หน้า: 1 ... 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 [18] 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 ... 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 240536 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #272 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2014, 09:08:32 AM »

ตอนช่วงแรกที่ผลผลิตไร่เราออก
ช่วงที่โหมทำการตลาดหนักๆเพื่อให้ชื่อไร่เราติดตดลาด
ช่วงที่ต้องรับมือ order ทเข้ามาไม่ขาดสายในช่วงแรก  จะเป็นช่วงที่โหดมากครับ..

แต่คุณบรีสน่าจะชินแล้วล่ะ 55+


มีโมเม้นต์ แบบนั้น เมื่อไร ก็ดีใจตายเลยครับ 555

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2014, 09:15:06 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง

คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #273 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2014, 08:36:53 AM »

กิจกรรมชาวสวนวันหยุดรอบนี้ สรุปตัดแต่งกิ่งไปได้ 5 แถว รวม 200 ต้น ใช้เวลาไป 5 ชั่วโมง

หมดแรงครับ 555

เริ่มจาก ออกจาก กทม. 18.30 น. ผจญรถติด กว่าจะถึงตลาดไท 20.00 พอดีๆ

ถามว่าไปทำไม ก็แค่อยากไปดูครับ แม้ว่าหลายๆ คนจะบอกว่า มันเป็นช่วงตลาดวาย 555

ออกจากตลาดไท 20.30 น. ตามคาด ไม่มีอะไรให้แวะซื้อได้ 555 เพราะมันวาย

ยิงยาว ขับเรื่อยๆ จนถึง ชัยภูมิ ตอนเที่ยงคืนนิดๆ แวะจอดรถนอนในปั้ม ปตท. นอนสบายๆ 24 องศา เปิดกระจกรถนิดหน่อย ปรับเบาะเป็นเบาะนอนยาว (หนึ่งในประเด็นซื้อรถ ที่ไม่เคยทำเลย จนวันนี้)

นอนสบายดีนะครับ เหมือนนอนเก้าอี้นอนยาว ปกติเลย

มันทำให้ผมนอนยาว ถึงตีสาม

ตื่นเพราะ ฝัน หรือตกใจ ก็ไม่รู้ คิดว่า รถไหล ไปข้างหน้า

ไม่รู้ว่าตะโกนเสียงดังแค่ไหน แต่สภาพร่างกายคือ รีบลุกมาดึงเบรกมือ (นึกแล้วยังขำตัวเอง)

พอตื่นแบบนั้น ก็เลยขับรถต่อเลยดีกว่า มาถึงชุมแพ จอดนอนต่อตอนตีสี่ครึ่ง ทีนี้หลับยาวสบายๆ ถึงเช้าเลย

ล้างหน้าแปรงฟัน ซื้อของกินสำหรับมื้อเช้าและเที่ยง เพราะตั้งใจลุยงานเอาให้จบ 6 แถว...(แต่ได้จริงๆ 5 แถว)

-----------------------------------------------

ถึงสวน คุยอัพเดต ความเป็นไปกับพ่อตา เรียบร้อย ก็ลงมือ

ปัญหาของสวนตอนนี้คือ ระบบน้ำหยด หยดไม่ได้จริง

สาเหตุเพราะ ดินยังไม่มีอะไรปกคลุมอย่างแท้จริง

ทำให้ฝนที่ยังตกอยู่ ชะหน้าดิน มาโดนหัวน้ำหยด บ่อยครั้งหัวน้ำหยดเลยถูกอุดตาย ต้องลงแรงถอดล้าง

ปัญหานี้จะหายไปเมื่อ มะนาวสร้างทรงพุ่มใหญ่พอจะคลุมโคน / มีอินทรีย์วัตถุมากพอจะปิดหน้าดิน

ตอนนี้เลยวางแผนจะเพิ่มจุดก๊อกน้ำ เพื่อเตรียมไว้สำหรับกรณีที่ น้ำไม่พอ จะใช้วิธีโบราณ คือ เดินรดน้ำ 555

บางคนอาจคิดว่า บ้า ลงทุนทำระบบน้ำไว้เสียดี จะใช้ก๊อกน้ำทำไม...

ก๊อกน้ำของผม เราเรียกว่า Backup Plan ครับ หรือแผนสำรอง

แผนสำรองที่ดีที่สุด ต้องเรียบง่าย แต่แก้ปัญหาได้จริง

-------------------------------------------------------------
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #274 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2014, 05:00:49 PM »

วิธีการตัดแต่งทรงพุ่ม แบบครูพักลักจำ

ลักจำ จริงๆ เป็นศิษย์ยังไม่ครอบครู เขามีเปิดอบรม ก็ยังไม่ได้ไปเรียน เรียนแต่ปลูกมะนาว

555

อาจารย์ระวี ท่านสอนไว้ หลักการง่ายมากครับ

"ทำอย่างไรให้ใบทุกใบที่อยู่ในทรงพุ่ม มีความสามารถในการสังเคราะห์แสงสูงที่สุด"

ผมขอให้ หลักคิดนี้ เป็นหลักคิดที่หนึ่งนะครับ


ในหลักคิดที่ 1 จะมีคำว่า สังเคราะห์ แสง ซึ่งหมายความว่า

ใบไม้ 1 ใบ ทำหน้าที่สองอย่างคือ กินอาหาร กับ สร้างอาหาร

การสร้างอาหาร คือ การสังเคราะห์แสงนั่นเองครับ

ใบเมื่อเริ่มต้น เป็นใบอ่อน จะกินอาหารอย่างเดียว จนตัวเองโตเต็มที่ จากนั้นจึงจะสร้างอาหาร พอสร้างไปจนใบเริ่มแก่ ก็จะสร้างน้อยลงเรื่อยๆ จนทำตัวเป็นเด็กอีกครั้ง คือ กินอย่างเดียว...

