ระบบจ่ายปุ๋ยทางน้ำการให้ปุ๋ย เป็นงานประจำของชาวสวน ชาวไร่ พืชบางชนิดก็แสนง่าย แค่หว่านๆ โปรยๆ ก็เรียบร้อย แต่พืชบางชนิด ต้องวางรอบโคน บางชนิดต้องวางติดโคน บางชนิดห้ามโดนใบ ไม่งั้นใบไหม้
ดังนั้นงานการให้ปุ๋ยสำหรับเกษตรกรบางคนจึงเป็นเรื่องเบาๆ แต่สำหรับเกษตรกรบางกลุ่มถือเป็นเรื่องหนักเลยทีเดียว
สำหรับมะนาวเอง โดยพื้นฐานเราจะให้ปุ๋ยตามอายุปีหารสอง หน่วยเป็นกิโลกรัมต่อปี คือ ถ้าอายุ 1 ปี ให้ปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 500 กรัม อายุ 2 ปี ให้ปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม
ดังนั้นเฉลี่ยๆ แล้วสำหรับมะนาวปีแรกๆ จึงให้ปุ๋ยเท่ากับ 500/12 ก็ประมาณ 41.67 กรัมต่อเดือน
เป็นงานเบาๆ แต่ต้องทำทุกเดือน และมะนาวเป็นไม้ผลทีต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
ทางสวนเกษตรโชคดีชุมแพ เราจึงคิดตัดสินใจ เลือกระบบจ่ายปุ๋ยทางน้ำ เพื่อลดแรงงาน จากการเสียเวลาเดินให้ปุ๋ยครึ่งวัน เป็นเพียงแค่ 10-20 นาที (ตามหลักการ ลดได้)
ทีนี้วิธีจ่ายปุ๋ยทางน้ำ มีหลายวิธี คือ
1. อัดฉีดเข้าระบบด้วยแรงดึงดูดธรรมชาติ วิธีนี้คือ ยกถังปุ๋ย ให้สูงกว่า ระบบท่อเมนของระบบจ่ายน้ำ จากนั้นต่อท่อจากถังปุ๋ย กั้นด้วยวาล์ว แล้วต่อเข้าระบบท่อเมนอีกที
เวลาจ่ายปุ๋ย ก็ผสมปุ๋ยในถังให้เรียบร้อย แล้วเปิดวาล์ว ให้น้ำไหลเข้าระบบท่อตามการไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำปกติ
น้ำปุ๋ย จะเข้าไปอยู่ในท่อเมน เมื่อเข้าไปจนหมดแล้ว ก็ปิดวาล์ว
แล้วเปิดระบบจ่ายน้ำตามปกติ แรงดันจากระบบปกติ จะดันน้ำปุ๋ยที่ค้างอยู่ในท่อ ออกไปจ่ายตามหัวจ่ายเองอัตโนมัติ


ผมขอยืมภาพมาประกอบนะครับ จากไร่กล้อมแกล้ม
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2604ในเว็บเขาบอกว่า เป็นหลักการเวนจูรี่ แต่ผมดูอุปกรณ์แล้ว น่าจะหลักการแรงดันน้ำปกติ มากกว่า
โดยอุปกรณ์ของที่ไร้กล้อมแกล้ม ใช้หลักการข้อ 1 แต่ทำตรงข้าม
กล่าวคือ ใช้การเติมปุ๋ยเข้าไปในขวดแก้ว 1 ลิตร แล้วเปิดวาล์ว ให้แรงดันน้ำปกติ ดันปุ๋ยกลับเข้าระบบ
ซึ่งก็เหมือนหลักการข้อ 1 ที่เราเติมปุ๋ยเข้าสู่ท่อเมน แล้วใช้ปั้มปกติดันต่อ
แต่ไม่ใช่หลักการของวาล์วเวนจูรี่แน่นอน
ในเว็บบอกว่าเทียบราคาแล้วถูกกว่า อาจใช่หากเทียบกับระบบวาล์วดีๆ แต่ถ้าเป็นวาล์วเวนจูรี่แบบของผม ผมว่า แบบของผมถูกกว่าเมื่อเทียบประสิทธิภาพการใช้งาน
2. การจ่ายปุ๋ยด้วยหลักการดูด แบบวาล์วเวนจูรี่
หลักการของวาล์วเวนจูรี คือ การสร้างความแตกต่างของแรงดัน จนเกิดแรงดูดอากาศ

ดังนั้น การใช้งานวาล์วเวนจูรี่ได้ผล ต้องมีความแตกต่างของแรงดันเข้า กับแรงดันออก อย่างน้อยๆ 0.75 บาร์ ขึ้นไป (ตามคู่มือ) แต่ผมลองแล้วถ้าให้ได้ผลต้องสัก 1 บาร์ ถึงจะดูดได้ดี
วิธีการสร้างก็ตามภาพเลยครับ
ต่อท่อแขนงขนาดเล็กกว่าท่อเมน ยิ่งมากยิ่งดี เพราะจะยิ่งสร้างแรงดันได้เยอะ เช่น ท่อเมน 2 นิ้ว ควรใช้ท่อย่อยต่อวาล์วที่ 3/4 หรือ 1/2 นิ้วไปเลย
ตอนผมซื้อ ต้องคำนวณดีๆ นะครับ
ผมซื้อขนาด 1 นิ้ว เพราะดูจากสเปก จ่ายปุ๋ยได้สูงสุด 500 ลิตรต่อชั่วโมง หรือถัง 100 ลิตรควรจะดูดหมดใน 10-15 นาที
แต่เอาจริงๆ การสร้างสภาพแรงดันมีส่วนมาก ถ้าแรงดันต่างกันน้อยกว่า 0.75 ก็จะไม่ดูด
ดังนั้น ขนาดท่อจึงสำคัญ
ตัวอย่างของผม แรงดันน้ำวิ่งมาที่เกือบๆ 2 บาร์ สร้างแรงดันได้ 1.5 บาร์ แรงดันออก 0.5 บาร์ จึงดูดได้ที่ 1 บาร์
ดูจากเอกสารสเปก จะดูดปุ๋ยได้ 540 ลิตรต่อชั่วโมงครับ
ต่อวาวล์ตามภาพเสร็จแล้ว ก็ใช้งานได้เลย ง่ายๆ 555