หน้า: 1 ... 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 [27] 28 29 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 244007 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #416 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2015, 04:53:13 PM »

...สวยงามมากคับ...เห็นแล้วชอบๆ ข้อมูล ความรู้เพีบย ขอเดินตามแนเด้อคับ ...



อดใจอีกนิด

กำลังเล่นเก็บงานอาคารครับ ถ้าเก็บเสร็จ ก็วางระบบ GAP ดีๆ ได้เลย

ซึ่งจริงๆ GAP ไม่ต้องลงทุนแบบผมก็ได้

เพียงแต่ ที่ดินของผมมันที่ดินเปล่าๆ ไหนๆ จะต้องทำแล้ว ก็ทำอาคารให้มันดีไปเลย

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์

wondermo
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 105


« ตอบ #417 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 05:39:57 PM »

มาซุ่มอ่าน แอบเก็บแนวคิด ไปเลียนแบบเรื่อยๆครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
Easyman_ubon
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 267



« ตอบ #418 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2015, 07:38:30 AM »

ความคืบหน้ามะกรูด



ตอนนี้ลงไปแล้วกว่า 2500 ต้น

งานการปลูกเดินได้ดี โชคช่วยฝนตก จึงตัดปัญหาเรื่องน้ำและไฟฟ้าไป

ตอนนี้หลังจากไฟฟ้าเรียบร้อย ก็เดินระบบน้ำพร้อม


จะจัดการกับหนอนชอนใบยังไงครับพี่...



คนงานตรวจสอบหลุม พร้อมกลบ อีกครั้งก่อนจะลงมือคลุมพลาสติก



คลุมพลาสติกแล้ว คนงานอีกคนก็เจาะรู เพื่อเตรียมวางกิ่งพันธุ์



ภายในสิ้นเดือนนี้น่าจะลงครบทั้งหมด 6,000 ต้น

ลำดับงานต่อไปคือ การจัดการระบบการผลิต ให้เข้าระบบ GAP และดำเนินการขอสอบมาตรฐานต่อไป

....
บันทึกการเข้า

" บ้าน สวน นา ดี "
บ้านโนนกุง ต.โนนกุง
อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
34130
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #419 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2015, 08:19:25 AM »

ตอบคุณ Easyman_ubon

หนอนชอนใบ

ศัตรูตัวร้ายที่สุดของอาชีพมะกรูดตัดใบเลย เพราะถ้ามันชอนเมื่อไร ก็ขายไม่ได้ ต้องแปรรูปกันอย่างเดียว

การจัดการก็ใช้สูตร 1-4-7 ของท่าน อ.รวี ครับ

ตัวยาก็หลากหลายครับ ฉีดวนๆ ไป ไม่ฉีดติดต่อ ต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการดื้อยาครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #420 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2015, 08:20:36 AM »

มาซุ่มอ่าน แอบเก็บแนวคิด ไปเลียนแบบเรื่อยๆครับ อิอิ

ตามสะดวกครับ

แต่อย่าลืมหัวใจสำคัญที่ว่า

แต่ละพื้นที่ แต่ละแหล่ง ปัจจัยต่างๆ ไม่เหมือนกัน

เลียนแบบไปในหลักการเท่านั้น แล้วนำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
wondermo
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 105


« ตอบ #421 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2015, 12:08:48 AM »

การเลือกปลูกพืช เพื่อสร้างรายได้

เขียนเรื่องไฟฟ้าและน้ำ ไม่ค่อยมี Feedback เท่าไร 555 คงเพราะไม่ค่อยอยู่ในความสนใจของเพื่อนๆ สมาชิก

แต่สำหรับผม ถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับคนงบน้อย (คนงบเยอะเขาเอาเงินลงจัดการได้เลย)

ดังนั้น เพื่อให้บริหารได้ภายใต้แนวคิด "สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน" จึงต้องใส่ใจตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนผังของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

---------------------------------------------
นับย้อนไป 2 ปี

หลังจากผมตัดสินใจได้ว่า จะทำการเกษตร ผมบอกทุกคนว่า "ผมจะปลูกไผ่"

เหตุผลง่ายๆ
- ไม่ต้องดูแล
- โรคน้อย
- ตัดหน่อขายก็ได้ ขายไม่ทัน ไว้ลำ ขายเป็นลำก็ได้ แปรรูปเป็นถ่านคุณภาพ เป็นนู้นนี่ได้มากมาย ใบก็บำรุงดิน

ในตอนนั้นฝันมากครับ ที่ดินสัก 20 ไร่ ปลูกไผ่ คงรวยปีเป็นล้าน

ผ่านไป 5 เดือน
พืชตัวอื่นๆ ก็เริ่มเข้ามาในชีวิต ปลูกนั้นก็ดี ปลูกนี้ก็ดี เพาะเห็ดก็ดี เลี้ยงไก่ก็ดี เลี้ยงหมูก็ดี

หลงครับ หลง
--------------------------------------------

วันนี้มีเวลา เลยนั่งอ่านใหม่แบบใจเย็นๆ อ่านแค่หน้า3 ถึง หน้า5 อ่านซ้ำอยู่ 2-3รอบ ค่อยๆเข้าใจขึ้นมามาก
เป็นพวกสมองช้า ต้อง take time หน่อยครับ อิอิ แต่เริ่มมั่นใจขึ้นเยอะแล้ว
เหลือแค่รอเวลา แล้วลงมือปฎิบัติ ช่วงนี้ก็อ่านกระทู้นู้นกระทู้นี้ ตรงกับที่พี่บรีสบอกเลย แรกๆตั้งใจทำพืชชนิดนี้
พอไปอ่านไปเจอของคนนู้นก็น่าสนใจ ของคนนี้ก็ดี ผมชักเริ่มรวนๆเหมือนกัน 555
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #422 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2015, 08:09:16 AM »


--------------------------------------------

วันนี้มีเวลา เลยนั่งอ่านใหม่แบบใจเย็นๆ อ่านแค่หน้า3 ถึง หน้า5 อ่านซ้ำอยู่ 2-3รอบ ค่อยๆเข้าใจขึ้นมามาก
เป็นพวกสมองช้า ต้อง take time หน่อยครับ อิอิ แต่เริ่มมั่นใจขึ้นเยอะแล้ว
เหลือแค่รอเวลา แล้วลงมือปฎิบัติ ช่วงนี้ก็อ่านกระทู้นู้นกระทู้นี้ ตรงกับที่พี่บรีสบอกเลย แรกๆตั้งใจทำพืชชนิดนี้
พอไปอ่านไปเจอของคนนู้นก็น่าสนใจ ของคนนี้ก็ดี ผมชักเริ่มรวนๆเหมือนกัน 555

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

เคล็ดลับง่ายๆ ครับ

เลือกปลูกพืชตามทำเลที่ตั้งของที่ดินของเรา
เลือกปลูกพืชที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินของเรามากเกินไป
เลือกปลูกพืชที่ไม่ต้องแก้ไขปรับแต่งเรื่องสภาพอากาศมากเกินไป
เลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ของเรา

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
laihan
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1528



« ตอบ #423 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2015, 08:22:06 AM »


--------------------------------------------

วันนี้มีเวลา เลยนั่งอ่านใหม่แบบใจเย็นๆ อ่านแค่หน้า3 ถึง หน้า5 อ่านซ้ำอยู่ 2-3รอบ ค่อยๆเข้าใจขึ้นมามาก
เป็นพวกสมองช้า ต้อง take time หน่อยครับ อิอิ แต่เริ่มมั่นใจขึ้นเยอะแล้ว
เหลือแค่รอเวลา แล้วลงมือปฎิบัติ ช่วงนี้ก็อ่านกระทู้นู้นกระทู้นี้ ตรงกับที่พี่บรีสบอกเลย แรกๆตั้งใจทำพืชชนิดนี้
พอไปอ่านไปเจอของคนนู้นก็น่าสนใจ ของคนนี้ก็ดี ผมชักเริ่มรวนๆเหมือนกัน 555

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

เคล็ดลับง่ายๆ ครับ

เลือกปลูกพืชตามทำเลที่ตั้งของที่ดินของเรา
เลือกปลูกพืชที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินของเรามากเกินไป
เลือกปลูกพืชที่ไม่ต้องแก้ไขปรับแต่งเรื่องสภาพอากาศมากเกินไป
เลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ของเรา



 ยิ้มเท่ห์ขออนุญาตแจมอีกหนึ่งข้อ เลือกปลูกพืชที่เราชอบกิน อิอิอิ... ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

🍃 เพราะรักในการปลูกต้นไม้จึงทำสวนทุเรียน 🌳
กอเหรี่ยง
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 996



« ตอบ #424 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2015, 12:46:40 PM »

สวัสดีครับ คุณบรีส ผมเสียดายที่เพิ่งได้เข้ามาอ่าน..เริ่มต้นจากตอนท้าย พอถอยไปหน้า 1 อ่านแล้วงงแต่น่าสนใจมาก  เจ๋ง เจ๋ง
เนื่องจากเป้นแบบอีกท่านว่า พวกสมองซ้า...แต่น่าสนใจมากน่าอ่านแบบวิเคาระห์ สังเคราะห์  เพื่อจะได้หมักให้มันเต็มที่..

เคยตามอ่านคุณบรีสในหลายกระทู้ เช่นกับคุณซี...วันนี้ตั้งใจมาอ่านแต่ไม่รอด...เพราะตัวยุ่งอยู่..เพราะผมทำงานจับฉ่าย... ลังเล ลังเล
คิดว่าปักหมุดแล้วตั้งตาตั้งใจอ่านในวันหยุดที่มีเวลาดีกว่า จะได้เก็บมาเติมสมองที่มีน้อยนิดได้เต็มที่หน่อย... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ขออนุญาตปักกลด จะได้แวะมาแจม เรียนรู้ด้วยคนนะครับ... อายจัง อายจัง
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #425 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 08:36:09 AM »

สวัสดีครับ คุณบรีส ผมเสียดายที่เพิ่งได้เข้ามาอ่าน..เริ่มต้นจากตอนท้าย พอถอยไปหน้า 1 อ่านแล้วงงแต่น่าสนใจมาก  เจ๋ง เจ๋ง
เนื่องจากเป้นแบบอีกท่านว่า พวกสมองซ้า...แต่น่าสนใจมากน่าอ่านแบบวิเคาระห์ สังเคราะห์  เพื่อจะได้หมักให้มันเต็มที่..

เคยตามอ่านคุณบรีสในหลายกระทู้ เช่นกับคุณซี...วันนี้ตั้งใจมาอ่านแต่ไม่รอด...เพราะตัวยุ่งอยู่..เพราะผมทำงานจับฉ่าย... ลังเล ลังเล
คิดว่าปักหมุดแล้วตั้งตาตั้งใจอ่านในวันหยุดที่มีเวลาดีกว่า จะได้เก็บมาเติมสมองที่มีน้อยนิดได้เต็มที่หน่อย... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ขออนุญาตปักกลด จะได้แวะมาแจม เรียนรู้ด้วยคนนะครับ... อายจัง อายจัง

ยินดีครับ

ตรงไหนผมเขียนไม่เคลียร์ อ่านไม่เข้าใจ แจ้งได้เลยนะครับ

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
wondermo
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 105


« ตอบ #426 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2015, 02:54:43 PM »

ขออนุญาติใช้พื้นที่ตรงนี้ ขอความรู้หน่อยครับ

ตอนคุณบรีสผสมวัสดุปลูก
1.เชื้อไตรโคเดอร์มาที่ขยายจากข้าวสุก ตอนใส่ลงไปใส่แบบเป็นก้อนข้าวเลยหรือละลายเป็นน้ำรดลงไปครับ
2.สตาร์เกิ้ล จี มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงปากดูด ใส่ลงไปในดินจะทำให้ใส้เดือดตายมั้ยครับ  เศร้า เศร้า
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #427 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2015, 08:32:36 AM »

ขออนุญาติใช้พื้นที่ตรงนี้ ขอความรู้หน่อยครับ

ตอนคุณบรีสผสมวัสดุปลูก
1.เชื้อไตรโคเดอร์มาที่ขยายจากข้าวสุก ตอนใส่ลงไปใส่แบบเป็นก้อนข้าวเลยหรือละลายเป็นน้ำรดลงไปครับ

ละลายน้ำก่อนครับ

ผมแนะนำซื้อเป็นแบบสำเร็จครับ แพงกว่านิดหน่อย แต่ใช้ได้เลย ของ AppliedChem

http://www.appliedchemthai.com/product/446781/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%99.html


2.สตาร์เกิ้ล จี มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงปากดูด ใส่ลงไปในดินจะทำให้ใส้เดือดตายมั้ยครับ  เศร้า เศร้า

อันนี้ไม่ทราบครับ แต่ไส้เดือนในแปลงยังอยู่ดี

ไม่ฟันธงนะครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #428 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2015, 08:47:45 AM »

วันเสาร์ที่ผ่านมา เป็นวันเกิดลูกชายครับ

เกิด วันที่ 8 เดือน 8 ปี 2008 เวลา 8 โมง 8 นาที

ปีนี้ครบ 7 ขวบแล้ว

เลยพากลับสวน ไปเยี่ยมตาและยาย

งานสวนเลยไม่ได้ทำอะไร ได้แต่วิ่งไปซื้อของเตรียมไว้ทำงาน

งานก่อสร้างในสวนยังเหลืออีก 1 อย่าง คือ ห้องน้ำครับ

-----------------------------------------------------

ห้องน้ำในระบบ GAP สำคัญ จำเป็นต้องมีหรือไม่

ตอบคำถามง่ายๆ คือ บุคลากรที่ทำงานอยู่ในแปลง GAP หากปวดหนัก ต้องทำอย่างไร... ถ้าไม่มีเลย ต้องถ่ายในทุ่ง อันนี้จะกลายเป็นความจำเป็นต้องสร้าง เช่น สวนของผม
เพราะ เชื้อโรคจากสิ่งขับถ่ายของมนุษย์ แม้ไม่อาจไม่ได้สร้างโรคให้พืช แต่อาจสร้างโรคให้กับมนุษย์ด้วยกันได้ ซึ่งปะปนกับน้ำ กับดิน ได้

ข้อกำหนดใน GAP จึงกำหนดชัดเจว่า ห้ามนำวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของสิ่งขับถ่ายจากมนุษย์โดยเด็ดขาด

จากนั้นจุดใส่ใจที่สองคือ

ระบบการระบายน้ำ น้ำที่ระบายออก ทิศทางของน้ำไปทางไหน จัดการอย่างไร ถ้าน้ำจากห้องน้ำมีสิทธิ์ไหลกลับเข้าแปลง หรือไหลกลับเข้าระบบน้ำดี น้ำที่เราใช้รดต้นไม้

หากเป็นแบบเช่นนั้น ก็จะผิดหลัก GAP เพราะเชื้อโรคมีสิทธิ์ปนเปือนได้

ที่สวนของเราจึงกำหนดจุดห้องน้ำ ให้อยู่ห่างแปลงและเป็นจุดต่ำกว่าแปลงปลูก  โดยระยะเหมาะสมของน้ำที่ระบายคือ 30 เมตร ซึ่งจากจุดระบายน้ำดังกล่าว ระยะรัศมี 30 เมตร จะไม่มีต้นไม้ที่ปลูกเพื่อขายเลย จึงถือว่าปลอดภัย


ปัญหาของห้องน้ำ จริงๆ คือ เรื่อง งบประมาณครับ

โค ตะ ระ บานปลาย 555

เลือกซื้ออุปกรณ์ในห้องน้ำ บอกตรงๆ ผมทำใจไม่ได้ครับ

หลายคนบอกผมว่า ห้องน้ำในสวน จะไปทำดีๆ ทำไม

แต่ผมกลับคิดว่า

ห้องน้ำ คือ ห้องความสุข ดังชื่อ สุขา
ห้องน้ำ สร้างแล้ว อยู่กับเราเป็นสิบปี
ห้องน้ำ ดี คนก็อารมณ์ดี
ห้องน้ำ ดี สุขลักษณะย่อมดี สุขภาพย่อมดี

สุดท้าย ผมเลือกใช้อุปกรณ์ทุกอย่าง อย่างดี มียี่ห้อ แพง และได้มาตรฐาน จัดสร้างกำหนดจุดติดตั้งต่างๆ ตามมาตรฐาน Universal Design เด็กยันแก่ ใช้ได้หมด

รวมๆ แล้ว ห้องน้ำ 2 ห้อง คร่าวๆ ตอนนี้ 65,000 บาท... แล้ว (ค่าแรงกับค่าวัสดุ ซื้อมาเตรียมไว้หมดแล้ว แต่ก่อสร้างจริงๆ อาจขาดอะไรอีกนิดๆ หน่อยๆ)

มีอย่างเดียวที่ ไม่ได้ทำ (ถ้าทำได้จะดีสำหรับมาตรฐาน GAP มากๆ ) คือ ระบบก๊อกน้ำแบบใช้เท้าเหยียบ เพื่อลดการปนเปือนเชื้อโรค ที่หัวก๊อก เพราะเจ้าก๊อกที่ว่า ตัวเดียว 3 พันกว่าบาท...

มันเกิดพอเพียงไปหน่อย 555




บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #429 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2015, 09:01:31 AM »

ลืมลงรูป 555

วันเกิดเลยพาไปไหว้พระ เดินจงกรม




ช่วงเย็นๆ มีเพื่อนมาเยี่ยม

จบที่เดียวกัน ทำงานก็ย่อมต้องสายอาชีพเดียวกัน...

สุดท้าย เป็นเจ้าของสวนเหมือนกัน

ว่างๆ เลยมาเยี่ยมกัน 555



บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #430 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2015, 08:54:48 AM »

วันนี้เอาความรู้เรื่อง

การวางระบบน้ำ

มาฝากครับ


----------------------------------------------------------
จากประสบการณ์ในการวางระบบน้ำในที่ดินตนเอง และศึกษาจากเอกสารมากมาย ลองผิดลองถูกหลายรอบ ขอสรุปเป็นหลักการและสิ่งที่พบเจอดังนี้ครับ

1. หลายคนเข้าใจผิดมากๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของน้ำ น้ำเป็นของไหล กฎทุกอย่างจึงต้องใช้กฎของไหล ไม่ใช่กฎของแข็ง

ผมเจอประจำ เช่น บอกว่า น้ำใช้น้ำหนักดึง น้ำหนักน้ำที่มากกว่าจะดึงน้ำที่เบากว่า... เออ... มันดึงกันยังไงหรือ ผูกเชือกต่อกันไว้หรือ

กฎของน้ำแบบง่ายๆ ที่ต้องเข้าใจคือ
- น้ำเข้า เท่ากับน้ำออก เสมอ

จากกฎข้อแรก น้ำเข้าเท่ากับน้ำออก หมายความว่า ไม่มีระบบใด ที่จะทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น น้ำพุ่งแรง น้ำพุ่งอ่อน เป็นเรื่องของแรงดัน ส่วนปริมาณน้ำที่ได้ เท่าเดิม ดังนั้นในอุปกรณ์หนึ่งๆ แรงดันน้ำ กับปริมาณน้ำ จะแปรผกผันกันเสมอ

อยากได้ปริมาณน้ำมาก แรงดันน้ำจะน้อย
อยากได้แรงดันมาก ปริมาณน้ำจะน้อย

จากกฎนี้เราจึงเห็นปั้มมากมาย มักจะออกมาให้เราเลือก 3 ทาง คือ ปริมาณน้ำมาก แต่ทำแรงดันได้ต่ำ ปริมาณน้ำน้อย แต่ทำแรงดันได้สูง และพวกกลางๆ ปริมาณน้ำกลางๆ แรงดันกลางๆ

- น้ำในระบบปิด ไม่ว่าจุดไหน มีแรงดันเท่ากันเสมอ

กฎข้อนี้ ไว้สำหรับออกแบบภาพรวมของระบบ และตรวจสอบการไหลของน้ำ

ตัวอย่างเช่น เราติดตั้งเกจวัดแรงดันไว้ก่อนเข้ากรองเกษตร และหลังกรองเกษตร ในสภาพปกติ เกจวัดแรงดันต้องแสดงผลเท่าๆ กัน หรือเกือบเท่ากัน
แต่เมื่อไรที่เกจวัดฝั่งก่อนเข้ากรอง มีแรงดันสูง และฝั่งหลังกรอง มีแรงดันต่ำ

แสดงว่า กรองเกษตรมีการอุดตันเกิดขึ้น นั่นเอง

หรือ ตัวอย่างง่ายๆ เวลาเราเปิดก๊อกน้ำที่บ้าน 1 ก๊อก ได้แรงดันน้ำแรงกำลังดี แต่พอเปิด 2 ก๊อก แรงดันเริ่มอ่อนลง เปิด 3 ก๊อก แรงดันก็ยิ่งน้อยลง

นั่นเพราะ แรงดันถูกเฉลี่ยออกจากจุดปล่อยน้ำ ทำให้เกิดสภาพแรงดันโดยรวมของท่อใกล้เคียงกัน


- น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำเสมอ และไหลไปในทิศทางที่สะดวกกว่าเสมอ

กฎข้อนี้จะมาต่อจากข้อที่สอง เพื่ออธิบายว่า ทำไมก๊อกที่ใหญ่กว่า น้ำถึงได้เยอะกว่า แม้ว่าจะอยู่ในระบบเดียวกัน

เพราะน้ำมีพฤติกรรม ไหลไปในทางที่สะดวกกว่าเสมอ ก๊อกที่ใหญ่กว่า น้ำย่อมไปได้มากกว่า

จากทั้งสองกฎ โดยมาก เราจึงวางท่อเมน ให้มีขนาดเท่าๆ กัน เพื่อตัดตัวแปร การไหลไปที่สะดวกกว่า ออก และหมายถึง ท่อแขนง แต่ละท่อ จะได้ปริมาณน้ำและแรงดันอย่างเท่าเทียมกัน

2. หลายคน ยังไม่เข้าใจเรื่อง อัตราการไหลสูงสุดในท่อ

ท่อแต่ละชนิด จะมีอัตราการไหลสูงสุด ซึ่งเจ้าอัตราการไหลสูงสุดนี้ ในความเป็นจริง ไหลได้มากกว่านั้น

ตัวอย่างง่ายๆ ปั้มขนาด 2 แรง ให้น้ำ 30Q แต่ท่อเข้า ท่อออกของปั้ม 2 นิ้ว ซึ่งท่อ 2 นิ้ว มีอัตราการไหลสูงสุดแค่ 12Q เป็นต้น

อัตราการไหลสูงสุดเรา มีไว้คำนวณการวางระบบท่อ มิให้ เกิดแรงเสียดทาน จนเสียกำลังปั้มไปโดยสูญเปล่า

ดังนั้น โดยทั่วไป ถ้าปั้มตามตัวอย่าง ท่อดูดควรใช้ท่อ 3 นิ้ว แทน และท่อส่งควรต่อเป็นท่อ 3 นิ้ว

ภาพนี้


เป็นค่าแบบง่ายๆ ให้เราคำนวณ โดย ใน 100 เมตร จะเสียแรงดันเพียง H=3 เรียกว่าน้อยมากจนไม่มีผลต่อแรงดัน

แต่ถ้าเราเลือกขนาดท่อผิด ท่อจะเสียแรงดันจริงๆ เป็นไปตามกราฟนี้


ซึ่งจะเห็นว่า ท่อ 3 นิ้ว ส่งน้ำได้จริงๆ ในกราฟถึง 150Q ต่อชั่วโมง แต่ต้องเสียแรงดันในระบบไปถึง H=65 ซึ่ง ถ้าเราต้องการให้ H ปลายทาง มีค่าเท่ากับ 2 บาร์ หรือ H=20 เราต้องหาปั้มที่จ่าย H ได้ 85 หรือ 8.5 บาร์

ซึ่งอันดับแรก ท่อส่วนใหญ่ทนแรงดันได้ 8 บาร์ ดังนั้นหาท่อแบบ 13.5 บาร์ มาใช้งาน

ภาพรวมจึงเรียกว่า เปลืองโคตรๆ

ถ้าต้องส่งน้ำ 150Q จริงๆ ควรเปลี่ยนท่อเป็นท่อ 6 นิ้ว จะดีกว่า

------------------------------------------------------------------------

ดังนั้น โดยสรุป จากประสบการณ์ง่ายๆ

เลือกปั้มขนาดไม่ใหญ่กว่า ท่อ 2 นิ้ว คือ ไม่ควรจ่ายน้ำเกิน 12Q เพราะ

1. ท่อ 2 นิ้ว มีราคาเหมาะสม การวางท่อเมน 3 นิ้ว แพงเกินไป ค่าท่อรวมๆ อาจซื้อปั้มใหม่ได้ หลายตัว
2. แบ่งพื้นที่จ่ายน้ำเป็นโซนๆ ดีกว่า จ่ายทีเดียว
3. ลองคำนวณค่าท่อเมนให้หมดทั้งพื้นที่ก่อน ค่าไฟฟ้าที่ดูเหมือนจะประหยัดได้ หากจ่ายน้ำทีเดียวปริมาณมากๆ เวลาอันสั้น เมื่อเทียบค่าท่อแล้ว อาจใช้เวลาเป็นสิบปีกว่าจะคืนทุน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2015, 09:14:01 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #431 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 01:57:17 PM »

ช่วงนี้ขอเรียกว่า ช่วงสร้างเสถียรภาพ ให้ระบบสวน 555

เริ่มจากการลงปลูกมะกรูด ลงระบบ แล้วใช้งานจริง ก็พบปัญหาหลากหลาย มากมาย ค่อยๆ ทะยอยแก้ไขกันไป

เริ่มจาก แก้ไขระบบจ่ายน้ำมะกรูด ด้วยปั้ม BP/5 เป็นปั้มขนาดใหญ่ ดังนั้น ทางน้ำที่เตรียมไว้ก่อนจ่ายเข้าแปลง เรียกว่า เป็นคอขวด

จึงปรับแก้ โดยการ

1. เพิ่มชุดกรองเกษตรเป็น 4 ชุด เพื่อลดปัญหาการอั้นของน้ำ
2. ปรับท่อเมนเป็น 3 นิ้วตลอดเส้นก่อนจ่ายเข้าแปลงด้วยท่อแขนง 2 นิ้ว 2 เส้น
3. ปรับเส้นทางเดินน้ำ เนื่องจากหาข้อต่อหน้าจาน 2 นิ้ว ไม่ได้ เลยไม่สามารถยึดท่อกับปั้มไว้อยู่ เปิดปั้มที ข้อต่อยูเนียน เอาไม่อยู่ หลุดทุกที เลยตัดใจ ต่อตรง ถ้ามีปัญหา ก็ตัดท่อเอา






ผลการแก้ไข ทำให้น้ำเดินดี จ่ายเข้าแปลงได้สวยงาม ตามต้องการ แต่....

พบปัญหาใหม่

น้ำในโอ่ง ไหลไม่ทัน...

กล่าวคือ โอ่งแต่ละโอ่ง เชื่อมกันด้วย ท่อ 2 นิ้ว สองจุด

ด้วยความแรงของปั้ม ทำให้ภายในสิบนาที น้ำโอ่งแรก ที่หัวดูดติดตั้งอยู่ น้ำหายไปครึ่งโอ่ง แต่โอ่งอื่นๆ น้ำยังเต็ม ลดลงไม่เยอะเท่าไร

เพียง 20 นาที น้ำเกือบหมดโอ่งแรก แต่โอ่งอื่นๆ เหลือน้ำเกินครึ่งมานิดหน่อย

ตอนแรกจะแก้ไขด้วยการเพิ่มท่อดูด ไปลงโอ่งอื่น

แต่คิดๆ แล้ว วิธีแก้ที่ง่ายกว่าคือ.... ปรับเวลาการจ่าย จากเดิมจ่าย 20 นาที เป็น 10 นาที พัก 5 นาที จ่ายต่อ 10 นาที


ส่วนที่ทำให้เสียเวลาพอควรในการทดสอบทดลองคือ การตั้งระบบเติมน้ำ ให้เต็มแท็งก์

โดยทุกวันจะจ่ายน้ำออกประมาณ 8000 ลิตร กับ 4500 ลิตร สำหรับมะกรูด และมะนาว ตามลำดับ

ค่านี้เป็นค่าพื้นฐาน ถ้าวันไหน แดดร้อนมาก อาจต้องเพิ่มการจ่ายน้ำ

ทีนี้ งานออกแบบเดิมคือ ออกแบบไว้ให้ระบบเติมน้ำหยุดเอง เมื่อลูกลอยตัด

แต่หัวลูกลอย แม้จะซื้อหัว 1 นิ้วมา แต่ความสามารถในการปล่อยน้ำนั้น น้อยกว่า 1 นิ้วมาก

และปัญหาต่อมาคือ โอ่ง กับแท็งก์ อยู่คนละตำแหน่งความสูง ดังนั้น ต้องปรับแต่งอย่างไร ให้เติมน้ำทั้งคู่ได้พอดี ไม่ล้น


ทดลองไปหลายวิธี สุดท้าย ใช้การคำนวณ และปรับวาวล์ ให้จ่ายน้ำตามการคำนวณ ถอดลูกลอยออก จบ...

สามารถจ่ายน้ำ และเติบน้ำ อัตโนมัติ โดยคนไม่ต้องเหนื่อยสั่งการ แค่ตรวจสอบการทำงานตามปกติก็พอ

ภาพนี้ ผลจากการคำนวณ ไม่ต้องใส่ลูกลอย น้ำเติมพอดี


ภาพนี้ ตอนทดลองจับเวลาการเติมน้ำ ด้วยการชะลอปริมาณน้ำจากวาวล์ ทดสอบแล้ว ต้องเอาน้ำออก เพื่อลองใหม่
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
หน้า: 1 ... 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 [27] 28 29 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: