ได้ครับ จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง

2. ความลาดเอียง จะส่งผลต่อหน้าดิน เกิดปัญหาหน้าดินไหล หากมีความลาดเอียงมากๆ ต้องแบ่งทำแนวคูเล็กๆ ป้องกัน หรือปลูกต้นไม้ที่ยึดหน้าดินได้ดี

3. เมื่อหน้าดินไหล แนวคู จะเป็นจุดชะลอและกักหน้าดินไว้ นานๆ เข้า ก็ลอกคูทีหนึ่ง จะได้หน้าดินคุณภาพดีมาใส่ต้นไม้ครับ

4. การอาศัยแรงดึงดูดโลกเพื่อสร้างแรงดันน้ำ จะได้ผลเป็น H สูงสุดแค่ เท่ากับคำตอบในข้อ 1 ซึ่ง คุณซีต้องมาคำนวณเองว่า มันเพียงพอไหม โดยพื้นฐานการใช้งานน้ำภายในบ้าน H ต้องอย่างน้อยๆ 10 หรือ 1 บาร์ เพราะอุปกรณ์บางอย่างไม่ทำงานที่แรงดันต่ำกว่านี้ เช่น เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้นครับ

5. ปริมาตร 40Q ไม่ใช่น้อยๆ เลยนะครับ ถ้าใช้บ่อวงซีเมนต์ สร้าง ก็ต้องสร้างสูง 4 เมตร จำนวน 10 แท็ง ด้วยบ่อวงเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณสักขนาด 1.2 เมตร (ถ้าสร้างสูงกว่านี้ คงทำให้วิวไม่สวย 4 เมตร ยังพอปลูกต้นไม้ หรือหาอะไรบังตาได้)

6. ปกติ 1 ครอบครัว 4 คน ใช้แท็งก์น้ำสำรอง 1800 ลิตร ก็เพียงพอต่อการใช้งาน 1-2 วัน แบบปกติ (อาบน้ำ ประกอบอาหาร ล้างจาน ซักผ้า 1 ครั้ง) ดังนั้นถ้ามี 4 ห้อง ก็แค่ 10Q ก็น่าจะเพียงพอครับ

7. ผมไม่แน่ใจว่าตัวเลข 40Q ของคุณซี คิดมาจากอะไร แต่ถ้าหมายไว้ใช้ในงานเกษตรด้วย ผมแนะนำให้แยก ระหว่างน้ำใช้ กับน้ำเกษตรครับ น้ำใช้ เพื่อคุณภาพ และสุขภาพ ควรติดตั้งระบบกรองดีๆ เข้าไป มีระบบฆ่าเชื้อโรค ไว้ใช้ช่วงฝนตกหนักๆ บ้าง เผื่อน้ำปนเปือน  / ส่วนน้ำเกษตร ก็ปล่อยๆ ได้ เป็นน้ำบ่อ ขุดบ่อไว้เลี้ยงปลาได้เลย

8. เรื่องปรับที่ดิน คิดถูกต้องแล้วครับ คือ กักน้ำ ตามทางไหลของน้ำ ไว้ใช้ แต่อย่าได้กั้นน้ำนะครับ จากนั้น ควบคุม ด้วยการขุดคูให้ไหลตามแนวเดิม จะดีที่สุด แต่ถ้าแนวเดิมไม่สวย ก็ต้องใช้ช่างที่มีความสามารถ ขุดให้ดี ถ้าขุดไม่ตรงแนวเดิมๆ ต้องระวังเรื่องการกัดเซาะในอนาคตด้วย (แนวเดิมมันกัดเซาะจนเหมาะสมแล้ว 555)

9. การบำบัดน้ำ ควรใช้ถังบำบัด ขนาดตามปริมาณขนาดบ้านครับ ฝังดินไว้ เติม EM สม่ำเสมอ น้ำที่ออกจากถังบำบัด จะใช้รดน้ำต้นไม้ต่อได้ครับ แต่แนะนำให้เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้มีไว้ใช้รับประทานนะครับ

10. บ่อเกรอะ และทางน้ำไหลต่างๆ ควรห่างจากบ่อบาดาลอย่างน้อย 30 เมตร เพื่อป้องกันเชื้อโรค และสิ่งไม่พึ่งประสงค์ ไหลลงไปในระบบบ่อบาดาล

11. ต้นไม้ในพื้นที่เดิม ต้องลองศึกษาดูครับว่าเป็นต้นอะไรบ้าง มีราคาไหม ถ้ามีแล้วไม่ต้องการ หาคนมาล้อมไปขายได้เงินครับ

12. วัชพืช เป็นพืชคลุมดิน ป้องกันหน้าดิน ถ้าไม่ได้ทำอะไร ปล่อยไปก่อนครับ ดีต่อดิน นานๆ ไปตัดให้สั้นๆ บ้าง หญ้าที่ตัดก็ปล่อยไว้ตรงนั้น นานๆ ไป ไส้เดือนมา ทำงาน จะได้ดินที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรเลย

13. เรื่องถนน เป็นสิ่งที่เปลืองที่สุด แต่จำเป็นสุดๆ แนะนำว่า คิดให้ดี คิดให้นานครับ ทำแล้ว แก้ยาก ลองวางแผนผังดูว่า แนวถนนแบบไหน สั้นที่สุด แต่ได้ประโยชน์มากที่สุด

14. ต้นสัก ตอนเล็กๆ 5-10 ปี ปลูกระยะ 2 เมตรได้ แต่โตมากกว่านั้นต้องระยะ 4 เมตร โดยมากตัดขายกันก่อน เพื่อเว้นระยะให้มากขึ้น ดังนั้นการใช้ประโยชน์เป็นแนวรั้วให้ร่มเงา จะได้ไม่นานเท่าไรนะครับ และสักเป็นไม้ผลัดใบตอนหน้าร้อน ดังนั้น ถ้าหวังให้สักบังเงาหน้าร้อน ก็หมดสิทธิ์ครับ

15. เนื่องจากที่ดินเป็นเนิน ผมแนะนำว่า ขุดสระ กระจายๆ ดีกว่าครับ เพื่อลดปัญหาการดูดและส่งน้ำ ส่วนขนาดนั้น คงต้องพิจารณาจากหน้างานครับ เล็กไปก็ไม่ดี ใหญ่ไปก็ไม่ดี แต่จะเล็กหรือใหญ่ สำหรับสระที่ไม่มีร่มเงาเลย อัตราระเหยของน้ำในประเทศไทย เฉลี่ย 1 ซม. ต่อวันครับ เอาตัวเลขนี้ไปคิดต่อครับว่า ควรขุดสระอย่างไร ถ้าปลูกต้นไม้คลุมเงาให้สระด้วย ก็จะลดการระเหยได้มาก

16. การขุดสระสำหรับที่ดินแนวลาด ให้ขวางแนว เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ในการปรับพื้นที่ หาจุดที่มีความลาดชันน้อย ค่อนข้างเป็นหน้าราบ เอาตรงนั้นขุดบ่อ และต้องมีพื้นที่เป็นแนวรอบขอบบ่อในระยะพอประมาณ เพื่อป้องกันปัญหาดินถล่มมาถมสระด้วย

17. ถนนก็เหมือนกันครับ ยังไงต้องมีขวางแนวลาด เพราะสร้างง่าย ปลอดภัย ใช้ประโยชน์ได้ แต่แนะนำให้ทำถนน ในโซนที่มันค่อนข้างชัน เพราะตรงนั้นจะปลูกอะไรค่อนข้างยากอยู่แล้วด้วยตัวมันเอง เราปรับเป็นถนน ได้ดินไปทำอย่างอื่นๆ และใช้พื้นที่ตรงนั้นได้ประโยชน์จริงๆ

18. เรื่องขนาดคู ตอบไม่ได้ครับ ต้องดูพื้นที่จริงๆ ค่อยๆ ทำไปครับ ลองสัก 50*50*50 ซม. ก่อนก็ได้ ถ้าไม่พอ ค่อยขยาย ถ้าพอแล้วจะได้ไม่เสียพื้นที่มากครับ

19. ต้นไม้ให้ร่มเงา คิดง่ายก็ง่าย คิดยากก็ยาก ต้องคิดเยอะ 555 เอาระยะยาวก็ ต้นก้ามปู จามจุรี อนาคตก็เอาใบไปทำปุ๋ยได้ แต่กว่าจะโตก็นานเกิน ต้นพญาสัตบรรณ โตเร็ว ให้ร่มเงาดี แต่ไม่ค่อยใช้ประโยชน์อะไรได้ นอกจากสวย อนาคตปลูกสัก 10 ปี ทำบ้านต้นไม้ได้

20. ที่ต้องระวังคือโรงปุ๋ย อย่าใกล้ใคร อย่าอยู่เหนือลม เดี๋ยวจะมีปัญหา

21. ตำแหน่งแท็งก์น้ำ ควรวางในตำแหน่งที่ประหยัดการเดินท่อด้วยนะครับ ยิ่งท่อเยอะ ยิ่งลดแรงดัน ยิ่งเปลืองค่าท่อ ยิ่งเสี่ยงต่อปัญหาแตกรั่ว

----------------------------------------
ตอนนี้นึกได้ประมาณนี้ นึกได้มากกว่านี้จะมาช่วยบอก


บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #108 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2014, 08:22:08 AM »

สุดยอดครับ กระทู้นี้มีประโยชน์มหาศาล

ขอบคุณครับ

อยากรู้อะไร ลองเขียนมาก็ได้นะครับ ถ้ารู้จะตอบ ถ้าไม่รู้จะหาคำตอบให้
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #109 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2014, 07:52:18 PM »

  หลังจากทำความเข้าใจกับที่น้อง avatayos อธิบายแล้ว (ขออนุญาตเรียกน้องแล้วกันนะครับ พี่ต้องยอมรับตัวเองแล้วว่าแก่  โกรธ )

พี่ยังมีคำถามเพิ่มเติมตามประสาเจ้าหนูจำไม (ในการ์ตูนอิคคิวซัง เฮ้อ ยิ่งทียิ่งเหมือนกระทู้เช็คอายุ)

  1.น้อง avatayos นามนี้มาจากอันใดฤา ชื่อพี่ ultranoi มาจาก การ์ตูน ultraman แล้วใส่ชื่อพี่ลงไปผสม (ชื่อจริงพี่ชื่อ ธานีน้อย)

  2.ถ้าพี่วางแท็งก์น้ำสำเร็จรูป ขนาด 2,000 ลิตร ไว้บนชั้น 2 ของบ้าน จะมีแรงดันพอที่จะทำให้เครื่องทำน้ำอุ่นที่อยุ่ชั้่น 1 ทำงานไหม

  3.จากที่น้องตอบมาตรงนี้ " ที่ดิน มีความลาดเอียงมากน้อยเพียงใด ต้องรู้ให้ได้ครับ จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง"

อยากถามว่า จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง มีวิธีหายังไงครับ (พี่โง่เลขจริงๆ ไม่ได้โง่แบบถ่อมตัว)

   แล้วรู้ว่ามันห่างกันกี่เมตรแล้วมีประโยชน์อย่างไรครับ  เศร้า  เศร้า  เศร้า

แล้วจะรู้ได้ไงว่า ที่ดินของพี่ชันกี่องศา เพราะเท่าที่อ่านเจอ ถ้าชันมากกว่า 45องศา ดินจะสไลด์ แต่พี่ไม่รู้วิธีคิดว่า ที่ดินของพี่ชันกี่องศา ครับพ้ม

   4.ถ้าเป็นน้อง น้องจะเก็บน้ำไว้ใช้แบบไหน (แบบที่มีโฮมสเตย์ 4 ห้อง)
 
     - สูบบาดาลเข้าแทงก์น้ำซีเมนต์ขนาดเป้น 10,000 ลิตร แล้วต่อเข้ากับถังน้ำขนาด 2,000 ลิตร แยกตามบ้าน

     - ทำหอคอยเก็บน้ำ ยกสูงจากพื้น 7 เมตร (แพงอะ)

     - ใช้ตุ่มหรือโอ่ง 2,000 ลิตร แต่ละบ้าน แล้วต่อเชื่อมตุ่มทั้งหมด

     - ยังคิดไม่ออก ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 18, 2014, 08:03:18 PM โดย ultranoi » บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #110 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2014, 08:38:12 AM »

 หลังจากทำความเข้าใจกับที่น้อง avatayos อธิบายแล้ว (ขออนุญาตเรียกน้องแล้วกันนะครับ พี่ต้องยอมรับตัวเองแล้วว่าแก่  โกรธ )

พี่ยังมีคำถามเพิ่มเติมตามประสาเจ้าหนูจำไม (ในการ์ตูนอิคคิวซัง เฮ้อ ยิ่งทียิ่งเหมือนกระทู้เช็คอายุ)

  1.น้อง avatayos นามนี้มาจากอันใดฤา ชื่อพี่ ultranoi มาจาก การ์ตูน ultraman แล้วใส่ชื่อพี่ลงไปผสม (ชื่อจริงพี่ชื่อ ธานีน้อย)

  2.ถ้าพี่วางแท็งก์น้ำสำเร็จรูป ขนาด 2,000 ลิตร ไว้บนชั้น 2 ของบ้าน จะมีแรงดันพอที่จะทำให้เครื่องทำน้ำอุ่นที่อยุ่ชั้่น 1 ทำงานไหม

  3.จากที่น้องตอบมาตรงนี้ " ที่ดิน มีความลาดเอียงมากน้อยเพียงใด ต้องรู้ให้ได้ครับ จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง"

อยากถามว่า จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง มีวิธีหายังไงครับ (พี่โง่เลขจริงๆ ไม่ได้โง่แบบถ่อมตัว)

   แล้วรู้ว่ามันห่างกันกี่เมตรแล้วมีประโยชน์อย่างไรครับ  เศร้า  เศร้า  เศร้า

แล้วจะรู้ได้ไงว่า ที่ดินของพี่ชันกี่องศา เพราะเท่าที่อ่านเจอ ถ้าชันมากกว่า 45องศา ดินจะสไลด์ แต่พี่ไม่รู้วิธีคิดว่า ที่ดินของพี่ชันกี่องศา ครับพ้ม

   4.ถ้าเป็นน้อง น้องจะเก็บน้ำไว้ใช้แบบไหน (แบบที่มีโฮมสเตย์ 4 ห้อง)
  
     - สูบบาดาลเข้าแทงก์น้ำซีเมนต์ขนาดเป้น 10,000 ลิตร แล้วต่อเข้ากับถังน้ำขนาด 2,000 ลิตร แยกตามบ้าน

     - ทำหอคอยเก็บน้ำ ยกสูงจากพื้น 7 เมตร (แพงอะ)

     - ใช้ตุ่มหรือโอ่ง 2,000 ลิตร แต่ละบ้าน แล้วต่อเชื่อมตุ่มทั้งหมด

     - ยังคิดไม่ออก ครับ

ไม่แน่นะพี่ซี เห็นหน้าผมแล้ว อาจเปลี่ยนใจอยากเรียกพี่ อีกก็ได้ 555

ผมเป็นพวก หน้าแก่ ทรงภูมิ ดูมีความรู้ ...หน้าเลยเกินอายุ 555

ผมเป็นพวก อับดุลย์ ถามไร ตอบได้ เพราะผมถือคติว่า

"ไม่มีอะไรในโลกที่หากมีมนุษย์คนหนึ่งทำได้ แล้วมนุษย์อีกคนหนึ่งจะทำไม่ได้"

ดังนั้น เวลาผมไม่รู้อะไร ผมจะพยายามรู้ให้ได้ อ่านมาก ศึกษามา ดูตัวอย่างมากๆ ...เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมเคยทำอาชีพเพื่อหาเลี้ยงตัวเองมาหลายอาชีพมาก

มีคนเคยถามผมว่า วันๆ นอนบ้างไหม 555 จน เพื่อนๆ ให้ฉายาผมว่า "มนุษย์ 25 ชั่วโมง"

แต่ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับคำถามแรกที่ว่า avatayos มาจากไหน 555

จริงๆ แล้ว สมัยก่อน อีเมล์จะถูกกำหนดให้มีฟอร์แมตอย่างน้อย 8 ตัวอักษร และเพื่อให้ง่ายต่อการบังคับใช้กับทุกคน จึงกำหนดให้ เอาตัวอักษรแรกของนามสกุล มาเป็นตัวแรก แล้วตามด้วยชื่อ

จึงเป็นที่มาของ a  vatayos -> avatayos

แล้วผมก็ใช้อีเมล์ avatayos@xxx มาตั้งแต่นั้น  พอมี hotmail yahoo gmail ผมก็ใช้ username เดียวกัน เพราะมันง่ายในการจดจำ และชื่อของผม ไม่เคยซ้ำใคร ยิ่งบวกตัว a เข้าไป ไม่ต้องเสียเวลาตั้ง username เลยครับ

555 ที่มาจึงมาด้วยประการฉะนี้

--------------------------------------
ข้อ 2. ไม่กล้าการันตี แต่เท่าที่เคยใช้ ไม่น่าพอครับ คำตอบชัดเจนจริงๆ ต้องดูที่เครื่องทำน้ำร้อน น้ำอุ่น ว่าต้องการแรงดันเท่าไรครับ สาเหตุที่มันต้องการแรงดัน เพราะเป็นกลไกการป้องกัน ไม่ให้ทำความร้อนเกิน น้ำที่มีแรงดัน หมายถึง จะมีน้ำมาแทนที่ตลอด และระบบเครื่องทำน้ำร้อน น้ำอุ่น จะให้น้ำวิ่งผ่านท่อทองแดง ที่ทำความร้อน หากแรงดันไม่พอ น้ำมันจะเดือดในท่อ จึงมีสวิตซ์แรงดันป้องกันไว้ ถ้าแรงดันไม่ถึง จะไม่ทำงาน

ผมมีข้อคิดอย่างนี้ครับ บางเรื่อง เราประหยัด ได้ก็ดี แต่หากการประหยัดนั้น ทำให้เราลำบากมากขึ้น เสียเวลามากขึ้น ต้องชั่งน้ำหนักดีๆ นะครับ

เช่น ไม่ใช้ปั้ม แต่ใช้แรงดันตามธรรมชาติ สมมติ จะรองน้ำ เพื่อทำอะไรสักอย่าง อาจใช้เวลานาน กว่าน้ำจะเต็มถัง / รดน้ำต้นไม้ น้ำพุ่งไม่ไกล ต้องเดินไปรด รดเสร็จต้องมาเก็บสาย แต่หากน้ำมีแรงดันดีๆ ต่อหัวฉีดดีๆ ฉีดทีไกล 10 เมตร ไม่ต้องเดิน รดแป๊บเดียวเสร็จ

บางที ค่าไฟสำหรับปั้มใช้งานในบ้าน อาจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป และประโยชน์ที่ได้จากแรงดันนะครับ

-------------------------------------------
ข้อ 3

เอาแบบง่ายๆ ก็ ใช้

1. ไฟฉายเลเซอร์ แบบปากกาก็ได้ครับ
2. ตลับเมตร
3. ขาตั้ง
4. ไม้บรรทัดวัดมุม
5. ที่วัดระดับ



จากนั้น พี่ทำตามรูปเลยครับ

เอาขาตั้งวางพื้นล่างสุด แล้วเอาที่วัดระดับ ปรับให้แผ่นแพลตของขาตั้ง ได้ระดับทั้งแนวตั้งและแนวนอน

จากนั้นเอาเลเซอร์ยิงขึ้นไปยังเนินด้านบน แล้ววัดว่าปากกาเลเซอร์ ทำมุมเท่าไรกับแผ่นแพลต --> ให้เป็นค่า X

จากนั้น เอาตลับเมตร วัดระยะ AC ว่าได้ระยะเท่าไร  --> ให้เป็นค่า Y (ต้องวัดจากระยะความสูงเท่ากันนะครับ ถ้าวัดจากดิน ก็ดินถึงดิน ถ้าวัดจากแผ่นแพลต ก็ต้องวัดที่ความสูงเดียวกันของแผ่นแพลต)

โดยค่าที่เราต้องการหา คือ CB --> กำหนดให้เป็น Z

จากนั้น เอามาเข้าสูตร ตรีโกณมิติ

Sin(X) = Z/Y

พี่ไม่ต้องหาเครื่องอะไรคำนวณ เอาใส่ Google เลยครับ

เช่น วัดได้ระยะทาง Y เท่ากับ 100 เมตร ได้ค่า X มาที่ 20 องศา

พิมพ์ใน Google ว่า Sin(20)=

จะได้คำตอบเป็น 0.912

ก็เอามาแทนค่าในสูตร จะได้ 0.912 = Z/100 --> 0.912*100 = Z

ดังนั้นค่า ความสูงแนวดึงของที่ดินคือ 91.2 เมตร

ทั้งนี้ ตามรูป คือ ไว้หาความสูงต้นไม้ครับ ทำได้คือ สูตรตามภาพครับ โดยไม่ต้องเอาตรีโกณมิติมาคำนวณให้มึน

ส่วนเรื่ององศาความชัน ถ้าที่ดินชันไม่เท่ากัน ก็แบ่งซอยการวัดเป็นจุดๆ ไปครับ

------------------------------------------------
ข้อ 4 ผมจะตัดสินใจโดยดูคำตอบ ของ ข้อ 3 ครับ ถ้า ถ้าความสูงเกิน 20 เมตร หมายถึงวัดจากบ้าน ถึงแท็งก์ หากเป็นแบบนี้บ้านทุกหลังไม่ต้องติดปั้มเลย เพราะได้แรงดันเท่ากับ 2 บาร์โดยปริยาย แต่คงต้องเดินท่อเมนใหญ่หน่อย แล้วค่อยย่อยเป็นท่อเล็ก เพื่อให้อัตราการใช้น้ำของแต่ละหลังเพียงพอ

และจะเก็บที่แท็กเดียว เพื่อสร้างให้เกิดแรงดัน 2 บาร์เท่าๆ กัน หากเอาแท็งก์ไปเก็บที่แต่ละบ้าน ก็ต้องติดปั้มอีก

แต่ในกรณีที่ วัดได้ต่ำกว่า 10 เมตร หรือต่ำกว่า 1 บาร์

ผมจะแยกแท็งก์ แต่ละบ้าน และแยกปั้ม (คงต้องยอมลงทุน) หากแต่ละหลัง ห่างกันเกิน 20 เมตร แต่หากทุกหลังติดๆ กันหมด คงทำแท็งก์เดียว เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

แต่ปั้มอาจต้องวาง 2 หลังต่อปั้ม เพื่อลดความเสี่ยง หากปั้มบ้านใดเสียหาย ก็ยังมีน้ำบ้านอื่นไว้ใช้งาน

แต่ถ้าขนาดบ้านแต่ละหลัง เป็นแค่ 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ก็อาจจะลงทุนปั้ม ตัวเดียว เพราะปริมาณท่อจ่ายน้ำออก มันแค่ 2-3 ก๊อก ต่อหลัง ปั้มตัวเดียวเอาอยู่ (แต่ต้องตัวใหญ่) ถ้าตัวเล็กๆ 350W คงต้องสองตัว

ซึ่งสูตรที่จะคำนวณว่าใช้ปั้มเท่าไร ก็เป็นสูตรเดียวกับที่เคยเขียนครับ ต้องดูว่าในบ้านมีก๊อกที่จ่ายน้ำได้อัตราสูงสุดกี่ลิตรต่อชั่วโมง แล้วเอามาคำนวณหา Q ของปั้ม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 19, 2014, 08:43:32 AM โดย avatayos » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #111 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2014, 08:56:39 AM »


 พี่ก้อน้ำหนักตัว 80 กว่า หน้าไม่เปลี่ยนตั้งแต่สมัยมหาลัย(หน้าแก่ตั้งแต่ตอนเรียน)

 ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆเลยครับ

จะลองเอาไปใช้ในวันเสารนี้ล่ะ
บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 ... 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: