หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 ... 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 244276 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #80 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2014, 02:48:51 PM »

การเลือกปลูกพืช เพื่อสร้างรายได้

เขียนเรื่องไฟฟ้าและน้ำ ไม่ค่อยมี Feedback เท่าไร 555 คงเพราะไม่ค่อยอยู่ในความสนใจของเพื่อนๆ สมาชิก

แต่สำหรับผม ถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับคนงบน้อย (คนงบเยอะเขาเอาเงินลงจัดการได้เลย)

ดังนั้น เพื่อให้บริหารได้ภายใต้แนวคิด "สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน" จึงต้องใส่ใจตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนผังของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

---------------------------------------------
นับย้อนไป 2 ปี

หลังจากผมตัดสินใจได้ว่า จะทำการเกษตร ผมบอกทุกคนว่า "ผมจะปลูกไผ่"

เหตุผลง่ายๆ
- ไม่ต้องดูแล
- โรคน้อย
- ตัดหน่อขายก็ได้ ขายไม่ทัน ไว้ลำ ขายเป็นลำก็ได้ แปรรูปเป็นถ่านคุณภาพ เป็นนู้นนี่ได้มากมาย ใบก็บำรุงดิน

ในตอนนั้นฝันมากครับ ที่ดินสัก 20 ไร่ ปลูกไผ่ คงรวยปีเป็นล้าน

ผ่านไป 5 เดือน
พืชตัวอื่นๆ ก็เริ่มเข้ามาในชีวิต ปลูกนั้นก็ดี ปลูกนี้ก็ดี เพาะเห็ดก็ดี เลี้ยงไก่ก็ดี เลี้ยงหมูก็ดี

หลงครับ หลง

ที่ดินก็ยังไม่มี ... แต่หลงคิดไม่จบว่า ตกลงตรูจะทำอะไรหากินดีเนี่ย น่าทำไปหมด

มันก็เหมือนกับ เวลาเราไปเจอธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจ แล้วเราก็อยากทำ

เหมือนเราไปเจอ ร้านเค้กอร่อยๆ เราก็อยากทำร้านขนม
เห็นเขาเปิดร้านกาแฟ เราก็อยากเปิด
เห็นเขาเปิดร้านสเต็ก 39 บาท เราก็อยากเปิด

แต่จากประสบการณ์ในการลงทุนในชีวิตผม ที่เรียกว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร แค่พอมีพอกิน ผมได้หลักคิด

1. ต้องรู้กระบวนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนจบ และต้องทำเองได้ ทำเองเป็น (แต่ไม่เกี่ยวว่าต้องลงมือทำ)
    - ข้อนี่ผมเห็นเกษตรกรหลายคน รวมถึงเพื่อนผมหลายคนที่ก้าวลงมาเป็นเกษตรกร ทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ ส่วนใหญ่ที่มีแนวโน้มสำเร็จ คือ เรียนรู้กระบวนการผลิตอย่างจริงจัง และลงมือทำเองทั้งสิ้น ส่วนพวกที่ปลูกแล้วเสียหาย ขายไม่ค่อยได้ จมเงิน คือ พวกที่ไปเรียน แล้วมาสั่งๆ ๆ ให้คนทำต่อ เพราะคิดว่า เรียนแล้วรู้แล้ว แค่บริหารก็น่าจะพอ

    แต่จริงๆ มันไม่พอ

2. ต้องรู้กระแสเงิน
   - พืชที่เราเลือก เราต้องรู้ว่ากระแสเงิน หมุนเวียนอย่างไร เก็บเกี่ยวตอนไหน ราคาเท่าไร จะได้เงินเท่าไร จะต้องเสียค่าใช้จ่ายระหว่างที่รอเก็บเกี่ยวเท่าไร
   - ครั้งหนึ่งผมเคยทำสินค้าตัวหนึ่ง ต้นทุน 3 แสน กำไร 2 แสน รายรับรวม 5 แสนบาท ถือว่ากำไรดี มาร์จิ้นใช้ได้ แต่ผมไม่รู้เลยว่า 30% ของสินค้าที่ค้างอยู่ในตลาด จะมีวงจรชีวิตที่นานมาก ถึง 2 ปี กว่าจะหมด ทำให้ ที่สุดแล้ว สินค้า 30% หรือมองแบบกระแสเงินสดก็คือ กำไร 30% ที่ค้างอยู่นั้น
หากขายไม่ได้เลย ผมก็กำไรแค่ 10% ในระยะเวลา 2 ปี หรือแค่ 5% ต่อปี จากสินค้าที่กำไร 40% เหลือ 10% ในทันที หรือหากมองแบบบัญชี ผมก็จมเงินทุนไป 18% โดยไม่ก่อให้เกิดรายได้เลย
     
    หากผมทำสินค้าแบบนี้ออกมาแค่ 3 รอบ ผมก็แทบจะไม่มีเงินสดหมุนเวียนอีกเลย เพราะเงินทุนจมไป 54%

    ดังนั้นการทำอะไรขาย เราต้องรู้ระบบกระแสเงินสดของสินค้านั้นให้ดี ลองวางใส่ Excel ง่ายๆ คำนวณเป็นรอบๆ ว่า ลงทุนแล้วมันพอที่จะคล่องตัวหรือไม่

3. ตลาดต้องกว้าง อายุตลาดต้องนานพอ

   - พืชที่เราจะปลูก ขายให้ใคร ระยะเวลาขายนานเท่าไร เมื่อเทียบกับอายุของผลผลิต  เช่น ปลูกเผือก เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยว ต้องเก็บเกี่ยว ไม่งั้นเผือกฝ่อ เก็บเกี่ยวแล้วรักษาดีๆ อยู่ได้ไม่กี่เดือน ระยะเวลาตรงนี้เป็นตัวกำหนดระยะเวลาวางขายของเรา ว่าเราจะขายได้กี่เดือน ผลผลิตเรามีแค่ไหน เราจะขายหมดทันไหม
   - หากขายไม่ทัน มีตลาดอื่นอีกไหม นอกจากตลาดสด อย่างเผือก บางคนก็เอาไปแปรรูปเป็นขนม ก็ยืดอายุออกไปได้อีกนาน หรือ เพาะเห็ดหอม ถ้าไม่ขายสด ก็ขายแบบตากแห้งได้ ปลูกพริกไทย ถ้าไม่ขายพริกไทยสด ก็ขายพริกไทดำ ก็ได้ เป็นต้น
   - ตรงนี้พืชหลายตัว ทำได้หลายอย่าง ในขณะที่พืชบางตัวทำได้แค่อย่างเดียว เอาไปทำอย่างอื่นๆ ไม่ได้ ความเสี่ยงตรงจุดนี้เราต้องรู้และกำหนดการรับมือให้ได้

4. ความต้องการ และระยะเวลาอิ่มตัวของความต้องการ
   - ปลูกอะไรก็ขายได้ ถ้ามีความต้องการ ... ทำอะไรก็ขายได้ ถ้ามีความต้องการ สมัยผมเปิดบริษัท สินค้าตัวแรกของผม ขึ้นแท่นขายดีอันดับ 1 ในร้านค้าปลีกยี่ห้อดัง และขึ้นแท่นขายดีอันดับ 3 ในร้านค้าปลีกยี่ห้อดังอีกเจ้าหนึ่ง    ผมจึงเพิ่มปริมาณการผลิตเข้าไปอีกเกือบเท่าหนึ่ง ผลคือ มีสินค้าคงเหลือในตลาด 20% และใช้เวลากว่า 2 ปี ในการขายให้เหลือ 10% ทุกวันนี้เหลืออยู่ 8% ในคลังสินค้า ที่ผมตัดมูลค่าทางบัญชีเป็น 0 ไปแล้ว
   - ผมบอกตรงๆ ตลาดความต้องการพืชนั้น ผมเองไม่เคยศึกษา แนะนำอะไรไม่ได้ แต่มีข้อคิดง่ายๆ แค่

"อะไรที่มันปลูกยาก ทำยาก ถึงจะมีคนแห่ทำกันเยอะ ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จกันทุกคน"
"ปลูกก่อน เริ่มก่อน ขายก่อน มีโอกาสก่อน"
"ปลูกให้ถูกจังหวะ เก็บขายตอนตลาดมีความต้องการ ถึงเป็นพืชที่คนปลูกมาก ก็ย่อมขายได้"
"พืชที่ระยะทางส่งผลเสียหายต่อผลผลิตได้ หากความต้องการยังมี ตลาดยังเปิด ย่อมน่าลงทุน"

----------------------------------------------------------------
จากแนวคิดทั้ง 4 ข้อ ต้องไปทำการบ้านต่อ

1. แถวๆ ที่ดิน เขาปลูกอะไรกันบ้าง ระยะสัก 100 กิโลเมตร
2. แถวๆ ที่ดิน มีตลาดสดขายปลีกและขายส่งที่ไหนบ้าง ในระยะ 100 กิโลเมตร
3. แถวๆ ที่ดิน ชาวบ้านเขาบริโภคอะไรกันเป็นหลัก
4. แถวๆ ที่ดิน มีคู่แข่งทางตรงอย่างไร ทางอ้อมอย่างไร

-----------------------------------------------------------------
จากการบ้านผมจึงได้คำตอบว่าผมจะปลูกอะไรบ้าง ในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

1. ปลูกไผ่ เป็นแนวรั้ว บังลม ป้องกันสารเคมีจากที่ดินข้างเคียงทำร้ายสวน เป็นแนวกันไฟ เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง ตัดแต่งทรงก็จะนำลำไปขาย หรือใช้งานภายในสวน คำนวณปริมาณปลูกได้ประมาณ 800-1000 ก่อ

2. ปลูกข้าว เป็นคลังข้าวประจำครอบครัวและคนงาน ใช้ฟางข้าว ใช้แกลบ ที่ได้จากการผลิตให้เป็นประโยชน์ พื้นที่ปลูก 4 ไร่

3. เพาะเห็ดหอม เนื่องด้วยสภาพที่ดินใกล้เขตอุทยานแห่งชาติ อุณหภูมิในช่วงกลางคืนค่อนข้างเย็นตลอดปี ส่วนช่วงกลางวันในหน้าร้อนจะร้อนมาก แต่สามารถปรับสภาพพื้นที่ให้เย็นได้ด้วยการสร้างโรงเพาะเห็ด ในพื้นที่สวนไผ่ โดยคร่าวๆ น่าจะสร้างได้ 6 โรงเรือน ผลผลิตเห็ดหอมน่าจะมีพอประมาณ ขายทั้งสดและตากแห้ง --> จาก Timeline แบบนี้ กิจการเห็ดหอม จึงต้องดำเนินการลงทุนภายหลังที่สวนไผ่ เติบโตเต็มที่ หรืออีกไม่ต่ำกว่า 3 ปี

4. สวนมะนาว ขายผล เน้นการทำมะนาวนอกฤดู เนื่องจากในพื้นที่ใกล้เคียง มีสวนมะนาวน้อย และที่ดินตั้งอยู่บนเส้นทางการค้า ที่กระจายสินค้าได้ทั่ว ปริมาณความต้องการมะนาวในหน้าแล้งจึงมีสูง ไม่จำเป็นต้องแข่งกับพื้นที่ปลูกกลุ่มใหญ่คือ พิจิตร เนื่องจากมีแนวเขาเพชรบูรณ์ เป็นกำแพงกั้นการค้า หากเราผลิตได้ เราย่อมส่งขายในตลาดเลย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ หนองบัวลำภู ได้สบายๆ ดังนั้นแม้มะนาวจะเริ่มมีคนปลูกมาก แต่มะนาวมีความยากในการทำ จึงใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกคน (รวมถึงผมด้วย 55) แต่หากทำได้ ก็คุ้มค่าต่อการลงทุน 1 รอบการผลิต เป้าหมายคือ แป้นรำไพ 2000 ต้น เท่านั้น ไม่มีพันธุ์อื่นๆ

เพราะต้องการเน้นจุดแข็ง คือ พันธุ์ไม่เจือปน เน้นการขายลูก 90% ขายกิ่งพันธุ์ 10% (เพราะอะไร เดี๋ยวจะเขียนในเรื่องการธุรกิจขายพันธุ์อีกที)

5. บ่อปลานิล ปลาทับทิม จากสระน้ำขุดภายในไร่ เน้นการเลี้ยงแบบกระชัง เพื่อให้สามารถขุดบ่อลึกเก็บน้ำปริมาณมากได้

6. ไก่ไข่ไล่สวน (ตั้งชื่อเอง) แนวคิดทดลองผสมผสาน โดยให้ไก่มีความสุขอย่างอิสระ ในพื้นที่ทั้งสวน เพื่อให้ออกไข่อินทรีย์ ที่มีคุณภาพ และไข่อินทรีย์มีตลาดเฉพาะ เช่น โรงแรม ร้านขนม ร้านเค้ก หากสามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำ และราคาขายใกล้เคียงไข่ไก่ปกติได้ ย่อมตีตลาดได้ขาด 100%

แนวคิดการเลี้ยงไก่ไข่ไล่สวนคือ ให้ไก่หากินตามธรรมชาติ ผสมการให้อาหารและยาตามมาตรฐาน โดยกำหนดโซนการอาศัยของไก่ เป็นช่วงๆ เพื่อให้ไก่ทำหน้าที่ คุ้ยเขี่ยดิน จัดการหนอนและแมลง ขี้ไก่ลงดินเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติ กำจัดใบไผ่บางส่วน เลี้ยงแบบวนเวียนไปเรื่อยๆ 

แนวคิดนี้เอามาจากการเลี้ยงไก่กับไผ่ ที่สามารถจัดการสวนไผ่เสียสะอาดได้ ปริมาณไก่เพื่อทดลองก่อนที่ 100 ตัว เมื่อถึงเวลาออกไข่ วันละประมาณ 80 ฟอง หากแนวคิดได้ผล ก็จะเพิ่มปริมาณให้เหมาะสมตามพื้นที่ ต่อไป

(ข้อ 6 นี่ฝันมาก)

7. พืนที่สวนทดสอบ 1 ไร่ สำหรับทดสอบการปลูก การเลี้ยงไม้ผลหรือพืชไร่ต่างๆ เช่น อ้อย 1 ไร่ 100 ตัน หรือไม้ผลอื่นๆ เพื่อเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ วางแผนระยะยาว หากสวนมะนาวเกิดปัญหา มีโรค ต้องเปลี่ยนชนิดพืชในการปลูก จะได้มีความรู้ความสามารถในการปลูกพืชอื่นๆ ได้

8. โรงเรือนอนุบาลพันธุ์ไม้ เป็นพื้นที่เพาะพันธุ์กล้าไม้ขาย ขนาด 1 ไร่ เพื่อลดต้นทุนพันธุ์ไม้ทีต้องใช้ในสวน อนุรักษ์พันธุ์คุณภาพที่จะปรับปรุงไปเรื่อยๆ ในอนาคต

แค่ 8 อย่างนี้ บอกตรงๆ ไม่รู้เมื่อไรจะทำได้หมด 555
แต่ก็เชื่อว่า 8 อย่างนี้จะสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ไม่มากก็น้อย

อ่านบทความ Comment นี้ได้ความรู้เยอะขึ้นหลายเท่าครับ..
ขอเพิ่มเติม ข้อ 5. เลี้ยงปลา - เมื่อ 1-2 เดือนนี้ ผมเห็นมีธุรกิจหนึ่งที่คิดว่าน่าจะไปได้สวย

การเลี้ยงปลาหมอไทย
การเลี้ยงกบในนา แบบปล่อยอิสระ (กบไล่นา - อันนี้ตั้งชื่อเอง ฮาาา)

ผมว่าจะเป็นตัวเสริมในไร่ได้นะครับ
ผมเองยังคิดเลยว่า ปีหน้าผมลาออกแล้วกลับบ้าน ผมจะล้อมบ่อน้ำผม ปล่อยปลา - เลี้ยงกบ ^__^
บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง

ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #81 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2014, 04:30:08 PM »



 ผมว่า ระบบน้ำและไฟ ที่พี่ avatayos ให้ความรู้ เป็นหัวใจของการเกษตรนะครับ

 ผมเอง มีความรู้เรื่องพวกนี้น้อยมาก แต่มันเป็นต้นทุนสำคัญที่อาจส่งผลให้เกษตรรุ่งหรือร่วง

 ดังนั้น ผมขอตึตั๋ววีไอพีกระทู้พี่ตลอดครับ
บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
nopmtp
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2136


« ตอบ #82 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2014, 09:17:19 PM »

    ท่านคาดผิดแล้วแหละครับ   " ระบบน้ำและไฟนั้น "  ผมตุนได้ไปมากโข  เลยละครับท่าน  อายจัง อายจัง
ระบบพวกนี้จะเป็นไปทางวิศวกรรมจากการคำนวนมาแล้ว   และก้เป็นไปตามที่ท่านเอามาแชร์
ถือว่าข้อมูลมันเชื่อถือได้ในตัวมันเองนะครับ   ก้เลยไม่มีใครมาเพิ่มเติมอะไร   นอกจากเก็บไปใช้
ซะมากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #83 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 08:18:38 AM »

    ท่านคาดผิดแล้วแหละครับ   " ระบบน้ำและไฟนั้น "  ผมตุนได้ไปมากโข  เลยละครับท่าน  อายจัง อายจัง
ระบบพวกนี้จะเป็นไปทางวิศวกรรมจากการคำนวนมาแล้ว   และก้เป็นไปตามที่ท่านเอามาแชร์
ถือว่าข้อมูลมันเชื่อถือได้ในตัวมันเองนะครับ   ก้เลยไม่มีใครมาเพิ่มเติมอะไร   นอกจากเก็บไปใช้
ซะมากกว่าครับ

บอกตรงๆ ผมเล่นเว็บนี้ อ่านเป็นส่วนใหญ่ พอได้เขียนกระทู้ตัวเอง มีคนเริ่มตอบ ก็เริ่มดีใจ และเริ่มไปติดตามอ่านว่าของแต่ละท่านที่มาตอบนั้น ทำการเกษตรอย่างไร มีก็แต่ท่าน nopmtp ที่ผมไม่ได้เข้าไปดูเลยจริงๆ (แอบคิดว่าท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้จริงๆ เพราะ like ทุกข้อความเลย 55)

ปรากฎว่า เข้าไปดู ท่าน nopmtp คือ เจ้าของกระทู้ที่ผมเคยอ่านแล้วนำความรู้ไปคิด เรื่อง เกษตรพาร์ทไทม์ และฝันจะเป็นบ้างเลย ตอนนั้นข้อมูลหลายๆ อย่างตรงกัน เช่น ระยะทางระหว่างบ้านกับสวน ของผม สี่ร้อยกว่า ของท่านห้าร้อยกว่า เรียกว่า ท่านยังทำได้ และทำไมผมจะทำใม่ได้

ยิ่งอ่านของแต่ละท่านแล้ว ตอนนี้รู้สึกตัวเอง ตัวเล็กเป็นมด ไม่กล้าเขียนแนะนำอะไรเลย แต่ละคนประสบการณ์เพียบทั้งนั้น

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #84 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 09:00:20 AM »

มาเขียนต่อครับ ถึงจะมีความรู้สึกว่าตอนนี้ "ตัวเท่ามด" (แต่จริงๆ อ้วนจะเป็นช้าง 555)

ก็ขอยืนยันจะเขียนต่อไป เพราะ

1. ถ้าผมเขียนแล้วผิด เชื่อว่าทุกท่าน คงช่วยกันอธิบาย แก้ไข ให้ผมเข้าใจถูกต้อง
2. ถ้าผมไม่เขียน แล้วผิด ผมก็จะดำเนินตามแผนที่คิด แล้วทำผิดๆ ต่อไป

สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อคือ

"Learning Changes Life"

เป็นสโลแกนของบริษัทที่ผมทำงานอยู่ในปัจจุบัน เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรักองค์กรนี้มาก (แต่รักอย่างไร ก็คนละเรื่องกับความยั่งยืนของชีวิต)

ดังนั้น ข้อเขียนของผม จึงเป็น แผนที่การดำเนินงาน ที่เมื่อเวลาผ่านไป ผมจะพิสูจน์ว่ามันถูกหรือมันผิด

หากมันถูก ใครที่ตามอ่านกระทู้นี้ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
แต่หากว่ามันผิด ผมก็เชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อ ใครๆ ที่ได้อ่าน แล้วจะได้ไม่เดินตาม หรือนำจุดผิดพลาดไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

ในการเรียนรู้ ผมเชื่อว่าหนึ่งว่า เมื่อเราเรียนรู้แล้ว องค์ความรู้นั้นจะเป็นจริง ก็ต่อเมื่อเราสามารถ "ทำซ้ำ" ได้

หากแนวคิดหรือองค์ความรู้ของเรา มีเราทำได้คนเดียว สำเร็จคนเดียว คนอื่นเอาไปประยุกต์แล้วไม่ได้ผล

เราต้องทบทวนว่า องค์ความรู้ของเรานั้น มีตัวแปรอะไรที่ทำให้สำเร็จเฉพาะเราบ้าง เพราะตัวแปรเหล่านั้นอาจหมายถึง ฟลุ๊ค หรือจำเพาะเจาะจง

ด้วยแนวคิดนี้ ผมจึงขอเขียนต่อไป แม้จะเขียนแล้วปล่อยไก่ หน้าแหก ก็ตาม

อิ อิ อิ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
andrew
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1515



« ตอบ #85 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 09:48:24 AM »

ทฤษฎีแป๊ะมากเลยค่ะ ถ้าได้ลงมือทำและพัฒนาต่อยอดไปเรื่อย ๆ รับรองว่าได้ตามแผนแน่นอนค่ะ
ติดตามสวนเกษตรโชคดีชุมแพ อยู่ไม่ไกลกันนะคะ อยู่ในเมืองขอนแก่น แวะไปเยี่ยมญาติที่ชุมแพบ่อย ๆ ยินดีที่รู้จักนะคะ
บันทึกการเข้า

FB: pathumthipgarden
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #86 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 10:18:24 AM »

มีเรื่องขำๆ ทำให้ยิ้ม

2 ปีที่แล้วผมอ่านกระทู้ของพี่ sit

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=1473.0

(ถ้าย้อนไปอ่านข้อความก่อนหน้านี้ จะเห็นผมเขียนว่า สิ่งแรกที่ผมสนใจคือ ไผ่)

ถึงตอนนี้ผมต้องเตรียมสั่งพันธุ์ไผ่แล้ว ก็เลยว่าจะสั่งกับสวนที่เป็นแรงบันดาลใจให้ เลยจะนัดกับพี่เขาไปชมสวนเสียหน่อย

ปรากฎว่า พี่เขาคือ บุคคลที่มาเช่าหน้าที่ดินผม เพื่อขายพันธุ์ไผ่...

โลกมันกลมจริงๆ

วันนี้รู้สึกดีเลยจริงๆ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #87 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 10:23:57 AM »

ทฤษฎีแป๊ะมากเลยค่ะ ถ้าได้ลงมือทำและพัฒนาต่อยอดไปเรื่อย ๆ รับรองว่าได้ตามแผนแน่นอนค่ะ
ติดตามสวนเกษตรโชคดีชุมแพ อยู่ไม่ไกลกันนะคะ อยู่ในเมืองขอนแก่น แวะไปเยี่ยมญาติที่ชุมแพบ่อย ๆ ยินดีที่รู้จักนะคะ

ไอ้ทฤษฎีแป๊ะมากนี้ละที่กลัวครับ

555

เป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้มากๆ เลย กับความเชื่อหลายอย่าง ของคนงานที่เราจ้าง

บ่อยครั้งที่เดินสายกลาง คือ เขาครึ่งเราครึ่ง

ต้องค่อยๆ ปรับกันไป เขาก็ว่าเราว่าพวกคนเมือง ไม่เคยทำเกษตร ไม่มีประสบการณ์ จะไปรู้อะไร ส่วนเราก็ศึกษามาดี ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำแบบนั้นแบบนี้


อย่างที่บอกครับ ...ขาดประสบการณ์ สิ่งเดียวที่ต้องใช้เวลา เรียนรู้กันไป

จะสำเร็จหรือไม่ ก็อยู่ที่ประสบการณ์นี่ละ

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
เกษตรกรออนไลน์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 329


« ตอบ #88 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 10:36:24 AM »

สุดยอดค่ะ
เข้ากระทู้นี้ได้ครบ ทั้งทฤษฎี ปฎิบัติ หลักการการบริหารจัดการ ครบ

สุดยอดจริงๆ
บันทึกการเข้า
กัญจน์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11578


« ตอบ #89 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 02:18:45 PM »

บอกตรงๆ ผมเล่นเว็บนี้ อ่านเป็นส่วนใหญ่ พอได้เขียนกระทู้ตัวเอง มีคนเริ่มตอบ ก็เริ่มดีใจ และเริ่มไปติดตามอ่านว่าของแต่ละท่านที่มาตอบนั้น ทำการเกษตรอย่างไร มีก็แต่ท่าน nopmtp ที่ผมไม่ได้เข้าไปดูเลยจริงๆ (แอบคิดว่าท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้จริงๆ เพราะ like ทุกข้อความเลย 55)

ปรากฎว่า เข้าไปดู ท่าน nopmtp คือ เจ้าของกระทู้ที่ผมเคยอ่านแล้วนำความรู้ไปคิด เรื่อง เกษตรพาร์ทไทม์ และฝันจะเป็นบ้างเลย ตอนนั้นข้อมูลหลายๆ อย่างตรงกัน เช่น ระยะทางระหว่างบ้านกับสวน ของผม สี่ร้อยกว่า ของท่านห้าร้อยกว่า เรียกว่า ท่านยังทำได้ และทำไมผมจะทำใม่ได้

ยิ่งอ่านของแต่ละท่านแล้ว ตอนนี้รู้สึกตัวเอง ตัวเล็กเป็นมด ไม่กล้าเขียนแนะนำอะไรเลย แต่ละคนประสบการณ์เพียบทั้งนั้น
สวัสดีครับท่านเจ้าของกระทู้ หลากหลายความคิดหลากหลายประสบการณ์ไม่มีใครผิดไม่มีใครถูกแต่ทุกท่านสามารถนำเอาองค์ความรู้ที่มีอยู่มาช่วยกันแบ่งปันเป็นแนวทาง อย่างน้อยบางอย่างก็ทำให้บางท่านไม่ต้องเสียเวลาเสียเงินเสียทองกับการลองผิดลองถูกขอติดตามผลงานและการถ่ายทอดประสบการณ์ครับ
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #90 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 02:31:27 PM »

คุณ กัญจน์ ก็ Like ผมแทบทุก Comment เหมือนกัน

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
nopmtp
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2136


« ตอบ #91 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 09:49:43 PM »

    ท่านคาดผิดแล้วแหละครับ   " ระบบน้ำและไฟนั้น "  ผมตุนได้ไปมากโข  เลยละครับท่าน  อายจัง อายจัง
ระบบพวกนี้จะเป็นไปทางวิศวกรรมจากการคำนวนมาแล้ว   และก้เป็นไปตามที่ท่านเอามาแชร์
ถือว่าข้อมูลมันเชื่อถือได้ในตัวมันเองนะครับ   ก้เลยไม่มีใครมาเพิ่มเติมอะไร   นอกจากเก็บไปใช้
ซะมากกว่าครับ

บอกตรงๆ ผมเล่นเว็บนี้ อ่านเป็นส่วนใหญ่ พอได้เขียนกระทู้ตัวเอง มีคนเริ่มตอบ ก็เริ่มดีใจ และเริ่มไปติดตามอ่านว่าของแต่ละท่านที่มาตอบนั้น ทำการเกษตรอย่างไร มีก็แต่ท่าน nopmtp ที่ผมไม่ได้เข้าไปดูเลยจริงๆ (แอบคิดว่าท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้จริงๆ เพราะ like ทุกข้อความเลย 55)

ปรากฎว่า เข้าไปดู ท่าน nopmtp คือ เจ้าของกระทู้ที่ผมเคยอ่านแล้วนำความรู้ไปคิด เรื่อง เกษตรพาร์ทไทม์ และฝันจะเป็นบ้างเลย ตอนนั้นข้อมูลหลายๆ อย่างตรงกัน เช่น ระยะทางระหว่างบ้านกับสวน ของผม สี่ร้อยกว่า ของท่านห้าร้อยกว่า เรียกว่า ท่านยังทำได้ และทำไมผมจะทำใม่ได้

ยิ่งอ่านของแต่ละท่านแล้ว ตอนนี้รู้สึกตัวเอง ตัวเล็กเป็นมด ไม่กล้าเขียนแนะนำอะไรเลย แต่ละคนประสบการณ์เพียบทั้งนั้น




    ผมรู้ว่าท่านพูดเล่น ( ที่ว่าตัวเท่ามด ) ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
อย่างที่คุณกัญจน์   ว่านั้นถูกต้องเลยครับ

      สังคมเกษตร...เป็นสังคมที่เปิด    เพราะใครยากเข้ามาก็มาทำได้เสมอ
ไม่ว่าจะทำเล็กๆ   หรือทำใหญ่ๆ   ก็ลองมาทำใด้   ผมชอบตรงนี้แหละครับท่าน
ยิ่งถ้าผ่านงานบริหารมาแล้ว (แบบท่าน avatayos ) เป็นต้น
จะเป็นการเข้ามาเสริม  สังคงคมเกษตรได้มากๆเลย    ผมไม่ได้พูดเกินจริง...นะครับ

       อาชีพเกษตร   เป็นการรวมเอาทุกสาขาวิชาเข้ามาอยู่ในที่ๆเดียวกัน
จึงไม่ง่ายที่จะประสบผลสำเร็จได้เพียงปี...สองปี
งานด้านวางแผน...บริหาร...การตลาด   จำเป็นมาก
แต่มีน้อยคนมากที่มาแชร์   หนึ่งในนี้ผมก้เห็นท่านนี่แหละครับผมไม่ได้พูดเกินจริงแน่นอน...นะครับ
 ปล. เอาเป็นว่า   ผมกด like  ข้ามๆบ้างก็ได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #92 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2014, 08:11:09 AM »

    ผมรู้ว่าท่านพูดเล่น ( ที่ว่าตัวเท่ามด ) ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
อย่างที่คุณกัญจน์   ว่านั้นถูกต้องเลยครับ

      สังคมเกษตร...เป็นสังคมที่เปิด    เพราะใครยากเข้ามาก็มาทำได้เสมอ
ไม่ว่าจะทำเล็กๆ   หรือทำใหญ่ๆ   ก็ลองมาทำใด้   ผมชอบตรงนี้แหละครับท่าน
ยิ่งถ้าผ่านงานบริหารมาแล้ว (แบบท่าน avatayos ) เป็นต้น
จะเป็นการเข้ามาเสริม  สังคงคมเกษตรได้มากๆเลย    ผมไม่ได้พูดเกินจริง...นะครับ

       อาชีพเกษตร   เป็นการรวมเอาทุกสาขาวิชาเข้ามาอยู่ในที่ๆเดียวกัน
จึงไม่ง่ายที่จะประสบผลสำเร็จได้เพียงปี...สองปี
งานด้านวางแผน...บริหาร...การตลาด   จำเป็นมาก
แต่มีน้อยคนมากที่มาแชร์   หนึ่งในนี้ผมก้เห็นท่านนี่แหละครับผมไม่ได้พูดเกินจริงแน่นอน...นะครับ
 ปล. เอาเป็นว่า   ผมกด like  ข้ามๆบ้างก็ได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


ผมเองก็ได้สิ่งนี้มาจากการเยี่ยมชมสวนของแต่ละท่าน ทุกท่านให้ความรู้อย่างเปิดเผย และดีใจมากที่มีคนสนใจ

บ่อยครั้งผมจดลงสมุดบันทึก ว่านี้คือ จุดแข็งของสวนนั้นสวนนี้

ในฐานะนักธุรกิจ ... จุดแข็งที่เป็นกลเม็ดสำคัญ ส่วนใหญ่ ยากที่จะเปิดเผย

แต่สังคมการเกษตร กลับเปิดเผย

สิ่งหนึ่งที่ผมพบและเป็นความต่างคือ จุดแข็งของแต่ละสวนนั้น ใช่ว่ารู้แล้วจะทำได้

มันมี "ความยาก" ในตัวมันเอง

เส้นทางความสำเร็จ ถึงรู้ ก็ใช่ว่าจะเลียนแบบแล้วสำเร็จ

สำหรับผม ผมถือว่าโชคดี ที่มาเริ่มทีหลัง ดังนั้น ทางเดินเก่าๆ ที่ผิดพลาดของแต่ละท่าน ผมก็พยายามศึกษาแล้ว พยายามคิดแก้ปัญหาเหล่านั้น
ร่างออกมาเป็นแผน

แล้วผมก็ย้อนคิดกลับไปที่ว่า ผมคงมีความสุขเหมือนเจ้าของสวนเหล่านั้น ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ ถ่ายทอดสิ่งที่คิด

ใครๆ หยิบจับ เอาไปทำแล้วดี
ผมก็ดีใจด้วย

แต่ผมขอทุกท่านนะครับ

"ถ้าอะไรที่ผมคิดผิด รู้ผิด"

ไม่ต้องอายเลย ไม่ต้องคิดว่าผมอายด้วย

รบกวนช่วยสอนผม ให้ผมตาสว่างด้วยครับ ผมยินดี


บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #93 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2014, 08:51:36 AM »

เมื่อก่อน แวะมาหาความรู้จากกระทู้นี้ วันละ 3 รอบเป็นอย่างต่ำ
อ่านแล้ว ยิ่งคิดตามเท่าไหร่ ไอเดียสำหรับไร่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
บางทีคิดจนสมองจะระเบิด มันอัดอั้น อยากเอาที่เราคิดไปลงที่ไร่เร็วๆ

จนคิดว่าไม่ไหวแระ เดี๋ยวบ้าตายก่อน

ก็เลยลดลงมาอ่านวันละ1-2 รอบพอ 555

ส่วนตัวผมชอบนะ การไปดูงาน ไปพบปะกับคนคอเดียวกัน เพราะมันคุยกันรู้เรื่องคุยกันได้ยาว
แต่การไปดูงาน ส่วนมากจะได้เรื่องเทคนิค และเรื่องการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
แต่กระทู้นี้ ได้เอาเรื่องการบริหารมาคุยด้วย ยิ่งน่าสนใจใหญ่ เพราะผมก็เรียนทางสายบริหารมา มันเหมือนได้ทบทวนความรู้เดิมเลยครับ

บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #94 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2014, 09:01:34 AM »

เมื่อก่อน แวะมาหาความรู้จากกระทู้นี้ วันละ 3 รอบเป็นอย่างต่ำ
อ่านแล้ว ยิ่งคิดตามเท่าไหร่ ไอเดียสำหรับไร่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
บางทีคิดจนสมองจะระเบิด มันอัดอั้น อยากเอาที่เราคิดไปลงที่ไร่เร็วๆ

จนคิดว่าไม่ไหวแระ เดี๋ยวบ้าตายก่อน

ก็เลยลดลงมาอ่านวันละ1-2 รอบพอ 555

ส่วนตัวผมชอบนะ การไปดูงาน ไปพบปะกับคนคอเดียวกัน เพราะมันคุยกันรู้เรื่องคุยกันได้ยาว
แต่การไปดูงาน ส่วนมากจะได้เรื่องเทคนิค และเรื่องการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
แต่กระทู้นี้ ได้เอาเรื่องการบริหารมาคุยด้วย ยิ่งน่าสนใจใหญ่ เพราะผมก็เรียนทางสายบริหารมา มันเหมือนได้ทบทวนความรู้เดิมเลยครับ



หลายเรื่องที่เขียน ผมคิดมา 2 ปี อัดอั้นกว่าเยอะครับ 555

คิดเอาว่า ที่คิดทั้งหมด ต้นกล้าสักต้น ยังไม่ได้ลงเลย...




บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #95 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2014, 10:22:04 AM »

วันนี้ขอเขียนหัวข้อนี้

ปัญหาธุรกิจหลอก(หรือไม่หลอก) ขายพันธุ์พืช ที่ผมเกือบโดน (แต่เพื่อนโดนไปแล้ว)

หลังจากผมเริ่มศึกษาและวางแผนว่าจะทำอะไรบ้าง ผมก็เริ่มหาว่าที่ไหนขายพันธุ์อย่างไร

สิ่งที่พบ และเกิดคำถามขึ้น คือ

- พืชเดียวกัน เจ้าหนึ่งถูก เจ้าหนึ่งแพง .... มันเพราะอะไร?ฮืม
- ถ้าปลูกแล้วขายผลผลิตได้ดี ...ทำไมเน้นขายพันธุ์   หรือมันทำพร้อมๆ กันได้ทั้งคู่...
- ตัดกิ่ง ตอนกิ่ง ต้นไม้ขนาดเล็กลง แล้วผลผลิตจะสูงได้อย่างไร?ฮืม
- ทำสัญญารับซื้อ ผลผลิต... ตกลงดีกว่าหาตลาดเองหรือเปล่า?ฮืม

และอย่างที่เคยได้กล่าวไว้ในช่วงแรกๆ ว่า ผมมีเวลาเหลือ 6 เดือน ผมจึงมองหาพืชที่ปลูกแล้วเก็บเกี่ยวได้ใน 6 เดือน

คำตอบ ออกมาที่ เผือกหอม

เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ผมเริ่มเตรียมดิน ศึกษาการปลูก

หาบริษัทที่ทำสัญญา โทรไป 2-3 เจ้า

แต่ละเจ้าคุยดีมากครับ เช่น

- เรามีพันธุ์ให้พร้อม และเราจะพาคุณไปอบรมการปลูกด้วย
- ตอนเก็บ เราจะส่งคนมาเก็บ คุณจ่ายแค่ค่าแรง ซึ่งก็หักจากการรับซื้อเลย
- ตอนปลูก คุณทำตามที่เราวางแนวไว้ให้ รับรองได้เผือกหัวสวย ใหญ่ เกินกิโลกรัมแน่ๆ
- ยิ่งคุณเป็นมือใหม่ยิ่งดีเลย แนวทางเรา เหมาะกับมือใหม่ คนเคยปลูกเขาไม่ชอบ ไม่ค่อยทำตาม

ผมฟังแล้วก็หลงไหลตามไป แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาใดๆ เพราะที่ดินยังเตรียมไม่พร้อม

ต่อมา ผมศึกษาระบบธุรกิจ พันธุ์ไม้ เพิ่มเติม แล้วก็ได้พบความจริงว่า

- โดยส่วนใหญ่ หากใครที่เน้นขายพันธุ์ จะไม่ค่อยเน้นการทำผลผลิต (ยกเว้นที่ดินเขามีเยอะ เพียงพอ)
- ธุรกิจขายพันธุ์ มีการหลอกลวงเยอะมาก มากในหลายรูปแบบ
เช่น ขายจริง ราคาปกติ แต่ขายแล้วหายไป อันนี้เบาสุด / ขายพันธุ์มั่ว ตั้งชื่อเอง ไม่มีการรับรองใดๆ จากทางการ แล้วบอกว่าเป็นพันธุ์ใหม่สุดๆ อันนี้ไม่รู้คนขายจริงใจ คือ ไม่รู้จริงๆ ว่าพันธุ์จริงคืออะไร หรือไม่ก็คนขายตั้งใจหลอกจริงๆ / ขายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่พืนตลาดในไทย โดยบอกว่า มีออเดอร์จากเมืองนอก อันนี้เลวร้ายสุด เพราะปลูกแล้วโตแล้ว ขายไม่ได้ ไม่มีตลาดรับจริงในไทย / ขายพันธุ์คุณภาพต่ำ แต่หลอกคนซื้อว่าคุณภาพสูง พวกนี้เจอบ่อยๆ เป็นปกติเลย
- พวกเป็นหลอกลวง พอถามถึงการปลูกอย่างไรให้ได้ผลผลิตดีๆ จะเลี่ยงๆ ตอบ หรือตอบแล้วไม่ตรงกับหลักที่เราอ่านหรือเจอมา หรือตอบแบบพื้นๆ แล้วมักจะบอกว่า ยังไงก็ดูแล ไม่ต้องกลัวว่าปลูกแล้วจะเสียหาย เพราะถ้าเสียหาย "ผมเสียหายด้วย ส่งออกไม่ได้"

พอเจอแบบนี้

คำถามสำคัญคือ จะแยกยังไง ผมตอบได้เลยว่า "ไม่รู้" แต่ป้องกันได้คือ

1. ซื้อพันธุ์กับคนขายที่มีประวัติขายพันธุ์ยาวนาน
2. ซื้อพันธุ์ที่มีตลาดชัดเจนเท่านั้น (มันจะย้อนกลับไปที่หลักการต่างๆ ทั้งหมดที่เขียนไว้แล้ว ว่าเลือกพันธุ์ให้เลือกโดยตอบโจทย์หลักธุรกิจ)
3. ซื้อพันธุ์ที่ราคาไม่ถูก แต่ไม่แพงมากเจอเกินไป
4. อย่าคาดหวังว่าเราจะเป็นเจ้าแรก ที่ทำพันธุ์ใหม่ ...หากพึ่งก้าวสู่โลกเกษตรกรรม ดังนั้นควรเริ่มต้นกับพันธุ์เดิมๆ ที่มีตลาดแล้วก่อนดีกว่า
5. ในเน็ตได้ข้อมูล หน้าสวนหน้าไร่ ได้ความจริง ...หากจะลงทุน อ่านได้ ศึกษาได้ แต่ต้องไปที่หน้าสวนหน้าไร่ เพื่อคุยกับเกษตรกรตัวจริงๆ ถ้าคิดจะทำระบบสัญญา ให้หาบริษัที่เกษตรกรรายนั้นๆ เคยทำส่งทำค้าขายด้วยไม่น้อยกว่า 3 ฤดูกาล ไม่อย่างนั้นอาจเจอพวกสัญญาปลอมๆ หลอกขายพันธุ์ได้





 
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 ... 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: