Easyman_ubon
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 267
|
1.เรื่องไฟฟ้าในสวนครับ ข้อมูล หม้อไฟ 5 แอมป์ ลากสายดำคู่ยาว 250 เมตร ที่สวนก็เมือนบ้านอุปรณ์ไฟฟ้าก็จะมี ตู้เย็น 2 เครื่อง นอกนั้นก็เครื่องซักผ้า พัดลม ไฟส่องสว่าง 5 หลอด ถ้าเปิดพร้อมกัน คำถามคือ ผมจะใช้ซัมเมอส สัก 1.5 แรง พอได้ไหมครับ จะมีปัญหาไฟตกไหมครับ ถ้ามีผมควรจะแก้ปัญหาอย่างไรครับ
2.ผมจะทำแทงค์น้ำขนาด 2500 ลิตร ปล่อยเข้าสวนกับมินิสริงเกิอร์ประมาณ 300 หัว แต่จะแยกจ่ายทีละ 100 หัว แต่ละหัวใช้น้ำประมาณ 10 ลิตร ความสูงของแทงค์ประมาณ 5 เมตร จุดที่ตั้งของแทงค์อยู่จุดสูงสุดของสวน ความลาดชันน่าจะ 30-40 cm. ระยะจ่ายน้ำไกลสุด 100 m. คำถามคือ ผมจำเป็นต้องใช้ปั๊มจ่ายน้ำไหมครับ
ขอบคุณล่วงหน้านะครับ ผมหาเรื่องปวดหัวให้รึเปล่าครับ
มาตอบแล้วครับ ข้อ 1. หม้อขนาด 5A ใช้ไฟฟ้าได้สูงสุดคือ 220*5 = 1100 วัตต์ ดังนั้นถ้าใช้ปั้ม 1.5 แรงหรือ 750*1.5 = 1125 วัตต์ ดังนั้นตอบได้ง่ายๆ ครับ ไม่เพียงพอ ถ้าจะพอ ต้องแก้ไข คือ เพิ่มขนาดหม้อไฟ ให้เป็น 15A ก่อน ส่วนคำถามต่อมา ระยะ 250 เมตรพอหรือไม่ ให้ตรวจสอบจาก ระยะหม้อแปลงไฟฟ้าตัวใหญ่ครับ ว่าจากหม้อแปลงตัวใหญ่นั้น ลากมาถึงบ้าน ยาวเกิน 1 กิโลเมตรหรือไม่ ถ้าเกิน มีโอกาสไฟฟ้าตกแน่นอนครับ ทีนี้ไฟฟ้าตกหรือไม่ มาจากสองปัจจัย คือ ขนาดหม้อแปลงไฟฟ้า ถ้ามันเล็กเกินปริมาณการใช้ ก็จะเกิดไฟฟ้าตกได้ กับสองคือ ระยะห่างจากหม้อแปลง เพราะไฟฟ้ามีการสูญเสียตลอดทางเดิน ถ้ายิ่งไกล แรงดันยิ่งตกครับ มาตรฐานการไฟฟ้า จึงไม่ให้เกิน 1 กิโลเมตรจากหม้อแปลงครับ ข้อ 2 - จากโจทย์ ดูเหมือนว่า จะได้แรงดันประมาณ 0.5 บาร์ จากความสูง 5 เมตร ทีนี้ ถ้าเป็นมินิสปริงเกอร์ ต้องทดสอบดูครับ ว่า จะหมุนจ่ายน้ำได้หรือไม่ ถ้าได้ ระยะที่กระจายน้ำอาจจะน้อยกว่า แต่การคำนวณต้องคำนวณจาก ความสามารถการจ่ายน้ำของหัวมินิสปริงเกอร์ครับ ส่วนใหญ่ไม่มี 10 ลิตรนะครับ ส่วนใหญ่คือ 40 ลิตรต่อนาทีขึ้นไป ดังนั้น โดยภาพรวม ถ้าจะจ่าย 100 หัว ต้องมี 4000 ลิตรเป็นอย่างน้อย และแรงดัน 0.5 ไม่น่าจะพอครับ สรุปคือ น่าลองครับ เพราะถ้าทำไม่ได้ จ่ายน้ำไม่ได้ ก็แค่เพิ่มปั้มเข้าไป 1 ตัว ขอบคุณมากครับ เดี๋ยวกลับบ้านรอบนี้จะไปสำรวจหม้ออีกครั้งครับปุ๋ย ลองแจ้งที่ไฟฟ้า หรือเช็คกับเจ้าหน้าที่ที่ไฟฟ้าก่อนได้เลยว่าพื้นที่ๆเราอยู่หม้อเเปลงที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกี่แอมป์ เพราะปกติถ้าไฟฟ้ามีการติดตั้งหม้อแปลงไฟเพิ่มเติม ทางไฟฟ้าก็จะ upgrade มิเตอร์ไฟและกระแสให้เราโดยอัตโนมัติ หรือตามรอบในบันทึก หรือก็ต่อเมื่อเราทวงถาม หรือท้วงไปว่าบ้านอื่นเปลี่ยนแล้วทำไมเรายังไม่เปลี่ยน ทางที่ดีลองเข้าไปคุยดู อย่างบ้านพี่เดิมขอไว้ 10 แอมป์ พอเค้าเปลี่ยนหม้อแปลงที่หน้าปากทางบ้าน เค้าก็ไล่เปลี่ยน 15แอมป์ให้หมดเลย อย่างเมื่อกลางปีที่ผ่านมาพี่ไปขอทำเรื่องเพิ่มไฟเป็น 30 แอมป์ ไปเดินเรื่องตั้งนาน ปรากฏว่ามาเช็คอุปกรณ์ที่เสาไฟหน้าบ้าน เค้าเปลี่ยนเป็น 30 แอมป์ไปให้ตั้งนานแล้ว ขอบคุณครับ ว่าจะเข้าไปขออัพเป็น 15 แอมป์ ครับ กลัวไม่พอใช้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
" บ้าน สวน นา ดี " บ้านโนนกุง ต.โนนกุง อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี 34130
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ก่อนอื่นขอชี้แจงก่อนนะ
- สไตล์ การตอบของผม อาจไม่ถูกใจใคร ก็อย่าถือสาครับ ผมเป็นคนไม่มีอะไร คุยกันบนโต๊ะ แล้วจบ ดังนั้น เถียงเป็นเถียงครับ แต่รับฟังทุกความคิดและเหตุผล ถ้าผิด ผมก็ยอมรับผิดครับ
----------------------------------------------
เรื่อง แคงเกอร์
ผมอธิบายเร็วไปนิด แต่แก่นยังคงเดิม กล่าวคือ
การจัดการแคงเกอร์ ประกอบด้วย
1. การตัดกิ่งเพื่อกำจัดกิ่งที่เสีย คำว่ากิ่งเสียคือ มีสเก็ดขึ้น คำว่าใบเสีย คือ ใบมีจุดเหลือง หรือมีสะเก็ดขึ้น ดังนั้น ถ้าต้นไหนที่กิ่งไหนมีแผลแคงเกอร์แสดงออกมา ต้องตัดทิ้งทั้งหมด ไม่ว่ามันจะต้นเล็กหรือต้นใหญ่ เพราะปล่อยทิ้งไว้ จะทำให้ต้นไม่แข็งแรง และมีเชื้ออยู่รอ .... ดังนั้น หมายถึง ถ้าแคงเกอร์ขึ้นโคน ต้นนั้นต้องเอาออก อย่าไปเลี้ยงทำพันธุ์ ทำลูก หรือจะลองตัดทิ้งแล้วปล่อยให้ขึ้นกิ่งใหม่ก็ลองดูได้ ปกติต้นมะนาวตายยากอยู่แล้ว
ดังนั้นในความหมายนี้ของผม กิ่งคุณ Artit Kranjana จะสูงแค่ 40 ซม. แต่ถ้า แคงเกอร์ขึ้นที่โคน ก็ต้องตัดครับ ต้องยอมทิ้ง ถ้าไม่ยอมทิ้ง จะเสียหายระยะยาวมากกว่า
ซึ่งคุณ Artit Kranjana อยากจะลองเลี้ยงไว้ก็ไม่เสียหายครับ
แต่ในเชิงธุรกิจ ผมเอาออกแล้วเปลี่ยนต้นลงครับ
2. ฉีดพ่น สารกำจัดและป้องกัน ...สารที่ว่า มีทั้ง คอปเปอร์ ซิงก์ หรือเชิงอินทรีย์ เช่นจุลินทรีย์ต่างๆ หรือยาปฏิชีวนะ ก็ใช้ได้ เพราะ แคงเกอร์เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะ กลุ่มสเต็ปโตมัยซิน ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
ปัญหาคือ การตรวจสอบว่าเราจะใส่ยาแรง ยาอ่อน หรือไม่ใส่เลย
หลักการคือ ต้นไม้ต้องแข็งแรง ต้องมีภูมิ ถ้าไม่มีภูมิ เราก็ต้องพึ่งพายาตลอดเวลา ...เขาถึงผสมพันธุ์แป้นรำไพกับแป้นด่านเกวียน เป็นแป้นจริยา หรือ ผสม แป้นรำไพ กับ มะนาวน้ำหอมอุดร เป็น แป้นพิจิตร เพื่อสร้างภูมิให้สูง ป้องกันแคงเกอร์
แป้นพิจิตร จึงทนต่อโรคแคงเกอร์ มากกว่า แป้นรำไพ
ดังนั้น คอปเปอร์เป็น การให้ยาพื้นฐาน ถ้าไม่หาย ถึงจะให้ยาตัวอื่นๆ ต่อไป
ในประเด็นนี้ .... ซิงค์อ็อกไซค์ คือ ยา ระดับเดียวกับ คอปเปอร์ คือ ทำหน้าที่ยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรีย
แล้ว นาโนซิงค์อ็อกไซค์ ละ ก็คือ ซิงค์อ๊อกไซด์ ที่มีขนาดเล็กในระดับนาโน
ดังนั้นในการดูดซึม ทำได้ดีกว่า ซิงค์อ็อกไซด์ปกติแน่นอน
แต่....
ที่เขาห่วงกันตอนนี้และยังไม่มีงานวิจัยรองรับคือ การพ่นสารนาโนซิงค์อ็อกไซด์ ไป จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
ในทางผิวหนัง มีงานวิจัยแล้วว่าปลอดภัย แต่ไม่ใช่ปลอดภัยที่สุด บางประเทศก็มีข้อห้าม เช่น สวิสเซอร์แลนด์ห้ามเลย หรือในเยอรมันก็ห้ามแบบควบคุมพิเศษ แต่ในสหรัฐอนุญาตให้ใช้ได้
แต่ในทางสูดดมยังไม่มีงานวิจัยออกมา แล้วสารนาโนที่ว่า หน้ากากธรรมดา หรือระดับละเอียดมาก ก็ยังกรองไม่ถึง ต้องเป็นหน้ากากกรองนาโน ซึ่งราคาก็แพงขึ้นไปอีก
ดังนั้นโดยหลักการแล้ว
1. ใช้ได้ แต่ไม่รับรองความปลอดภัย เพราะยังไม่มีรายงานรับรองเกี่ยวกับการสูดดม ... และยังไม่มีรายงานรับรองเกี่ยวกับการตกค้างในผล 2. นาโนซิงค์ออกไซด์ กับ ซิงค์ออกไซด์ ที่หลายๆ สวนมะนาว สวนส้ม ใช้งานอยู่ตอนนี้ พบว่าไม่แตกต่างกัน ในเรื่องของผลลัพธ์ แต่แตกต่างกันเรื่องราคา ซิงค์ออกไซด์ มีราคาถูก ไม่แพง ประมาณ 100 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนนาโน กิโลกรัมละ 400 บาท
แค่ข้อ 1 ผมและใครอีกหลายๆ คน ที่เป็นห่วงสุขภาพ ก็ไม่กล้าใช้แล้วครับ
ส่วน ยาปฏิชีวนะ ไม่ควรใช้เลย จนกว่าจะหมดทางเลือกจริงๆ เพราะ มีโอกาสดื้อยาสูงมาก หลายปีที่ผ่านมา เคยมีบริษัททำตลาดยาตัวนี้กับสวนส้ม สุดท้ายสวนส้มที่ใช้ยาบ่อยๆ จนแบคทีเรียมันดื้อยา ก็เอาไม่อยู่ แล้วเสียหายหนักกว่าเดิม
3. ทางแก้ไขถาวร คือ บำรุงต้นให้แข็งแรง และอย่าให้เกิดบาดแผล
แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดแคงเกอร์ มักจะเข้าทางบาดแผลที่แมลงทำไว้ และถ้าต้นแข็งแรงดี ภูมิคุ้มกันดี ว่างั้นละ
ก็ย่อมแข็งแรงพอจะสู้แบคทีเรียได้ ก็จะไม่แสดงอาการของโรคนั้นเอง (เหมือนแป้นพิจิตรที่ทนกว่าแป้นรำไพ คิดเปรียบเทียบง่ายๆ แป้นพิจิตรไม่ใช่เขาไม่มีโอกาสเป็น แต่เขาแข็งแรงกว่า)
4. เชื้อไตรโครเดอมา ทางอาจารย์ ที่ ม. เกษตร ที่ริเริ่มวิจัยเกี่ยวกับเชื้อตัวนี้ ได้ทดลองแล้ว ว่า เชื้อไตรโครเดอมา มีแนวโน้มยั้บยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคแคงเกอร์ได้ แต่อาจารย์ยังไม่ฟันธงนะครับ...
ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยไตรโครเดอมาไว้ ก็ย่อมส่งผลดีกว่า เพราะป้องกันหลายโรคในทีเดียว
5. เรื่องค่าแรง ผมจ่าย 300 บาท ให้เริ่มทำงาน 9.00 - 16.00 ครับ ดังนั้น เขาทำงานจริงๆ แค่ 7 ชั่วโมง รวมอู้ๆ ด้วย คงเหลือแค่ 5 ชั่วโมงกว่าๆ 555
ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้ว ค่าแรงก็น่าจะพอๆ กันละครับ
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, กัญจน์, bundidta, พชร, cupn1980, pook_kkf, TAWUN, ไม่หมู, ปานเทพ, nopmtp, aumblueford, muslin2557, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
Artit Kranjana
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 199
|
ต่างคนต่างคิดครับ ผมขอบอกว่าตัวผมไม่เคยเอายาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีหรือยาชีวภาพมาสูดดมเล่นนะครับ และการฉีดพ่นผมก็สวมหน้ากาก ถุงมือและแว่นตาป้องกันทุกครั้ง และผมก็ฉีดเอง ส่วนคุณจะเลือกใช้สารใดผมก็ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย และไม่ได้มาโฆษณาขาย ผมรู้สึกว่าคุณมองผมมาโฆษณาขายสินค้า ทั้งที่จริงผมแค่บอกว่าใช้ดีเลยบอกต่อ ซึ่งนาโนตัวนี้เป็นผลงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ก็มีคนทดลองใช้กับสวนมะนาว 60 ไร่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เป็นแคงเกอร์ เพราะเขาใช้คอปเปอร์อยู่ 2 ตัวแล้วไม่ได้ผล เขาจึงเข้าร่วมการทดลองกับทางมหาวิทยาลัยและได้ผลดี แคงเกอร์ไม่ลามมาที่ลูกมะนาว อีกสวนนึงก็คือสวนมะนาวเมืองจันทร์ เขายังเลือกมาใช้เลย และผมก็ตัดสินใจเลือกที่จะใช้ในสวนของผม แทนการใช้คอปเปอร์ ที่ใช้ไปนานๆ ไม่ส่งผลดีอะไรนอกจากมีสารพิษตกค้าง ส่วนกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรคผมเอามาทดลองยาครับ ถ้าได้ผลเป็นที่น่าพอใจผมก็ทำลายทิ้งผมไม่ได้เก็บไว้ปลูกต่อนะครับ
ผมคงไม่เข้ามารบกวนคุณแล้วล่ะ ถ้าให้ผมคิดเป็นหลักวิชาการทุกขั้นตอน แบบนี้ปวดหัวตายเลย ผมสนใจแค่ทำยังไงให้มันออกลูกเยอะๆ และมีคุณภาพตามที่แม่ค้าต้องการ และที่สำคัญต้องไม่ให้มีสารพิษตกค้างจนถึงมือผู้บริโภคมากกว่า
Liked By: bundidta, ฟาร์มเงิน สารคาม, คุณบรีส ชุมแพ, พชร, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, cupn1980, TAWUN, ไม่หมู, toongturbo, nopmtp, muslin2557, dood, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ต่างคนต่างคิดครับ ผมขอบอกว่าตัวผมไม่เคยเอายาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีหรือยาชีวภาพมาสูดดมเล่นนะครับ และการฉีดพ่นผมก็สวมหน้ากาก ถุงมือและแว่นตาป้องกันทุกครั้ง และผมก็ฉีดเอง ส่วนคุณจะเลือกใช้สารใดผมก็ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย และไม่ได้มาโฆษณาขาย ผมรู้สึกว่าคุณมองผมมาโฆษณาขายสินค้า ทั้งที่จริงผมแค่บอกว่าใช้ดีเลยบอกต่อ ซึ่งนาโนตัวนี้เป็นผลงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ก็มีคนทดลองใช้กับสวนมะนาว 60 ไร่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เป็นแคงเกอร์ เพราะเขาใช้คอปเปอร์อยู่ 2 ตัวแล้วไม่ได้ผล เขาจึงเข้าร่วมการทดลองกับทางมหาวิทยาลัยและได้ผลดี แคงเกอร์ไม่ลามมาที่ลูกมะนาว อีกสวนนึงก็คือสวนมะนาวเมืองจันทร์ เขายังเลือกมาใช้เลย และผมก็ตัดสินใจเลือกที่จะใช้ในสวนของผม แทนการใช้คอปเปอร์ ที่ใช้ไปนานๆ ไม่ส่งผลดีอะไรนอกจากมีสารพิษตกค้าง ส่วนกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรคผมเอามาทดลองยาครับ ถ้าได้ผลเป็นที่น่าพอใจผมก็ทำลายทิ้งผมไม่ได้เก็บไว้ปลูกต่อนะครับ
ผมคงไม่เข้ามารบกวนคุณแล้วล่ะ ถ้าให้ผมคิดเป็นหลักวิชาการทุกขั้นตอน แบบนี้ปวดหัวตายเลย ผมสนใจแค่ทำยังไงให้มันออกลูกเยอะๆ และมีคุณภาพตามที่แม่ค้าต้องการ และที่สำคัญต้องไม่ให้มีสารพิษตกค้างจนถึงมือผู้บริโภคมากกว่า
อย่าพึ่งหนีไปซิครับ อย่างที่บอก อย่าได้ถือสา 555 ผมเถียงเป็นเถียงครับ ผมจึงเชื่อว่าท่านคงรู้สึกแบบนั้น จึงจั่วหัวไว้ว่า อย่าถือสา 55 ......... ความเชื่อแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมเชื่อว่า อะไรก็ตาม หากเข้าใจ แก่นแท้ เข้าใจหลักการแท้ๆ มันมีทางของมัน มันมีคำอธิบาย และมันทำซ้ำได้ ดังนั้น เวลาพิจารณาอะไร ผมจึงมักถามถึงแก่น ถึงหลักการก่อนครับ ทีนี้ ในประเด็นนี้ จุดเริ่มต้นมันแค่ ท่านเอาเรื่อง นาโน มาแชร์ ว่าต้นทุนต่ำ ผมก็เลยเอาเรื่อง ต้นทดลองของผม มาแชร์ว่า ต้นทุนผมต่ำกว่าอีก เพราะผมจัดการมันตามหลักการ จริงๆ เรื่องของเรื่อง มันก็แค่นี้เองครับท่าน ------------------------------------------------- ส่วนข้อความท่านเอง ก็บอกอยู่ว่า ท่านฉีดเอง ใช้หน้ากาก ท่านตรวจสอบหน้ากากของท่านหรือยังว่า กันฝุ่นระดับนาโนหรือไม่ ถ้าไม่ ทันก็มีความเสี่ยงสูดดมเข้าไปแล้ว ตัวคอปเปอร์ ใช้มากๆ ตกค้าง แล้วตัว นาโน ใช้มากๆ ไม่ตกค้างหรือครับ ------------------------------------------------- ผมไม่ได้ว่า นาโน ไม่ดี แต่ผมยังติดข้อ 1 ที่ผมบอกครับ มันยังมีอันตรายอยู่ต่อคนพ่น อย่างมาก และยังไม่มีการรับรองเรื่องตกค้าง เพราะมันยังใหม่ ไว้มีงานวิจัยชัวร์ๆ ว่า ไม่มีสารพิษตกค้าง คนสูดดมได้ ผมถึงจะค่อยเลือกมาใช้ครับ
Liked By: พชร, กัญจน์, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, cupn1980, ฟาร์มเงิน สารคาม, ToeyNaKub, TAWUN, ไม่หมู, nopmtp, samart_chai2012, aumblueford, muslin2557, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
Artit Kranjana
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 199
|
ก็ต้องสวมชุดป้องกันทุกครั้งที่ใช้ครับ คุณบรีส ไม่ว่าจะใช้อะไรก็ตาม อย่างผมยังเคยเผลอลองดมกิล่นน้ำควันไม้ จนโดนลุงด่าเลย ผมลืมไปว่าต่อให้เป็นชีวภาพยังไงมันก็เป็นยา
การเป็นอนุภาคนาโนนี่ละที่มันน่ากลัว ผมยอมรับนะครับว่า ยังไม่มีองค์ความรู้ตรงนี้มากนัก แต่ความละเอียดระดับนาโน ผมไม่แน่ใจว่าซึมผ่านชุดได้หรือเปล่า
แต่ที่แน่ๆ หน้ากากป้องกัน แบบละเอียดๆ กันได้ 0.5 ไมครอน แต่ระดับนาโนคือ เล็กกว่า 0.001 ไมครอน
ดังนั้นการสูดดม รับสารเข้าไปเต็มๆ แน่นอน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2014, 08:55:12 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
KENETIC_E®
"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ"
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 3083
จักสร้างฝันให้เป็นจริงจงได้
|
ขอเข้ามาแจมนิดนะครับ....  "ทุกสิ่งบนโลกนี้ ล้วนเป็นเคมีทั้งสิ้น....." ถ้าผมบอกอย่างนี้ ทุกคนจะว่าอะไรผมไหม? ทุกอย่างบนโลกนี้มีองค์ประกอบของธาตุทางเคมีทั้งสิ้น แม้แต่น้ำก็มีสูตรทางเคมีคือ "H2O" แต่เคมีนั้นจะมีโทษหรือมีคุณกับผู้ใช้มากน้อยเพียงไรนั้นก็แล้วแต่การใช้งาน การใช้ในอัตรามากๆ ก็กลายเป็นโทษขึ้นมาได้ สำหรับแคงเกอร์ผมมองว่าเค้าคือเพื่อนสำหรับคนทำสวนมะนาว อยู่ที่การจัดการดูแลป้องกัน เราทำได้เพียงแค่การป้องกัน ส่วนการกำจัดให้สิ้นซากนั้นคงลำบาก หากไม่ใช่ระบบการปลูกแบบปิด เชื้อเค้าสามารถแพร่กระจายมาได้กับแมลงอื่นๆ ได้เสมอๆ ของผมสำหรับต้นที่เป็นนั้นผมก็ตัดแต่งใหม่ แล้วก็พ่นสารป้องกันในยอดและกิ่งชุดใหม่ และเมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับเชื้อ เค้าแล้ว เค้าจะค่อยๆ หายไปเอง ผมเองใช้มาแล้วก็หลายอย่าง ยังไม่มีอันไหนที่ใช้ป้องกันได้ 100% ซะทีเดียว ZnO(นาโนซิงค์ออกไซด์,ซิงค์ออกไซด์) หรือ Cu(OH)2(คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์) ก็ไม่ได้ ป้องกันได้ 100% ต้องใช้ร่วมกับการจัดการอื่นๆ ด้วย ส่วนด้านชีวะภาพหรือพวก BS ก็ใช้ได้แต่ในสวน ก็ควรไม่ใช้พวกสารเคมีข้างบนหรือจำพวกที่กำจัดและป้องกันเชื้อแบคทีเรียด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นท่านก็จะกลาย เป็นว่า "ท่านส่งทหารราบลงไปในพื้นที่สนามรบ แต่ท่านกลับยิงถล่มด้วยปืนใหญ่หรือเครื่องบินขับไล่ลงไปเช่นกัน" ซึ่งมันก็เท่ากับว่าสารเคมีต่างๆ ก็จะเข้าไปทำลายเชื้อที่ใส่ลงไปด้วย........เอาเท่านี้ก่อนนะครับ
Liked By: Chakapol, คุณบรีส ชุมแพ, TAWUN, ไม่หมู, toongturbo, cupn1980, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, everydaygreenlife, 5XXA, ฟาร์มเงิน สารคาม, nopmtp, aumblueford, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"If tomorrow never comes." อาจไม่มีพรุ่งนี้ให้ได้เห็น... กระทู้ส่วนตัว : สวน(ป่า)ออมรัก *ขออภัย จำกัดสิทธิ์การใส่ Link-URL ในลายเซ็น*
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
"ท่านส่งทหารราบลงไปในพื้นที่สนามรบ แต่ท่านกลับยิงถล่มด้วยปืนใหญ่หรือเครื่องบินขับไล่ลงไปเช่นกัน"
ชอบครับ
ตัวนี้เป็นเรื่องน่าปวดหัวครับ
จะเลี้ยงไตรโครเดอมาให้ได้ผล ต้องหลีกเลี่ยง ยาฆ่าเชื้อราหรืออะไรที่ส่งผลต่อเชื้อทั้งหมด
ที่สวนผม ตอนปลูกใหม่ๆ ลงยาฆ่าเชื้อหมดครับ ให้ถือว่าเป็นการฆ่าเชื้อครั้งแรก 555
จากนั้นก็ตามด้วยไตรโครเดอมา
โดยผมกำหนดใช้ ไตรโครเดอมา กับดิน ไม่ใช่กับใบ ส่วนยาฆ่าเชื้อ ให้ฉีดเบาๆ เอาแต่ใบ อย่าพยายามลงดิน
แต่แน่นอนว่า คงลงบ้าง ก็ชั่งมันครับ 555
Liked By: KENETIC_E®, กัญจน์, TAWUN, ไม่หมู, Chakapol, cupn1980, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, 5XXA, ฟาร์มเงิน สารคาม, nopmtp, aumblueford, muslin2557, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
KENETIC_E®
"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ"
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 3083
จักสร้างฝันให้เป็นจริงจงได้
|
ก็ขยันส่งทหารราบบ่อยๆ ก็ได้ครับ "ตาบรีส ชุมแพ" ของผมช่วงเข้าหน้าฝนจะพ่นไตรฯ ลงดินไว้ กับพ่นบูเวเรียทางใบครับ แต่ถ้าหนักมากๆ ก็ต้องเคมีช่วยครับ แต่รอบๆ โซนที่ไม่ค่อยได้ใช้เคมี จะพ่นไว้เสมอๆ ครับ เพื่อให้เชื้อสะสมอยู่ในดินไว้ครับ วันก่อนมีต้นกล้วยใบเหลือง คนแถวนี้ก็บอกว่า "กล้วยตายพลาย" เพราะผมปลูกกล้วยไม่ดูเดือน... ผมก็เลยบอกว่า "พรุ่งนี้มันจะเกิดใหม่" หลังจากนั้นผมก็ตัดต้นกล้วยลงแล้วผ่าสับให้มากที่สุด แล้ว เอาไตรโคเดอร์ม่า ผสมน้ำราดให้ทั่ว ปัจจุบันหน่อใหม่ออกมาไม่เห็นจะตายพลายเลยครับ ก็เลยบอก เค้าว่า "มันโดนหนอนเจาะกอ กับมีเชื้อเข้าทางดิน" ส่วนใหญ่สารเคมีพวกนี้จะตกค้างในต้นหรือในดิน ในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ถ้าเราต้องการใช้อินทรีย์ต้องสลับและแบ่งช่วง อย่างช่วงนี้อากาศเปลี่ยน แคงเกอร์จะอ่อนตัวลง เราสามารถใช้แบบอินทรีย์เข้าช่วยได้ แต่ถ้าหนักหนาก็ต้องพึ่งเคมีเช่นกันครับ ของผมเรียกว่า "หน่วยส่งกำลังเสริม หรือ Commando" (ไม่ใช่ที่พึ่งโดนจับกันไปนะครับ....  )
Liked By: คุณบรีส ชุมแพ, กัญจน์, TAWUN, ไม่หมู, Chakapol, cupn1980, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, 5XXA, everydaygreenlife, ฟาร์มเงิน สารคาม, nopmtp, aumblueford, muslin2557, walaijaifarm, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"If tomorrow never comes." อาจไม่มีพรุ่งนี้ให้ได้เห็น... กระทู้ส่วนตัว : สวน(ป่า)ออมรัก *ขออภัย จำกัดสิทธิ์การใส่ Link-URL ในลายเซ็น*
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ไหนๆ คุยเรื่องต้นทดลอง มาอัพเดตครับ หลังจากผม ทำตามสูตร 1-4-7 บำรุงต้นจนสวยงาม ไม่มีแมลงมากวนใจ แคงเกอร์ก็ไม่ปรากฎ ผมเลยตั้งสมมติฐานว่า ทิ้งไว้นานเท่าไร ถึงจะหมดฤทธิ์การควบคุม ผลที่ได้คือ 2 เดือนครับ ใบแตกรอบที่ 2 ช่วงใบอ่อนรอด แต่ช่วงใบเริ่มแก่ขึ้น ยังไม่โตเต็มที่เริ่มไม่รอด เพลี้ยยังไม่มา แต่หนอนชอนใบ กับ หนอนผีเสื้อปกติ มา กินอร่อยเลย 555 ตรวจสอบแล้ว 1 ต้นมีประมาณ 4 ตัวหนอน ก็จับทิ้งหมด  ส่วนหนอนชอบใน มีนิดหน่อย ไม่กี่ใบ  แต่สิ่งที่ผมจะให้ดูคือ อันนี้ครับ เห็นไหมครับว่า แคงเกอร์ มันขึ้นตามอะไร  ตรงไหนเป็นแผล มันก็ขึ้น ดังนั้น ถ้าเราดูแลต้นให้ไม่มีแผล มันก็ไม่ขึ้น แต่ใช่ว่าเชื้อมันจะหมดไป ส่วนอันนี้เป็นการทดลอง ว่า ถ้าต้นติดกัน แต่ดินแยกกัน แคงเกอร์จะลามได้ไหม สรุปว่า ไม่ได้ครับ ทำอย่างไร ต้นข้างๆ ก็ไม่เป็นแคงเกอร์เลย (แต่เอาเป็นหลักการไม่ได้นะ เพราะตัวแปรทดสอบมีแค่คู่เดียว ต้องทดสอบหลายๆ คู่ ในหลายๆ สภาพแวดล้อมถึงจะสรุปได้)  นี่คือ สภาพต้น ที่ผมบอกว่า เคยโทรมมาก เป็นแคงเกอร์ทั้งต้นมาก่อน ผมตัดทิ้งหมด แล้ว เลี้ยงใหม่ ดูสภาพครับ ค่อนข้างดี แต่ก็เป็นแคงเกอร์อยู่นะ แต่จะเป็นเมื่อมีแผลเท่านั้น  อันนี้เป็นช่วงแรกๆ ที่ผมตัดแคงเกอร์ทิ้งไปหมด แต่ยังไม่ได้เรียนกับ อาจารย์ รวี เลยไม่รู้ว่าต้องตัดหมดจริงๆ (แถมตัดแต่งทรงก็ยังไม่เป็น 555) ในภาพยังพอเห็นเหลือใบที่เป็นอยู่บ้าง อันนี้คือ ภาพของอีกต้นที่ติดกัน เอากิ่งมาติดกัน แต่ดินไม่ติดกัน จะเห็นว่า แคงเกอร์ ไม่ข้ามมาเลย 
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, KENETIC_E®, สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์, กัญจน์, TAWUN, Chakapol, cupn1980, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, Easyman_ubon, 5XXA, pook_kkf, worawit6311, nopmtp, aumblueford, muslin2557, walaijaifarm, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
นายเติมใจ
122/134 หมู่บ้านแสนเก้าโฮม หมู่ 2 ตำบลบึง อำาเภอศรีราช จังหวัดชลบุรี 20230
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1441
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ขอบคุณครับ
มีอะไรดีๆ แนะนำได้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
ammarin
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 292
|
พี่ๆ ขยันกันทุกคนเลยครับ น้องๆมาอ่านทีหลัง ได้อะไรกลับไปเยอะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Easyman_ubon
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 267
|
ขอปรึกษาคุณบรีสอีกครั้งครับ พอดีผมไปติดต่อช่างเจาะน้ำบาดาล Spec บ่อขนาด 6 นิ้ว ลึกขั้นต่ำ 40 เมตร (แล้วแต่จะเจอน้ำในชั้นหิน) ราคารวมท่อกันดิน ประมาณ 25000 บาท เจาะแบบเป่าลม แต่ช่างบอกหัวเจาะจะอยู่ที่ 5.2 นิ้ว คุณบรีสคิดว่าราคานี้เหมาะสมไหม ผมงงว่าทำไมหัวเจาะไม่ 6 นิ้ว พอจะมีข้อมูลไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
" บ้าน สวน นา ดี " บ้านโนนกุง ต.โนนกุง อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี 34130
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ราคาได้มาค่อนข้างดีนะ
แต่ถามให้ชัด ถ้าเจาะแล้ว 40 เมตร ไม่เจอน้ำ ทำอย่างไร เจาะเพิ่ม คิดเงินเท่าไร
บางเจ้า ไม่เจอน้ำ คิดแค่ค่าน้ำมัน บางเจ้า เจาะจนกว่าจะเจอน้ำ คิดเหมาๆ บางเจ้า บอกราคานี้ คือ เจาะไม่เกิน xx เมตร ถ้าเกิน เมตรละ xxxx บาท อะไรแบบนี้
คุยให้เคลียร์เลยครับ
เพราะหน้างานจริงๆ เราไม่มีทางรู้เลยว่าต้องเจาะกี่เมตร
ส่วนหัวเจาะ ประมาณนั้นครับ เพราะถ้าเล็กไป ใส่ท่อ 6 นิ้ว ไม่ได้แน่ๆ แต่ถ้าใหญ่ไป ใส่ท่อ 6 นิ้วไปก็ร่วงพอดี
หัวเจาะ 5.2 นิ้วจริงๆ อาจกินเนื้อเป็นวงกลมได้ 6 นิ้วก็ได้ครับ อันนี้ผมก็ไม่รู้นะ เดาล้วนๆ 5555
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, กัญจน์, สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์, pook_kkf, cupn1980, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, Easyman_ubon, ไม่หมู, nopmtp, TAWUN, aumblueford, muslin2557, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
 คืนนี้ หรือเรียกเช้ามืดพรุ่งนี้ดีนะ 555 จะขึ้นสวน ไปสอนคนงาน จ่ายปุ๋ย ทำเอกสารเตรียมไว้พร้อม จ่ายปุ๋ยทางน้ำหยด ทุกอาทิตย์ ครั้งละ 7 กิโลกรัม รวมเดือนละ 28 กิโลกรัม สำหรับมะนาว 781 ต้น ก็เฉลี่ยๆ ได้ต้นละ 35 กรัม พอดีๆ ปีหนึ่งก็ เกือบๆ ครึ่งกิโลกรัม เพียงพอสำหรับมะนาวอายุ 1 ปี จากนั้น ไปทำระบบรดน้ำช่วย คือ ระบบช่วยลดอุณหภูมิสภาพแวดล้อม เนื่องจาก เราจ่ายน้ำเป็นน้ำหยด ดังนั้น จะมีน้ำแค่เฉพาะต้นมะนาว แต่ส่วนอื่นๆ อาจจะแห้ง จึงไปวางสปริงเกอร์ เลียนแบบฝนธรรมชาติ วันไหนร้อนมากๆ ก็เปิดรดหน่อย เป็นระบบแบบไม่ถาวร ถอดเคลื่อนย้ายได้ ------------------------------------------- นอกจากนี้ ใกล้หน้าหนาว เดี๋ยวก็ร้อน แนวกันไฟเดิม หญ้าขึ้นหมดแล้ว ไปรอบนี้ต้องชี้แนวให้คนงานเตรียม ทำแนวกันไฟไว้ และยังต้องเตรียมระบบ ดับไฟ เตรียมไว้ล่วงหน้า กรณีไฟลาม เดี๋ยวจะยุ่ง
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, cupn1980, pook_kkf, สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง, Easyman_ubon, ไม่หมู, nopmtp, TAWUN, aumblueford, muslin2557, Steve_Jeab
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
Artit Kranjana
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 199
|
ผมไปสิงสถิตกระทู้คุณชาย ท่ายางมาครับคุณบรีส กิ่งพันธุ์ผมไม่รู้เป็นอะไร เลยขอคำปรึกษาจากเขาครับ ก็มือใหม่อะนะ ไล่อ่านที่ละกระทู้ รู้ข้อมูลอะไรขึ้นเยอะเลยครับ กระทู้ปัญหามะนาวถามมาตอบไป ในห้องถามตอบปัญหาเกษตร
กระทู้นั้น คือ พระคำภีร์เลยครับ 555
สำหรับคุณชาย ท่ายาง ผมถือพี่เขาเป็นอาจารย์ เป็นครู เลยครับ
สวนของผม ก็สั่งกิ่งพันธุ์กับคุณชาย 630 กิ่ง กิ่งมีคุณภาพดี โตเร็ว
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 01, 2014, 09:53:05 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|