หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 ... 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 244096 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #64 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2014, 08:19:07 AM »

การเลือกซื้อ ปั้มน้ำ

ก่อนเลือกซื้อปั้มน้ำ เราควรเข้าใจหลักการก่อน

1. ปั้มน้ำทำงานด้วยความแรงเพียงระดับเดียว ถ้าไม่มีระบบคอนโทรล เร่ง-ลด มอเตอร์เข้ามาช่วย ดังนั้น ปั้มจะทำงานที่ความแรงสูงสุดเดียวจุดเดียว

2. ประสิทธิภาพของน้ำที่ออก จะแปรผกผันกันระหว่าง Q กับ H เช่น Q มาก H จะน้อย เป็นต้น ดังนั้นปั้มน้ำที่ดี จะมีแค่ความแปรผกผันที่น้อย 

3. ขนาดของแรงม้า ไม่ได้เป็นตัวบอกประสิทธิภาพ การเลือกปั้มควรเลือกด้วย การคำนวณหาค่าใช้จ่าย W ต่อปริมาณน้ำ ในจุด H และ Q ที่เราใช้งาน

เช่น
ปั้ม A ขนาด 750 วัตต์ หรือ 1 แรงม้า สามารถส่งน้ำได้ 10Qต่อชั่วโมง ที่ H 25
ปัั้ม B ขนาด 375 วัตต์ หรือ 0.5 แรงม้า สามารถส่งน้ำได้ 6Qต่อชั่วโมง ที่ H 25

แสดงว่า

ปั้ม A ใช้ไฟฟ้า 1 วัตต์ จ่ายน้ำได้ 10,000/750 = 13.34 ลิตร
ปั้ม B ใช้ไฟฟ้า 1 วัตต์ จ่ายน้ำได้ 6,000/375 = 16 ลิตร

จากตัวอย่างนี้ จะเห็นว่า ปั้ม A กินไฟฟ้า เสียค่าใช้จ่ายระยะยาวสูงกว่า

แต่ปั้ม A จะได้เรื่องประสิทธิภาพการให้น้ำต่อ 1 เครื่องสูงกว่า จึงจ่ายน้ำได้เร็วกว่า

ทีนี้เราก็ต้องมาคิดชั้นที่ 2 คือ ถ้าเราใช้ปั้ม B 2 เครื่อง

เราจะได้ น้ำ 12Q เสียไฟฟ้า 750 วัตต์

ดูแล้วจะมากกว่าปั้ม A ด้วยซ้ำ

แต่สิ่งที่ต้องคำนวณต่อคือ

1. ราคา ปั้ม A เครื่องเดียว กับปั้ม B 2 เครื่อง ราคาต่างกันอย่างไร เอาราคาไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายต่อน้ำ 1 ลิตร ก็จะรู้คำตอบ
2. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ การมี 2 ปั้ม ต้องมีอุปกรณ์ท่อ ตู้คอนโทรล ระบบต่างๆ เพิ่มขึ้นมาเป็นสองเท่า
3. ชั่งน้ำหนัก ข้อดีข้อเสีย การมี 1 ปั้ม กับ 2 ปั้ม
4. อัตราการสูญเสีย ปั้มใช้มอเตอร์ ดังนั้น ประสิทธิภาพการแปลงไฟฟ้าเป็นกลศาสตร์ จึงสำคัญ มอเตอร์ที่ดี จะมีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานที่ดีด้วย

ข้อ 4 นี่ละ ที่โดยมาก ปั้มมียี่ห้อดีๆ จะได้เปรียบเรื่องนี้ ซึ่งส่งผลระยะยาวถึงค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าด้วย

---------------------------------------------------------------------

และจากหลักการข้อ 1 ที่ผมบอกไว้

ปั้มน้ำจึงมี ระบบเข้ามาช่วยอีก 1 ระบบ คือ ระบบอัดแรงดัน หลักการก็เหมือนท่อแอร์แว นั้นละครับ

คือ เมื่อปั้มน้ำทำงานจนแรงดันในท่อถึงจุดที่ตั้งไว้ ปั้มก็จะหยุดทำงาน เพื่อไม่ให้สูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์

ตรงนี้สำคัญที่ว่า ถ้าคุณคำนวณปั้มน้ำดีๆ แต่ละโซนใช้พลังจากปั้มจนหมด คุณก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบแรงดันใดๆ เพราะมันจะแทบไม่มีประโยชน์เลย

นึกถึงปั้มอัตโนมัติตามบ้านตัวเล็กๆ เวลาคุณเปิดน้ำแรงๆ สุดๆ มันจะทำงานดังตลอดเวลา แต่พอคุณเปิดน้ำค่อยๆ มันจะทำงานนิด แล้วก็หยุด แล้วก็สตาร์ทมาทำงานอีกนิด แล้วก็หยุด วนๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะปิดน้ำ

นั่นเพราะ ตอนคุณเปิดน้ำค่อยๆ ปั้มทำงานอัดแรงเข้าไปสูงกว่า ระบบจึงตัดไม่ให้อัดไปแรงกว่านี้
แต่พอคุณเปิดเต็มที่ ก็เรียกว่า อัดแรงเข้าไปพอดีกับการใช้งาน ระบบมันก็เลยไม่ตัด

ดังนั้น ระบบปั้มน้ำของคุณ ควรจะมีหม้อแรงดัน ก็ต่อเมื่อ คุณจัดแบ่งโซนน้ำแล้ว พบว่า แต่ละโซนใช้ประสิทธิภาพของปั้มไม่เท่ากัน

หรืออีกแนวทางหนึ่ง คือ ใช้การวางระบบท่อลดแรงดัน

คือ ท่อที่ต่อออกมาอีก 1 ทาง มีเกจวัดแรงดัน มีวาวล์ และท่อนั้นทางออกของน้ำก็กลับเข้าสู่ระบบแท็งก์น้ำ

เมื่อใดที่จ่ายน้ำแล้วมีแรงดันเหลือ ก็ต้องมาปรับลดเพิ่มที่วาวล์ โดยดูจากเกจวัดแรงดันเป็นหลัก

หากไม่ทำเช่นนี้ แรงดันที่เกิน จะทำความเสียหายให้กับระบบจ่ายน้ำ สปริงเกอร์ต่างๆ ได้

-------------------------------------------------------------------------

ส่วนผม โดยหลักการนี้ ปั้มน้ำ สำหรับจ่ายน้ำให้สวน จึงตกมาที่ SAER BP5



เหตุที่เลือกนี้ เพราะถ้าดูจากตาราง

เมื่อคำนวณทุกรุ่นที่มีแรงม้าไม่เกิน 2 แรง (เกินกว่านี้ไม่ได้ ไฟฟ้าไม่พอ)

พบว่า

1. เส้นประสิทธิภาพ ค่าแปรผกผันของ Q กับ H ค่อนข้างต่ำ ตัว BP5 มี H สูงสุดที่ 24 แต่สามารถจ่ายน้ำที่ H 23.5-22 ได้ Q ที่ 12-21Q

หมายถึงว่า เราสามารถจัดสรรโซนการจ่ายน้ำได้ค่อนข้างหลากหลาย เพราะประสิทธิภาพปั้ม ไม่ตก

เช่น เราวางมินิสปริงเกอร์ 200 หัว แต่ละหัวกินน้ำ 100 ลิตร ก็ได้เท่ากับ 20Q ปั้มนี้ก็ตอบโจทย์ วันหนึ่งเปลี่ยนไปใช้ สปริงเกอร์แค่ 150 หัว ก็ ก็ต้องการน้ำ 15Q ปั้มตัวนี้ก็ยังอัดแรงดันได้ H22-23 โดยประมาณ

ซึ่งหมายถึง เรายังใช้ประสิทธิภาพของมินิสปริงเกอร์ได้เต็ม (มินิสปริงเกอร์บางอันต้องการแรงดัน 1.5-2 บาร์ ในการฉีดน้ำ)

2. ปั้มนี้เป็นยี่ห้ออิตาลี โดยภาพรวมจึงไม่ต้องกังวลเรื่องประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานเหมือนปั้มจีน

3. จากกราฟนี้



จะเห็นว่า ที่ Q ต่ำ ปั้มใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ Q สูง ปั้มใช้พลังงานไฟฟ้าสูงตาม ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่า ปั้มจีนเป็นแบบนี้หรือไม่ แต่เท่าที่อ่านๆ มา

จะพบว่า มีปั้มหลายชนิดที่ต้อง ติดตั้งหม้อแรงดัน หรือไม่ก็ทำวาวล์ลดแรงดัน เพราะตัวปั้มมันไม่ปรับแรงตามปริมาณการใช้งาน

แต่ปั้มรุ่นนี้ เรียกว่าปรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าตามปริมาณการจ่ายน้ำด้วย

และเมื่อค้นหาในเน็ต ก็พบว่า ปั้มรุ่นนี้เป็นปั้มรุ่นยอดนิยมพอสมควรครับ ราคาก็ไม่แพง

---------------------------------------------
ท่านลองเอาหลักการนี้ ไปหาปั้มดูว่าตนเองเหมาะกับปั้มแบบไหน

ปั้มสำคัญ เพราะต้นทุนค่าพลังงานถือเป็นต้นทุนแฝงที่หลายคนอาจไม่ได้คิดถึง หากเลือกดีๆ เราจะควบคุมให้ค่าใช้จ่ายต่ำได้ ตามหลัก "ลดได้" ของผมก็ย่อมช่วยให้ ผลกำไรจากธุรกิจการเกษตรของเรามีมากขึ้น
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์

คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #65 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2014, 08:27:38 AM »

มีไอเดียให้คิดอีกนิด

สมมติผมเลือกปั้มไต้หวันตัวหนึ่ง ราคา 4000 บาท ต่อท่อเมน 2 นิ้ว

แต่ด้วยประสิทธิภาพของปั้มทำให้ต้องแบ่งโซนจ่ายน้ำออกเป็น 4 โซนถึงจะจ่ายน้ำได้หมด ดูเรื่องเวลาแล้วไม่เป็นปัญหา ดูดน้ำจากบ่อดิน

ผมเลยไปซื้อโซลินอยล์วาวล์ มาควบคุม 4 โซน วาวล์ละ 3500 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท

กลับทางกัน

ผมเปลี่ยนความคิด ผมซื้อปั้มมันเลย 4 ตัว ราคารวม 16000 บาท

อะไรคุ้มค่ากว่ากัน


ข้อคิดคือ
การเลือกซื้อปั้มน้ำ บางครั้งไม่จำเป็นต้องมีตัวเดียว สำหรับงานทุกโซน อาจเลือกซื้อปั้มที่เหมาะกับงานแต่ละงาน จะดีกว่า และการวางระบบน้ำต้องคำนวณค่าใช้จ่ายทุกอย่าง แล้วถึงค่อยตัดสินใจ ไม่ใช่ค่อยๆ เลือกมาประกอบทีละอย่าง



บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
tonaka
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 186


« ตอบ #66 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2014, 09:35:27 AM »

ติดตามครับ ผมชื่อต้นครับผมอยู่ภูเขียว เดี๋ยวจะขอคำแนะนำด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #67 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 08:28:02 AM »

ติดตามครับ ผมชื่อต้นครับผมอยู่ภูเขียว เดี๋ยวจะขอคำแนะนำด้วยนะครับ


อยู่ใกล้กันดีครับ มีคำถามอะไร ถามในกระทู้นี้เลยครับ ผมตอบได้จะได้ช่วยตอบ ผมตอบไม่ได้ เผื่อเพื่อนๆ ท่านอื่นๆ เข้ามาอ่านจะได้ช่วยตอบ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
Adisak009
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #68 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 11:29:51 AM »

ติดตาม ผลงานอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #69 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 05:04:28 PM »



 เข้ามาลงชื่อติดตามครับ
บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #70 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 05:18:00 PM »

วันนี้ไม่ได้เขียนอะไร

เครียดครับ งานมีปัญหา เลยไม่ได้มีสมาธิเขียน

แต่ยังมีเรื่องเล่าอีกเยอะ กว่าจะถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน

เช่น

- การตัดสินใจเลือกระบบไฟฟ้า
- การเลือกเครื่องมือการเกษตร
- การเลือกพืชที่จะปลูกเพื่อสร้างรายได้
- ปัญหาธุรกิจหลอก(หรือไม่หลอก) ขายพันธุ์พืช ที่ผมเกือบโดน (แต่เพื่อนโดนไปแล้ว)
- การสืบหา คลังแสง สำหรับสวน (ปุ๋ย ยา วัสดุปลูก)

ยังไงก็ติดตามกันไปนะครับ

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #71 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 05:18:23 PM »



 เข้ามาลงชื่อติดตามครับ

นึกว่าจองที่นั่ง VIP ไว้แล้วเสียอีก 555
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
aumblueford
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 160


« ตอบ #72 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 09:22:58 PM »

สวัสดีครับ ผมชื่ออุ้มครับ อายุ34 ปี อยู่ศรีสะเกษครับ ขออนุญาตมาเก็บความรู้ไว้ทำตามครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #73 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2014, 07:35:22 AM »

สวัสดีครับ ผมชื่ออุ้มครับ อายุ34 ปี อยู่ศรีสะเกษครับ ขออนุญาตมาเก็บความรู้ไว้ทำตามครับ ยิงฟันยิ้ม

ยินดีครับคุณอุ้ม มีอะไรก็มาแชร์กันนะครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #74 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2014, 08:05:19 AM »

วันนี้ขอต่อเรื่องระบบน้ำ ให้จบในสาระสำคัญ (แต่อย่างที่บอกครับ หลักการเรื่องน้ำ มีหลักการเดียวกันหมด แต่การออกแบบขึ้นกับสภาพพื้นที่และการใช้งาน ดังนั้น จะลอกเลียนแบบการวางระบบน้ำของใคร ต้องดูตามสภาพความเป็นจริงของเราด้วย)

วันนี้ขอพูดเรื่อง Head Loss กับ water Hammer

อย่างที่ได้เขียนไปแล้วเรื่อง Q กับ H

ตัว Q นั้น คำนวณและจัดการง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย หลักการคือ "ใช้น้ำต่อ 1 โซนเท่าไร ใช้ Q เท่านั้น"

ดังนั้น โดยหลักการนี้ หาก "หาปั้มจ่าย Q ตามต้องการไม่ได้ --> แบ่งโซน"
 
แต่สิ่งที่ยุ่งยากคือ H ซึ่งแปรผกผันกับ Q นั้นเองครับ

และจากหลักการว่า Q แก้ได้ด้วยการแบ่งโซน ดังนั้น เราควรต้องจัดการ H ให้ได้คำตอบก่อน

ค่า H จะลดลงตามแรงต้านในระบบท่อ ซึ่งเราเรียกว่า "Head Loss"

หลักการของ Head Loss ง่ายๆ คือ

1. ท่อใหญ่ เสีย Head Loss น้อยกว่า ท่อเล็ก
2. ข้อต่อหักฉาก 90 องศา เสีย Head Loss มากกว่าข้องอ 90 องศา ข้องอยิ่งองศาน้อย ยิ่งเสีย Head loss น้อย
3. ข้องอชุดแรก ควรมีระยะห่างจากแหล่งจ่ายน้ำ พอสมควร ยิ่งใกล้แหล่งจ่ายน้ำ ยิ่งเกิด Head Loss ได้ง่าย เหมือนรถปล่อยออกจากจุดสตาร์ทแล้วเลี้ยวเลย รถก็จะเบรกหักหลบกันวุ่นวาย กับรถปล่อยออกมาระยะหนึ่ง เริ่มเรียงตัวกัน แล้วค่อยเลี้ยว แบบหลังจากเลี้ยวได้เร็วกว่า

ดังนั้นในการออกแบบเส้นทางของท่อ หากมีข้อต่อที่เป็นข้อ งอ ได้น้อยเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น 

เมื่อเราคำนวณคร่าวๆ แล้ว ก็จะได้ H พื้นฐาน ทีนี้โดยมากเราไม่ซื้อ H ที่พอดีกับค่าที่คำนวณ เพราะต้องเผื่อความผิดพลาดไว้บ้าง ก็ควรซื้อมากกว่าที่กำหนดไว้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ยังคงไว้ซึ่งความคุ้มค่า เช่น

ได้ค่า H เท่ากับ 20 มีปั้มตัวหนึ่ง H 30 จ่าย Q = 30 ราคา 10000 บาท กับปั้มอีกตัว H 28 จ่าย Q =31 ราคา 9500 บาท

ราคาต่างกัน 500 บาท แบบนี้ เลือก H30 ดีกว่า H28

เพราะปัญหา Q ไม่พอ แก้ไขง่าย ด้วยการแบ่งโซน แต่ H ไม่พอ แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนปั้ม (ในกรณีที่ออกแบบระบบท่อดีแล้ว)


ทีนี้ เราออกแบบระบบท่อดีไม่ดี ต้องมีการตรวจสอบ

การตรวจสอบ Head Loss ในระบบตอนทำงานจริงๆ ต้องใช้เกจวัดแรงดัน

วัดจากจุด A ไปจุด B หากมีการเสียค่า H เกินกว่าที่คำนวณไว้ ต้องกลับมาตรวจสอบแก้ไขปัญหา ว่าอะไรคือสาเหตุ

หากตรวจสอบพบก็แก้ไข และจัดการให้เรียบร้อยแล้ว
--------------------------------------------------------------------

Water Hammer

คือ ฆ้อนน้ำ แปลตรงๆ เลย คือ จังหวะที่น้ำมีแรงกระทำกับระบบท่อต่างๆ เสมือนเอาค้อนทุบ โดยหัวค้อนก็คือ น้ำนั้นเอง



Water Hammer เกิดได้จากหลายสาเหตุ

ผลของมันจะกระทำต่อจุดที่อ่อนที่สุดของระบบ ทำให้รั่ว แตก เสียหาย

แนวทางแก้ไขแบบง่ายๆ คือ การใส่ท่อปรับแรงดัน หรือที่เราเรียกว่า แอร์แวะ นั้นละครับ




ดังนั้น แอร์แว จะเข้ามาแก้ไขปัญหา 2 เรื่อง คือ Water Hammer กับ ปัญหาอากาศค้างท่อ

การแก้ไข Water Hammer ควรใส่ แอร์แว บริเวณช่วงต้นของการส่งน้ำ เช่น ห่างจากปั้มน้ำ 2-3 เมตร

เพราะโดยหลักการแล้วเราจะป้องกันตัวปั้มไม่ให้เสียหายจาก Water Hammer (ท่อเสีย ก็ปะต่อได้ไม่แพง - โดยมากใส่เช็ควาลว์ป้องกันหน้าปั้มอีกทีหนึ่งอยู่แล้ว)

จึงวางแอร์แว ไว้ด้านหน้า เมื่อเกิด Water Hammer พื้นที่อากาศในแอร์แว จะทำหน้าที่เสมือนลูกสูบขึ้นลง เพื่อปรับระดับคลื่นน้ำให้นิ่ง


แต่แอร์แวที่ติดตั้งหน้าปั้ม ไม่ได้ช่วยเรื่อง อากาศค้างท่อเลย

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #75 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2014, 08:21:16 AM »

อากาศค้างท่อคืออะไร

ในระบบท่อน้ำ อากาศสามารถวิ่งเข้าไปแทนที่น้ำได้เสมอ

หากระบบท่อวางได้ระดับ น้ำก็จะไล่อากาศออกไปได้หมดเช่นกัน

แต่ในการวางระบบท่อในสวนหรือไร่ของเกษตรกร ยากยิ่งที่จะทำให้ท่อได้ระดับเดียวกัน

เมื่อท่อมีโค้งงอ ขึ้นๆ ลงๆ

หากมีอากาศเข้าไป อากาศจะถูกไล่ไปอยู่ที่สูงสุดเสมอ

หมายความว่า ถ้ามีท่อโค้งเป็นตัว ยู คว่ำ อากาศจะค้างอยู่ส่วนบนสุดเสมอ

กลายเป็นตัวขัดขวางการเดินของน้ำ ให้น้ำเดินไม่สะดวก

จึงต้องกำจัดอากาศออกไปให้หมด

ซึ่งการกำจัดมี 2 วิธีง่ายๆ

คือ ใส่วาลว์เปิดปิด เพื่อไล่อากาศ

วิธีนี้ ให้ใส่วาลว์เปิดปิด ที่ตำแหน่งสูงสุดของท่อ ต่อทุกโค้งท่อ กล่าวคือ ถ้าท่อมีความโค้งขึ้นๆ ลงๆ เป็นเนินหลายลูก ต้องใส่ที่สุดสูงสุดของเนินทุกลูก

แล้วเวลาใช้งานก็ต้องไปเปิดวาลว์ให้อากาศออกจนมีน้ำออกมาค่อยปิด


จะเห็นว่ามันยุ่งยากกว่า

เลยใช้วิธีที่สอง ทำแอร์แว

เอาแอร์แว แทนที่วาลว์  ผลคือ อากาศที่ค้างอยู่ จะถูกเก็บไว้ในท่อแอร์แว แทน (เขาถึงเอามาตั้งชื่อ มาจาก แอร์ (อากาศ) แวะ )

เมื่ออากาศมาค้างอยู่ในท่อ พอถึงระดับหนึ่ง จะเกิดแรงอัด อากาศ ทำให้ ดันน้ำที่เข้ามาอยู่ในท่อออกไป

เมื่อดันน้ำออกไป อากาศก็มีแรงดันลดลง น้ำก็จะอัดมาแทนที่อีก

ผลของความต่อเนื่องเช่นนี้ จึงกลายเป็นว่า แอร์แว ทำหน้าที่เป็น กระบอกสูบและชักน้ำ ในตัว

จึงทำให้หลายๆ คน ติดตั้งแอร์แว แล้วบอกว่า น้ำแรงขึ้น จริงๆ แล้ว มันแค่ชดเชย แรงดันที่เสียไปให้กลับมา


ดังนั้นแอร์แว บางคนที่เอาไปติดตั้งแล้วบอกไม่ได้ผล เกิดจาก

1. ไม่มีอากาศในระบบ
2. ระบบทำงานอย่างสมบูรณ์ ได้แรงดันคงที่ตลอด จนเกิดสมดุลย์แรงดัน ไม่มีการเคลื่อนที่ภายในแอร์แว



ดังนั้นคำถามที่ว่า ติดตั้งแอร์แว ต้องติดหรือไม่

คำตอบง่ายๆ ติดหากมีปัญหา ไม่ติดหากไม่มีปัญหา

แต่ด้วยราคาที่ไม่แพง ติดไว้สักจุดสองจุด ก็คงไม่เสียหาย 555
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #76 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2014, 04:24:16 PM »

การตัดสินใจเลือกระบบไฟฟ้า


เรื่องนี้จริงๆ สำหรับบางคนไม่เป็นปัญหา แต่สำหรับบางคน โค ตะ ระ ปัญหาเลย

สำหรับผม เรื่องนี้ก็เป็นปัญหา มันมาเป็นปัญหาเพราะผมติดตามข้อมูลผิดๆ

จริงๆ แล้ว ระบบไฟฟ้า เป็นเรื่องแรกๆ ที่ผมคิด และหาข้อมูล

ที่ดินของผม เสาไฟฟ้าแรงต่ำ ต้นสุดท้าย ห่างไป 80 เมตร

ผมจึงเริ่มอ่านข้อมูล บางคนบอก ขยายเขต เสียค่าเสาต้นหนึ่งหลายหมื่น

คิดๆ แล้ว ผมต้องเสียค่าเสาให้การไฟฟ้า อย่างน้อย 2 ต้น และเสียเสาภายในที่ดินอีก 2 ต้น คำนวณแล้ว โห หลายหมื่น

คร่าวๆ ตอนนั้นคิดเล่นๆ ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นบาท

เจอตัวเลขนี้ไป ก็เลยหันไปหาพลังงานทางเลือกแทน

ได้ความเป็นระบบโซล่าเซลล์

ลองวางระบบ คำนวณพลังงานที่เราต้องใช้ คำนวณจุดคุ้มทุน

อืม... พบว่า ลงทุนแค่ 6 ปี ก็คืนทุนค่าไฟฟ้า ที่ต้องจ่ายหากให้ไฟฟ้ามาขยายเขต

-------------------------------------

บอกตรงๆ ผมตกหลุมพรางตรงนี้นานมาก หลุมพรางที่ว่า ต้นทุนของระบบโซล่าเซลล์ จะคืนทุนภายใน 6-7 ปี

และผมก็นำไปเทียบกับการลงทุนขยายเขตไฟฟ้า

ทั้งๆ ที่ผมลืมไปสนิทเลยว่า หากผมลงทุนขยายเขต ผมได้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า ที่โซล่าเซลล์ เพียงจุดเดียวจะทำได้ อย่างน้อยๆ ผมได้ไฟฟ้าสูงสุด 45A ตามมิเตอร์ไฟฟ้ามาตรฐาน

ซึ่งเท่ากับ 9900W

หรือท่าเทียบ เป็นระบบโซล่าเซลล์ ผมต้องลงทุน... หลายแสนบาท

คิดได้ดังนี้

ผมเลยรีบหันไปขอหม้อไฟฟ้าเลยทันที

สรุปค่าใช้จ่ายจริงๆ คือ 16000 บาท เป็นค่าขยายเขตที่ดิน ส่วนการเดินไฟฟ้าในที่ดิน เป็นปัญหาของเรา ไม่ใช่ของไฟฟ้า 555

=======================================================================

หลักคิดในการเลือกระบบไฟฟ้า
1. จำไว้เลยว่า เป้าหมายสุดท้ายของระบบพลังงานในไร่สวน อย่างไรก็คือ ระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพราะเป็นค่าพลังงานที่ถูกที่สุดแล้ว
2. ให้ติดต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินการสำรวจ และประเมินราคา เมื่อได้ราคามาค่อยคิดต่อ ...อย่าประเมินเอง เพราะอาจผิดพลาดหรือความจริงทางการไฟฟ้ามีงบขยายอยู่แล้ว ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้
3. มีเสาไฟฟ้าใช่ว่าจะมีไฟฟ้า เสาที่ว่าอาจเป็นเสาแรงสูง การนำมาใช้ ต้องมีหม้อแปลงให้กลายเป็นแรงต่ำ ซึ่ง ก็จะกลับไปที่ข้อสอง คือ ให้ไฟฟ้ามาตรวจสอบราคาก่อนดีที่สุด ตรวจแล้วแพง ไม่ต้องทำก็ได้
4. เมื่อได้ราคามา ค่อยมาตัดสินใจว่า สู้ไหวหรือไม่ ถ้าไหว ไม่ต้องไปมองระบบอื่นๆ เลย (จากหลักคิดข้อ 1)
5. หากสู้ราคาไม่ไหว ค่อยมาคำนวณว่า เราต้องใช้ไฟฟ้าเท่าไร คิดเป็นกี่วัตต์ต่อวัน ปริมาณสูงสุดกี่วัตต์ แล้วจึงนำมาคำนวณว่าต้องใช้ระบบโซล่าเท่าไร อย่างไร
6. ได้ต้นทุนระบบโซล่าแล้ว นำมาเทียบระบบเครื่องปั่นไฟฟ้าด้วยแก๊ส ว่าอะไรคุ้มค่ากว่ากัน แล้วค่อยเลือก

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #77 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2014, 04:35:50 PM »

ในกรณีที่สู้ค่าขยายเขตไฟฟ้าไม่ไหว

ถ้าต้องใช้ไฟฟ้าเยอะ แต่เงินน้อย ไม่ต้องไปมองโซล่าเซลล์เลยครับ อันนั้น ยิ่งใช้ W มาก ยิ่งลงทุนมาก

ดังนั้นต้องการใช้ W มาก มีทางเลือกคือ เครื่องปั่นไฟฟ้าด้วยแก๊ส เสียค่าใช้่จ่ายชั่วโมงละ 10-20 บาท ได้ไฟฟ้าอย่างน้อย 3000-5000W

และมีต้นทุนค่าเสื่อมในการบำรุงรักษาระบบอีกเล็กน้อย


แต่ถ้าใช้ไฟฟ้าไม่เยอะ แต่ใช้เรื่อยๆ ใช้ตลอดเวลา

มีทางเลือกได้ทั้งเครื่องปั่นไฟฟ้า และโซล่าเซลล์

----------------------------------------------

การคำนวณค่าใช้จ่ายระบบโซล่าเซลล์

มีวิธีคิดดังนี้

1. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อวัน คิดเป็นกี่ วัตต์ --> ค่า วัตต์ เป็นค่า "งาน" ของไฟฟ้า หมายถึง ไม่แปรเปลี่ยนตาม โวลล์ หรือแอมป์ ดังนั้นไม่ต้องสนใจว่า อุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ใช้ไฟ 220V หรือ 12V ให้ดูที่วัตต์โดยตรง

ตัวอย่างเช่น

ใช้พัดลม 180W เปิดวันละ 5 ชั่วโมง ก็เท่ากับ 180*5 = 900W
ใช้หลอดไฟ LED 5W เปิดวันละ 5 ชัวโมง ก็เท่ากับ 5*5 = 25W
ใช้ปั้มน้ำ 375W (0.5HP) เปิดวันละ 4 ชั่วโมง ก็เท่ากับ 375*4 = 1500W

ดังนั้นใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 900+25+1500 = 2425W ต่อวัน

2. หาช่วงเวลาใช้ไฟฟ้ามากที่สุด

จากตัวอย่างสมมติว่า ปั้มน้ำ เปิดเฉพาะตอนเที่ยง ยาวถึงเย็น แต่พัดลมกับหลอดไฟ เปิดตอนกลางคืน ตอน ทุ่มถึงเทียงคืน

เราก็จะพบว่า W สูงสุดที่ต้องจ่ายให้ระบบคือ 375W เท่านั้น (ปั้มน้ำใช้สูงสุดต่อชั่วโมง)


3. ได้ปริมาณวัตต์สูงสุดต่อชั่วโมงแล้ว ก็หาแหล่งจ่ายไฟฟ้า ซึ่งในที่นี้คือ โซล่าเซลล์

ก็จะได้ว่าต้องใช้โซล่าเซลขนาดแผง 100W ทั้งหมด 4 แผง เป็นอย่างน้อย ถึงจะจ่ายไฟฟ้าให้กับปั้มน้ำได้ ใช่หรือไม่

คำตอบคือ ทั้งใช่และไม่ใช่ หากระบบไฟฟ้าทั้งหมดไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กระชากไฟ ก็จะตอบว่าใช่ แต่จากตัวอย่าง จะตอบว่าไม่ใช่ เพราะ ปั้มน้ำเป็นมอเตอร์ และมอเตอร์ทุกชนิดมีการกระชากไฟฟ้า ก่อนการหมุน ตรงนี้เราต้องดูอย่างละเอียดว่ากระชากไปเท่าไร หรือไม่งั้นก็ต้องติดตั้งคอนโทรลมอเตอร์ เพื่อตัดปัญหาการกระชาก

4. เราจะเห็นว่า จากข้อ 3 เราจะมีไฟฟ้าไว้ใช้งานตอนมีแดดแล้ว และรองรับปริมาณการใช้งานได้พอเพียง แต่จากตัวอย่าง เราเปิดพัดลมกับหลอดไฟตอนกลางคืน ดังนั้น ก็ต้อง มีระบบสำรองไฟฟ้า ซึ่งคือ แบตเตอรี่นั้นเอง

แล้วแบตเตอรี่ขนาดเท่าไรจึงพอ หลักการก็คำนวณเหมือนข้อ 1 คือ อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ มีกี่วัตต์ คำตอบคือ 180+25 วัตต์ เท่ากับ 205 วัตต์ต่อชั่วโมง

ใช้ไฟฟ้า 5 ชั่วโมง เท่ากับ 1025 วัตต์

จากสมการทางไฟฟ้า P=VI เราจะได้ว่า I = P/V

I = 1025/12 --> 12V ของแบตเตอรี่
I = 85.42A

เท่ากับว่า ใช้แบตเตอรี่ รถกะบะขนาด 90A หรือ 100A เพียงแค่ 1 ลูก ก็เพียงพอสำหรับการใช้ไฟฟ้าทั้งคืน

5. เมื่อใช้ไฟฟ้าหมดแบตเตอรี่ ก็ต้องชาร์จคืนกลับ จากแผงโซล่าเซลล์

เราจะได้ว่า ใน 1 ชั่วโมง ชาร์จคืนได้ 400W แต่อัตราแปลงพลังงานแดดเป็นไฟฟ้านั้นไม่คงที่แน่นอน เราสมมติไว้ที่ 90% ก็จะได้ 360W ต่อชั่วโมง

ทั้งนี้เรามีชั่วโมง 4 ชั่วโมง ที่จ่ายไฟฟ้า 375W (ซึ่งถ้าคำนวณที่ 90% ก็จะจ่ายไฟฟ้าไม่พอ)

ดังนั้นเราเลือกชั่วโมงชาร์จไฟฟ้าจริงๆ แค่ 3 ชั่วโมง (คำนวณแบบง่ายๆ ว่าวันหนึ่งใช้แดดได้ 9 ชั่วโมง) หรือเท่ากับ 360*3 = 1080W

ซึ่งก็เพียงพอต่อการชาร์จแบตเต็มจากการที่เราใช้งานเมื่อคืน


6. คิดเผื่อเหลือเผื่อขาด

จากการคำนวณง่ายๆ นี้ เราจะเห็นว่า แผงโซล่า 4 แผง นั้น เสี่ยงเกินไปทั้งเรื่องจ่ายไฟฟ้าให้ปั้ม และชาร์จไฟเข้า หากวันใดที่แดดอ่อนทั้งวัน ฝนตกทั้งวัน เราก็อาจมีไฟฟ้าไม่พอต่อการชาร์จแบต หรือ จ่ายไฟฟ้าให้ปั้ม

ดังนั้น เราต้องคิดเผื่อเหลือเผื่อขาด ซึ่งจุดนี้ ก็แล้วแต่จะคิดว่ามีงบเท่าไรก็เผื่อเพิ่มไปเท่านั้น เช่น เพิ่มแผงไปอีก 1 แผง เป็น 500W ก็จะช่วยให้ชาร์จไฟในแบตเตอรี่เต็มเร็วขึ้น

ในทางกลับกัน ของแบตเตอรี่ แค่ 1 ลูก ใช้ไฟฟ้าจนหมดเกลี้ยงนั้น ถือว่าไม่ดี ก็ควรเพิ่มเป็น 2 ลูก เพื่อให้จ่ายไฟฟ้าได้นานขึ้น เผื่อวันที่แดดอ่อน ชาร์จไม่เข้า


7. หากคุณอ่านวิธีการคำนวณของเซียนระบบโซล่า เขาจะคำนวณกันเป็นวัน และมีค่าตัวแปรให้คูณ ค่าตัวแปรที่ว่าคือ ตัวแปรสำหรับเผื่อนั้นเอง ซึ่งโดยเท่าที่ผมลองศึกษามา ตัวแปรที่ว่าค่อนข้างตรง สามารถนำไปใช้ได้เลย จะช่วยให้การคิดวางระบบโซล่าทำได้ง่ายขึ้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2014, 05:01:31 PM โดย avatayos » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #78 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2014, 08:52:42 AM »

การเลือกปลูกพืช เพื่อสร้างรายได้

เขียนเรื่องไฟฟ้าและน้ำ ไม่ค่อยมี Feedback เท่าไร 555 คงเพราะไม่ค่อยอยู่ในความสนใจของเพื่อนๆ สมาชิก

แต่สำหรับผม ถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับคนงบน้อย (คนงบเยอะเขาเอาเงินลงจัดการได้เลย)

ดังนั้น เพื่อให้บริหารได้ภายใต้แนวคิด "สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน" จึงต้องใส่ใจตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนผังของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

---------------------------------------------
นับย้อนไป 2 ปี

หลังจากผมตัดสินใจได้ว่า จะทำการเกษตร ผมบอกทุกคนว่า "ผมจะปลูกไผ่"

เหตุผลง่ายๆ
- ไม่ต้องดูแล
- โรคน้อย
- ตัดหน่อขายก็ได้ ขายไม่ทัน ไว้ลำ ขายเป็นลำก็ได้ แปรรูปเป็นถ่านคุณภาพ เป็นนู้นนี่ได้มากมาย ใบก็บำรุงดิน

ในตอนนั้นฝันมากครับ ที่ดินสัก 20 ไร่ ปลูกไผ่ คงรวยปีเป็นล้าน

ผ่านไป 5 เดือน
พืชตัวอื่นๆ ก็เริ่มเข้ามาในชีวิต ปลูกนั้นก็ดี ปลูกนี้ก็ดี เพาะเห็ดก็ดี เลี้ยงไก่ก็ดี เลี้ยงหมูก็ดี

หลงครับ หลง

ที่ดินก็ยังไม่มี ... แต่หลงคิดไม่จบว่า ตกลงตรูจะทำอะไรหากินดีเนี่ย น่าทำไปหมด

มันก็เหมือนกับ เวลาเราไปเจอธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจ แล้วเราก็อยากทำ

เหมือนเราไปเจอ ร้านเค้กอร่อยๆ เราก็อยากทำร้านขนม
เห็นเขาเปิดร้านกาแฟ เราก็อยากเปิด
เห็นเขาเปิดร้านสเต็ก 39 บาท เราก็อยากเปิด

แต่จากประสบการณ์ในการลงทุนในชีวิตผม ที่เรียกว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร แค่พอมีพอกิน ผมได้หลักคิด

1. ต้องรู้กระบวนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนจบ และต้องทำเองได้ ทำเองเป็น (แต่ไม่เกี่ยวว่าต้องลงมือทำ)
    - ข้อนี่ผมเห็นเกษตรกรหลายคน รวมถึงเพื่อนผมหลายคนที่ก้าวลงมาเป็นเกษตรกร ทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ ส่วนใหญ่ที่มีแนวโน้มสำเร็จ คือ เรียนรู้กระบวนการผลิตอย่างจริงจัง และลงมือทำเองทั้งสิ้น ส่วนพวกที่ปลูกแล้วเสียหาย ขายไม่ค่อยได้ จมเงิน คือ พวกที่ไปเรียน แล้วมาสั่งๆ ๆ ให้คนทำต่อ เพราะคิดว่า เรียนแล้วรู้แล้ว แค่บริหารก็น่าจะพอ

    แต่จริงๆ มันไม่พอ

2. ต้องรู้กระแสเงิน
   - พืชที่เราเลือก เราต้องรู้ว่ากระแสเงิน หมุนเวียนอย่างไร เก็บเกี่ยวตอนไหน ราคาเท่าไร จะได้เงินเท่าไร จะต้องเสียค่าใช้จ่ายระหว่างที่รอเก็บเกี่ยวเท่าไร
   - ครั้งหนึ่งผมเคยทำสินค้าตัวหนึ่ง ต้นทุน 3 แสน กำไร 2 แสน รายรับรวม 5 แสนบาท ถือว่ากำไรดี มาร์จิ้นใช้ได้ แต่ผมไม่รู้เลยว่า 30% ของสินค้าที่ค้างอยู่ในตลาด จะมีวงจรชีวิตที่นานมาก ถึง 2 ปี กว่าจะหมด ทำให้ ที่สุดแล้ว สินค้า 30% หรือมองแบบกระแสเงินสดก็คือ กำไร 30% ที่ค้างอยู่นั้น
หากขายไม่ได้เลย ผมก็กำไรแค่ 10% ในระยะเวลา 2 ปี หรือแค่ 5% ต่อปี จากสินค้าที่กำไร 40% เหลือ 10% ในทันที หรือหากมองแบบบัญชี ผมก็จมเงินทุนไป 18% โดยไม่ก่อให้เกิดรายได้เลย
     
    หากผมทำสินค้าแบบนี้ออกมาแค่ 3 รอบ ผมก็แทบจะไม่มีเงินสดหมุนเวียนอีกเลย เพราะเงินทุนจมไป 54%

    ดังนั้นการทำอะไรขาย เราต้องรู้ระบบกระแสเงินสดของสินค้านั้นให้ดี ลองวางใส่ Excel ง่ายๆ คำนวณเป็นรอบๆ ว่า ลงทุนแล้วมันพอที่จะคล่องตัวหรือไม่

3. ตลาดต้องกว้าง อายุตลาดต้องนานพอ

   - พืชที่เราจะปลูก ขายให้ใคร ระยะเวลาขายนานเท่าไร เมื่อเทียบกับอายุของผลผลิต  เช่น ปลูกเผือก เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยว ต้องเก็บเกี่ยว ไม่งั้นเผือกฝ่อ เก็บเกี่ยวแล้วรักษาดีๆ อยู่ได้ไม่กี่เดือน ระยะเวลาตรงนี้เป็นตัวกำหนดระยะเวลาวางขายของเรา ว่าเราจะขายได้กี่เดือน ผลผลิตเรามีแค่ไหน เราจะขายหมดทันไหม
   - หากขายไม่ทัน มีตลาดอื่นอีกไหม นอกจากตลาดสด อย่างเผือก บางคนก็เอาไปแปรรูปเป็นขนม ก็ยืดอายุออกไปได้อีกนาน หรือ เพาะเห็ดหอม ถ้าไม่ขายสด ก็ขายแบบตากแห้งได้ ปลูกพริกไทย ถ้าไม่ขายพริกไทยสด ก็ขายพริกไทดำ ก็ได้ เป็นต้น
   - ตรงนี้พืชหลายตัว ทำได้หลายอย่าง ในขณะที่พืชบางตัวทำได้แค่อย่างเดียว เอาไปทำอย่างอื่นๆ ไม่ได้ ความเสี่ยงตรงจุดนี้เราต้องรู้และกำหนดการรับมือให้ได้

4. ความต้องการ และระยะเวลาอิ่มตัวของความต้องการ
   - ปลูกอะไรก็ขายได้ ถ้ามีความต้องการ ... ทำอะไรก็ขายได้ ถ้ามีความต้องการ สมัยผมเปิดบริษัท สินค้าตัวแรกของผม ขึ้นแท่นขายดีอันดับ 1 ในร้านค้าปลีกยี่ห้อดัง และขึ้นแท่นขายดีอันดับ 3 ในร้านค้าปลีกยี่ห้อดังอีกเจ้าหนึ่ง    ผมจึงเพิ่มปริมาณการผลิตเข้าไปอีกเกือบเท่าหนึ่ง ผลคือ มีสินค้าคงเหลือในตลาด 20% และใช้เวลากว่า 2 ปี ในการขายให้เหลือ 10% ทุกวันนี้เหลืออยู่ 8% ในคลังสินค้า ที่ผมตัดมูลค่าทางบัญชีเป็น 0 ไปแล้ว
   - ผมบอกตรงๆ ตลาดความต้องการพืชนั้น ผมเองไม่เคยศึกษา แนะนำอะไรไม่ได้ แต่มีข้อคิดง่ายๆ แค่

"อะไรที่มันปลูกยาก ทำยาก ถึงจะมีคนแห่ทำกันเยอะ ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จกันทุกคน"
"ปลูกก่อน เริ่มก่อน ขายก่อน มีโอกาสก่อน"
"ปลูกให้ถูกจังหวะ เก็บขายตอนตลาดมีความต้องการ ถึงเป็นพืชที่คนปลูกมาก ก็ย่อมขายได้"
"พืชที่ระยะทางส่งผลเสียหายต่อผลผลิตได้ หากความต้องการยังมี ตลาดยังเปิด ย่อมน่าลงทุน"

----------------------------------------------------------------
จากแนวคิดทั้ง 4 ข้อ ต้องไปทำการบ้านต่อ

1. แถวๆ ที่ดิน เขาปลูกอะไรกันบ้าง ระยะสัก 100 กิโลเมตร
2. แถวๆ ที่ดิน มีตลาดสดขายปลีกและขายส่งที่ไหนบ้าง ในระยะ 100 กิโลเมตร
3. แถวๆ ที่ดิน ชาวบ้านเขาบริโภคอะไรกันเป็นหลัก
4. แถวๆ ที่ดิน มีคู่แข่งทางตรงอย่างไร ทางอ้อมอย่างไร

-----------------------------------------------------------------
จากการบ้านผมจึงได้คำตอบว่าผมจะปลูกอะไรบ้าง ในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

1. ปลูกไผ่ เป็นแนวรั้ว บังลม ป้องกันสารเคมีจากที่ดินข้างเคียงทำร้ายสวน เป็นแนวกันไฟ เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง ตัดแต่งทรงก็จะนำลำไปขาย หรือใช้งานภายในสวน คำนวณปริมาณปลูกได้ประมาณ 800-1000 ก่อ

2. ปลูกข้าว เป็นคลังข้าวประจำครอบครัวและคนงาน ใช้ฟางข้าว ใช้แกลบ ที่ได้จากการผลิตให้เป็นประโยชน์ พื้นที่ปลูก 4 ไร่

3. เพาะเห็ดหอม เนื่องด้วยสภาพที่ดินใกล้เขตอุทยานแห่งชาติ อุณหภูมิในช่วงกลางคืนค่อนข้างเย็นตลอดปี ส่วนช่วงกลางวันในหน้าร้อนจะร้อนมาก แต่สามารถปรับสภาพพื้นที่ให้เย็นได้ด้วยการสร้างโรงเพาะเห็ด ในพื้นที่สวนไผ่ โดยคร่าวๆ น่าจะสร้างได้ 6 โรงเรือน ผลผลิตเห็ดหอมน่าจะมีพอประมาณ ขายทั้งสดและตากแห้ง --> จาก Timeline แบบนี้ กิจการเห็ดหอม จึงต้องดำเนินการลงทุนภายหลังที่สวนไผ่ เติบโตเต็มที่ หรืออีกไม่ต่ำกว่า 3 ปี

4. สวนมะนาว ขายผล เน้นการทำมะนาวนอกฤดู เนื่องจากในพื้นที่ใกล้เคียง มีสวนมะนาวน้อย และที่ดินตั้งอยู่บนเส้นทางการค้า ที่กระจายสินค้าได้ทั่ว ปริมาณความต้องการมะนาวในหน้าแล้งจึงมีสูง ไม่จำเป็นต้องแข่งกับพื้นที่ปลูกกลุ่มใหญ่คือ พิจิตร เนื่องจากมีแนวเขาเพชรบูรณ์ เป็นกำแพงกั้นการค้า หากเราผลิตได้ เราย่อมส่งขายในตลาดเลย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ หนองบัวลำภู ได้สบายๆ ดังนั้นแม้มะนาวจะเริ่มมีคนปลูกมาก แต่มะนาวมีความยากในการทำ จึงใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกคน (รวมถึงผมด้วย 55) แต่หากทำได้ ก็คุ้มค่าต่อการลงทุน 1 รอบการผลิต เป้าหมายคือ แป้นรำไพ 2000 ต้น เท่านั้น ไม่มีพันธุ์อื่นๆ

เพราะต้องการเน้นจุดแข็ง คือ พันธุ์ไม่เจือปน เน้นการขายลูก 90% ขายกิ่งพันธุ์ 10% (เพราะอะไร เดี๋ยวจะเขียนในเรื่องการธุรกิจขายพันธุ์อีกที)

5. บ่อปลานิล ปลาทับทิม จากสระน้ำขุดภายในไร่ เน้นการเลี้ยงแบบกระชัง เพื่อให้สามารถขุดบ่อลึกเก็บน้ำปริมาณมากได้

6. ไก่ไข่ไล่สวน (ตั้งชื่อเอง) แนวคิดทดลองผสมผสาน โดยให้ไก่มีความสุขอย่างอิสระ ในพื้นที่ทั้งสวน เพื่อให้ออกไข่อินทรีย์ ที่มีคุณภาพ และไข่อินทรีย์มีตลาดเฉพาะ เช่น โรงแรม ร้านขนม ร้านเค้ก หากสามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำ และราคาขายใกล้เคียงไข่ไก่ปกติได้ ย่อมตีตลาดได้ขาด 100%

แนวคิดการเลี้ยงไก่ไข่ไล่สวนคือ ให้ไก่หากินตามธรรมชาติ ผสมการให้อาหารและยาตามมาตรฐาน โดยกำหนดโซนการอาศัยของไก่ เป็นช่วงๆ เพื่อให้ไก่ทำหน้าที่ คุ้ยเขี่ยดิน จัดการหนอนและแมลง ขี้ไก่ลงดินเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติ กำจัดใบไผ่บางส่วน เลี้ยงแบบวนเวียนไปเรื่อยๆ 

แนวคิดนี้เอามาจากการเลี้ยงไก่กับไผ่ ที่สามารถจัดการสวนไผ่เสียสะอาดได้ ปริมาณไก่เพื่อทดลองก่อนที่ 100 ตัว เมื่อถึงเวลาออกไข่ วันละประมาณ 80 ฟอง หากแนวคิดได้ผล ก็จะเพิ่มปริมาณให้เหมาะสมตามพื้นที่ ต่อไป

(ข้อ 6 นี่ฝันมาก)

7. พืนที่สวนทดสอบ 1 ไร่ สำหรับทดสอบการปลูก การเลี้ยงไม้ผลหรือพืชไร่ต่างๆ เช่น อ้อย 1 ไร่ 100 ตัน หรือไม้ผลอื่นๆ เพื่อเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ วางแผนระยะยาว หากสวนมะนาวเกิดปัญหา มีโรค ต้องเปลี่ยนชนิดพืชในการปลูก จะได้มีความรู้ความสามารถในการปลูกพืชอื่นๆ ได้

8. โรงเรือนอนุบาลพันธุ์ไม้ เป็นพื้นที่เพาะพันธุ์กล้าไม้ขาย ขนาด 1 ไร่ เพื่อลดต้นทุนพันธุ์ไม้ทีต้องใช้ในสวน อนุรักษ์พันธุ์คุณภาพที่จะปรับปรุงไปเรื่อยๆ ในอนาคต

แค่ 8 อย่างนี้ บอกตรงๆ ไม่รู้เมื่อไรจะทำได้หมด 555
แต่ก็เชื่อว่า 8 อย่างนี้จะสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ไม่มากก็น้อย
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
LG
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14


« ตอบ #79 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2014, 10:01:07 AM »

ได้ความรู้และแนวคิดมาปรับใช้อีกเยอะเลยครับ สำหรับการเตรียมปฏิบัติจริงๆ ตอนนี้พยายามหาข้อมูลให้มากที่สุด และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ของผม ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 ... 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: