หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 ... 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 244104 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Sanguan1965
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 908


« ตอบ #16 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 05:55:57 AM »

ขอติดตาม  อีกคน......
บันทึกการเข้า

คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #17 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 08:22:10 AM »

เห็นด้วยกับการทำเกษตรแบบวางแผน เพราะเรามี how to มากมายให้เลือกมาใช้

เห็นคุณซี จบเศรษฐศาสตร์ ดูจากรูปผมว่า น่าจะรุ่นใกล้ๆ กัน (หมายถึงอายุ) ยังไงมีอะไรดีๆ ก็แชร์กันบ้างนะครับ อะไรที่ผมเข้าใจผิดในหลักวิชาก็อธิบายให้ด้วยครับ ผมจบคอมพิวเตอร์ ความรู้ทางธุรกิจนั้น ประสบการณ์ล้วนๆ อาจผิดพลาดได้

ขอติดตาม  อีกคน......


ยินดีครับ

   ขอบคุณมากครับ  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
วันนี้เก็บความรู้ได้เพียบเลยครับ

ยินดีครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
Manar
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 197


« ตอบ #18 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 08:44:55 AM »

สุดยอดมากครับ มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนดีมาก ผมจะเอาเป็นแนวทางในการจัดการในสวนของผมบ้างครับ อิอิ
บันทึกการเข้า

"Trust in Me"
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #19 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 08:54:22 AM »

มาตอนเรื่องการวางแผน ทำการเกษตรบนกระดาษกันต่อครับ 555

--------------------------------------------------

จริงๆ แล้วสิ่งที่ผมเขียนนั้น มันก็คือ การทำ Feasibility Study ของธุรกิจที่เราจะทำนั้นเองครับ

แต่จริงๆ เขาให้ทำเรื่องเงินเป็นลำดับสุดท้าย แต่ผมทำก่อน เพราะต้องการรู้รูปแบบการลงทุนก่อน เนื่องจากไม่่มีประสบการณ์

จากตัวอย่าง ผมได้หลักการเป็นคำตอบของผมเองว่า

"ค่อยๆ ลงทุนโดยเน้นพิจารณากระแสเงินสด"

เหตุที่ต้องเน้นเรื่องกระแสเงินสด เพราะธุรกิจการเกษตร ส่วนใหญ่ ถ้าคุณพึ่งเริ่มต้น ไม่ใช่ฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง การขอกู้เงินมาลงทุนนั้น เท่าที่ผมศึกษามา ค่อนข้างยากมาก อย่าง ธกส. เอง ก็ต้องเป็นสมาชิก ต้องมีผู้ใหญ่บ้านรับประกันว่าทำเกษตรแน่นอน ต้องนู้นต้องนี่

แน่นอนว่า การกู้เงินมันก็ไม่ยากเกินความสามารถใดๆ ถ้าคิดจะกู้จริงๆ

แต่ "ความยั่งยืน" คืออะไร

คนทำธุรกิจส่วนใหญ่เข้าใจระบบเงินหมุน เงินกู้ดีอยู่แล้ว แต่นั้นเพราะ มีความจำเป็นทางธุรกิจที่ต้องหล่อเลี้ยง ต้องจ่ายเงินเดือน ต้องใส่งบเพื่อการตลาด บลา บลา บลา ๆ

แต่การทำเกษตรกรรมแบบพอเพียง หากวางแผนดีๆ มันตัดเรื่องเหล่านี้ออกไปได้ และมันสามารถทำโดยใช้เงินที่มีได้ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่างพอเพียงได้

หลักคิดของผม จึงตัดการวิเคราะห์เรื่องการกู้เงินเพื่อลงทุนทางการเกษตรออกไป

เมื่อได้แนวทางแล้ว การลงทุนแล้ว

ก็ถึงคำถามต่อไป "จะลงทุนอะไรให้เหมาะกับงบประมาณที่มี"

จากการคำนวณเบื้องต้น ผมน่าจะลุยทำได้แค่ 10 ไร่ ดังนั้น หลักการจัดการพื้นฐานในการบริหารงานของผมคือ เรื่องอะไรจบเร็ว ง่าย จัดการไปก่อนให้เสร็จ

ดังนั้นพื้นที่เหลือๆ อีก 10 ไร่ ผมจึงจัดการหาคนมาทำ ด้วยความไม่ใช่คนพื้นที่ จึงต้องให้คนพื้นที่อย่างพ่อตาเป็นคนจัดการ และมอบสิทธิ์ให้ท่านไปเลย

ผลลัพธ์ก็คือ ได้ชาวบ้าน มาทำปลูกข้าว ข้าวโพด และผัก ทั้ง 15 ไร่ที่เหลือเลย

ชาวบ้านได้ผลผลิต ได้เงินเวลาขาย ส่วนผม

ได้คนช่วยปรับปรุงดิน เอาหินออก ไถปั่นดิน

ได้ฟางไว้ใช้ต่อ ได้กำจัดหญ้า ได้แรงงานเล็กๆ น้อยๆ ได้คนเฝ้าไร่เฝ้าสวน

แค่นี้ก็ Win-Win แล้วครับ

---------------------------------
ภาพนาข้าวที่ให้ชาวบ้านช่วยลงแรงแทน ชาวบ้านบอกปีนี้รวยแล้ว... ผมฟังแล้วก็ดีใจแทน
ของที่เรายังไม่ได้ใช้ แต่คนอื่นได้ประโยชน์ไปก่อน
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #20 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 09:09:08 AM »

สุดยอดมากครับ มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนดีมาก ผมจะเอาเป็นแนวทางในการจัดการในสวนของผมบ้างครับ อิอิ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

ผมเองก็อ่านๆ ศึกษาการเกษตรจากหลายๆ ท่านเหมือนกัน
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #21 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 09:34:14 AM »

หลังจากเราตัดปัญหาการจัดการส่วนที่เรายังไม่ได้ใช้ประโยชน์ไปแล้ว

ผมก็มาหาคำตอบกับคำถามที่ทิ้งไว้ เราจะปลูกอะไรดีให้ได้ 1 ไร่ 1 แสนบาท

จากแนวทางการลงทุน ผมก็เริ่มเทียบการลงทุนปลูกสิ่งต่างๆ กับงบประมาณที่มี (5 แสนบาท) ว่าอะไรที่เราลงทุนได้บ้าง อะไรที่ลงทุนไม่ได้จะได้ตัดไปก่อน โดยไม่ต้องไปมองเรื่องพื้นที่ ดินฟ้าอากาศ สภาพแวดล้อมเลย

เพราะไม่มีเงิน เงินไม่พอ ถึงอยากทำก็ทำไม่ได้ ...เราจึงไม่ควรเสียเวลาไปศึกษากับสิ่งที่ยังไม่มีโอกาสจะได้ทำ

หลังศึกษาผมได้คำตอบมาหลายตัว ได้แก่ ไผ่, มะนาว, มะกรูด, มะละกอ, ผักออแกนิก, เห็ด, เลี้ยงปลานิล , ยาง ฯลฯ (จริงๆ เยอะมากละ 55)

ลำดับต่อไปในกระบวนการพิจารณาความเป็นไปได้คือ 4P

Product
Price
Place
Promotion

-------------------
โดยผมนำมาใช้แบบนี้

Product ดูศึกษาว่า สิ่งที่เราจะปลูก มีขั้นตอนอย่างไร มีความเสี่ยงอย่างไร จะขายอย่างไร โดยลองจับกับหลักการง่ายๆ
 1. ขายสินค้าราคาถูก - เจาะตลาดล่าง ตลาดที่ใหญ่ที่สุด คู่แข่งย่อมเยอะสุด
 2. ขายสินค้าราคาแพง - ต้องคุณภาพดี มีชื่อเสียง ตลาดบนไม่คิดมาก จ่ายเร็ว
 3. ขายสินค้าที่แตกต่าง - ตลาดเฉพาะ หรือมีความเฉพาะจนผู้ซื้อต้องซื้อ
 4. ขายสินค้าที่จำเป็น - มีกลุ่มที่มีความต้องการชัดเจน แต่ต้องดูเรื่องคู่แข่ง ปริมาณของดีมาน์กับซัพพลายให้ดี ถ้าซัพพลายเยอะมันจะกลายเป็นไม่จำเป็นได้ หรือถ้าดีมาน์เยอะ มันจะอาจจะกลายเป็น Red Ocean ได้ ทำให้อนาคตมีปัญหาการในทำธุรกิจได้

ที่มันจะกลายเป็น Red Ocean เพราะทุกคนจะเห็นว่ามีโอกาสทางธุรกิจ และทุกคนก็จะหันไปปลูก ตลาดจะค่อยๆ เริ่มสู่สมดุลย์ แต่จะมีความเสี่ยงหากมีคนกระโจนเข้าตลาดพร้อมๆ กัน จากดีมาน์มาก จะกลายเป็นซัพพลายมากแทน และนั้นหมายความว่า ทุกคนจะแข่งกันขายอย่างดุเดือด

Price ดูว่าตลาดมีโครงสร้างราคาอย่างไร ใครกำหนดราคา เรากำหนดได้ไหม ความเสี่ยงในการขึ้นลงของราคาเป็นอย่างไร เรามีลู่ทางอย่างไรในการเล่นเรื่องราคาได้บ้าง ตลาดใกล้ๆ กัน กับที่ดินของเรา มีราคาอย่างไร ช่วงไหนแพง ช่วงไหนถูก

Place เราจะนำสินค้าของเราสู่มือผู้ซื้อได้อย่างไร

Promotion เราจะทำสินค้าของเราให้เป็นที่รู้จักได้อย่างไร จะเอาชนะคู่แข่งได้อย่างไร ซื้อใจลูกค้า ผูกลูกค้าให้อยู่กับเราได้อย่างไร

----------------------------------------------------------------

จากทั้งหมดนี้ ผมทำ 4P กับพืชผลที่ละอย่าง จนได้คำตอบมาบางอย่าง แต่กาลเวลาก็ทำให้สิ่งที่ศึกษาเปลี่ยนไปอยู่เรื่อยๆ (ยิ่งรู้มาก ข้อมูลยิ่งแน่น ยิ่งชัด ก็เป็นธรรมดาที่ต้องเปลี่ยนแนวคิด)




บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #22 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 10:51:08 AM »

ตามเข้ามาอ่าน จากการที่คุณ Avatayos เข้ามา Comment เรื่องหลักการทำธุรกิจของไร่ผม ในกระทู้หนึ่ง

เพื่อที่จะเข้ามาหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์

เมื่อก่อนผมเคยคิดว่า ยากนะครับ..

1ไร่ 1 แสน / ปี

แต่เมื่อลงมือทำจริงๆ ผมพบว่า..

1ไร่ 1 แสน / เดือน

ก็สามารถทำได้ครับ

ภายไต้การบริหารจัดการที่ดี และที่สำคัญ ภายไต้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย ครับ

ผมยึดหลักที่ว่า เมื่อพื้นฐานเราไม่พร้อม ต้องสร้างก่อน เมื่อดินเราไม่ดีก้ต้องบำรุงดินก่อน
เมื่อไม่มีตลาด เราก็สร้างตลาดขึ้นมาก่อน

4Ps จะถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจตัวเอง สินค้าของตัวเอง และพื้นที่ของตัวเองก่อน

สู้ๆครับ และขอเข้ามาหาความรู้ในกระทู้นี้เพิ่มอีกคนนะครับผม ^^
บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #23 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 11:57:02 AM »

ตามเข้ามาอ่าน จากการที่คุณ Avatayos เข้ามา Comment เรื่องหลักการทำธุรกิจของไร่ผม ในกระทู้หนึ่ง

เพื่อที่จะเข้ามาหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์

เมื่อก่อนผมเคยคิดว่า ยากนะครับ..

1ไร่ 1 แสน / ปี

แต่เมื่อลงมือทำจริงๆ ผมพบว่า..

1ไร่ 1 แสน / เดือน

ก็สามารถทำได้ครับ

ภายไต้การบริหารจัดการที่ดี และที่สำคัญ ภายไต้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย ครับ

ผมยึดหลักที่ว่า เมื่อพื้นฐานเราไม่พร้อม ต้องสร้างก่อน เมื่อดินเราไม่ดีก้ต้องบำรุงดินก่อน
เมื่อไม่มีตลาด เราก็สร้างตลาดขึ้นมาก่อน

4Ps จะถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจตัวเอง สินค้าของตัวเอง และพื้นที่ของตัวเองก่อน

สู้ๆครับ และขอเข้ามาหาความรู้ในกระทู้นี้เพิ่มอีกคนนะครับผม ^^

แอบบอก ออกสาธารณะ

ผมเปลี่ยน KPI เป็น 1 ไร่ 1 ล้านไปแล้ว 555

เล่นของสูง ครับ ...ไม้ครูของไม้ผล

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
ครูซอส
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8122



« ตอบ #24 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 11:59:42 AM »

เข้ามาขอความรู้ด้วยคนค่ะ
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #25 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 12:38:07 PM »

เข้ามาขอความรู้ด้วยคนค่ะ
ขอบคุณค่ะ

ยินดีครับ

แต่ถ้าอันไหนอ่านแล้วแปลกๆ คิดว่าไม่ใช่ ก็ช่วยกันเสริม แก้ไขนะครับ ผมยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #26 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 01:03:27 PM »

หลังจากพิจารณา 4P แล้ว ผมก็นำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงท่าน มาใช้เป็นหลักการด้วย ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี 100% แต่ปรับให้เข้ากับสภาพของครอบครัว

ดังนั้นแผนของผม แบ่งตามทฤษฎีใหม่แล้ว จึงได้ดังนี้

ขั้นที่หนึ่ง
- ต้องผลิตข้าวกินเองได้ จากปริมาณครอบครัวของผม ผมปลูกข้าวประมาณ 2 ไร่ก็เพียงพอต่อการบริโภคทั้งปี และได้ฟางข้าวมาเป็นวัสดุในการใช้ภายในสวน -> แต่โดยสรุปแล้ว ผมแบ่งพื้นที่ไว้ปลูกข้าวทั้งหมด 4 ไร่ เพื่อแจกจ่ายด้วย
- ผมจัดเตรียมบ่อน้ำทั้งหมด 2 ไร่ แบ่งเป็น บ่อละ 1 ไร่ แต่ละบ่อจะเลี้ยงปลา ไว้จับกินได้ตลอดปี
- บ่อจะขุดในแนว เหนือใต้ เป็นแนวยาว และปลูกมะพร้าวน้ำหอม รอบบ่อ เพื่อลดการระเหยของน้ำ โดยตามแนวเหนือใต้ เงาของต้นไม้ จะทอดลงในบ่อน้ำได้ดีกว่า บ่อสี่เหลี่ยม
- ตัวมะพร้าวน้ำหอม นอกจากได้รับประทานแล้ว กากมะพร้าวยังนำมาใช้งานภายในไร่สวนได้เช่นเดียวกับฟางข้าว
- แบ่งพื้นที่ 1 ไร่ สำหรับปลูกผักทานเองในครอบครัว และสมุนไพรบางชนิดที่เหมาะกับภูมิอากาศของสวน

จากขั้นที่หนึ่ง คนที่ไม่เคยทำอย่างผม จึงต้องทดลองบางอย่าง เพื่อพิสูจน์ความสามารถ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อความมั่นใจ


นั่นคือ การเปลี่ยนพื้นที่หลังบ้านเป็นสวนผัก

เริ่มต้นทดลองปลูกผักกาดขาว.... แต่ได้ผักกาดเขียว...555


ให้ลูกชายช่วยปลูก ให้เขาเรียนรู้ธรรมชาติ


ผลจากการปลูกผักสวนครัวหลังบ้าน ผมได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพืชเยอะมาก จนต้องปรับแผนปรับแนวคิดหลายอย่าง - ใครที่ฝันอยากทำการเกษตร เป็นคนเมือง ไม่เคยทำ ก่อนจะลุยจริงๆ ลองปลูกผักสวนครัวในบ้านดูครับ ใช้พื้นที่นิดเดียว แต่ได้เรียนรู้อะไรๆ เยอะมาก

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #27 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 01:13:21 PM »

เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 ที่ผมนำมาวางแผนคือ

การสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน ด้วยพื้นที่แค่ 20 ไร่ที่ผมมี (ที่เหลือจาก 5 ไร่ในขั้นตอนแรก) จะให้ไปรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและกำลังในการต่อรองก็ยาก เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกอ้อย ไม่ได้มีใครทำสวนแบบผมเลยสักคน 555

ผมจึงปรับแนวคิดนี้ เป็นการสร้างพันธมิตรเครือข่ายของคนที่ปลูกพืชแนวเดียวในระแวกใกล้ๆ กัน (รัศมี 100 กิโลเมตร)

ส่วนชาวบ้านโดยรอบ เราจะสร้างงานจากเนื้องานในสวน ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรที่มีการบริหารจัดการที่ดี

เราจะประสานกับโรงเรียน เพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ และสร้างรายได้เสริม

รวมถึงการทำการแปรรูปผลผลิตในลักษณะวิสาหกิจชุมชน

(ฝันมาก ฝันไกล 555)


ส่วนในขั้นที่สามนั้น ผมบอกตรงๆ ว่าไม่ได้คิดไปไกลถึงจุดนั้น เอาแค่ขั้น 1 ขั้น 2 ให้รอดได้ ผมก็พอใจและพอเพียงแล้ว
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #28 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 01:31:33 PM »


ตั้งเป้าหมายให้สูง

ยิงธนูให้ไกล

ฝันให้เยอะ

อย่างน้อยเราก็มีความสุขครับ ... ที่ได้ทำ ... ทีได้ฝัน

บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1434


-ขออภัยหากช่วงนี้ตอบช้าหรือติดต่อยาก งานประจำยุ่งมากครับ-


« ตอบ #29 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 03:18:29 PM »

ตามเข้ามาอ่าน จากการที่คุณ Avatayos เข้ามา Comment เรื่องหลักการทำธุรกิจของไร่ผม ในกระทู้หนึ่ง

เพื่อที่จะเข้ามาหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์

เมื่อก่อนผมเคยคิดว่า ยากนะครับ..

1ไร่ 1 แสน / ปี

แต่เมื่อลงมือทำจริงๆ ผมพบว่า..

1ไร่ 1 แสน / เดือน

ก็สามารถทำได้ครับ

ภายไต้การบริหารจัดการที่ดี และที่สำคัญ ภายไต้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย ครับ

ผมยึดหลักที่ว่า เมื่อพื้นฐานเราไม่พร้อม ต้องสร้างก่อน เมื่อดินเราไม่ดีก้ต้องบำรุงดินก่อน
เมื่อไม่มีตลาด เราก็สร้างตลาดขึ้นมาก่อน

4Ps จะถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจตัวเอง สินค้าของตัวเอง และพื้นที่ของตัวเองก่อน

สู้ๆครับ และขอเข้ามาหาความรู้ในกระทู้นี้เพิ่มอีกคนนะครับผม ^^


แอบบอก ออกสาธารณะ

ผมเปลี่ยน KPI เป็น 1 ไร่ 1 ล้านไปแล้ว 555

เล่นของสูง ครับ ...ไม้ครูของไม้ผล




KPI 1ไร่-1ล้าน  ต่อปี ใช่ป่าวครับ 
น่าสนใจครับ สำหรับพื้นที่ขอนแก่น และเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก
ขอติดตามทุกฝีก้าวครับ เพราะว่าจะได้เอามาใช้กับไร่ของผมให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ ครับ

ปล.สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จักคำนี้ครับ..

KPI = KEY PERFORMANCE INDICATOR



KPI คืออะไร
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก หรือ KPI (Key Performance Indicator)
เป็นการวัดความก้าวหน้าของการบรรลุปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ หรือผลสัมฤทธิ์ขององค์กร โดยเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ตกลงกันไว้
องค์กรสามารถใช้ผลของการวัดและการประเมินความก้าวหน้าของการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กร ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเชื่อมโยงกับปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ดี ควรมีความเหมาะสม สามารถที่จะโน้มน้าวให้ทุกคนในองค์กร และผู้มีส่วนได้เสียประโยชน์ตลอดจนสาธารณชนเชื่อถือ ผลงานที่วัดจากตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักจะแสดงถึงภารกิจที่องค์กรจะต้องปฏิบัติบนพื้นฐานของเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยต้องสามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม คุณลักษณะของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ดี คือ

 ต้อง "SMART" ได้แก่
1. Specific ความเฉพาะเจาะจง ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั่วทั้งองค์กร
2. Measurable เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดอื่นและใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้
3. Attainable ( Achievable ) สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดผลได้โดยตรง
4. Realistic มีความสมจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กรและไม่ใช้ต้นทุน การวัดที่สูงเกินไป
5. Timely  สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด ควรปรับปรุงตัวชี้วัด ให้ทันสมัยอยู่เสมอ


บันทึกการเข้า

ไร่น้ำทิพย์แก่นตะวันออร์แกนิคปากช่อง : ทำมาหากินบนแผ่นดินพ่อ อย่างพอเพียง
พชร
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 942


Destination is in my own hand


« ตอบ #30 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 03:21:00 PM »

ขอเข้ามาเรียนการบริหาร จัดการด้วยคนนะครับผมก็กำลังจะไปเป็นเกษตรกรเช่นกันครับ
บันทึกการเข้า

เกษตรอินทรีย์และวิถีพอเพียง
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #31 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 03:38:42 PM »

คุณ Din-dum-Namthip

ต่อปีครับ ต่อปี ถ้าต่อเดือนนี้รวยโคตรเลย 555

--------------------------------------------

บางคนอ่านแล้วอาจจะคิดว่า ทำไมผมตั้งเป้าสูงมาก ตกลงมันคิดพอเพียงหรือ

หลักพอเพียงไม่ได้หมายถึงจน แต่หมายถึง พอใจ และพอดี

ไอ้คำว่า พอดี นี่ละที่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

สมมติ คุณทำเกษตร คนเดียว มีรายได้ 3 แสนต่อปี คุณพอใจ พอดี ก็ถือว่าอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

แต่วันหนึ่ง คุณแต่งงาน รายได้ 3 แสน มันจะไม่พอดี และพอเพียง คุณก็ต้องหาเพิ่ม จนได้เป็น 5 แสน ถึงพอดี และพอเพียง

วันหนึ่งมีลูก รายได้ 5 แสน อาจไม่พอดี และพอเพียง ต้องหาเพิ่มเป็น 7 แสน ถึงพอดี และพอเพียง

ไปๆ มาๆ ธุรกิจการเกษตร เริ่มไปได้ดี มีคนงานมาช่วย 4-5 คน คนเหล่านั้น มีความพอดีต่อปีสมมติที่ 2 แสนบาท  เท่ากับ คุณต้องหาให้ได้อีก 1 ล้านบาท ถึงจะพอดี พอเพียง พอกับรายจ่าย

ไปๆ มาๆ ความพอเพียง กลายเป็น 1.7 ล้านไปเสียแล้ว

--------------------------------------------
การที่ผมตั้งเป้า KPI ไว้ที่ ไร่ละ 1 ล้าน เท่ากับหากผมทำเต็มพื้นที่ก็ได้ 20 ล้านต่อปี

เหมือนจะรวยเนอะ

แต่อย่าลืมครับ รายได้ขนาดนั้น ต้องมีชาวบ้านมาช่วยเท่าไร สุดท้าย ผมอาจเหลือรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ 30% ....

ก็ยังรวยอยู่ดี 555


คิดแล้วก็ยิ้ม ขอให้เป็นจริงเถอะ 555

-------------------------------------------------

ทีนี้ กว่าจะไปถึงตรงนั้น ไม่ใช่ว่า เอาเงินไปทุ่มๆ แต่ต้องเดินอย่างพอเพียง ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป สร้างฐานตัวเองให้มั่นคงก่อน แล้วค่อยขยายเพื่อให้ผู้อื่นมีรายได้มั่นคงขึ้นด้วย เติบโตไปด้วยกันอย่างพอเพียง

ผมฝันอย่างนั้น
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 ... 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: