หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 [13] 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 ... 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 244095 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #192 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2014, 10:08:14 AM »

ถ้าเป็นการเดินมอเตอร์ ช่างแนะนำหม้อดึงไฟธรรมดาครับ
30 แอมป์
ขดลวดเป็นอลูมิเนียม ตัวละ 3200+/- 300
ขดลวดเป็นทองแดง ตัวละ 5200-5800 บาท
หม้อดึงไฟจะรับแรงดันไฟได้ตั้งแต่ 160-240V ครับ

แต่ถ้าอยากได้เป็น stabilizer นั้นต้องคำนวน VA แทนครับ
4000VA ก็ประมาณ 8000-8500 (Max load 13Amp)
แต่ stabilizer รับแรงดันไฟต่ำสุดได้แค่ 185 ซึ่งของผมใช้ไม่ได้ครับ เพราะส่วนใหญ่ไฟจะตกมากกว่า 185

ของผมเดิมซื้อ Stabilizer แต่ไม่ไหวเลยเปลี่ยนมาใช้ step up transformer ครับ

ของผมมันไม่ตกถาวรครับ เลยต้องระวัง และใช้เป็นออโต้ ไม่งั้น Step Up สูงไปยุ่งเลย
ตัว Stabilizer ของท่าน รับโหลดเท่าไรครับ ผมต้องใช้กับมอเตอร์ 2 แรง ก็ 1500W + ตอนกระชากไปอีก 2 เท่าเลย เป็น 3000W

ถ้าไม่ใช่ ขายต่อได้นะ 555

แต่รออีก 2 อาทิตย์นะ ผมถึงจะได้คำตอบว่าต้องใช้จริงๆ ไหม
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์

สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #193 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2014, 10:30:46 AM »

ถ้าเป็นการเดินมอเตอร์ ช่างแนะนำหม้อดึงไฟธรรมดาครับ
30 แอมป์
ขดลวดเป็นอลูมิเนียม ตัวละ 3200+/- 300
ขดลวดเป็นทองแดง ตัวละ 5200-5800 บาท
หม้อดึงไฟจะรับแรงดันไฟได้ตั้งแต่ 160-240V ครับ

แต่ถ้าอยากได้เป็น stabilizer นั้นต้องคำนวน VA แทนครับ
4000VA ก็ประมาณ 8000-8500 (Max load 13Amp)
แต่ stabilizer รับแรงดันไฟต่ำสุดได้แค่ 185 ซึ่งของผมใช้ไม่ได้ครับ เพราะส่วนใหญ่ไฟจะตกมากกว่า 185

ของผมเดิมซื้อ Stabilizer แต่ไม่ไหวเลยเปลี่ยนมาใช้ step up transformer ครับ

ของผมมันไม่ตกถาวรครับ เลยต้องระวัง และใช้เป็นออโต้ ไม่งั้น Step Up สูงไปยุ่งเลย
ตัว Stabilizer ของท่าน รับโหลดเท่าไรครับ ผมต้องใช้กับมอเตอร์ 2 แรง ก็ 1500W + ตอนกระชากไปอีก 2 เท่าเลย เป็น 3000W

ถ้าไม่ใช่ ขายต่อได้นะ 555

แต่รออีก 2 อาทิตย์นะ ผมถึงจะได้คำตอบว่าต้องใช้จริงๆ ไหม

Stabilizer ผมเอาไปเปลี่ยนไปเป็น step up แล้วครับ ^__^
เพราะ stabilizer มันรับกระแสช่วงไฟตกได้จำกัดกว่า step up
ส่วน step up ตอนนี้ก็ปรับค่ากลางไว้ เพื่อให้มี +/-ที่ support กระแสที่มันเปลี่ยนไปให้ดีที่สุด

ช่วงนี้ก็ได้แต่ลุ้นว่าที่ปรับไว้จะ work มั๊ย
เพราะไม่งั้นแก่นตะวันผม ตายแน่
บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง
pook_kkf
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 184



« ตอบ #194 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2014, 05:36:06 PM »

เดี๋ยวจะมาขอคำปรึกษาเรื่องการวางระบบน้ำ กับคุณบริส ด้วยนะครับ
คร่าวๆ ผมเพิ่งซื้อที่มาประมาณ 1 ไร่ 2 งานมา อยู่ที่บ้านแฟน เป็นที่ในหมู่บ้าน มีน้ำประ ไฟฟ้าครบครัน (ห่างจากขอนแก่นประมาณ 80 โล) 
ตอนนี้อยู่ระหว่างการรื้อถอนขุดต้นไม้ที่มันรกๆออกให้หมดก่อนน่าจะเสร็จภายใน ส.ค นี้
ตอนนี้ผมอยู่ระหว่างวาง Plan ของไร่อยู่
เดี๋ยวถ้าได้ออกมายังไงจะมาขอคำปรึกษาเรื่องการคำนวณ ต่างๆทั้งระบบไฟและน้ำนะครับ
 
 
บันทึกการเข้า

คนเราถ้ามีฝัน แล้วลงมือทำ ถึงแม้จะทำแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป
วันละเล็กละน้อย สุดท้ายความฝันนั้นก็ต้องมีวันเป็นจริงแน่นอน
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #195 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2014, 09:09:29 AM »

เดี๋ยวจะมาขอคำปรึกษาเรื่องการวางระบบน้ำ กับคุณบริส ด้วยนะครับ
คร่าวๆ ผมเพิ่งซื้อที่มาประมาณ 1 ไร่ 2 งานมา อยู่ที่บ้านแฟน เป็นที่ในหมู่บ้าน มีน้ำประ ไฟฟ้าครบครัน (ห่างจากขอนแก่นประมาณ 80 โล) 
ตอนนี้อยู่ระหว่างการรื้อถอนขุดต้นไม้ที่มันรกๆออกให้หมดก่อนน่าจะเสร็จภายใน ส.ค นี้
ตอนนี้ผมอยู่ระหว่างวาง Plan ของไร่อยู่
เดี๋ยวถ้าได้ออกมายังไงจะมาขอคำปรึกษาเรื่องการคำนวณ ต่างๆทั้งระบบไฟและน้ำนะครับ
 

ยินดีครับ ต้องการเมื่อไร ก็โพสต์คำถามในนี้ได้เลยครับ (อะไรที่ไม่เป็นความลับ) เพื่อให้ท่านอื่นๆ ได้ทราบปัญหาและร่วมกันตอบครับ

แต่ถ้าเป็นความลับก็ PM มาได้ครับ

-----------------------------
ตอนนี้ปัญหาไฟฟ้าของผม ต้องทำอย่างเดียวคือ เฝ้าตรวจสอบโวลต์ 555

เพราะถ้าตกตลอดเวลา ก็ควรติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

แต่ถ้าตกแค่ช่วงเวลาใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็หลีกเลี่ยงการใช้ช่วงนั้นแทน และอาจใส่ AVR หรือ Step Up ไว้เพิ่มไฟแทน

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #196 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 08:43:09 AM »

เสาร์อาทิตย์ที่ 16-17 สิงหาคม เข้าสวน เคลียร์งานระบบจ่ายน้ำ ต่อให้เรียบร้อย ก่อนลงมะนาวสิ้นเดือน

1. คุมคนงาน คลุกส่วนผสม ถ่านแกลบ 4 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ปุ๋ยขี้ไก่ 1 ส่วน ปุ๋ยขี้ค้างคาว 1/8 ส่วน ดิน(ทรายดีๆ นั้นละ) 2 ส่วน



ระยะยาวถ้ามีเครื่องผสมปูน จะทำงานได้เร็วกว่านี้มาก แต่ต้องลงทุนอย่างน้อยๆ 13,000 กว่าบาท คิดเป็นค่าแรงแล้ว ได้ 52 Mandays

เปรียบเทียบการลงทุนจากกระแสเงินสดแล้ว ตอนนี้เลยต้องจ้างคนงานช่วยคลุกก่อนดีกว่า 555

2. ติดตั้งลูกลอย เพื่อควบคุมให้น้ำไม่ล้นแท็งก์

ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ลูกลอย มีขนาดเข้า และขนาดออก กล่าวคือ ทางน้ำเข้า มีหลายขนาด ผมซื้อขนาดใหญ่สุดที่ถูกสุดคือ 1 นิ้ว

พอแกะแพ็กเกจออกมาเตรียมติดตั้งจึงพบว่า ทางน้ำออกจริงๆ ของลูกลอย ไม่ถึง 3/4 นิ้ว และอีกตัวหนึ่งแค่ 1/2 นิ้ว

ดังนั้นใครจะซื้อลูกลอย ก็พิจารณาดีๆ ครับ



ผลคือ ทางน้ำออกน้อยไป ทำให้แรงดันท่อในระบบสูงขึ้นเกิน 1.9 บาร์ ซึ่งสวิตซ์แรงดันตั้งไว้

เลยตัดการทำงานของปั้ม

ระยะเวลาติดๆ ดับๆ ประมาณ 3-5 วินาที

เรียกว่า น้ำไม่ล้น แต่ปั้มจะพังเอา

จึงตัดใจเอาลูกลอยออก 1 อัน (เอาออกสองอันก็ได้ ที่ติดสองอัน เพราะท่อเมน 2 นิ้ว ท่อจ่ายน้ำเข้าแท็งแค่ 1 นิ้ว จึงทำใส่ไว้ 2 ท่อ ได้ปริมาตรท่อเท่ากับครึ่งหนึ่งของปริมาตรท่อ 2 นิ้วก็จริง แต่ปั้มน้ำจ่ายน้ำได้ 6Q ในขณะที่ท่อ 1 นิ้ว อัตราไหลสูงสุดที่ 3Q กว่าๆ ดังนั้น 2 ท่อ จึงเพียงพอ

ทีนี้ปัญหาน้ำล้น....ก็ปล่อยมันล้นไป 555 ใช้การควบคุมด้วยการตั้งเวลาเปิดปิดปั้ม เอาแทน

3. ติดตั้งปั้มจ่ายน้ำ สองแรงม้า


งานยังไม่เสร็จ หมดเวลาเสียก่อน

มีหลายประเด็นเลยสำหรับตัวสองแรงม้า เป็นประสบการณ์จะเล่าให้ฟัง รูปก็ไม่ได้ถ่ายมา

ไว้สัปดาห์หน้า ไปลุยต่อจะเล่าให้ฟังครับ

--------------------------
สัปดาห์ ล้อหมุนจากบ้านตีสอง ถึงสวน 8.30 ทำงานจนถึง  17.00 รีบยิงรถเข้าขอนแก่นไป Dohome ซื้ออุปกรณ์ที่ขาด (ในอำเภอไม่มีของเลย)

กลับมาถึงชุมแพสามทุ่มกว่า เช้าอีกวันเข้าสวน 09.00 ทำงานถึง 15.00 ตีรถกลับ ยิงยาวไม่มีจอด ถึงบ้าน 20.30 น.

เหนื่อยกาย... แต่ต้องลุยกันต่อไป

 
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
บ่าววี-สวนแห่งฝัน
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 516



« ตอบ #197 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 09:48:21 AM »

ทำเป็นระบบ ได้มาตรฐานดีจริง ๆ  อายจัง
บันทึกการเข้า

สุขสำราญฟาร์ม-สวนแห่งฝัน สวรรค์บนดิน
เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง
ติดแคมป์โคขุนโพนยางคำ อำเภอเมือง จ.สกลนคร
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #198 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 05:01:41 PM »

ทำเป็นระบบ ได้มาตรฐานดีจริง ๆ  อายจัง


ขอบคุณครับ

ไว้ทำเสร็จผมจะสรุป หลักวิชาการ กับ หลักประสบการณ์มาแบ่งปันกัน

...
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
ฟาร์มเงิน สารคาม
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1057


« ตอบ #199 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 07:01:40 PM »

  ขอแสดงความยินดีด้วยครับสำหรับห้องใหม่  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
คนรุ่นใหม่คิดใหม่ทำใหม่ตามใจที่ฝันไว้ครับท่าน  อายจัง อายจัง อายจัง
(แต่ผมยังเป็นคนรุ่นเก่าอยู่ครับ 555+)

ขอบคุณครับ

ชอบดูวิดีโอในกระทู้ของท่านมากครับ หามาให้ดูเรื่อยๆ นะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2014, 09:17:20 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

มหาสารคาม
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #200 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 07:42:09 PM »

ยินดีต้อนรับสู่ห้องสมาชิกครับ อิอิ



ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2014, 07:44:22 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง
pook_kkf
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 184



« ตอบ #201 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 09:22:01 PM »

แทงค์น้ำคุณ บรีส ขนาดเท่าไหร่
ราคาบล็อคละประมาณกี่บาทครับ
พอดีผมกำลังศึกษาเรื่องการทำ แทงค์น้ำปูนอยู่พอดีน่ะ


แทงค์น้ำ หาขนาดตามพื้นที่ดีที่สุดครับ ของผม คุณพ่อตา อยากได้ใหญ่ๆ ซึ่งผมเองก็เห็นด้วย แต่ร้านแถวสวนไม่มีใครทำ กว่าจะหาได้ ก็ไปไกลสวนหลายสิบกิโลเมตรครับ

ขนาดที่เห็นคือ 120 ซม. สูง 50 ซม. ครับ

จุน้ำได้ วงละ 565 ลิตร โดยประมาณ

ผมติดตั้งทั้งหมด 12 วง ก็ 6785 ลิตรโดยประมาณ

แต่เดินท่อภายในให้สูงกว่าพื้นล่าง เพื่อดักตะกอนไม่ให้ปนมากับน้ำเวลาใช้งานอีกเกือบๆ 50 ซม.

ดังนั้นใช้น้ำได้จริงๆ  ประมาณ 5654 ลิตร

ปั้มแฟรงกิ้นซับเมิร์ส 1 แรงม้า ใช้เวลาเติมน้ำเต็ม 5.6Q ประมาณ 70 นาที

สนนราคา ...วงละเกิน 100 บาทครับ แต่เกินเท่าไร ยังไม่ได้เคลียร์งบประมาณกับพ่อตาเลยครับ 555

เพราะมีค่าจ้างช่าง ค่าเทพื้น ค่าเสาแผ่ทำฐานราก ค่าน้ำยากันซึมอีก รวมถึงค่าให้พิเศษตอนรถส่งเสาไฟฟ้า มาส่งเสา ให้เขาช่วยยกวงที่ 4-5-6 ขึ้นไปอีก แต่รวมๆ ผมบล็อกไว้ไม่ให้เกิน 10,000 บาท เพราะถ้าเกิน ไปซื้อถังพลาสติกดีกว่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2014, 07:51:28 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

คนเราถ้ามีฝัน แล้วลงมือทำ ถึงแม้จะทำแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป
วันละเล็กละน้อย สุดท้ายความฝันนั้นก็ต้องมีวันเป็นจริงแน่นอน
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #202 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 08:15:28 AM »

ขอบคุณท่าน Admin ที่ช่วยย้ายห้องให้ครับ

รอเวลานี้มานาน เพราะจะได้ไปแก้ไขหน้าแรก ทำสารบัญ... บางทีตัวเองก็จำไม่ได้ว่าอะไรอยู่หน้าไหน 555 ไม่รู้เรื่องนั้นเรื่องนี้เขียนหรือยัง จะได้ไปตามเก็บข้อมูลเขียนไว้ให้ครบๆ

เท่าที่รู้การอยู่มุมสมาชิก มีข้อดีคือ สามารถแก้ไขข้อความได้ ... แล้วจริงๆ มีอะไรพิเศษอีกเปล่า 555

--------------------------------------------------------------------------

วันนี้ขอแชร์เรื่องประสบการณ์ตรงในการเป็นช่างไฟฟ้า ช่างประปาในสวน

1. กระเป๋าช่าง สำคัญนะครับ ความจริงผมมีกระเป๋าช่างอยู่หลายใบ (กล่องเหล็กบ้าง กล่องพลาสติกบ้าง) เครื่องมือที่บ้านเป็นของสะสมมาตั้งแต่รุ่นพ่อ ดังนั้นมีอุปกรณ์เยอะมาก เยอะจนงง บางทีใช้งานแล้วก็นิสัยเสีย โยนๆ ไว้ในห้องเก็บของ มาหาของอีกที ไม่รู้หายไปไหน

ครั้งมาทำสวน ก็คิดว่าจะสร้างเครื่องมือไว้อีกชุด แต่ก็คิดถึงเงินลงทุน เลยหยิบเครื่องมือที่มี ใส่ถุงพลาสติก ติดมาทำสวนด้วย

เวลาต่อไฟ ต่อน้ำ พอขาดอุปกรณ์ ก็ต้องเดินไปหยิบหลังรถ ....

ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่...รถกับจุดทำงานห่างกันเป็นร้อยเมตร... เดินไปเดินมาแค่หยิบอุปกรณ์ผมว่า หมดเป็นชั่วโมงต่อวัน

ดังนั้น สำหรับใครพึ่งเริ่มต้น เตรียมอุปกรณ์ช่างใส่กล่องให้เรียบร้อย แล้วยกมันไปทั้งชุด ใช้ไม่ใช่อีกเรื่องครับ

ไม่ต้องกลัวหนัก ... เดินหลายรอบเสียเวลา เสียแรงงานกว่ายกหนักๆ ไปกับกลับ

2. ท่อน้ำที่ขายตามร้านย่อยต่างจังหวัด... บอกเลย ไม่ได้มาตรฐาน ผมสั่งท่อมารวมๆ ทั้งหมด เป็นท่อ 2 นิ้ว 80 ท่อน ท่อ 3 นิ้ว 10 ท่อน และท่อ 1 นิ้ว กับ 3/4 นิ้ว และ 1/2 นิ้วอีกอย่างละ ท่อนสองท่อน

สิ่งที่พบคือ บางท่อน มีการรั่ว ทำให้ต้องเพิ่มงานตัดต่อ แถมเพิ่มค่าข้อต่อด้วย

พอพบบ่อยๆ เข้า ก็เลย ตรวจสอบก่อนทำงาน แล้วเอาสีมาพ่น สำหรับท่อที่มีการรั่ว สรุป ในจำนวนทั้งหมด มี 4 ท่อนที่รั่ว

ซึ่งไม่เสียหายมาก เพราะแยกมาใช้เป็นท่อย่อยๆ ตัดสั้นๆ แทนได้

แต่ที่ทำให้เป็นปัญหามากคือ ท่อไม่ได้ขนาด คือ ขนาดเล็กกว่ามาตรฐานแค่ 1 มิล

แต่ผลคือ ทำให้ไม่สามารถต่อท่อดังกล่าวกับข้อต่อมาตรฐานได้ สุดท้ายเจอท่อแบบนี้ไป 2 อัน รวมๆ ท่อเสียเจอไป 6 อัน จาก 80 อัน เกือบ 10% ของสินค้า

เอาไปเปลี่ยนก็ไม่ได้ เพราะตัดไปแล้ว ถึงทราบ 555

งานนี้ ใครที่สั่งท่อมา ผมแนะนำให้หาข้อต่อมาตรฐาน ยี่ห้อดีๆ ไว้ใจได้ เช่น ตราช้าง เอาไปลองเสียบทดสอบกับท่อที่จะซื้อเลยครับ ตัวไหน ไม่ผ่านก็เปลี่ยนมันตรงนั้นเลยง่ายกว่า

3. ยาเคมี ปุ๋ย ต่างๆ ตรวจสอบก่อนซื้อ วางแผนแล้ว ยังเจอแจ็กพอตผิดแผนจนได้

ผมรู้ว่าแม้อำเภอชุมแพเป็นอำเภอใหญ่ มีร้านอุปกรณ์การเกษตรเยอะมาก แต่ผมก็กลัวว่าสิ่งที่เราต้องการจะไม่มีขาย เลยโทรไปสอบถามบริษัทแม่ ว่าร้านไหนรับบ้าง ได้เบอร์มา โดยไปที่ร้านว่ามีของตัวนี้ไหม ร้านบอกมี

เลยสบายใจ ไม่ต้องตระเวนหาซื้อในกทม.

พอไปถึงหน้าร้าน.... ถามหาสินค้าตัวดังกล่าว...ปรากฎว่า...ไม่มี ....ไม่ได้สั่งมานานแล้ว เพราะ....แพง...

ที่มีเป็นชื่อคล้ายกัน (เลยด่าไม่ได้เลย เพราะชื่อมันคล้ายกันจริง ต่อท้ายด้วยตัวอักษรที่ไม่เหมือนกัน)

ส่วนอีกร้าน โทรถามเจ้าของบอกมี ไปถึงหน้าร้าน พนักงานขายบอกไม่มี... ต้องไปตามเจ้าของร้านมาถึงจะได้ขายกัน ว่ามีของแต่เก็บอยู่แบบว่าลึกสุดใจ 555

สรุปผมเลยปรับแผนเรื่องการจัดการคลังแสง ของผมใหม่ กล่าวคือ
- แค่โทรตรวจสอบไม่ได้ ต้องถามถึงหน้าร้าน
- สำหรับสินค้าที่ไม่ค่อยมีของ ร้านเองบางอย่างก็อยากขายให้หมดๆ แล้วไม่สั่งอีก ดังนั้นสั่งรอบนี้ กับรอบต่อไปอาจไม่มีของก็ได้ ดังนั้นต้องตัดปัญหา เพื่อให้การจัดการสะดวกง่ายดาย จึงควรสั่งแบบสต๊อกสินค้าไว้พอควรอย่างน้อยใช้ได้ 6-12 เดือน เอาแบบคุ้มค่า เพราะค่าใช้จ่ายในการวิ่งรถไปซื้อ ไม่ใช่ถูกๆ
- สินค้าที่มีขายตลอดเวลา อันนี้สั่งใช้งานแบบเดือนต่อเดือนหมดได้
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
ฟาร์มเงิน สารคาม
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1057


« ตอบ #203 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 09:49:28 AM »

เสาร์อาทิตย์ที่ 16-17 สิงหาคม เข้าสวน เคลียร์งานระบบจ่ายน้ำ ต่อให้เรียบร้อย ก่อนลงมะนาวสิ้นเดือน

1. คุมคนงาน คลุกส่วนผสม ถ่านแกลบ 4 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ปุ๋ยขี้ไก่ 1 ส่วน ปุ๋ยขี้ค้างคาว 1/8 ส่วน ดิน(ทรายดีๆ นั้นละ) 2 ส่วน



ระยะยาวถ้ามีเครื่องผสมปูน จะทำงานได้เร็วกว่านี้มาก แต่ต้องลงทุนอย่างน้อยๆ 13,000 กว่าบาท คิดเป็นค่าแรงแล้ว ได้ 52 Mandays

เปรียบเทียบการลงทุนจากกระแสเงินสดแล้ว ตอนนี้เลยต้องจ้างคนงานช่วยคลุกก่อนดีกว่า 555

2. ติดตั้งลูกลอย เพื่อควบคุมให้น้ำไม่ล้นแท็งก์

ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ลูกลอย มีขนาดเข้า และขนาดออก กล่าวคือ ทางน้ำเข้า มีหลายขนาด ผมซื้อขนาดใหญ่สุดที่ถูกสุดคือ 1 นิ้ว

พอแกะแพ็กเกจออกมาเตรียมติดตั้งจึงพบว่า ทางน้ำออกจริงๆ ของลูกลอย ไม่ถึง 3/4 นิ้ว และอีกตัวหนึ่งแค่ 1/2 นิ้ว

ดังนั้นใครจะซื้อลูกลอย ก็พิจารณาดีๆ ครับ



ผลคือ ทางน้ำออกน้อยไป ทำให้แรงดันท่อในระบบสูงขึ้นเกิน 1.9 บาร์ ซึ่งสวิตซ์แรงดันตั้งไว้

เลยตัดการทำงานของปั้ม

ระยะเวลาติดๆ ดับๆ ประมาณ 3-5 วินาที

เรียกว่า น้ำไม่ล้น แต่ปั้มจะพังเอา

จึงตัดใจเอาลูกลอยออก 1 อัน (เอาออกสองอันก็ได้ ที่ติดสองอัน เพราะท่อเมน 2 นิ้ว ท่อจ่ายน้ำเข้าแท็งแค่ 1 นิ้ว จึงทำใส่ไว้ 2 ท่อ ได้ปริมาตรท่อเท่ากับครึ่งหนึ่งของปริมาตรท่อ 2 นิ้วก็จริง แต่ปั้มน้ำจ่ายน้ำได้ 6Q ในขณะที่ท่อ 1 นิ้ว อัตราไหลสูงสุดที่ 3Q กว่าๆ ดังนั้น 2 ท่อ จึงเพียงพอ

ทีนี้ปัญหาน้ำล้น....ก็ปล่อยมันล้นไป 555 ใช้การควบคุมด้วยการตั้งเวลาเปิดปิดปั้ม เอาแทน

3. ติดตั้งปั้มจ่ายน้ำ สองแรงม้า


งานยังไม่เสร็จ หมดเวลาเสียก่อน

มีหลายประเด็นเลยสำหรับตัวสองแรงม้า เป็นประสบการณ์จะเล่าให้ฟัง รูปก็ไม่ได้ถ่ายมา

ไว้สัปดาห์หน้า ไปลุยต่อจะเล่าให้ฟังครับ

--------------------------
สัปดาห์ ล้อหมุนจากบ้านตีสอง ถึงสวน 8.30 ทำงานจนถึง  17.00 รีบยิงรถเข้าขอนแก่นไป Dohome ซื้ออุปกรณ์ที่ขาด (ในอำเภอไม่มีของเลย)

กลับมาถึงชุมแพสามทุ่มกว่า เช้าอีกวันเข้าสวน 09.00 ทำงานถึง 15.00 ตีรถกลับ ยิงยาวไม่มีจอด ถึงบ้าน 20.30 น.

เหนื่อยกาย... แต่ต้องลุยกันต่อไป

 

   คุณบรีส ถ้ามีโอกาสน้ำแห้งถังเก็บน้ำ ควรเทฐานเฉพาะในวงบ่อ(พื้น)ผมดูแล้วโอกาสที่จะเกิดแรงจากการเจาะทะลุ(Punching shear)ได้ครับ เพราะน้ำบริสุทธิ์ ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส  มีความหนาแน่น 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถังเก็บน้ำของท่านความจุประมาณ 5654 ลิตร หรือ 5.6 ตัน(มีภาพตอนทำฐานรองรับไหมครับท่าน จะช่วยดูให้ครับ) ดูแล้วน่าห่วงครับท่าน


หวั่นๆ ไหม...ตอบเลย หวั่นๆ ครับ 555

แต่ช่างที่ทำ เป็นช่างก่อสร้าง ผสานด้วย ดินตรงนั้นแน่น พอควร มีการทำคานคอดิน ลงเสาเข็มแผ่ 6 ต้น

และน้ำหนักต่อแท็งก์จริงๆ คือ 3 ตัน โดยประมาณ 

ถามว่า ถ้าล้มพัง ... ก็พังครับ

ให้เป็นบทเรียน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2014, 10:13:36 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

มหาสารคาม
ไม่หมู
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 697


« ตอบ #204 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 10:11:36 AM »

ต้องได้มาตามหาที่นี่ซะแล้ว ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

ยินดีครับ อยู่จังหวัดเลย ใช่ไหมครับ ใกล้ๆ กัน ของผมอยู่ 201 ก่อนเข้าเขตอุทยานภูผาม่าน 700 เมตร ถ้าผ่านตอนนี้จะมีป้ายขายไผ่ของพี่สิทธิ์ สวนไผ่ดินหอม โฆษณาอยู่ คนงานทำงานกันอยู่ทุกวัน แต่ตัวผม ไปเสาร์อาทิตย์ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2014, 10:15:40 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #205 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 10:35:16 AM »

ไหนๆ ก็ไหนๆ ขอพูดถึงความในใจเรื่อง "ให้เป็นบทเรียน"

ในวิชาการเกษตร ผมเองต้องบอกว่าเป็นมือใหม่มากๆ มีประสบการณ์แค่การจัดสวน ปลูกผักสวนครัวในบ้านนิดหน่อย ไม่อาจเทียบได้กับใครๆ ที่มีประสบการณ์จากการทำงานตรงๆ

แต่ผมมีนิสัยชอบหาความรู้ ชอบตั้งคำถาม หาคำตอบ ในเรื่องที่ไม่รู้ และลองทำ

ด้วยแนวทางแบบนี้ บางทีผมจึงต้องขัดศรัทธาใครๆ เวลาทำงานด้วยอย่างมาก เพราะเขาต้องเถียง (เรียกว่าอธิบายเหตุผล) จนผมเข้าใจหรือค้านกับเหตุผลของผมได้ ...

แต่บ่อยครั้งวิธีการเหล่านั้นก็ไม่เหมาะในการเจรจา...สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานแบบระบบบริษัท หรือผ่านการประชุมโต๊ะกลมที่เอาปัญหามาถก ระดมสมอง แล้วก็จบภายในห้องประชุม... อาจเรียกว่าประสบการณ์มนุษย์ทำงานเงินเดือนก็ได้

ผมเองก็มีปัญหาในการเจรจากับคนที่ผมต้องฝากงานให้ทำ... หรือจ้างให้ทำ

เช่น

1. ตามการคำนวณด้วยหลักวิชาการ ระบบสายไฟในทีดินของผมต้องใช้ THW-A อย่างน้อยขนาด 35มม.

วันที่ช่างไฟฟ้ามาติดตั้ง บอกว่า 25มม ก็พอ ประสบการณ์ผมติดตั้งมาเยอะแล้ว ยังไงไฟไม่มีตก รับรอง...

แล้วเป็นไง... ไฟตกตามระเบียบ

ผมก็ไม่รู้จะไปโทษใคร ได้แต่โทษตัวเองที่ ไม่ยืนยั่น ในสิ่งที่ตนเองคิด หากมองเป็นภาพในห้องประชุมคือ ผมไม่อธิบายและยันสิ่งที่เชื่อมั่น ในเมื่อที่ประชุมสรุปแล้ว ผลออกมาเป็นไง ผมก็ต้องรับสภาพไปด้วย


2. เรื่องไฟฟ้าอีกเช่นกัน ผมคำนวณด้วย Cash Flow แล้ว พบว่า เงินจึงตึงมือมากเกินไป หากลงทุนเสาไฟฟ้าทั้งระบบ ตั้งแต่แรก ผมจึงเลือกโซล่าเซลก่อน แต่สุดท้าย ด้วยข้อมูลบางอย่างจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ก็ยืนยันว่า ขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดีกว่า ผมก็เลยเปลี่ยนการตัดสินใจ

ทำให้ต้องลงทุนสูงมาก ค่าเสาไฟฟ้า 26400 บาท ค่าเดินระบบพร้อมอุปกรณ์อีก 39000 บาท รวมๆ 65,400 บาท ได้ไฟฟ้าพร้อมแรงดันตก มาเป็นของแถม

สุดท้ายผมต้องไปหาหม้อเพิ่มไฟมาใช้งานอีก รวมๆ ค่าไฟฟ้าผมก็เกิน 70,000 บาทแน่นอน

เรื่องนี้ยังไม่เท่าไร ผมยังยอมรับได้กับการตัดสินใจ เพราะยังไง ระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าก็ดีที่สุดอยู่แล้ว

ระยะยาวมีเงินก็หาอุปกรณ์มาติดตั้งแก้ปัญหากันต่อไป

แต่ถือเป็นบทเรียนที่ดีมาก เพราะทำให้ผมได้เจอปัญหาหลากหลาย และได้ศึกษาเพื่อแก้ไข ได้เติบโต


3. เรื่องแท็งก์น้ำก็เช่นกัน ในครั้งแรก ผมให้ซื้อแท็งก์พลาสติก แล้วทำหลังคาคลุม หรือไม่ก็โอ่งปูน ไม่ต้องทำแท็งก์แบบนี้ เพราะมีความเสี่ยงหากไม่ได้คนงานมืออาชีพ สุดท้ายผมก็ไม่อยากบอกว่า เพราะแท็งก์ตัวนี้ทำให้งานหลายๆ อย่างต้องเลื่อนหมด ผมเจาะบาดาลตั้งแต่เดือนห้า กว่าจะได้ใช้น้ำผ่านมาเดือนแปดกลางๆ เดือน เหตุผลก็เพราะหาคนมาทำแท็งก์ไม่ได้ ง่ายๆ แค่นั้นเลย ทั้งๆที่ วงซีเมนต์ ถูกนำมาวางไว้ในตำแหน่งที่จะทำ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์...

ประสบการณ์ตรงนี้ สอนผมว่า ผมไว้ใจใครไม่ได้เลยสักคนเดียว และเป็นเหตุผลง่ายๆ ว่า ทำไมต้องวิ่งขึ้นลง กทม. ชุมแพ ทุกอาทิตย์ ไม่งั้นงานไม่เดิน


และอีกเช่นกัน หลายๆ เรื่อง บางเรื่องที่ผมมั่นใจ ผมก็กล้าจัดการ กล้าเถียง แต่บางเรื่อง ผมไม่มั่นใจ ก็ไม่กล้าเถียงคนมีประสบการณ์

คนมีประสบการณ์ เวลาเขามั่นใจ ยังไงเราก็เถียงไม่ขึ้น

ต้องให้ เกิดเหตุ... แล้วเป็นประสบการณ์ เรียนรู้กันไป

อย่างเรื่อง Punching shear

ผมเสนอไปว่า ให้รอบแท็งก์ด้วย ไวร์แมส แล้วฉาบปูนปิด เสริมความแข็งแรง ในช่วง 3 ท่อนล่าง

แต่ก็ไม่ได้ทำครับ

ดังนั้น ถ้ามันไม่เป็นอะไร ก็โชคดีไป แต่ถ้าเป็น เขาก็จะรู้เองว่า...เราบอกแล้ว... 555

ที่นี้ ถ้ามีเหตุการณ์ เราบอกแล้ว บ่อยๆ ...พอเจอหลายๆ เรื่องมากขึ้น

คำพูดของเราก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ

ได้รับการเคารพมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

บางเรื่อง ผมเลือกวิธี ไม่เถียง ไม่ยอมรับ ถ้าเป็นก็รับผิดชอบ

อย่างเรื่องรั่วซึม ผมบอกแต่แรกว่า ให้ผสมน้ำยากันซึม และฉาบเรียบภายในให้ดี ปรากฎว่า ภายในไม่ได้ฉาบสวย แค่ฉาบแบบบางมากๆ 

มันเลยรั่ว แบบที่เห็น นี่ก็ให้แก้ไขไปแล้ว 1 รอบ ก็รั่วน้อยลงเยอะครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2014, 10:42:53 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #206 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 10:51:00 AM »

เป็นบ่อยครับ

บางครั้งความรู้ของเรา ถูกย้อนกลับมาว่า "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" แล้ว ก็เกิดจริงๆ
แต่ก็พูดไม่ได้ เพราะจะถูกมองว่า เราไป "ซ้ำเติม" ความผิดพลาดของผู้มีประสบการณ์

สิ่งที่ทำได้เมื่อเกิดขึ้นแล้วคือ "ไม่เป็นไร แก้ไขได้"
เมื่อ "ไม่เป็นไร" หลายๆครั้ง สิ่งที่ได้กลับมาคือ คำพูดของเราจะถูก "ฟัง" มากขึ้น และท้ายที่สุดก็จะเป็นการปรึกษากันด้วยเหตุผลมากขึ้น

ต้องใจเย็นเนอะ เป็นเกษตรกรสมัยใหม่

เนอะ

ผมนะ เย็นเป็นน้ำเลยครับ

ใช้สติ แล้วบอกตัวเองว่า มองไกลๆ ปัญหาแค่นี้ อย่าเอามาเป็นอารมณ์ มันไม่ได้ทำให้เป้าหมายใหญ่เปลี่ยน ไม่ได้ทำให้เส้นทางเดินเปลี่ยน

ยังไงเราก็ยังเดินหน้าเข้าใกล้ความสำเร็จไปเรื่อยๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2014, 11:15:09 AM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง
josave69
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2633



« ตอบ #207 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 11:29:35 AM »

ดีคับ อยู่ ขอนแก่นคับ มาหาความรู้ ทำ

ยินดีครับ สวนผมอยู่ชุมแพ แทบจะหลุดไป เลยอยู่แล้วครับ 555
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2014, 12:14:03 PM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 [13] 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 ... 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: