หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 30   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)  (อ่าน 244022 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 09:55:33 AM »

วัตถุประสงค์ส่วนรวมของกระทู้นี้คือ
- บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนาสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ตั้งแต่เริ่มต้น...จะเขียนจะบันทึกไปเรื่อยๆ จนกว่าเว็บเขาจะไม่ให้เขียน 555

วัตถุประสงค์ส่วนตัวคือ
- เป็นบันทึกให้ลูกชาย วันหนึ่งที่เขาเติบโตมีโอกาสตัดสินใจว่า จะรับมรดกนี้ต่อ หรือจะขาย ก็สุดแล้วแต่ความต้องการของเขา วันนั้นเป็นวันของเขา ไม่ใช่วันของเรา ... แต่บันทึกนี้จะเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้ความเป็นมา ทั้งหมดไม่ว่ามันจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ตาม


ใครขี้เกียจอ่านตั้งแต่แรก สามารถเลือกดูเนื้อหาได้ตามสารบัญนะครับ

สารบัญ

แผนที่ความคิด - จุดเริ่มต้นทำไมถึงอยากทำการเกษตร ตัวอย่างการวางแผน Cashflow
หลักคิดแนวทางการลงทุน จะปลูกอะไรดี 1 ไร่ได้ 1 ล้าน
แนวคิดการปรับปรุงดิน การซื้อที่ดิน การใช้ปุ๋ย การเตรียมตัวเป็นเกษตรกร การคำนวณเลือกซื้อปั้มน้ำบาดาล
การวางระบบน้ำเพื่อการเกษตร แผนการจ่ายน้ำ เรื่องท่อและอุปกรณ์น้ำ ประสบการณ์ส่งดินไปตรวจ
แนวคิดการเลือกซื้อปั้มน้ำ การคำนวณ Head loss ในระบบน้ำ แนวคิดการเลือกระบบไฟฟ้า การเลือกปลูกพืชเพื่อสร้างรายได้
ปัญหาธุรกิจหลอก(หรือไม่หลอก) ขายพันธุ์พืช ที่ผมเกือบโดน (แต่เพื่อนโดนไปแล้ว)
ประสบการณ์ปั้มพ่นยา 3 สูบ ครั้งแรก เลือกเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ การคำนวณความลาดชัน ความสูงของที่ดิน
การปลูกมะนาว แบบไถยกร่อง ในภาคอีสาน หลักคิดการเลือกพันธุ์มะนาว
แนวคิดการวางระบบน้ำ เพื่อจ่ายรดต้นไม้
การอ่านผลตรวจดิน แนวทางการแก้ปัญหาปรับปรุงดิน  ประสบการณ์เดินสายไฟฟ้าพร้อมเสาในที่ดิน
ประสบการณ์ติดตั้งระบบกรองน้ำการเกษตร ตัวอย่างการเดินท่อ
ประสบการณ์ตรงในการเป็นช่างไฟฟ้า ช่างประปาในสวน ขอบ่นบทเรียนเรื่องคน
เปลี่ยนแผนกระดาษเป็นลงมือทำ การวางระบบน้ำหยดฉบับลงมือจริง การลงปลูกมะนาวจริง การเพาะเชื้อไตรโคเดอร์ม่า
วิธีการตัดแต่งทรงพุ่ม แบบครูพักลักจำ
บทสรุป บทเรียน การบริหารจัดการน้ำ
เรื่องแคงเกอร์
ระบบจ่ายปุ๋ยทางน้ำ
สรุปประสบการณ์การทำเกษตร 1 ปี
เปลี่ยนหัวน้ำหยด...เพราะควบคุมได้ แต่ไม่ง่ายเลย
ตอนกิ่งครั้งที่สองในชีวิต
การจัดแต่งทรงพุ่ม
สร้างหลักประกันทางการเกษตร ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวง
การวางแผนผังพื้นที่...
ปัญหาหญ้ากับการจัดการ
เริ่มสร้างยกลูกฟูก เพื่อปลูกมะกรูด
การตั้งระดับน้ำ ในแปลง
เป้าหมายสำคัญของ GAP คือ ความปลอดภัย
การลงมะกรูด 6000 ต้น
ห้องน้ำในระบบ GAP สำคัญ จำเป็นต้องมีหรือไม่
ทบทวนการวางระบบน้ำ
การจัดการน้ำของพืช
หลักการ Global GAP
... ระบบพ่นยากึ่งอัตโนมัติ...
เกษตรปลอดภัย...คือหัวใจสำคัญ
สรุปประสบการณ์ด้านการเกษตร ครบ 2 ปี
----------------------------------------------------------------------



สวัสดี เพื่อนชาวเว็บเกษตรพอเพียง

วันนี้ได้กฤษ์เปิดตัว "สวนเกษตรโชคดีชุมแพ" กับเขาบ้างเสียที หลังจากแอบอ่านของหลายๆ ท่านมานาน

ก่อนจะเริ่มผมขอแนะนำตัวก่อน ผมชื่อ บรีส (ยี่ห้อผงซักฟอกนั่นละครับ)

จริงๆ แล้วมาจาก Sea Breeze แต่เขียน บรีซ แล้วคนไม่ค่อยเข้าใจ เลยบอกว่าเขียนแบบผงซักฟอก ทีนี้เข้าใจกันง่ายเลย


ตอนนี้ที่เขียนกระทู้ (01/06/2557) ผมยังคงเป็นผู้บริหารอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่บริษัทขนาดกลางแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ  ชีวิตก็ถือได้ว่าเดินทางมาถึงจุด 75% ของสายอาชีพแล้ว อีกไม่กี่ปีประสบการณ์ อายุ ก็จะก้าวสู่จุดสูงสุดในสายอาชีพได้ไม่ยากเย็นนัก

แต่ผมมักถามตัวเองว่า เมื่อแก่ตัวลงเราจะอยู่อย่างไร ด้วยอาชีพทางเทคโนโลยี วันใดที่เราหยุดก้าว วันนั้นเราไม่ใช่แค่อยู่กับที่ กลายเป็นตกขบวนรถเลยทีเดียว ความคิดแบบนี้ทำให้ผมหาทางออกให้ชีวิตมาหลายทาง

ผมเคยเปิดบริษัท ทำได้ 3 ปี พบว่ารายได้มันพอมีพอกินเกินไป (กำไรน้อยนั่นละ 555) เลยหยุดกิจการ แล้วไปสมัครเป็นผู้จัดการในบริษัทเอกชนแทน

ผมเคยเอาทักษะที่ตัวเองทำได้ทางอาชีพ หากิน เช่น ช่างภาพ ถือเป็นงานที่รายได้ดีทีเดียว แต่ก่อนเดือนๆ หนึ่งไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท แต่พอเริ่มแก่ตัว การเดินทางไปนู้นนี่ เพื่อตามไปถ่ายภาพ การต้องแบกกระเป๋ากล้องหนัก 7-12 โล บนบ่าทั้งวัน ก็ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แถมไม่มั่นคงด้วย สุดท้ายผมก็เลยขายอุปกรณ์ทั้งหมด แล้วเลิกอาชีพถ่ายภาพที่ทำอยู่ 4 ปีเต็มๆ

ปัจจุบันพอจะมีงานอีกอาชีพหนึ่งที่ยังคงทำควบคู่ไปกับงานประจำได้ คือ งานเขียน ผมทำงานเขียนบทความลงนิตยสารต่างๆ แปลบทความเอกสารทางเทคนิค พวกเทคโนโลยีใหม่ๆ มา แล้วต้องถ่ายทอดต่อให้แผนกอื่นๆ การตลาด ทีมขาย หรืองานโฆษณา รายได้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่มีมาตลอด

ประสบการณ์ทั้งหมด ชี้มาที่คำถามว่า "ความยั่งยืนของชีวิต" คืออะไร

คำตอบของคำถามนี้ คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ ของในหลวง ท่านให้หลักการและแนวคิดไว้แล้ว ยิ่งอ่านยิ่งใช่ มันคือคำตอบผม

ก่อนหน้านี้ 3-4 ปี ผมจึงเริ่มศึกษาการเกษตร เริ่มมองหาที่ดิน ตอนแรกๆ ก็หาใกล้ๆ บ้าน เพื่อจะได้แวะมาทำวันเสาร์อาทิตย์

หาๆ ไป จนเริ่มมั่นใจว่า เราจะมาทางนี้แน่ๆ แล้ว จึงคุยกับพ่อตา เพื่อให้ท่านช่วยหาที่ดินให้บ้าง อีกแนวทางหนึ่ง

ลืมบอก "ผมเป็นเขยชุมแพ" ภรรยาผมเป็นคนชุมแพ ตระกูลมีหน้ามีตาเป็นที่รู้จักอย่างดี เอ่ยแล้วท่านที่อยู่อำเภอชุมแพ น่าจะรู้จักทุกคน

เมื่อคุยแล้วพ่อตา ก็เลยบอกว่า คุณตา (ตาทวด) กำลังจะแบ่งที่ดินขาย ยังไงจะคุยให้

ตั้งแต่วันนั้น จนถึงวันที่โอนที่ดิน กินระยะเวลา ปีกว่าๆ ครับ กว่าที่คุณตาทวดจะขายที่ดินให้ ถือเป็นที่ดินจุดที่สวยที่สุดของท่าน