ฟังแล้ว เหมือน คนเลยเนอะ

ตอนเด็ก ต้องมีคนเลี้ยง คนดูแล
พอหนุ่มสาว ต้องทำงาน หาเลี้ยงตัวเอง และทะยอยสร้างเก็บ
พอแก่ตัว ทำงานหาเงินได้น้อยลง แล้วสุดท้ายก็ต้องให้คนอื่นๆ มาเลี้ยงแทน

วงจรชีวิตของใบไม้ นี้ ขอให้จดจำเป็นหลักคิดที่ 2

ส่วนหลักคิด สุดท้ายคือ นิสัยของกิ่ง

กิ่งที่เติบโตได้ดี หรือเรียกว่า บ้าเติบโต เราเรียกว่า กิ่งกระโดง

ลักษณะสำคัญของกิ่งกระโดงคือ เติบโตทำมุม 90 องศากับพื้นโลก (ตั้งฉาก) ตรงสู่ฟ้า

กิ่งกระโดง จะมีนิสัย เร่งโต เร่งสร้างใบ ดังนั้นเขาจะโตเร็วมาก

เมื่อน้ำหนักมากขึ้น กิ่งจะเริ่มโน้ม ทำมุมลดลงสู่ดิน

ยิ่งกิ่งเอียงมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสติดดอก ออกผล มากขึ้นเท่านั้น

นิสัยของกิ่ง จะเป็นหลักคิดที่ 3 สำหรับการตัดแต่งทรงพุ่ม


พอเราเข้าใจหลักการทั้งสามแล้ว เราต้องเอามารวมกันทั้งหมดในการตัดแต่งทรงพุ่ม 1 ต้นครับ

ต้นไม้แต่ละต้น มีฟอร์ม หรือรูปทรง รูปร่าง ไม่เหมือนกัน ดังนั้น มันจึงไม่มีสูตรตายตัว ในการตัดแต่งทรง มีเพียงหลักคิด


------------------------------------------------------------

การตัดแต่งกิ่ง เพื่อสร้างทรงพุ่ม บางสวนบอกให้เลี้ยงเกิน 6 เดือน บางสวนบอก 2 เดือนก็ตัดแต่งได้ สำหรับสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ผมมีหลักคิดง่ายๆ ครับ

การตัดแต่งกิ่งเพื่อสร้างทรงพุ่ม ก็เหมือนการเลี้ยงลูก... ลูกทำผิด จะปล่อยให้กิ่งที่ผิดเติบโตไปเรื่อยๆ หรือจะอบรมสั่งสอน เพื่อริบกิ่งไม่ดีทิ้งไป

ดังนั้นเมื่อปลูกต้นไม้ใดๆ แล้ว เขาแสดงอาการรอดตาย ยืนต้นโตใหญ่แล้ว ก็ควรเริ่มลงมือตัดแต่งกิ่งเพื่อสร้างทรงพุ่มได้เลย...

มิได้กำหนดช่วงเวลา แต่กำหนดจากสภาพของต้น

เพราะในการปลูก ต้นไม้บางพันธุ์ หรือผลกระทบจากวิธีปลูก อาจทำให้ต้นไมหยุดการเติบโตไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง

แต่โดยมากก็ 2-3 เดือน ก็น่าจะเริ่มตัดแต่งกิ่งได้ โดยการตัดแต่งกิ่งครั้งแรก เป็นการตัดแต่งเพื่อสร้างทรง มากกว่า

-----------------------------------------

ช่วงวันหยุด ปิยะมหาราช ผมได้ขึ้นไปดูสวน พิจารณาแล้ว ผมว่า ถึงเวลาที่ตัดแต่งทรงพุ่มได้แล้ว (อันนี้อย่าเชื่อนะ อาจจะผิดก็ได้ 555)

เลยกำหนดวันหวยออก เอ้ย วันทำงานไว้ที่วันที่ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา


โดยกระบวนการตัดแต่งของผม ในครั้งแรก มีเป้าหมายแค่ "วางกรอบทรงพุ่ม"

1. ริบกิ่งที่ไม่ใช่กิ่งกระโดง ที่อยู่ในระดับความสูง 0-40 ซม. ออกให้หมด - เพื่อลดการกินอาหาร เนื่องจาก กิ่งที่อยู่ต่ำ ใบส่วนใหญ่จะไม่โดนแดด ใบส่วนใหญ่จึงทำหน้าที่ กินอาหาร (หลักคิดที่ 2) มากกว่าสร้างอาหาร

2. จากข้อ 1 เราจะได้ โคนต้นที่สะอาด รอบโคน แสงสามารถส่องถึง

3. จากนั้นมาพิจารณากิ่งกระโดง ที่เหลือทั้งหมด ว่าควรไว้ทรงพุ่มอย่างไร ในมุมมอง 3 มิติ ต้องมีกิ่งกระโดงหลักๆ เอียงทำมุมอย่างเหมาะสม และห่างระหว่างกิ่งทำมุมได้สมบูรณ์แบบ เช่น

- ถ้ามีกิ่งกระโดงกิ่งเดียวเลย ก็ไว้ทรงกิ่งเดียว (อนาคตมันแตกออกเองเป็นหลายๆ กิ่งแน่นอน)
- ถ้ามีกิ่งกระโดงทำมุมกันเป็น ตัว V อย่างสวยงาม และกิ่งกระโดงอื่นๆ เล็กกว่า สวยน้อยกว่า ก็เลือกสร้างทรงพุ่มแบบตัว V
- ถ้ากิ่งกระโดง ทำมุม เป็น ปิรามิดสามเหลี่ยมคว่ำ อย่างสวยงาม ก็เลือกทำทรง 3 ขา
- ถ้ากิ่งกระโดง ทำมุม เป็น ปิรามิดสี่เหลี่ยมคว่ำ อย่างสวยงาม ก็เลือกทำทรง 4 ขา

4. จากนั้น ดูกิ่งแขนงที่ออกจากกิ่งกระโดง ว่า มีกิ่งใด ที่เติบโตเข้าศูนย์กลาง ของทรงพุ่ม หรือไม่ ถ้ามี ตัดออก เพราะมันจะเติบโตไปบังกันและกัน


ในการสร้างทรงพุ่มครั้งแรก ผมทำแค่ 4 ข้อนี้ครับ

แค่ 4 ข้อ ก็ใช้เวลาเป็นนาทีต่อต้นเลยทีเดียว

สรุปที่ผ่านมา ตัดแต่งไปได้ 200 ต้น ประมาณ 5 แถว หมดแรง เลย

----------------------------------------
ให้คนงานทำก็ไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ ปลูกอ้อย มัน ข้าวโพด กันเป็นส่วนใหญ่

องค์ความรู้ในการตัดแต่งกิ่ง ไม่มีเลย

จะสอน ก็สอนได้นะ แต่ผมเองก็ยังไม่เก่ง ไม่แม่น

กว่าจะกลั่นออกมาเป็น 4 ข้อปฏิบัติ 3 หลักคิด ก็ศึกษาจาก VDO ของอาจารย์ และ VDO ของต่างชาติ แล้วเอามาปฏิบัติเองจริงๆ กว่าจะเข้าใจ ก็เรียกว่า ต้นมะนาว โกร๋น ไปแถวหนึ่งเต็มๆ 555

(ถ้าหลักผมผิดพลาด ช่วยแก้ไข ให้ความรู้ผมด้วยนะครับ)

--------------------------------------------------------

ต้นมะนาวก่อนเริ่มต้น


ริบกิ่งล่างๆ ออกให้หมดก่อน


ดูทรงพุ่ม ว่าควรตัดกิ่งกระโดงหรือกิ่งแขนงไหนออก


สุดท้าย ได้ทรง 3 เหลี่ยม (ที่อาจเลี้ยงต่อไปเลือก ตัว V ก็ได้นะ 555)


ภาพตัวอย่าง บางส่วนผมยังไม่ได้ตัดแบบสร้างทรงพุ่ม 100% นะครับ เพราะบางต้น ต้องไว้ใบบ้าง

อันนี้อีกตัวอย่าง ก่อนตัดแต่งทรง


หลังตัดแต่งทรง อันนี้คงเหลือ ทรงตัวไอ แต่ผมเหลือไว้กิ่งหนึ่ง (บางที ตัดไปอาจจะไม่ได้ตามหลัก 100% เพราะหลงหูหลงตาบ้างนะครับ 555)
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #275 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2014, 08:18:10 AM »

เรื่อง หญ้า ถือเป็นปัญหาใหญ่ สำหรับสวนเกษตรโชคดีชุมแพ เหมือนกัน

แต่หญ้าก็มีข้อดี

1. หญ้าเป็นพืชคลุมดิน ดังนั้นหากเลือกหญ้าถูกชนิด ก็จะช่วยคลุมดิน ให้ดินมีความชุ่มชื้น เป็นที่อยู่ของไส้เดือนได้ดี สุดท้ายเมื่อเข้าวงจร ดินก็จะถูกปรับปรุงไปอย่างช้าๆ

2. หญ้าสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดได้

แต่หญ้าบางชนิดก็มีข้อเสีย เช่น หญ้าหวาย ทนทานตายยาก มากๆ

เป็นหญ้าที่ต้องค่อยๆ กำจัดออกไปเรื่อยๆ

---------------------------------
แนวทางการกำจัดหญ้าของสวนเกษตรโชคดีชุมแพคือ

1. ใช้หญ้าเม็ดแตง เป็นหญ้าขนาดเล็ก ที่ตัวมันเองมีคุณสมบัติ ฆ่าหญ้าตัวอื่นๆ ในกรณีที่ตัวมันตาย เช่น โดยเหยียบ น้ำในใบ จะมีสารที่ทำให้หญ้าอื่นๆ ไม่ขึ้น

แต่หญ้าเม็ดแตง ก็ค่อนข้างแพ้หญ้าเจ้าถิ่น ดังนั้น ต้องกำจัดหญ้าเจ้าถิ่น เป็นการช่วยเหลือไปก่อน

ถ้าหญ้าเม็ดแตง สมบูรณ์ดี ก็จะออกดอกสวยงามเลยครับ

จากภาพนี้ หลุมนี้ ต้นมะนาวตาย ครับ เลยปล่อยทดลองว่าจะสู้หญ้าที่อยู่ในหลุมได้ไหม



บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
nopmtp
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2136


« ตอบ #276 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2014, 10:26:52 AM »

ว่าแล้วก็เล่าสักนิด

กลยุทธ์ ชิงเงินสด ตัดกำลังซื้อ

กลยุทธ์นี้ มีใช้กันมากมาย

สมัยต้นตระกูลของผมยังเปิดร้านวันชัยสโตร์ อาแปะ(คุณลุง) ท่านเล่าให้ฟังว่า มีคนมาขอซื้อของ เราบอกราคาไป เขาต่อราคามา เป็นราคาทุน...

อาแปะถามผม ในวันนั้นตอนยังเด็ก ว่า เป็นลี้อๆ จะขายไหม

ผมบอกว่า "ไม่ขาย... ขายทำไม ไม่ได้กำไร"

อาแปะบอกว่า "ลี้อ หารู้ไม่"

"จำไว้ว่า ถ้าเราไม่เสียเปรียบ ขายได้ขาย"

บ่อยครั้งกำไร ไม่ได้มาในรูปแบบของตัวเงิน

การขายครั้งนั้น ได้อะไร
1. ได้ลูกค้า ซื้อใจลูกค้า ลูกค้าไป บอกปากต่อปากว่า ร้านของเราขายของถูก
2. ได้เงินสด ของมันอยู่ของมัน มันไม่สร้างประโยชน์อะไรเลย แต่เมื่อมันเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสด เรายังเอาเงินสดไปเปลี่ยนแปลงหรือบริหารใดๆ ได้ อาจสร้างประโยชน์ได้มากกว่ากำไรที่สินค้านั้นจะทำให้ได้ก็เป็นได้
3. ได้ตัดหน้าคู่แข่ง การที่ลูกค้าจ่ายเงินให้เรา อำนาจในการซื้อของลูกค้า จะลดลง หรือหมายถึง ต่อให้เขาไปร้านคู่แข่ง เขาก็มีเงินที่จะจ่ายให้คู่แข่งเราน้อยลง
4. ได้เคลียรของ ลูกค้าชอบของใหม่ๆ มากกว่าของเก่า เราเก็บไว้ยิ่งนานวันยิ่งเก่า บางครั้งของบางอย่าง อาจไม่กำไร ก็ต้องขายไป เพื่อซื้อของใหม่ๆ มาแทน

แล้วถ้าไม่ขาย เสียอะไร
1. เสียลูกค้า สุดท้ายลูกค้าจะไปอีกร้าน แล้วอาจซื้อในราคาที่แพงกว่าหรือเท่ากับราคาที่ร้านเราเสนอ ลูกค้าเขาก็ยอมซื้อ เพราะไม่มีใครเดินไปเดินมา ให้เสียเวลา
2. ร้านคู่แข่ง ได้ทั้งเงินทุนคืน ได้ทั้งกำไร
3. ของยังคงจมอยู่ในร้านเรา เก่าไปเรื่อยๆ

..........



      มีประโยชน์มากๆ....ที่บอกเล่าให้ฟังกันครับ  คุณ  บรีส  อายจัง อายจัง
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #277 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2014, 09:00:54 AM »

วันเสาร์ที่ผ่านมา ไปเดินบ้านหม้อ

ตามหา "หม้อเพิ่มไฟ"

อยากรู้ราคา

สรุป ยี่ห้อ สยามนีออน ที่โด่งดัง ขนาด 60A ราคาถูกสุดที่ถามมาได้คือ 7500 บาท

สาเหตุที่ต้องตามหา เพราะไฟไม่พอ ไฟตกเกิน

สาเหตุที่ไฟตกเกิน เพราะสายไฟขนาดเล็กไป และเดินไฟยาวไป (อยากรู้ว่าทำไม กลับไปอ่านเรื่องไฟฟ้าในหน้าแรกๆ นะครับ)

วิธีแก้ง่ายๆ
1. ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ขนาดสัก 30KVA ก็จบปัญหาในระยะยาว แต่สนนราคา ไม่ใช่ถูกๆ

หรือ
2. หาหม้อเพิ่มไฟ มาใช้ จริงๆ หม้อเพิ่มไฟ ก็คือ หม้อแปลงไฟฟ้า แต่เป็นแบบพกพาได้นั้นเอง

และนั้นคือ สิ่งที่ผมสงสัยอยู่ ทำไมราคาถึงต่างกัน...


หลายๆ บ้านในต่างจังหวัด นิยมใช้ หม้อเพิ่มไฟ เพราะถูกกว่า หาซื้อมาใช้งานได้ง่ายกว่า

ส่วนผม มองการแก้ไขปัญหาระยะยาวมากกว่า คือ ต้องติดตั้งห้องแปลงไฟฟ้าที่ต้นทางมากกว่า แม้จะแพงกว่า แต่ช่วยให้ทั้งระบบไฟฟ้าในที่ดิน หายขาดจากปัญหาไฟฟ้าตกได้

ผมจึงยังไม่ตัดสินใจซื้อ แล้วหาทางแก้ไขใหม่

จากปัญหาไฟฟ้าตก
ทำให้ปั้มน้ำขนาด 2 แรงม้า ทำงานไม่ได้

พอปั้มทำงานไม่ได้ จ่ายน้ำไม่ได้

ตอนนี้เลยหาทางใหม่ ได้ข้อสรุปที่แสนง่าย จากตัวแปร

1. น้ำบาดาลที่สูบขึ้นมา มีความใสสะอาดมาก หากสูบขึ้นมาไม่เกิน 20 นาที (แล้วพัก 2 เท่าของเวลาสูบหรือคือ 40 นาที)

2. ระบบปั้มน้ำบาดาล รองรับไฟตกได้ต่ำมาก (ตามสเปกเครื่อง) และตำแหน่งที่ตั้ง ทำให้ไฟไม่ตกมาก และขนาดแรงม้าแค่ 1 แรง

3. สูบน้ำบาดาลได้ชั่วโมงละ 4.5 คิว โดยประมาณ น้ำถึงผิวดินยังมีแรงดันอีกอย่างน้อย 2 บาร์กว่าๆ (วัดด้วยมิเตอร์)

---------------------------------------------------

ผมเลยเปลี่ยนโซลูชันใหม่

1. เดินท่อใหม่ เอาท่อจากน้ำบาดาล จ่ายตรงเข้าระบบหัวน้ำหยด ซึ่งมีหัวน้ำทั้งหมด 781 หัว (คิดง่ายๆ 800 หัว) และคิดง่ายๆ ว่าจ่ายน้ำได้ 4,000 ลิตร เท่ากับว่า แต่ละหัวจ่ายน้ำได้ประมาณ 5 ลิตรต่อชั่วโมง

2. มะนาวต้องการน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นต้องจ่ายน้ำ 4 ชั่วโมงต่อวัน และจากสูตรที่ว่าต้องพักการสูบ 2 เท่า ก็เท่ากับ 8 ชั่วโมง รวมๆ เป็น 12 ชั่วโมงต่อวัน หรือหมายถึง ความสามารถจ่ายน้ำสูงสุดคือ 40 ลิตรต่อต้นต่อวัน

3. การสูบน้ำจากบาดาลมารดน้ำเลย เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ผมได้ทดสอบคุณภาพน้ำแล้ว ดีเลิศ ไสสะอาด ไม่มีอะไรเลย (ไม่มีอะไรเจือปนเลย แม้แต่แร่ธาตุ) ส่วนถ้าสูบมากกว่า 20 นาที จะมีตะกอนดิน ปนขึ้นมา)

4. ดังนั้น ผมจึงวางแผนจ่ายน้ำบาดาลเข้าระบบหัวน้ำหยด 10 นาที พัก 20 นาที รวมทั้งหมด 12 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 6 ชั่วโมง ตอนกลางคืน เพื่อให้น้ำค่อยๆ เก็บไว้ใต้ดิน และอีก 6 ชั่วโมง ตอนกลางวัน เพื่อทดแทนน้ำส่วนที่ระเหยไป และการใช้น้ำของมะนาว

5. โซลูชันนี้ ช่วยผมประหยัดค่าไฟฟ้า จากเดิมต้องสูบสองครั้ง คือ จากบาดาลมาเก็บไว้ที่แท็งก์ จากแท็งก์จ่ายออกที่น้ำหยด ก็จะเหลือเพียงครั้งเดียว คิดเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าประมาณ

750*4 = 3000 วัตต์ต่อวัน หรือ 3 หน่วยต่อวัน เดือนละ 90 หน่วย ก็ไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น

-------------------------------------------------------------------------------

งานนี้ ผลจากการวางโซลูชันใหม่เป็นอย่างไร เดี๋ยวรู้กันในอาทิตย์นี้ครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #278 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2014, 10:23:23 AM »

วันเสาร์ที่ผ่านมา ไปเดินบ้านหม้อ

ตามหา "หม้อเพิ่มไฟ"

อยากรู้ราคา

สรุป ยี่ห้อ สยามนีออน ที่โด่งดัง ขนาด 60A ราคาถูกสุดที่ถามมาได้คือ 7500 บาท

สาเหตุที่ต้องตามหา เพราะไฟไม่พอ ไฟตกเกิน

สาเหตุที่ไฟตกเกิน เพราะสายไฟขนาดเล็กไป และเดินไฟยาวไป (อยากรู้ว่าทำไม กลับไปอ่านเรื่องไฟฟ้าในหน้าแรกๆ นะครับ)

วิธีแก้ง่ายๆ
1. ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ขนาดสัก 30KVA ก็จบปัญหาในระยะยาว แต่สนนราคา ไม่ใช่ถูกๆ

หรือ
2. หาหม้อเพิ่มไฟ มาใช้ จริงๆ หม้อเพิ่มไฟ ก็คือ หม้อแปลงไฟฟ้า แต่เป็นแบบพกพาได้นั้นเอง

และนั้นคือ สิ่งที่ผมสงสัยอยู่ ทำไมราคาถึงต่างกัน...


หลายๆ บ้านในต่างจังหวัด นิยมใช้ หม้อเพิ่มไฟ เพราะถูกกว่า หาซื้อมาใช้งานได้ง่ายกว่า

ส่วนผม มองการแก้ไขปัญหาระยะยาวมากกว่า คือ ต้องติดตั้งห้องแปลงไฟฟ้าที่ต้นทางมากกว่า แม้จะแพงกว่า แต่ช่วยให้ทั้งระบบไฟฟ้าในที่ดิน หายขาดจากปัญหาไฟฟ้าตกได้

ผมจึงยังไม่ตัดสินใจซื้อ แล้วหาทางแก้ไขใหม่

จากปัญหาไฟฟ้าตก
ทำให้ปั้มน้ำขนาด 2 แรงม้า ทำงานไม่ได้

พอปั้มทำงานไม่ได้ จ่ายน้ำไม่ได้

ตอนนี้เลยหาทางใหม่ ได้ข้อสรุปที่แสนง่าย จากตัวแปร

1. น้ำบาดาลที่สูบขึ้นมา มีความใสสะอาดมาก หากสูบขึ้นมาไม่เกิน 20 นาที (แล้วพัก 2 เท่าของเวลาสูบหรือคือ 40 นาที)

2. ระบบปั้มน้ำบาดาล รองรับไฟตกได้ต่ำมาก (ตามสเปกเครื่อง) และตำแหน่งที่ตั้ง ทำให้ไฟไม่ตกมาก และขนาดแรงม้าแค่ 1 แรง

3. สูบน้ำบาดาลได้ชั่วโมงละ 4.5 คิว โดยประมาณ น้ำถึงผิวดินยังมีแรงดันอีกอย่างน้อย 2 บาร์กว่าๆ (วัดด้วยมิเตอร์)

---------------------------------------------------

ผมเลยเปลี่ยนโซลูชันใหม่

1. เดินท่อใหม่ เอาท่อจากน้ำบาดาล จ่ายตรงเข้าระบบหัวน้ำหยด ซึ่งมีหัวน้ำทั้งหมด 781 หัว (คิดง่ายๆ 800 หัว) และคิดง่ายๆ ว่าจ่ายน้ำได้ 4,000 ลิตร เท่ากับว่า แต่ละหัวจ่ายน้ำได้ประมาณ 5 ลิตรต่อชั่วโมง

2. มะนาวต้องการน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นต้องจ่ายน้ำ 4 ชั่วโมงต่อวัน และจากสูตรที่ว่าต้องพักการสูบ 2 เท่า ก็เท่ากับ 8 ชั่วโมง รวมๆ เป็น 12 ชั่วโมงต่อวัน หรือหมายถึง ความสามารถจ่ายน้ำสูงสุดคือ 40 ลิตรต่อต้นต่อวัน

3. การสูบน้ำจากบาดาลมารดน้ำเลย เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ผมได้ทดสอบคุณภาพน้ำแล้ว ดีเลิศ ไสสะอาด ไม่มีอะไรเลย (ไม่มีอะไรเจือปนเลย แม้แต่แร่ธาตุ) ส่วนถ้าสูบมากกว่า 20 นาที จะมีตะกอนดิน ปนขึ้นมา)

4. ดังนั้น ผมจึงวางแผนจ่ายน้ำบาดาลเข้าระบบหัวน้ำหยด 10 นาที พัก 20 นาที รวมทั้งหมด 12 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 6 ชั่วโมง ตอนกลางคืน เพื่อให้น้ำค่อยๆ เก็บไว้ใต้ดิน และอีก 6 ชั่วโมง ตอนกลางวัน เพื่อทดแทนน้ำส่วนที่ระเหยไป และการใช้น้ำของมะนาว

5. โซลูชันนี้ ช่วยผมประหยัดค่าไฟฟ้า จากเดิมต้องสูบสองครั้ง คือ จากบาดาลมาเก็บไว้ที่แท็งก์ จากแท็งก์จ่ายออกที่น้ำหยด ก็จะเหลือเพียงครั้งเดียว คิดเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าประมาณ

750*4 = 3000 วัตต์ต่อวัน หรือ 3 หน่วยต่อวัน เดือนละ 90 หน่วย ก็ไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น

-------------------------------------------------------------------------------

งานนี้ ผลจากการวางโซลูชันใหม่เป็นอย่างไร เดี๋ยวรู้กันในอาทิตย์นี้ครับ


เจ็บใจการไฟฟ้า
ติดตั้งห้องเย็น ตอนติดตั้งตอนแรก ไฟไม่พอ แจ้งการไฟฟ้าบอกว่าไม่มีแผนเพิ่มหม้อไฟ
ดิ้นรนซื้อ stabilizer มาใช้งาน ไฟยังไม่พอ ต้องไปซื้อ Step up transformer มาแทน

สองเดือนถัดมา เครื่อง step up ร้องไฟเกินทุกวัน วัดไฟได้ 220-225 ทั้งวัน ต้องถอด step up ทิ้ง

สรุปซื้อหม้อแปลงไฟมาฟรีๆ

เซงเลย

ขายไปยังครับ 555

ของผมมันปลายสาย มีแววว่ายังไงก็คงได้ใช้

เพราะด้วยระยะทางเอง ก็ทำให้มันตกอยู่แล้ว

เท่าที่ถาม การไฟฟ้า เขาบอกว่า ระยะนี้ เมืองขยายตัวมาก เขาทำงานหนักกันมาก เพื่อรองรับการขยายตัวของไฟฟ้า

อย่างที่ชุมแพ มีห้าง มาลงเยอะ โลตัส แมคโคร นี้จะมีศาลจังหวัด มีโรงภาพยนตร์อีก

ผมก็เลยสองจิตสองใจ ถ้า ชุมชนที่ติดกับสวน ขยายมากกว่านี้ได้จริงๆ

การไฟฟ้าต้องมาเพิ่มหม้อ ขยายขนาดแน่นอน ซึ่งก็อาจจะทำให้ผม หมดปัญหาไปด้วย

ผมไปยืนอยู่หน้าร้าน ตัดสินใจอยู่นานเลย กว่าจะสรุปว่า "ไม่ซื้อ แล้วขอลองต่อระบบน้ำใหม่"

เพราะถ้าต่อแล้วรอด ผมก็ไม่ต้องซื้ออีกเลยจนกว่าจะสร้างบ้าน ซึ่งถ้าสร้างบ้าน ผมก็คงกู้เงิน กู้แล้ว ก็คงมีเงิน

มีเงินแล้ว ก็คง ติดหม้อแปลงใหญ่เลยดีกว่า 555

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2014, 12:17:09 PM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #279 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2014, 05:25:35 PM »

ช่วงนี้มีโครงการ โซล่าเซลล์เครื่องสูบน้ำอยู่นะครับ จำไม่ได้ว่าเป็นของหน่วยงานใด
เห็นแว่บๆในเฟส ใช้แผงโซล่าเซลล์ต่อกับปั๊มเฉพาะทางที่ติดกับ set โซล่าเซลล์ ใว้ใช้สูบน้ำตอนกลางวัน
ก็น่าจะช่วยเนรื่องไฟปั๊มน้ำไม่พอได้นะครับ


ขอบคุณครับ

แต่ให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสจริงๆ ดีกว่าครับ

ทางผม ถ้าแก้รอบนี้แล้วหายขาด ก็จบ

เหลือแค่ว่า มีเงินปลูกบ้านเมื่อไร ค่อยติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ ก็จบปัญหาระยะยาวครับ 555
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 18, 2014, 07:04:11 PM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง
Artit Kranjana
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 199


« ตอบ #280 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2014, 07:48:57 PM »

สุดยอดเลยครับ
บันทึกการเข้า
pook_kkf
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 184



« ตอบ #281 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2014, 11:48:00 PM »

ขอปูเสื่อ รอศึกษากลยุทธ์กับคุณบรีสด้วยคนนะครับ   อายจัง
บันทึกการเข้า

คนเราถ้ามีฝัน แล้วลงมือทำ ถึงแม้จะทำแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป
วันละเล็กละน้อย สุดท้ายความฝันนั้นก็ต้องมีวันเป็นจริงแน่นอน
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #282 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2014, 08:39:48 AM »

ติดตามกันได้เลยครับ ไม่มีปิดบัง

ผิดเป็นครู และไม่อยากให้ใครผิดซ้ำ

ดังนั้นไม่อายเลยที่จะบอกว่าคิดอะไร ทำอะไร แล้วพลาดอะไร

แต่เพื่อขอคำแนะนำ ผมจึงมาเขียนไว้ก่อนว่าจะทำอะไร ถ้าท่านใดเคยมีประสบการณ์แล้ว ก็บอกกล่าวกันได้เลยนะครับ ยินดีรับฟัง แล้วปรับแก้ไข

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
Chakapol
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 205


« ตอบ #283 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2014, 06:12:48 PM »

เห็นกระทู้นี้มาตั้งแต่เริ่มเป็น สมช แต่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน ขอชื่นชมการทำเกษตรของท่าน มีหลักการมาก ทุกระเบียดนิ้วมีเหตุมีผล แต่ผมยังอ่านไม่จบ เป็นกระทู้ที่น่าศึกษามากครับ ยิ้มเท่ห์

บางคนเขาว่า ผมมันพวกตูดหมึก

เพราะผมมักถามอะไรไปถึงหลักถึงแก่น

หลายๆคน มักบ่นว่าอะไรนักหนา

แต่ลองพินิจถึงชีวิต ถ้าเรารู้และเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ มันคืออะไร อย่างแก่นแท้

เราก็จะไม่หลงทาง หลงประเด็น

แต่แก่นบางเรื่องเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นหลักการ อันนี้ผมเถียงเป็นเถียง
แต่แก่นบางเรื่องผมเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนี้ เถียงผมมา ผมรับฟังนะครับ ยินดีปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความรู้ที่แท้จริง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 22, 2014, 08:27:16 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า
Easyman_ubon
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 267



« ตอบ #284 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2014, 08:15:35 AM »

สวัสดีครับคุณบรีส ผมชื่อ ปุ๋ย นะครับ อยู่อุบลครับ ต้องขอชื่นชมกระทู้นี้เป็นอย่างมากครับเพราะได้ความรู้อะไรเยอะแยะเลย ติดตามเว็ปนี้มาระยะหนึ่งแล้วครับดเพราะหาข้อมูลในการทำสวน แต่ไม่เคยได้เข้ามาอ่าน ส่วนมากติดตามอ่านแต่คุณนพและอีกหลายกระทู้ที่ปลูกพืชที่ตัวเองสนใจ พอได้เข้ามาอ่านกระทู้คุณบรีสแล้วมันมาก มีอะไรเยอะแยะให้ศึกษาครับ ผมชอบแนวคิดในการวางกรอบ วางระบบ จัดการทรัพยากรที่มีก่อนการเลือกพืชที่จะปลูกตามความเหมาะสม ซึ่งผมเองเลือกพืชที่จะปลูกก่อนการตรวจสอบทรัยากรตัวเอง เลยเหนื่อยหน่อยครับ พอได้อ่านกระทู้นี้พอเห็นแสงรำไรเลยครับ ขอติดตามต่อไปเพื่อเพิ่มแสงสว่างนะครับ ร่ายมาซะยาวขอเข้าเรื่องเลยนะครับขอถามนึดหนึ่งครับเพื่อทำระบบน้ำให้กับสวนมะนาวกับสวนกล้วย+ไผ่

1.เรื่องไฟฟ้าในสวนครับ ข้อมูล หม้อไฟ 5 แอมป์ ลากสายดำคู่ยาว 250 เมตร ที่สวนก็เมือนบ้านอุปรณ์ไฟฟ้าก็จะมี ตู้เย็น 2 เครื่อง นอกนั้นก็เครื่องซักผ้า พัดลม ไฟส่องสว่าง 5 หลอด ถ้าเปิดพร้อมกัน คำถามคือ ผมจะใช้ซัมเมอส สัก 1.5 แรง พอได้ไหมครับ จะมีปัญหาไฟตกไหมครับ ถ้ามีผมควรจะแก้ปัญหาอย่างไรครับ
2.ผมจะทำแทงค์น้ำขนาด 2500 ลิตร ปล่อยเข้าสวนกับมินิสริงเกิอร์ประมาณ 300 หัว แต่จะแยกจ่ายทีละ 100 หัว แต่ละหัวใช้น้ำประมาณ 10 ลิตร ความสูงของแทงค์ประมาณ 5 เมตร จุดที่ตั้งของแทงค์อยู่จุดสูงสุดของสวน ความลาดชันน่าจะ 30-40 cm. ระยะจ่ายน้ำไกลสุด 100 m. คำถามคือ ผมจำเป็นต้องใช้ปั๊มจ่ายน้ำไหมครับ  

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ ผมหาเรื่องปวดหัวให้รึเปล่าครับ

ได้อ่านแล้ว เป็นข้อความที่ให้กำลังใจผมที่ดีเลยครับ อิอิ ส่วนคำตอบ เดี๋ยวเย็นนี้ว่างๆ แล้วจะตอบนะครับ วันนี้มีงานสำคัญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 22, 2014, 08:25:15 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

" บ้าน สวน นา ดี "
บ้านโนนกุง ต.โนนกุง
อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
34130
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #285 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2014, 08:29:13 AM »

เดี๋ยวว่าๆ จะมาเล่าผลให้ฟังครับ

กลับสวนรอบนี้ได้ทำงานนิดเดียว

เพราะมีงานสำคัญกว่า คือ งานศพคุณตาเจริญ น้องชายของคุณตาแถม ดีบุญมี ณ ชุมแพ

เลยลุยแก้แค่ปัญหาน้ำหยดอย่างเดียว

ผลที่ได้ พึงพอใจมากครับ

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #286 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2014, 09:40:51 PM »


1.เรื่องไฟฟ้าในสวนครับ ข้อมูล หม้อไฟ 5 แอมป์ ลากสายดำคู่ยาว 250 เมตร ที่สวนก็เมือนบ้านอุปรณ์ไฟฟ้าก็จะมี ตู้เย็น 2 เครื่อง นอกนั้นก็เครื่องซักผ้า พัดลม ไฟส่องสว่าง 5 หลอด ถ้าเปิดพร้อมกัน คำถามคือ ผมจะใช้ซัมเมอส สัก 1.5 แรง พอได้ไหมครับ จะมีปัญหาไฟตกไหมครับ ถ้ามีผมควรจะแก้ปัญหาอย่างไรครับ

2.ผมจะทำแทงค์น้ำขนาด 2500 ลิตร ปล่อยเข้าสวนกับมินิสริงเกิอร์ประมาณ 300 หัว แต่จะแยกจ่ายทีละ 100 หัว แต่ละหัวใช้น้ำประมาณ 10 ลิตร ความสูงของแทงค์ประมาณ 5 เมตร จุดที่ตั้งของแทงค์อยู่จุดสูงสุดของสวน ความลาดชันน่าจะ 30-40 cm. ระยะจ่ายน้ำไกลสุด 100 m. คำถามคือ ผมจำเป็นต้องใช้ปั๊มจ่ายน้ำไหมครับ  

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ ผมหาเรื่องปวดหัวให้รึเปล่าครับ

มาตอบแล้วครับ

ข้อ 1. หม้อขนาด 5A ใช้ไฟฟ้าได้สูงสุดคือ 220*5 = 1100 วัตต์ ดังนั้นถ้าใช้ปั้ม 1.5 แรงหรือ 750*1.5 = 1125 วัตต์

ดังนั้นตอบได้ง่ายๆ ครับ ไม่เพียงพอ ถ้าจะพอ ต้องแก้ไข คือ เพิ่มขนาดหม้อไฟ ให้เป็น 15A ก่อน

ส่วนคำถามต่อมา ระยะ 250 เมตรพอหรือไม่ ให้ตรวจสอบจาก ระยะหม้อแปลงไฟฟ้าตัวใหญ่ครับ ว่าจากหม้อแปลงตัวใหญ่นั้น ลากมาถึงบ้าน ยาวเกิน 1 กิโลเมตรหรือไม่ ถ้าเกิน มีโอกาสไฟฟ้าตกแน่นอนครับ

ทีนี้ไฟฟ้าตกหรือไม่ มาจากสองปัจจัย คือ ขนาดหม้อแปลงไฟฟ้า ถ้ามันเล็กเกินปริมาณการใช้ ก็จะเกิดไฟฟ้าตกได้ กับสองคือ ระยะห่างจากหม้อแปลง เพราะไฟฟ้ามีการสูญเสียตลอดทางเดิน ถ้ายิ่งไกล แรงดันยิ่งตกครับ มาตรฐานการไฟฟ้า จึงไม่ให้เกิน 1 กิโลเมตรจากหม้อแปลงครับ


ข้อ 2 - จากโจทย์ ดูเหมือนว่า จะได้แรงดันประมาณ 0.5 บาร์ จากความสูง 5 เมตร ทีนี้ ถ้าเป็นมินิสปริงเกอร์ ต้องทดสอบดูครับ ว่า จะหมุนจ่ายน้ำได้หรือไม่ ถ้าได้ ระยะที่กระจายน้ำอาจจะน้อยกว่า

แต่การคำนวณต้องคำนวณจาก ความสามารถการจ่ายน้ำของหัวมินิสปริงเกอร์ครับ ส่วนใหญ่ไม่มี 10 ลิตรนะครับ ส่วนใหญ่คือ 40 ลิตรต่อนาทีขึ้นไป

ดังนั้น โดยภาพรวม ถ้าจะจ่าย 100 หัว ต้องมี 4000 ลิตรเป็นอย่างน้อย และแรงดัน 0.5 ไม่น่าจะพอครับ

สรุปคือ น่าลองครับ

เพราะถ้าทำไม่ได้ จ่ายน้ำไม่ได้ ก็แค่เพิ่มปั้มเข้าไป 1 ตัว


บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
สวนทุ่งอีสานลืมแล้ง
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 337


« ตอบ #287 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2014, 11:02:25 PM »

สวัดดีคับ...ขอติดตามคับ...อ่านแล้วชอบคับ...

ยินดีครับ ผมก็ชอบกระทู้ของท่านเช่นกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2014, 07:36:51 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

76 หมู่ 3 บ.หนองคู ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม
ไร่นาสวนผสม ไผ่ตงลืมแล้ง แก้วมังกร มะนาว ผักหวานป่า
08-66709110 : สุรศักดิ์ อุทัยสา
หน้า: 1 ... 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 [18] 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 ... 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: