เกษตรพอเพียง.คอม

เว็บบอร์ดเกษตรพอเพียง => คลังบทความเกษตรพอเพียง => ข้อความที่เริ่มโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 12:21:11 PM



หัวข้อ: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 12:21:11 PM
การปลูกพืชตามปกติต้องอาศัยดินเป็นวัสดุปลูก ดังนั้นเราต้องทำความรู้จักกับมันเสียก่อน   ดินเกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ ผสมกับซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมกันเป็นเวลาหลายล้านปี ดินหลังจากเปิดป่าใหม่จะเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ดี ปลูกพืชงามและมีผลผลิตสูง เมื่อใช้ดินทำการเพาะปลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน ดินจะมีสภาพเสื่อมโทรมลง ธาตุอาหารหรือปุ๋ยเดิมในดินจะหมดไป รวมทั้งลักษณะการโปร่ง ร่วนซุยของดินก็จะแน่นทึบ ไถพรวนยาก ถ้าไม่แก้ไขปรับปรุง ก็จะทำให้ไม่สามารถปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูงอีกต่อไป

ดินเป็นแหล่งผลิตปัจจัยทั้ง 4 ของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นอกจากนี้ดินเปรียบเสมือนเครื่องกรองที่มีชีวิต สามารถนำไปใช้ในการกำจัดของเสียทั้งในรูปของแข็งและของเหลว ดินเป็นแหล่งของจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถเปลี่ยนสารประกอบต่างๆที่เป็น พิษในดินให้ไปอยู่ในรูปที่ไม่เป็นพิษได้ ดินทำหน้าที่เป็นที่เกาะยึดของรากพืช ไม่ให้ล้ม ให้อากาศแก่รากพืชในการหายใจ และให้ธาตุอาหารพืชเพื่อการเจริญเติบโต(จากคู่มือสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ ธรรมชาติของดินและปุ๋ย  โครงการรวมพลังพลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทย )


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 12:42:34 PM
ส่วนประกอบของดินตามธรรมชาติ

1 อนินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่เกิดจากชิ้นเล็กชิ้นน้อยของแร่และหินต่างๆ ที่สลายตัวโดยทางเคมี กายภาพ และชีวเคมี ทำหน้าที่เป็นแหล่งของธาตุอาหารให้กับพืช และเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดิน

2 อินทรียวัตถุ ได้แก่ส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังหรือการสลายตัวของเศษเหลือของพืชและสัตว์ที่ทับถมกันอยู่บนดิน ทำหน้าที่ เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ให้พลังงานแก่จุลินทรีย์ดิน และ ควบคุมสมบัติทางกายภาพของดิน เช่นโครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำและการแลกเปลี่ยนอากาศของดิน แต่มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ

3 น้ำ ที่อยู่ในดินนั้น ทำหน้าที่ให้น้ำแก่พืช และช่วยละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และขนย้ายอาหารพืช

4 อากาศ ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่รากพืช และจุลินทรีย์ในการหายใจ
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/soil_basic1.jpg)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 12:47:25 PM
       ดินมีความลึกหรือความหนา แต่ถ้ามองความลึกนั้นลงไปตามแนวดิ่ง จะเห็นว่าดินนั้นทับถมกันเป็นชั้นๆ ดินที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ ตามแนวดิ่งนั้นเรียกว่า หน้าตัดดิน

      ตามปกติดินที่เกิดใหม่มักมีอินทรียวัตถุสะสมอยู่ที่ดินบน แต่จะมีปริมาณน้อยในดินล่าง ในระดับที่ลึกลงไปตามแนวหน้าตัดของดินจะพบหินบางชนิดที่กำลังสลายตัวอยู่ใน ชั้นล่างเรียกว่า วัตถุต้นกำเนิดดิน ใต้วัตถุต้นกำเนิดดินลงไปเรียกว่าหินพื้น ซึ่งเป็นชั้นที่ยังไม่ได้ผ่านการสลายตัวผุพัง

      รากพืชจะเจริญเติบโต และดูดธาตุอาหารในส่วนที่เป็นดินบนและดินล่าง ซึ่งมีความลึกไม่เท่ากันในดินแต่ละชนิด ดินที่ลึกก็จะมีพื้นที่ที่ให้พืชหยั่งรากและดูดธาตุอาหารได้มากกว่าดินที่ ตื้น ดังนั้นการปลูกพืชให้ได้ผลดีควรพิจารณาความลึกของดินด้วย
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/soil_basic2.jpg)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 12:58:03 PM
การที่พืชจะเจริญเติบโตเป็นปกติได้นั้นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้

1 แสงสว่าง เป็นแหล่งพลังงานซึ่งพืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างน้ำตาลและแป้ง

2 อุณหภูมิ อุณหภูมิของดินและของบรรยากาศควบคุมอุณหภูมิภายในต้นพืช กระบวนการต่างๆ ภายในพืช เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ

3 ความชื้นหรือน้ำ เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์แสง และทำหน้าที่ต่างๆ มากมายในพืช เช่น ทำให้เซลล์เต่งตัว เป็นตัวกลางในการขนย้ายธาตุอาหาร และอินทรียสาร

4. ชนิดและปริมาณของก๊าซต่างๆ ในดิน อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วยก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนจากอากาศในดินหายใจ ถ้ามีก๊าซนี้ไม่เพียงพอรากจะไม่เจริญเติบโต ระบบรากไม่ดี ซึ่งทำให้ดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อย

5. สภาพกรดด่างของดิน นิยมบอกเป็นค่าพีเอช ดินที่มีพีเอช เท่ากับ 7 ถือว่าเป็นกลาง แต่ถ้าต่ำกว่า 7 ก็เป็นดินกรดและสูงกว่า 7 เป็นดินด่าง พืชโดยทั่วไปเจริญเติบโตได้ดีหากดินมีพีเอชใกล้เป็นกลาง

6. โรคและแมลงศัตรูพืช สิ่งมีชีวิตบางอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคและแมลงหลายชนิดเป็นศัตรูร้ายแรง ต่อพืช ดังนั้นถ้ามีโรคและแมลงรบกวนมากย่อมจำกัดการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช

7. ธาตุอาหารในดินและสมบัติต่างๆ ของดิน สมบัติของดินทางเคมี กายภาพ และชีวภาพต่างก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งสิ้น ธาตุอาหารในดินถูกพืชดูดขึ้นไปใช้สร้างผลผลิต และสูญเสียไปจากดินอย่างถาวร ถ้าไม่มีการชดเชยส่วนที่หายไป ดินจะเสื่อมโทรมและมีปัญหาในการผลิตพืชต่อไป
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/soil_basic3.jpg)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 04:43:14 PM
   ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 16 ธาตุ ในจำนวนนี้ 3 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ได้จากน้ำและอากาศ ส่วนธาตุอาหารอีก 13 ธาตุนั้นมาจากดิน  ในบรรดาธาตุอาหารทั้ง 13 ตัวนั้น เอ็น พี เค เป็นธาตุอาหารที่พืชใช้ในปริมาณมากที่สุด ดังนั้นการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไปในดินในรูปของปุ๋ยจึงเน้นเฉพาะ เอ็น พี เค ส่วนธาตุอาหารอีก 10 ตัวนั้น จัดเป็นธาตุอาหารรองและจุลธาตุ หรือธาตุอาหารเสริม ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการใส่ให้กับพืชบ้างหากดินบริเวณที่ปลูกพืชนั้นขาดแคลน เช่น ดินทราย ดินที่เป็นกรดมากไปหรือเป็นด่างมากไปเป็นต้น
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/soil_basic3.jpg)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 04:48:56 PM
  มื่อมีการเก็บเกี่ยวพืชออกไปจากดินในรูปของผล หรือใบก็ตาม ธาตุอาหารต่างๆ ก็จะสูญหายไปกับพืชที่เก็บเกี่ยว โดยจะสูญเสีย เอ็น พี เค มากกว่าธาตุอาหารตัวอื่นๆ ถ้าเราไม่ใส่ธาตุอาหาร เอ็น พี เค เพิ่มเติมลงไปในดิน ดินก็จะมีธาตุอาหารลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดดินก็เสื่อมโทรม และไม่สามารถผลิตพืชได้ เมื่อถึงเวลานั้นการที่จะปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม จะใช้เวลานานมาก ดังนั้นเราจึงควรทะนุบำรุงรักษาดินของเราไม่ให้เสื่อมโทรม โดยการใส่ธาตุอาหารพืชลงไปในดินให้เท่ากับการสูญเสียออกไป การสูญเสียธาตุอาหารไปจากดินมีหลายทางคือ

1 สูญเสียไปกับส่วนของพืชที่เก็บเกี่ยวออกไปจากพื้นที่ปลูก

2 ถูกชะล้างออกไปจากบริเวณรากพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน

3 สูญหายไปในรูปของก๊าซ กรณีของไนโตรเจน

4 เกิดการตรึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัส การตรึงหมายถึงธาตุอาหารถูกดินหรือสารประกอบในดินจับไว้ พืชไม่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้
(http://image.ohozaa.com/iq/soil_basic5.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=5a2b03030b66d3745b68154389a15848)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 05:10:36 PM
การใช้ที่ดินเพื่อการผลิตพืชเป็นการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดความสูญหายของปริมาณธาตุอาหารพืชที่อยู่ในดิน เนื่องจากพืชดูดธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของพืช ธาตุอาหารบางส่วนจะถูกเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของลำต้น ใบและผล เมื่อมนุษย์เก็บเกี่ยว ผลผลิตออกจากพื้นดินที่ปลูก ธาตุอาหารที่ติดอยู่กับผลผลิตก็จะถูกนำออกจากพื้นที่นั้นด้วย หากใช้ที่ดินผลิตพืชเป็นเวลานานโดยปราศจากการทดแทนปริมาณธาตุอาหารที่ติดไปกับผลผลิต ดินในบริเวณ ดังกล่าวจะกลายเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและไม่สามารถใช้ผลิตพืชได้ในที่สุด  ดังนั้นเพื่อทดแทนปริมาณธาตุอาหารพืชที่สูญหายไปกับผลผลิตจำเป็นต้องมีการ เพิ่มธาตุอาหารให้กับดินที่ปลูกพืชนั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและนำไปสู่การผลิตพืชที่ยั่งยืนตลอดไป การใส่ปุ๋ยเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดิน
ดังนั้นเพื่อทดแทนปริมาณธาตุอาหารพืชที่สูญหายไปกับผลผลิตจำเป็นต้องมีการ เพิ่มธาตุอาหารให้กับดินที่ปลูกพืชนั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและนำไปสู่การผลิตพืชที่ยั่งยืนตลอดไป การใส่ปุ๋ยเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดิน


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 06:23:31 PM
                                   ปุ๋ย-สารประกอบที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
       ปุ๋ยเคมี คือสารประกอบอนินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช เพียงแต่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เมื่อนำมาใส่ลงไปในดินที่มีความชื้น สารประกอบเหล่านี้จะละลายและพืชสามารถดูดกินไปใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตได้
      


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 06:27:15 PM
         ปุ๋ยอินทรีย์นั้นหมายถึงสารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่พืช สัตว์ จุลินทรีย์ โดยผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ มีประโยชน์ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินเป็นต้นว่า ทำให้ดินโปร่ง ร่วน ซุย เพิ่มความสามารถในการระบายน้ำและอากาศ ทำให้การชอนไชของรากเพื่อหาธาตุอาหารง่ายขึ้น ส่วนเรื่องปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์นั้นมีอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์เช่น มีธาตุไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตีน แต่เมื่อใส่ลงไปในดิน สารประกอบเหล่านี้ไม่สามารถเป็นประโยชน์กับพืชได้ทันที จำเป็นต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์เสียก่อน โดยสุดท้ายจะปลดปล่อยธาตุอาหารในรูปสารประกอบอนินทรีย์ชนิดเดียวกับปุ๋ยเคมี


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 06:33:08 PM
                                       การบ่งบอกปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี

บนฉลากปุ๋ยเคมีทุกชนิดจะระบุปริมาณธาตุอาหารหลักเป็นตัวเลข 3 จำนวนเรียงกันเรียกว่า “สูตรปุ๋ย” โดยตัวเลขจะหมายถึง % โดยน้ำหนักของไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม หรือ เอ็น-พี-เค เรียงตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 13-0-46 แสดงว่ามีไนโตรเจน 13% ไม่มีฟอสฟอรัส และมีโพแทสเซียม 46% สำหรับธาตุอาหารอื่นๆ ในปุ๋ยเคมี ผู้ผลิตจะระบุหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าระบุก็จะเขียนบอกบนฉลากปุ๋ยว่ามีธาตุอะไรบ้าง และมีเท่าไร
                                              รูปของธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี

1 ไนโตรเจน (N) : ในปุ๋ยเคมีอาจจะอยู่ในรูปแอมโมเนียมหรือไนเตรตหรือยูเรีย ปริมาณไนโตรเจนในสูตรปุ๋ย หมายถึงปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดิน พืชสามารถดูดกินได้ทันที

2 ฟอสฟอรัส (P) : ในปุ๋ยเคมีอาจจะมีอยู่ทั้งในรูปที่พืชดูดกินได้ที่เรียกว่า รูปที่เป็นประโยชน์ และบางส่วนอาจจะอยู่ในรูปที่พืชดูดกินไม่ได้ ตัวเลขที่บอกปริมาณฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยจะหมายถึง เฉพาะรูปที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยหินฟอสเฟตบด ถ้ามีฟอสฟอรัสทั้งหมด 30% แต่อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้ เพียง 3% ก็จะมีสูตรเป็น 0-3-0 เท่านั้น

3 โพแทสเซียม (K) : ในปุ๋ยเคมีก็อาจจะมีอยู่ทั้งในรูปที่พืชดูดกินได้ หรือที่เรียกว่า รูปที่ละลายน้ำได้ และรูปที่พืชดูดกินไม่ได้ ซึ่งตัวเลขในสูตรปุ๋ยก็จะหมายถึงเฉพาะรูปที่พืชดูดกินได้เท่านั้น


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 04, 2010, 06:46:18 PM
                                 ข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์- ปุ๋ยเคมี
                ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์                                                   ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น                1. ปริมาณธาตุอาหารต่ำ ต้องใส่ในปริมาณมาก
2. อยู่ในดินนาน (ค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหาร)                2. ใช้เวลานานกว่าจะเป็นประโยชน์
3. ส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์ดีขึ้น                        3. ราคาแพงเมื่อเทียบกันต่อหน่วยธาตุอาหารพืช
4. ส่งเสริมสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน                        4. หายากในปัจุบัน
5. มีจุลธาตุอาหาร    

 
                                 ข้อดีของปุ๋ยเคมี                           ข้อเสียของปุ๋ยเคมี
1. มีปริมาณธาตุอาหารสูงมาก (ใช้นิดเดียวก็เพียงพอ)    1. ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมทำให้ดินเป็นกรด
2. ราคาถูก เมื่อเทียบต่อหน่วยธาตุอาหารพืช                   2. ไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงดิน
3. หาง่าย                                                    3. มีความเค็ม
4. ใช้ง่าย                                                    4. ต้องมีความรู้ในการใส่ปุ๋ยเพียงพอ
5. ให้ผลเร็ว    


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 12, 2010, 05:33:06 PM
                                 การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช
         1. ตัวอย่างดินต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่จะตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน
         2. อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด
         3. ตัวอย่างดินแต่ละตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอ และขนาดของพื้นที่ ไม่ควรเกิน 50 ไร่ แต่ถ้าพื้นที่มีขนาดใหญ่ ไม่สม่ำเสมอ มีความลาดเทต่างกัน ปลูกพืชต่างชนิดกัน หรือเคยใช้ปุ๋ยต่างกัน ฯลฯ ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อยๆ แล้วเก็บตัวอย่างดิน เพื่อให้ได้ตัวแทนของแต่ละแปลงย่อย (1 ตัวอย่าง 1 แปลงย่อย เก็บดิน 15-20 จุด)
         4. การเก็บตัวอย่างดินจะทำเมื่อไรก็ได้ แต่ถ้าปลูกพืชตามฤดูกาล ควรเก็บตัวอย่างดินก่อนการปลูกพืช เพื่อให้ได้ข้อมูลธาตุอาหารพืชในดินที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 12, 2010, 05:37:09 PM
                           อุปกรณ์และวิธีการ  ในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ทางด้านการเกษตร
      1. อุปกรณ์                                                 2. วิธีการ

                                                                   แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย แล้วกำหนดหมายเลขแปลงย่อยเหล่านั้นโดยดูลักษณะพื้นที่ซึ่งมีความใกล้เคียงกันทั้งเรื่องความลาดเท ลักษณะของเนื้อดิน และสิ่งอื่นๆที่สังเกตุได้เป็นหนึ่งแปลงย่อย( หนึ่งตัวอย่างดิน)

(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/soil_poster_03.jpg)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 12, 2010, 05:46:23 PM
   2) เดินสุ่มเก็บตัวอย่างให้ทั่วในแต่ละแปลงย่อย เก็บตัวอย่างดินในแต่ละแปลงย่อย 15-20 จุด
   3) การเก็บตัวอย่างดินแต่ละจุด ใช้พลั่วหรือจอบขุดดินเป็นหลุม รูปคมขวาน หรือรูปลิ่ม ลึกประมาณ 15 ซม. ใช้พลั่วแซะดินด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 ซม. ลึก 15 ซม. ตัวอย่างดินที่ได้นี้เป็นดิน 1 จุด แล้วใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติก สำหรับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เก็บดินที่ความลึก 0-15 และ 40-50 ซม.
   4) คลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากัน เทลงบนผ้าพลาสติก คลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง  กองดินเป็นรูปฝาชี แบ่งดินออกเป็น 4 ส่วน เก็บดินไว้เพียงส่วนเดียว ให้ได้ดินหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม สำหรับใช้ในการวิเคราะห์
   5) ถ้าดินเปียก ตากในที่ล่ม แล้วบดให้ละเอียด เก็บใส่ถุง และเขียนหมายเลขกำกับไว้


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 12, 2010, 06:02:45 PM
                         เกษตรกรที่ต้องการใช้คำแนะนำปุ๋ยเฉพาะพื้นต้องรู้จักชุดดินหรือชนิดของดินในไร่นา สวนของตนเองอย่างดี โดยติดต่อ  สถานีพัฒนาที่ดินซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่านที่สุด หลังจากนั้น ต้องเก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆเพื่อขอคำแนะนำการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องในพื้นที่ของเรา                                                                                                                                                              


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 12, 2010, 07:41:50 PM
ดินเปรี้ยว หรือดินกรด (Acid soil) หมายถึง ดินที่มีค่า pH วัดได้ต่ำกว่า 7.0 พื้นที่ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ ดินเปรี้ยวจัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดช่วงฤดูฝนและลักษณะของดินเป็นดินเหนียว  มื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของดินเปรี้ยวจัดพบว่าความเป็นกรดอย่างรุ่นแรงของดินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของพืชและผลผลิตของพืชตกต่ำ เพราะทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารหลักของพืชลดลงหรือมีไม่พอเพียงต่อความต้องการของพืช ธาตุอาหารของพืชที่มีอยู่ในระดับต่ำคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ส่วนธาตุอาหารของพืชบางชนิดมีเกินความจำเป็นซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการเจริญเติบโนและผลผลิตของพืชที่ปลูก เช่น อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส และความเป็นกรดจัดยังมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินและมีประโยชน์ต่อพืชมีปริมาณที่ลดลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องหาลู่ทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้สูงขึ้น
  ภาพหน้าตัดดินเปรี้ยวจัดเมื่อขุดลึกลงไป ด้านบนจะเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดแต่เมื่อลึกลงไปจะมีเนื้อดินสีเหลืองๆเป็นสารประกอบ จาโรไซท์  ที่เกิดจากการทำปฏิกริยาของอากาศกับสารไพไรท์ใต้ดิน
 


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 12, 2010, 07:54:17 PM
                                               วิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวจัด
      1. วิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน
           ป้องการเกิดกรดกำมะถันโดยการควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้น  ดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์ (สารที่ทำให้เกิดความเป็นกรด)  อยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้สารประกอบไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ โดยมีขั้นตอนดังนี้

       - วางระบบการระบายน้ำทั่วทั้งพื้นที่
       - ระบายน้ำเฉพาะส่วนบนออกเพื่อชะล้างกรดที่เกิดขึ้น
       - รักษาระดับน้ำในคูระบายน้ำให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 1 เมตรจากผิวดินตลอดทั้งปีเพื่อป้องกันอากาศลงไปทำปฏิกริยากับสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิดความเป็นกรด
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/cov015671.jpg)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 12, 2010, 08:07:31 PM
วิธีการปรับปรุงดินอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "แกล้งดิน" สามารถเลือกใช้ได้ 3 วิธีการตามแต่สภาพของดินและความเหมาะสม คือ
    1. การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด : เป็นการใช้น้ำชะล้างดินเพื่อล้างกรดทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้นโดยวิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลง แล้วระบายออกประมาณ 2-3 ครั้ง โดยทิ้งช่วงการระบายน้ำประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือฤดูแล้ง ดังนั้นการชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาวมิใช่กระทำเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดแต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้างดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือดินเลนที่มีไพไรท์มากเมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมิเนียมที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี
    2. การแก้ไขดินเปรี้ยวด้วยการใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน ซึ่งมีวิธีการดังขั้นตอนต่อไปนี้คือ ใช้วัสดุปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (marl) สำหรับถาคกลางหรือปูนฝุ่น (lime dust) สำหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่ แล้วไถแปรหรือพลิกกลบดิน ปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
    3. การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบรูณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งเป็นดินกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 12, 2010, 08:32:21 PM
   การปรับปรุงดินเปรี้ยวควรมีการปลูกปุ๋ยพืชสดเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุทำให้ดินที่แน่นและเหนียวร่วนซุยขึ้น รากพืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนั้นการเลือกปลูกพืชที่ค่อนข้างมีความทนทานต่อดินเปรี้ยวก็จะแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่ง พืชที่ทนดินเปรี้ยวได้ดี เช่น ข้าว มะพร้าว มะกอก มะนาว มะขาม มะม่วง มะละกอ ข้าวโพด สับปะรด ถั่วฝักยาว มะเชือ แตงโม กระท้อน  ฝรั่ง  ยางพารา และพวกพืชตระกูลส้มต่างๆก็ทนดินเปรี้ยวได้ดี
 


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: TP ที่ สิงหาคม 13, 2010, 11:35:44 AM
ถ้าจะให้ดีเราควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์- ปุ๋ยเคมี ผสมกัน ใช่ไหมครับ  ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 13, 2010, 09:10:13 PM
   การใส่ปุ๋ยจะต้องใช้ร่วมกันทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีครับ  ซึ่งจะได้ดำเนินการโพสต่อไปครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: kaset-engineer ที่ ธันวาคม 21, 2010, 02:30:58 AM
มีหรือไม่ที่เกิดกรณีสภาพดินเป็นด่าง จะแก้ไขอย่างไร และเหมาะที่จะปลูกพืชใดบ้าง
ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Singhto+Kaowsuay ที่ ธันวาคม 21, 2010, 07:19:03 PM
วิชาการล้วนๆ ถึงอ่านแล้วจะปวดหัวบ้าง

แต่มีประโยชน์จริงๆ

ขอบคุณค่ะ  :)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ ธันวาคม 22, 2010, 11:30:01 PM
มีหรือไม่ที่เกิดกรณีสภาพดินเป็นด่าง จะแก้ไขอย่างไร และเหมาะที่จะปลูกพืชใดบ้าง
ขอบคุณครับ
ดินเป็นด่างโดยกำเนิดในประเทศไทยมีหลายที่เช่น  พื้นที่แถวจังหวัดลพบุรี  สระบุรี  ซึ่งใช้ปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง  ทานตะวัน  และพืชผักต่างๆได้ไม่มีปัญหา  แต่ถ้าปลูกพืชบางอย่างเช่น ยางพาราจะปลูกไม่ได้ผลเพราะยางพาราไม่ชอบดินด่างจัด หรือดินที่เป็นดาน  การแก้ไขดินเป็นด่างทำได้โดยการใส่อินทรีย์วัตถุให้มากๆเมื่อมีการสลายตัวโดยจุลินทรีย์ก็จะมีการปลดปล่อยสารที่มีความเป็นกรดออกมาแก้ไขความเป็นด่างได้ การใส่น้ำหมักชีวภาพซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดก็แก้ได้ในระดับหนึ่ง
   การเรียนรู้เรื่องดิน น้ำ อากาศ   ในการทำการเกษตรจำเป็นมากครับ  เพราะรู้เขา  (ดิน  น้ำ  อากาศ ) รู้เรา (  วิชาการเกษตร)  รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Banbe ที่ กุมภาพันธ์ 10, 2011, 10:37:00 PM
แล้วกรณีที่พบในภายหลังว่าดินที่ทำการปลูกไปแล้ว หรือเพาะกล้าไม้ไปแล้ว พบว่ามีความเป็นกรดค่อนข้างมาก 4-4.5 จะมีวิธีการแก้ไขแบบไหนบ้างครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2011, 08:59:31 AM
  ดินเป็นกรดจัดแก้ไขได้โดยการใส่ปูนมาร์ล ปูนขาว หรือหินโดโลไมค์ ค่อยๆใส่ไปเรื่อยๆจนเห็นว่าพืชเจริญเติบโตได้ดี ตามปกติปูนมาร์ลจะมีแจกของกรมพัฒนาที่ดิน ลองติดต่อดู ปูนมาร์ลแนะนำให้ใส่คลุกดินอัตราประมาณ ไร่ละ 1 ตัน


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กุมภาพันธ์ 13, 2011, 10:06:20 PM
                                             ฮิวมัส (humus)
          ฮิวมัสหมายถึงอินทรีย์วัตถุใดๆก็ได้ที่เข้าสู่ สภาวะเสถียรอยู่ตัว ทำให้ดินมีสีน้ำตาลหรือดำเนื่องจากมีปริมาณธาตุ คาร์บอนในรูปของสารอินทรีนย์ในปริมาณที่สูงมาก   กระบวนการเกิด ฮิวมัสสามารถเกิดตามธรรมชาติในดินหรือในการผลิตปุ๋ยหมักก็ได้  ฮิวมัสที่เสถียรตามคุณสมบัติทางเคมี เชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญในความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งในด้านฟิสิคซ์และเคมี   โดยทางกายภาพแล้ว ฮิวมัสช่วยให้ดินยังคงความชื้นและช่วยให้มีการก่อตัวของโครงสร้างดินที่ดี  ทางด้านเคมี ฮิวมัสมีแหล่งสารออกฤทธิ์ซึ่งสามารถผนวกกับไอออนของธาตุอาหารพืชทำให้กลาย เป็นธาตุอาหารพร้อมใช้ได้มากขึ้น ในทางกายภาพฮิวมัส แตกต่างจากอินทรีย์วัตถุตรงที่อินทรีย์วัตถุเป็นสารที่มีลักษณะภายนอกหยาบ และมีเศษซากพืชให้ สังเกตเห็นได้  แต่เมื่อ ผ่านกระบวนการเกิดฮิวมัสอย่างเต็มที่แล้วก็จะกลายเป็นฮิวมัส สารที่มีรูปแบบอย่างเดียวกันมากขึ้น (เป็นสารสีเข้ม นุ่มคล้ายฟองน้ำ อ่อนตัวคล้ายวุ้น) และมีโครงสร้าง ไร้รูปแบบที่แน่นอน
           ประโยชน์ของ ฮิวมัส

1. กระบวนการเกิดแร่ธาตุ (คือการเกิด สารอนินทรีย์จากสารอินทรีย์ตามธรรมชาติ) ทำให้ อินทรีย์วัตถุแปลสภาพไปเป็นสารที่เสถียรมากขึ้นกว่าเดิมคือฮิวมัส ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นอาหารเลี้ยงบรรดาสิ่งที่มีชัวิตทั้งหลายในดินตั้งแต่ จุลินทรีย์ไปจนถึงสัตว์เล็กอื่นๆที่อาศัยอยู่ ดังนั้นจึงเป็นการรักษาอายุของดินให้อยู่ในระดับที่สมบูรณ์เต็มที่

2. อัตราการเปลี่ยนอินทรีย์วัตถุไปเป็นฮิวมัสถ้าดำเนินไปอย่างรวด เร็วก็จะเกื้อประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันของ พืช และสัตว์รวมทั้งจุลินทรีย์ตามระบบนิเวศวิทยาของโลกในทำนองกลับกันถ้าอัตรา การเปลี่ยนนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้าประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันดังกล่าวก็จะ ลดลง

3. อิวมัสที่มีประสิทธิภาพ และเสถียร ทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารเพื่อการดำรงชีพต่อไปของจุลินทรีย์  ประสิทธิภาพของฮิวมัสคือการเป็นอาหารพร้อมใช้ ส่วนความเสถียรของฮิวมัสคือการเป็นแหล่งอาหารสำรองระยะยาว

4. การเกิดฮิวมัสจากวัสดุที่ได้จากพืชที่ตายแล้วทำให้สารประกอบ อินทรีย์เชิงซ้อนที่เกิดขึ้นถูกย่อยสลายหรือแตกตัวไปเป็นสารอินทรีย์พร้อม ใช้ในรูปแบบที่ง่ายต่อการดูดซึมผ่านรากพืชที่กำลังจะเจริญเติบโต

5. ฮิวมัสเป็นสารประเภทคอลลอยด์(คือสสารใน สถานะต่างๆที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กมาก--เป็น อนุภาคที่มีขนาดตั้งแต่ 1ถึง100 นาโนเมตร—ซึ่งจะสามารถแขวนลอยในน้ำและ เป็นเนื้อเดียวกัน เช่นน้ำนมเป็นต้น(จากพจนานุกรม อักฤษ-ไทย Se-Ed New Compact English DictionaryMillennium2000Edition, และTaber’sCylopedic Medical Dictionary)และฮิวมัสจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแลก เปลี่ยนไอออนที่มีประจุบวก(Cation)จึงทำให้ไอออนดัง กล่าวมีความสามารถในการเก็บอาหารโดยวิธียึดธาตุอาหารติดไว้กับตัวมันเช่น เดียวกับที่อณุภาคของดินเหนียวจะพึงกระทำ ดังนั้นในขณะที่พวกไอออนประจุบวกที่มีธาตุอาหารเหล่านี้หาทางเข้าสู่พืชได้ ก็จะยังสามารถอยู่ในดินได้อย่างปลอดภัยจากการชะล้างด้วยน้ำฝนหรือการชล ประทาน

6. ฮิวมัสสามารถรักษาคุณสมบัติให้มีความชื้นคงที่อยู่ที่80-90% ได้ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มศักย์ภาพให้ทนต่อสภาวะแห้งแล้ง ได้

7. ด้วยโครงสร้างทางชีวะเคมีทำให้ฮิวมัสสามารถรักษาความเป็นกลาง---หรือเป็นตัวกันชน---ช่วยลดความเป็นกรด ด่างที่มากเกินในดินได้

8. ระหว่างที่มีการเกิดฮิวมัส จุลินทรีย์ จะหลั่งสารที่มีลักษณะเป็นยางเหนียวซึ่งช่วยให้โครงสร้างของดินที่กระจายตัว ยึดอนุภาคต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ดินร่วนและโปร่งอากาศ สารพิษเช่นธาตุโลหะหนักต่างๆ และธาตุอาหารที่มากเกินใช้ของพืชจะถูกกันไม่ให้เกิดพิษร้ายหรือออกฤทธิ์ได้ โดยวิธีผนวกเข้ากับโมเลกุลสารอินทรีย์เชิงซ้อนของฮิวมัสและขณะเดียวกันก็ ช่วยป้องกันไม่ให้สารดังกล่าวแพร่เข้าสู่ระบบนิเวศที่กว้างออกไปกว่าเดิม
         


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กุมภาพันธ์ 13, 2011, 10:32:10 PM
                    ฮิวมิก แอซิด ที่ผลิตในเชิงการค้า ได้มีการนำเอาลิกไนท์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากลิกไนท์ มาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน สารประกอบนี้มีลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลเหมือนถ่านหิน มีปริมาณฮิวมิก แอซิด อยู่สูง คาดว่าอยู่ระหว่าง 30-60% ในการผลิตเป็นการค้าเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร สารประกอบนี้อยู่ในลักษณะของสารละลายเข้มข้มและนำมาเจือจางก่อนที่จะใส่ลงไป ในดิน หรือพ่นไปที่ต้นพืช

                   แหล่งของลิกไนท์ดังกล่าวพบมากใน สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐ North Dakota, Texas, New Mexico, Idaho และอื่นๆ แหล่งที่พบใน North Dakota เรียกว่า Leonardite สะสมอยู่ใต้ผิวดิน ลิกไนท์นี้ไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพราะติดไฟยาก จึงได้นำมาเป็นวัสดุปรับปรุงดิน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตและการขนส่งทำให้สารประกอบเหล่านี้มีราคาแพง

                    ฮิวมัส ที่ได้จากลิกไนท์นี้จะช่วยทำให้สมบัติทางชีวะเคมีของดินดีขึ้น คล้ายคลึงกับฮิวมัสในดิน แต่สารประกอบที่ได้จากถ่านหินนี้จะอยู่ในขั้นที่สลาย ตัวไปมากแล้ว การสูญเสียคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ เกิดขึ้นมากและสารประกอบฮิวมัสก็อยู่ในสภาพที่ถูกออกซิไดส์ไปมาก ดังนั้นจะแตกต่างจากฮิวมัสในดิน คือมีสารประกอบอินทรีย์ เหล่านี้น้อย และมีคาร์บอนสูงกว่าเมื่อเทียบกับฮิวมัสในดิน
                    สมบัติทางกายภาพ
                    กรดฮิวมิกจะรักษาโครงสร้างของดินให้อุ้มนํ้าและ ระบายอากาศได้ดี ในอนุภาคของดินที่มีความ
เป็นดินเหนียวสูงจะมีประจุบวกและประจุลบอยู่อย่างหนาแน่น ทำ ให้มีแรงยึดเหนี่ยวสูง จึงส่งผลให้ดินมีความละเอียดและความหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำ คัญต่อระบบรากของพืชที่จะดูดซึมแร่ธาตุอาหารและนํ้า กรดฮิวมิกสามารถปรับปรุงดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูงเนื่องจากในโครงสร้าง โมเลกุลของกรดฮิวมิกมีหมู่คาร์บอกซิล ซึ่งจะไปสร้างพันธะกับอนุภาคประจุบวกในดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูง และทำ ลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างประจุบวกและประจุลบออกจากกัน ซึ่งก็จะทำ ให้ชั้นดินมีความโปร่งขึ้น ส่งผลให้นํ้าและอากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้ดีขึ้น
                    กรดฮิวมิกสามารถป้องกันไม่ให้นํ้าระเหยไปจากดิน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญยิ่งสำ หรับดินที่มีความเป็นดินเหนียวตํ่า ดินทราย และดินในพื้นที่แห้งแล้ง ที่ไม่สามารถจะดูดซับนํ้าไว้ได้เมื่อดินที่มีลักษณะดังกล่าวมีนํ้าผ่านเข้า มา ประจุบวกที่กรดฮิวมิกได้ดูดซับไว้จะสร้างพันธะกับประจุลบของนํ้าคือออกซิเจน ส่วนประจุบวกที่เหลืออยู่ในนํ้าคือไฮโดรเจนนั้นก็จะสามารถสร้างพันธะ ไฮโดรเจนกับอะตอมของออกซิเจนในนํ้าโมเลกุลอื่นๆต่อๆไป ทำ ให้นํ้าระเหยออกจากดินน้อยลงหรือสามารถอุ้มนํ้าได้มากขึ้นนั่นเอง
                    สมบัติทางเคมี
                    กรดฮิวมิกมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารเพื่อ ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นให้แก่พืช
เพื่อที่จะได้นำ สารเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การออกดอกออกผล กล่าวคือกรดฮิวมิกสามารถยึดประจุบวกของธาตุอาหารเสริมภายใต้สภาวะหนึ่งและจะ ปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นเมื่อสภาวะเปลี่ยนไป ด้วยคุณสมบัตินี้เมื่อกรดฮิวมิกเคลื่อนที่เข้าไปใกล้บริเวณรากของพืช ซึ่งระบบรากพืชจะมีประจุลบ พวกธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นก็จะถูกปล่อยจากโมเลกุลของกรดฮิวมิกเข้าไปสู่ ระบบรากพืช ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ากรดฮิวมิกมีความสำ คัญอย่างมากในการเป็นสื่อกลางการลำ เลียงธาตุอาหารจากดินไปสู่รากพืช
                     แต่อย่างไรก็ตามราคาของฮิวมิคเอซิคค่อนข้างแพงมาก การนำมาใช้จึงต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และมีรายงานด้วยว่าบางครั้งการใช่ฮิวมิคเอซิค จะไม่ได้ผลดีในสภาวะแวดล้อมต่างๆกัน


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Banbe ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2011, 12:06:59 AM
  ดินเป็นกรดจัดแก้ไขได้โดยการใส่ปูนมาร์ล ปูนขาว หรือหินโดโลไมค์ ค่อยๆใส่ไปเรื่อยๆจนเห็นว่าพืชเจริญเติบโตได้ดี ตามปกติปูนมาร์ลจะมีแจกของกรมพัฒนาที่ดิน ลองติดต่อดู ปูนมาร์ลแนะนำให้ใส่คลุกดินอัตราประมาณ ไร่ละ 1 ตัน

ขอบคุณมากครับ 

ในทางการค้า ฮิวมัส ไม่มีใครทำออกมาจำหน่ายเลยใช่ไหมครับ  แล้วอย่าง Peat Moss นับได้ว่าเป็น humus ไหมครับ
ส่วน Water Moss ที่เห็นทางเมืองนอกนิยมใช้กัน จริงๆแล้วมีตัวอื่นที่ทางเราหาใช้แทนกันได้ไหมครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: JARERN ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 02:38:05 PM
 สภาพอากาศในแต่ละปีมีผลกับการดูดแร่ธาตุอาหารของพืชไหม 


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 10:52:43 PM
   ในทางการค้า ฮิวมัส ไม่มีใครทำออกมาจำหน่ายเลยใช่ไหมครับ  แล้วอย่าง Peat Moss นับได้ว่าเป็น humus ไหมครับ
ส่วน Water Moss ที่เห็นทางเมืองนอกนิยมใช้กัน จริงๆแล้วมีตัวอื่นที่ทางเราหาใช้แทนกันได้ไหมครับ
   ตอนนี้ที่ขายกันมากคือฮิวมิคเอซิค สำหรับ peat Moss  เป็น organic matter 
   ที่จริงบ้านเรามี organic  mater  ที่มี  C:N  ratio  ต่ำสลายตัวเป็นฮิวมัสได้ง่ายอยู่มากมายเข่นพวกพืชตระกูลถั่วต่างๆ  แม้กระทั่งใบก้ามปู ก็เป็นสลายตัวได้ง่าย


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 11:05:42 PM
                 สภาพอากาศในแต่ละปีมีผลกับการดูดแร่ธาตุอาหารของพืชไหม
  โดยปกติรากพืชสามารถดูดกินธาตุอาหารที่ละลายออกมาอยู่ใน soil solution ในดินแล้ว แต่ธาตุอาหารพืชบางชนิดที่มีประจุไฟฟ้าบวก(cation) เช่น แคลเซี่ยม โปแตสเซี่ยม ซึ่งเกาะอยู่ตามผิวของอนุภาคดิน(adsorbed cation)ในบริเวณที่รากพืชผ่านไปสัมผัสเข้านั้น รากพืชก็สามารถดูดกินธาตุเหล่านั้นได้โดยตรง โดยไม่ต้องรอให้อยู่ในสภาพสารละลายก็ได้
   การที่รากพืชสามารถดูดธาตุอาหารได้ ปกติจะต้องอาศัยแกสออกซิเจนเพื่อสร้างพลังงานโดยระบบการหายใจของพืช ดังนั้น หากในดินมีอากาศไม่เพียงพอ เช่นในดินที่แน่นทึบหรือมีน้ำขัง รากพืชจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการดูดกินธาตุอาหารได้ตามปกติ นอกจากพืชบางชนิด เช่น ข้าว ซึ่งตามธรรมชาติจะมีเซลล์พิเศษอยู่ตามลำต้น ซึ่งสามารถดูดเอาอากาศจากข้างบนส่งลงไปช่วยในการหายใจของรากที่จมอยู่ใต้น้ำ ได้
   ดังนั้นสภาพอากาศมีผลต่อการดูดกินอาหารและน้ำของรากพืช เช่นเมื่ออากาศร้อนจัดมีการคายน้ำมากก็จะมีการดูดกินน้ำและแร่ธาตุขึ้นไปจำนวนมากเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำที่ระเหยจากใบพืช และการหายใจ ที่เห็นได้ชัดเจนคือเมื่อดินร้อนมากๆก็จะเกิดอาการตายนึ่งของพืชที่ปลูก เพราะน้ำที่ร้อนลวกทำลายรากพืชจนเสียหายไม่สามารถดูดน้ำและอาหารได้เพียงพอ จนในที่สุดพืชจะตายนึ่ง
   สภาพอากาศที่เย็นเกินไปไม่ค่อยเกิดขึ้นในบ้านเรา แต่ในเมืองนอกอากาศจะหนาวจนน้ำในดินเป็นน้ำแข็งซึ่งกระทบกระเทือนต่อการดูดน้ำและอาหารของพืช
 


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: arnold ที่ เมษายน 27, 2011, 03:31:20 PM
เยี่ยม


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Phon_17 ที่ พฤษภาคม 30, 2011, 12:40:01 AM
ขอบพระคุณอย่างสูงครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vi haa ที่ พฤษภาคม 31, 2011, 10:24:01 AM
ขอบคุณมากๆครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Aomsin & Earth ที่ มิถุนายน 01, 2011, 11:43:47 AM
ขอถามหน่อยครับ แคลเชียม คาร์บอเนต เห็นชาวไร่เอาไปใส่ในไร่เพื่ออะไรครับ ที่บ้านผมพ่อตาก็ซื้อมาเหมือนกัน 10 กระสอบ ให้ผมเอามาใส่ไร่มันสำประหลังด้วย 5 กระสอบ(ลูกละ 50 กก.) วันก่อนแกไปฟังเกษตรที่วัดในหมู่บ้านมา เลยซื้อมาฝากด้วย :-\


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: sumran ที่ มิถุนายน 08, 2011, 12:46:52 PM
ขอบคุณครับเป็นความรู้ที่ดีเยี่ยมครับ
 ;D


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: KARWAN ที่ มิถุนายน 13, 2011, 09:56:08 PM
 :-[ :-[


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ มิถุนายน 14, 2011, 10:18:53 PM
แคลเซี่ยม คาร์บอเนต ก็คือปูนขาวนั่นเองใส่ลงไปเพื่อปรับสภาพดินเปรี้ยวครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Aomsin & Earth ที่ มิถุนายน 15, 2011, 11:06:21 AM
แคลเซี่ยม คาร์บอเนต ก็คือปูนขาวนั่นเองใส่ลงไปเพื่อปรับสภาพดินเปรี้ยวครับ

ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: tonyang50 ที่ มิถุนายน 15, 2011, 03:57:28 PM
ฮิวมัส (humus)สามารถถูกทำลายได้อย่างไรบ้าง
หมายถึงสภาพแวดล้อมที่ฮิวมัส สามาถอยู่ได้ ;)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vattana ที่ มิถุนายน 29, 2011, 07:39:56 PM
ขอบคุณ ;)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ มิถุนายน 30, 2011, 07:27:58 PM
ฮิวมัสปกติก็จะมีการสลายตัวช้าๆอย่างต่อเนื่องในสภาพแวดล้อมนั้นๆ อย่างดินเปียกแล้วแห้ง การไถพรวน การถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายครับ แต่จะไม่ถูกทำลาย  การที่ฮิวมัสจะถูกทำลายได้จะต้องมีความร้อนสูงมากหรือโดนทำปฏิกริยาด้วยกรดหรือด่างเข้มข้นสูงๆ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Ferkie ที่ กรกฎาคม 15, 2011, 02:06:13 PM
 :-[ :-[ :-[ได้ความรู้มากเลยครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: terdsak ที่ กรกฎาคม 16, 2011, 08:44:59 AM
เคยไปย่านบางขุนไทร  อ. บ้านเเหลม  จ. เพชรบุรี
พื้นที่  ที่ผมไป  เป็น  ทำเล เป็นนาเกลือ  ยากมากๆ  ที่จะเพาะปลูกพืช  เจริญงอกงาม
พืชส่วนใหญ่เป็น เเสม  โกงกาง  ตะบูน  ชะคราม  ที่ขึ้นเขตน้ำกร่อยเเละ  น้ำเค็ม  ชายเลน
เห็นประกาศขาย เป็นไร่   ไม่มีคนมาซื้อสักที  เห็นมองไป  มีเเต่  น้ำเค็มท่วมเป็นเลนตม


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กรกฎาคม 18, 2011, 02:36:16 PM
  เห็นว่าเขาจะถมอ่าวไทยแล้ว ถมเสร็จคงปลูกพืชอื่นได้ แต่เสียดายนะครับ ป่าชายเลนดีๆ  แหล่งอาหารของสัตว์น้ำทะเลคงหมดไป


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: chomnapat ที่ กรกฎาคม 18, 2011, 07:13:35 PM
ดินที่โรงเรียนปลูกพืชไร่ได้ ปลูกต้นไม้ป่าได้ เช่น ไทร  มะค่า  สน มะขามเทศ เป็นต้น  แต่ปลูกพืชบางชนิดไม่ได้  เช่น มะม่วง  ขนุน  มะขาม  ปลูกแล้วจะไม่โต ใบเหลือง  ดินด้านบนจะเป็นดินสีดำ  เวลาแห้งจะแข็งมาก  เวลาชุ่มจะซุยดีเฉพาะด้านบน  แต่ลึกลงไปจะเหนียว  ขุดลงไปลึกๆเป็นลูกรังเล็กๆสีขาวปนอยู่ จะแก้ปัญหาอย่างไรดีคะ  อยากปลูกผลไม้ให้เด็กกินหลายๆ อย่างค่ะ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กรกฎาคม 19, 2011, 07:36:18 PM
   ดินแบบที่ว่าน่าจะเป็นชุดดินลพบุรี    เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด สีดำหรือสีเทาเข้ม ในฤดูแล้งจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างกว่า 1 เซนติเมตร ที่ความลึก 50 เซนติเมตร และรอยแตกนี้จะคงอยู่นานกว่า 90 วัน ในดินชั้นล่างจะพบรอยถูไถและมีก้อนหินปูนสะสมทั่วไป    เป็นดินเหนียวจัด เมื่อแห้งจะแข็งมากแต่พอเปียกน้ำจะแฉะ ถ้าไถพรวน ไม่ถูกวิธีจะทำให้การไถพรวนยากลำบากและทำให้โครงสร้างของดินเสีย มีความเป็นด่างสูง  ดินแบบนี้จะไม่เหมาะต่อการปลูกพืชรากลึกเพราะเมื่อรากลงไปเจอดินปูนที่เป็นด่างจัด ข้างล่าง  ก็จะดูดน้ำดูดอาหารไม่ขึ้น และจะเริ่มยอดเหลือง กิ่งผุหัก ตายลงมาเรื่อยหรือแคระแกรนไม่ออกดอกออกผล
  วิธีการทำให้ดินใช้ปลูกไม้ผลต่างได้ต้องใส่อินทรีย์วัตถุมากๆไม่ว่าขี้หมู ขี้ไก่ ขี้วัว  โดยการขุดหลุมปลูกขนาดใหญ่กว่าปกติ เช่นกว้าง 2 x2x2 เมตร เมื่อขุดแล้วใส่พวกอินทรีย์วัตถุพวก ซังข้าวโพด หญ้าแห้ง   ฟางข้าว  โดยอาจจะทำเป็นบ่อที่ทิ้งขยะจากพืช  ใส่มูลสัตว์ต่างลงไป  ราดด้วยน้ำหมักชีวภาพ  ปล่อยให้หมักย่อยสลายนานเป็นปี สภาพของดินในหลุมก็จะดีขึ้น ความเป็ด่างจะลดลง   จากนั้นค่อยปลูกไม้ผลไม้ที่มีระบบรากไม่ลึกมากได้   


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: chomnapat ที่ กรกฎาคม 19, 2011, 09:48:40 PM
   ดินแบบที่ว่าน่าจะเป็นชุดดินลพบุรี    เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด สีดำหรือสีเทาเข้ม ในฤดูแล้งจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างกว่า 1 เซนติเมตร ที่ความลึก 50 เซนติเมตร และรอยแตกนี้จะคงอยู่นานกว่า 90 วัน ในดินชั้นล่างจะพบรอยถูไถและมีก้อนหินปูนสะสมทั่วไป    เป็นดินเหนียวจัด เมื่อแห้งจะแข็งมากแต่พอเปียกน้ำจะแฉะ ถ้าไถพรวน ไม่ถูกวิธีจะทำให้การไถพรวนยากลำบากและทำให้โครงสร้างของดินเสีย มีความเป็นด่างสูง  ดินแบบนี้จะไม่เหมาะต่อการปลูกพืชรากลึกเพราะเมื่อรากลงไปเจอดินปูนที่เป็นด่างจัด ข้างล่าง  ก็จะดูดน้ำดูดอาหารไม่ขึ้น และจะเริ่มยอดเหลือง กิ่งผุหัก ตายลงมาเรื่อยหรือแคระแกรนไม่ออกดอกออกผล
  วิธีการทำให้ดินใช้ปลูกไม้ผลต่างได้ต้องใส่อินทรีย์วัตถุมากๆไม่ว่าขี้หมู ขี้ไก่ ขี้วัว  โดยการขุดหลุมปลูกขนาดใหญ่กว่าปกติ เช่นกว้าง 2 x2x2 เมตร เมื่อขุดแล้วใส่พวกอินทรีย์วัตถุพวก ซังข้าวโพด หญ้าแห้ง   ฟางข้าว  โดยอาจจะทำเป็นบ่อที่ทิ้งขยะจากพืช  ใส่มูลสัตว์ต่างลงไป  ราดด้วยน้ำหมักชีวภาพ  ปล่อยให้หมักย่อยสลายนานเป็นปี สภาพของดินในหลุมก็จะดีขึ้น ความเป็ด่างจะลดลง   จากนั้นค่อยปลูกไม้ผลไม้ที่มีระบบรากไม่ลึกมากได้   
ขอบคุณค่ะ  พอดีได้ให้คนขุดหลุุมแล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์  แต่ลึกแค่ 80x80x80 ซม. เองค่ะ แต่ก็จะลองปลูกขนุนดู  และถ้าเป็นหลุ่มที่ฝังขยะพวกพลาสติก รวมกับซากพืชซากสัตว์ แล้วราดด้วยน้ำหมัก ไม่ต้องเป็นพืชหรือมูลสัตว์ทั้งหมดจะได้ไหมคะ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กรกฎาคม 20, 2011, 07:01:19 AM
   ขอบคุณค่ะ  พอดีได้ให้คนขุดหลุุมแล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์  แต่ลึกแค่ 80x80x80 ซม. เองค่ะ แต่ก็จะลองปลูกขนุนดู  และถ้าเป็นหลุ่มที่ฝังขยะพวกพลาสติก รวมกับซากพืชซากสัตว์ แล้วราดด้วยน้ำหมัก ไม่ต้องเป็นพืชหรือมูลสัตว์ทั้งหมดจะได้ไหมคะ
   หลุมเล็กไปครับ   หลุมขนาดที่ว่าต้องใหญ่ เพราะพืชอย่างขนุนมีระบบรากลึก เวลามันโตขึ้น รากไปเจอดินปูนก็จะดูดน้ำ อาหารไม่ขึ้นก็จะแคระแกรน แต่สำหรับเศษไม้ พลาสติกอื่นปนไปบ้างก็ไม่มีปัญหา


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: jobrard ที่ กรกฎาคม 20, 2011, 04:34:45 PM
 ;)  ขออนุญาต Save เก็บไว้เป็น PDF นะครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

.
.
.


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: chomnapat ที่ กรกฎาคม 24, 2011, 05:36:47 PM
   ดินแบบที่ว่าน่าจะเป็นชุดดินลพบุรี    เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด สีดำหรือสีเทาเข้ม ในฤดูแล้งจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างกว่า 1 เซนติเมตร ที่ความลึก 50 เซนติเมตร และรอยแตกนี้จะคงอยู่นานกว่า 90 วัน ในดินชั้นล่างจะพบรอยถูไถและมีก้อนหินปูนสะสมทั่วไป    เป็นดินเหนียวจัด เมื่อแห้งจะแข็งมากแต่พอเปียกน้ำจะแฉะ ถ้าไถพรวน ไม่ถูกวิธีจะทำให้การไถพรวนยากลำบากและทำให้โครงสร้างของดินเสีย มีความเป็นด่างสูง  ดินแบบนี้จะไม่เหมาะต่อการปลูกพืชรากลึกเพราะเมื่อรากลงไปเจอดินปูนที่เป็นด่างจัด ข้างล่าง  ก็จะดูดน้ำดูดอาหารไม่ขึ้น และจะเริ่มยอดเหลือง กิ่งผุหัก ตายลงมาเรื่อยหรือแคระแกรนไม่ออกดอกออกผล
  วิธีการทำให้ดินใช้ปลูกไม้ผลต่างได้ต้องใส่อินทรีย์วัตถุมากๆไม่ว่าขี้หมู ขี้ไก่ ขี้วัว  โดยการขุดหลุมปลูกขนาดใหญ่กว่าปกติ เช่นกว้าง 2 x2x2 เมตร เมื่อขุดแล้วใส่พวกอินทรีย์วัตถุพวก ซังข้าวโพด หญ้าแห้ง   ฟางข้าว  โดยอาจจะทำเป็นบ่อที่ทิ้งขยะจากพืช  ใส่มูลสัตว์ต่างลงไป  ราดด้วยน้ำหมักชีวภาพ  ปล่อยให้หมักย่อยสลายนานเป็นปี สภาพของดินในหลุมก็จะดีขึ้น ความเป็ด่างจะลดลง   จากนั้นค่อยปลูกไม้ผลไม้ที่มีระบบรากไม่ลึกมากได้   
โครงสร้างของดินเสีย หมายความว่าอย่างไรคะ และจะมีผลอย่างไร


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กรกฎาคม 25, 2011, 07:44:17 AM
       โครงสร้างของดิน เป็นสมบัติของดินที่เกิดขึ้นจากการเกาะจับกันของอนุภาคที่เป็นของแข็งในดิน (ส่วนที่เป็นแร่ธาตุหรืออนินทรียสารและอินทรียวัตถุ) เกิดเป็นเม็ดดินหรือเป็นก้อนดินที่มีขนาด รูปร่าง และความคงทนแข็งแรงในการยึดตัวต่างๆกัน โครงสร้างของดินมีผลต่อการซึมผ่านของน้ำที่ผิวดิน การอุ้มน้ำ ระบายน้ำ และการถ่ายเทอากาศในดิน รวมถึงการแพร่กระจายของรากพืชด้วย
       โครงสร้างดิน เป็นสมบัติที่เปลี่ยนแปลงสภาพได้ง่าย ในดินที่มีการใช้ปลูกพืชมานาน โครงสร้างดินย่อมเสื่อมลง เนื่องมาจากปริมาณอินทรียวัตถุในดินที่ลดลงทำให้ดินซึ่งเดิมมีโครงสร้างที่ดีขาดตัวยึดเกาะจึงแตกสลายไป  หรือเกิดความแน่นทึบ เนื่องจากการไถพรวนบ่อยๆ เกินไปทำให้โครงสร้างของดินถูกทำลาย คังเช่นที่เกิดเป็นชั้นดานของดินทำให้น้ำไม่ซึมลงสู่ดินชั้นล่าง หรือเกิดหน้าดินแข็ง


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: liver_555 ที่ กรกฎาคม 25, 2011, 08:55:40 PM
ขอถามพี่วุฒิครับว่าเราจะทราบเองได้ยังไงว่าดินของเรามี N P K อยู่เท่าไร
มีวิธีตรวจสภาพดินเองไหมครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กรกฎาคม 26, 2011, 09:55:25 AM
  ชุดตรวจสอบดินไปหาซื้อได้ที่ภาควิชาปฐพีวิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งมีขายพร้อม cd ปุ๋ยสั่งตัดครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: liver_555 ที่ กรกฎาคม 26, 2011, 05:22:23 PM
ขอบคุณมากครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กรกฎาคม 29, 2011, 07:32:51 AM
  เราสามารถปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมาดีได้ด้วยการใส่อินทรีย์วัตถุอย่างต่อเนื่องหรือปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเป็ระยะๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการจับตัวกันเป็นเม็ดดินถ้าดินชั้นล่างเกิดเป็นดินดานก็อาจจะไถระเบิดดินดานก่อนใส่ปุ๋นอินทรีย์ต่างๆ  สำหรับในพื้นที่ซึ่งมีการกัดเซาะ ชะล้างดินรุนแรงก็ควรมีพืชคลุมดินหรือปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวกันการกัดเซาะจะทำให้โครงสร้างของดินไม่เสียได้โดยง่าย
   ดินหลายชนิดได้ชื่อว่าเป็นดินไม่มีโครงสร้าง เช่น     ดินทรายไม่มีการเกาะกันเป็นโครงสร้าง จึงไม่มีสมบัติทางด้านการอุ้มน้ำที่ดี เมื่อฝนตกดินอุ้มน้ำได้น้อยจึงเกิดสภาพแห้งแล้งได้ง่าย พืชที่ปลูกจะขาดน้ำง่าย   
   


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: นายพล ที่ สิงหาคม 11, 2011, 06:56:28 AM
ขอบคุณครับน้า แจ่มมากๆ :) :) :)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: golfpyy ที่ สิงหาคม 11, 2011, 04:58:39 PM
ได้ความรู้ดีมากๆ ครับ รอฟังต่อไป  :)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Phon_17 ที่ สิงหาคม 28, 2011, 08:42:07 PM
ขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านเลยนะครับที่มาร่วมตอบข้องสงสัย ให้ทุกคนได้ความรู้มากมายเลยครับ ขอบคุณจากใจเลยครับผม.


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: josave69 ที่ สิงหาคม 29, 2011, 06:48:20 AM
กระทู้นี้ดีต้องเก็บ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ สิงหาคม 29, 2011, 10:28:58 PM
       เมื่อมีการปลูกพืชลงบนดิน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน เนื่องจากในขณะที่พืชมีการเจริญเติบโต พืชจะดูดดึงธาตุอาหารในดินไปใช้และเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ได้แก่ ใบ ลำต้น ดอก ผล จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกไปจากพื้นที่ ธาตุอาหารที่สะสมอยู่เหล่านั้นย่อมถูกนำออกไปจากพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ธาตุอาหารบางส่วนยังเกิดการสูญหายไปในรูปก๊าซ ถูกดินหรือสารประกอบในดินจับยึดไว้ บางส่วนถูกชะล้างออกไปจากบริเวณรากพืช หรือสูญเสียไปกับการชะล้างพังทลายของดิน

       ดังนั้นการเพาะปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน โดยไม่มีการเติมธาตุอาหารลงไปในดิน ย่อมทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง และในที่สุดดินจะกลายเป็นดินเลวปลูกพืชไม่เจริญเติบโตอีกต่อไป ในการปลูกพืชจึงต้องมีการใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดิน ช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชและคงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้อยู่เสมอ
       ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อย หรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช
       การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่หลายๆ ครั้งต่อปีธาตุอาหารบางอย่าง เช่น  ไนโตรเจน  เมื่อให้ลง ไปในดินแล้วจะไหลซึมได้ง่าย  ถ้าเราให้ในปริมาณมากๆ ในครั้งเดียวพืชจะเอาไปใช้ไม่ทัน และธาตุอาหารอื่นๆ ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน กล่าวคือ    พืชจะทยอยใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การใส่ปุ๋ยจึงควรแบ่งใส่ ๒-๓ ครั้ง หรือมากกว่าต่อปี  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอายุของต้นไม้ด้วยไม้ผลที่ยังเล็กอยู่ควรแบ่งใส่หลายๆ ครั้ง  เพราะระบบรากยังไม่แข็งแรงพอ ไม้ผลที่โตแล้วมักแบ่งใส่เป็น ๓ ครั้งต่อปี  เช่น ครั้งแรกให้ก่อนหรือต้นฤดูฝน ครั้งที่สองให้ตอนปลายฤดูฝน และอีกครั้งหนึ่งตอนก่อนออกดอก  หรือหลังเก็บเกี่ยวผลแล้วอย่างไรก็ดีควรพิจารณาสภาพท้องที่ และชนิดของไม้ผลประกอบด้วย
       


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: flycatcher_xiii ที่ กรกฎาคม 25, 2012, 04:14:34 PM
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ  ;D


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กรกฎาคม 28, 2012, 03:29:16 AM
ปริมาณ  N  P  K  ในปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ
 (http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/npk_table.jpg)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กันยายน 21, 2012, 01:49:47 PM
 ดินที่เราเหยียบย่ำอยู่ในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันออกไป สิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีของดิน ซึ่งมีทั้ง สีดำ สีน้ำตาล สีแดง หรือสีเหลือง เป็นต้น หรือลักษณะของเนื้อดินที่มีความหยาบ-ละเอียด แข็ง-นุ่ม แตกต่างกัน ซึ่งความต่างเหล่านี้เป็นผลมาจากปัจจัยและกระบวนการเกิดดินที่แตกต่างกัน
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/s_color3_zps1039a761.gif)
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/s_color6_zps8df25f84.gif)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กันยายน 21, 2012, 02:04:33 PM
ดินทรายเป็นเนื้อดินที่มีอนุภาคขนาดทราย เป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ 85 โดยอนุภาคจะเกาะตัวกันหลวมๆ และมองเห็นเป็นเม็ดเดี่ยวๆ ได้ ปกติดินทรายเป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก แต่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ น้ำซึมผ่านได้อย่างรวดเร็ว มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารพืชน้อย พืชที่ขึ้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งธาตุอาหารและน้ำ
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/sand_zpsfe3f924b.gif)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กันยายน 21, 2012, 02:07:00 PM
ดินร่วนเป็นดินที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก เพราะไถพรวนง่าย มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี และมักจะมีความอุดมสมบูรณ์ดี
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/soil8_zps5cd3687a.gif)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กันยายน 21, 2012, 02:09:12 PM
ดินเหนียวเป็นเนื้อดินที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไป เป็นดินที่มีเนื้อละเอียด
ในสภาพดินแห้งจะเกาะตัวกันเป็นก้อนแข็ง เมื่อเปียกน้ำแล้วจะมีความยืดหยุ่น สามารถปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ ลักษณะเหนียวติดมือ มีทั้งที่ระบายน้ำและอากาศดีและไม่ดี สามารถอุ้มน้ำ ดูดซับและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ดี บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวจัดจะไถพรวนลำบาก เพราะเมื่อดินแห้งจะแข็งมาก แต่เมื่อเปียกดินจะเหนียวติดเครื่องมือไถพรวน
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/clay2_zps7cae8337.gif)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กันยายน 21, 2012, 02:12:41 PM
สีของดิน..เป็นสมบัติของดินที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าสมบัติอื่นๆ จากสีของดิน เราสามารถที่จะประเมินสมบัติบางอย่างของดินที่เกี่ยวข้องได้ เช่น การระบายน้ำของดิน อินทรียวัตถุในดิน ระดับความความอุดมสมบูรณ์ของดิน.


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กันยายน 21, 2012, 02:14:52 PM
ดินสีดำ สีน้ำตาลเข้มหรือสีคล้ำ ส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เนื่องจากมีการคลุกเคล้าด้วยอินทรียวัตถุมาก โดยเฉพาะดินชั้นบน แต่บางกรณี สีคล้ำของดิน อาจจะเป็นผลมาจากอิทธิพลของปัจจัยที่ควบคุมการเกิดดินอื่นๆ นอกเหนือไปจากการมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินมากก็ได้ เช่น ดินที่พัฒนามาจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่ผุพังสลายตัวมาจากหินที่ประกอบด้วยแร่ที่มีสีเข้ม เช่น หินภูเขาไฟ และมีระยะเวลาการพัฒนาไม่นาน หรือดินมีแร่แมงกานีสสูง ก็จะให้ดินที่มีสีคล้ำได้เช่นกัน
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/Wa_s_zps85d59854.gif)
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/Bm_s_zps266b7772.gif)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กันยายน 21, 2012, 02:18:52 PM
ดินสีเหลืองหรือแดง  เป็นดินที่มีการระบายน้ำดี แต่มักจะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินสีเหลืองแสดงว่าดินมีออกไซด์ของเหล็กที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ ส่วนดินสีแดงจะเป็นดินที่ออกไซด์ของเหล็กหรืออลูมิเนียมไม่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/Ba_s_zps87468b5c.gif)
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/Td_s_zps80bdf5a2.gif)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ กันยายน 21, 2012, 02:21:29 PM
    ดินสีขาวหรือสีเทาอ่อน าเป็นดินที่เกิดมาจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกที่สลายตัวมาจากหินที่มีแร่สีจาง เป็นองค์ประกอบอยู่มาก เช่น หินแกรนิต หรือหินทรายบางชนิด หรืออาจจะเป็นดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างอย่างรุนแรง จนธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชถูกซึมชะออกไปจนหมด หรือมีสีอ่อนเนื่องจากมีการสะสมปูน ยิปซัม หรือเกลือชนิดต่างๆ ในหน้าตัดดินมากก็ได้ ซึ่งดินเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/Bh_s_zps785acaaa.gif)
(http://i1072.photobucket.com/albums/w373/wti98/Sh_s_zps0d88840b.gif)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: mookmoo ที่ กันยายน 21, 2012, 03:59:22 PM
เป็นประโยนช์มากเลยครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นขอบคุณครับ  :-[ :-[


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ ตุลาคม 26, 2012, 08:32:59 PM
หน่วยงานที่รับวิเคราะห์ดิน น้ำ และปุ๋ย มีดังนี้
 1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
 http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/clgc-services/s-soils
  2.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 http://ser.wu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2&Itemid=37
  3.  บริษัทห้องปฎิบัติการกลาง จำกัด
 http://www.centrallabthai.com/web/th/main/contact.php
  4.กรมพัฒนาที่ดิน
  http://osd101.ldd.go.th/
  5.กรมวิชาการเกษตร
   http://www.doa.go.th/apsrdo/
  6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
   http://www.soiltest-ku.agr.ku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=15:2010-02-25-07-32-20&catid=3:service-fee&Itemid=3
   7. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8  กรมวิชาการเกษตร
   http://www.doa.go.th/oard5/07analy_serv/analysis-01.html
   8. ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป
   http://www.ilab.asia/ilab/iLab.html
   9. คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  http://ag.kku.ac.th/Land/service.html
   10. ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์กลาง
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     http://natres.psu.ac.th/CC-LAB/index.htm
   11.Eucalyptus Technology Co.,ltd (Eu-Tech)Mobile:085-8353437
     


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Kittichet ที่ พฤศจิกายน 02, 2012, 05:45:04 PM
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีมากเลยครับ  คุณวุฒิ จบ soil หรือปล่าวครับ ผมก็จบ Soil 46 แต่ไม่เคยทำเกษตรเลย
ทำทางโรงงานอุตสาหกรรม ตอนนี้เริ่มทดลองทำเกษตรก็มาน้ำท่วม ที่ ศาลาลำดวน สระแก้ว นะครับ 
คือผมมีเรื่องอยากสอบถาม ว่า เรื่องน้ำหมักชีวภาพเนี่ย น่าจะเกี่ยวกับ Soil Micro. ไหมครับ ตอนเรียนไม่ได้สนใจ
แต่ตอนนี้ ถ้าใช่ผมสนใจ แต่ไม่รู้จะหาตำรา หรือเอกสารอ่านที่ไหนนะครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ ผมลองหาแล้วไม่เคยเจอเลย
ขอบคุณมากครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Noppavong ที่ พฤศจิกายน 02, 2012, 06:30:07 PM
มาศึกษาด้วยคนครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ พฤศจิกายน 19, 2012, 03:24:31 PM
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีมากเลยครับ  คุณวุฒิ จบ soil หรือปล่าวครับ ผมก็จบ Soil 46 แต่ไม่เคยทำเกษตรเลย
ทำทางโรงงานอุตสาหกรรม ตอนนี้เริ่มทดลองทำเกษตรก็มาน้ำท่วม ที่ ศาลาลำดวน สระแก้ว นะครับ 
คือผมมีเรื่องอยากสอบถาม ว่า เรื่องน้ำหมักชีวภาพเนี่ย น่าจะเกี่ยวกับ Soil Micro. ไหมครับ ตอนเรียนไม่ได้สนใจ
แต่ตอนนี้ ถ้าใช่ผมสนใจ แต่ไม่รู้จะหาตำรา หรือเอกสารอ่านที่ไหนนะครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ ผมลองหาแล้วไม่เคยเจอเลย
ขอบคุณมากครับ

 ผมจบ  ป. โทปฐพีวิทยาครับ  จากบางเขน เรื่อง  จุลินทรีย์นั้นเดี๋ยวนี้มีบทบาทมากในวงการเกษตร เนื่องจากผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น น้ำหมักชีวภาพก็เป็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา พร้อมๆกับการผลิตฮอร์โมนส์บางตัวออกมากระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ในเวบนี้มีผู้ที่เรียน Soil  โพสเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพหลายคนลองตามเข้าไปดูครับ
 http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=65928.0 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=65928.0)
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=72361.0 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=72361.0)
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=8106.0 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=8106.0)
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=292.0 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=292.0)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: tri ที่ มกราคม 18, 2013, 08:26:22 AM
ขอศึกษาด้วยคนนะครับ ;) ;)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: chaiya8889 ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 05:17:47 AM
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ เป็นความรู้ที่ประโยชย์ยิ่งสำหรับการทำเกษตร


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: sluddai ที่ มีนาคม 23, 2013, 08:51:21 AM
ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ ที่เผยแพร่ความรู้ดีๆ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ มีนาคม 26, 2013, 11:18:07 AM
                                                          ฮิวมัส (humus)
 ฮิวมัสหมายถึงอินทรีย์วัตถุใดๆก็ได้ที่เข้าสู่สภาวะเสถียรอยู่ตัวและจะไม่แตกตัวต่อไปอีก ถ้าสภาวะไม่เปลี่ยนแปลง จะยังคงสภาพเช่นนั้นตลอดไปเป็นร้อยๆปีทำให้ดินมีสีน้ำตาลหรือดำเนื่องจากมีปริมาณธาตุคาร์บอนในรูปของสารอินทรีนย์ในปริมาณที่สูงมาก
   กระบวนการเกิดฮิวมัสสามารถเกิดตามธรรมชาติในดินหรือในการผลิตปุ๋ยหมักก็ได้  ฮิวมัสที่เสถียรตามคุณสมบัติทางเคมี เชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญในความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งในด้านฟิสิคซ์และเคมี แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจะมุ่งประเด็นส่วนใหญ่ไปในด้านการเป็นอาหารให้แก่พืชก็ตาม  โดยทางกายภาพแล้วฮิวมัสช่วยให้ดินยังคงความชื้นและช่วยให้มีการก่อตัวของโครงสร้างดินที่ดี  ทางด้านเคมี ฮิวมัสมีแหล่งสารออกฤทธิ์ซึ่งสามารถผนวกกับไอออนของธาตุอาหารพืชทำให้กลายเป็นธาตุอาหารพร้อมใช้ได้มากขึ้น ฮิวมัสจึงมักถูกเรียกว่าเป็นพลังชีวิตของดิน ถึงกระนั้นก็ดียังเป็นเรื่องยากที่จะให้นิยามที่ชัดเจนแก่คำว่าฮิวมัสนี้ได้  เนื่องจากเป็นสารที่มีความซับซ้อนสูง ธรรมชาติที่แท้จริงของสารนี้จึงยังคงเป็นเรื่องที่ยังไม่อาจเข้าใจได้อย่างถ่องแท้  ในทางกายภาพฮิวมัสแตกต่างจากอินทรีย์วัตถุตรงที่อินทรีย์วัตถุเป็นสารที่มีลักษณะภายนอกหยาบ และมีเศษซากพืชให้ สังเกตเห็นได้  แต่เมื่อผ่านกระบวนการเกิดฮิวมัสอย่างเต็มที่แล้วก็จะกลายเป็นฮิวมัส สารที่มีรูปแบบอย่างเดียวกันมากขึ้น (เป็นสารสีเข้ม นุ่มคล้ายฟองน้ำ อ่อนตัวคล้ายวุ้น) และมีโครงสร้างไร้รูปแบบที่แน่นอน
 ซากพืช(รวมทั้งที่ถูกสัตว์กินเข้าไปและถ่ายออกมาในรูปของมูลสัตว์ด้วย)จะประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ต่างๆดังนี้:  น้ำตาล  แป้ง โปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  ลิกนิน(lignins)  ขี้ผึ้ง(waxes)  ยางไม้(resins) ไขมัน และกรดอินทรีย์ต่างๆ กระบวนการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ในดินจะเริ่มด้วยการย่อยสลายของน้ำตาลและแป้งจากคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นการย่อยอย่างง่ายๆด้วยจุลินทรีย์(Saprothrophs)ชนิดที่ดำรงชีพ อยู่บนซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วเท่านั้น ส่วนเซลลูโลซ(cellulose) จะแตกตัวอย่างช้าๆมาก โปรตีนจะถูกย่อยสลายไปเป็นกรดอะมิโน(amino acid)ตามอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N ratio)ที่มีอยู่ ณ ที่นั้น   ส่วนกรดอินทรีย์หลายชนิดจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว  ในขณะที่ไขมัน ขี้ผึ้ง  เรซินหรือยางไม้และลิกนินจะยังคงสภาพไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลาที่ยาวนานกว่า
   ปุ๋ยหมักที่พร้อมจะย่อยสลายต่อไปได้อีกบางครั้งก็ถูกจัดว่าเป็นฮิวมัสที่มีประสิทธิภาพหรือสามารถออกฤทธิ์ได้แม้ว่ามันยังไม่เสถียร  ปุ๋ยหมักโดยหลักการแล้วมีที่มาจากน้ำตาล  แป้ง และโปรตีนและประกอบขึ้นด้วยกรดอินทรีย์ง่ายๆคือกรดฟุลวิค (Fulvic acid)  ส่วนฮิวมัสที่เสถียรประกอบด้วยกรดฮิวมิค( humic acids)และฮิวมิน(humins) หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นสารที่ละลายได้ยากจึงมีความต้านทานต่อการย่อยสลายในลำดับขั้นต่อๆไป ดังนั้นฮิวมัสที่เสถียรแล้วจึงเป็นตัวเพิ่มธาตุอาหารจำนวนเล็กน้อยให้แก่ดินแต่มีบทบาทสำคัญในการรักษโครงสร้างทางกายภาพของดิน ฮิวมัสเชิงซ้อนบางตัวที่เสถียรมากๆสามารถคงสภาพอยู่ได้นับพันๆปี ฮิวมัสที่เสถียรมักมีแหล่งกำเหนิดมาจากวัสดุที่เกิดจากพืชไม้เนื้อแข็งเช่น เซลลูโลส(cellulose)และลิกนิน(lignin)  สัตว์ที่ช่วยเพิ่มเนื้อดินโดยทำหน้าที่ย่อยพืชที่กินเข้าไปแล้วแปรสภาพไปเป็นอินทรีย์วัตถุในลำไส้นั้นก็จัดเป็นตัวการสำคัญในการก่อฮิวมัสโดยทำงานร่วมกับราและแบคทีเรีย: ฮิวมัสส่วนใหญ่ในดินได้แก่มูลสัตว์ซึ่งอาจมีสีเข้มหรือจางเป็นไปตามปริมาณของอินทรีย์วัตถุที่มี
                                                 ประโยชน์ของฮิวมัส
 
1. อิวมัสทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารเพื่อการดำรงชีพต่อไปของจุลินทรีย์  ประสิทธิภาพของฮิวมัสคือการเป็นอาหารพร้อมใช้ ส่วนความเสถียรของฮิวมัสคือการเป็นแหล่งอาหารสำรองระยะยาว

2. การเกิดฮิวมัสจากวัสดุที่ได้จากพืชที่ตายแล้วทำให้สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนที่เกิดขึ้นถูกย่อยสลายหรือแตกตัวไปเป็นสารอินทรีย์พร้อมใช้ในรูปแบบที่ง่ายต่อการดูดซึมผ่านรากพืชที่กำลังจะเจริญเติบโต

3. ฮิวมัสเป็นสารประเภทคอลลอยจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแลกเปลี่ยนไอออนที่มีประจุบวก(Cation)จึงทำให้ไอออนดังกล่าวมีความสามารถในการเก็บอาหารโดยวิธียึดธาตุอาหารติดไว้กับตัวมันเช่นเดียวกับที่อณุภาคของดินเหนียวจะพึงกระทำ ดังนั้นในขณะที่พวกไอออนประจุบวกที่มีธาตุอาหารเหล่านี้หาทางเข้าสู่พืชได้ก็จะยังสามารถอยู่ในดินได้อย่างปลอดภัยจากการชะล้างด้วยน้า

4. ฮิวมัสสามารถรักษาคุณสมบัติให้มีความชื้นคงที่อยู่ที่80-90% ได้ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มศักย์ภาพให้ทนต่อสภาวะแห้งแล้งได้

5. ด้วยโครงสร้างทางชีวะเคมีทำให้ฮิวมัสสามารถรักษาความเป็นกลาง---หรือเป็นตัวกันชน(buffer)---ช่วยลดความเป็นกรดด่างที่มากเกินในดินได้

6. ระหว่างที่มีการเกิดฮิวมัส จุลินทรีย์ จะหลั่งสารที่มีลักษณะเป็นยางเหนียวซึ่งช่วยให้โครงสร้างของดินที่กระจายตัวยึดอนุภาคต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ดินร่วนและโปร่งอากาศ สารพิษเช่นธาตุโลหะหนักต่างๆ และธาตุอาหารที่มากเกินใช้ของพืชจะถูกกันไม่ให้เกิดพิษร้ายหรือออกฤทธิ์ได้โดยวิธีผนวกเข้ากับโมเลกุลสารอินทรีย์เชิงซ้อนของฮิวมัสและขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันไม่ให้สารดังกล่าวแพร่เข้าสู่ระบบนิเวศที่กว้างออกไปกว่าเดิม




หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Chap ที่ มีนาคม 28, 2013, 09:14:35 AM
ได้ความรู้เรื่องดินและปุ๋ย ขึ้นเยอะเลยทีเดียว ขอบคุณครับ 


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: วังสมบูรณ์ ที่ เมษายน 26, 2014, 07:28:24 PM
ความรู้ดีๆ ช่วยยกครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: andrew ที่ พฤษภาคม 29, 2014, 03:24:18 PM
เนื้อหาเป็นเชิงวิชาการดีมาก ๆ เลยค่ะ  :-[ ขอบคุณนะคะที่มาแบ่งกันความรู้


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: princemaple ที่ มิถุนายน 11, 2014, 09:50:40 PM
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ  ;D


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: NaiKhaowhom ที่ กรกฎาคม 02, 2014, 03:48:00 PM
 มีประโยชน์มากสำหรับเกษตรมือใหม่อย่างผม..ขอบคุณจขกท.ที่มาแบ่งปันความรู้ให้ชาวกพพ.ครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: somjade ที่ กรกฎาคม 30, 2014, 10:25:52 PM
ขอเรียนถามเกี่ยวกับปุ๋ย่โฆษณาทางเคเบิลฃบิลทีวีเป็นปุ๋ยแคปซูลนาโนมาผสมน้ำฉีดพ่นใบต้น ๑ แค๊ปซูลเทียบกับปุ๋ยสูตรเป็นกระสอบเลย
ว่าความน่าเชื่อถือ
ถ้าไม่เป็นผลดังว่าทำไม่ปล่อยโฆษณากันหลายช่องนะครับชักชวนกันเหลือเกินจนผมนี้เคลิ้มเลย
ขอบพระคุณครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: chorgroup ที่ ตุลาคม 09, 2014, 02:34:02 PM
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: vud ที่ ตุลาคม 17, 2014, 02:49:27 PM
สารนาโนพวกนี้หลบกฎหมายครับ ไม่ใช้คำว่าปุ๋ยโดยตรง   มีสารอาหารพืชไม่มากอย่างที่โฆษณา  ทางกรมฯกำลังหาทางดำเนินการอยู่ครับ อาจจพต้องใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจัดการ


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: lovemomdadforever ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2019, 10:56:18 PM
“...อ.ธงชนะ พรหมมิ (ปรมาจารย์ผัก)...”

“...ปัญหาของเกษตรกร มีอยู่ 3 เรื่อง ใหญ่ ๆๆๆ คือ 1. ดินแข็งมาก 2. ดินเหนียวมาก 3. หญ้าขึ้นเยอะมาก...”
“...ดินแข็ง เกิดจาก ดินที่แห้งจัด ดินเหนียว เกิดจาก ดินที่เปียกจัด แล้วเราก็ขุดตอนเปียก ๆ พอมันแห้งจัด มันก็แข็งเหมือนเดิม...”
“...ถ้า ดินแข็ง แล้วเรารดน้ำให้เปียก แล้วเราอย่าเพิ่งไปแตะ รอให้เหลือแค่ความชื้น พอเหลือแค่ความชื้น แล้วเราตีดินให้แตก ดินจะร่วนซุยทันที...”
“...หญ้า เราต้องนำหญ้ามาใส่ในดิน เป็นการทำปุ๋ยพืชสดในดิน ถ้าเราทำอย่างนี้ ต่อไปเราก็ไม่จำเป็นต้องถอนหญ้า เพราะ หญ้าจะไม่ออกดอก ดังนั้น ให้ตัดหญ้า แล้วตีหญ้าลงไปในดิน...”
“...ปลูกพืช (ครั้งแรก) ดินค่อนข้างแย่ ต้องใช้ปุ๋ยเยอะ แต่เรามีปุ๋ยน้อย เราก็รอให้หญ้าขึ้นเยอะ ๆๆๆ ก่อน พอมีผักขึ้นมา เราถอนแต่ผัก เราไม่ถอนหญ้า แล้วเราก็ตัดหญ้า แล้วเราก็ตีดิน ฝังหญ้าลงไป...”
“...ปลูกพืช (ครั้งหลัง) เรารับประกัน 100 เปอร์เซนต์ เลยว่า พืชของเรา ยังไงก็งาม เพราะ ดินของเรา เริ่มฟู เริ่มร่วนซุย เพราะมี ไนโตรเจน จากหญ้า...”

อ.ธงชนะ พรหมมิ เกษตรอินทรีย์เป็นทางรอดของเกษตรกรจริงหรือไม่
https://youtu.be/4J9X0WTgHEo

สวนอุทยาน ธงชนะ พรหมมิ ตอนที่ 01
https://youtu.be/SUnuicNQyQ8
สวนอุทยาน ธงชนะ พรหมมิ ตอนที่ 02
https://youtu.be/BS-9z43T6Qc
สวนอุทยาน ธงชนะ พรหมมิ ตอนที่ 03
https://youtu.be/KH88cMwNQw8
สวนอุทยาน ธงชนะ พรหมมิ ตอนที่ 04
https://youtu.be/oAVtna1ivBk
สวนอุทยาน ธงชนะ พรหมมิ ตอนที่ 05
https://youtu.be/tMl9ecBiwCw

คนค้นฅน ธงชนะ ปรมาจารย์ผัก ตอนที่ 01
https://youtu.be/ye7mqE5bGiA
คนค้นฅน ธงชนะ ปรมาจารย์ผัก ตอนที่ 02
https://youtu.be/yQ-4LfSQPUE
คนค้นฅน ธงชนะ ปรมาจารย์ผัก ตอนที่ 03
https://youtu.be/NDspiTuzcSY
คนค้นฅน ธงชนะ ปรมาจารย์ผัก ตอนที่ 04
https://youtu.be/ZHzQmM9z5zs


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: นายเติมใจ ที่ เมษายน 24, 2019, 01:53:06 PM
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ  ;) ;) ;)


หัวข้อ: Re: มารู้จักดินและปุ๋ยกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: hamhoho ที่ พฤษภาคม 15, 2019, 10:26:52 AM
ขอบพระคุณสำหรับความรู้ค่ะ