และแต่เดิม ท่านเคยใช้ที่ดินนี้ ทำฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อ ในชื่อว่า "ฟาร์มโชคดี(โป่งมั่ง)"



วันนี้หลานเขยและหลานสาว เมื่อได้ครอบครองที่ดินเดิมของคุณตา จึงได้ขอใช้ชื่อเดิม แต่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินหน่อย

เลยตั้งชื่อใหม่ว่า "สวนเกษตรโชคดีชุมแพ"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 12, 2016, 04:13:59 PM โดย คุณบรีส ชุมแพ » บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์

คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 10:07:12 AM »

ว่างๆ ผมจะเล่าประวัติฟาร์มโคเนื้ออย่างละเอียดให้ฟังครับ

ตอนนี้รู้แค่คร่าวๆ คือ ท่านเลิกเพราะเริ่มแก่ตัว (ปัจจุบัน คุณตาทวด ท่านอายุ 95 แล้วครับ ไม่มีคนดูแล เลยเปลี่ยนเป็นทำนา ปลูกอ้อย ให้เทวดาเลี้ยง ให้เขาเช่าที่ดินบ้าง จนสุดท้ายมาตกถึงผมกับภรรยานี่ละครับ - ผมเรียกตาทวด ตามลูกนะครับ)

ก่อนหน้าที่จะได้ที่ดินผืนนี้มา ก็เรียกว่า ผมวางแผนการเกษตรบนกระดาษล้วนๆ ครับ คิดฝันมากมาย

แต่พอลงมือจริงๆ หลังโอนที่ดิน 5 เดือน พบปัญหาเยอะมาก ความคืบหน้าเรียกว่า เต่าคลาน

แต่กระนั้น ก็ได้ความรู้และข้อคิดเยอะมาก

ตอนแรกตั้งใจจะเขียนเมื่อลงต้นไม้ต้นแรก แต่ก็คิดว่า ปัญหาต่างๆ ที่พบอาจจะลืมปัจจัยสำคัญไป ผมเลยตัดสินใจเขียนกระทู้ เพื่อเล่าปัญหาที่พบ และแนวทางแก้ไขทางหนึ่งที่ผมเลือก (ท่านอาจมีอีกหลายแนวทางก็ช่วยๆ กันแชร์นะครับ)

ผมจะค่อยๆ เขียนกระทู้ทุกครั้งที่ว่างนะครับ อาจตอบช้าบ้างหายไปนานบ้างก็ขออภัยไว้ก่อนครับ

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 10:30:33 AM »

ภาพนี้สมัยตอนยังเป็นไร่อ้อย ให้ชาวบ้านเช่า



ดังนั้น งานสำคัญลำดับแรกของการสร้าง "สวนเกษตรโชคดีชุมแพ"

คือ การปรับปรุงดินทั้งหมด

ผมเริ่มสั่งงานทางโทรศัพท์ และเริ่มหาเมล็ดพันธุ์ปอเทือง จนไปได้เมล็ดพันธุ์จาก "ปอเทืองดีเด่นบุณทริก" พี่เด่นถือเป็นผู้ให้ความรู้และตอกย้ำแนวทางที่ผมคิดได้ดีทีเดียว ใครอยากรู้จักหรือหาเมล็ดปอเทืองจำนวนมากๆ ไม่ได้ ก็ลองค้นใน FB ชื่อนี้เลยครับ

ปัญหาแรกเลยที่ผมไม่เข้าใจ และไม่รู้คือ การใช้งานรถไถ

เมื่อไม่รู้ การจ้าง จึงไม่สามารถอธิบาย "ภาพรวม" ของงานได้


ภาพรวมถือเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารงานทุกอย่าง หากเราไม่สามารถให้ลูกน้องของเราเห็นภาพรวมได้ ลูกน้องจะไม่เข้าใจในสิ่งที่ทำ รวมถึงเป้าหมายผลลัพธ์ด้วย หากเป็นงานขาย คุณไม่ทำให้ลูกค้าเห็นภาพรวม ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อได้ยาก และอาจไม่พึงพอใจในภายหลังเมื่อพบว่า สินค้าดังกล่าวมีภาพไม่ตรงกับใจของเขา

ดังนั้น ภาพรวม จึงสำคัญอย่างยิ่ง และผมสอบตกตั้งแต่เริ่มต้น ด้วยความคิดที่ว่า มันก็แค่ไถๆ นั้นละ 555

ผมจึงสั่งให้รถไถ มาไถเอาตออ้อยออก ผู้รับจ้างก็บอกว่า ต้องใช้รถไถใหญ่ 70 แรงขึ้น ถึงจะเอาออกได้

จากพื้นเรียบๆ เขาก็ไถ และเอาตออ้อยให้ด้วย เรียกว่า 95% เอาออกหมด มีหลงเหลือบ้าง บางส่วน ที่ไถๆ แล้วมันกลบไป ไม่ได้ดึงขึ้นมาทิ้ง

ผมขึ้นไปดูงานอีกที หวังว่า จะเห็นผืนดินสวยๆ

ปรากฎผมเห็นภาพแบบนี้แทน



ดินเป็นก้อนใหญ่ๆ
ผืนดินกลายเป็นผืนไม่เรียบ สูงต่ำห่างกัน 30-50 ซม. เลย

ตอนนั้น คิดในใจ เสียเงินค่าไถหมดเป็นหมื่น ใช้เวลาไป 4 วัน กับการเอาตออ้อยออกหมด กลับไม่สามารถปลูกได้

ต้องไถอีก
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 10:42:18 AM »

ปัญหาที่สองคือ ผมไม่รู้เรื่องการเตรียมดินเลย

สิ่งที่ทำได้คือ การอ่าน อย่างเดียว แต่นั้นก็ย้อนไปปัญหาแรก "ภาพรวม"

ผมไม่เห็นภาพว่า ดินแต่ละแบบเป็นอย่างไร อะไรเรียกดินที่พร้อมปลูก อะไรคือ ดินที่ต้องใช้โรตารี่พรวนอีก

ผมก็ได้แต่หวังใช้ประสบการณ์ของคนงาน ที่มาช่วยเฝ้าสวน (ซึ่งคิดผิดมากๆ)

โดยคำสั่งผมคือ ไถพรวน ย่อยให้ดินเล็กกว่านี้  แล้วค่อยหว่านปอเทือง

ผมจ่ายค่ารถไถไปอีกรอบ ย่อยดินให้เล็ก

ส่วนปอเทืองก็ให้เขาหว่านไปรอบแรก 10 ไร่ ในบริเวณที่จะลงมือปรับปรุงก่อน


ปัญหาก็เกิดเพราะ ความไม่มีประสบการณ์ ปอเทือง รอบแรก ไม่ขึ้นครับ เพราะง่ายๆ แล้งเกินไป แม้ปอเทืองจะเป็นพืชที่ขึ้นได้โดยไม่ต้องการน้ำ แต่ไม่ได้หมายถึงแล้ง

ผมบอกตรงๆ ว่าไม่รู้ ไม่มีประสบการณ์เลย  อ่านมาก แต่ไม่เห็นภาพ 555

รอบแรกเสียไป รอบสอง ฝนตกช่วงสงกรานต์ ก็ให้รีบหว่านใหม่ ปรากฎว่า ขึ้นสวย 10 ซม.

แต่ฤดูเปลี่ยน ฝนตกทำให้ ผีเสื้อมาบุก วางไข่ แล้วก็กลายเป็น หนอนบุ้งปอเทืองแถบขาว กินปอเทืองหมดครับ

ย้ำว่า หมด....



ตอนนั้นท้อใจมากครับ

แค่ 4 เดือน ตั้งแต่โอนที่ดิน จมเงินไปแล้ว หลายหมื่น โดยละลายหายไปกับดิน ไม่ได้ผลลัพธ์อะไรเลย

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 10:53:07 AM »

เงินทุนที่วางแผนไว้ เรียกว่า เกินงบไปหลายเรื่อง

ผมจึงหยุดการปรับปรุงดินส่วนที่ตนเองต้องการไว้ ปล่อยหญ้าให้ขึ้น แล้วจะกลบใหม่ เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินแทน ส่วนแร่ธาตุต่างๆ คงต้องพึ่งพา การเติบปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีแทน

ผมจึงหันไปหาสิ่งสำคัญอีก 2 เรื่อง คือ น้ำกับไฟฟ้า

------------------------------------------

แต่ก่อนจะเล่าเรื่อง น้ำกับไฟฟ้า ขอเล่า

"สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน"

ก่อนครับ

แนวคิดนี้ ไม่รู้มีคนคิดคำแบบนี้หรือยัง ถ้ามีแล้วขออภัยนะครับที่ซ้ำ ผมเชื่อว่าแนวคิดนี้ มีมานานแล้ว และเป็นแนวคิดที่หลายๆ ท่านใช้อยู่ในการบริหารจัดการสวนของตนเอง

แต่เพื่อให้สามารถอธิบายเป็นหลักการให้เกษตรกรรุ่นใหม่ๆ เดินตามได้ ผมจึงคิดเป็น Keyword ออกมา ได้ 3 คำ คือ

สั่งได้ - ต้นไม้ทุกต้น พืชทุกชนิดที่สวนเกษตรโชคดีชุมแพปลูกขึ้น ต้องสามารถบริหารจัดการและควบคุมได้ หมายถึง ต้องควบคุมได้ว่า จะเติบโตไปในทางใด จะออกผลผลิตเมื่อใด จะตายเมื่อไร จะต้องปลูกทดแทนเมื่อไร

ลดได้ - ต้องลดต้นทุน ลดการใช้สารเคมีอย่างไม่จำเป็นด้วยการบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ ใช้หลักสถิติในการเก็บข้อมูล แล้ววิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ลดต้นทุนการผลิตด้วยแนวคิดการจัดการธุรกิจ ไม่ให้ต้นทุนสูงเกินไป

ยั่งยืน - ปรับปรุงและพัฒนา ผลผลิตให้มีคุณภาพ สามารถแข่งขันและมีจุดแข็ง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ยั่งยืนทั้งสุขภาพ คุณภาพ และราคา เราต้องอยู่ได้ เป็นเกษตรกรที่อยู่ได้ คนซื้อผลิตภัณฑ์เราไปต้องอยู่ได้ เช่นกัน


แต่การจะทำให้ได้ตาม หลักคิด 3 ข้อนี้ ต้องผ่านการวางแผนการบริหารจัดการฟาร์มตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งผมถือว่าผมโชคดี ที่พึ่งเริ่มต้น (ตอนแรกคิดว่า จะทำให้สำเร็จก่อน ค่อยเผยแพร่แนวคิด แต่คิดอีกที คือ เผยแพร่ไป แล้วทุกท่านมาช่วยกันปรับปรุงให้ดียิ่งขึ่้น ย่อมดีกว่า 55)
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
nopmtp
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2136


« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 11:21:05 AM »

   สวัสดีครับ...ท่าน avatayos   ผมขอเข้ามาเรียนรู้การจัดการดีๆเป็นคนแรกครับ อายจัง อายจัง
บันทึกการเข้า
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 12:03:34 PM »

รอติดตามครับ

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ช้าแต่มั่นคง

เกษตรกรสำคัญที่สุด คือ การรอคอย ใช้ความอดทนรอผลผลิตเติบโต เฝ้ามอง และชื่นชม
บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 12:14:23 PM »

   สวัสดีครับ...ท่าน avatayos   ผมขอเข้ามาเรียนรู้การจัดการดีๆเป็นคนแรกครับ อายจัง อายจัง

ขอบคุณครับ

ขอเรียกว่า หลักการดีๆ จะดีกว่าครับ แต่นำไปปฏิบัติแล้ว จะดีหรือเปล่า คงต้องช่วยกันแชร์ และเอาประสบการณ์เป็นเครื่องบอกครับ

ตอนแรกที่จะเปลี่ยนตัวเองมาเป็นเกษตรกร คนที่บ้านก็ถามครับ ว่าคิดยังไง เอาเงินไปเปิดบริษัท ทำอาชีพที่ตัวเองถนัดดีกว่าไหม

แต่ผมโชคดีตรงที่ ผมเป็นคน ทำอะไรทำจริง ลุยจริง ทำแล้วเอาจนทำได้จริงๆ ไม่เคยล้มแล้วไม่ลุก

หลักการมี ประสบการณ์ตาม ปัญหามา ปัญญาเกิด ถ้าไม่ล้มเลิก ก็ไม่ล้มเหลว


รอติดตามครับ

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ช้าแต่มั่นคง

เกษตรกรสำคัญที่สุด คือ การรอคอย ใช้ความอดทนรอผลผลิตเติบโต เฝ้ามอง และชื่นชม

สำหรับผมไม่ได้เรียกรอคอยครับ ผมมองว่ามันคือ การบริหารจัดการโครงการ มันมี Timeline เป็น Gantt Chart ตามปกติ ครับ

เช่น เอาเมล็ดแช่่น้ำ 6 ชั่วโมง ลงปลูก รอ 5 วัน จะเริ่มงอก

อย่างนี้ บางท่านใช้คำว่า "รอคอย" แต่มุมมองผมมันคือ Timeline ของการเติบโต ที่เราสามารถวางแผนและจัดการได้ครับ และรวมถึงการมี Cut-Point

ที่ชัดเจน เช่น 5 วันงอก cut-point คือ 10 วัน ถ้าไม่งอก แสดงว่า สูญ แล้ว เป็นต้น

แต่ผม ไม่ "รอคอย" คือ ไม่ใช่รอไป 15 วัน รอจนกว่ามันจะงอกขึ้น 555

ผมถึงใช้คำว่า "ต้องสั่งได้"

โดยบริหารผ่านข้อมูลความรู้ทางวิชาการ เราไม่ได้ปลูกพืชชนิดใหม่ในโลกที่ไม่เคยมีใครปลูกมาก่อน เราปลูกพืชที่ใครๆ เขาก็ปลูกกัน ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้มีเพียงพอที่จะนำมาวางแผนได้ครับ

และสำหรับคำกล่าวนี้ ผมยึดไว้ในใจเช่นกัน แต่มุมมองการใช้คำกล่าวนี้ ผมอาจแตกต่างกับท่านอื่นๆ


ยังไง ลองติดตามนะครับ มีอะไรแนะนำได้ครับ อย่างที่บอก หลักการมี ขาดแต่ประสบการณ์ 555

บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
Adisak009
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 12:54:06 PM »

รอติดตาม ตอนต่อไปนะครับ....
...ผมคนหนึ่งกำลังวางแผนอนาคตที่ยั่งยืน และอยู่ในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็เริ่มเก็บเกี่ยวข้อมูลในเวบ กพพ.นี้เช่นครับ  ขอผมศึกษาและร่วมลองผิดลองถูกไปด้วยกันนะครับ
..ตอนนี้ก็ ทำงานอยู๋ กทม. แพลนว่า อีก 2ปี จะลงจริงๆจังสักที
บันทึกการเข้า
chaitanun
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 39


« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 12:54:57 PM »

ขอเข้ามาติดตามอ่านเป็นกำลังใจให้ครับ อายจัง
บันทึกการเข้า
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #10 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 06:33:17 PM »

รอติดตาม ตอนต่อไปนะครับ....
...ผมคนหนึ่งกำลังวางแผนอนาคตที่ยั่งยืน และอยู่ในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็เริ่มเก็บเกี่ยวข้อมูลในเวบ กพพ.นี้เช่นครับ  ขอผมศึกษาและร่วมลองผิดลองถูกไปด้วยกันนะครับ
..ตอนนี้ก็ ทำงานอยู๋ กทม. แพลนว่า อีก 2ปี จะลงจริงๆจังสักที

มีที่ดินหรือยังครับ

ผมแนะนำให้รีบเคลียร์เรื่องที่ดินก่อน เป็นของเราแล้ว ราคาไม่วิ่ง

ผมยังเสียดายว่า ตอนแต่งงานไม่คิดซื้อ ถ้าซื้อตอนนั้นถูกกว่าตอนนี้ 10 เท่า ...

ขอเข้ามาติดตามอ่านเป็นกำลังใจให้ครับ อายจัง

ขอบคุณเช่นกันครับ
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 07:00:46 PM »

มาเล่าต่อครับ

ต้องบอกก่อนนะครับ การเล่าของผมช่วงแรกๆ อาจจะย้อนไปย้อนมา นึกอะไรได้ก็จะเล่านะครับ

--------------------------------

หลังจากที่ผมได้คำตอบแล้วว่า ผมจะทำอะไรเพื่อความยั่งยืนของชีวิต ผมก็เริ่มศึกษาต่อว่าการเกษตรมีปัญหาอะไร แล้วก็พบคำตอบสำคัญคือ

"เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ ทำการเกษตร ...ไม่ได้ทำธุรกิจ"

ทำด้วยความคุ้นชิน เคยชิน ไม่เอาหลักวิทยาศาสตร์ หรือความคิดมาวิเคราะห์ เช่น ทางการเขาบอกปลูกพืช A ให้ใส่ปุ๋ย 8-8-8 พอไปซื้อที่ร้านก็ไม่มี มีแต่ 16-16-16 ไอ้ร้านก็รู้ แนะนำว่า ซื้อไปใช้ได้ แต่เกษตรกรก็ไม่เอา เพราะไม่ตรงกับที่ทางการแนะนำ

ตัวอย่างที่ผมยกมาถือเป็นปัญหาที่ความไม่รู้ ในหลักวิชา แต่บางครั้งพอรู้แล้ว ก็หลงลืมคิดถึงหลักความคุ้มทุน เช่น แมลงมาลงในสวน สร้างความเสียหายไป 10 บาท เห็นปุ๊บก็รีบเอายาไปฉีดพ่น หมดค่ายาไป 100 บาท ทั้งๆ ที่ทิ้งไว้อีก 3 วัน จะมีแมลงอีกชนิดที่เป็นศัตรูกันมากิน ก็เป็นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น อาจเสียหายแค่ 20 บาท (3 วันเสียหายเพิ่มเติมสัก 10 บาท) แทนที่จะเสียต้นทุน 110 บาท (10 บาท ความเสียหายพืช 100 ต้นทุนยา)

พวกนี้เป็นหลักธุรกิจง่ายๆ คือ การเพิ่มมาร์จิ้น ไม่ลดต้นทุน ก็เพิ่มมูลค่าสร้างราคา


ดังนั้นผมจึงคิดอยู่นาน ศึกษาปัญหาทั้งหมด แล้วก็กำหนด KPI ง่ายๆ คือ ในราคาขายพืชผลต่ำสุด ปริมาณที่ผลิตได้ ต้องสร้างรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายตลอดปี

เช่น รายได้ของผมตลอดปีของครอบครัวคือ 1 ล้านบาท หมายความว่า ผมจะปลูกอะไรก็ตาม ผมต้องปลูกแล้วสร้างผลผลิตที่ขายตอนราคาต่ำสุดได้ 1 ล้านบาท

จากตัวอย่างนี้ก็มาดูว่า เรามีที่ดินเท่าไร สำหรับผม มีทีดิน 25 ไร่ ผมแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย บ่อน้ำ ไว้ก่อน 5 ไร่

อาจไม่ตรงหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงท่านนัก ที่ต้องแบ่งน้ำไว้ 30% เนื่องจากที่ดินข้างๆ มีบ่อน้ำเยอะมาก ขนาบทุกทาง ผมคิดถึงอนาคต หากร่ำรวย มีเงินซื้อที่ดินเพิ่ม ก็จะได้บ่อน้ำเหล่านั้นมาด้วยในตัว จึงยังไม่อยากแบ่งที่ดินเป็นน้ำเพิ่มเติม

เท่ากับว่าผมเหลือที่ดิน 20 ไร่ สำหรับเพาะปลูกใดๆ

ด้วย KPI ที่ผมตั้งไว้ หมายถึง ผมต้องผลิตได้ 50,000 บาทต่อไร่

จากนั้นผมจึงมาพิจารณากำลังตนเอง ก็พบว่าเราลุยได้ในช่วงแรกๆ ที่ยังเป็นพนักงาน ยังไม่ได้เกษียณ นั้น คงทำได้สุดๆ ก็ 10 ไร่

หรือหมายถึง 1 ไร่ ต้องได้ 1 แสน (ฟังดูคุ้นๆ เนอะ)

จากคำตอบ ...จึงมาสู่คำถามที่สองที่สำคัญไม่แพ้กัน ปลูกอะไรได้ 1 ไร่เท่ากับ 1 แสนบาท ในช่วงที่ราคาต่ำสุด
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #12 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 07:09:02 PM »

ทำไมผมถึงไม่คิดว่า

ทำเกษตร เป็นรายได้เสริม

เพราะเท่าที่ติดตามอ่านมานาน หลายคนประสบความสำเร็จ ในการทำเกษตรพาร์ทไทม์ แต่หลายคนก็เหลว กลายเป็น ละลายเงินไปการเกษตร เพราะเหยียบเรือสองแคม จะลาออกก็ไม่กล้า จะลุยเกษตรต่อก็กลัว

ดังนั้นผมจึงไม่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ รายได้เสริม (ถ้าทำอย่างนั้น ปลูกไผ่ขายลำ ปลูกยูคา ปลูกไม้สัก ปลูกอ้อยเทวดาเลี้ยงก็ได้)

แต่ผมตั้งเป้าว่าเป็นอาชีพหลัก ดังนั้นการทำเกษตร จึงต้องสร้างรายได้ เท่ากับรายได้หลัก

ทีนี้ เวลาเราทำธุรกิจ ต้องวางจุด Cut-Point ไว้หลายๆ จุด หลายๆ Scenario

สำหรับผม หากคุณอ่านตามแล้วเข้าใจ ก็จะเข้าใจว่า KPI ที่ผมตั้งไว้ มันคือ Worst Case แล้ว

หากผลลัพธ์มันกลายเป็น "แย่ยิ่งกว่าแย่" Cut-Point ของผมคือ ต้นทุนที่ลงไปทั้งหมด

ก็แค่นั้น
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
คุณบรีส ชุมแพ
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 900



« ตอบ #13 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 07:35:02 PM »

จากเป้าหมาย 1 ไร่ ได้ 1 แสน

ก็เริ่มศึกษาทุกรูปแบบ ค้นหาใน Google ได้ข้อมูลมากมาย ดาวน์โหลดแผนธุรกิจทางการเกษตรเก็บไว้ศึกษามากมาย เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ กาแฟ เห็ดหอม มันสำปะหลัง ชิ้นไม้สับ ไผ่ พริกไทย ไก่ไข่ ปลา เรียกว่า ศึกษาหมดเลย เพราะไม่เคยทำสักอย่าง 555

จากข้อมูลธุรกิจการเกษตรแบบต่างๆ ผมนำมาทำ Cash Forecast  โดยกำหนดเป็น Scenario ไว้ 3 แบบคือ

1. ถ้าค่อยๆ ลงทุน ขยายต่อเนื่องในปริมาณเท่าๆ กันทุกๆ ปี จนกว่าจะครบ 20 ไร่
2. ปีแรก ลงทุนแบบทดสอบ (เพื่อทดสอบหลักการต่าง) และปีที่สอง ลงทุนทั้งหมดทีเดียว 20 ไร่
3. เหมือนแบบที่สอง แต่ดูกระแสเงินสด ด้วย ถ้าจะเสี่ยงให้หยุดลงทุนก่อน

---------------------------------------------------------------------------------

รูปนี้เป็นตัวอย่าง ของ Cash flow แบบแรก

ผมตั้งตัวแปรง่ายๆ ไว้ ในตอนนั้นคิดแบบเล่นๆ ว่า ถ้าผมมีงบอยู่ 5 ล้าน ผมจะทำอะไรบ้าง (ถ้าคุณจะเอาแนวคิดไปใช้ก็ปรับงบตามที่ตนเองมี)



จะเห็นว่า ผมต้องทนขาดทุนไป 4 ปี สำหรับการทำธุรกิจ ถือว่า เด็กๆ มาก แต่พอดูกระแสเงินสด ปีที่ 4 เงินเหลือแค่ไม่กี่แสน ถือว่าเสี่ยงมากๆ หากมีปัญหาใดๆ ผมจะไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการกู้คืนธุรกิจเลย

-----------------------------------------------------

พอเป็นแบบที่ 2


จะเห็นได้ว่า ขาดทุนแค่ 3 ปีเหมือนกัน ส่วนความเสี่ยงก็มีเพราะจะมีปีหนึ่ง ขาดทุนสะสมถึง 1.4 ล้าน หรือเกือบ 30% ของเงินทุนทั้งหมด

-----------------------------------------------------

พอเป็นแบบที่ 3


จะเห็นว่า ขาดทุน 3 ปีเหมือนกัน แต่กระแสเงินสด ไม่ขาดทุนสะสมมากเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยง และพบว่า ชุดการปลูกที่แบ่งเป็น 4 ชุด หรือชุดละ 5 ไร่ นั้น จะไม่ได้ลงทุนเลย 1 ชุด หรือประมาณ 5 ไร่


-----------------------------------------------------

ทั้งหมดนี้เป็นแค่การวางแผนในกระดาษ ตัวแปรต่างๆ ใส่เข้าไปเป็นก้อนใหญ่ๆ จากการคำนวณคร่าวๆ รายได้ก็มาจากการคำนวณผลผลิตคร่าวๆ ตามสถิติ

โชคร้ายที่ไฟล์นี้ผมจำไม่ได้ว่า ผมเอาการปลูกอะไรมาคำนวณบ้าง

แต่ถ้าใครจะเอาไปใช้

หลักการคือ

1. หาต้นทุน Fix Cost ว่าต้องลงทุนเท่าไร
2. หาต้นทุนหมุนเวียน ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละรอบเก็บเกี่ยว
3. หารายได้ต่ำสุดของปริมาณผลผลิตดังกล่าว
4. ตั้งงบประมาณเบื้องต้น และคำนวณแบบ Cash ไม่ใช่แบบทางบัญชี

เพราะเราทำการเกษตร คงไม่ต้องมาแบ่งค่าทรัพย์สินเป็น 10 ปี ตัดทุกๆ ปีเท่ากัน ตามหลักการบริหารสินทรัพย์

เอาเป็นง่ายๆ ว่าถ้าเรากำไรได้เมื่อไร ที่เหลือมันจะกำไรล้วนๆ

พอถึงตอนนั้นค่อนมาคิดแบบหลักบัญชีพื้นฐาน เพราะถ้าไม่คิดแบบนั้น จะมองต้นทุนจริงๆ ไม่ออก แล้วจะกลายเป็น จมเงินไปเรื่อยๆ ก็ได้
บันทึกการเข้า

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน เน้นการทำมะนาว ไผ่ ไก่ไข่อินทรีย์
nopmtp
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2136


« ตอบ #14 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 07:53:50 PM »

   ขอบคุณมากครับ  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
วันนี้เก็บความรู้ได้เพียบเลยครับ
บันทึกการเข้า
ultranoi
เกษตรกรมือใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609


« ตอบ #15 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 01:16:16 AM »

เห็นด้วยกับการทำเกษตรแบบวางแผน เพราะเรามี how to มากมายให้เลือกมาใช้
บันทึกการเข้า

สวนน้ำหนาว ของคนรักแม่ กลัวเมีย เทิดทูนในหลวง ขอใช้ชีวิตที่เหลือแทนคุณแผ่นดิน
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 30   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: