คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
วันหยุดวิสาขบูชา ได้มีโอกาสทดแทนบุญคุณ ผู้มีพระคุณในชีวิต ด้วยการพาเที่ยว และไหว้พระ วัดป่าภูก้อน จังหวัดอุดรธานี ระยะทางไม่ไกลจากสวนเกษตรโชคดีชุมแพ...แต่... ทำความเร็วไม่ได้ Google Map ประเมินให้ 4 ชั่วโมง ดันไม่เชื่อ... คิดว่า ทางก็ปกติ น่าจะ 3 ชั่วโมงถึงมากกว่า เอาเข้าจริงๆ ออกจากชุมแพ 8 โมง ไปถึงวัด 12.00 พอดีจริงๆ --------------------------------------------------------- กลับเข้าเรื่องสวนครับ 555 ได้แวะเข้าไปนิดเดียว เพราะตั้งใจเที่ยวมากกว่า ไปตรวจงานขึ้นร่อง แปลงขนาด 1 เมตร สวยงาม แต่ยังไม่ละเอียดพอ ต้องรอฝนลงสักรอบ ถึงจะเอาโรตารี่ไปปั่นดินให้ร่วนขึ้นได้    ส่วนเคล็ดลับการขึ้นร่องคือเจ้านี้ครับ ก่อนอื่น ตั้งแนว ด้วยไม้หลัก ขึงเชือก แล้วใช้อุปกรณ์ตรวจสอบขนาดร่อง ตรวจสอบเป็นระยะ 
Liked By: กัญจน์, ฟาร์มเงิน สารคาม, laihan, adulsri, pook_kkf, cupn1980, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, nopmtp, muslin2557, nomadic_man, aumblueford, ปานเทพ, andrew, bundidta, เพียรบ้านไร่, นายฉงน, TAWUN, vigo74, Ekachaiyan, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ปีที่แล้ว ที่สวนเริ่มปลูกมะนาว ปีนี้เราจะปลูกมะกรูดครับ เหตุผลสำคัญคือ มะกรูด มะนาว เป็นพี่น้องกัน สารเคมี โรค แมลง เป็นชนิดเดียวกัน ในการจัดการจึงเหมือนกัน (ถ้าพังก็พังเหมือนกัน 555) โดยมะกรูดที่เราปลูก เป็นมะกรูดตัดใบ ซึ่งขายส่งกันที่กิโลกรัมละ 20 บาท แบบเกรดรวม ไม่เด็ดใบ หากรับซื้อถึงหน้าสวน และมีคนเด็ดให้ อาจเหลือ 10 บาท ต่อกิโลกรัม ถือเป็นราคาฐาน ที่ค่อนข้างนิ่ง แต่ที่สวน เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่ตลาดพื้นฐาน เราวางแผนตั้งเป้าหมาย ในปีที่ 2 ส่งออก 80% อีก 20% คัดเกรดรวมส่งตลาดล่าง และในปีที่ 3 ส่งออก 95% อีก 5% แปรรูป ปริมาณที่ตั้งใจปลูกคือ 24,000 ต้น ในรอบปีนี้ เริ่มต้นที่ 6,000 ต้น และจะทยอยเพิ่มเรื่อยๆ จนกว่าจะเต็มพื้นที่ -------------------------------------------------------------- เมื่อแผนเป็นดังนี้ เราจึงต้องลงทุนอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมมากมาย 1. สร้างโรงเรือนคัดแยก สร้างห้องน้ำ สร้างห้องเก็บของ ห้องเก็บสารเคมี ทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐาน GAP และตั้งเป้าหมายว่าต้องได้ GLOBAL GAP ภายใน 5 ปีข้างหน้า 2. วางระบบน้ำใหม่ ให้พอเพียงต่อการใช้งาน ทั้งการขุดบ่อน้ำเพิ่มเติม (ลงรูปไปแล้ว) การสั่งโอ่งมากักน้ำเพิ่มเติม 3. วางระบบไฟฟ้าใหม่ สั่งตู้ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติมาติดตั้งใช้งาน เพื่อแก้ปัญหาไฟฟ้าตกทั้งสวน 4. ปรับแผนผังการใช้พื้นที่ใหม่หลายส่วน กำหนดความชัดเจนในการลงทุน แผนระยะยาว 5. เพิ่มการจ้างงาน (เพิ่มต้นทุน  ) เพื่อให้รองรับกับงานที่มี ------------------------------------------------------------- เงินยังคงไหลออก ไม่มีไหลเข้า ตามแผนงาน เงินก้อนแรกคงเข้าช่วง พ.ค. 59 ถือเป็นการลงทุนระยะยาวจริงๆ 555 (เศร้าใจเล็กๆ)       
Liked By: adulsri, กัญจน์, nomadic_man, aumblueford, cupn1980, laihan, andrew, nopmtp, ฟาร์มเงิน สารคาม, pook_kkf, aumdmax, bundidta, เพียรบ้านไร่, นายฉงน, TAWUN, muslin2557, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Ekachaiyan, Steve_Jeab, chalee_pao
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
การตั้งระดับน้ำ ในแปลงปัญหาสำคัญอย่างหนึงของระบบจ่ายน้ำ โดยเฉพาะกับน้ำหยด คือ ระดับน้ำ ถ้าระดับน้ำไม่เท่ากัน หัวน้ำหยดจะหยดไม่เท่ากัน ซึ่งปัญหานี้ไม่มีในระบบสปริงเกอร์ เพราะส่วนใหญ่สปริงเกอร์ต้องใช้แรงดันในการจ่ายน้ำ เมื่อปิดปั้ม ก็หมดแรงดัน อาจมีน้ำไหลต่อเนื่องบ้างอีกนิดหน่อย ด้วยเพราะหัวสปริงเกอร์ส่วนใหญ่จะติดไว้ค่อนข้างสูงจากสายส่งน้ำ แต่หัวน้ำหยดส่วนใหญ่จะติดไว้ในระดับพอดีกับสายส่งน้ำ ถ้าเราไม่จัดการจัดระดับน้ำ น้ำจะไหลย้อนกลับมายังตำแหน่งที่ต่ำที่สุด และจ่ายน้ำออกจนหมดในสาย ที่สวนเกษตรโชคดีชุมแพ พื้นที่ของเรามีระดับแตกต่างกัน ในส่วนของมะนาวแตกต่างกันถึง 1 เมตร เราใช้วิธียกสาย PE ให้สูงเท่าๆ กัน แต่ในแปลงมะกรูดใหม่ เราวางระบบใหม่ ให้เหมาะสมขึ้น โดยวัดระดับท่อจ่ายน้ำให้เท่ากันทั้งหมด โดยติดตั้งท่อจ่าย แล้วใส่น้ำเข้าไป เพื่อหาระดับ จากนั้นตัดท่อให้พอดีระดับน้ำ แค่นี้ง่ายๆ ก็ได้ท่อที่สูงเท่าๆ กันแล้วครับ   
Liked By: pook_kkf, nuyelec, adulsri, aumdmax, กัญจน์, ฟาร์มเงิน สารคาม, cupn1980, nopmtp, nomadic_man, bundidta, aumblueford, เพียรบ้านไร่, นายฉงน, TAWUN, muslin2557, NaiKhaowhom, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Ekachaiyan
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
pook_kkf
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 184
|
เยี่ยมเลยครับคุณบรีส วางระบบไว้ดีมาก ถ้ารากฐานดีอะไรก็ดีตามไปหมดแน่ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนเราถ้ามีฝัน แล้วลงมือทำ ถึงแม้จะทำแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป วันละเล็กละน้อย สุดท้ายความฝันนั้นก็ต้องมีวันเป็นจริงแน่นอน
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
เนื่องจากเป้าหมาย การทำมะกรูด คือ ส่งออก เราจึงต้องทำอะไรหลายๆ อย่างให้ได้มาตรฐาน GLOBAL GAP โดยในขั้นแรกคือ ผ่านมาตรฐาน THAI GAP ก่อน ซึ่ง เป้าหมายสำคัญของ GAP คือ ความปลอดภัย ดังนั้น อะไรบ้างที่ต้องปลอดภัย ผมสรุปง่ายๆ (จริงๆ มีเป็นข้อๆ ให้ตรวจสอบ แต่เอาความเข้าใจพื้นฐานง่ายๆ ก่อน) 1. แปลงเพาะปลูก 2. น้ำ 3. คน 4. เครื่องมือ และการใช้เครื่องมือ สารเคมี 5. การจัดการผลผลิต ในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ 1. แปลงเพาะปลูกแปลงเพาะปลูกของเรา มีประวัติเริ่มต้นย้อนไป 3 ปี เป็นไร่อ้อย ที่ให้เทวดาเลี้ยง ไม่มีการฉีดพ่นสารเคมี ไม่มีการให้ปุ๋ย เมื่อเราพัฒนาที่ดิน จึงเริ่มปลูกปอเทือง ปลูกข้าว เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุ และนำดินไปส่งตรวจ ผลที่ได้คือ ดินไม่มีปัญหา และเราตั้งกฎระเบียบของสวนไว้เป็นสำคัญว่า "ห้ามเผาดิน ห้ามใช้สารเคมีฆ่าหญ้าชนิดที่มีสารตกค้าง และต้องปลูกพืชบำรุงดินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในแปลงพืชไร่" เพื่อป้องกันดินเสื่อมคุณภาพระยะยาว ด้านการปนเปือนจากลม เราสร้างแนวป้องกันด้วยต้นกล้วย เพื่อลดแรงลมที่เข้าปะทะ และลดผลกระทบจากสารเคมีในแปลงข้างเคียงที่ลอยมาตามลม 2. น้ำเรานำน้ำที่ใช้รดต้นไม้ ส่งตรวจคุณภาพ เตรียมบ่อน้ำเป็นของตนเอง เพื่อป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำระยะยาว ด้านการจัดการน้ำ เราวางผังระบบสวนใหม่ทั้งหมด โดยควบคุมทิศทางน้ำเสีย ให้ไหลออกนอกพื้นที่ จัดการน้ำเสียปนเปือนสารเคมี ด้วยถังทรายทิ้งสารเคมี รวมถึงลงทุนติดตั้งระบบกรองน้ำใช้ เพื่อใช้สำหรับล้างผลผลิต จึงมั่นใจได้ว่าไม่มีการปนเปือนของน้ำ 3. คนคนงานที่สวน ทุกคนจะได้รับการอบรมแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตรที่ดี เป็นพื้นฐาน และเราลงทุนอุปกรณ์ความปลอดภัยให้ทั้งหมด เสื้อผ้า รองเท้าบูต ชุดกันสารเคมี แว่นตา หน้ากากกรองสารเคมี เมื่อคนงานปฏิบัติงานฉีดพ่นด้านสารเคมีเรียบร้อย ข้อปฏิบัติสำคัญคือ ต้องอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายตนเอง ให้เรียบร้อยก่อนออกจากสวน ชุดที่ใช้ต้องทำความสะอาดและตากไว้ในพื้นที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อป้องกันการปนเปือนสารเคมีไปที่บ้านหรือที่อยู่อาศัยของตนเอง ทุกปี เป็นกฎระเบียบของสวน "คนงานทุกคนต้องได้รับการตรวจสุขภาพและเคมีในเลือด" พื้นที่ในบริเวณสวน จัดทำป้ายเตือน ป้ายกำกับการทำงาน ไว้ทั้งหมด เพื่อเตือนให้ปลอดภัย และระมัดระวังการทำงาน เช่น ป้ายเตือนการล้างเครื่องมือ 3 รอบ เพื่อลดความเข้มข้นของเคมี ป้ายเตือนสารเคมีอันตราย ป้ายเตือนการฉีดพ่น ในแปลง ป้ายแจ้งเบอร์โทรด่วน เป็นต้น รวมถึงจัดเตรียมถังดับเพลิง กระเป๋ายา ที่พร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของคนทุกคนในสวน 4. เครื่องมือ และการใช้เครื่องมือ สารเคมีจัดทำคู่มือการใช้สารเคมีทั้งหมด ที่ใช้ในแปลง จัดทำบันทึกการใช้สารเคมีทั้งหมด สร้างห้องเก็บสารเคมี พร้อมตู้ล็อก อย่างเป็นระเบียบ มาตรฐาน หัวข้อนี้รายละเอียดค่อนข้างมาก ขอยกไว้เขียนแยกต่างหาก ยาวๆ นะครับ 5. การวางแผนการผลิตและจัดการผลผลิตเป้าหมายคือ ผลผลิตต้องไม่ปนเปือน สามารถตรวจสอบกลับได้ ดังนั้นเราจึงลงทุนสร้างโรงเรือนคัดแยก จัดพื้นที่การทำงาน เป็นขั้นตอน ผลผลิตทุกชิ้น จะไม่มีการสัมผัสพื้น สัตว์เลี้ยงไม่สามารถเข้าพื้นที่คัดแยกได้ มีบันทึกการเก็บเกี่ยว ผนวกกับบันทึกการใช้สารเคมี ก็จะช่วยให้เราตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าผลผลิตแต่ละล็อตเป็นอย่างไร ใช้สารเคมีตัวไหน เมื่อไร มีบันทึกการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช เพื่อการบริหารจัดการการใช้สารเคมี และประวัติความเสียหายต่างๆ ส่วนผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ ต้องผ่านกระบวนการจัดการอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะแปรรูป หรือเผาทำลาย ------------------------------------------------------------------- ทั้งหมดที่กล่าวมา เราจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ช่วงนี้ เป็นช่วงการก่อสร้างโรงเรือนคัดแยก ซึ่งเราได้รวมพื้นที่กับห้องเก็บสารเคมี โดยแบ่งสัดส่วนชัดเจน ไม่มีการปนเปือน (จะรวมกันไม่ได้ ถ้าออกแบบแล้วมีสิทธิ์เกิดการปนเปือน  
Liked By: nuyelec, adulsri, aumdmax, กัญจน์, ฟาร์มเงิน สารคาม, cupn1980, nopmtp, nomadic_man, bundidta, aumblueford, เพียรบ้านไร่, นายฉงน, TAWUN, muslin2557, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Ekachaiyan, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
เยี่ยมเลยครับคุณบรีส วางระบบไว้ดีมาก ถ้ารากฐานดีอะไรก็ดีตามไปหมดแน่ครับ  ขอบคุณครับ รากฐานมั่นคง เวลามีปัญหาก็ทวนกลับได้ง่าย ว่าอะไรคือจุดปัญหา จุดอ่อน แต่ผมยังเหลือกำแพงใหญ่ที่ต้องลุยต่อ เมื่อพืชเริ่มให้ผลผลิต คือ การขาย ครับ...555
Liked By: nuyelec, adulsri, aumdmax, ฟาร์มเงิน สารคาม, cupn1980, nopmtp, nomadic_man, bundidta, aumblueford, เพียรบ้านไร่, นายฉงน, TAWUN, muslin2557, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
wondermo
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 105
|
กำลังวางแผนขยายพื้นที่ปลูกมะนาวเพิ่ม ยังสองจิตสองใจว่าจะลงดินหรือใส่ปอกซีเมนต์ดี ยังไงๆขอติดตามผลงานของพี่ด้วยนะครับ ขอดี ข้อเสีย ศัตรูมะนาวโรค ทางออก ทางแก้ รบกวนแชร์กันนะครับ มีเงินทุน ให้ผมเลือก .... ลงปลอก แบบไม่ต้องปิดก้นครับ และปลอกต้องสูง 50 ซม. เพราะ
1. จัดการเรื่องดิน ได้ง่ายกว่า ดินแต่ละปลอก เราปรุงได้ตามต้องการ แต่ปลูกลงดิน เราปรุงตามต้องการก็จริง แต่รากสามารถขยายได้เท่าทรงพุ่ม ดังนั้นเกินจุดที่เราปรุงไว้แน่นอน 2. การจัดการง่ายกว่าทางกายภาพ ลงดิน เราต้องนั่งจัดการ ต้องก้ม แต่ลงปลอกมันยกต้นให้สูง 50 ซม. ทำให้เรา ทำงานสะดวกขึ้นมาก 3. จัดการเรื่องน้ำง่ายกว่ามาก ระยะยาว 7 ปี ผมว่า ปลอกก็คุ้มค่ากับการลงทุน แต่ถ้าไม่มีเงินมากพอ ลงดินแล้วยกร่องก็เป็นทางออกได้เช่นกันครับ
แล้วแบบนี้ปลูกในวงบ่อ แต่เราไม่ปิดก้นบ่อ จะดีกว่าหรือต่างกันอย่างไรกับปิดก้นบ่อครับ กำลังสองจิตสองใจว่าจะปิดก้นดีหรือไม่ รบกวนช่วยแชร์ความคิดเพิ่มอีกนิดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
wondermo
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 105
|
อัพเดตเพิ่มเติม การตัดแต่งกิ่ง
ผลจากการตัดแต่งกิ่งไป พบความแตกต่างสำคัญคือ ถ้าตัดตั้งแต่เล็กๆ ทรงพุ่มที่ได้จะสวยงามตามที่เราต้องการ อาจดูต้นเล็ก ไม่โตใหญ่ แต่ความสูงมันก็ขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโต ส่วนต้นที่ไม่ได้ตัด พุ่มหนา แต่ทรงไม่สวย สุดท้ายต้องตัดใจ ตัดกิ่งใหญ่ๆ บางกิ่งที่โตไปในทางที่ผิด ออกทิ้ง อย่างเสียดาย กลายเป็นต้นเล็กลง แต่ทรงได้
...สรุปง่ายๆ คือ ควรตัดแต่งกิ่งอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้โตเข้าทรง ดีกว่า ตัดเป็นรอบๆ รอกิ่งโตใหญ่แล้วตัด
งั้นแปลว่า พอต้นเริ่มโต เราตัดกิ่ง ตัดยอดให้แตกยอดใหม่ขึ้นมา แล้วกิ่งไหนที่มันเตี้ยไปหรือดูแล้วว่า ทรงพุ่มจะออกมาในรูปแบบที่เราไม่ต้องการ เราก็ตัดทิ้งเลย ไม่ต้องรอให้โต ไม่ต้องนับว่าจะเริ่มตัดเดือนไหน หรือเริ่มตัดตอนมะนาวอายุเท่าไหร่ ใช่มั้ยคับ พี่บรีส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
wondermo
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 105
|
วันก่อนเขียนเรื่องหญ้าไว้ วันนี้มาบันทึกเพิ่มเติม สิ่งที่ควรลงทุนในอุปกรณ์ตัดหญ้า ต้องมีติดสวนเลย 3 แบบ คือ 1. กรรไกรตัดหญ้า เอาไว้เล็มหญ้าที่ใกล้กับสิ่งที่ต้องระวัง เช่น สายท่อ PE เป็นต้น เอาไว้ตัดในพื้นที่ซึ่งปล่อยให้หญ้าขึ้นได้บ้าง แต่ต้องตัดบ้างเพื่อความสะอาดตา แต่ถ้าเป็นพวกโคนต้นไม้ แนะนำให้ถอนด้วยมือจะดีกว่า 2. เครื่องตัดหญ้าสะพาย แนะนำให้ลงทุนสูงหน่อยเป็นแบบสะพานเป้ สามารถตัดได้นานกว่า และส่งผลต่อไหล่น้อยกว่า แต่ถ้าไม่ซีเรียสก็สะพานบ่าข้างเดียวก็ได้ เพระาถูกกว่าเยอะ 3. เครื่องตัดหญ้าขนาดใหญ่ อันนี้ ขึ้นกับงบประมาณลงทุน และความคุ้มค่า ต้องลองดูเอง คำนวณเองว่า หญ้าที่มี ต้องใช้งบประมาณเท่าไรในการจัดการ แล้วถ้าลงทุนแล้ว จะคุ้มทุนเมื่อไร ------------------------------------------------------------- ที่สวนเกษตรโชคดีชุมแพ ผมคำนวณแล้ว จึงเลือกลงทุนเป็น รถไถเล็กเดินตาม เหตุที่เลือกเพราะ 1. รถไถเล็กเดินตาม แรงม้า ไม่ได้มากเกินไปในการตัดหญ้า กล่าวคือ ถ้าเป็นรถไถใหญ่ ติดตัวตัดหญ้าด้านหลัง แรงม้าเหลือๆ เหมาะสำหรับงานตัดหญ้าใหญ่ๆ หญ้าสูงๆ ปริมาณมากๆ ในคราวเดียว แต่ถ้าเราตัดบ่อยๆ หญ้าจะสั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้แรงมาก ยิ่งแรงมากย่อมหมายถึง อัตราปริโภคน้ำมันยิ่งมากตาม 2. รถไถเล็กเดินตาม ของญี่ปุ่น น้ำหนักจะน้อยกว่าของไทยอยู่เกือบ 60-80 กิโลกรัม และหนักน้อยกว่ารถไถนั่งขับเล็ก มาก ซึ่งหมายถึง การกดอัดดิน จะน้อยกว่า อันส่งผลต่อความแน่นของดิน หรือการติดหล่มได้ ประเด็นนี้ต้องชั่งน้ำหนักว่า อยากจะกดอัดดินหรือไม่ ถ้าอยาก ก็ใช้รถไถใหญ่ได้ กดมากๆ ดินแน่นมาก หญ้าก็โตช้า ... แต่ถ้าดินในสวนของเรามีลักษณะนิ่มและร่วนมาก จะใช้รถไถใหญ่ไม่ได้เลยเวลาฝนตกติดต่อกัน... ซึ่งช่วงฝนตกติดๆ กันเป็นช่วงที่หญ้าจะขึ้นสบายๆ 3. รถไถเล็กเดินตาม ยังเอาไปใช้ทำอย่างอื่นได้ แต่ถ้างบน้อย อาจเลือกเฉพาะที่เป็นรถตัดหญ้าก็ได้ แน่นอนว่าใช้งานเฉพาะสบายกว่า เพราะเบากว่า และราคาถูกกว่าเกือบ 10 เท่า แต่ใช้งานได้อย่างเดียว (ถอดเครื่องไปทำอย่างอื่นได้ แต่วุ่นวายกว่าเยอะ) 4. เหตุผลส่วนของสวน... เนื่องจากที่สวน ยังไม่มีเครืองยนต์ใหญ่ ที่มีกำลังฉุด (เครื่องเบนซิน 6.5 แรง มีแล้ว แต่แรงฉุดไม่เท่ากัน) จึงกะว่าเอามาใช้ลากเทเลอร์ ไว้ขนของในสวนด้วย ไว้เซาะร่องหน้าฝน แก้ทางน้ำด้วย ไว้พรวนดินด้วย... จิปาถะ เพราะมันเป็นรถไถ นั้นละครับ...   ---------------------------------------------- ผลการใช้งาน ถือว่าประทับใจมาก เพราะเร็วมาก แรงของเครื่องยนต์ทำให้ตัดหญ้าได้ดี ตัดได้ปริมาณมากในคราวเดียว ใส่เกียร์ 3 ก็เดินตามแทบไม่ทันแล้ว... แต่เนื่องจากคนงานยังใช้ไม่คล่อง เลยยังไม่ติดเบาะให้ ไว้คล่องๆ แล้ว ค่อยใส่เบาะ (แต่เวลาวิ่งรถไปเก็บใส่เบาะ วิ่งสบายเลย) แต่ก็มีติดขัดบ้าง ตรงที่ต้องแต่งเพิ่มเติม ทำจุดวางน้ำหนักถ่วง เพื่อให้น้ำหนักบาลานซ์ (ตามภาพเอาหินถ่วงไว้) อันนี้ชอบมากครับ เพราะก่อนตัดสินใจจะมาทำเกษตรเคยติดไว้เหมือนกัน แค่วาดฝันเอาไว้ แต่ไม่คิดว่าจะทำได้จริง วันนี้มาเห็น เลยลงล็อคเลย เอาไว้ถ้าสวนผมเป็นรูปเป็นร่าง มีงบเมื่อไหร่ คาดว่าคงต้องทำตามและมาขอคำแนะนำเพิ่มแน่ๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
หลายๆ คำถามของคุณ wondermo มาตอบรวมกันนะครับ
1. บ่อซีเมนต์ ปิดก้นกับไม่ปิดกัน
ปิดก้น รากเดินได้แค่ในบ่อ เดินเต็มแล้ว ก็จบ รากตาย เน่า หมุนวนแค่นั้น ถึงช่วงอายุหนึ่งจะหยุดการเติบโต หยุดทุกอย่าง บางทีต้นอาจไม่เสื่อมโทรม แต่ขยายรากไม่ได้ ต้นไม้เลยหยุดอยู่แค่นั้น... เท่าที่หลายๆ สวนปลูกก็อยู่ที่ 7 ปี
ไม่ปิดก้น รากเดินได้กว้างกว่า เพราะลงดิน แต่การควบคุมน้ำเพื่อทำนอกฤดู ก็เหมือนกันการยกดินขึ้นลูกฟูก คือ ต้องควบคุมอย่างดี มีความยากในการควบคุมมากกกว่า และเมื่อรากไม่มีข้อจำกัด ย่อมหมายถึง อายุนานกว่า
โดยหลักการแล้ว ถ้าเน้นทำนอกฤดู ควรปิด ถ้าไม่เน้นมาก อยากฝึกฝีมือ ก็เปิด
2. การตัดกิ่ง ถ้าต้นไม้แสดงอาการ รอดตาย จากการปลูกแล้ว ก็ตัดได้ครับ แต่อย่าเยอะ ไม่ควรเกิน 30% เพราะถ้าเกินจะอ่อนแอ แล้วต้นจะฟื้นตัวช้า ทำให้โตช้า
Liked By: กัญจน์, ฟาร์มเงิน สารคาม, laihan, pook_kkf, wondermo, aumblueford, เพียรบ้านไร่, TAWUN, muslin2557, NaiKhaowhom, rattapon05, บ่าววี-สวนแห่งฝัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ความฝันใกล้เป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ ค่อยๆ ทำ จากผืนดินที่ไม่มีอะไรเลย เป็นป่าอ้อย ผ่านมาปีกว่าๆ ถูกจัดระเบียบเป็นแปลงมะนาว แปลงมะกรูด มีโรงเรือนคัดแยก เห็นโรงเรือนที่ออกแบบเอง คำนวณทุกอย่างเอง (แถมยังเดินไฟเองอีก 55) เห็นแล้วมีความสุขครับ  ทุกด้านของโรงเรือนจะมีผนังสูง 80 ซม. เพื่อกันลม กันฝุ่น และกันสัตว์ต่างๆ (ยกเว้นแมลง 55)  พื้นที่ด้านหลัง ถือว่าเป็นหลังบ้าน เป็นพื้นที่ของควบคุมระบบจ่ายน้ำทั้งหมด  งานไฟฟ้า ผมเลือกเดินให้ได้มาตรฐาน โดยร้อยท่อ ใส่บ็อก  รอบๆ อาคาร จะติดตั้งไฟสปอร์ทไลท์ เพื่อการส่องสว่างทุกพื้นที่  ------------------------------------- ส่วนความคืบหน้าของแปลงมะกรูด ให้คนงาน ฝีกลองปูผ้าพลาสติกเล่นๆ ดู  ช่วงนี้มั่วแต่วุ่นคุมงานโรงเรือน เลยไม่ได้เดินไปดูมะนาวเลย 555
Liked By: pook_kkf, ฟาร์มเงิน สารคาม, laihan, cupn1980, กัญจน์, aumblueford, เพียรบ้านไร่, นายฉงน, TAWUN, aumdmax, muslin2557, NaiKhaowhom, rattapon05, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
wondermo
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 105
|
หลายๆ คำถามของคุณ wondermo มาตอบรวมกันนะครับ
1. บ่อซีเมนต์ ปิดก้นกับไม่ปิดกัน
ปิดก้น รากเดินได้แค่ในบ่อ เดินเต็มแล้ว ก็จบ รากตาย เน่า หมุนวนแค่นั้น ถึงช่วงอายุหนึ่งจะหยุดการเติบโต หยุดทุกอย่าง บางทีต้นอาจไม่เสื่อมโทรม แต่ขยายรากไม่ได้ ต้นไม้เลยหยุดอยู่แค่นั้น... เท่าที่หลายๆ สวนปลูกก็อยู่ที่ 7 ปี ไม่ปิดก้น รากเดินได้กว้างกว่า เพราะลงดิน แต่การควบคุมน้ำเพื่อทำนอกฤดู ก็เหมือนกันการยกดินขึ้นลูกฟูก คือ ต้องควบคุมอย่างดี มีความยากในการควบคุมมากกกว่า และเมื่อรากไม่มีข้อจำกัด ย่อมหมายถึง อายุนานกว่า
โดยหลักการแล้ว ถ้าเน้นทำนอกฤดู ควรปิด ถ้าไม่เน้นมาก อยากฝึกฝีมือ ก็เปิด
2. การตัดกิ่ง ถ้าต้นไม้แสดงอาการ รอดตาย จากการปลูกแล้ว ก็ตัดได้ครับ แต่อย่าเยอะ ไม่ควรเกิน 30% เพราะถ้าเกินจะอ่อนแอ แล้วต้นจะฟื้นตัวช้า ทำให้โตช้า ขอบคุณมากครับ ^____^
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bankao
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1003
|
สวัสดีครับ คุณบรีส
สวนก้าวหน้าไปมากเลยครับ น่าอิจฉาจริง ๆ สวนผมไม่ไปไหนเท่าไรเลยครับ
ผมมีโครงการจะสร้างโรงคัดแยกแบบนี้เช่นกัน สำหรับจัดการคัดแยกมะขามเปรี้ยวกับมะขามป้อม อยากขอทราบขนาดของโรงคัดแยกที่กำลังสร้าง ว่ากว้างยาวเท่าไรได้ไหมครับ เท่ากะด้วยสายตาราว ๆ 4 x 12 เมตร ใช่ไหมครับ แล้วรบกวนขอประมาณการค่าใช้จ่ายด้วยน่ะครับ จะได้เอาไปเป็นประมาณการคุยกับช่างรับเหมาได้
ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นายฉงน
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 44
|
 ขอมาเก็บเกี่ยวความรู้ด้วยคนนะครับ....ผมเองก็มีโครงการย้ายถิ่นฐานไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่จ.เลย อยู่ที่กทม.ครับไม่มีความรู้เรื่องการเกษตรเลยครับ มีญาติทั้งทางผมและภรรยาทำเกษตรอยู่ก็คงต้องใช้การเรียนลัดกันบ้าง ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนหาที่ดินอยู่ครับ จุดประสงค์หลักคือการเกษียณตัวเองในวัย 45 ปี แต่คิดว่าเวลาที่เหลืออยู่ก็จะเรียนรู้และทำการเกษตรเพื่อจะได้มีสาระให้กับชีวิต ได้เข้ามาศึกษาประสบการณ์จากหลายๆท่านในเวปนี้เพื่อเป็นแนวทาง เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่ได้แบ่งปันกัน ผมก็เริ่มเก็บบันทึกแล้วแต่ของผมต้องเริ่มกันตั้งแต่หาที่ดินและเติมอาหารสมองเลยครับ สู้ๆ ครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 07, 2015, 02:26:01 PM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ตอบคุณ Bankao
ขนาดโรงเรือนทั้งหมดที่เทพื้นปูนคือ 20*6 ตารางเมตรครับ
ขนาดพื้นที่มีหลังคาปิด 12*6 + 4*5 = 92 ตารางเมตร
โดยโครงสร้างแบ่งเป็น ช่องทั้งหมด 5 ช่อง แต่ละช่องขนาด 4*4 ตารางเมตร
1 ช่องแรก เป็นพื้นที่โล่ง ไม่หลังคา สำหรับใช้อเนกประสงค์ที่ต้องการแสงแดด 2 ช่องต่อมา สำหรับโรงเรือนคัดแยก 1 ช่องต่อมา สำหรับห้องเก็บสารเคมีและวัสดุอุปกรณ์ 1 ช่องหลังสุด สำหรับพื้นที่ระบบน้ำ
และทุกช่อง จะมีชานสำหรับเป็นทางเดิน ด้านละ 1 เมตร มันจึงรวมกันเป็น 20*6 ครับ
------------------------ ปูนผมเลือกใช้เบอร์แข็งสุด เพราะราคาต่างกันแค่ หน่วยละ 30 บาท (ถ้าจำไม่ผิดคือ เบอร์ 240) หลังคา ผมเลือก เมทัลชีท ใส่แผ่นกันความร้อน หนา 0.5 อยากได้หนากว่านี้ แต่แถวสวน ไม่มี แผ่นเหล็กใช้ของ บลูสโคป เสาใช้ เสา 6 นิ้ว ขนาด 3 เมตร และเนื่องจากก่อสร้างบนพื้นที่พึ่งถมใหม่จึง ขุดดินถึงชั้นดินเดิม แล้วเทฐานรากก่อน ค่อยวางเสาปูน
คานเป็นแบบ หล่อในที่ เนื่องจากเป็นอาคารชั้นเดียว และลดเวลาการทำงาน โดยแบบหล่อด้านใน ไม่ต้องถอดออก ถอดเฉพาะรอบนอก ใช้อิฐบล็อกเป็นแบบสำหรับการหล่อ
ตัวคาน ผูกเหล็กเอง แต่ตัวพื้นใช้ไวร์เมส
รอบอาคาร ก่ออิฐ ฉาบเรียบ เพื่อกันสัตว์ เช่นสุนัข (ระยะยาวต้องติดมุ้งกันแมลงด้วย)
จัดทำประตูเหล็ก เพื่อปิดเปิดเป็นบานสวิง
ห้องเก็บของ มีหน้าต่างขนาด 100*120 จำนวน 2 จุด ทำไว้เผื่ออนาคตย้ายห้องเก็บเคมีไปที่อื่น ห้องนี้จะเป็นห้องทำงานได้ ประตูเลือกใช้ขนาด 90 ซม. เพื่อให้ขนของสะดวกหน่อย
--------------------------------------------
ที่กล่าวมาทั้งหมด ค่าอุปกรณ์ตอนนี้ประมาณ 120,000 บาท ค่าแรง 50,000 บาท
ไม่รวมค่าระบบไฟฟ้า และค่าแรงเดินระบบไฟฟ้า (ซึ่งผมเดินเอง ถ้าจ้างก็คงเป็นหมื่น)
ระบบไฟฟ้าผมเลือกเดินร้อยสายในท่อ มาตรฐานโรงงานทั่วไป ปลั๊กใช้ PANASONIC แท้ทั้งหมด ระบบท่อใช้ท่อตราช้างทั้งหมด
1. ติดตั้งหลอดผอมยาว ขนาด 40W (36W) จำนวน 6 หลอด 2. ติดตั้งสปอร์ตไลท์ LED 50W แสงเหลือง 2 ดวง 3. ติดตั้งสปอร์ตไลท์ LED 30W แสงเหลือง 2 ดวง 4. ติดตั้งสปอร์ตไลท์ LED 10W แสงเหลือง 2 ดวง 5. ปลั๊ก 3 ขา พร้อมเดินสายดิน ทั้งหมด 12 จุด
ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งหมด ประมาณ 15000 บาท (แพงสปอร์ตไลท์นี่ละ)
ดังนั้น รวมหมดทั้งโรงเรือน น่าจะอยู่ที่ 2 แสนบาทครับ
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, laihan, กัญจน์, Bankao, เพียรบ้านไร่, TAWUN, pook_kkf, muslin2557, aumblueford, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, wondermo, Steve_Jeab
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 07, 2015, 02:28:45 PM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
  แบบแปลงก็ใช้ Layout ออกแบบง่ายๆ ครับ ไม่ได้ทำแบบละเอียด แต่กำหนด BOQ ไว้ค่อนข้างละเอียด เพื่อให้ช่างใช้วัสดุตามสเปกที่เราต้องการทั้งหมด
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, laihan, กัญจน์, Bankao, เพียรบ้านไร่, TAWUN, aumdmax, pook_kkf, muslin2557, aumblueford, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, wondermo, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
|