เพียรบ้านไร่
seller
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 596
|
ผมติดตามเรื่องราวและความคืบหน้าของสวนเกษตรโชคดีชุมแพมาโดยตลอดและได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย รู้สึกทึ่งกับการคิดและวางแผนที่เป็นระบบดีมากและงานต่าง ๆ ก็ดูว่าจะไปได้สวยแม้ว่าจะยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากมาย
ประสบการณ์ที่คุณบรีสนำมาเล่าให้ฟังมีคุณค่ามากต่อผู้ที่อยากจะทำสิ่งที่ตนเองสนใจคือการทำสวนแต่ยังไม่เคยทำมาก่อน หรืออาจจะทำบ้างแต่ปริมาณไม่มากแบบลองทำดูสนุก ๆ พอมาทำจริงในโครงการที่ค่อนข้างจะใหญ่ (สำหรับผม) และต้องทำหลายอย่างในเวลาใกล้เคียงกันก็อาจจะพบอุปสรรคต่าง ๆ เช่นนี้ และมันจะกลายเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับเจ้าตัวเพราะเหนื่อยและหรือเจ็บเองเต็มที่ มองในด้านดีคือโอกาสในการเติบโตอย่างเข้มแข็ง
ผมเชื่อมั่นว่าคุณบรีสคิดเก่ง ค้นคว้าหาข้อมูลมาก วางแผนดี งานจะต้องเสร็จตามเป้าหมายได้ในที่สุด สิ่งที่เป็นห่วงก็คือการทำงานกับคนซึ่งคุณบรีสได้กล่าวมาบ้างแล้ว ในโอกาสข้างหน้าเมื่องานสวนเดินเครื่องเต็มที่จะมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลามากขึ้น อาจจะต้องปวดหัวกับเรื่องคนมากขึ้นเพราะ "จิตมนุษย์นั้นไซร้ยากแท้หยั่งถึง" บางทีก็สั่งไม่ได้ตามที่ต้องการ ขอภาวนาให้ได้พบแต่คนมาร่วมงานที่รับผิดชอบดี มีน้ำใจใฝ่เรียนรู้เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์สวนของคุณบรีสให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกันต่อไปนะครับ
ขอกราบขอบพระคุณงามๆ 1 ทีครับ
เป็นข้อความให้กำลังใจที่ดีมากครับ
ผมเองก็คิดเช่นนี้เหมือนกัน เรื่องคน ปัญหาสำคัญของผม ตอนนี้อยู่ที่เงิน และความมั่นคง
บอกตรงๆ ว่าผมยังไม่กล้า บอกชาวบ้าน ที่มาช่วยงาน ในเรื่องเกี่ยวกับอนาคต
คนบางคนชอบให้ความหวัง แต่ผมไม่ใช่
ถ้าผมพูดแล้ว สิ่งนั้นต้องเกิดขึ้นจริง
ดังนั้นตอนนี้ผมเลยยังไม่เรียกคนงานมาประชุม เรื่องแผนงาน เรื่องอนาคต แต่มีแผนมีแนวไว้แล้วครับ
ในระยะยาวสวนของผมช่วยคนงานมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยๆ ก็ 2-3 คน ในเฟสแรก หรือหมายถึง 2-3 ครอบครัว ที่จะมีรายได้มั่นคง ในท้ายที่สุด เมื่อลงพัฒนาเต็มพื้นที่
Liked By: คุณบรีส ชุมแพ, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, deemeechai, thidadao, adulsri, ไม่หมู, ฟาร์มเงิน สารคาม, nopmtp, ปานเทพ, nomadic_man, cupn1980, sit, กัญจน์, bundidta, aorjor, TAWUN, prawin, Steve_Jeab, Nithiyos
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2014, 07:52:26 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
เกษตรอินทรีย์เพื่อความมั่นคงทางอาหารสะอาด สิ่งแวดล้อมที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรงของผู้ผลิตและผู้บริโภค
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
หลังจากย้ายเข้ามุมสมาชิก แล้ว วันนี้เลยขอเปิดตัว เปิดหน้า เปิดใจ แนะนำตัวอย่างเป็นทางการกันหน่อยครับ 555 ผมชื่อ วาทยศ อัศว์วิเศษศิวะกุล (ชื่อนี้มีชื่อเดียวในโลก...มั่นใจครับ) ชื่อ แปลว่า ผู้มีชื่อเสียงทางการพูด มาจากการดูกฤษ์เกิดของสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) องค์ที่ 18 ท่านว่า ผมจะเป็นผู้มีชื่อเสียงในการพูด และมีดวงที่จะเติบใหญ่ได้ดีในการเป็นพระนักเทศน์ ท่านถึงกับขอพ่อแม่ผมว่าเมื่อโตจนอายุบวชได้ ให้มาบวชเสียเลย โดยท่านได้ตั้งฉายาไว้ให้ล่วงหน้าเลยเช่นกัน มีความหมายแปลได้ว่า พระผู้มีชื่อเสียงในการเทศน์ อายุอานามตอนนี้ 35 ขวบปีเลยมานิดหน่อย เกิดในตระกูลพ่อค้า อากงทั้งสองท่าน (ฝั่งพ่อและฝั่งแม่) เป็นพ่อค้ามาจากเมืองจีนทั้งคู่ ฝั่งแม่ อากงเป็นพ่อค้าใหญ่ มีเรือสำเภาหลายลำ ค้าขายน้ำตาลเป็นหลัก จนเกิดสงคราม ญี่ปุ่นยึดเรือไปหมด ตกระกำลำบาก กลายเป็นคนจีนยากจน พอมีพอกินในท่าดินแดง ฝั่งพ่อ อากงเดินทางมาแบบเสื่อผืนหมอนใบ มาทำงานหนัก สร้างเนื้อสร้างตัว จนเติบใหญ่ มีร้านค้าในระดับที่เรียกว่า เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต ในท่าดินแดงเลยทีเดียว พี่น้องของพ่อผม ขยับขยายกิจการมากมาย ส่วนพ่อผม...พอเพียงตั้งแต่เกิด ไม่เอาอะไรของใคร ไม่มักใหญ่ ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ท่านเป็นตัวอย่างความพอเพียงให้ผมตัั้งแต่เกิด พ่อกับแม่เจอกันในท่าดินแดงนั้นละครับ พอแต่งงานก็ย้ายมาเปิดร้านค้าขายของชำ ส่งผมและพี่สาวเรียน ผมจึงโชคดีที่ได้เกิดมาในครอบครัวที่ไม่ร่ำรวย แต่ตระกูลมีเงินมีหน้ามีตา จึงเห็นความต่าง เรียนรู้ชีวิตทั้งมีและไม่มี เรียนรู้ความยากลำบากกว่าจะได้อะไรมาสักอย่างหนึ่ง และโชคดีที่บ้านเป็นร้านขายของ ผมจึงเจอคนมากมาย กล้าพูด กล้าคุย (และอาจติดนิสัยชอบแนะนำ แบบพ่อค้าแนะนำสินค้า มาตั้งแต่เล็กๆ นั้นละ 55) กลายเป็นเด็กคำนวณเก่ง เลยชอบเรียนสายวิทย์คณิต (ยังจำได้สมัยก่อน แค่เอาของวางที่โต๊ะ ก็บอกราคารวมได้เลย ..ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว) ผมเลยเติบโตมาด้วยวิถีชีวิตที่ "อยาก" ต่างจากพ่อ แต่ก็เรียนรู้ที่จะต้อง "ทำ" เพื่อให้ได้มา พ่อผมสอนด้วยประโยคที่ทุกวันนี้ผมยังยึดเป็นแนวทางชีวิตคือ "ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด" ช่วงเข้ามัธยม ผมเริ่มมีเวลามากขึ้น อิสระขึ้น ประตูโรงเรียนไม่เคยปิด (แต่ก็ไม่เคยโดดเรียน) พอเลิกเรียนผมก็ไปทำงานพิเศษ ตั้งแต่ช่วยงานครูในโรงเรียน บางงานไม่ได้เงิน บางงานได้เงิน ปิดเทอมก็ไปทำงานที่โรงเรียน จัดหนังสือเป็นแพ็กๆ เพื่อขายตอนเปิดเทอม ไปยืนถือกล่องบริจาค (ตอนหลังมารู้ว่าหลอกลวงก็เลิก) จนใกล้จะจบ ม.3 ผมเก็บตังค์สามารถซื้อ เกมบอย ได้ด้วยตนเอง วันนั้นดีใจมาก แม่ก็ดีใจ ที่เห็นลูกตั้งใจเก็บเงิน (แต่มันไม่ค่อยตั้งใจเรียนนะซิ 555) แต่พ่อไม่ดีใจด้วย...ลงโทษอย่างหนัก และดุด้วยคำที่ผมยังจำได้จนวันนี้ คือ "หน้าที่ตัวเองตอนนี้คือเรียน ก็ต้องตั้งใจเรียน ยังทำหน้าที่ตัวเองไม่ได้ดี อย่าคิดไปทำอย่างอื่น" ตั้งแต่วันนั้น ผนวกกับผลการเรียนก็ไม่ได้ดีอะไร ผมเลยเปลี่ยนเป็นคนละคน (แต่งานเสริมก็ยังทำ แต่เงินที่ได้...เอาไปเรียนพิเศษครับ) จนผมสอบเอ็นท์ติดตั้งแต่ ม.5 ไม่มีใครคิดว่าจะติด... เด็กที่เกรดเฉลี่ย 2.2 เรียนภาษาอังกฤษก็ตก นั่งหลังห้อง วันสอบไม่อ่านหนังสือ แต่สอบติดจุฬาฯ จบมาก็ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน โปรแกรมเมอร์พัฒนาระบบ กลายเป็นนักเขียน เป็นบรรณาธิการ เป็นช่างภาพ เป็นครูติวพิเศษ สารพัดอาชีพที่ผมไม่เคยเกียงทำ ...ที่ผมเล่าให้ฟัง มันคือ จิ๊กซอว์ ชีวิต ที่ทำให้ผมเป็นผมทุกวันนี้ครับ ส่วนภรรยาผมเกิดที่ชุมแพ แต่พอช่วงมหาลัยก็เรียนที่ กทม. แล้วก็อยู่ กทม. จนถึงวันนี้ เธอเป็นลูกหลาน ตระกูลใหญ่เช่นกัน มารู้ตอนคิดจะขอแต่งงานนี้ละ ว่าตระกูลเขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอำเภอชุมแพ เป็นเหลนขุนบุญบาลบำรุง (ตระกูลดีบุญมี ณ ชุมแพ) ตอนจะแต่งงาน ภรรยาผมเขาก็กลัวว่าทางบ้านจะไม่รับ ส่วนผมก็กลัวว่าทางบ้านผมจะไม่รับเหมือนกัน แต่พอได้แนะนำกันและกัน...ปรากฎว่า...ผู้ใหญ่เขารู้จักกันอยู่แล้ว ... เลยอนุญาตให้แต่งงานกันได้สบายๆ นี่ก็ผ่านมา 10 ปีแล้วครับ มีพยานรัก 1 คน 6 ขวบ 
Liked By: deemeechai, KENETIC_E®, thidadao, adulsri, สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์, ไม่หมู, surasitp, ฟาร์มเงิน สารคาม, เพียรบ้านไร่, nopmtp, ปานเทพ, nomadic_man, cupn1980, sit, กัญจน์, put, bundidta, onjjfo, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, weekra73, teerapan, uoonsabye, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, Easyman_ubon, toongturbo, everydaygreenlife, Ntpm77, walaijaifarm, ยศนิธิ, muslin2557, wondermo, vigo74, Steve_Jeab
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2014, 08:31:19 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ในที่สุด วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ก็เป็นวันเริ่มต้นของต้นกล้ามะนาวต้นแรกที่ได้ปลูกลงดิน จากกิ่งมะนาวที่นำมาอนุบาลไว้ก่อนเดือนนิดๆ ผู้จัดการกิติมศักดิ์ท่านขอกฤษ์วันดังกล่าวลงปลูกแค่ไม่กี่ต้น จากนั้นก็ให้คนงานเตรียมหลุมปลูก โดยนำวัสดุปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว ใส่ลงไปจนเกือบเต็มหลุม ตามด้วยดินปิดหลุม... ผลงานได้ตามภาพ (ไม่นับหัวน้ำหยดนะ 555)  รู้ไหมครับผิดยังไง... ผิดตรงที่ดินปากหลุม ต่ำกว่าดินโดยรอบ เพราะวัสดุปลูกไม่พอ ทำให้ตุ้มรากมะนาวต่ำกว่าผิวดินจริงๆ ถึง 20 ซม. และเมื่อรากมะนาวโตเต็มที่จะลึกประมาณ 50 ซม. ก็เท่ากับ ลึกจริงๆ 70 ซม. ลึกกว่าลูกฟูกที่ยกไว้ ดังนั้นในระยะ 4-5 ปีข้างหน้าจะทำให้การควบคุมออกนอกฤดูทำได้ลำบาก วันเสาร์ผมขึ้นไปพร้อมมะนาวอีก 600 กว่าต้น เพื่อลงให้ครบเป้าหมาย 800 ต้น ในเฟสแรก จึงได้เชิญ น้าๆ ป้าๆ มาให้ความรู้ (พร้อมแลกเปลี่ยน)  จนเข้าใจกระบวนการปลูกใหม่ และให้เรียงลำดับการทำงาน คนแรก --> คัดมะนาว ปลดตุ้ม ผูกกับไม้หลัก  คนสอง --> ใส่ สตาร์เกิ้ล จี ป้องกันแมลงเจาะดูด ต่างๆ  คนที่สาม --> นำวัสดุปลูกผสมดิน พูนโคนให้มิดราก  คนที่สี่ --> เศษหญ้าสับ ปิดหน้าดิน  ก็จะได้หลุมสวยๆ ตามรูป ซึ่งยังไม่ถือว่าเรียบร้อยดี  1. ติดปัญหา วัสดุปลูกไม่พอ เลยให้เวลา 2 อาทิตย์ ให้พ่อตา หามาเติมให้ครบ จนไม่เป็นหลุม 2. ดินที่ตักไว้ค้างๆ ทำให้ลูกฟูกดูไม่สวยงาม ต้องปรับระดับให้เท่าๆ กัน เพื่อให้สาย PE ไม่ยกขึ้นยกลงด้วย
Liked By: ปานเทพ, nomadic_man, cupn1980, KENETIC_E®, ฟาร์มเงิน สารคาม, เพียรบ้านไร่, nagdernthang, กัญจน์, nopmtp, bundidta, surasitp, @konhimdoi, TAWUN, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
มาดูการขนมะนาวกันครับ รถอินโนว่า 1 คัน คนขับ 1 คน สัมภาระนิดหน่อย สรุป กิ่งมะนาว 630++ (ไม่ได้นับ คุณชาย ท่ายางท่านก็ให้มาเกิน) เต็มครับ ขับมาพร้อมความหอมกลิ่นมะนาว ต้องเปิดหน้าต่างขับกันเลยทีเดียว ขับๆ อยู่ก็มีแมงมุมกระโดดมาเกาะ อืม...เรียกว่าเป็นกิ่งพันธุ์สมบูรณ์ตามธรรมชาติจริงๆ ขอบคุณท่านชาย ท่ายางด้วย อุตส่าห์ไปส่งถึงกำแพงแสน (ถ้าคุยกันอีกนิด มาส่ง กทม. ก็ดีอยู่แล้ว 555)  หน้าตาคุณชาย หมดสภาพครับ 555 เร่งตัดกิ่งมาให้ผม ตามนัดหมาย   เปิดประตูปุ๊บ กิ่งร่วงเลย อัดมากันเต็มๆ 
Liked By: nomadic_man, cupn1980, KENETIC_E®, ฟาร์มเงิน สารคาม, nagdernthang, กัญจน์, thidadao, เกษตรกรออนไลน์, nopmtp, ปานเทพ, bundidta, surasitp, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, นายเติมใจ, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ตอนนี้ว่าด้วยประสบการณ์ เปลี่ยนจากกระดาษเป็นของจริง "เรื่องระบบน้ำ" เท้าความกันสะนิด ตามแผนเดิมผมติดตั้งระบบน้ำหยดแบบใช้ปั้มอัดแรงดัน โดยกำหนดให้ 10 นาที จ่ายน้ำได้ประมาณ 5 ลิตรต่อต้น ส่วนจำนวนครั้งในการรด ขึ้นกับสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อนอาจรดวันละ 4 ครั้ง เป็นต้น แต่สัปดาห์ก่อนที่ไปติดตั้ง ใจร้อนไปหน่อย กาวยังไม่แห้งดี (แถมมีบางจุดยังไม่ติดกาว) ลองเปิดดูด้วยแรงดันของปั้ม ก็ทำให้ท่อกระจุยกระจาย สรุปต้องเลื่อยตัดออก 1 ตำแหน่ง เปลี่ยน ยูเนี่ยน 1 ตัว เพราะเกลียวงอ สัปดาห์ที่แล้วเลยทิ้งไว้พร้อมคำถามในหัว ระหว่างทางที่ขับรถกลับจาก ชุมแพมากทม. เลยได้คิด คำนวณใหม่ ระบบท่อที่เราวางไว้ทั้งหมด รองรับระบบน้ำหยดแบบไม่ต้องใช้ปั้มได้แน่นอน จึงลองใหม่ ต่อท่อตรงจากแท็งก์ เข้าท่อเมน 3 นิ้ว โดยซื้อกรองดิสเพิ่ม 1 อัน มากั้นไว้ ไม่ต้องทำท่อบายพาย เพราะแรงดันไม่มากมาย และหัวน้ำหยดจริงๆ ก็ไม่ได้ใช้แรงดันมากเช่นกัน  โจทย์ที่ต้องการทดสอบคือ หัวน้ำหยด 800 หัว เท่ากับ 800 ลิตรต่อชั่วโมง (หัวละ 1 ลิตรต่อชั่วโมง) จะสามารถจ่ายผ่านแท็งก์ขนาด สูง 3 เมตร จำนวน 2 แท็งก์ จุดสูงสุดของหัวน้ำหยดกับระดับน้ำ ต่างกันเพียง 1.5 เมตร จะสามารถจ่ายน้ำได้หรือไม่ ลองคำนวณ น้ำ 1 หยดขนาดมาตรฐาน (มีขนาดไมโครดรอปอีก) คือ น้ำหยดทั่วๆ ไป ที่หยดจากหัวน้ำหยด มีปริมาณ 0.05 มิลลิลิตร ดังนั้น 800 หัว เท่ากับจ่ายน้ำ 40 มิลลิลิตร หากเราควบคุมให้หยด 1 หยดต่อวินาที ก็จะเท่ากับ จ่ายน้ำได้ 144 ลิตรต่อชั่วโมง อัตราน้ำไหลออกขนาดนี้ เรียกว่าน้อยมาก จนไม่ต้องใช้ปั้มใดๆ ก็น่าจะไหลออกได้ โดยทฤษฎีจึงเป็นไปได้แน่นอน  ...แล้วที่ท่านอื่นๆ มีปัญหาละ ส่วนใหญ่ติดปัญหาเรื่องแรงดันในท่อต่างหากหรือ Head Loss (ย้อนกลับไปหน้า http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.64 อ่านดูนะครับ) ตามระบบที่ผมวางแบบไว้ แท็งก์สูง 3 เมตร เท่ากับ H 3 ท่อเมน 3 นิ้ว เสีย H เท่ากับ 0.3 ต่อ 100 เมตร ผมต่อท่อเมน 3 นิ้ว แค่ 30 เมตร ดังนั้นเสีย Head Loss เท่ากับ (0.3/100)*30 = 0.09 ดังนั้น ณ จุดต่อท่อเมน 3 นิ้ว ไปท่อ 2 นิ้ว ผมจะเหลือ H เท่ากับ 3-0.09 = 2.91 ท่อ 2 นิ้ว ผมเดินเป็นแนวยาว 40 เมตร โดยท่อ 2 นิ้ว เสีย H เท่ากับ 3 ต่อ 100 เมตร ดังนั้น ผมเสีย H ในท่อ 2 นิ้วเท่ากับ (3/100)*40 = 1.2 ดังนั้น ณ จุดต่อท่อแขนง 2 นิ้ว ผมเหลือ H เท่ากับ 2.91-1.2 = 1.71 ซึ่งแม้มีแรงดันน้อยขนาดนี้ แต่โดยพื้นฐานแล้ว ก็เพียงพอต่อการหยด แต่เพื่อไม่ประมาท ผมจึงเพิ่มแรงดันในท่อ ด้วย แอร์แวะ โดยติดไว้ทั้งหมด 4 จุด คือ ก่อนจะลดท่อเมน 3 ไป 2 และครึ่งทางของท่อ 2 นิ้ว รวม 4 จุด ส่วนคนที่ติดปัญหาส่วนใหญ่ เท่าที่ผมไปดูงาน คือ ใช้ท่อเล็กเกินไป ทำให้ เมื่อเดินแนวท่อไประยะหนึ่ง น้ำจะหมดแรงดัน (เมื่อน้ำหมดแรงดัน ก็จะไม่สามารถไหลขึ้นได้อีก (พื้นดินการเกษตรไม่ราบเรียบเสมอกัน) แต่แม้ไม่มีแรงดัน น้ำสามารถไหลต่อได้ หากมีปริมาณน้ำมาเติม การเติบน้ำคือ การเพิ่มมวลของน้ำ เมื่อสะสมกันมากๆ จะเพิ่มแรงดันน้ำได้เอง ------------------------------- จากท่อ 2 นิ้ว ผมใช้ข้อต่อของ กนกโปรดักส์ ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่ารูปแบบอื่นๆ เพราะเป็นข้อต่อตรง ที่มีหัวสำหรับต่อท่อ PE ได้เลย ตามภาพ 
Liked By: KENETIC_E®, ฟาร์มเงิน สารคาม, กัญจน์, cupn1980, thidadao, เพียรบ้านไร่, nopmtp, ปานเทพ, bundidta, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, surasitp, aorjor, TAWUN, Easyman_ubon, นายเติมใจ, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ส่วนอันนี้คือ งานแก้ไข ระบบปั้มที่เรียบร้อย หลักการคือ จากหัวปั้มทางน้ำออก ให้ลองดูว่าปั้มจะพ่นน้ำได้ไกลเท่าไร ให้ใส่ท่อตรงยาวเท่านั้น ผมลองแล้วได้ประมาณเกือบ 2 เมตร จึงยกท่อไว้ 2 เมตร แต่ที่ต้องยกไปสูงเกือบ 4 เมตร เพราะทำระบบเพิ่มอากาศ ตัดปัญหากาลักน้ำ  กล่าวคือ ถ้าไม่ทำแบบนี้ ก็ต้องหาวาวล์ไฟฟ้ามาใช้งาน เพื่อเปิดและปิดท่อ เพราะถ้าไม่ปิด น้ำจะไหลออกไปเรื่อยๆ ผมจึงใช้แนวคิดจากเพื่อนๆ ในเว็บเกษตรพอเพียงมาทำ (ขอขอบคุณทุกคนไว้ ณ ที่นี้ครับ ผมไม่สามารถหาได้ว่าใครเป็นคนแรกที่คิด) โดยจุดบนสุด ต่อเช็ควาวล์ แต่ใส่ย้อนกลับ คือ เมื่อน้ำมีแรงดัน วาลว์จะปิด เมื่อไม่มีแรงดันวาวล์จะเปิด ทำให้อากาศเข้ามาแทนที่ ซึ่งเป็นการทำลายสภาพกาลักน้ำนั่นเอง แต่ความสูงของท่อขนาดนี้ เสี่ยงมากต่อการหัก จึงให้คนงานทำขาซัพพอร์ต  ถึงตอนนี้ระบบน้ำก็เหลือแค่ ระบบไฟฟ้า ที่ต้องหาหม้อเพิ่มไฟ มาติดตั้ง และทำระบบหลังคาคุ้มกันฝนเสียก่อน ซึ่งด้วยการเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นระบบน้ำหยด ก็เลยทำให้จริงๆ แล้ว ไม่ต้องใช้ปั้มเลยด้วยซ้ำไป แต่ยังคงติดตั้งปั้มไว้...เพราะ.... ยังเทสต์หัวน้ำหยดไม่เรียบร้อย... 555 ถ้าระบบน้ำหยดมีปัญหา ผมจะเปลี่ยนไม่ใช่น้ำหยดตามธรรมชาติ แต่ใช้ปั้มจ่ายตามแนวคิดแรกเหมือนเดิม แต่ถ้าลองใช้งานไปหลายๆ เดือนแล้วพบว่า ไม่มีปัญหาอะไร ก็จะถอดระบบปั้มออก (แล้วจะเอาไปใช้อะไร... ผมคิดไว้ตั้งแต่ซื้อแล้วครับ ว่าสามารถใช้ดูดน้ำจากบ่อได้ ดังนั้นในอนาคตก็ต้องใช้อยู่ดี) โดยพื้นฐานบอกเลยว่าเปลืองครับ ไม่ตรงแนวคิดเท่าไร แต่ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ผมถือเป็นประสบการณ์ เป็นค่าวิชาในการเรียน เพราะผมยังมีพื้นที่เหลืออีก 20 ไร่ ที่ต้องจัดการ การวางระบบน้ำยังต้องทำอีกหลายรอบ ประสบการณ์รอบนี้จะช่วยให้รอบต่อๆ ไป เหมาะสมยิ่งขึ้น
Liked By: KENETIC_E®, ฟาร์มเงิน สารคาม, สิงขร, กัญจน์, cupn1980, thidadao, เพียรบ้านไร่, nopmtp, bundidta, surasitp, aorjor, TAWUN, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ปัญหาที่ยังต้องคิดคำนวณและทดสอบคือ
1. หากปรับหัวน้ำหยดให้หยดในอัตรา 2 ลิตรต่อนาที (อัตราสูงสุด) จะยังสามารถจ่ายน้ำได้ 800 หัวเท่ากันหรือไม่ 2. จะต้องปรับแก้อย่างไร ให้สามารถจ่ายปุ๋ยผ่านระบบน้ำหยดได้ 3. อุปกรณ์ที่เหลือในการปรับแก้แล้ว จะเอาไปใช้ทำอะไรต่อ (ปั้มใช้กับบ่อน้ำได้แน่นอน แต่ตัวท่ออื่นๆ จะใช้ทำอะไรได้บ้าง
Liked By: KENETIC_E®, ฟาร์มเงิน สารคาม, สิงขร, nagdernthang, กัญจน์, cupn1980, thidadao, nopmtp, ปานเทพ, surasitp, aorjor, TAWUN, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ยิ่งคิดยิ่งเครียด อยากรู้ผลการทดสอบเร็วๆ แต่อันตัวเราเป็นมนุษย์เงินเดือน หมดเสาร์อาทิตย์ ก็ต้องกลับมาทำงาน หัวน้ำหยดเจาะได้เพียง 100 หัว ที่เหลือ 700 หัว ต้องให้คนงานช่วยเจาะ ตอนนี้ที่ผมรอผลคือ ถ้าสามารถตั้งค่าหัวน้ำหยด ให้ทั้ง 800 หัวสามารถหยดได้ 1600 ลิตรต่อชั่วโมง (รวมกันหมด 800 หัว) ผมจะปรับเปลี่ยนระบบจ่ายปุ๋ย เป็นปั้มโม่ปูนตัวเล็กๆ แทน ซึ่งนั่นหมายถึง ผมได้แก้ปัญหา 1. ปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก ช่วยให้ไม่ต้องหาหม้อเพิ่มไฟฟ้ามาใช้งาน 2. ประหยัดค่าไฟ สำหรับปั้ม 2 แรง ที่ต้องเปิดทุกวันๆ ละ 45 นาที (คิดง่ายๆ วันละ 2 หน่วย คิดเป็นเงินเดือนละอย่างน้อยๆ 300-400 บาท) ส่วนอุปกรณ์ที่เหลือ เก็บไว้ใช้สำหรับงานสูบน้ำจากบ่อ อัดเข้าสปริงเกอร์ เพิ่มความชื้นในอากาศด้วยยามหน้าร้อน ตามแผนจะขุดบ่อในช่วงหน้าแล้งปีหน้าแทน ก็ถือว่าลงทุนไม่เสียเปล่า มีเสียก็แค่ ข้อต่อท่อต่างๆ รวมๆ กันไม่เกิน 1000 บาท เป็นค่าประสบการณ์ 555 --------------------------------------------------- ท่านใดมีประสบการณ์แชร์ ช่วยบอกนะครับ ผมจะได้ไม่เดินหลงทางอีก ที่หลงทาง เพราะที่ไปดูงานน้ำหยดในสวนต่างๆ ส่วนใหญ่ จ่ายน้ำได้แค่ 100-200 หัวเท่านั้น เลยกลายเป็นตัวแปรชะงักความคิด ก้าวไม่พ้นจากความไม่รู้ เพราะเราลืมดูไปว่า ท่อเมนเขาใช้กันเป็นท่อ 1 นิ้วบ้าง 1 1/2 นิ้วบ้าง ไม่มีใครยอมลงทุนใช้ท่อเมนท่อใหญ่แบบเรา ถ้าผมมีประสบการณ์ และแม่น ผมคงเลือกระบบน้ำหยด โดยอาจไม่ต้องลงทุนระบบปั้มให้จมเงินล่วงหน้าขนาดนี้ 555 --------------------------------------------------- มาดูเรื่องอื่นๆ บ้าง ภาพนี้คือ ถนนท้ายสวนครับ รถบรรทุกวิ่งได้ 1 คัน ขนาดประมาณ 4 เมตรขึ้นไป เตรียมไว้เป็นแนวกันไฟ สองข้างถนน จะปลูกไผ่ซางหม่น เลี้ยงก่อแบบแนวยาว เป็นปราการกำแพงธรรมชาติ ระยะ 5 ปี ตัดลำสวยๆ ขาย รวมๆ น่าจะปลูกได้ 2-3 ร้อยกอ ถ้าตัดขายก่อละ 10 ลำ ก็ได้ 2-3 พันลำ กำลังดี ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป  จากแนวถนนท้ายสวน ก็ทิ้งระยะไว้อีก 12-15 เมตร ก่อนจะถึงแปลงมะนาว ระยะยาวยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี แต่ระยะสั้น คงทิ้งไว้เฉยๆ เพราะในระยะยาวเมื่อไผ่โตได้ที่ พื้นที่ตรงนี้จะร่ม ตั้งแต่เช้าจนเที่ยง อันเป็นผลจากเงาไผ่ ตอนนี้ที่คิดๆ เล็งๆ ไว้คือ แนวทำ ปุ๋ยหมักแม่โจ้  นี้ก็อีกปัญหาหนึ่ง การปรับระดับร่องน้ำ ยังไม่ดี ทำให้ยังมีน้ำขัง ไม่ไหลไปรวมกัน เป็นงานที่ต้องแก้ไข  บางทีเห็นงานเพิ่ม งานงอก แล้วก็คิดถึงว่า ถ้าเรามีเวลาลงมาทำเต็มๆ ก็คงดีนะ ... เพราะงานบางอย่าง ต้องเฝ้า ต้องดู ถึงจะเห็นคำตอบของปัญหา แต่เราเฝ้าไม่ได้ ดูไม่ได้ ก็ต้องเลยตามเลย...
Liked By: deemeechai, KENETIC_E®, cupn1980, ฟาร์มเงิน สารคาม, thidadao, เพียรบ้านไร่, put, nopmtp, กัญจน์, ปานเทพ, surasitp, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
ฟาร์มเงิน สารคาม
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1057
|
สวัสดีครับคุณบรีสจากประสบการณ์ที่ประสบมากับ Eng for civill อย่างผมมีการบ้านให้ไปทำเพิ่มอีกข้อครับท่าน  อย่าให้น้ำขาดถังกักเก็บ(น้ำหมดในถังเก็บ)งานเข้าเลยครับ กว่าจะไหล่ระบบให้ครบ Root ใช้เวลามากพอสมควร แต่ที่ท่านเลือกระบบน้ำหยดมาถูกทางแล้วครับท่าน เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ก่อเกิดประโยชน์อันสูงสุดแล้วครับท่าน ใช่ครับ ครั้งแรกที่เปิดท่อ รอน้ำนานมาก ประมาณ 3-4 นาที กว่าจะเดินทางมาครบถึงปลายสุด โดยประเด็นนี้ผมก็คิดไว้แล้วครับ
ติดปัญหาต้องทดสอบ คือ หัวน้ำหยดครับ
ผมเลือกแบบปรับได้ เพราะต้องการใช้งานได้หลากหลายแบบ
ผมวางแผนไว้ว่า
- หน้าฝน ผมปรับเป็นเล็กสุด คือ 1 หยดต่อวินาที จะช่วยเรื่อง ระยะเวลาการเติมน้ำในแท็งก์ ผมสามารถตั้งเวลาให้ห่างๆ กันได้ และปริมาณน้ำที่จ่ายให้ต้นไม้ ก็ไม่มากเกินไป คือ วันละแค่ 4.5 ลิตร เท่านั้นเอง ถือว่าน้อยมากสำหรับมะนาว แต่ถ้ามีฝนตกก็ถือว่าเหมาะสม ไม่ต้องไปวุ่นวายปิดๆ เปิดๆ
- หน้าร้อนกับหนาว ปรับหัวให้ไหล 4 หยดต่อวินาที ก็จะจ่ายน้ำให้ต้นมะนาวได้ วันละ 18 ลิตรโดยประมาณ ก็เพียงพอ
ทีนี้ ที่ผมต้องหาคือ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลา น้ำลด กับน้ำเติม ต้องตั้งอย่างไร ถึงจะมีน้ำในระดับที่เพียงพอต่อการจ่ายน้ำอยู่ตลอดทั้งวัน
ที่ดูคร่าวๆ น่าจะเติมน้ำ ประมาณ 15 นาทีต่อชั่วโมง ซึ่งระบบควบคุมน้ำบาดาลตั้งเวลาได้อยู่แล้วครับ
ถ้าได้สำเร็จ ผมจะเอาแนวทางนี้ไปวางกับอีก 1200 ต้นที่เหลือ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2014, 10:10:22 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
มหาสารคาม
|
|
|
ฟาร์มเงิน สารคาม
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1057
|
Liked By: คุณบรีส ชุมแพ, thidadao, เพียรบ้านไร่, put, nopmtp, ปานเทพ, bundidta, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, vigo74
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2014, 10:47:44 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
มหาสารคาม
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
เพาะเชื้อไตรโคเดอร์มา ลดการใช้สารเคมี สวนมะนาว ใครๆ ก็บอกมีแต่สารเคมี ผมเองก็ไม่ใช่พวกเกษตรอินทรีย์สุดๆ เรียกว่าใช้ตามสมควรดีกว่าครับ สารชีวภาพต่างๆ เมื่อคำนวณต้นทุนแล้ว บอกได้เลยว่า แพงกว่าในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้ว อาจคุ้มค่ากว่าหรือไม่ ต้องอยู่ที่สภาพแวดล้อม สารชีวภาพตัวแรกที่ผมเลือกใช้คือ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เหตุผลคือ เป็นเชื้อราครอบจักรวาล มีงานวิจัยยืนยันแล้วว่าแก้ปัญหาโรคราได้หลายชนิด และยังมีส่วนลดปัญหาโรคแคงเกอร์ด้วย ลองคำนวณต้นทุนเล่นๆ ถ้าไม่เพาะเชื้อเอง ซื้อแบบสำเร็จผสมน้ำได้เลย เท่ากับ ประมาณครั้งละ 150 บาท ต่อ 100 ต้น สำหรับราดลงดิน หรือถ้าฉีดพ่นก็จะได้ประมาณ 150 บาทต่อ 400-500 ต้น แต่ถ้าเพาะเชื้อเอง ก็ตกแล้ว ไม่ถึง 10 บาท ต่อ 800 ต้น ในระยะต้นเล็ก และเมื่อโตก็อาจไม่ถึง 30 บาทต่อ 800 ต้น ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายพอๆ กับการใช้สารอื่นๆ แก้ปัญหาโรคแคงเกอร์ วิธีการเพาะคือ เตรียมอุปกรณ์ 1. หัวเชื้อจาก ม.เกษตร ขวดละ 100 บาท 1 ขวดใช้ทำได้ 40 ถุงข้าว 2. ถุงร้อน ขนาดสัก 5*6 นิ้ว หรือใหญ่กว่า (ยิ่งใหญ่ยิ่งตักง่าย) 3. แอลกอฮอล์ 4. ถาดวางข้าวถุง เพื่อความเป็นระเบียบ และไม่กระทบกระเทือน 5. ส้อม ทัพพีตักข้าว 6. ยางรัดของ  หุงข้าวที่ถูกที่สุด (ต้นทุนจะได้ถูกสุด... แต่รอบแรกใช้ข้าวหอมมะลิที่บ้านเลย 555 แต่ในรูปออกสีน้ำตาล เพราะมีข้าวหมาเหลือๆ เก่าเก็บค้าง 3 ปี อยู่ด้วยเกือบกิโลกรัม) โดยกะง่ายๆ น้ำพอดีข้าว หรือถ้าตามสูตรจริงๆ ก็ ข้าว 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน หุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่เราใช้ๆ กันนี่ละครับ จากนั้นเอาแอลกอฮอล์เช็ดทัพพีตักข้าว เพื่อฆ่าเชื้อโรค พอสุกกำลังร้อนสุดๆ ให้ตักใส่ถุงร้อนทันที ปริมาณการตักคือ 250 กรัม แต่ผมไม่มีเครื่องชั่ง เลยใช้สามช้อนทัพพี เพราะการตักข้าวร้อนๆ จะช่วยฆ่าเชื้อโรค และป้องกันเชื้อราตัวอื่นๆ ผสมเข้าไปในถุง จากนั้นพับปากถุงปิดไว้ เรียงให้แต่ละถุงไม่ทับกัน (ในรูปทับกันเพราะเอาถาดมาเตรียมไม่พร้อมในตอนแรก)  รอจนข้าวอุ่น แบบที่เราตักกินได้สบายๆ ไม่เย็น เปิดปากถุง ไม่ต้องยกถุงขึ้น แค่เปิดปาก แล้ว เยาะๆ เชื้อลงไป เพียงเล็กน้อย ประมาณใส่พริกไทยในข้าวต้มสำหรับเด็กพอหอมๆ เห็นเป็นดำๆ จุดๆ นิดๆ จากนั้นก็ รีบมัดปากถุงด้วยหนังยาง (หยิบถุงขึ้นมาเลยครับ) แล้วก็ขย้ำให้เชื้อกระจายเต็มๆ ขย้ำเสร็จอาจมองไม่เห็นจุดดำๆ อีกเลย จากนั้นก็เรียงข้าวให้แบนๆ แล้วเอาส้อมมาเจาะ รูที่บริเวณปากถุง เจาะด้านเดียวคือ ด้านที่หงายขึ้น จำนวนการเจาะ ผมใช้ 5 ครั้ง ก็ได้ประมาณ 20 รู ทำเรียงแบบนี้ไปทุกถุง จากนั้นก็เอาไปเก็บไว้ในห้องที่อากาศถ่ายเท ไม่ร้อน มีแสง ไม่มีแดดถึงแรงๆ ห้องที่ว่าในบ้านผมก็เลยมาตกที่ ห้องน้ำ... 555 ทิ้งไว้สองวัน กลับมาดู จะมีราขาวบ้าง เขียวอ่อนๆ บ้าง ตามหลักเขาให้ ขย้ำอีกรอบ ก็ขย้ำไป จนทั่วๆ แล้วก็จัดวางไว้เหมือนเดิมครับ ทิ้งไว้อีก 5 วัน เป็นตามภาพ ก็ถือว่าสำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จ จะมีราสีอื่นๆ ปรากฎอยู่   การเอาไปใช้งาน ก็ตามสูตรครับ เชื้อสดในข้าว 100 กรัม ผสมน้ำได้ 20 ลิตร
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, put, nopmtp, กัญจน์, ปานเทพ, pook_kkf, cupn1980, bundidta, บ่าววี-สวนแห่งฝัน, surasitp, weekra73, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, ยศนิธิ, muslin2557
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2014, 05:22:08 PM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
เกษตรกรออนไลน์
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 329
|
มาเรียนรู้ระบบน้้ำค่ะ ต้องไปลองทำบ้างแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
lumpu
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 185
|
ปักหมุดรอเรียนรู้ด้วยคนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 900
|
ทำไม ไตรโคเดอร์มา ถึงสำคัญกับมะนาว
ปัญหาโรคในมะนาว มีไม่มาก แต่กวนใจสุดๆ คือ แคงเกอร์
แคงเกอร์เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย และถ้ามีแล้วก็ยากจะหมดไป
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ มีเป้าหมายปลูกมะนาวแป้นรำไพ ซึ่งเรียกว่า เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์มากๆ เอาเป็นว่าชาวสวนมะนาวเก่งๆ ปลูกแล้วช่วงหน้าฝนยังไงก็มีติดมา
แล้วเชื้อโรคนี้ แก้ไขได้อย่างไร
1. ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรค เผาทิ้งทั้งหมด 2. ควบคุมไม่ให้เชื้อลงดิน
เท่าที่ผมทดสอบกับแป้นรำไพที่บ้าน ที่ปล่อยให้แคงเกอร์กินเกือบทั้งต้น พบว่าเมื่อตัดส่วนที่เป็นแคงเกอร์ออกจนหมดแล้วเผาทิ้ง ไม่ให้ตกถึงพื้นเลย และควบคุมดินด้วยการใส่กระถางมังกรขนาดใหญ่ จำลองสภาพเป็นการเลี้ยงดินปกติ
พบว่า ถึงตอนนี้ แคงเกอร์ก็ยังไม่กลับมาปรากฎให้เห็นอีกเลย ทั้งๆ ที่เข้าหน้าฝนชัดเจน
ดังนั้นโดยหลักการ หากกำจัดเชื้อได้หมด การระบาดของแคงเกอร์ก็จะหมดไปเช่นกัน
ไตรโคเดอร์ม่า จึงมีส่วนเข้ามาช่วยเรื่องนี้โดยตรง
โดยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่ราดลงดิน จะช่วยจัดการควบคุมเชื้อราตัวร้ายทั้งหลาย ซึ่งมีบางตัว มีส่วนสำคัญต่อเชื่อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของแคงเกอร์
ผมไม่ได้คาดหวังว่าจะจัดการได้หมด แต่ผมคาดหวังว่า เชื้อแคงเกอร์ที่อยู่บนใบ เมื่อถูชะจากน้ำฝนลงดิน จะถูกจัดการผ่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่านี้
ซึ่งแตกต่างจากการใช้คอปเปอร์ หรือธาตุอื่นๆ เพราะการใช้สารเคมีเหล่านั้นจะหยุดเชื้อโรคได้ แต่ไม่ได้ป้องกันระยะยาว
แต่เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า หากเราใส่เพิ่มเติมเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ก็จะป้องกันและจัดการกับเชื้อโรค เป็นภูมิคุ้มกันให้กับต้นไม้ได้ในระยะยาว (ยาวจนกว่าเราจะหยุดใส่นั้นละ 555)
Liked By: ฟาร์มเงิน สารคาม, กัญจน์, ปานเทพ, cupn1980, bundidta, KENETIC_E®, onjjfo, nopmtp, surasitp, @konhimdoi, aorjor, TAWUN, muslin2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
|
|
|
pook_kkf
เกษตรกรมือใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 184
|
ถึงย้ายบ้านไปแล้ว แต่ผมก็จะตามให้กำลังใจอยู่นะครับ ของท่านบรีส โปรเจคใหญ่จริงๆ ส่วนของผมคง ใช้เป็น Model เล็กๆ เพื่อนำไปต่อยอดกับ Model ใหญ่อีกที เนื่องจากติดข้อจำกัดต่างๆ ทั้งเรื่องที่ดินและ งบประมาณครับ ช่วงนี้ก็ขอศึกษาแนวทางของท่านบรีสไปก่อนก็แล้วกัน อิอิ 555 นั่นซิครับ บางทีนั่งเฉยๆ เบื่อๆ ก็คิดนะ
ว่า เรามาทำอะไร อยู่เฉยๆ เงินเก็บที่มี ก็เพียงพอที่จะอยู่อย่างสบายๆ ในกรุงเทพฯ มีรายได้จากเงินปันผลหุ้น
แต่สุดท้ายแล้วก็ย้อนกลับมาคำถามที่ว่า "ความยั่งยืนในชีวิต" คืออะไร
ที่ผมต้องทำใหญ่ เพราะต้องคิดให้ไกล คิดให้ถึงที่สุดครับ แต่เราค่อยๆ แบ่งเป็นเฟสๆ
และแผนการต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ใครจะรู้ ผมอาจจะทำนอกฤดูไม่สำเร็จ มะนาวไปออกในฤดู ลูกละไม่ถึงบาท ขาดทุนยับเลยก็ได้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2014, 12:36:52 PM โดย คุณบรีส ชุมแพ »
|
บันทึกการเข้า
|
คนเราถ้ามีฝัน แล้วลงมือทำ ถึงแม้จะทำแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป วันละเล็กละน้อย สุดท้ายความฝันนั้นก็ต้องมีวันเป็นจริงแน่นอน
|
|
|
|