คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
อัพเดตเพิ่มเติม
เรื่องหัวน้ำหยด หลังจากเปลี่ยนเป็นระบบน้ำหยดคงที่ 8 ลิตรต่อชั่วโมง
แรงดันที่เคยมีในระบบประมาณบาร์กว่าๆ ก็เหลือ ไม่ถึงบาร์
สาเหตุเพราะ 8 ลิตรต่อชั่วโมงนั้น มากเกินกว่าที่ปั้มจะทำงานได้ แรงดันเลยลดลง
ซึ่งเป็นไปตามที่เราต้องการ คือ ต้องการให้แรงดันเหลือน้อย
เพื่อจะได้สร้างแรงดันให้วาวล์เวนจูรี่ได้
แต่ยังไม่ได้ทดลอง จ่ายปุ๋ย
---------------------------------------------------
การตัดแต่งกิ่ง
ผลจากการตัดแต่งกิ่งไป พบความแตกต่างสำคัญคือ
ถ้าตัดตั้งแต่เล็กๆ ทรงพุ่มที่ได้จะสวยงามตามที่เราต้องการ
อาจดูต้นเล็ก ไม่โตใหญ่ แต่ความสูงมันก็ขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโต
ส่วนต้นที่ไม่ได้ตัด พุ่มหนา แต่ทรงไม่สวย
สุดท้ายต้องตัดใจ ตัดกิ่งใหญ่ๆ บางกิ่งที่โตไปในทางที่ผิด ออกทิ้ง อย่างเสียดาย
กลายเป็นต้นเล็กลง แต่ทรงได้
...สรุปง่ายๆ คือ ควรตัดแต่งกิ่งอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้โตเข้าทรง ดีกว่า ตัดเป็นรอบๆ รอกิ่งโตใหญ่แล้วตัด
Liked By: laihan, ปานเทพ, ฟาร์มเงิน สารคาม, pook_kkf, adulsri, TAWUN, deemeechai, กัญจน์, cupn1980, A-lekk, aumblueford, nookie, bundidta, andrew, muslin2557, wondermo, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
hookle
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 271
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
เมื่อวานนี้ ได้มีโอกาสไปอบรม การจัดแต่งทรงพุ่ม กับอาจารย์ รศ. ดร. รวี เสรฐภักดี
ถือเป็นอีกหนึ่งวิชาที่อัศจรรย์ เพราะความรู้ที่ได้ ตอบคำถามตัวเองได้เสมือนว่า ต้นไม้ที่เราปลูก เป็นลูก แล้วลูกของเรามีนิสัยอย่างไร ก็เพราะอะไร
วิชานี้ตอบโจทย์ สวนในแนวคิด "สั่งได้" อย่างชัดเจน
ใครมีเวลาว่าง มีโอกาส ผมขอแนะนำว่าควรเรียนครับ
เพราะข้อมูลที่เห็นในเน็ต กับที่อาจารย์สอนนั้น มันมีความลึก และต้องเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์บางอย่างก่อน เมื่อเข้าใจแล้ว เราถึงนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้กับต้นไม้แต่ละต้นครับ
เอาเป็นว่า ผมขอสรุปเรียกน้ำย่อย ไว้ดังนั้น
การจัดแต่งทรงพุ่ม คือ การกำหนดโครงสร้างต้นไม้ ให้เติบโตในแบบที่เราต้องการ
ดังนั้น กระบวนการแรก จึงต้องถามตัวเองก่อนว่า ต้นไม้ที่ปลูกนั้น ต้องการอะไรจากมัน.... ต้องการผล ต้องการกิ่ง ต้องการสวยงาม ต้องการใช้เนื้อไม้ ต้องการร่มเงา
เมื่อได้ความต้องการแล้ว
กระบวนการที่สองคือ การวางแผนโครงสร้างต้นไม้ ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า การ Training
การเทรนนิ่ง หรือจัดทรง ต้องทำควบคู่ไปกับการ Pruning หรือการตัดแต่ง
เพราะต้นไม้ มีการเติบโต และมีโอกาสมากที่จะไม่เติบโตในแบบที่เราต้องการ ดังนั้นต้องคอยตัดแต่ง บังคับให้มันอยู่ในโครงสร้างที่เราวางแบบไว้
ซึ่งการวางโครงสร้างต้นไม้นี่ละ ที่เราเป็นเรื่องยาก สำหรับต้นเล็กๆ เรากำหนดได้ชัดเจนว่าเราจะวางโครงสร้างอย่างไง แต่สำหรับต้นที่โตแล้ว การวางโครงสร้างใหม่ อาจไม่ตรงกับที่เราวางแบบไว้ ต้องปรับเปลี่ยนหน้างาน ให้ผลลัพธ์สุดท้ายได้ตามเป้าหมายที่เราต้องการ
เมื่อเราวางโครงสร้างเรียบร้อยแล้ว
ลำดับต่อไปคือ การตัดแต่งกิ่ง
ให้ได้ตามโครงสร้าง การตัดแต่งกิ่งนี้ ต้องตัดเรื่อยๆ ตัดบ่อยๆ จนกว่าจะเข้าโครงสร้างที่เราต้องการครับ
ภาพรวมขององค์ความรู้นี้จึงอยู่ที่ การวางโครงสร้าง เพราะถ้าไม่เข้าใจก็จะวางไม่ได้ ตามเป้าหมาย
Liked By: worraphot, กัญจน์, KENETIC_E®, cupn1980, NaiKhaowhom, deemeechai, weekra73, adulsri, ฟาร์มเงิน สารคาม, A-lekk, pook_kkf, ToeyNaKub, TAWUN, aumblueford, น้าอิ๊ด, ปานเทพ, nomadic_man, BEERIDEA, s.prakarn, nookie, bundidta, muslin2557, andrew, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
wittawat_D
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 115
|
สวัสดี ครับ ผมกะคนชุมแพคือกัน สวนอยู่บ้านไดครับ ว่างๆสิเข้าไปชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
สวนตั้งอยู่บนถนน 201 มุ่งหน้าจังหวัดเลย ตำบลนาหนองทุ่มครับ ถ้าสนใจก็ติดต่อผ่านทางเฟสบุ๊กได้เลยครับ https://www.facebook.com/chokdeechumphae
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
กลับสงกรานต์ รอบนี้ ไปติดตั้งสปริงเกอร์ ป้องกันเพลี้ยไฟ และอากาศร้อน อากาศร้อน ส่งผลกระทบต่อต้นไม้คือ ปากใบเปิด เมื่อปากใบเปิด ก็จะเกิดการคายน้ำ ...แต่หน้าร้อน ดินก็ร้อน น้ำจะพอหรือไม่ ...คำตอบคือ ไม่พอ เมื่อน้ำไม่พอ แต่ต้องคายน้ำเพื่อลดอุณหภูมิ ผลคือ ต้นไม้ขาดน้ำ เซลขาดน้ำ ส่วนดิน น้ำถูกดูดไปจากพืช และระเหยจากความร้อน หน้าดินจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศา ... ผลคือ รากจะไม่สามารถอยู่บนผิวได้ รากที่อยู่ด้านบน ซึ่งเป็นรากที่ได้รับอากาศได้ดี ก็จะตาย ดังนั้น... การติดสปริงเกอร์จะช่วยลด อุณหภูมิโดยภาพรวมทั้งหมด ได้  
Liked By: กัญจน์, ฟาร์มเงิน สารคาม, noynadun, andrew, pook_kkf, ปานเทพ, nomadic_man, cupn1980, Manit_A, s.prakarn, laihan, bundidta, adulsri, TAWUN, muslin2557, aumblueford, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
สร้างหลักประกันทางการเกษตร ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวง ขุดลึกแค่ 2 เมตร ขนาด 20*40 เมตร (ดินเอาไปถมที่ เตรียมปลูกโรงเรือนสำหรับทำงาน) เพื่อใช้เลี้ยงปลาด้วย ได้ปลาไว้กินไว้ขาย เป็นการประกันรายได้ ด้วยการเพิ่มช่องทางเข้าของรายได้อีกทางหนึ่ง  
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, andrew, pook_kkf, ปานเทพ, nomadic_man, gotoloei, cupn1980, Manit_A, กัญจน์, s.prakarn, laihan, bundidta, TAWUN, muslin2557, aumblueford, vigo74, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
andrew
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1514
|
รอชมสระ กับโรงเรือน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
FB: pathumthipgarden
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
วันนี้ขอบันทึกเรื่อง
การวางแผนผังพื้นที่...
ปีแรกที่เริ่มต้นสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ปัจจัยเรื่องลมน้ำ มีผลกระทบน้อย แต่เราก็พยายามแก้ไขกันมาจนไม่เป็นปัญหา... มีปีนี้ เรื่องน้ำเราควบคุมทิศทางได้ จากการทำร่องระบาย แต่เรื่อง ลม เราควบคุมไม่ได้เลย
จึงได้มานั่งวิเคราะห์ความผิดพลาด (After Action Review) ก็พบปัจจัยหลักที่พลาดตั้งแต่แรก จึงอยากเขียนบันทึกไว้ เพื่อเตือนใจทุกคนที่ได้เข้ามาอ่าน
ทิศทางลม หรือลมประจำถิ่น ของแต่ละพื้นที่ ไม่เหมือนกัน เราต้องดูให้ดีว่าลมประจำถิ่นของเรา พัดจากทิศไหนไปทิศไหน
เมื่อทราบแล้ว สิ่งที่ควรกำหนดวางแผนคือ ...
อาคาร สิ่งก่อสร้าง ต้องอยู่เหนือลมทั้งหมด... สาเหตุ
- อาคาร สิ่งก่อสร้าง จะช่วยกั้นลม ชะลอลม ให้มีความเร็ว ความรุนแรง น้อยลง - เมื่อมีการฉีดพ่นสารเคมี ผู้อาศัยในพื้นที่ จะไม่โดนละออ ของสาร เนื่องจากอยู่เหนือลม
กำแพง หากเรามีทุนน้อย กำแพงที่ควรสร้างก่อน คือ กำแพงด้านเหนือลม ไม่ว่ากำแพงนั้นจะเป็นต้นไม้ หรือ เสาปูนลวดหนาม เพราะกำแพง ก็เป็นอุปกรณ์ช่วยลดความเร็วลมได้ส่วนหนึ่ง
Liked By: กัญจน์, น้าอิ๊ด, ฟาร์มเงิน สารคาม, nomadic_man, k_nop9, pook_kkf, s.prakarn, KENETIC_E®, laihan, adulsri, Manit_A, cupn1980, เพียรบ้านไร่, ToeyNaKub, TAWUN, muslin2557, andrew, aumblueford, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, vigo74, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
Dacha Farm
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 9
|
ผมก็คนชุมแพครับ อยู่ตำบลวังหินลาดครับ พึ่งปลูกมะนาวไป 2 ไร่ ระยะเวลาน่าจะใกล้เคียงกับของพี่ครับ ไม่ได้เข้ามานานพึ่งเจอกระทู้ครับ วันไหนว่างจะขอแวะไปเยี่ยมชมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
nutchada
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 565
|
มะนาว งามขนาด เป็นกำลังใจให้คนชุมแพเหมือนกันค่ะ สู้ต่อไปค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
สวัสดีทุกท่านครับ ช่วงนี้วุ่นๆ กับการเตรียมแปลงใหม่ครับ ต้องคิดแผนเยอะ เนื่องจากต้องตัดสินใจลงก้อนใหญ่ดีหรือไม่ เลยไม่ได้มาอัพเดตเลย วันนี้ขอบันทึกเรื่องตัดหญ้าละกันครับ หญ้า ถือเป็นต้นทุนแฝงที่สำคัญ ไม่จัดการหญ้าก็ไม่ได้ จัดการก็เสียเงิน เสียเวลา แล้วไม่จบไม่สิ้น สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการจัดการหญ้าคือ ข้อดี 1. หญ้าขึ้นตรงไหน แสดงว่า ดินตรงนั้นพอปลูกอะไรได้ ถ้าตรงไหนไม่ขึ้นเลย... ต้องปรับปรุง ดังนั้น หญ้าเป็นดัชนีชี้วัดที่ดีสำหรับการดูดิน ถ้าไปซื้อที่ดินเปล่าๆ แล้วไม่มีหญ้าขึ้นเลย อันตราย 2. หญ้าเป็นอินทรีย์วัตถุที่ดี ถ้าเราสามารถจัดการเมล็ดหญ้าให้ฝ่อได้ แล้วนำมาหมักเราจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอินทรีย์วัตถุจำนวนมาก 3. หญ้าช่วยปกปิดหน้าดิน ช่วยให้ดินชื้น ไม่แล้ง หน้าดินไม่ถูกชะล้าง 4. หญ้า เป็นพืชบุกเบิกชนิดหนึ่ง ดังนั้นหมายความว่า หน้าที่ของมันคือ ทำให้ดินมีสภาพพร้อมสำหรับต้นไม้อื่นๆ รากของหญ้าจะช่วยพรวนดิน ใบหญ้าเมื่อตายจะกลายเป็นปุ๋ย (ข้อ 2,3) ส่วนข้อเสีย 1. หญ้านำพาเชื้อโรคบางอย่างสู่ต้นไม้ใหญ่ได้ 2. หญ้าแย่งอาหารและน้ำ ในกรณีที่พืชยังเล็ก ดูข้อดีข้อเสีย แล้ว การจัดการหญ้าที่ดีคือ ทำอย่างไรให้ใช้ประโยชน์จากหญ้าได้มากที่สุด แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด เสียเวลาในการจัดการน้อยที่สุด แต่ยืดเวลาในการจัดการซ้ำได้นานที่สุด คำตอบนี้ ไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ที่สวนผม หญ้า 1 แถว ขนาด 2*80 เมตร หรือ 160 ตารางเมตร ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายตัด เสียเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เสียน้ำมันประมาณ 600 ซีซี หรือคิดง่ายๆ ที่ 20 บาทไปเลย (มีค่าน้ำมันเครื่องด้วย) คิดค่าเสื่อมค่าบำรุงรักษาเครื่องชั่วโมงละ 10 บาท แรงงาน 1 คน ตัดหญ้าได้ประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน (อึดๆ ) แต่ถ้าคิดแบบพอเหมาะพอควร ควรจะคิดที่ 4 ชั่วโมงต่อวันแทน (แทนการตัดช้ากว่าปกติ หรือแทนการพักเหนื่อยก็ได้) ก็จะได้ค่าใช้จ่ายเท่ากับ ชั่วโมงละ 300/4 = 75 บาท รวมๆ แล้ว หญ้า 1 ตารางเมตร เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการเท่ากับ (20+10+75) / 160 = 0.65 บาท พื้นที่ 1 ไร่ เสียค่าจัดการหญ้าเท่ากับ 1,040 บาท เราได้ตัวเลข Base สำหรับการจัดการหญ้าแล้ว ต่อไปคือ การหาโซลูชันที่เหมาะสม ซึ่งตัวแปรต่างๆ จะมีตัวแปรที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบคือ ความเร็วในการทำงาน ตรงจุดนี้ผมยังไม่มีเครื่องมืออื่น แต่เท่าที่ตามอ่านในเน็ต รถไถเล็กติดเครื่องตัดหญ้า ราคาราวๆ 50,000 บาท (แต่ใช้ทำอย่างอื่นได้อีก เช่น ไถ) รถไถดังกล่าวสามารถตัดหญ้าในพื้นที่เฉลี่ย 5 ไร่ ได้เสร็จใน 1 วัน ถ้าคิดแบบง่ายๆ เอาว่า วันหนึ่งทำงานแค่ 5 ชั่วโมง ก็ได้ 1 ไร่ต่อ 1 ชั่วโมง ถ้ารถไถคันหนึ่ง เอามาตัดหญ้าอย่างเดียว อายุการใช้งานสัก 500 ชั่วโมง ก็เท่ากับชั่วโมงละ 100 บาท ค่าบำรุงรักษาอีกชั่วโมงละ 10 บาท ค่าน้ำมันอีก 20 บาท เท่ากับมีต้นทุนด้านอุปกรณ์ที่ 130 บาท ค่าแรง 350/5 = 70 บาท รวม 200 บาท ต่อพื้นที่ 1 ไร่ต่อ 1 ชั่วโมง ดังนั้นคิดแล้วตก ตารางเมตรละ 0.125 บาท จะเห็นว่า เครื่องมือใหญ่ขึ้น ลงทุนมากขึ้น แต่ต้นทุนกลับต่ำลง แถมสิ่งที่ได้นอกเหนือจากนี้อีกคือ เวลา คนงาน 1 คน ทำงานได้ 5 ไร่ต่อวัน กับ ไม่ถึงไร่ต่อวัน ถ้ามีที่ 5 ไร่ เครื่องมือเล็กก็ย่อมเสียเวลา มากกว่า เมื่อเสียเวลาก็เสียโอกาสในการทำอย่างอื่น... ................... จะเห็นว่าแค่หญ้า ...ถ้ารักการเป็นเกษตรกร ก็ต้องคิด... และเก็บหอมรอมริบ เพื่อลงทุน (แต่จริงๆ ถ้าเป็นเกษตรกรมานานแล้ว รถไถเดินตามเล็กๆ มีอยู่แล้ว แค่ลงทุนเครื่องตัดหญ้าต่อเกียร์รถไถได้น่าจะไม่เกิน 10,000 บาท ก็ได้แล้วครับ .................. อ่านแล้วลองเป็นไอเดียดูนะครับ
Liked By: bundidta, กัญจน์, laihan, adulsri, ฟาร์มเงิน สารคาม, Manit_A, ToeyNaKub, cupn1980, KENETIC_E®, เพียรบ้านไร่, TAWUN, nomadic_man, muslin2557, aumblueford, andrew, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
วันนี้ได้น้องนักออกแบบที่น่ารัก รับแนวคิดไป แล้วพัฒนาโลโก้ของสวน เสร็จเรียบร้อย เลยเอามาแบ่งปันให้ชมกันครับ  ผมเลือกใช้ นกฮูก และใบโคลเวอร์ เพราะ นกฮูกเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอชุมแพ มีที่มาจาก ผานกเค้า (หลายคนคิดว่าผานกเค้าอยู่ภูกระดึง เพราะเป็นจุดจอดรถ แต่จริงๆ อยู่ในอำเภอชุมแพครับ) ส่วนใบโคลเวอร์ 4 ใบ หมายถึง ความโชคดี เพราะปกติ ใบโคลเวอร์จะออกเพียง 3 ใบ มีโอกาสน้อยมากๆ ที่จะออก 4 ใบ ใครได้เจอย่อมหมายถึงโชคดี และเป็นความโชคดีที่เกี่ยวกับพืช ต้นไม้ จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้แทนทั้งชื่อ "โชคดี" และความโชคดีในการทำการเกษตรต่อไปในอนาคต
Liked By: ToeyNaKub, กัญจน์, ยศนิธิ, ฟาร์มเงิน สารคาม, cupn1980, TAWUN, adulsri, nomadic_man, muslin2557, aumblueford, laihan, pook_kkf, wondermo, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
วันก่อนเขียนเรื่องหญ้าไว้ วันนี้มาบันทึกเพิ่มเติม สิ่งที่ควรลงทุนในอุปกรณ์ตัดหญ้า ต้องมีติดสวนเลย 3 แบบ คือ 1. กรรไกรตัดหญ้า เอาไว้เล็มหญ้าที่ใกล้กับสิ่งที่ต้องระวัง เช่น สายท่อ PE เป็นต้น เอาไว้ตัดในพื้นที่ซึ่งปล่อยให้หญ้าขึ้นได้บ้าง แต่ต้องตัดบ้างเพื่อความสะอาดตา แต่ถ้าเป็นพวกโคนต้นไม้ แนะนำให้ถอนด้วยมือจะดีกว่า 2. เครื่องตัดหญ้าสะพาย แนะนำให้ลงทุนสูงหน่อยเป็นแบบสะพานเป้ สามารถตัดได้นานกว่า และส่งผลต่อไหล่น้อยกว่า แต่ถ้าไม่ซีเรียสก็สะพานบ่าข้างเดียวก็ได้ เพระาถูกกว่าเยอะ 3. เครื่องตัดหญ้าขนาดใหญ่ อันนี้ ขึ้นกับงบประมาณลงทุน และความคุ้มค่า ต้องลองดูเอง คำนวณเองว่า หญ้าที่มี ต้องใช้งบประมาณเท่าไรในการจัดการ แล้วถ้าลงทุนแล้ว จะคุ้มทุนเมื่อไร ------------------------------------------------------------- ที่สวนเกษตรโชคดีชุมแพ ผมคำนวณแล้ว จึงเลือกลงทุนเป็น รถไถเล็กเดินตาม เหตุที่เลือกเพราะ 1. รถไถเล็กเดินตาม แรงม้า ไม่ได้มากเกินไปในการตัดหญ้า กล่าวคือ ถ้าเป็นรถไถใหญ่ ติดตัวตัดหญ้าด้านหลัง แรงม้าเหลือๆ เหมาะสำหรับงานตัดหญ้าใหญ่ๆ หญ้าสูงๆ ปริมาณมากๆ ในคราวเดียว แต่ถ้าเราตัดบ่อยๆ หญ้าจะสั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้แรงมาก ยิ่งแรงมากย่อมหมายถึง อัตราปริโภคน้ำมันยิ่งมากตาม 2. รถไถเล็กเดินตาม ของญี่ปุ่น น้ำหนักจะน้อยกว่าของไทยอยู่เกือบ 60-80 กิโลกรัม และหนักน้อยกว่ารถไถนั่งขับเล็ก มาก ซึ่งหมายถึง การกดอัดดิน จะน้อยกว่า อันส่งผลต่อความแน่นของดิน หรือการติดหล่มได้ ประเด็นนี้ต้องชั่งน้ำหนักว่า อยากจะกดอัดดินหรือไม่ ถ้าอยาก ก็ใช้รถไถใหญ่ได้ กดมากๆ ดินแน่นมาก หญ้าก็โตช้า ... แต่ถ้าดินในสวนของเรามีลักษณะนิ่มและร่วนมาก จะใช้รถไถใหญ่ไม่ได้เลยเวลาฝนตกติดต่อกัน... ซึ่งช่วงฝนตกติดๆ กันเป็นช่วงที่หญ้าจะขึ้นสบายๆ 3. รถไถเล็กเดินตาม ยังเอาไปใช้ทำอย่างอื่นได้ แต่ถ้างบน้อย อาจเลือกเฉพาะที่เป็นรถตัดหญ้าก็ได้ แน่นอนว่าใช้งานเฉพาะสบายกว่า เพราะเบากว่า และราคาถูกกว่าเกือบ 10 เท่า แต่ใช้งานได้อย่างเดียว (ถอดเครื่องไปทำอย่างอื่นได้ แต่วุ่นวายกว่าเยอะ) 4. เหตุผลส่วนของสวน... เนื่องจากที่สวน ยังไม่มีเครืองยนต์ใหญ่ ที่มีกำลังฉุด (เครื่องเบนซิน 6.5 แรง มีแล้ว แต่แรงฉุดไม่เท่ากัน) จึงกะว่าเอามาใช้ลากเทเลอร์ ไว้ขนของในสวนด้วย ไว้เซาะร่องหน้าฝน แก้ทางน้ำด้วย ไว้พรวนดินด้วย... จิปาถะ เพราะมันเป็นรถไถ นั้นละครับ...   ---------------------------------------------- ผลการใช้งาน ถือว่าประทับใจมาก เพราะเร็วมาก แรงของเครื่องยนต์ทำให้ตัดหญ้าได้ดี ตัดได้ปริมาณมากในคราวเดียว ใส่เกียร์ 3 ก็เดินตามแทบไม่ทันแล้ว... แต่เนื่องจากคนงานยังใช้ไม่คล่อง เลยยังไม่ติดเบาะให้ ไว้คล่องๆ แล้ว ค่อยใส่เบาะ (แต่เวลาวิ่งรถไปเก็บใส่เบาะ วิ่งสบายเลย) แต่ก็มีติดขัดบ้าง ตรงที่ต้องแต่งเพิ่มเติม ทำจุดวางน้ำหนักถ่วง เพื่อให้น้ำหนักบาลานซ์ (ตามภาพเอาหินถ่วงไว้)
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, กัญจน์, adulsri, nomadic_man, cupn1980, muslin2557, aumblueford, laihan, pook_kkf, wondermo, TAWUN, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
อัพเดต เรื่องน้ำ ฝนตกหนัก ช่วงพายุเข้าอีสานที่ผ่านมา อาทิตย์ก่อน นำน้ำเข้าเต็มบ่อ แรกๆ ก็ลดลงบ้าง แต่ตอนนี้อยู่ตัวแล้วครับ ไม่ลดแล้ว แสดงว่าเริ่มเก็บน้ำอยู่แล้ว ดินที่สวน ลึก 2 เมตร เริ่มเป็นชั้นหินลูกรัง ผมโยนหญ้า โยนฟางลงไป ตอนนี้เริ่มมีตะไคร่ เริ่มเน่านิดหน่อย รอสร้างสภาพบ่อน้ำ คงต้องใช้เวลาพักใหญ่ ช่วงนี้ยังไม่ว่างไปเอา หญ้าแฝก เลย จะเอามาปลูกรอบๆ บ่อ เพื่อป้องกันแนวดินทลายด้วย  นอกจากนี้ผมยังได้มีโอกาสไปเรียน Q อาสา Smart Farmer กับเขาด้วย จึงนำความรู้มาแก้ไขงานในสวน เริ่มจาก การสร้างแนวกันชน เป็นกล้วยครับ ง่ายที่สุด กล้วยใบใหญ่ โตเร็ว ปลูกระยะ 2 เมตร เมื่อโตเต็มที่ไม่ต้องไปดูแลอะไร มันจะกลายเป็นแนวกันชน กันลม กันสารเคมีให้โดยปริยาย  
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, กัญจน์, adulsri, nomadic_man, ToeyNaKub, KENETIC_E®, Bankao, cupn1980, muslin2557, aumblueford, laihan, noynadun, pook_kkf, aumdmax, TAWUN, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
จากประสบการณ์ ริเริ่มแปลงมะนาว ปีที่แล้ว ปีนี้เลยจัดเต็มกับการเตรียมพร้อมเรื่องดิน ยอมจ่ายออกทุกบาท เพื่อให้ทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม เพราะคำนวณแล้ว ที่สวนเกษตรโชคดีชุมแพ เราคงไม่สามารถทำตามเกษตรทฤษฎีใหม่แบบตรงๆ ได้ กล่าวคือ การลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด ด้วยการสร้างเอง ปลูกเอง ทำเอง หมุนเวียนในระบบ แต่ปริมาณที่เราต้องใช้มันมากเกินกว่าจะผลิตได้เอง ปีนี้จึงขอเริ่มด้วยการซื้อ 555 วันนี้จึงขอพูดถึงเรื่อง ขี้วัว...วัว 1 ตัว สามารถให้ขี้วัวได้ 6 กิโลกรัม (เป็นน้ำหนักสด) หรือน้ำหนักแห้งประมาณ 1.8 กิโลกรัม (ค่าเฉลี่ยน้ำหนักแห้ง 30% ของน้ำหนักสด) ซึ่งหมายถึง วัว 1 ตัว ผลิตขี้วัวได้ปีละ 1.8 ตันน้ำหนักสด หรือประมาณ 500 กิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ดังนั้น ถ้าผมจะผลิตปุ๋ยหมักแม่โจ้ 1 ตัน ซึ่งต้องใช้ขี้วัว 1 ตัน เช่นกัน ผมต้องมี วัวจำนวนเท่าไร? ปุ๋ยหมักแม่โจ้ 1 ตัน ใช้เวลา 2 เดือน ในการหมัก เพื่อได้ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ต้องมีผลผลิตขี้วัว 1000/60 = 16.66 กิโลกรัมต่อวัน หรือคิดเป็น วัว 3 ตัว แต่ปริมาณมะนาว 800 ต้น และพืชอื่นๆ อีกในสวนที่จะลงช่วงฝนนี้ รวม 7000 ต้นในสิ้นปีนี้ และอีก 12000 ต้น ในสิ้นปีหน้า รวม อนาคตจะมีต้นไม้ในสวนเกษตรโชคดีชุมแพไม่ต่ำกว่า 20000 ต้น แต่ละต้น ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 2 กิโลกรัมต่อปี หรือเท่ากับต้องใช้ปีละ 40 ตัน ดังนั้น อย่างน้อยๆ ต้องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ เดือนละ 3.4 ตัน เป็นอย่างน้อย หรือต้องมีวัว 11 ตัว เป็นอย่างน้อย แถมด้วย ต้องมีพืชสด ไม่ต่ำกว่า 14 ตันต่อเดือน .... คำนวณแล้ว คำตอบจึงออกมาว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะผลิตเอง ใช้เองทั้งหมด แต่เป็นไปได้ที่จะผลิตเองเพื่อลดต้นทุนส่วนหนึ่งเท่านั้น ปีนี้ จึงตัดสินใจ ซื้อขี้วัว มาเตรียมไว้ก่อน 15 ตัน โดยใช้วิธีหมักพร้อมไถกลบ ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งนำไปหมักให้เป็นปุ๋ยแม่โจ้  ขึ้นร่องลูกฟูก ขนาด 1 เมตร ร่องกว้าง 1 เมตร ยาว 62 เมตร เตรียมสำหรับพืชชนิดต่อไป ชนิดนี้รายได้ทุกๆ 60-90 วัน   ส่วนความคืบหน้าของบ่อ เริ่มมีตะไคร่ขึ้นแล้ว 
Liked By: adulsri, muslin2557, กัญจน์, ฟาร์มเงิน สารคาม, nomadic_man, aumblueford, cupn1980, laihan, pook_kkf, andrew, nuyelec, TAWUN, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
|