เกษตรพอเพียง.คอม

เว็บบอร์ดเกษตรพอเพียง => มุมสมาชิก => ข้อความที่เริ่มโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 09:55:33 AM



หัวข้อ: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 09:55:33 AM
วัตถุประสงค์ส่วนรวมของกระทู้นี้คือ
- บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนาสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ตั้งแต่เริ่มต้น...จะเขียนจะบันทึกไปเรื่อยๆ จนกว่าเว็บเขาจะไม่ให้เขียน 555

วัตถุประสงค์ส่วนตัวคือ
- เป็นบันทึกให้ลูกชาย วันหนึ่งที่เขาเติบโตมีโอกาสตัดสินใจว่า จะรับมรดกนี้ต่อ หรือจะขาย ก็สุดแล้วแต่ความต้องการของเขา วันนั้นเป็นวันของเขา ไม่ใช่วันของเรา ... แต่บันทึกนี้จะเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้ความเป็นมา ทั้งหมดไม่ว่ามันจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ตาม


ใครขี้เกียจอ่านตั้งแต่แรก สามารถเลือกดูเนื้อหาได้ตามสารบัญนะครับ

สารบัญ

แผนที่ความคิด - จุดเริ่มต้นทำไมถึงอยากทำการเกษตร ตัวอย่างการวางแผน Cashflow (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.0)
หลักคิดแนวทางการลงทุน จะปลูกอะไรดี 1 ไร่ได้ 1 ล้าน (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.16)
แนวคิดการปรับปรุงดิน การซื้อที่ดิน การใช้ปุ๋ย การเตรียมตัวเป็นเกษตรกร การคำนวณเลือกซื้อปั้มน้ำบาดาล (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.32)
การวางระบบน้ำเพื่อการเกษตร แผนการจ่ายน้ำ เรื่องท่อและอุปกรณ์น้ำ ประสบการณ์ส่งดินไปตรวจ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.48)
แนวคิดการเลือกซื้อปั้มน้ำ การคำนวณ Head loss ในระบบน้ำ แนวคิดการเลือกระบบไฟฟ้า การเลือกปลูกพืชเพื่อสร้างรายได้ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.64)
ปัญหาธุรกิจหลอก(หรือไม่หลอก) ขายพันธุ์พืช ที่ผมเกือบโดน (แต่เพื่อนโดนไปแล้ว) (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.80)
ประสบการณ์ปั้มพ่นยา 3 สูบ ครั้งแรก เลือกเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ การคำนวณความลาดชัน ความสูงของที่ดิน (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.96)
การปลูกมะนาว แบบไถยกร่อง ในภาคอีสาน หลักคิดการเลือกพันธุ์มะนาว (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.128)
แนวคิดการวางระบบน้ำ เพื่อจ่ายรดต้นไม้ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.144)
การอ่านผลตรวจดิน แนวทางการแก้ปัญหาปรับปรุงดิน  ประสบการณ์เดินสายไฟฟ้าพร้อมเสาในที่ดิน (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.160)
ประสบการณ์ติดตั้งระบบกรองน้ำการเกษตร ตัวอย่างการเดินท่อ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.176)
ประสบการณ์ตรงในการเป็นช่างไฟฟ้า ช่างประปาในสวน ขอบ่นบทเรียนเรื่องคน (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.192)
เปลี่ยนแผนกระดาษเป็นลงมือทำ การวางระบบน้ำหยดฉบับลงมือจริง การลงปลูกมะนาวจริง การเพาะเชื้อไตรโคเดอร์ม่า (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.208)
วิธีการตัดแต่งทรงพุ่ม แบบครูพักลักจำ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.272)
บทสรุป บทเรียน การบริหารจัดการน้ำ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.288)
เรื่องแคงเกอร์ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.304)
ระบบจ่ายปุ๋ยทางน้ำ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.320)
สรุปประสบการณ์การทำเกษตร 1 ปี (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.336)
เปลี่ยนหัวน้ำหยด...เพราะควบคุมได้ แต่ไม่ง่ายเลย (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg2931716#msg2931716)
ตอนกิ่งครั้งที่สองในชีวิต (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg2940921#msg2940921)
การจัดแต่งทรงพุ่ม (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.368)
สร้างหลักประกันทางการเกษตร ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวง (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg2967355#msg2967355)
การวางแผนผังพื้นที่... (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg2971693#msg2971693)
ปัญหาหญ้ากับการจัดการ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg2978648#msg2978648)
เริ่มสร้างยกลูกฟูก เพื่อปลูกมะกรูด (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.384)
การตั้งระดับน้ำ ในแปลง (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3009010#msg3009010)
เป้าหมายสำคัญของ GAP คือ ความปลอดภัย  (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3009030#msg3009030)
การลงมะกรูด 6000 ต้น (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3027104#msg3027104)
ห้องน้ำในระบบ GAP สำคัญ จำเป็นต้องมีหรือไม่ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3031454#msg3031454)
ทบทวนการวางระบบน้ำ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3032560#msg3032560)
การจัดการน้ำของพืช (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3047895#msg3047895)
หลักการ Global GAP (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3078045#msg3078045)
... ระบบพ่นยากึ่งอัตโนมัติ... (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3097121#msg3097121)
เกษตรปลอดภัย...คือหัวใจสำคัญ (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3100218#msg3100218)
สรุปประสบการณ์ด้านการเกษตร ครบ 2 ปี  (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.msg3104690#msg3104690)
----------------------------------------------------------------------


สวัสดี เพื่อนชาวเว็บเกษตรพอเพียง

วันนี้ได้กฤษ์เปิดตัว "สวนเกษตรโชคดีชุมแพ" กับเขาบ้างเสียที หลังจากแอบอ่านของหลายๆ ท่านมานาน

ก่อนจะเริ่มผมขอแนะนำตัวก่อน ผมชื่อ บรีส (ยี่ห้อผงซักฟอกนั่นละครับ)

จริงๆ แล้วมาจาก Sea Breeze แต่เขียน บรีซ แล้วคนไม่ค่อยเข้าใจ เลยบอกว่าเขียนแบบผงซักฟอก ทีนี้เข้าใจกันง่ายเลย


ตอนนี้ที่เขียนกระทู้ (01/06/2557) ผมยังคงเป็นผู้บริหารอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่บริษัทขนาดกลางแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ  ชีวิตก็ถือได้ว่าเดินทางมาถึงจุด 75% ของสายอาชีพแล้ว อีกไม่กี่ปีประสบการณ์ อายุ ก็จะก้าวสู่จุดสูงสุดในสายอาชีพได้ไม่ยากเย็นนัก

แต่ผมมักถามตัวเองว่า เมื่อแก่ตัวลงเราจะอยู่อย่างไร ด้วยอาชีพทางเทคโนโลยี วันใดที่เราหยุดก้าว วันนั้นเราไม่ใช่แค่อยู่กับที่ กลายเป็นตกขบวนรถเลยทีเดียว ความคิดแบบนี้ทำให้ผมหาทางออกให้ชีวิตมาหลายทาง

ผมเคยเปิดบริษัท ทำได้ 3 ปี พบว่ารายได้มันพอมีพอกินเกินไป (กำไรน้อยนั่นละ 555) เลยหยุดกิจการ แล้วไปสมัครเป็นผู้จัดการในบริษัทเอกชนแทน

ผมเคยเอาทักษะที่ตัวเองทำได้ทางอาชีพ หากิน เช่น ช่างภาพ ถือเป็นงานที่รายได้ดีทีเดียว แต่ก่อนเดือนๆ หนึ่งไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท แต่พอเริ่มแก่ตัว การเดินทางไปนู้นนี่ เพื่อตามไปถ่ายภาพ การต้องแบกกระเป๋ากล้องหนัก 7-12 โล บนบ่าทั้งวัน ก็ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แถมไม่มั่นคงด้วย สุดท้ายผมก็เลยขายอุปกรณ์ทั้งหมด แล้วเลิกอาชีพถ่ายภาพที่ทำอยู่ 4 ปีเต็มๆ

ปัจจุบันพอจะมีงานอีกอาชีพหนึ่งที่ยังคงทำควบคู่ไปกับงานประจำได้ คือ งานเขียน ผมทำงานเขียนบทความลงนิตยสารต่างๆ แปลบทความเอกสารทางเทคนิค พวกเทคโนโลยีใหม่ๆ มา แล้วต้องถ่ายทอดต่อให้แผนกอื่นๆ การตลาด ทีมขาย หรืองานโฆษณา รายได้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่มีมาตลอด

ประสบการณ์ทั้งหมด ชี้มาที่คำถามว่า "ความยั่งยืนของชีวิต" คืออะไร

คำตอบของคำถามนี้ คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ ของในหลวง ท่านให้หลักการและแนวคิดไว้แล้ว ยิ่งอ่านยิ่งใช่ มันคือคำตอบผม

ก่อนหน้านี้ 3-4 ปี ผมจึงเริ่มศึกษาการเกษตร เริ่มมองหาที่ดิน ตอนแรกๆ ก็หาใกล้ๆ บ้าน เพื่อจะได้แวะมาทำวันเสาร์อาทิตย์

หาๆ ไป จนเริ่มมั่นใจว่า เราจะมาทางนี้แน่ๆ แล้ว จึงคุยกับพ่อตา เพื่อให้ท่านช่วยหาที่ดินให้บ้าง อีกแนวทางหนึ่ง

ลืมบอก "ผมเป็นเขยชุมแพ" ภรรยาผมเป็นคนชุมแพ ตระกูลมีหน้ามีตาเป็นที่รู้จักอย่างดี เอ่ยแล้วท่านที่อยู่อำเภอชุมแพ น่าจะรู้จักทุกคน

เมื่อคุยแล้วพ่อตา ก็เลยบอกว่า คุณตา (ตาทวด) กำลังจะแบ่งที่ดินขาย ยังไงจะคุยให้

ตั้งแต่วันนั้น จนถึงวันที่โอนที่ดิน กินระยะเวลา ปีกว่าๆ ครับ กว่าที่คุณตาทวดจะขายที่ดินให้ ถือเป็นที่ดินจุดที่สวยที่สุดของท่าน

และแต่เดิม ท่านเคยใช้ที่ดินนี้ ทำฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อ ในชื่อว่า "ฟาร์มโชคดี(โป่งมั่ง)"

(https://lh3.googleusercontent.com/-k6QTx4XgX5g/U4qcqk1zm8I/AAAAAAAAyBU/MN0wxiBwls8/w600-h457-no/P1120038_1.JPG)

วันนี้หลานเขยและหลานสาว เมื่อได้ครอบครองที่ดินเดิมของคุณตา จึงได้ขอใช้ชื่อเดิม แต่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินหน่อย

เลยตั้งชื่อใหม่ว่า "สวนเกษตรโชคดีชุมแพ"


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 10:07:12 AM
ว่างๆ ผมจะเล่าประวัติฟาร์มโคเนื้ออย่างละเอียดให้ฟังครับ

ตอนนี้รู้แค่คร่าวๆ คือ ท่านเลิกเพราะเริ่มแก่ตัว (ปัจจุบัน คุณตาทวด ท่านอายุ 95 แล้วครับ ไม่มีคนดูแล เลยเปลี่ยนเป็นทำนา ปลูกอ้อย ให้เทวดาเลี้ยง ให้เขาเช่าที่ดินบ้าง จนสุดท้ายมาตกถึงผมกับภรรยานี่ละครับ - ผมเรียกตาทวด ตามลูกนะครับ)

ก่อนหน้าที่จะได้ที่ดินผืนนี้มา ก็เรียกว่า ผมวางแผนการเกษตรบนกระดาษล้วนๆ ครับ คิดฝันมากมาย

แต่พอลงมือจริงๆ หลังโอนที่ดิน 5 เดือน พบปัญหาเยอะมาก ความคืบหน้าเรียกว่า เต่าคลาน

แต่กระนั้น ก็ได้ความรู้และข้อคิดเยอะมาก

ตอนแรกตั้งใจจะเขียนเมื่อลงต้นไม้ต้นแรก แต่ก็คิดว่า ปัญหาต่างๆ ที่พบอาจจะลืมปัจจัยสำคัญไป ผมเลยตัดสินใจเขียนกระทู้ เพื่อเล่าปัญหาที่พบ และแนวทางแก้ไขทางหนึ่งที่ผมเลือก (ท่านอาจมีอีกหลายแนวทางก็ช่วยๆ กันแชร์นะครับ)

ผมจะค่อยๆ เขียนกระทู้ทุกครั้งที่ว่างนะครับ อาจตอบช้าบ้างหายไปนานบ้างก็ขออภัยไว้ก่อนครับ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 10:30:33 AM
ภาพนี้สมัยตอนยังเป็นไร่อ้อย ให้ชาวบ้านเช่า

(https://lh3.googleusercontent.com/-fVVE1S1B76M/U4qirf73bmI/AAAAAAAAyCU/NjXChqv3kOo/w664-h500-no/P1080100.JPG)

ดังนั้น งานสำคัญลำดับแรกของการสร้าง "สวนเกษตรโชคดีชุมแพ"

คือ การปรับปรุงดินทั้งหมด

ผมเริ่มสั่งงานทางโทรศัพท์ และเริ่มหาเมล็ดพันธุ์ปอเทือง จนไปได้เมล็ดพันธุ์จาก "ปอเทืองดีเด่นบุณทริก" พี่เด่นถือเป็นผู้ให้ความรู้และตอกย้ำแนวทางที่ผมคิดได้ดีทีเดียว ใครอยากรู้จักหรือหาเมล็ดปอเทืองจำนวนมากๆ ไม่ได้ ก็ลองค้นใน FB ชื่อนี้เลยครับ

ปัญหาแรกเลยที่ผมไม่เข้าใจ และไม่รู้คือ การใช้งานรถไถ

เมื่อไม่รู้ การจ้าง จึงไม่สามารถอธิบาย "ภาพรวม" ของงานได้


ภาพรวมถือเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารงานทุกอย่าง หากเราไม่สามารถให้ลูกน้องของเราเห็นภาพรวมได้ ลูกน้องจะไม่เข้าใจในสิ่งที่ทำ รวมถึงเป้าหมายผลลัพธ์ด้วย หากเป็นงานขาย คุณไม่ทำให้ลูกค้าเห็นภาพรวม ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อได้ยาก และอาจไม่พึงพอใจในภายหลังเมื่อพบว่า สินค้าดังกล่าวมีภาพไม่ตรงกับใจของเขา

ดังนั้น ภาพรวม จึงสำคัญอย่างยิ่ง และผมสอบตกตั้งแต่เริ่มต้น ด้วยความคิดที่ว่า มันก็แค่ไถๆ นั้นละ 555

ผมจึงสั่งให้รถไถ มาไถเอาตออ้อยออก ผู้รับจ้างก็บอกว่า ต้องใช้รถไถใหญ่ 70 แรงขึ้น ถึงจะเอาออกได้

จากพื้นเรียบๆ เขาก็ไถ และเอาตออ้อยให้ด้วย เรียกว่า 95% เอาออกหมด มีหลงเหลือบ้าง บางส่วน ที่ไถๆ แล้วมันกลบไป ไม่ได้ดึงขึ้นมาทิ้ง

ผมขึ้นไปดูงานอีกที หวังว่า จะเห็นผืนดินสวยๆ

ปรากฎผมเห็นภาพแบบนี้แทน

(https://lh3.googleusercontent.com/-iNyMnT-E3SY/U4qkxPWTsSI/AAAAAAAAyCk/DoF92QwCr8Q/w620-h471-no/P1120033_1.JPG)

ดินเป็นก้อนใหญ่ๆ
ผืนดินกลายเป็นผืนไม่เรียบ สูงต่ำห่างกัน 30-50 ซม. เลย

ตอนนั้น คิดในใจ เสียเงินค่าไถหมดเป็นหมื่น ใช้เวลาไป 4 วัน กับการเอาตออ้อยออกหมด กลับไม่สามารถปลูกได้

ต้องไถอีก


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 10:42:18 AM
ปัญหาที่สองคือ ผมไม่รู้เรื่องการเตรียมดินเลย

สิ่งที่ทำได้คือ การอ่าน อย่างเดียว แต่นั้นก็ย้อนไปปัญหาแรก "ภาพรวม"

ผมไม่เห็นภาพว่า ดินแต่ละแบบเป็นอย่างไร อะไรเรียกดินที่พร้อมปลูก อะไรคือ ดินที่ต้องใช้โรตารี่พรวนอีก

ผมก็ได้แต่หวังใช้ประสบการณ์ของคนงาน ที่มาช่วยเฝ้าสวน (ซึ่งคิดผิดมากๆ)

โดยคำสั่งผมคือ ไถพรวน ย่อยให้ดินเล็กกว่านี้  แล้วค่อยหว่านปอเทือง

ผมจ่ายค่ารถไถไปอีกรอบ ย่อยดินให้เล็ก

ส่วนปอเทืองก็ให้เขาหว่านไปรอบแรก 10 ไร่ ในบริเวณที่จะลงมือปรับปรุงก่อน


ปัญหาก็เกิดเพราะ ความไม่มีประสบการณ์ ปอเทือง รอบแรก ไม่ขึ้นครับ เพราะง่ายๆ แล้งเกินไป แม้ปอเทืองจะเป็นพืชที่ขึ้นได้โดยไม่ต้องการน้ำ แต่ไม่ได้หมายถึงแล้ง

ผมบอกตรงๆ ว่าไม่รู้ ไม่มีประสบการณ์เลย  อ่านมาก แต่ไม่เห็นภาพ 555

รอบแรกเสียไป รอบสอง ฝนตกช่วงสงกรานต์ ก็ให้รีบหว่านใหม่ ปรากฎว่า ขึ้นสวย 10 ซม.

แต่ฤดูเปลี่ยน ฝนตกทำให้ ผีเสื้อมาบุก วางไข่ แล้วก็กลายเป็น หนอนบุ้งปอเทืองแถบขาว กินปอเทืองหมดครับ

ย้ำว่า หมด....

(https://lh6.googleusercontent.com/-BEppaCZt8As/U4qoApwwuOI/AAAAAAAAyC4/XKX5R3b2dI4/w620-h471-no/P1130903_1.JPG)

ตอนนั้นท้อใจมากครับ

แค่ 4 เดือน ตั้งแต่โอนที่ดิน จมเงินไปแล้ว หลายหมื่น โดยละลายหายไปกับดิน ไม่ได้ผลลัพธ์อะไรเลย



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 10:53:07 AM
เงินทุนที่วางแผนไว้ เรียกว่า เกินงบไปหลายเรื่อง

ผมจึงหยุดการปรับปรุงดินส่วนที่ตนเองต้องการไว้ ปล่อยหญ้าให้ขึ้น แล้วจะกลบใหม่ เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินแทน ส่วนแร่ธาตุต่างๆ คงต้องพึ่งพา การเติบปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีแทน

ผมจึงหันไปหาสิ่งสำคัญอีก 2 เรื่อง คือ น้ำกับไฟฟ้า

------------------------------------------

แต่ก่อนจะเล่าเรื่อง น้ำกับไฟฟ้า ขอเล่า

"สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน"

ก่อนครับ

แนวคิดนี้ ไม่รู้มีคนคิดคำแบบนี้หรือยัง ถ้ามีแล้วขออภัยนะครับที่ซ้ำ ผมเชื่อว่าแนวคิดนี้ มีมานานแล้ว และเป็นแนวคิดที่หลายๆ ท่านใช้อยู่ในการบริหารจัดการสวนของตนเอง

แต่เพื่อให้สามารถอธิบายเป็นหลักการให้เกษตรกรรุ่นใหม่ๆ เดินตามได้ ผมจึงคิดเป็น Keyword ออกมา ได้ 3 คำ คือ

สั่งได้ - ต้นไม้ทุกต้น พืชทุกชนิดที่สวนเกษตรโชคดีชุมแพปลูกขึ้น ต้องสามารถบริหารจัดการและควบคุมได้ หมายถึง ต้องควบคุมได้ว่า จะเติบโตไปในทางใด จะออกผลผลิตเมื่อใด จะตายเมื่อไร จะต้องปลูกทดแทนเมื่อไร

ลดได้ - ต้องลดต้นทุน ลดการใช้สารเคมีอย่างไม่จำเป็นด้วยการบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ ใช้หลักสถิติในการเก็บข้อมูล แล้ววิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ลดต้นทุนการผลิตด้วยแนวคิดการจัดการธุรกิจ ไม่ให้ต้นทุนสูงเกินไป

ยั่งยืน - ปรับปรุงและพัฒนา ผลผลิตให้มีคุณภาพ สามารถแข่งขันและมีจุดแข็ง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ยั่งยืนทั้งสุขภาพ คุณภาพ และราคา เราต้องอยู่ได้ เป็นเกษตรกรที่อยู่ได้ คนซื้อผลิตภัณฑ์เราไปต้องอยู่ได้ เช่นกัน


แต่การจะทำให้ได้ตาม หลักคิด 3 ข้อนี้ ต้องผ่านการวางแผนการบริหารจัดการฟาร์มตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งผมถือว่าผมโชคดี ที่พึ่งเริ่มต้น (ตอนแรกคิดว่า จะทำให้สำเร็จก่อน ค่อยเผยแพร่แนวคิด แต่คิดอีกที คือ เผยแพร่ไป แล้วทุกท่านมาช่วยกันปรับปรุงให้ดียิ่งขึ่้น ย่อมดีกว่า 55)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: nopmtp ที่ มิถุนายน 01, 2014, 11:21:05 AM
   สวัสดีครับ...ท่าน avatayos   ผมขอเข้ามาเรียนรู้การจัดการดีๆเป็นคนแรกครับ :-[ :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 01, 2014, 12:03:34 PM
รอติดตามครับ

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ช้าแต่มั่นคง

เกษตรกรสำคัญที่สุด คือ การรอคอย ใช้ความอดทนรอผลผลิตเติบโต เฝ้ามอง และชื่นชม


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 12:14:23 PM
   สวัสดีครับ...ท่าน avatayos   ผมขอเข้ามาเรียนรู้การจัดการดีๆเป็นคนแรกครับ :-[ :-[

ขอบคุณครับ

ขอเรียกว่า หลักการดีๆ จะดีกว่าครับ แต่นำไปปฏิบัติแล้ว จะดีหรือเปล่า คงต้องช่วยกันแชร์ และเอาประสบการณ์เป็นเครื่องบอกครับ

ตอนแรกที่จะเปลี่ยนตัวเองมาเป็นเกษตรกร คนที่บ้านก็ถามครับ ว่าคิดยังไง เอาเงินไปเปิดบริษัท ทำอาชีพที่ตัวเองถนัดดีกว่าไหม

แต่ผมโชคดีตรงที่ ผมเป็นคน ทำอะไรทำจริง ลุยจริง ทำแล้วเอาจนทำได้จริงๆ ไม่เคยล้มแล้วไม่ลุก

หลักการมี ประสบการณ์ตาม ปัญหามา ปัญญาเกิด ถ้าไม่ล้มเลิก ก็ไม่ล้มเหลว


รอติดตามครับ

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ช้าแต่มั่นคง

เกษตรกรสำคัญที่สุด คือ การรอคอย ใช้ความอดทนรอผลผลิตเติบโต เฝ้ามอง และชื่นชม

สำหรับผมไม่ได้เรียกรอคอยครับ ผมมองว่ามันคือ การบริหารจัดการโครงการ มันมี Timeline เป็น Gantt Chart ตามปกติ ครับ

เช่น เอาเมล็ดแช่่น้ำ 6 ชั่วโมง ลงปลูก รอ 5 วัน จะเริ่มงอก

อย่างนี้ บางท่านใช้คำว่า "รอคอย" แต่มุมมองผมมันคือ Timeline ของการเติบโต ที่เราสามารถวางแผนและจัดการได้ครับ และรวมถึงการมี Cut-Point

ที่ชัดเจน เช่น 5 วันงอก cut-point คือ 10 วัน ถ้าไม่งอก แสดงว่า สูญ แล้ว เป็นต้น

แต่ผม ไม่ "รอคอย" คือ ไม่ใช่รอไป 15 วัน รอจนกว่ามันจะงอกขึ้น 555

ผมถึงใช้คำว่า "ต้องสั่งได้"

โดยบริหารผ่านข้อมูลความรู้ทางวิชาการ เราไม่ได้ปลูกพืชชนิดใหม่ในโลกที่ไม่เคยมีใครปลูกมาก่อน เราปลูกพืชที่ใครๆ เขาก็ปลูกกัน ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้มีเพียงพอที่จะนำมาวางแผนได้ครับ

และสำหรับคำกล่าวนี้ ผมยึดไว้ในใจเช่นกัน แต่มุมมองการใช้คำกล่าวนี้ ผมอาจแตกต่างกับท่านอื่นๆ


ยังไง ลองติดตามนะครับ มีอะไรแนะนำได้ครับ อย่างที่บอก หลักการมี ขาดแต่ประสบการณ์ 555



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: Adisak009 ที่ มิถุนายน 01, 2014, 12:54:06 PM
รอติดตาม ตอนต่อไปนะครับ....
...ผมคนหนึ่งกำลังวางแผนอนาคตที่ยั่งยืน และอยู่ในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็เริ่มเก็บเกี่ยวข้อมูลในเวบ กพพ.นี้เช่นครับ  ขอผมศึกษาและร่วมลองผิดลองถูกไปด้วยกันนะครับ
..ตอนนี้ก็ ทำงานอยู๋ กทม. แพลนว่า อีก 2ปี จะลงจริงๆจังสักที


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: chaitanun ที่ มิถุนายน 01, 2014, 12:54:57 PM
ขอเข้ามาติดตามอ่านเป็นกำลังใจให้ครับ :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 06:33:17 PM
รอติดตาม ตอนต่อไปนะครับ....
...ผมคนหนึ่งกำลังวางแผนอนาคตที่ยั่งยืน และอยู่ในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็เริ่มเก็บเกี่ยวข้อมูลในเวบ กพพ.นี้เช่นครับ  ขอผมศึกษาและร่วมลองผิดลองถูกไปด้วยกันนะครับ
..ตอนนี้ก็ ทำงานอยู๋ กทม. แพลนว่า อีก 2ปี จะลงจริงๆจังสักที

มีที่ดินหรือยังครับ

ผมแนะนำให้รีบเคลียร์เรื่องที่ดินก่อน เป็นของเราแล้ว ราคาไม่วิ่ง

ผมยังเสียดายว่า ตอนแต่งงานไม่คิดซื้อ ถ้าซื้อตอนนั้นถูกกว่าตอนนี้ 10 เท่า ...

ขอเข้ามาติดตามอ่านเป็นกำลังใจให้ครับ :-[

ขอบคุณเช่นกันครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 07:00:46 PM
มาเล่าต่อครับ

ต้องบอกก่อนนะครับ การเล่าของผมช่วงแรกๆ อาจจะย้อนไปย้อนมา นึกอะไรได้ก็จะเล่านะครับ

--------------------------------

หลังจากที่ผมได้คำตอบแล้วว่า ผมจะทำอะไรเพื่อความยั่งยืนของชีวิต ผมก็เริ่มศึกษาต่อว่าการเกษตรมีปัญหาอะไร แล้วก็พบคำตอบสำคัญคือ

"เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ ทำการเกษตร ...ไม่ได้ทำธุรกิจ"

ทำด้วยความคุ้นชิน เคยชิน ไม่เอาหลักวิทยาศาสตร์ หรือความคิดมาวิเคราะห์ เช่น ทางการเขาบอกปลูกพืช A ให้ใส่ปุ๋ย 8-8-8 พอไปซื้อที่ร้านก็ไม่มี มีแต่ 16-16-16 ไอ้ร้านก็รู้ แนะนำว่า ซื้อไปใช้ได้ แต่เกษตรกรก็ไม่เอา เพราะไม่ตรงกับที่ทางการแนะนำ

ตัวอย่างที่ผมยกมาถือเป็นปัญหาที่ความไม่รู้ ในหลักวิชา แต่บางครั้งพอรู้แล้ว ก็หลงลืมคิดถึงหลักความคุ้มทุน เช่น แมลงมาลงในสวน สร้างความเสียหายไป 10 บาท เห็นปุ๊บก็รีบเอายาไปฉีดพ่น หมดค่ายาไป 100 บาท ทั้งๆ ที่ทิ้งไว้อีก 3 วัน จะมีแมลงอีกชนิดที่เป็นศัตรูกันมากิน ก็เป็นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น อาจเสียหายแค่ 20 บาท (3 วันเสียหายเพิ่มเติมสัก 10 บาท) แทนที่จะเสียต้นทุน 110 บาท (10 บาท ความเสียหายพืช 100 ต้นทุนยา)

พวกนี้เป็นหลักธุรกิจง่ายๆ คือ การเพิ่มมาร์จิ้น ไม่ลดต้นทุน ก็เพิ่มมูลค่าสร้างราคา


ดังนั้นผมจึงคิดอยู่นาน ศึกษาปัญหาทั้งหมด แล้วก็กำหนด KPI ง่ายๆ คือ ในราคาขายพืชผลต่ำสุด ปริมาณที่ผลิตได้ ต้องสร้างรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายตลอดปี

เช่น รายได้ของผมตลอดปีของครอบครัวคือ 1 ล้านบาท หมายความว่า ผมจะปลูกอะไรก็ตาม ผมต้องปลูกแล้วสร้างผลผลิตที่ขายตอนราคาต่ำสุดได้ 1 ล้านบาท

จากตัวอย่างนี้ก็มาดูว่า เรามีที่ดินเท่าไร สำหรับผม มีทีดิน 25 ไร่ ผมแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย บ่อน้ำ ไว้ก่อน 5 ไร่

อาจไม่ตรงหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงท่านนัก ที่ต้องแบ่งน้ำไว้ 30% เนื่องจากที่ดินข้างๆ มีบ่อน้ำเยอะมาก ขนาบทุกทาง ผมคิดถึงอนาคต หากร่ำรวย มีเงินซื้อที่ดินเพิ่ม ก็จะได้บ่อน้ำเหล่านั้นมาด้วยในตัว จึงยังไม่อยากแบ่งที่ดินเป็นน้ำเพิ่มเติม

เท่ากับว่าผมเหลือที่ดิน 20 ไร่ สำหรับเพาะปลูกใดๆ

ด้วย KPI ที่ผมตั้งไว้ หมายถึง ผมต้องผลิตได้ 50,000 บาทต่อไร่

จากนั้นผมจึงมาพิจารณากำลังตนเอง ก็พบว่าเราลุยได้ในช่วงแรกๆ ที่ยังเป็นพนักงาน ยังไม่ได้เกษียณ นั้น คงทำได้สุดๆ ก็ 10 ไร่

หรือหมายถึง 1 ไร่ ต้องได้ 1 แสน (ฟังดูคุ้นๆ เนอะ)

จากคำตอบ ...จึงมาสู่คำถามที่สองที่สำคัญไม่แพ้กัน ปลูกอะไรได้ 1 ไร่เท่ากับ 1 แสนบาท ในช่วงที่ราคาต่ำสุด


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 07:09:02 PM
ทำไมผมถึงไม่คิดว่า

ทำเกษตร เป็นรายได้เสริม

เพราะเท่าที่ติดตามอ่านมานาน หลายคนประสบความสำเร็จ ในการทำเกษตรพาร์ทไทม์ แต่หลายคนก็เหลว กลายเป็น ละลายเงินไปการเกษตร เพราะเหยียบเรือสองแคม จะลาออกก็ไม่กล้า จะลุยเกษตรต่อก็กลัว

ดังนั้นผมจึงไม่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ รายได้เสริม (ถ้าทำอย่างนั้น ปลูกไผ่ขายลำ ปลูกยูคา ปลูกไม้สัก ปลูกอ้อยเทวดาเลี้ยงก็ได้)

แต่ผมตั้งเป้าว่าเป็นอาชีพหลัก ดังนั้นการทำเกษตร จึงต้องสร้างรายได้ เท่ากับรายได้หลัก

ทีนี้ เวลาเราทำธุรกิจ ต้องวางจุด Cut-Point ไว้หลายๆ จุด หลายๆ Scenario

สำหรับผม หากคุณอ่านตามแล้วเข้าใจ ก็จะเข้าใจว่า KPI ที่ผมตั้งไว้ มันคือ Worst Case แล้ว

หากผลลัพธ์มันกลายเป็น "แย่ยิ่งกว่าแย่" Cut-Point ของผมคือ ต้นทุนที่ลงไปทั้งหมด

ก็แค่นั้น


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 01, 2014, 07:35:02 PM
จากเป้าหมาย 1 ไร่ ได้ 1 แสน

ก็เริ่มศึกษาทุกรูปแบบ ค้นหาใน Google ได้ข้อมูลมากมาย ดาวน์โหลดแผนธุรกิจทางการเกษตรเก็บไว้ศึกษามากมาย เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ กาแฟ เห็ดหอม มันสำปะหลัง ชิ้นไม้สับ ไผ่ พริกไทย ไก่ไข่ ปลา เรียกว่า ศึกษาหมดเลย เพราะไม่เคยทำสักอย่าง 555

จากข้อมูลธุรกิจการเกษตรแบบต่างๆ ผมนำมาทำ Cash Forecast  โดยกำหนดเป็น Scenario ไว้ 3 แบบคือ

1. ถ้าค่อยๆ ลงทุน ขยายต่อเนื่องในปริมาณเท่าๆ กันทุกๆ ปี จนกว่าจะครบ 20 ไร่
2. ปีแรก ลงทุนแบบทดสอบ (เพื่อทดสอบหลักการต่าง) และปีที่สอง ลงทุนทั้งหมดทีเดียว 20 ไร่
3. เหมือนแบบที่สอง แต่ดูกระแสเงินสด ด้วย ถ้าจะเสี่ยงให้หยุดลงทุนก่อน

---------------------------------------------------------------------------------

รูปนี้เป็นตัวอย่าง ของ Cash flow แบบแรก

ผมตั้งตัวแปรง่ายๆ ไว้ ในตอนนั้นคิดแบบเล่นๆ ว่า ถ้าผมมีงบอยู่ 5 ล้าน ผมจะทำอะไรบ้าง (ถ้าคุณจะเอาแนวคิดไปใช้ก็ปรับงบตามที่ตนเองมี)

(https://lh6.googleusercontent.com/-x7VwC89j6jc/U4sh8JS9sfI/AAAAAAAAyDQ/aFx5BlLor7E/w951-h504-no/cashflow1.jpg)

จะเห็นว่า ผมต้องทนขาดทุนไป 4 ปี สำหรับการทำธุรกิจ ถือว่า เด็กๆ มาก แต่พอดูกระแสเงินสด ปีที่ 4 เงินเหลือแค่ไม่กี่แสน ถือว่าเสี่ยงมากๆ หากมีปัญหาใดๆ ผมจะไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการกู้คืนธุรกิจเลย

-----------------------------------------------------

พอเป็นแบบที่ 2
(https://lh6.googleusercontent.com/-CXnq0cPUDHM/U4sh8qcchuI/AAAAAAAAyDU/13og2zSLOGQ/w985-h504-no/cashflow2.jpg)

จะเห็นได้ว่า ขาดทุนแค่ 3 ปีเหมือนกัน ส่วนความเสี่ยงก็มีเพราะจะมีปีหนึ่ง ขาดทุนสะสมถึง 1.4 ล้าน หรือเกือบ 30% ของเงินทุนทั้งหมด

-----------------------------------------------------

พอเป็นแบบที่ 3
(https://lh5.googleusercontent.com/-dbenAVfC2Ws/U4sh8u7axzI/AAAAAAAAyDY/NhYItxLr-EU/w983-h503-no/cashflow3.jpg)

จะเห็นว่า ขาดทุน 3 ปีเหมือนกัน แต่กระแสเงินสด ไม่ขาดทุนสะสมมากเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยง และพบว่า ชุดการปลูกที่แบ่งเป็น 4 ชุด หรือชุดละ 5 ไร่ นั้น จะไม่ได้ลงทุนเลย 1 ชุด หรือประมาณ 5 ไร่


-----------------------------------------------------

ทั้งหมดนี้เป็นแค่การวางแผนในกระดาษ ตัวแปรต่างๆ ใส่เข้าไปเป็นก้อนใหญ่ๆ จากการคำนวณคร่าวๆ รายได้ก็มาจากการคำนวณผลผลิตคร่าวๆ ตามสถิติ

โชคร้ายที่ไฟล์นี้ผมจำไม่ได้ว่า ผมเอาการปลูกอะไรมาคำนวณบ้าง

แต่ถ้าใครจะเอาไปใช้

หลักการคือ

1. หาต้นทุน Fix Cost ว่าต้องลงทุนเท่าไร
2. หาต้นทุนหมุนเวียน ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละรอบเก็บเกี่ยว
3. หารายได้ต่ำสุดของปริมาณผลผลิตดังกล่าว
4. ตั้งงบประมาณเบื้องต้น และคำนวณแบบ Cash ไม่ใช่แบบทางบัญชี

เพราะเราทำการเกษตร คงไม่ต้องมาแบ่งค่าทรัพย์สินเป็น 10 ปี ตัดทุกๆ ปีเท่ากัน ตามหลักการบริหารสินทรัพย์

เอาเป็นง่ายๆ ว่าถ้าเรากำไรได้เมื่อไร ที่เหลือมันจะกำไรล้วนๆ

พอถึงตอนนั้นค่อนมาคิดแบบหลักบัญชีพื้นฐาน เพราะถ้าไม่คิดแบบนั้น จะมองต้นทุนจริงๆ ไม่ออก แล้วจะกลายเป็น จมเงินไปเรื่อยๆ ก็ได้


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: nopmtp ที่ มิถุนายน 01, 2014, 07:53:50 PM
   ขอบคุณมากครับ  ;) ;)
วันนี้เก็บความรู้ได้เพียบเลยครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 02, 2014, 01:16:16 AM
เห็นด้วยกับการทำเกษตรแบบวางแผน เพราะเรามี how to มากมายให้เลือกมาใช้


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: Sanguan1965 ที่ มิถุนายน 02, 2014, 05:55:57 AM
ขอติดตาม  อีกคน......


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 08:22:10 AM
เห็นด้วยกับการทำเกษตรแบบวางแผน เพราะเรามี how to มากมายให้เลือกมาใช้

เห็นคุณซี จบเศรษฐศาสตร์ ดูจากรูปผมว่า น่าจะรุ่นใกล้ๆ กัน (หมายถึงอายุ) ยังไงมีอะไรดีๆ ก็แชร์กันบ้างนะครับ อะไรที่ผมเข้าใจผิดในหลักวิชาก็อธิบายให้ด้วยครับ ผมจบคอมพิวเตอร์ ความรู้ทางธุรกิจนั้น ประสบการณ์ล้วนๆ อาจผิดพลาดได้

ขอติดตาม  อีกคน......


ยินดีครับ

   ขอบคุณมากครับ  ;) ;)
วันนี้เก็บความรู้ได้เพียบเลยครับ

ยินดีครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: Manar ที่ มิถุนายน 02, 2014, 08:44:55 AM
สุดยอดมากครับ มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนดีมาก ผมจะเอาเป็นแนวทางในการจัดการในสวนของผมบ้างครับ อิอิ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 08:54:22 AM
มาตอนเรื่องการวางแผน ทำการเกษตรบนกระดาษกันต่อครับ 555

--------------------------------------------------

จริงๆ แล้วสิ่งที่ผมเขียนนั้น มันก็คือ การทำ Feasibility Study ของธุรกิจที่เราจะทำนั้นเองครับ

แต่จริงๆ เขาให้ทำเรื่องเงินเป็นลำดับสุดท้าย แต่ผมทำก่อน เพราะต้องการรู้รูปแบบการลงทุนก่อน เนื่องจากไม่่มีประสบการณ์

จากตัวอย่าง ผมได้หลักการเป็นคำตอบของผมเองว่า

"ค่อยๆ ลงทุนโดยเน้นพิจารณากระแสเงินสด"

เหตุที่ต้องเน้นเรื่องกระแสเงินสด เพราะธุรกิจการเกษตร ส่วนใหญ่ ถ้าคุณพึ่งเริ่มต้น ไม่ใช่ฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง การขอกู้เงินมาลงทุนนั้น เท่าที่ผมศึกษามา ค่อนข้างยากมาก อย่าง ธกส. เอง ก็ต้องเป็นสมาชิก ต้องมีผู้ใหญ่บ้านรับประกันว่าทำเกษตรแน่นอน ต้องนู้นต้องนี่

แน่นอนว่า การกู้เงินมันก็ไม่ยากเกินความสามารถใดๆ ถ้าคิดจะกู้จริงๆ

แต่ "ความยั่งยืน" คืออะไร

คนทำธุรกิจส่วนใหญ่เข้าใจระบบเงินหมุน เงินกู้ดีอยู่แล้ว แต่นั้นเพราะ มีความจำเป็นทางธุรกิจที่ต้องหล่อเลี้ยง ต้องจ่ายเงินเดือน ต้องใส่งบเพื่อการตลาด บลา บลา บลา ๆ

แต่การทำเกษตรกรรมแบบพอเพียง หากวางแผนดีๆ มันตัดเรื่องเหล่านี้ออกไปได้ และมันสามารถทำโดยใช้เงินที่มีได้ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่างพอเพียงได้

หลักคิดของผม จึงตัดการวิเคราะห์เรื่องการกู้เงินเพื่อลงทุนทางการเกษตรออกไป

เมื่อได้แนวทางแล้ว การลงทุนแล้ว

ก็ถึงคำถามต่อไป "จะลงทุนอะไรให้เหมาะกับงบประมาณที่มี"

จากการคำนวณเบื้องต้น ผมน่าจะลุยทำได้แค่ 10 ไร่ ดังนั้น หลักการจัดการพื้นฐานในการบริหารงานของผมคือ เรื่องอะไรจบเร็ว ง่าย จัดการไปก่อนให้เสร็จ

ดังนั้นพื้นที่เหลือๆ อีก 10 ไร่ ผมจึงจัดการหาคนมาทำ ด้วยความไม่ใช่คนพื้นที่ จึงต้องให้คนพื้นที่อย่างพ่อตาเป็นคนจัดการ และมอบสิทธิ์ให้ท่านไปเลย

ผลลัพธ์ก็คือ ได้ชาวบ้าน มาทำปลูกข้าว ข้าวโพด และผัก ทั้ง 15 ไร่ที่เหลือเลย

ชาวบ้านได้ผลผลิต ได้เงินเวลาขาย ส่วนผม

ได้คนช่วยปรับปรุงดิน เอาหินออก ไถปั่นดิน

ได้ฟางไว้ใช้ต่อ ได้กำจัดหญ้า ได้แรงงานเล็กๆ น้อยๆ ได้คนเฝ้าไร่เฝ้าสวน

แค่นี้ก็ Win-Win แล้วครับ

---------------------------------
ภาพนาข้าวที่ให้ชาวบ้านช่วยลงแรงแทน ชาวบ้านบอกปีนี้รวยแล้ว... ผมฟังแล้วก็ดีใจแทน
ของที่เรายังไม่ได้ใช้ แต่คนอื่นได้ประโยชน์ไปก่อน
(https://lh6.googleusercontent.com/-MAlrRLGBTDM/U4vgKVi7nLI/AAAAAAAAyDs/eIRvwhZSxqs/w620-h520-no/2014-05-30+17.41.53+HDR.jpg)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 09:09:08 AM
สุดยอดมากครับ มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนดีมาก ผมจะเอาเป็นแนวทางในการจัดการในสวนของผมบ้างครับ อิอิ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

ผมเองก็อ่านๆ ศึกษาการเกษตรจากหลายๆ ท่านเหมือนกัน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 09:34:14 AM
หลังจากเราตัดปัญหาการจัดการส่วนที่เรายังไม่ได้ใช้ประโยชน์ไปแล้ว

ผมก็มาหาคำตอบกับคำถามที่ทิ้งไว้ เราจะปลูกอะไรดีให้ได้ 1 ไร่ 1 แสนบาท

จากแนวทางการลงทุน ผมก็เริ่มเทียบการลงทุนปลูกสิ่งต่างๆ กับงบประมาณที่มี (5 แสนบาท) ว่าอะไรที่เราลงทุนได้บ้าง อะไรที่ลงทุนไม่ได้จะได้ตัดไปก่อน โดยไม่ต้องไปมองเรื่องพื้นที่ ดินฟ้าอากาศ สภาพแวดล้อมเลย

เพราะไม่มีเงิน เงินไม่พอ ถึงอยากทำก็ทำไม่ได้ ...เราจึงไม่ควรเสียเวลาไปศึกษากับสิ่งที่ยังไม่มีโอกาสจะได้ทำ

หลังศึกษาผมได้คำตอบมาหลายตัว ได้แก่ ไผ่, มะนาว, มะกรูด, มะละกอ, ผักออแกนิก, เห็ด, เลี้ยงปลานิล , ยาง ฯลฯ (จริงๆ เยอะมากละ 55)

ลำดับต่อไปในกระบวนการพิจารณาความเป็นไปได้คือ 4P

Product
Price
Place
Promotion

-------------------
โดยผมนำมาใช้แบบนี้

Product ดูศึกษาว่า สิ่งที่เราจะปลูก มีขั้นตอนอย่างไร มีความเสี่ยงอย่างไร จะขายอย่างไร โดยลองจับกับหลักการง่ายๆ
 1. ขายสินค้าราคาถูก - เจาะตลาดล่าง ตลาดที่ใหญ่ที่สุด คู่แข่งย่อมเยอะสุด
 2. ขายสินค้าราคาแพง - ต้องคุณภาพดี มีชื่อเสียง ตลาดบนไม่คิดมาก จ่ายเร็ว
 3. ขายสินค้าที่แตกต่าง - ตลาดเฉพาะ หรือมีความเฉพาะจนผู้ซื้อต้องซื้อ
 4. ขายสินค้าที่จำเป็น - มีกลุ่มที่มีความต้องการชัดเจน แต่ต้องดูเรื่องคู่แข่ง ปริมาณของดีมาน์กับซัพพลายให้ดี ถ้าซัพพลายเยอะมันจะกลายเป็นไม่จำเป็นได้ หรือถ้าดีมาน์เยอะ มันจะอาจจะกลายเป็น Red Ocean ได้ ทำให้อนาคตมีปัญหาการในทำธุรกิจได้

ที่มันจะกลายเป็น Red Ocean เพราะทุกคนจะเห็นว่ามีโอกาสทางธุรกิจ และทุกคนก็จะหันไปปลูก ตลาดจะค่อยๆ เริ่มสู่สมดุลย์ แต่จะมีความเสี่ยงหากมีคนกระโจนเข้าตลาดพร้อมๆ กัน จากดีมาน์มาก จะกลายเป็นซัพพลายมากแทน และนั้นหมายความว่า ทุกคนจะแข่งกันขายอย่างดุเดือด

Price ดูว่าตลาดมีโครงสร้างราคาอย่างไร ใครกำหนดราคา เรากำหนดได้ไหม ความเสี่ยงในการขึ้นลงของราคาเป็นอย่างไร เรามีลู่ทางอย่างไรในการเล่นเรื่องราคาได้บ้าง ตลาดใกล้ๆ กัน กับที่ดินของเรา มีราคาอย่างไร ช่วงไหนแพง ช่วงไหนถูก

Place เราจะนำสินค้าของเราสู่มือผู้ซื้อได้อย่างไร

Promotion เราจะทำสินค้าของเราให้เป็นที่รู้จักได้อย่างไร จะเอาชนะคู่แข่งได้อย่างไร ซื้อใจลูกค้า ผูกลูกค้าให้อยู่กับเราได้อย่างไร

----------------------------------------------------------------

จากทั้งหมดนี้ ผมทำ 4P กับพืชผลที่ละอย่าง จนได้คำตอบมาบางอย่าง แต่กาลเวลาก็ทำให้สิ่งที่ศึกษาเปลี่ยนไปอยู่เรื่อยๆ (ยิ่งรู้มาก ข้อมูลยิ่งแน่น ยิ่งชัด ก็เป็นธรรมดาที่ต้องเปลี่ยนแนวคิด)






หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 10:51:08 AM
ตามเข้ามาอ่าน จากการที่คุณ Avatayos เข้ามา Comment เรื่องหลักการทำธุรกิจของไร่ผม ในกระทู้หนึ่ง

เพื่อที่จะเข้ามาหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์

เมื่อก่อนผมเคยคิดว่า ยากนะครับ..

1ไร่ 1 แสน / ปี

แต่เมื่อลงมือทำจริงๆ ผมพบว่า..

1ไร่ 1 แสน / เดือน

ก็สามารถทำได้ครับ

ภายไต้การบริหารจัดการที่ดี และที่สำคัญ ภายไต้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย ครับ

ผมยึดหลักที่ว่า เมื่อพื้นฐานเราไม่พร้อม ต้องสร้างก่อน เมื่อดินเราไม่ดีก้ต้องบำรุงดินก่อน
เมื่อไม่มีตลาด เราก็สร้างตลาดขึ้นมาก่อน

4Ps จะถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจตัวเอง สินค้าของตัวเอง และพื้นที่ของตัวเองก่อน

สู้ๆครับ และขอเข้ามาหาความรู้ในกระทู้นี้เพิ่มอีกคนนะครับผม ^^


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 11:57:02 AM
ตามเข้ามาอ่าน จากการที่คุณ Avatayos เข้ามา Comment เรื่องหลักการทำธุรกิจของไร่ผม ในกระทู้หนึ่ง

เพื่อที่จะเข้ามาหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์

เมื่อก่อนผมเคยคิดว่า ยากนะครับ..

1ไร่ 1 แสน / ปี

แต่เมื่อลงมือทำจริงๆ ผมพบว่า..

1ไร่ 1 แสน / เดือน

ก็สามารถทำได้ครับ

ภายไต้การบริหารจัดการที่ดี และที่สำคัญ ภายไต้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย ครับ

ผมยึดหลักที่ว่า เมื่อพื้นฐานเราไม่พร้อม ต้องสร้างก่อน เมื่อดินเราไม่ดีก้ต้องบำรุงดินก่อน
เมื่อไม่มีตลาด เราก็สร้างตลาดขึ้นมาก่อน

4Ps จะถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจตัวเอง สินค้าของตัวเอง และพื้นที่ของตัวเองก่อน

สู้ๆครับ และขอเข้ามาหาความรู้ในกระทู้นี้เพิ่มอีกคนนะครับผม ^^

แอบบอก ออกสาธารณะ

ผมเปลี่ยน KPI เป็น 1 ไร่ 1 ล้านไปแล้ว 555

เล่นของสูง ครับ ...ไม้ครูของไม้ผล



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ครูซอส ที่ มิถุนายน 02, 2014, 11:59:42 AM
เข้ามาขอความรู้ด้วยคนค่ะ
ขอบคุณค่ะ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 12:38:07 PM
เข้ามาขอความรู้ด้วยคนค่ะ
ขอบคุณค่ะ

ยินดีครับ

แต่ถ้าอันไหนอ่านแล้วแปลกๆ คิดว่าไม่ใช่ ก็ช่วยกันเสริม แก้ไขนะครับ ผมยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 01:03:27 PM
หลังจากพิจารณา 4P แล้ว ผมก็นำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงท่าน มาใช้เป็นหลักการด้วย ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี 100% แต่ปรับให้เข้ากับสภาพของครอบครัว

ดังนั้นแผนของผม แบ่งตามทฤษฎีใหม่แล้ว จึงได้ดังนี้

ขั้นที่หนึ่ง
- ต้องผลิตข้าวกินเองได้ จากปริมาณครอบครัวของผม ผมปลูกข้าวประมาณ 2 ไร่ก็เพียงพอต่อการบริโภคทั้งปี และได้ฟางข้าวมาเป็นวัสดุในการใช้ภายในสวน -> แต่โดยสรุปแล้ว ผมแบ่งพื้นที่ไว้ปลูกข้าวทั้งหมด 4 ไร่ เพื่อแจกจ่ายด้วย
- ผมจัดเตรียมบ่อน้ำทั้งหมด 2 ไร่ แบ่งเป็น บ่อละ 1 ไร่ แต่ละบ่อจะเลี้ยงปลา ไว้จับกินได้ตลอดปี
- บ่อจะขุดในแนว เหนือใต้ เป็นแนวยาว และปลูกมะพร้าวน้ำหอม รอบบ่อ เพื่อลดการระเหยของน้ำ โดยตามแนวเหนือใต้ เงาของต้นไม้ จะทอดลงในบ่อน้ำได้ดีกว่า บ่อสี่เหลี่ยม
- ตัวมะพร้าวน้ำหอม นอกจากได้รับประทานแล้ว กากมะพร้าวยังนำมาใช้งานภายในไร่สวนได้เช่นเดียวกับฟางข้าว
- แบ่งพื้นที่ 1 ไร่ สำหรับปลูกผักทานเองในครอบครัว และสมุนไพรบางชนิดที่เหมาะกับภูมิอากาศของสวน

จากขั้นที่หนึ่ง คนที่ไม่เคยทำอย่างผม จึงต้องทดลองบางอย่าง เพื่อพิสูจน์ความสามารถ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อความมั่นใจ


นั่นคือ การเปลี่ยนพื้นที่หลังบ้านเป็นสวนผัก

เริ่มต้นทดลองปลูกผักกาดขาว.... แต่ได้ผักกาดเขียว...555
(https://lh5.googleusercontent.com/-2k6SPnCQk1U/U4wZUeBuaEI/AAAAAAAAyEA/a-RZd7CXhW4/w620-h471-no/P1140007.JPG)

ให้ลูกชายช่วยปลูก ให้เขาเรียนรู้ธรรมชาติ
(https://lh4.googleusercontent.com/-ZIMRqisbiRg/U4wZ3s4f9nI/AAAAAAAAyEQ/SCJMWFPPMp4/w620-h520-no/IMG_0786.JPG)

ผลจากการปลูกผักสวนครัวหลังบ้าน ผมได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพืชเยอะมาก จนต้องปรับแผนปรับแนวคิดหลายอย่าง - ใครที่ฝันอยากทำการเกษตร เป็นคนเมือง ไม่เคยทำ ก่อนจะลุยจริงๆ ลองปลูกผักสวนครัวในบ้านดูครับ ใช้พื้นที่นิดเดียว แต่ได้เรียนรู้อะไรๆ เยอะมาก



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 01:13:21 PM
เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 ที่ผมนำมาวางแผนคือ

การสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน ด้วยพื้นที่แค่ 20 ไร่ที่ผมมี (ที่เหลือจาก 5 ไร่ในขั้นตอนแรก) จะให้ไปรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและกำลังในการต่อรองก็ยาก เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกอ้อย ไม่ได้มีใครทำสวนแบบผมเลยสักคน 555

ผมจึงปรับแนวคิดนี้ เป็นการสร้างพันธมิตรเครือข่ายของคนที่ปลูกพืชแนวเดียวในระแวกใกล้ๆ กัน (รัศมี 100 กิโลเมตร)

ส่วนชาวบ้านโดยรอบ เราจะสร้างงานจากเนื้องานในสวน ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรที่มีการบริหารจัดการที่ดี

เราจะประสานกับโรงเรียน เพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ และสร้างรายได้เสริม

รวมถึงการทำการแปรรูปผลผลิตในลักษณะวิสาหกิจชุมชน

(ฝันมาก ฝันไกล 555)


ส่วนในขั้นที่สามนั้น ผมบอกตรงๆ ว่าไม่ได้คิดไปไกลถึงจุดนั้น เอาแค่ขั้น 1 ขั้น 2 ให้รอดได้ ผมก็พอใจและพอเพียงแล้ว


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 02, 2014, 01:31:33 PM

ตั้งเป้าหมายให้สูง

ยิงธนูให้ไกล

ฝันให้เยอะ

อย่างน้อยเราก็มีความสุขครับ ... ที่ได้ทำ ... ทีได้ฝัน



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 03:18:29 PM
ตามเข้ามาอ่าน จากการที่คุณ Avatayos เข้ามา Comment เรื่องหลักการทำธุรกิจของไร่ผม ในกระทู้หนึ่ง

เพื่อที่จะเข้ามาหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์

เมื่อก่อนผมเคยคิดว่า ยากนะครับ..

1ไร่ 1 แสน / ปี

แต่เมื่อลงมือทำจริงๆ ผมพบว่า..

1ไร่ 1 แสน / เดือน

ก็สามารถทำได้ครับ

ภายไต้การบริหารจัดการที่ดี และที่สำคัญ ภายไต้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย ครับ

ผมยึดหลักที่ว่า เมื่อพื้นฐานเราไม่พร้อม ต้องสร้างก่อน เมื่อดินเราไม่ดีก้ต้องบำรุงดินก่อน
เมื่อไม่มีตลาด เราก็สร้างตลาดขึ้นมาก่อน

4Ps จะถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจตัวเอง สินค้าของตัวเอง และพื้นที่ของตัวเองก่อน

สู้ๆครับ และขอเข้ามาหาความรู้ในกระทู้นี้เพิ่มอีกคนนะครับผม ^^


แอบบอก ออกสาธารณะ

ผมเปลี่ยน KPI เป็น 1 ไร่ 1 ล้านไปแล้ว 555

เล่นของสูง ครับ ...ไม้ครูของไม้ผล




KPI 1ไร่-1ล้าน  ต่อปี ใช่ป่าวครับ 
น่าสนใจครับ สำหรับพื้นที่ขอนแก่น และเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก
ขอติดตามทุกฝีก้าวครับ เพราะว่าจะได้เอามาใช้กับไร่ของผมให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ ครับ

ปล.สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จักคำนี้ครับ..

KPI = KEY PERFORMANCE INDICATOR

(http://thumbs.dreamstime.com/z/key-performance-indicator-vector-12462039.jpg)

KPI คืออะไร
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก หรือ KPI (Key Performance Indicator)
เป็นการวัดความก้าวหน้าของการบรรลุปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ หรือผลสัมฤทธิ์ขององค์กร โดยเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ตกลงกันไว้
องค์กรสามารถใช้ผลของการวัดและการประเมินความก้าวหน้าของการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กร ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเชื่อมโยงกับปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ดี ควรมีความเหมาะสม สามารถที่จะโน้มน้าวให้ทุกคนในองค์กร และผู้มีส่วนได้เสียประโยชน์ตลอดจนสาธารณชนเชื่อถือ ผลงานที่วัดจากตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักจะแสดงถึงภารกิจที่องค์กรจะต้องปฏิบัติบนพื้นฐานของเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยต้องสามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม คุณลักษณะของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ดี คือ

 ต้อง "SMART" ได้แก่
1. Specific ความเฉพาะเจาะจง ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั่วทั้งองค์กร
2. Measurable เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดอื่นและใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้
3. Attainable ( Achievable ) สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดผลได้โดยตรง
4. Realistic มีความสมจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กรและไม่ใช้ต้นทุน การวัดที่สูงเกินไป
5. Timely  สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด ควรปรับปรุงตัวชี้วัด ให้ทันสมัยอยู่เสมอ




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: พชร ที่ มิถุนายน 02, 2014, 03:21:00 PM
ขอเข้ามาเรียนการบริหาร จัดการด้วยคนนะครับผมก็กำลังจะไปเป็นเกษตรกรเช่นกันครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 03:38:42 PM
คุณ Din-dum-Namthip

ต่อปีครับ ต่อปี ถ้าต่อเดือนนี้รวยโคตรเลย 555

--------------------------------------------

บางคนอ่านแล้วอาจจะคิดว่า ทำไมผมตั้งเป้าสูงมาก ตกลงมันคิดพอเพียงหรือ

หลักพอเพียงไม่ได้หมายถึงจน แต่หมายถึง พอใจ และพอดี

ไอ้คำว่า พอดี นี่ละที่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

สมมติ คุณทำเกษตร คนเดียว มีรายได้ 3 แสนต่อปี คุณพอใจ พอดี ก็ถือว่าอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

แต่วันหนึ่ง คุณแต่งงาน รายได้ 3 แสน มันจะไม่พอดี และพอเพียง คุณก็ต้องหาเพิ่ม จนได้เป็น 5 แสน ถึงพอดี และพอเพียง

วันหนึ่งมีลูก รายได้ 5 แสน อาจไม่พอดี และพอเพียง ต้องหาเพิ่มเป็น 7 แสน ถึงพอดี และพอเพียง

ไปๆ มาๆ ธุรกิจการเกษตร เริ่มไปได้ดี มีคนงานมาช่วย 4-5 คน คนเหล่านั้น มีความพอดีต่อปีสมมติที่ 2 แสนบาท  เท่ากับ คุณต้องหาให้ได้อีก 1 ล้านบาท ถึงจะพอดี พอเพียง พอกับรายจ่าย

ไปๆ มาๆ ความพอเพียง กลายเป็น 1.7 ล้านไปเสียแล้ว

--------------------------------------------
การที่ผมตั้งเป้า KPI ไว้ที่ ไร่ละ 1 ล้าน เท่ากับหากผมทำเต็มพื้นที่ก็ได้ 20 ล้านต่อปี

เหมือนจะรวยเนอะ

แต่อย่าลืมครับ รายได้ขนาดนั้น ต้องมีชาวบ้านมาช่วยเท่าไร สุดท้าย ผมอาจเหลือรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ 30% ....

ก็ยังรวยอยู่ดี 555


คิดแล้วก็ยิ้ม ขอให้เป็นจริงเถอะ 555

-------------------------------------------------

ทีนี้ กว่าจะไปถึงตรงนั้น ไม่ใช่ว่า เอาเงินไปทุ่มๆ แต่ต้องเดินอย่างพอเพียง ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป สร้างฐานตัวเองให้มั่นคงก่อน แล้วค่อยขยายเพื่อให้ผู้อื่นมีรายได้มั่นคงขึ้นด้วย เติบโตไปด้วยกันอย่างพอเพียง

ผมฝันอย่างนั้น


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ มิถุนายน 02, 2014, 03:56:46 PM
55+
สำหรับผม
ความพอเพียงคือความพอดี
พอดี ไม่ใช่การหยุด
แต่พอดี คือความพอเหมาะ ความเหมาะสม
ในที่นี้คือ "กำลัง" และ "ความสามารถ"

ดังนั้น
ความพอดีของผม จึงเปลี่ยนเป้ามาหลายครั้ง ตามกำลังและความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทีละน้อย

จาก
10000 บาท/เดือน ได้แล้ว
30000 บาท/เดือน ได้แล้ว
50000 บาท/เดือน ได้แล้ว
100000 บาท/เดือน ยังห่างไกล 555+

ภายไต้ทรัพยากรที่เรามี ..... ที่ดินทำกิน 2 ไร่กว่าๆ

และถ้าวันหนึ่ง เราเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพมากขึ้น ได้มากกว่านี้ ผมอาจจะเป้าตั้ง 200000 บาท/ไร่/เดือน ก็ได้

ฝันได้ แต่ต้องฝันแบบ "SMART"

1. Specific ความเฉพาะเจาะจง ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั่วทั้งองค์กร
2. Measurable เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดอื่นและใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้
3. Attainable ( Achievable ) สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดผลได้โดยตรง
4. Realistic มีความสมจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กรและไม่ใช้ต้นทุน การวัดที่สูงเกินไป
5. Timely  สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด ควรปรับปรุงตัวชี้วัด ให้ทันสมัยอยู่เสมอ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 02, 2014, 04:09:51 PM
55+
สำหรับผม
ความพอเพียงคือความพอดี
พอดี ไม่ใช่การหยุด
แต่พอดี คือความพอเหมาะ ความเหมาะสม
ในที่นี้คือ "กำลัง" และ "ความสามารถ"

ดังนั้น
ความพอดีของผม จึงเปลี่ยนเป้ามาหลายครั้ง ตามกำลังและความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทีละน้อย

จาก
10000 บาท/เดือน ได้แล้ว
30000 บาท/เดือน ได้แล้ว
50000 บาท/เดือน ได้แล้ว
100000 บาท/เดือน ยังห่างไกล 555+

ภายไต้ทรัพยากรที่เรามี ..... ที่ดินทำกิน 2 ไร่กว่าๆ

และถ้าวันหนึ่ง เราเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพมากขึ้น ได้มากกว่านี้ ผมอาจจะเป้าตั้ง 200000 บาท/ไร่/เดือน ก็ได้

ฝันได้ แต่ต้องฝันแบบ "SMART"

1. Specific ความเฉพาะเจาะจง ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั่วทั้งองค์กร
2. Measurable เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดอื่นและใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้
3. Attainable ( Achievable ) สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดผลได้โดยตรง
4. Realistic มีความสมจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กรและไม่ใช้ต้นทุน การวัดที่สูงเกินไป
5. Timely  สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด ควรปรับปรุงตัวชี้วัด ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

เห็นด้วยมากๆครับว่า ความพอเพียงคือความพอดี


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: Adisak009 ที่ มิถุนายน 02, 2014, 07:06:44 PM
รอติดตาม ตอนต่อไปนะครับ....
...ผมคนหนึ่งกำลังวางแผนอนาคตที่ยั่งยืน และอยู่ในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็เริ่มเก็บเกี่ยวข้อมูลในเวบ กพพ.นี้เช่นครับ  ขอผมศึกษาและร่วมลองผิดลองถูกไปด้วยกันนะครับ
..ตอนนี้ก็ ทำงานอยู๋ กทม. แพลนว่า อีก 2ปี จะลงจริงๆจังสักที

มีที่ดินหรือยังครับ

ผมแนะนำให้รีบเคลียร์เรื่องที่ดินก่อน เป็นของเราแล้ว ราคาไม่วิ่ง

ผมยังเสียดายว่า ตอนแต่งงานไม่คิดซื้อ ถ้าซื้อตอนนั้นถูกกว่าตอนนี้ 10 เท่า ...


ขอเข้ามาติดตามอ่านเป็นกำลังใจให้ครับ :-[

ขอบคุณเช่นกันครับ

ที่ดิน เพิ่งซื้อไปครับ ที่นา 30 ไร่  ที่ทำสวน 8 ไร่ ครับ   ตอนนี้ เริ่มทำนาอินทรีย์ ปลอดสาร ปีแรก แต่แล้งมากมาย 555 สงสัยฟ้าฝนยังไม่เป็นใจ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 03, 2014, 08:12:34 AM


ที่ดิน เพิ่งซื้อไปครับ ที่นา 30 ไร่  ที่ทำสวน 8 ไร่ ครับ   ตอนนี้ เริ่มทำนาอินทรีย์ ปลอดสาร ปีแรก แต่แล้งมากมาย 555 สงสัยฟ้าฝนยังไม่เป็นใจ

ปีนี้ตามพยากรณ์อากาศของเมืองนอก แล้งครับ ฝนตกแต่ปริมาณน้อย ต้องระวังนะครับ

ผมใช้พยากรณ์อากาศเมืองนอก เพราะแม่นกว่า ตามปกติ ช่วงนี้ ลมจากออสเตรเลีย ต้องเริ่มพัดเข้ามา ซึ่งจะทำให้เกิดพายุ เกิดฝน แต่ถึงตอนนี้ยังไม่พัดเข้ามาเลย ดังนั้น ฝนจะมาช้ากว่าปกติไปเป็นเดือนครับ (ถ้าผมจำที่อ่านพยากรณ์เมื่อต้นเดือนที่แล้วไม่ผิดพลาดนะครับ)



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 03, 2014, 08:32:56 AM
มาเล่าต่อครับ
-----------------------------------
กระบวนการที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้ ใช้เวลาศึกษาอยู่หลายเดือนนะครับ ยังไม่ได้คำตอบเลยด้วยซ้ำว่า จะปลูกอะไร แต่ได้แนวทาง ซึ่งแนวทางนี้ละสำคัญ

ตามหลักการบริหารธุรกิจพื้นฐาน เราต้องกำหนด

Mission
Vision
Strategies
Goals
Action

ถึงจุดนี้ (ในตอนนั้น) ผมได้ Mission และ Vision ค่อนข้างชัดเจนแล้ว แต่กระบวนการสำคัญคือ ต้องตรวจสอบ สองเรื่องนี้ว่า มันใช่จริงหรือเปล่า

ผมจึงเริ่มออกเดินทางไปเที่ยวชมสวน ของคนอื่นๆ เขาบ้าง

เพื่อดู แนวคิด วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ดูเป้าหมาย และกระบวนการทำงาน

สิ่งหนึ่งที่ผมพบในการเรียนรู้สวนของท่านอื่นๆ คือ องค์ความรู้ของแต่ละท่าน ใช้ประสบการณ์เป็นเครื่องพิสูจน์ น้อยนักที่จะใช้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องพิสูจน์ เช่น
 
สวนไผ่รายหนึ่ง (ไม่ขอเอ่ยนาม เพราะแต่ละท่านมีความเชื่อไม่เหมือนกัน) เลี้ยงไก่ในสวนไผ่ โดยให้ข้อดีว่า ไก่ไข่ได้ดี ไข่แข็งแรง ได้ไข่อินทรีย์ และไม่ต้องมานั่งกวาดใบไผ่ แนะนำผมว่าให้ปลูกไผ่ แล้วเลี้ยงไก่ไปด้วย ได้รายได้สองทาง

สวนไผ่อีกแห่งหนึ่ง ยืนยันเลยว่า ไม่ให้เลี้ยงไก่ในสวนไผ่ เพราะไก่เขี่ยโคนไผ่ เสียหายหมด ลองแล้ว พบว่าไม่คุ้มกัน

สวนไผ่อีกแห่งใช้ซังข้าวโพด ในการคลุมดิน หมักมันตรงนั้นเลย บอกว่าย่อยสลายเอง

นี่แค่สวนไผ่นะ มีอีกหลายๆ สวนที่ไปเยี่ยมชมแล้ว ได้ความรู้มาตีกันมันมาก 555

แล้วแต่ละสวนก็อยากขายผลิตภัณฑ์ของตนเอง เมื่อรู้ว่าเรากำลังจะสร้างสวน ก็ยิ่งมองเราเป็นลูกค้าชั้น A

พยายามใส่ข้อมูลทุกอย่างที่โน้มน้าวให้เราปลูกโดยใช้พันธุ์ของเขาให้ได้

ผมก็รักษาน้ำใจด้วยการซื้อมาต้นสองต้น บอกเอามาทดลองก่อน ถ้าพันธุ์ดีจริง จะกลับมาซื้อ 555

บอกตรงๆ ตอนนั้น มึนไปเลยครับ ไม่รู้เชื่อใคร เชื่ออะไร ดี

แต่ผมรู้อย่างหนึ่งคือ วิชาการเกษตร เชื่อถือได้

ผมจึงหาคอร์สเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้ที่ตนเองได้มา และตรวจสอบว่าสิ่งที่เราสนใจจะลงทุนนั้น เป็นไปได้จริงมากน้อยแค่ไหน

(https://lh6.googleusercontent.com/-RXouS5oexYY/U40s4RzQj7I/AAAAAAAAyEo/V4QZwgHDl88/w388-h553-no/IMG_1927.JPG)




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 03, 2014, 08:47:04 AM
จากคอร์สของอาจารย์รวี ผมบอกได้เลย ว่า ผมไปนั่งเรียนการบริหารจัดการสวน มากกว่าการปลูกมะนาว

และสิ่งที่เรียนยิ่งตอกย้ำระบบความคิดที่ผมวางแผนไว้ค่อนข้างมาก

อย่างคำว่า "สั่งได้" ท่านอาจารย์ รวี เป็นคนพูดเอง ส่วนผมในตอนนั้นคิดว่า "เราต้องควบคุมได้" พอเรียนจบกลับมา ผมเลยขอใช้คำของอาจารย์ซึ่งแทนความหมายได้ดีกว่า คือ "สั่งได้"

สิ่งที่เรียนเริ่มต้นตั้งแต่ ดิน --> ผศ.อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน ท่านสอนว่า

ไม่ว่าเราจะทำไร่ หรือทำสวน เราต้องจัดการดินให้พร้อมเสียก่อน

วิธีจัดการก็แสนง่ายคือ ส่งดินไปตรวจ 3 ปี ต่อครั้ง ถือว่า ต้นทุนการตรวจนั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับ ผลรายงานที่ออกมา แล้วจะช่วยให้เราวางแผน บริหารจัดการ การให้ปุ๋ย การปรับปรุงต่างๆ ได้

เรียนกลับมา ผมก็รีบไปขุดตัวอย่างดิน ส่งไปทดสอบเลย 555

(https://lh6.googleusercontent.com/-zWv-Ml27N6k/U40vbRV3-tI/AAAAAAAAyE0/5WxWuIoQKfE/w620-h520-no/2014-05-30+17.15.15.jpg)

หัวใจสำคัญที่ผมได้เรียนจาก อาจารย์ อรรถศิษฐ์ คือ ความเข้าใจในดิน กล่าวคือ

พืชต้องการแร่ธาตุทางดิน 3 ประเภท ได้แก่ ธาตุ N P K เรียกธาตุหลัก และ C Mg S เป็นธาตุรอง ส่วนธาตุที่ต้องการน้อยแต่ขาดไม่ได้เรียกว่า จุลธาตุ คือ Fe Cu Mn Zn B Mo Cl Ni

ปกติในดินจะมีธาตุเหล่านี้อยู่ แต่ดินที่แย่จะขาดธาตุตัวใดตัวหนึ่ง เรามีหน้าที่เติมเข้าไปให้เพียงพอต่อการเติบโตของพืชในแต่ละช่วง เช่น ช่วงสร้างกิ่ง ก็ต้องเติม N เยอะๆ ช่วงสร้างผลต้องเติม K เยอะๆ เป็นต้น

ดังนั้นเราสามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้ตามปริมาณที่ขาด โดยไม่ได้ทำให้ดินเสียหาย จริงๆ แล้วอาการที่เหมือนดินเสีย เกิดจากการขาดธาตุรองและจุลธาตุมากกว่า หรือขาดอินทรีย์วัตถุ

กล่าวคือ แม้ว่าดินจะมีอินทรีย์วัตถุมาก แต่ไม่มีแร่ธาตุเลย ก็ใช้ไม่ได้ ดินที่มีธาตุครบ แต่ขาดอินทรีย์วัตถุก็ใช้ไม่ได้ ปัญหามันเกิดจากเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป โดยไม่เติมธาตุรองและจุลธาตุ รวมถึงอินทรีย์วัตถุ

เมื่อเติมแต่ธาตุหลัก N P K ดินก็ย่อมจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสีย...

ดินเสียจริงๆ เพราะเผา เพราะไม่ยอมปรุงดินให้เหมาะสม เพราะใช้อย่างเดียวไม่เติมสิ่งที่ขาดเลย ต่างหาก



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 03, 2014, 09:03:53 AM
ส่วนของท่านอาจารย์ รวี ได้ให้ข้อคิด ที่ล้างความเชื่อหลายอย่างที่เคยเรียนมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น

จะซื้อที่ดิน ต้องซื้อที่ดินดีๆ

แต่แนวคิดของท่านอาจารย์ คือ "ทำให้ได้ตามที่เราต้องการ ดีกว่า แก้ไขให้ได้ตามที่เราต้องการ"

เหตุเพราะ การบริหารจัดการสวนที่ดี ต้องสั่งต้นไม้ได้

และพืชสวนเมืองไทย อยากสั่งต้นไม้ได้ "ต้องเลือกที่ดินซึ่งดินเป็นดินเลว"

เพราะดินดี ต้นไม้จะมีอำนาจมากกว่าคนปลูก มันตามใจตัวมันเอง มีธาตุครบ ขี้เกียจ สั่งไม่ได้

แต่ดินเลว ดินขาดอะไร ต้นไม้จะฟ้อง เรามีหน้าที่จัดการเติมเข้าไป และใช้หลักเคมีในพืชเป็นเครื่องมือในการควบคุม ให้โตอย่างไร ให้ออกดอกเมื่อไร ให้ออกผลเมื่อไร

ซึ่งหลักการนี้ท่านได้แนะนำชาวสวนผลไม้มาแล้วแทบทุกชนิด มะม่วง มะขาม ลิ้นจี่ ลำใย ส้ม จนล่าสุดมีปัญหาเรื่องราคามะนาวตอนปี 43 ท่านจึงเริ่มลงมาทำเรื่องมะนาว ตัวอย่างดินเลวที่เยี่ยมที่สุดคือ ที่ดินแถวมาบตาพุด ระยอง ที่เป็นดินเลวมาก ฝนตกแล้วดินไม่เก็บน้ำเลย ซึ่งหมายถึงไม่เก็บแร่ธาตุด้วย แต่สามารถปลูกมะม่วงและบังคับออกนอกฤดูได้จนติดตลาด

-----------------------------------------------
ด้วยหลักการนี้ เดิมผมตั้งเป้าว่า จะทำเกษตรอินทรีย์ ก็ต้องเปลี่ยนใจ เพราะเกษตรอินทรีย์ทำได้ ทำดี แต่ใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลลัพธ์

แต่ก็ใช่ว่าจะทิ้งแนวทางอินทรีย์ เรียกว่า ใช้ให้ได้มากที่สุด ลดการใช้เคมีให้ได้น้อยที่สุดดีกว่า

เช่น ปุ๋ย ต้องใช้ผสมผสาน ใช้ปุ๋ยเคมีด้วย เพราะปุ๋ยอินทรีย์ที่แร่ธาตุคงที่ทุกรอบการผลิตนั้น หาได้ยาก มีแค่ไม่กี่ยี่ห้อ แต่ปุ๋ยเคมีที่เลือกจะเป็นปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยที่มีฟิลเลอร์น้อยที่สุด

รวมถึงราคาเมื่อคำนวณแล้ว ต่ำที่สุดด้วย

โดยผมได้ทำไฟล์คำนวณการผสมปุ๋ยเอาไว้ แจกอยู่ในห้อง IT ZONE หรือใครจะกดจากที่นี้ก็ได้ครับ

http://www.mediafire.com/view/qzlfdeh8jaisixr/โปรแกรมคำนวณสูตรปุ๋ยจากแม่ปุ๋ย.xls (http://www.mediafire.com/view/qzlfdeh8jaisixr/โปรแกรมคำนวณสูตรปุ๋ยจากแม่ปุ๋ย.xls)

โดยหลักการคือ เราไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ตามสูตรที่ทางการกำหนด หรือตามหนังสือ

แต่เราต้องใส่ปุ๋ย ตามดินที่ขาด ตามความต้องการของต้นไม้ที่เราปลูก ซึ่งความต้องการดังกล่าวค้นหาได้จากฐานข้อมูลวิชาการว่าพืชที่เราจะปลูกแต่ละรอบนั้นใช้ N P K เท่าไร

คำถามง่ายๆ

สมมติ พืช A ต้องการอาหาร N P K เท่ากับ 16-16-16 ทางการเลยแนะนำให้ใส่ปุ๋ย 16-16-16

แต่ดินคุณมี N P K = 0-16-16

ถ้าคุณใส่ สูตรตามทางการบอก หรือตามหนังสือบอก ดินคุณจะมีค่าธาตุเป็นอย่างไร (สมมติง่ายๆ ว่าสัดส่วนเท่าๆ กัน)

ดินคุณจะมีธาตุเป็น 16-32-32 แทน

ซึ่งหมายถึง P กับ K มันเกิน

แล้วสมมติถ้า 16-16-16 เท่ากับ กิโลละ 10 บาท
แต่ 46-0-0 มันเท่ากับกิโลละ 10 บาท เท่ากันเลย

คำถามคือ คุณใส่ 46-0-0 ดีกว่าหรือไม่


คำตอบคือ คุณซื้อ 46-0-0 มาปรับปรุงดินดีกว่า เพราะคุณใส่แค่ 0.34 ส่วน ก็ทำให้ดินมีแร่ธาตุเท่ากับ 16-16-16 หรือเท่ากับใช้เงินแค่ 3.4 บาท ในขณะที่สูตร 16-16-16 คุณต้องใช้เงิน 10 บาท

----------------------------------------
นี่คือ หนึ่งในหลักการสำคัญ ในการจัดการสวนที่เจ้าของสวนต้องเข้าใจ เป็นหนึ่งในแนวทางการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 03, 2014, 09:12:54 AM
วิธีการใช้โปรแกรมคำนวณปุ๋ยใน Excel

1. โหลดและเปิดไฟล์ขึ้นมา จะพบหน้าจอแบบนี้
(https://lh6.googleusercontent.com/-EVVux5PmMD0/U4018fUtlCI/AAAAAAAAyFY/UDbIRe2whok/w800-h344-no/howto_cal1.jpg)

จากนั้น นำสูตรปุ๋ย ที่คุณต้องใช้งาน กรอกลงในช่อง ลูกศรสีแดง

จากตัวอย่างคือ 16-16-16

แล้ว กรอกปริมาณที่คุณต้องใช้ หน่วยเป็น กรัม ในช่องลูกศรสีเขียว

คุณจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น ช่องลูกศรสีน้ำเงิน

ว่าจากแม่ปุ๋ยทั้ง 3 ตัว จะต้องตักแต่ละตัวกี่กรัม

ง่ายไหมครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 03, 2014, 09:19:03 AM
จากโปรแกรมสูตรปุ๋ย

สิ่งสำคัญที่คุณต้องคิดต่อ คือ ปุ๋ยสำเร็จ แต่ละสูตร มีราคาไม่เท่ากัน ดังนั้น สิ่งสำคัญนอกจากคำนวณเป็น ตวงและผสมเป็นแล้ว

คุณต้องรู้ว่า ต้นทุนที่คุณนำปุ๋ยมาผสมกันนั้น เป็นมูลค่าเท่าไร

หากพบว่า ปุ๋ยที่ต้องนั่งผสมเอง สูตร 16-16-16 มีราคา 16 บาท

แต่ปุ๋ยที่ขายอยู่แถวบ้าน มีสูตร 15-15-15 ราคา 15 บาท

คุณจะผสมเองทำไมให้เหนื่อย จริงไหมครับ


การผสมปุ๋ย มีไว้เพื่อการปรับปรุงดินครั้งแรก ให้มีคุณสมบัติ เหมาะสมกับต้นไม้ที่เราจะปลูก แต่ในครั้งต่อๆ ไป เมื่อต้นไม้บริโภคแร่ธาตุไปแล้ว ตามความต้องการของต้นไม้ โดยพื้นฐาน มันควรหมดเป็น 0 ซึ่งหมายถึง การเติบแร่ธาตุครั้งต่อๆ ไป

จะเติมในสูตรคงที่มาตรฐาน ซึ่งคุณอาจไม่ต้องคำนวณอีกเลย หรือถ้าคุณใช้เยอะ อาจให้โรงงานผสมปุ๋ย ทำมาให้สำเร็จเฉพาะคุณก็ได้

หากแร่ธาตุในดิน เหลือมากกว่า 0 หมายถึง....ง่ายๆ คือ คุณเติบปุ๋ยมากเกินความจำเป็นของต้นไม้ นั้นเอง

ดังนั้น การตรวจสอบดิน จึงควรทำทุกๆ 3 ปี ครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 03, 2014, 12:35:10 PM
มาถึงหัวข้อต่อไปที่ได้เรียนมา ก็ตอกย้ำหลักคิดของผมที่ว่า การบริหารการเกษตร จริงๆ มันก็คือ การบริหารธุรกิจนั้นละ ไม่ได้ต่างกันเลย

หัวข้อที่เรียนต่อมาคือ เรื่องของโรคและแมลงในสวน จาก ผศ.อุไรวรรณ นิลเพ็ชร

ประเด็นสำคัญที่ผมได้มา คือ การบริหารจัดการความเสี่ยง หรือ Risk Management

การที่แมลงหรือโรค มารบกวนนั้น ถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ ความเสี่ยงที่ผลิตผลจะเป็นศูนย์

ซึ่งปัญหาโดยมากของเกษตรกรคือ ความกลัว เจอแมลง เจอโรค รีบวิ่งหายาแก้

แต่ไม่ได้เอาหลักคิดทางวิทยาศาสตร์มาใช้ กล่าวคือ เมื่อเจอแมลง ต้องสันนิษฐานก่อนว่า ระบาด แค่ไหน

โดยมีกระบวนการตรวจสอบการระบาดตามหลักสถิติ และชนิดของแมลง เช่น แมลงที่ต้องอาศัยพาหะอื่นเป็นตัวพาไป อย่าง เพลี้ยแป้ง ต้องอาศัยมด

หมายความว่า การระบาดจะออกเป็นคลื่นวงกลม ดังนั้น เราตรวจสอบจากต้นใกล้ๆ กันได้ ว่า มีระบาดไปถึงหรือยัง

หรือแมลงประเเภทบินได้ อันนี้จะระบาดได้ไกล ก็อาจใช้วิธีสุมตรวจแบบ ก้นหอย คือ ค่อยๆ ตรวจต้น ข้างๆ แล้ววนออกไป

หากเราพบว่า มีการระบาด

สิ่งที่ต้องคิดต่อมาคือ Cut Loss เราอยู่ตรงไหน

เช่น สมมติเราบอกว่า ผลผลิต 100% เรายอมให้เกิดการเสียหายจากโรคและแมลงได้ 1%

เราก็มาคำนวณเลยว่า ไอ้ที่ถูกระบาดจนเสียหายแล้วนั้น มันน้อยกว่า 1% หรือเปล่า

ถ้ามันน้อยกว่า แนวโน้มการระบาดเป็นอย่างไร รวดเร็ว กว้าง

เราก็ต้องคิดต่อมาว่า ความเร็วในการระบาดระดับนี้ เราเหลือเวลาตัดสินใจป้องกันนานแค่ไหน

สมมติ เหลือ 3 วัน ก็รอ 3 วัน

ง่ายๆ แค่นั้น

เหตุที่ต้องรอ เพราะโดยธรรมชาติ แมลง มีทั้งแมลงดี และแมลงไม่ดี

แมลงไม่ดี คือ แมลงศัตรูพืชที่มาทำลายผลผลิตของเรา

ส่วนแมลงดี คือ แมลงที่มาป้องกัน มาช่วยทำงานให้เรา

3 วันที่ว่า เป็นช่วงเวลาให้โอกาส แมลงดี เข้ามาทำงาน

หากมันเข้ามาทำงานแล้ว การระบาดย่อมหมดไป ซึ่งหมายถึง คุณไม่ต้องเสียต้นทุนการป้องกัน ไม่ต้องเหนื่อย ผลผลิตไม่ต้องปนเปือนเคมี

แต่หาก 3 วันแล้วก็ยังไม่มา ผลผลิตก็เสียหายเพิ่มขึ้นใกล้ 1% คุณก็ต้องตัดสินใจฉีดยาจัดการให้เรียบร้อย


กระบวนการวางแผน กระบวนการคิดเหล่านี้ มันคือ หลักการพื้นฐานของ Risk Management นั้นเอง


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: LG ที่ มิถุนายน 03, 2014, 03:44:59 PM
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับ..


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: korat1977 ที่ มิถุนายน 03, 2014, 08:47:58 PM
ขอบคุณสำหรับ กระทู้ดีๆครับ จะติดตามนะครับ เฮ่อๆๆ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 03, 2014, 09:27:14 PM

เกษตรที่ดีต้องอิงวิทยาศาสตร์ ประกอบประสบการณ์ จึงจะออกมาเปนความสำเร็จ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 04, 2014, 08:15:04 AM
เอารูปลงบ้าง สลับกับเนื้อหานะครับ 555

คนนี้ เจ้าของสวนตัวจริง ลูกชายของผมครับ

ตั้งใจสร้างทุกอย่างให้เป็นสมบัติ หมดเวลาของเรา ถึงเวลาของเขาจะขาย จะทำต่อ จะอย่างไร ก็สุดแล้วแต่เขา

แต่สวนที่เป็นสมบัตินี้ คงจะช่วยเปิดโอกาสในชีวิตให้เขาได้มากมาย ในยามที่เราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว
(https://lh6.googleusercontent.com/-wxzeb3XXjJo/U4542YZ7KaI/AAAAAAAAyF4/5ta6q6GLo8k/w347-h552-no/P1140164.JPG)


ภาพนี้ตอนเมษายน ปี 56 ยังไม่ได้โอนที่ดิน ชาวบ้านที่มาเช่าที่ดินปลูกอ้อยตัดอ้อยไปหมด เหลือไว้แต่ตอ พ่อตาไม่ให้เขาเช่าที่ดินต่อ เพราะเราจะซื้อ
ปล่อยไว้ ตอเดิมมีอ้อยขึ้นบ้าง ประปราย ต้นปี 57 ตัดเก็บได้ 2 หมื่นกว่าบาท ตกไร่ละพัน ...เทวดาเลี้ยงสุดๆ ไม่มีปุ๋ย ไม่มีให้น้ำ
(https://lh4.googleusercontent.com/-4evZ3A30m0Q/U455zsTU6rI/AAAAAAAAyGI/RyDv4yrfRNk/w620-h518-no/IMG_8750.JPG)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 04, 2014, 08:29:26 AM
หลังจากโอนที่ดิน 2 ม.ค. (หรือ 3 ม.ค. 57 วันแรกที่เปิดทำการหลังปีใหม่เลยครับ)

ก็ให้คนไถเอาตออ้อยออก แล้วก็หว่านปอเทืองไปในปลายเดือนกุมภาพันธ์

พอต้นเดือนมีนาคม ก็ขึ้นไปดูการงอกของปอเทือง

ปรากฎว่า เงิบ...ไม่งอก

ความร้อนแล้ง ทำให้ปอเทืองไม่งอกเลย งอกเพียง 10% เท่านั้น

น้ำก็ยังไม่มี ไฟฟ้าก็ยังไม่มี บ่อน้ำข้างๆ ก็แห้งน้ำน้อย

แผนการบำรุงดิน ก็เลยต้องปรับ โดยต้องรอให้มีระบบน้ำก่อน หรือ ฝนตกติดต่อกันสักสองสามวันก่อน

(https://lh4.googleusercontent.com/-1xYVudUMuZs/U457S7EhKnI/AAAAAAAAyGY/2-vdTDeEsEE/w620-h471-no/P1120187.JPG)

ปรากฎว่า โชคดี ช่วงสงกรานต์ มีพายุฝนตกลงมาบ้าง จึงสั่งให้รีบหว่านปอเทือง และปอเทืองก็ขึ้นได้ดี
แต่ด้วยความที่พ่อตาก็เห็นว่ามันก็แค่ปอเทือง จึงทิ้งช่วง ไม่ได้ลงไปดูแลที่ดินเลย (บ้านพ่อตาห่างทีดิน 300 เมตร)
ผลคือ หนอนปุ้งปอเทืองแถบขาว กินเรียบครับ

เป็นอันว่า การปรับปรุงดินให้ดีขึ้นด้วยปอเทืองรอบนี้ ไม่เห็นผลใดๆ เลย

จุดนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนแผนครั้งสำคัญ จากแผนที่ผมตั้งใจว่าจะทำ "เกษตรพาร์ทไทม์" คือ สั่งงานทางโทรศัพท์ มาดูแลเสาร์อาทิตย์ที่ว่างๆ
ก็คงต้องยกเลิกไป หากคิดจะทำตามแผนการที่วางไว้ จะทำเกษตรพาร์ทไทม์ได้ ต้องมีเกษตรตัวจริง ใส่ใจจริง อยู่ในพื้นที่ด้วย

จาก Gantt Chart แผนงานในกระดาษที่วางไว้ทั้งหมด ก่อนช่วงโอนที่ดิน เรียกว่า ล้างทิ้งหมดเลย เพราะผิดแผนหมดทุกกรอบเวลา 555

จากเดิมตั้งใจว่า ผลผลิตน่าจะได้เก็บช่วงต้นปีหน้า (58) ก็จบกัน พอขยับแผนการใหม่หมด มีเวลาเหลือ 6 เดือนเต็มๆ

--------------------------------------------------------

ผมเลยหันไปศึกษา พืชที่ มีรอบเก็บเกี่ยว 6 เดือน แทน เพื่อไม่ให้ที่ดินว่างไว้โดยเปล่าประโยชน์


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 04, 2014, 09:11:17 AM
เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยน โจทย์ก็เลยเปลี่ยน

ผมจึงหันไปใส่ใจระบบน้ำ และระบบไฟฟ้า อย่างจริงจังก่อน (เดิมวางแผนไว้ว่าทำคู่ๆ กันไป เพราะพืชบางชนิด ใช้สูบน้ำเครื่องยนต์ สูบรดได้)

หลังจากศึกษาระบบน้ำ นอกจาก บ่อ 2 ไร่ ที่ต้องขุดเมื่อมีเงิน แล้วผมต้องเจาะบาดาลเพิ่มเติมด้วย

จึงหารายชื่อช่างเจาะบาดาลจากกรม เจอชื่อช่างใกล้ๆ ที่ดิน อยู่หนองบัวลำภู ก็ติดต่อ นัดหมาย ทำเรื่องให้เรียบร้อย

วันมาเจาะก็เป็นเรื่องอีก

ผมเดินทางจาก กทม ตีสอง เพื่อไปถึงเช้าแปดโมง ตามนัดหมาย

แต่พอไปถึง ฝนตก ไม่มาก ตกไม่ทั่วฟ้า แต่บ้านของช่างที่หนองบัวลำภู ตกหนัก

แปดโมง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์เรียกมา ผมก็เลยเรียกไป เพื่อถามว่าช่างอยู่ไหน คำตอบคือ "ผมให้ลูกน้องไปเจาะที่อื่นแล้ว ฝนมันตกหนัก ชุมแพคงหนักไม่แพ้กัน"

จุกครับ จุก... งงครับ งง

ผมเลยถามช่างไปว่า "พี่ตกขนาดไหนพี่ถึงเจาะไม่ได้"
ได้คำตอบว่า "ก็ถ้าปรอยๆ เจาะได้ แต่ถ้าลงมาแรง ก็ต้องหยุดเจาะ ฝนหยุดก็เจาะใหม่ได้"

ปกติผมเป็นคนใจดี ใจเย็น แต่งวดนี้ต้องงัดวิชาการบริหารมาใช้ "พี่ครับ ผมนัดกับพี่ไว้ พี่บอกว่า ลุยเป็นลุย ถึงฝนตกก็เจาะ ผมถึงตีรถขึ้นมารอพี่ตั้งแต่แปดโมง แต่ตอนนี้พี่ดันเอารถไปเจาะที่อื่น ผมเสียเวลานะครับ"

"แล้วผมก็ไม่รู้ว่าจะว่างอีกทีเมื่อไร จะนัดให้พี่มาเจาะอีกทีเมื่อไรก็ไม่รู้ ยังไงวันนี้ยังมีเวลา พี่จัดการเรียกช่างมาเจาะให้ผมตามเดิมเลยครับ เพราะที่ชุมแพนี้ ฝนมันไม่ตก"

"ฝนไม่ตกครับ ดูจากเมฆแล้ว ตกอีกทีคงเย็นนู้น" ...(สรุปวันนั้น ตกแค่ตอนเช้าเบาๆ แล้วไม่ตกอีกเลย)

ช่างรีบขอโทษแล้วบอกว่า จะเคลียร์รถมาเจาะให้

กว่าจะมาเจาะได้ก็เกือบสิบเอ็ดโมง ใช้เวลาเจาะห้าชั่วโมง

ภาพรวมถือว่าทำงานดีครับ ถ้าไม่ติดเรื่องมาเปลี่ยนนัดหมายเราโดยไม่แจ้ง

เจาะเสร็จก็ล้างบ่อให้เรียบร้อย แต่ไม่ได้วัดปริมาณน้ำ ว่าได้น้ำเท่าไร แต่จากการล้างบ่อช่างบอกว่า น้ำเยอะใช้ได้
--------------------------------------------------------

จากนั้นผมก็ศึกษา เรื่องปั้มน้ำบาดาล ต่อ

สรุปง่ายๆ

1. ยอมซื้อของแพง มียี่ห้อเถอะครับ เพราะอุปกรณ์ครบ การติดตั้งปั้มน้ำบาดาล ต้องมี ตัวปั้ม ตัวมอเตอร์ สายไฟ 3X1.5 อย่างน้อยๆ มากกว่าความลึกสัก 5 เมตร สายดิน(สำหรับกรณีปั้มที่ใช้ระบบ 4 สาย) ตู้คอนโทรลป้องกันไฟตก ไฟเกิน มอเตอร์ร้อน ไฟกระชาก ฝาบ่อ

ทั้งหมดนี้รวมๆ กัน ของจีนหรือไต้หวัน ก็ต้องใช้งบหลักหมื่น
ผมจึงเลือก แฟรงกิ้น ซึ่งซื้อได้ถูกที่ 12,500 บาท มีครบหมด (ยกเว้นสายดิน ซื้อเพิ่มอีก 250 บาท) ร้านในเว็บนี่ละครับ ส่วนร้านที่อำเภอชุมแพ 13,900 บาท ก็ถือว่าคุ้มที่วิ่งรถอ้อมไป 30 โล ไปซื้อมา

2. ขนาดที่ซื้อควรซื้อขนาดที่ H มากกว่าความลึกของบ่ออย่างน้อย 10 เมตร และควรดูว่าขนาด Q สูงสุดที่ส่งได้นั้น อยู่ที่ H ที่เท่าไร ผมเลือกแฟรงกิ้น เพราะที่ 40 เมตร ส่งได้ Q สูงสุด 6Q ต่อชั่วโมง แต่ของจีนหรือไต้หวัน หย่อนไป 40 เมตร จะดูดได้แค่ 2Q ทั้งๆ ที่ใช้กำลังไฟฟ้าเท่ากัน

ดังนั้นต้นทุนค่าไฟในการสูบน้ำ แฟรงกิ้นจะประหยัดกว่า

จึงยิ่งตอกย้ำว่าในระยะยาวแล้ว ปั้มแฟรงกิ้น แม้จะแพงกว่าในตอนเริ่ม แต่ค่าใช้จ่ายรวมถูกกว่าแน่นอน แถมได้ปริมาณน้ำมากกว่าในเวลาที่เท่าๆ กัน

3. พิจารณาปริมาณน้ำที่ต้องใช้งาน ว่า แต่ละวันต้องใช้งานกี่คิว เนื่องจากผมยังไม่ได้ทดสอบปริมาณน้ำ ผมจึงประเมินไว้ที่ 50% หรือ 12 ชั่วโมง เช่น สูบชั่วโมงเว้นชั่วโมง เท่ากับว่าวันๆ หนึ่งผมจะได้น้ำที่ 72Q หรือ 72,000 ลิตร หรือเท่ากับ ถ้าจ่ายน้ำทั้งพื้นที่ 20 ไร่ ก็ไร่ละ 3,600 ลิตรต่อวัน

ปริมาณขนาดนี้ อาจไม่พอสำหรับพืชบางชนิด แต่หากบริหารจัดการดีๆ ก็ถือว่าพอเพียง (เพราะอนาคตผมจะมีบ่อน้ำอีก 2 ไร่ด้วย)

แต่กลับกัน หากใช้ปั้มไต้หวัน หรือจีน ได้น้ำแค่ 2Q ต่อชั่วโมง วันหนึ่งจะได้แค่ 24Q หรือเท่ากับไร่ละ 1,200 ลิตร ก็เรียกว่าอาจจะน้อยเกินไปด้วยซ้ำ

จาก 3 ข้อในการคำนวณ ผมจึงเลือกปั้มมียี่ห้อไปเลยดีกว่า

----------------------------------------------------
ได้ของมา แกะดูก็พบว่า คุ้มค่า การออกแบบอุปกรณ์ทำได้ดี มีมาตรฐานมาก กล่องคอนโทรล ก็ออกแบบมาดีครับ ชุดกล่องนี้ ถ้าจ้างเขาทำมี 2,000 บาทขึ้นแน่ๆ แต่อันนี้ดูดี ใช้ง่าย ต่อง่ายกว่าเยอะ
(https://lh6.googleusercontent.com/-V0KIA4tFTCE/U46FE3tP9eI/AAAAAAAAyG0/gJLLYolwzTQ/w388-h553-no/2014-05-30+09.19.31.jpg)

การต่อสายของปั้มแฟรงกิ้น ขนาด 1 แรง มีทั้งหมด 4 สาย

ดังนั้นสายไฟที่แถมมาในชุดจะไม่พอ ต้องวิ่งไปซื้อเพิ่มอีก 1 เส้น (ใครจะซื้อก็ซื้อสายดินมาเลยครับ)

ส่วนการต่อก็ง่ายๆ ต่อตามสีเลย ส่วนไฟเมนวิ่งเข้า ต่อบวกหรือลบสลับยังไงก็ได้ เพราะไฟกระแสสลับอยู่แล้ว

จากนั้นก็นำไปทดสอบในโอ่ง เอาสายไฟที่เป็นข้อต่อที่พันเทปละลาย ลงไปในน้ำด้วย เพื่อทดสอบการรั่ว

เสียบปลั้กปุ๊บ น้ำพุ่งสูงชนหลังคาเลยครับ รีบปิดแทบไม่ทัน 555

(https://lh5.googleusercontent.com/-RBcpNwO8R-s/U46FEyKi8xI/AAAAAAAAyGw/zjc6nMlg6AI/w388-h553-no/2014-05-30+09.44.43.jpg)

เตรียมอุปกรณ์เสร็จ ก็เอาลงไปติดตั้ง

โดยใช้ท่อ 1 1/4 นิ้ว ใส่ข้อต่อเกลียวนอก เกลียวใน ลงไปทั้งหมด 10 เส้น ได้ระยะ 40 เมตรโดยประมาณ

ใช้ข้อต่อเกลียวเพื่อสำหรับอนาคตไว้เซอร์วิสปั้ม (อย่าลืมจดข้อมูลปั้มไว้ด้วย)

แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้ลองปริมาณน้ำ

เพราะไม่มีไฟฟ้า 555


---------------------------------
ความจริง ผมเตรียมอุปกรณ์ทดสอบไว้แล้ว โทรคุยกับช่างแฟรงกิ้นแล้ว ช่างบอกว่า ตู้คอนโทรลเขียนไว้ว่าใช้ 7.5A (หมายถึงถ้าต่อเบรกเกอร์ก็ต่อ 10A ก็พอ) ซึ่งคำนวณง่ายๆ

P = IV  ดังนั้น
P = 7.5*220 =  1650W

ผมเลยซื้อ Inverter แบบไม่แพงมาก ขนาด 2000W มาแทน ซึ่งรับ Peak ได้ 4000W ก็คิดว่าน่าจะพอ

แต่ทดสอบแล้วครับ อินเวอร์เตอร์ ร้องตลอดเวลา เพราะจ่ายไฟไม่พอ

ไม่รู้ว่าเพราะอินเวอร์เตอร์ห่วย ได้ไม่เต็ม W จริง หรือเพราะ มันกินไฟกระชากตามทฤษฎีที่ 8 เท่า หรือ 750*8 = 6000W กันแน่

(https://lh6.googleusercontent.com/-8_chVjIUqko/U46HYozRyPI/AAAAAAAAyHE/9wBRM2fD1pw/w620-h520-no/2014-05-12+13.13.56.jpg)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 05, 2014, 08:02:00 AM
ช่วงนี้ฟิตๆ ฮิตๆ คงจะเขียนมันทุกวัน 555

อย่าเบื่อกันก่อนนะ

เรื่องบางเรื่องท่านรู้แล้วก็ช่วยๆ กันเสริมนะครับ

หรือถ้าผมเข้าใจผิดก็ช่วยกันอธิบาย เป็นครูให้ผมหน่อย

------------------------------------------------------

เมื่อวานเล่าถึงการติดตั้งปั้มน้ำบาดาล จริงๆ กว่าจะเข้าใจระบบน้ำ ผมต้องใช้เวลาศึกษาเกือบครึ่งปี

ความจริง พื้นฐานทางวิศวกรรม ผมพอมีอยู่ ด้วยความโชคดีที่พ่อเป็นสารพัดช่างครับ ทำได้ทุกอย่าง เลยเป็นลูกมือมาตั้งแต่เล็กๆ ตอนเด็กๆ ก็ชอบอิเล็กทรอนิกส์ ต่อวงจร เดินบ้านหม้อกับพ่อ ซื้ออุปกรณ์มาทำเล่นๆ พวก อุปกรณ์เตือนน้ำล้น อุปกรณ์หาโลหะ

พอโตช่วงมัธยม พ่อซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในบ้านมาใช้งานทำบัญชี ราคาตอนนั้นเกือบซื้อรถได้คันหนึ่ง ผมเลยได้มีโอกาสเล่นเกมกับเขาบ้าง จอเขียวๆ กลายเป็นความฝันสักวันจะเป็นโปรแกรมเมอร์

เลยหันมาเรียนทางคอมพิวเตอร์ แทน


-----------------------------------------
ระบบน้ำจะยากก็ยาก จะง่ายก็ง่าย หลักๆ คือ ไม่เข้าใจ และไม่รู้ในความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่าครับ

เพราะจริงๆ น้ำมันอธิบายด้วยกลศาสตร์ของไหล อยู่แล้ว

แต่ถ้าจะเอาหลักการมาขนาดนั้น คงต้องเป็นไร่สวนแบบพันๆ ไร่ ที่การคำนวณที่พลาดเพียง 1% อาจหมายถึงค่าใช้จ่ายต่อปีที่เกินไป 1% เช่นกัน

ส่วนไร่สวนของเราแค่ 25 ไร่ มันนิดเดียว ก็คำนวณแบบบ้านๆ นี้ละครับ

ก่อนอื่น ผมขอยกบทความที่เขียนในเฟสบุ๊กส่วนตัว มาโพสต์ก่อน เป็นบทแรกเกี่ยวกับน้ำ
-------------------------------------------------

การวางระบบน้ำเพื่อการเกษตร

น้ำ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเกษตรกรรม
 
คนที่ไม่สามารถจัดหาแหล่งน้ำได้ จำเป็นต้องพึ่งพาฤดูกาลเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ย่อมเป็นผลผลิตประจำฤดูกาล แข่งกันออกมา ราคาย่อมต่ำ เป็นวงจรง่ายๆ ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ไม่หันมาจัดการ ต้องทนทุกข์และมีรายได้ตามยถากรรม
 
การวางระบบน้ำเพื่อการเกษตร จึงเป็นสิ่งที่เกษตรกรที่ต้องการเอาชนะธรรมชาติ หรือเกษตรกรที่ต้องการผลผลิตที่ดี ต้องเรียนรู้และลงทุน
 
หลักการออกแบบระบบน้ำมีหลักคิดง่ายๆ ไม่กี่ตัวแปร ได้แก่
 
1. Q หรือ คิวของน้ำ หรือเท่ากับ 1,000 ลิตร
 
เราต้องหาให้ได้ว่า สิ่งที่เราจะปลูกนั้นต้องใช้น้ำกี่คิว ต่อการจ่ายน้ำ 1 ครั้ง
 
 
2. H หรือ ความสูงของน้ำที่ต้องใช้งาน หรือระยะทางส่งน้ำที่ต้องการ
 
เราต้องสำรวจความสูงต่ำของพื้นที่ เพื่อหาว่าการจ่ายน้ำนั้นต้องใช้แรงสู้กับแรงดึงดูดโลก เป็นความสูงเท่าไร กี่เมตร ในขณะเดียวกัน เส้นทางส่งน้ำมีระยะห่างไกลสุดเท่าใด
 
ดังนั้นค่า H จึงมีสองค่า เป็น H ในแนวดึง และในแนวราบ โดยในแนวราบต้องนำมาเทียบกับตารางค่า H จากแรงต้านในท่อเป็นสำคัญ ซึ่งในการคำนวณจริง ต้องนำค่า Q มาคำนวนในสมการด้วย
 
 
3. แหล่งกำเนิดพลังงาน
เราต้องรู้ว่าพื้นที่การเกษตรที่เราจะวางระบบน้ำนั้น มีแหล่งกำเนิดพลังงานอย่างไร เป็นไฟฟ้า หรือต้องใช้โซล่าเซล หรือใช้น้ำมันปั่นไฟฟ้า เป็นต้น
 
 
เมื่อได้ค่าทั้ง 3 แล้ว เราจึงเริ่มออกแบบวางผังระบบน้ำได้
 
 
-----------------------------------------------------------------------
 
ลำดับแรกคือ คำนวณหาค่า Q ที่ต้องใช้
 
สมมติว่าพืช A ใช้น้ำวันละ 1 ลิตร ต่อต้น ปลูก โดยใช้ระยะห่าง 0.3X1 เมตร ดังนั้นพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 40 แถวๆ ละ 133 ต้น
 
ดังนั้นปลูกได้ 40X133 = 5320 ต้น หรือใช้น้ำไร่ละ 5320 ลิตรต่อวัน
 
ถ้าปลูก 2 ไร่ ย่อมใช้น้ำเท่ากับ 10640 ลิตรต่อวัน
 
 
 
จากนั้นมาดูค่า H สมมติว่า แหล่งน้ำอยู่ริมสุดของที่ดิน 2 ไร่ (พื้นที่เป็นผืนผ้า) ดังนั้น H ในแนวราบต้องส่งไกลสุด 80 เมตร
 
และเราจะวางท่อเมนพาดตรงกลางพื้นที่
 
ส่วน H ในแนวดึง สมมติว่า พื้นที่ราบเอียง 1 เมตร โดยท้ายไร่ จุดแหล่งน้ำต่ำกว่าหัวไร่ 1 เมตร
 
ค่า H จะคำนวณได้ เท่ากับ 1 + X + Y + Z
 
โดย X คือ ค่า H ในแนวราบ โดยจากค่า Q เมื่อเปิดตาราง เราจะพบว่า น้ำ 10Q ถ้าวิ่งผ่านท่อ 1 นิ้ว จะเกิดแรงต้าน H=10m ต่อระยะทาง 100 เมตร
 
ส่วนถ้าใช้ท่อ 2 นิ้ว ค่าแรงต้านจะเหลือ H=3m ต่อระยะทาง 100 เมตร หรือถ้าใช้ท่อ 3 นิ้ว ค่าแรงต้านจะเหลือเพียง H=0.3m ต่อระยะทาง 100 เมตร
 
หรือหมาายความว่า ยิ่งท่อใหญ่ จะสูญเสียแรงดันน้อย แต่ท่อยิ่งใหญ่ราคายิ่งแพง จุดนี้เป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกออกแบบ
 
เช่น ถ้าเลือกท่อ 1 นิ้ว เราจะได้ค่า H เท่ากับ 1+8+Y+Z (8 มาจากระยะทางของท่อ 80 เมตร) หรือถ้าท่อ 2 นิ้ว ก็จะได้เป็น 1+3+Y+Z นั้นเอง
 
ค่า Y คือ ค่า H ในระบบท่อแขนง ที่แยกออกจากท่อหลัก เช่น ใช้ท่อเมน 3 นิ้ว ท่อแขนง 2 นิ้ว เป็นต้น
 
สมมติว่า กรณีนี้ เราวางท่อแขนงไว้กลางไร่ในแนวขวางท่อเมน ก็จะได้ท่อแขนงยาว 40 เมตร หรือเท่ากับ
 
ใช้ท่อ 3 นิ้ว H เท่ากับ 1+0.24+1.2+Z (1.2 มาจากระยะทางของท่อ 2 นิ้ว 40 เมตร และ 0.24 มาจากระยะทางของท่อ 3 นิ้ว 80 เมตร)
 
ค่า Z คือ ค่าที่ระบบจ่ายน้ำต้องการ เช่น เลือกใช้เทปน้ำหยด ในการจ่ายน้ำ ระบบเทปต้องการแรงดันเท่ากับ 1.5 บาร์ หรือ H=15
 
ดังนั้น
 
ถ้าเราเลือกท่อเมน 3 นิ้ว จะได้ค่า H เท่ากับ 1+0.24+1.2+15 = 17.44
ถ้าเราเลือกท่อเมน 2 นิ้ว จะได้ค่า H เท่ากับ 1+2.4+4+15 = 22.4
 
ถึงจุดนี้ เราจะได้ค่า Q และ H เพียงพอจะไปเลือกปั้มน้ำแล้ว
 
เราต้องเลือกปั้มน้ำที่จ่ายน้ำ 10Q ณ H ที่ 17 สำหรับท่อเมน 3 นิ้ว หรือ จ่ายน้ำ 10Q ณ H ที่ 22.4 สำหรับท่อเมน 2 นิ้ว
 
 
จากค่าทั้งสอง เมื่อเราได้แหล่งกำเนิดพลังงานแล้ว เราก็นำมาคิดรวมกับต่อเลือกปั้ม ว่าปั้มดังกล่าวใช้กับแหล่งจ่ายไฟได้หรือไม่
 
นอกจากนี้ เราต้องเลือกปั้มที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด คือ เสียวัตต์ในการจ่ายน้ำน้อยที่สุด แต่ได้จำนวนลิตรมากที่สุด โดยยังคงจ่ายได้จริงในระบบตามพื้นที่ของเรา
 
 
-- ตรงนี้ละที่ยาก และอาจหาปั้มน้ำที่มีสเปกที่ต้องการไม่ได้ ถ้าไม่ได้จริงๆ เราก็ต้องเปลี่ยนการออกแบบ รวมถึงอาจต้องเปลี่ยนแหล่งกำเนิดพลังงานเลยทีเดียว
 
ถึงจุดนี้ เราจะได้ แผงผังโครงสร้างท่อทั้งระบบของพื้นที่เกษตร และปั้มน้ำที่จะจ่ายน้ำแล้ว
 
การบ้านต่อไปคือ ระบบการควบคุมการจ่ายน้ำ
 
 
ซึ่งผมจะเขียนในบันทึกตอนต่อไป
 
ปล. ข้อมูลทั้งหมดจากการศึกษาในเน็ตและถามผู้เชี่ยวชาญ ขอบคุณพี่เอก @eakachai สำหรับคำปรึกษาต่างๆ และบันทึกไว้เตือนความจำตนเอง
--------------------------------------------

อ่านแล้ว งง ก็สอบถามได้นะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 05, 2014, 08:36:33 AM
สำหรับสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

ผมแบ่งที่ดินเป็น 5 โซนๆ ละ 5 ไร่

ระยะกว้างสุดของที่ดินแต่ละโซนประมาณ 80 เมตร และยาวสุด 100 เมตร

(พี่ Google น่ารักจริงๆ ยังเก็บข้อมูลชื่อเก่าตั้งแต่ปี 40 ไว้ให้ค้นหาได้ด้วย เกือบ 20 ปีแล้ว 555)
(https://lh6.googleusercontent.com/-aAKHhOB2OCM/U4_LllTlPzI/AAAAAAAAyHs/CPSRVhy4feg/w1043-h466-no/map_zone.jpg)

ดูคร่าวๆ ผมก็ได้คำตอบในตัวเองทันทีว่า ผมต้องมีจุดจ่ายน้ำมากกว่า 1 จุด ไม่สามารถมีจุดเดียวได้ เพราะคำนวณแล้ว ค่าท่อเมน 3 นิ้วที่วางพาดตามแนวที่ดินนั้น มูลค่ารวมกัน ซื้อปั้มใหม่ดีกว่า

และผนวกกับแผนที่จะมีบ่อน้ำ 2 บ่อ ยังไงก็ต้องมีปั้ม 2 ตัวอยู่ดี

และจากการบริหารจัดพื้นที่ซึ่งเราไม่มีงบลงทุนไปก่อน 15 ไร่ ผมจึงโฟกัสเพียง 10 ไร่ ที่จะใช้ก่อนเท่านั้น

ทีนี้ ก็ไปศึกษาต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ พบว่า

การขุดบ่อแล้วจะให้เก็บน้ำได้เลยนั้น ต้องใช้เวลา ให้บ่อเซ็ตตัวเอง (ยกเว้นโชคดีเจอดินที่เก็บน้ำอยู่เลย) ดังนั้นผมจึงไม่เสี่ยง

แผนจึงเป็นการทำแท็งก์น้ำด้วยบ่อวงซีเมนต์ก่อน ทั้งนี้หากอนาคตมีการเปลี่ยนแปลง แท็งก์น้ำชุดนี้จะกลายเป็นน้ำใช้ ที่อาจติดตั้งระบบกรองเพิ่มเติม ระบบทำเป็นน้ำประปาเพิ่มเติมเข้าไปในอนาคต (ยามมีเงินแล้ว)

จึงเรียกว่าลงทุนไปไม่เสียเปล่า

ตรงนี้สำคัญมาก กับการวางแผนจัดการฟาร์ม อะไรที่เป็นการลงทุนถาวร สินทรัพย์ถาวรต่างๆ คุณต้องคำนวณให้ดี คิดให้ยาวเป็น 10 ปี ว่า อนาคตสิ่งที่ก่อสร้างไป ลงไป จะเป็นอย่างไร ถ้าแผนเปลี่ยน จะเปลี่ยนมันไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

เมื่อคิดได้เรียบร้อยก็คำนวณขนาดที่เหมาะสมต่อการจ่ายน้ำ 1 รอบ ก็ได้ว่าต้องเก็บน้ำสักให้ได้สัก 10 คิว เพื่อจ่ายน้ำต่อ 1 รอบ และเติมน้ำ 1 รอบใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (จากปั้มบาดาลที่สูบได้ 6Q ต่อชั่วโมง) ดังนั้น ในวันหนึ่ง จะจ่ายน้ำเช้าเย็นได้สบายๆ

คิดได้แบบนั้น ก็เขียนแบบง่ายๆ และให้พ่อตาสำรวจว่าแถวๆ ตรงกลางที่ดิน (เพื่อให้การจ่ายน้ำเหมาะสมที่สุด) มีตรงไหนที่ดินแข็งแรงดีบ้าง (ดินแน่นนั้นละครับ)

(https://lh6.googleusercontent.com/-rasXk0X7JBU/U4_PFLwT3AI/AAAAAAAAyH8/KZKEVbzZttg/w737-h553-no/%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2597%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%258C.jpg)


บ่อวงที่ใช้เป็นขนาด 120X50 ซม. ตั้งสูง 6 วง รวม 2 แท็งก์ แต่ละแท็งก็ได้น้ำประมาณ 4.5 คิว

(https://lh3.googleusercontent.com/-IykI6TwGuwo/U4_QlfXDcRI/AAAAAAAAyIM/YIKYS5p5WIw/w347-h552-no/P1130911.JPG)



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 05, 2014, 08:47:43 AM
ข้อควรต้องใส่ใจ

ที่ดินของผม มีการทำถนนไว้นานหลายสิบปี แม้ฝนตกก็สามารถเข้าที่ดินได้ แต่จุดที่จะวางแท็งก์เป็นจุดกลางที่ดิน ซึ่งมีถนนที่พึ่งทำมาได้แค่ 3 ปี และทำแบบอัดดิน ไม่ใช่โรยหิน

จึงทำให้พอฝนตก รถใหญ่จะเข้าไม่ได้เลย ติดหล่มแน่ๆ

ผลคือ งานที่วางไว้เป็นอันต้องหยุด จากเดิมตั้งใจว่าแท็งก์พวกนี้ต้องเสร็จก่อนพฤษภาคม แต่ช่วงหลังสงกรานต์จนถึงกลางพฤษภาคม ฝนตกหนักทุกวัน

หญ้าขึ้นสวยงาม ดินนิ่ม พ่อตาบอกทำอะไรไม่ได้เลย ก่อสร้างก็ไม่ได้ (ไอ้เราก็คิด เอาเต้นท์ไปกางไหม 555)

แต่ก็นั้นละครับ เมื่อรู้ว่าทำไม่ได้ เราก็รอ

จนพึ่งมาช่วงนี้ (มิถุนายน) ที่ฝนเริ่มซาๆ บ้างแล้ว ตกแต่ไม่หนัก ก็จึงเริ่มให้คนงานดำเนินงานอีกครั้ง

ทั้งไถกลบหญ้า และเริ่มงานก่อสร้าง

ส่วนแผนผังการวางท่อ ก็ประมาณนี้ครับ ง่ายๆ

(https://lh6.googleusercontent.com/-ZEUYr4lkV3Y/U4_SvVJOAJI/AAAAAAAAyIc/YnyiL3OgswU/w737-h553-no/%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B4%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25871.JPG)

ท่อเมน 3 นิ้ว ท่อแขนง 2 นิ้ว
ต้องลงทุนท่อขนาดใหญ่ เพื่อลดการสูญเสีย H ในท่อ เพื่อจะได้เลือกปั้มอัดแรงดันที่ไม่ต้องมี H สูง และเมื่อปั้มที่มี H ไม่สูงนัก เราก็จะได้ Q ที่สูงแทน ทำให้แต่ละโซนการจ่ายน้ำของเราใหญ่ขึ้น

ส่วนท่อแขนงย่อยๆ ก็แล้วแต่ชนิดของพืชที่เราจะปลูก ว่าเป็น ท่อ PE หรือ เทปน้ำพุ่ง หรือเทปน้ำหยด สามารถติดต่อได้ทั้งหมด

ส่วนท่อเมน 3 และ 2 นิ้ว ทั้งหมด จะต่อกันในลักษณะข้อต่อเกลียวในและนอก เพื่อการถอดออกในอนาคต หากต้องการไถปั่นดิน เพื่อเตรียมที่ดิน ก็ไม่ต้องกังวลว่าท่อเสียหาย






หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 05, 2014, 09:03:18 AM
เรื่องท่อและอุปกรณ์

ในเว็บบอกว่า แถวๆ ราชบุรีขายถูก

บอกเลย ถูกจริงๆ แต่...

ชั่งน้ำหนักเรื่องระยะทางแล้ว ผมเลยซื้อท่อแถวๆ สวนดีกว่า ส่วนข้อต่อต่างๆ ซึ่งเป็นของที่บวกราคาเพิ่มสูง จะซื้อจากร้านถูกๆ แทน เช่น ไทวัสดุ

และเพื่อให้เข้าใจในอุปกรณ์ (อย่างที่บอกไปแล้ว ระบบน้ำ ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าอุปกรณ์แต่ละอย่างมันทำงานอย่างไรคืออะไร)

ผมก็เลยไปเยี่ยม กนกโปรดักซ์ บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบน้ำการเกษตรขายส่งให้ไทวัสดุ สักหน่อย

(https://lh4.googleusercontent.com/-AoPQeGqQGI8/U4_WXfjnarI/AAAAAAAAyI0/j_mbeWyGZIc/w620-h520-no/2014-05-29+09.29.22.jpg)

หมดไป 3,500 กว่าบาท หนักๆ คือ ไส้กรองเกษตรครับ 2 ตัว 1600 บาท (ราคาลดแล้วโดยประมาณ)
(https://lh5.googleusercontent.com/-DYyseBMHkI4/U4_WXcOm5yI/AAAAAAAAyI4/Zk--IDgQ7pk/w385-h553-no/2014-05-29+09.29.09.jpg)

จากนั้นก็ไปดู ไทวัสดุ ก็พบว่า ราคาไม่ได้ต่างกันมาก (เทียบส่วนลด) แถม ไทวัสดุ เก็บคะแนนได้ และรับบัตรเครดิต

ดังนั้น... รอบหน้า ไทวัสดุ ดีกว่าครับ 555 (หรือ Do home ก็ได้นะ)

(อันนี้ผมไม่แปลกใจนะ เพราะถ้าบริษัทผลิตขายต่ำกว่าและมีหน้าร้านจริงจัง ตัวแทนจำหน่ายคงไม่อยากทำธุรกิจด้วย เพราะใครจะไปซื้อของเขาละ)



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 05, 2014, 12:45:24 PM
ลืมดู พึ่งเห็นว่า รูปแนวท่อน้ำ วางผิดทิศ

ขออภัยครับ เป็นรูปเก่า ตั้งแต่ทำแผนในกระดาษ

พอมาทำงานจริง ก็พบว่า ต้องวางต้นไม้แนว เหนือใต้ เพื่อให้รับแดดได้ดีทั้งวัน

ดังนั้น ท่อย่อย จะเปลี่ยนมาวิ่งแนวเหนือใต้แทน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: nopmtp ที่ มิถุนายน 05, 2014, 01:17:32 PM
" เมื่อคิดได้เรียบร้อยก็คำนวณขนาดที่เหมาะสมต่อการจ่ายน้ำ 1 รอบ ก็ได้ว่าต้องเก็บน้ำสักให้ได้สัก 10 คิว เพื่อจ่ายน้ำต่อ 1 รอบ และเติมน้ำ 1 รอบใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (จากปั้มบาดาลที่สูบได้ 6Q ต่อชั่วโมง) ดังนั้น ในวันหนึ่ง จะจ่ายน้ำเช้าเย็นได้สบายๆ "

    มาเอาความรู้เพิ่มครับท่าน  ;) ;)
แต่สงสัยว่า...น้ำ 6 คิว/ชม   ไม่ลองยิ่งตรงดูเลยครับ
ไม่แน่อาจช่วยประหยัดค่าถังและไม่ต้องรอเติ่มถึง 2 ชม   ก็ได้นะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 05, 2014, 01:26:59 PM
" เมื่อคิดได้เรียบร้อยก็คำนวณขนาดที่เหมาะสมต่อการจ่ายน้ำ 1 รอบ ก็ได้ว่าต้องเก็บน้ำสักให้ได้สัก 10 คิว เพื่อจ่ายน้ำต่อ 1 รอบ และเติมน้ำ 1 รอบใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (จากปั้มบาดาลที่สูบได้ 6Q ต่อชั่วโมง) ดังนั้น ในวันหนึ่ง จะจ่ายน้ำเช้าเย็นได้สบายๆ "

    มาเอาความรู้เพิ่มครับท่าน  ;) ;)
แต่สงสัยว่า...น้ำ 6 คิว/ชม   ไม่ลองยิ่งตรงดูเลยครับ
ไม่แน่อาจช่วยประหยัดค่าถังและไม่ต้องรอเติ่มถึง 2 ชม   ก็ได้นะครับ

เหมือนรู้ในความคิด

1. น้ำบาดาล ไม่รู้ปนเปือนอะไรบ้างครับ กรองเกษตรกรองได้แค่ส่วนหนึ่ง
2. ก่อนน้ำเข้าแท็งก์ จะมีไส้กรอง กรองน้ำอีก 1 ชั้น (ไว้ทำแล้วจะนำมาแสดงให้ดู)
3. อัดตรงๆ 6Q ถ้าเป็นเทปน้ำพุ่ง ได้แค่ 6,000 จุด หรือ 1000 เมตรโดยประมาณ พื้นที่ 10 ไร่ ต้องแบ่งทั้งหมด 8 โซนเป็นอย่างน้อย

แต่ละโซน ถ้าคุมมือ ก็ไม่เท่าไร แต่ถ้าจะคุมด้วยระบบอัตโนมัติ ต้องติดตั้งวาล์วโซลินอยไฟฟ้าอีก วาล์วหนึ่งก็หลายพัน

ถ้าแค่ 1 พัน แปดโซน ซื้อปั้มใหม่ได้ 1 ปั้ม

คำนวณแบบนี้ ก็จะได้ว่า ปล่อยให้บาดาลมันดูดมาเก็บไม่ต้องอัดเข้าโซน จะดีกว่า


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 05, 2014, 01:35:08 PM
อีกประการหนึ่งคือ

ถ้าใช้ปั้มบาดาลอัดตรงๆ เมื่อปั้มบาดาลเสีย Time ในการแก้ไขปัญหาผมจะน้อยมาก เพราะเท่ากับต้องแก้ไขทันที

แต่ถ้าเก็บไว้ในแท็งก์ก่อน เมื่อปั้มเสีย ก็ยังมีเวลาแก้ไข (แล้วก็จะมีคำถามว่า ถ้าปั้มอัดจากแท็งก์เสียละ - ก็ยังมีปั้มน้ำมันอื่นๆ ดูจากแท็งก์ อัดเข้าระบบท่อแทนได้)

แต่สำหรับบาดาล มันใช้ปั้มอะไรดูน้ำลึกๆ แทนไม่ได้

เรียกว่า ป้องกันปัญหา เผื่อไว้เลยครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: nopmtp ที่ มิถุนายน 05, 2014, 02:17:00 PM
" เมื่อคิดได้เรียบร้อยก็คำนวณขนาดที่เหมาะสมต่อการจ่ายน้ำ 1 รอบ ก็ได้ว่าต้องเก็บน้ำสักให้ได้สัก 10 คิว เพื่อจ่ายน้ำต่อ 1 รอบ และเติมน้ำ 1 รอบใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (จากปั้มบาดาลที่สูบได้ 6Q ต่อชั่วโมง) ดังนั้น ในวันหนึ่ง จะจ่ายน้ำเช้าเย็นได้สบายๆ "

    มาเอาความรู้เพิ่มครับท่าน  ;) ;)
แต่สงสัยว่า...น้ำ 6 คิว/ชม   ไม่ลองยิ่งตรงดูเลยครับ
ไม่แน่อาจช่วยประหยัดค่าถังและไม่ต้องรอเติ่มถึง 2 ชม   ก็ได้นะครับ

เหมือนรู้ในความคิด

1. น้ำบาดาล ไม่รู้ปนเปือนอะไรบ้างครับ กรองเกษตรกรองได้แค่ส่วนหนึ่ง
2. ก่อนน้ำเข้าแท็งก์ จะมีไส้กรอง กรองน้ำอีก 1 ชั้น (ไว้ทำแล้วจะนำมาแสดงให้ดู)
3. อัดตรงๆ 6Q ถ้าเป็นเทปน้ำพุ่ง ได้แค่ 6,000 จุด หรือ 1000 เมตรโดยประมาณ พื้นที่ 10 ไร่ ต้องแบ่งทั้งหมด 8 โซนเป็นอย่างน้อย

แต่ละโซน ถ้าคุมมือ ก็ไม่เท่าไร แต่ถ้าจะคุมด้วยระบบอัตโนมัติ ต้องติดตั้งวาล์วโซลินอยไฟฟ้าอีก วาล์วหนึ่งก็หลายพัน

ถ้าแค่ 1 พัน แปดโซน ซื้อปั้มใหม่ได้ 1 ปั้ม

คำนวณแบบนี้ ก็จะได้ว่า ปล่อยให้บาดาลมันดูดมาเก็บไม่ต้องอัดเข้าโซน จะดีกว่า


    อ้อ...ที่แท้ก็เป็นเช่นนี้เอง   เข้าใจครับ  ;) ;)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 06, 2014, 01:45:34 AM
ไปเจอคำแนะนำของพี่ avatayos ในเว็บพันทิปห้องชายคา เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

 ผมเลยอยากรบกวนถามพี่ว่า ในหัวผมที่จะสร้างบ้านปูนเปลือย ชั้นเดียว ยกสูง เน้นชานหน้าบ้านกว้างและต้องการกินน้ำฝนจากหลังคาได้

มีข้อควรระวังหรือข้อควรทำอย่างไรบ้างครับ (ผมชอบที่พี่แนะนำไว้ว่า ให้มีห้องเก็บของใหญ่)

แล้วพี่พอรู้จักสถาปนิกหรือผู้รับเหมาที่พอจะมาทำบ้านสวนน้ำหนาวผมบ้างไหมครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 06, 2014, 08:37:55 AM
ไปเจอคำแนะนำของพี่ avatayos ในเว็บพันทิปห้องชายคา เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

 ผมเลยอยากรบกวนถามพี่ว่า ในหัวผมที่จะสร้างบ้านปูนเปลือย ชั้นเดียว ยกสูง เน้นชานหน้าบ้านกว้างและต้องการกินน้ำฝนจากหลังคาได้

มีข้อควรระวังหรือข้อควรทำอย่างไรบ้างครับ (ผมชอบที่พี่แนะนำไว้ว่า ให้มีห้องเก็บของใหญ่)

แล้วพี่พอรู้จักสถาปนิกหรือผู้รับเหมาที่พอจะมาทำบ้านสวนน้ำหนาวผมบ้างไหมครับ


มีข้อคิดดีกว่าครับ

1. โครงสร้างยกสูงแล้วผนังเป็นปูน ถ้าต้องการใช้พื้นที่ด้านล่างเป็นที่นั่งเล่น ใต้ถุนบ้าน โครงสร้างความแข็งแรงจะเท่ากับบ้านสองชั้น ดังนั้นต้นทุนตรงนี้จะสูงกว่าการทำบ้านไม้ หรือบ้านโครงสร้างเบาอื่นๆ

2. เน้นชานบ้านกว้างๆ แนะนำให้ออกแบบให้มีร่มเงาทั้งวัน อย่าเอาชานบ้านไปขวางตะวัน เดี๋ยวจะไม่ได้ใช้งานเลยสักวัน

3. กินน้ำฝน ก็ต้องต่อท่อรางน้ำรับน้ำฝน แต่น้ำฝนสมัยนี้ ผมไม่ค่อยไว้ใจ มลพิษในอากาศมันเยอะ ถึงเป็นชนบท แต่เดี๋ยวถนนหนทางถึงหมด ยังไงคุณภาพก็ไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ลองชั่งน้ำหนักดูว่า ระบบหลังคาเราต้องใส่รางน้ำฝนไหม ถ้าต้องใส่อยู่แล้ว ก็น่ามีปัญหาอะไร แค่ทำตามโบราณ คือ ฝนแรกล้างหลังคา ฝนกลางๆ ฤดูนู้นถึงจะใช้ได้

แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องติดรางน้ำฝนแล้ว แต่อยากใช้น้ำฝน ก็อาจติดเฉพาะส่วน แต่ปริมาณน้ำที่ได้ก็จะน้อย ขึ้นอยู่กับว่าฝนตกชุกไหม

ปัจจุบันบ้านตายายผม ซื้อน้ำกินครับ ไม่ได้ซื้อระบบกรองน้ำด้วย เพราะปริมาณการบริโภค คำนวณแล้ว ซื้อกินเป็นถังคุ้มกว่า (ขนาดเอาราคากรองน้ำแถวๆ สวนสยามนะ)

ส่วนน้ำฝน ก็ทำไว้ตั้งแต่โบราณ ก็ยังใช้อยู่ เป็นน้ำใช้ครับ เวลาแล้งๆ ก็ได้ใช้ มีโอ่งปูนขนาด 1500 ลิตรอยู่ 3 โอ่ง เหลือๆ


ส่วนห้องเก็บของ ... คนไทย สมัยใหม่ ลืมไปแล้วครับ เวลาซื้อบ้านดูแต่ กี่ห้องนอน กี่ห้อนน้ำ ไม่เห็นมีใครโฆษณา 1 ห้องเก็บของเลย 555

ซึ่งมันจำเป็นมาก เพราะไม่งั้น บ้านดีๆ ก็จะรกไปด้วยข้าวของที่ ไม่อยากทิ้ง ตั้งใจเก็บไว้ใช้ (แต่สุดท้ายก็เห็นไม่ได้ใช้ 555)


ส่วนคำแนะนำ

1. ไปนั่งๆ นอนๆ ในที่ดิน ทั้งวัน หลายๆ ฤดู ก่อนจะลงบ้านจริงๆ  ไปเพื่ออะไร เพื่อดูทิศทางลม และแดด บ้านที่ดีต้องรับลม บังแดด จะได้บ้านเย็นตามธรรมชาติ อยู่สบาย

2. ปลูกบ้านต่างจังหวัด ยังไงก็แนะนำให้ยกพื้น ให้เกิดใต้ถุน เพื่อป้องกันปัญหาเกือบทุกเรื่อง ภูมิปัญญาคนไทย บ้านทรงไทยในพื้นที่เป็นแบบไหน ควรสร้างแบบนั้น

3. ค่อยๆ ทำไปทีละนิด ใจเย็นๆ แล้วจะได้ดีที่สุดครับ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 06, 2014, 09:02:04 AM
ขอกลับเข้าเรื่องน้ำ ต่อจะได้จบเป็นเรื่องๆ นะครับ 555

คุณ nopmtp ถามคำถามได้ดีว่า ทำไมไม่ใช้ปั้มบาดาลไปเลย

ในเบื้องต้นผมก็เคยคิดแบบเดียวกัน แต่สุดท้าย ในการออกแบบระบบน้ำ ผมแนะนำว่า เราต้องออกแบบทั้งระบบไว้ล่วงหน้า อย่างที่เขียนไว้ ว่าของบางอย่างมันลงไปแล้ว มันถาวร จะเปลี่ยนไม่ได้ ของบางอย่างเปลี่ยนได้ อะไรที่เปลี่ยนได้ เราก็คำนวณความคุ้มค่า คุ้มทุนไป แต่อะไรที่เปลี่ยนไม่ได้ ลงแล้วต้องใช้ยาวๆ อันนี้ต้องเลือกให้ดี

ตอนแรกผมคิดถึงการพึ่งพาพลังงานให้น้อยที่สุดด้วยซ้ำ เพื่อลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด คิดถึง การจ่ายน้ำด้วยแรงดันธรรมชาติ คือ ยกแท็งก์ขึ้นสูง แล้วปล่อยลงมา ด้วยวิธีนี้ ติดปั้มบาดาลตัวเดียวจบ

แต่ยกแท็งก์ไปสูง 10 เมตร ก็ได้ H เท่ากับ 10 เอง

ซึ่งจะเกิดปัญหาทันทีหากเราต้องการจ่ายน้ำด้วยระบบที่ต้องการ H มากกว่า 10

และเมื่อมาคำนวณค่าใช้จ่ายในการทำหอแท็งก์น้ำ....โอ้วววว ราคาไม่ใช่เล่นๆ


สิ่งที่ผมจะบอกคือ การวางระบบน้ำ มันไม่ได้มีสูตรสำเร็จ ไม่ต้องเลียนแบบกัน

แต่ขอให้คุณ วางแผนผังระบบน้ำให้ครบถ้วน คำนวณ Q ที่ต้องการ คำนวณ H ที่ต้องการในแต่ละจุดแล้ว ค่อยๆ เปลี่ยนตัวแปรต่างๆ ว่าอะไรให้ความคุ้มค่าในการใช้น้ำมากที่สุด

ในไร่มันสัมปะหลัง ขนาด 300 ไร่ แห่งหนึ่ง เลือกใช้ปั้มเครื่องยนต์ติดแก๊สขนาดใหญ่ ที่จ่ายน้ำได้เป็น 100Q ต่อชั่วโมง โดยเสียค่าแก๊สแค่ 10 บาท หากใช้ปั้มมอเตอร์ คงต้องใช้มอเตอร์ไม่ต่ำกว่า 5 แรงม้า ซึ่งค่าไฟคงไม่ใช่ชั่วโมงละ 10 บาท และด้วยขนาด 5 แรง จะลามไปถึงระบบไฟฟ้าทั้งหมด ต้องเป็นไฟ 3 เฟส ต้นทุนอุปกรณ์เหล่านี้อีกหลายตังค์

ในพื้นที่แห่งหนึ่ง เลือกใช้ระบบโซล่าเซลล์ เพราะมีข้อจำกัดว่าไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ระบบโซล่าเซลล์เลยเป็นข้อจำกัดในการเลือกปั้ม ทำให้สุดท้ายต้องวางปั้มหลายตัว เพราะกำลังของปั้มเลือกที่มีแรงม้าสูงมากไม่ได้ ยิ่งสูงมอเตอร์ยิ่งแพง

ตัวอย่างนี้ ผมจึงเขียนแนะนำหลักการ ให้คุณไปคำนวณต่อเอง แล้วคุณจะได้คำตอบที่เหมาะสม

ของผมเองก็หลงทางไปกับ โซล่าเซลล์ หลายเดือน

เพราะคิดว่า ไม่อยากเสียค่าติดตั้งระบบไฟฟ้า

ตอนเจาะบ่อบาดาล ก็เลือกทำเลที่เหมาะสม โดยไม่ได้คิดถึงการเดินเสาไฟฟ้าเลย (ตั้งใจเป็นโซล่าเซลล์)

แต่พอศึกษานานเข้า ก็พบว่า ต้นทุนการขอขยายพื้นที่ไฟฟ้า ต้นทุนเสาไฟฟ้า ต้นทุนสายไฟ แม้จะแพงกว่าโซล่า 2 เท่า แต่เปิดโอกาสให้เราเลือกระบบที่จะมาใช้งานได้อีกมากมาย โดยไม่ต้องยึดติดว่าต้องเป็นโซล่าเซลล์ เท่านั้น

หรือถ้าจะไม่ให้ยึดติดระบบโซล่าเซลล์ เราก็ต้องลงทุนอินเวอร์เตอร์ดีๆ ซึ่งก็แพงพอๆ กับซื้อเสาไฟฟ้ามาลง

คำนวณไป คำนวณมา

ผมก็เลยไปขอไฟฟ้าแทน ...ซึ่งปลดล็อกปัญหาเรื่องระบบสูบน้ำไปได้เยอะมากกกกก

เจ้าหน้าที่อัธยาศัยดี คนไม่เยอะ ขอกันสบายๆ ไม่มีคิว ไม่วุ่นวายเหมือนเมืองใหญ่ เจ้าหน้าที่บอกว่า 2 อาทิตย์ ตอนนี้ผ่านไปแล้ว 1 อาทิตย์ ยังไร้แววมาลงเสา (แต่เห็นเขาบอกว่าทำกันวันเดียวก็เสร็จ)
(https://lh6.googleusercontent.com/RtTRSGtVbX219I1iH27ySCCxBayzQlJ-r79eH3iM5JX-=w388-h553-no)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 06, 2014, 10:11:48 AM


ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ

รอติดตามเรื่องปั๊มน้ำครับ กะทำเหมือนกัน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: nopmtp ที่ มิถุนายน 06, 2014, 07:54:05 PM
   ขอบคุณมากครับ   อธิบายจนเห็นภาพเลยครับ  ;) ;)
แต่ยังสงสัยอยู่เรื่องระบบอัตโนมัตินี้   เราต้องจ้างคนคอยเฝ้าหรือเปล่าครับ
หรือว่าเราตั้งเวลาใว้อย่างเดียว   ถ้าราคาไม่แรงละก็   จะขอลอกแบบท่านด้วยคนครับ  ;D ;D


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 07, 2014, 09:38:11 AM
   ขอบคุณมากครับ   อธิบายจนเห็นภาพเลยครับ  ;) ;)
แต่ยังสงสัยอยู่เรื่องระบบอัตโนมัตินี้   เราต้องจ้างคนคอยเฝ้าหรือเปล่าครับ
หรือว่าเราตั้งเวลาใว้อย่างเดียว   ถ้าราคาไม่แรงละก็   จะขอลอกแบบท่านด้วยคนครับ  ;D ;D

สวนผมมีคนเฝ้าครับ

จึงไม่ค่อยกังวลเรื่องของหาย และอีกอย่างคือ ที่ดินผืนนี้เป็นของตาทวด ท่านถือเป็นบุคคลสำคัญของอำเภอชุมแพ ชาวบ้านรักและเคารพ จึงค่อนข้างปลอดภัย (แต่ผมก็ยังไม่ไว้ใจอยู่ดี จึงให้มีคนเฝ้าครับ)



ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ

รอติดตามเรื่องปั๊มน้ำครับ กะทำเหมือนกัน

ผมลืมตอบคุณซีไปเรื่อง คือ คนรับเหมา มีครับ ไว้ถ้าจะทำจริงๆ เมื่อไร PM มานะครับ จะส่งเบอร์ให้ เป็นเพื่อนเปิดบริษัทรับสร้างทุกอย่างในอำเภอชุมแพครับ เปิดมาหลายปีแล้วครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 07, 2014, 09:57:35 AM
วันก่อน ขับรถไปส่งดินเพื่อตรวจ ที่กำแพงแสน

เสียค่าใช้จ่ายการตรวจ 490 บาท ค่าแก๊สเดินทาง 300 บาท

ความจริงส่งทางไปรษณีย์ก็ได้ แต่อยากไปคุยกับเจ้าหน้าที่เพื่อเรียนรู้บางอย่างด้วย เลยได้คำตอบมา

1. การส่งดิน ถ้าดินคนละสี ต้องส่งคนละชุด ห้ามเก็บดินคนละสีมาในตัวอย่างเกียวกัน

2. การเก็บตัวอย่างดิน ไม่ควรเก็บตอนฝนตก หรือช่วงฝนตก เพราะค่าที่ได้อาจผิดเพี้ยน

3. หลังไถกลบแล้ว เก็บดินมาส่งตรวจตอนนั้นได้เลย ไม่ต้องรอให้หมักให้เรียบร้อย

4. สีของดิน ไม่ได้เป็นตัวบอกว่าเป็นดินชนิดอะไร ดินเหนียวสีแดงก็มี

5. ดินดี ไม่จำเป็นต้องดำ แต่การปลูกพืชให้เหมาะสมกับดินต่างหาก ที่ดี

6. ถ้าไปด้วยตัวเอง เขาปิดรับส่งดิน 16.00 น. นะครับ

7. การตรวจสอบดินที่กำแพงแสนใช้เวลาไม่นาน แต่เจ้าหน้าที่ขอไว้ 45 วันเผื่อผิดพลาด หากผลเสร็จก่อนส่งทางอีเมล์ให้ได้ก่อนเลย

(https://lh5.googleusercontent.com/-US0nxXdAQBk/U5KFy0DlXMI/AAAAAAAAyKE/lSMo4KHHgYg/w620-h520-no/2014-06-05+16.01.47.jpg)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 08, 2014, 08:19:07 AM
การเลือกซื้อ ปั้มน้ำ

ก่อนเลือกซื้อปั้มน้ำ เราควรเข้าใจหลักการก่อน

1. ปั้มน้ำทำงานด้วยความแรงเพียงระดับเดียว ถ้าไม่มีระบบคอนโทรล เร่ง-ลด มอเตอร์เข้ามาช่วย ดังนั้น ปั้มจะทำงานที่ความแรงสูงสุดเดียวจุดเดียว

2. ประสิทธิภาพของน้ำที่ออก จะแปรผกผันกันระหว่าง Q กับ H เช่น Q มาก H จะน้อย เป็นต้น ดังนั้นปั้มน้ำที่ดี จะมีแค่ความแปรผกผันที่น้อย 

3. ขนาดของแรงม้า ไม่ได้เป็นตัวบอกประสิทธิภาพ การเลือกปั้มควรเลือกด้วย การคำนวณหาค่าใช้จ่าย W ต่อปริมาณน้ำ ในจุด H และ Q ที่เราใช้งาน

เช่น
ปั้ม A ขนาด 750 วัตต์ หรือ 1 แรงม้า สามารถส่งน้ำได้ 10Qต่อชั่วโมง ที่ H 25
ปัั้ม B ขนาด 375 วัตต์ หรือ 0.5 แรงม้า สามารถส่งน้ำได้ 6Qต่อชั่วโมง ที่ H 25

แสดงว่า

ปั้ม A ใช้ไฟฟ้า 1 วัตต์ จ่ายน้ำได้ 10,000/750 = 13.34 ลิตร
ปั้ม B ใช้ไฟฟ้า 1 วัตต์ จ่ายน้ำได้ 6,000/375 = 16 ลิตร

จากตัวอย่างนี้ จะเห็นว่า ปั้ม A กินไฟฟ้า เสียค่าใช้จ่ายระยะยาวสูงกว่า

แต่ปั้ม A จะได้เรื่องประสิทธิภาพการให้น้ำต่อ 1 เครื่องสูงกว่า จึงจ่ายน้ำได้เร็วกว่า

ทีนี้เราก็ต้องมาคิดชั้นที่ 2 คือ ถ้าเราใช้ปั้ม B 2 เครื่อง

เราจะได้ น้ำ 12Q เสียไฟฟ้า 750 วัตต์

ดูแล้วจะมากกว่าปั้ม A ด้วยซ้ำ

แต่สิ่งที่ต้องคำนวณต่อคือ

1. ราคา ปั้ม A เครื่องเดียว กับปั้ม B 2 เครื่อง ราคาต่างกันอย่างไร เอาราคาไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายต่อน้ำ 1 ลิตร ก็จะรู้คำตอบ
2. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ การมี 2 ปั้ม ต้องมีอุปกรณ์ท่อ ตู้คอนโทรล ระบบต่างๆ เพิ่มขึ้นมาเป็นสองเท่า
3. ชั่งน้ำหนัก ข้อดีข้อเสีย การมี 1 ปั้ม กับ 2 ปั้ม
4. อัตราการสูญเสีย ปั้มใช้มอเตอร์ ดังนั้น ประสิทธิภาพการแปลงไฟฟ้าเป็นกลศาสตร์ จึงสำคัญ มอเตอร์ที่ดี จะมีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานที่ดีด้วย

ข้อ 4 นี่ละ ที่โดยมาก ปั้มมียี่ห้อดีๆ จะได้เปรียบเรื่องนี้ ซึ่งส่งผลระยะยาวถึงค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าด้วย

---------------------------------------------------------------------

และจากหลักการข้อ 1 ที่ผมบอกไว้

ปั้มน้ำจึงมี ระบบเข้ามาช่วยอีก 1 ระบบ คือ ระบบอัดแรงดัน หลักการก็เหมือนท่อแอร์แว นั้นละครับ

คือ เมื่อปั้มน้ำทำงานจนแรงดันในท่อถึงจุดที่ตั้งไว้ ปั้มก็จะหยุดทำงาน เพื่อไม่ให้สูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์

ตรงนี้สำคัญที่ว่า ถ้าคุณคำนวณปั้มน้ำดีๆ แต่ละโซนใช้พลังจากปั้มจนหมด คุณก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบแรงดันใดๆ เพราะมันจะแทบไม่มีประโยชน์เลย

นึกถึงปั้มอัตโนมัติตามบ้านตัวเล็กๆ เวลาคุณเปิดน้ำแรงๆ สุดๆ มันจะทำงานดังตลอดเวลา แต่พอคุณเปิดน้ำค่อยๆ มันจะทำงานนิด แล้วก็หยุด แล้วก็สตาร์ทมาทำงานอีกนิด แล้วก็หยุด วนๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะปิดน้ำ

นั่นเพราะ ตอนคุณเปิดน้ำค่อยๆ ปั้มทำงานอัดแรงเข้าไปสูงกว่า ระบบจึงตัดไม่ให้อัดไปแรงกว่านี้
แต่พอคุณเปิดเต็มที่ ก็เรียกว่า อัดแรงเข้าไปพอดีกับการใช้งาน ระบบมันก็เลยไม่ตัด

ดังนั้น ระบบปั้มน้ำของคุณ ควรจะมีหม้อแรงดัน ก็ต่อเมื่อ คุณจัดแบ่งโซนน้ำแล้ว พบว่า แต่ละโซนใช้ประสิทธิภาพของปั้มไม่เท่ากัน

หรืออีกแนวทางหนึ่ง คือ ใช้การวางระบบท่อลดแรงดัน

คือ ท่อที่ต่อออกมาอีก 1 ทาง มีเกจวัดแรงดัน มีวาวล์ และท่อนั้นทางออกของน้ำก็กลับเข้าสู่ระบบแท็งก์น้ำ

เมื่อใดที่จ่ายน้ำแล้วมีแรงดันเหลือ ก็ต้องมาปรับลดเพิ่มที่วาวล์ โดยดูจากเกจวัดแรงดันเป็นหลัก

หากไม่ทำเช่นนี้ แรงดันที่เกิน จะทำความเสียหายให้กับระบบจ่ายน้ำ สปริงเกอร์ต่างๆ ได้

-------------------------------------------------------------------------

ส่วนผม โดยหลักการนี้ ปั้มน้ำ สำหรับจ่ายน้ำให้สวน จึงตกมาที่ SAER BP5

(https://lh6.googleusercontent.com/VC8RjGmQ5mCM6eY2cW5AAKdY5Mt4v-Ov5D3jUiwODVP0=w709-h274-no)

เหตุที่เลือกนี้ เพราะถ้าดูจากตาราง

เมื่อคำนวณทุกรุ่นที่มีแรงม้าไม่เกิน 2 แรง (เกินกว่านี้ไม่ได้ ไฟฟ้าไม่พอ)

พบว่า

1. เส้นประสิทธิภาพ ค่าแปรผกผันของ Q กับ H ค่อนข้างต่ำ ตัว BP5 มี H สูงสุดที่ 24 แต่สามารถจ่ายน้ำที่ H 23.5-22 ได้ Q ที่ 12-21Q

หมายถึงว่า เราสามารถจัดสรรโซนการจ่ายน้ำได้ค่อนข้างหลากหลาย เพราะประสิทธิภาพปั้ม ไม่ตก

เช่น เราวางมินิสปริงเกอร์ 200 หัว แต่ละหัวกินน้ำ 100 ลิตร ก็ได้เท่ากับ 20Q ปั้มนี้ก็ตอบโจทย์ วันหนึ่งเปลี่ยนไปใช้ สปริงเกอร์แค่ 150 หัว ก็ ก็ต้องการน้ำ 15Q ปั้มตัวนี้ก็ยังอัดแรงดันได้ H22-23 โดยประมาณ

ซึ่งหมายถึง เรายังใช้ประสิทธิภาพของมินิสปริงเกอร์ได้เต็ม (มินิสปริงเกอร์บางอันต้องการแรงดัน 1.5-2 บาร์ ในการฉีดน้ำ)

2. ปั้มนี้เป็นยี่ห้ออิตาลี โดยภาพรวมจึงไม่ต้องกังวลเรื่องประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานเหมือนปั้มจีน

3. จากกราฟนี้

(https://lh5.googleusercontent.com/-g1saFIgo_fQ/U5O_pzilYTI/AAAAAAAAyKk/IdTNEMryz6I/w355-h465-no/pump2.jpg)

จะเห็นว่า ที่ Q ต่ำ ปั้มใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ Q สูง ปั้มใช้พลังงานไฟฟ้าสูงตาม ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่า ปั้มจีนเป็นแบบนี้หรือไม่ แต่เท่าที่อ่านๆ มา

จะพบว่า มีปั้มหลายชนิดที่ต้อง ติดตั้งหม้อแรงดัน หรือไม่ก็ทำวาวล์ลดแรงดัน เพราะตัวปั้มมันไม่ปรับแรงตามปริมาณการใช้งาน

แต่ปั้มรุ่นนี้ เรียกว่าปรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าตามปริมาณการจ่ายน้ำด้วย

และเมื่อค้นหาในเน็ต ก็พบว่า ปั้มรุ่นนี้เป็นปั้มรุ่นยอดนิยมพอสมควรครับ ราคาก็ไม่แพง

---------------------------------------------
ท่านลองเอาหลักการนี้ ไปหาปั้มดูว่าตนเองเหมาะกับปั้มแบบไหน

ปั้มสำคัญ เพราะต้นทุนค่าพลังงานถือเป็นต้นทุนแฝงที่หลายคนอาจไม่ได้คิดถึง หากเลือกดีๆ เราจะควบคุมให้ค่าใช้จ่ายต่ำได้ ตามหลัก "ลดได้" ของผมก็ย่อมช่วยให้ ผลกำไรจากธุรกิจการเกษตรของเรามีมากขึ้น


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 08, 2014, 08:27:38 AM
มีไอเดียให้คิดอีกนิด

สมมติผมเลือกปั้มไต้หวันตัวหนึ่ง ราคา 4000 บาท ต่อท่อเมน 2 นิ้ว

แต่ด้วยประสิทธิภาพของปั้มทำให้ต้องแบ่งโซนจ่ายน้ำออกเป็น 4 โซนถึงจะจ่ายน้ำได้หมด ดูเรื่องเวลาแล้วไม่เป็นปัญหา ดูดน้ำจากบ่อดิน

ผมเลยไปซื้อโซลินอยล์วาวล์ มาควบคุม 4 โซน วาวล์ละ 3500 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท

กลับทางกัน

ผมเปลี่ยนความคิด ผมซื้อปั้มมันเลย 4 ตัว ราคารวม 16000 บาท

อะไรคุ้มค่ากว่ากัน


ข้อคิดคือ
การเลือกซื้อปั้มน้ำ บางครั้งไม่จำเป็นต้องมีตัวเดียว สำหรับงานทุกโซน อาจเลือกซื้อปั้มที่เหมาะกับงานแต่ละงาน จะดีกว่า และการวางระบบน้ำต้องคำนวณค่าใช้จ่ายทุกอย่าง แล้วถึงค่อยตัดสินใจ ไม่ใช่ค่อยๆ เลือกมาประกอบทีละอย่าง





หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: tonaka ที่ มิถุนายน 08, 2014, 09:35:27 AM
ติดตามครับ ผมชื่อต้นครับผมอยู่ภูเขียว เดี๋ยวจะขอคำแนะนำด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 09, 2014, 08:28:02 AM
ติดตามครับ ผมชื่อต้นครับผมอยู่ภูเขียว เดี๋ยวจะขอคำแนะนำด้วยนะครับ


อยู่ใกล้กันดีครับ มีคำถามอะไร ถามในกระทู้นี้เลยครับ ผมตอบได้จะได้ช่วยตอบ ผมตอบไม่ได้ เผื่อเพื่อนๆ ท่านอื่นๆ เข้ามาอ่านจะได้ช่วยตอบ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: Adisak009 ที่ มิถุนายน 09, 2014, 11:29:51 AM
ติดตาม ผลงานอยู่ครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 09, 2014, 05:04:28 PM


 เข้ามาลงชื่อติดตามครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 09, 2014, 05:18:00 PM
วันนี้ไม่ได้เขียนอะไร

เครียดครับ งานมีปัญหา เลยไม่ได้มีสมาธิเขียน

แต่ยังมีเรื่องเล่าอีกเยอะ กว่าจะถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน

เช่น

- การตัดสินใจเลือกระบบไฟฟ้า
- การเลือกเครื่องมือการเกษตร
- การเลือกพืชที่จะปลูกเพื่อสร้างรายได้
- ปัญหาธุรกิจหลอก(หรือไม่หลอก) ขายพันธุ์พืช ที่ผมเกือบโดน (แต่เพื่อนโดนไปแล้ว)
- การสืบหา คลังแสง สำหรับสวน (ปุ๋ย ยา วัสดุปลูก)

ยังไงก็ติดตามกันไปนะครับ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 09, 2014, 05:18:23 PM


 เข้ามาลงชื่อติดตามครับ

นึกว่าจองที่นั่ง VIP ไว้แล้วเสียอีก 555


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: aumblueford ที่ มิถุนายน 09, 2014, 09:22:58 PM
สวัสดีครับ ผมชื่ออุ้มครับ อายุ34 ปี อยู่ศรีสะเกษครับ ขออนุญาตมาเก็บความรู้ไว้ทำตามครับ ;D


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 10, 2014, 07:35:22 AM
สวัสดีครับ ผมชื่ออุ้มครับ อายุ34 ปี อยู่ศรีสะเกษครับ ขออนุญาตมาเก็บความรู้ไว้ทำตามครับ ;D

ยินดีครับคุณอุ้ม มีอะไรก็มาแชร์กันนะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 10, 2014, 08:05:19 AM
วันนี้ขอต่อเรื่องระบบน้ำ ให้จบในสาระสำคัญ (แต่อย่างที่บอกครับ หลักการเรื่องน้ำ มีหลักการเดียวกันหมด แต่การออกแบบขึ้นกับสภาพพื้นที่และการใช้งาน ดังนั้น จะลอกเลียนแบบการวางระบบน้ำของใคร ต้องดูตามสภาพความเป็นจริงของเราด้วย)

วันนี้ขอพูดเรื่อง Head Loss กับ water Hammer

อย่างที่ได้เขียนไปแล้วเรื่อง Q กับ H

ตัว Q นั้น คำนวณและจัดการง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย หลักการคือ "ใช้น้ำต่อ 1 โซนเท่าไร ใช้ Q เท่านั้น"

ดังนั้น โดยหลักการนี้ หาก "หาปั้มจ่าย Q ตามต้องการไม่ได้ --> แบ่งโซน"
 
แต่สิ่งที่ยุ่งยากคือ H ซึ่งแปรผกผันกับ Q นั้นเองครับ

และจากหลักการว่า Q แก้ได้ด้วยการแบ่งโซน ดังนั้น เราควรต้องจัดการ H ให้ได้คำตอบก่อน

ค่า H จะลดลงตามแรงต้านในระบบท่อ ซึ่งเราเรียกว่า "Head Loss"

หลักการของ Head Loss ง่ายๆ คือ

1. ท่อใหญ่ เสีย Head Loss น้อยกว่า ท่อเล็ก
2. ข้อต่อหักฉาก 90 องศา เสีย Head Loss มากกว่าข้องอ 90 องศา ข้องอยิ่งองศาน้อย ยิ่งเสีย Head loss น้อย
3. ข้องอชุดแรก ควรมีระยะห่างจากแหล่งจ่ายน้ำ พอสมควร ยิ่งใกล้แหล่งจ่ายน้ำ ยิ่งเกิด Head Loss ได้ง่าย เหมือนรถปล่อยออกจากจุดสตาร์ทแล้วเลี้ยวเลย รถก็จะเบรกหักหลบกันวุ่นวาย กับรถปล่อยออกมาระยะหนึ่ง เริ่มเรียงตัวกัน แล้วค่อยเลี้ยว แบบหลังจากเลี้ยวได้เร็วกว่า

ดังนั้นในการออกแบบเส้นทางของท่อ หากมีข้อต่อที่เป็นข้อ งอ ได้น้อยเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น 

เมื่อเราคำนวณคร่าวๆ แล้ว ก็จะได้ H พื้นฐาน ทีนี้โดยมากเราไม่ซื้อ H ที่พอดีกับค่าที่คำนวณ เพราะต้องเผื่อความผิดพลาดไว้บ้าง ก็ควรซื้อมากกว่าที่กำหนดไว้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ยังคงไว้ซึ่งความคุ้มค่า เช่น

ได้ค่า H เท่ากับ 20 มีปั้มตัวหนึ่ง H 30 จ่าย Q = 30 ราคา 10000 บาท กับปั้มอีกตัว H 28 จ่าย Q =31 ราคา 9500 บาท

ราคาต่างกัน 500 บาท แบบนี้ เลือก H30 ดีกว่า H28

เพราะปัญหา Q ไม่พอ แก้ไขง่าย ด้วยการแบ่งโซน แต่ H ไม่พอ แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนปั้ม (ในกรณีที่ออกแบบระบบท่อดีแล้ว)


ทีนี้ เราออกแบบระบบท่อดีไม่ดี ต้องมีการตรวจสอบ

การตรวจสอบ Head Loss ในระบบตอนทำงานจริงๆ ต้องใช้เกจวัดแรงดัน

วัดจากจุด A ไปจุด B หากมีการเสียค่า H เกินกว่าที่คำนวณไว้ ต้องกลับมาตรวจสอบแก้ไขปัญหา ว่าอะไรคือสาเหตุ

หากตรวจสอบพบก็แก้ไข และจัดการให้เรียบร้อยแล้ว
--------------------------------------------------------------------

Water Hammer

คือ ฆ้อนน้ำ แปลตรงๆ เลย คือ จังหวะที่น้ำมีแรงกระทำกับระบบท่อต่างๆ เสมือนเอาค้อนทุบ โดยหัวค้อนก็คือ น้ำนั้นเอง

(http://www.plumbingmart.com/images/water-hammer-valve.jpg)

Water Hammer เกิดได้จากหลายสาเหตุ

ผลของมันจะกระทำต่อจุดที่อ่อนที่สุดของระบบ ทำให้รั่ว แตก เสียหาย

แนวทางแก้ไขแบบง่ายๆ คือ การใส่ท่อปรับแรงดัน หรือที่เราเรียกว่า แอร์แวะ นั้นละครับ

(http://www.plumbingmart.com/images/water-hammer-shock-wave.jpg)


ดังนั้น แอร์แว จะเข้ามาแก้ไขปัญหา 2 เรื่อง คือ Water Hammer กับ ปัญหาอากาศค้างท่อ

การแก้ไข Water Hammer ควรใส่ แอร์แว บริเวณช่วงต้นของการส่งน้ำ เช่น ห่างจากปั้มน้ำ 2-3 เมตร

เพราะโดยหลักการแล้วเราจะป้องกันตัวปั้มไม่ให้เสียหายจาก Water Hammer (ท่อเสีย ก็ปะต่อได้ไม่แพง - โดยมากใส่เช็ควาลว์ป้องกันหน้าปั้มอีกทีหนึ่งอยู่แล้ว)

จึงวางแอร์แว ไว้ด้านหน้า เมื่อเกิด Water Hammer พื้นที่อากาศในแอร์แว จะทำหน้าที่เสมือนลูกสูบขึ้นลง เพื่อปรับระดับคลื่นน้ำให้นิ่ง
(http://www.finehomebuilding.com/CMS/uploadedimages/Images/Homebuilding/QA/fhb190qa096-01_lg.jpg)

แต่แอร์แวที่ติดตั้งหน้าปั้ม ไม่ได้ช่วยเรื่อง อากาศค้างท่อเลย



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 10, 2014, 08:21:16 AM
อากาศค้างท่อคืออะไร

ในระบบท่อน้ำ อากาศสามารถวิ่งเข้าไปแทนที่น้ำได้เสมอ

หากระบบท่อวางได้ระดับ น้ำก็จะไล่อากาศออกไปได้หมดเช่นกัน

แต่ในการวางระบบท่อในสวนหรือไร่ของเกษตรกร ยากยิ่งที่จะทำให้ท่อได้ระดับเดียวกัน

เมื่อท่อมีโค้งงอ ขึ้นๆ ลงๆ

หากมีอากาศเข้าไป อากาศจะถูกไล่ไปอยู่ที่สูงสุดเสมอ

หมายความว่า ถ้ามีท่อโค้งเป็นตัว ยู คว่ำ อากาศจะค้างอยู่ส่วนบนสุดเสมอ

กลายเป็นตัวขัดขวางการเดินของน้ำ ให้น้ำเดินไม่สะดวก

จึงต้องกำจัดอากาศออกไปให้หมด

ซึ่งการกำจัดมี 2 วิธีง่ายๆ

คือ ใส่วาลว์เปิดปิด เพื่อไล่อากาศ

วิธีนี้ ให้ใส่วาลว์เปิดปิด ที่ตำแหน่งสูงสุดของท่อ ต่อทุกโค้งท่อ กล่าวคือ ถ้าท่อมีความโค้งขึ้นๆ ลงๆ เป็นเนินหลายลูก ต้องใส่ที่สุดสูงสุดของเนินทุกลูก

แล้วเวลาใช้งานก็ต้องไปเปิดวาลว์ให้อากาศออกจนมีน้ำออกมาค่อยปิด


จะเห็นว่ามันยุ่งยากกว่า

เลยใช้วิธีที่สอง ทำแอร์แว

เอาแอร์แว แทนที่วาลว์  ผลคือ อากาศที่ค้างอยู่ จะถูกเก็บไว้ในท่อแอร์แว แทน (เขาถึงเอามาตั้งชื่อ มาจาก แอร์ (อากาศ) แวะ )

เมื่ออากาศมาค้างอยู่ในท่อ พอถึงระดับหนึ่ง จะเกิดแรงอัด อากาศ ทำให้ ดันน้ำที่เข้ามาอยู่ในท่อออกไป

เมื่อดันน้ำออกไป อากาศก็มีแรงดันลดลง น้ำก็จะอัดมาแทนที่อีก

ผลของความต่อเนื่องเช่นนี้ จึงกลายเป็นว่า แอร์แว ทำหน้าที่เป็น กระบอกสูบและชักน้ำ ในตัว

จึงทำให้หลายๆ คน ติดตั้งแอร์แว แล้วบอกว่า น้ำแรงขึ้น จริงๆ แล้ว มันแค่ชดเชย แรงดันที่เสียไปให้กลับมา


ดังนั้นแอร์แว บางคนที่เอาไปติดตั้งแล้วบอกไม่ได้ผล เกิดจาก

1. ไม่มีอากาศในระบบ
2. ระบบทำงานอย่างสมบูรณ์ ได้แรงดันคงที่ตลอด จนเกิดสมดุลย์แรงดัน ไม่มีการเคลื่อนที่ภายในแอร์แว



ดังนั้นคำถามที่ว่า ติดตั้งแอร์แว ต้องติดหรือไม่

คำตอบง่ายๆ ติดหากมีปัญหา ไม่ติดหากไม่มีปัญหา

แต่ด้วยราคาที่ไม่แพง ติดไว้สักจุดสองจุด ก็คงไม่เสียหาย 555


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 10, 2014, 04:24:16 PM
การตัดสินใจเลือกระบบไฟฟ้า


เรื่องนี้จริงๆ สำหรับบางคนไม่เป็นปัญหา แต่สำหรับบางคน โค ตะ ระ ปัญหาเลย

สำหรับผม เรื่องนี้ก็เป็นปัญหา มันมาเป็นปัญหาเพราะผมติดตามข้อมูลผิดๆ

จริงๆ แล้ว ระบบไฟฟ้า เป็นเรื่องแรกๆ ที่ผมคิด และหาข้อมูล

ที่ดินของผม เสาไฟฟ้าแรงต่ำ ต้นสุดท้าย ห่างไป 80 เมตร

ผมจึงเริ่มอ่านข้อมูล บางคนบอก ขยายเขต เสียค่าเสาต้นหนึ่งหลายหมื่น

คิดๆ แล้ว ผมต้องเสียค่าเสาให้การไฟฟ้า อย่างน้อย 2 ต้น และเสียเสาภายในที่ดินอีก 2 ต้น คำนวณแล้ว โห หลายหมื่น

คร่าวๆ ตอนนั้นคิดเล่นๆ ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นบาท

เจอตัวเลขนี้ไป ก็เลยหันไปหาพลังงานทางเลือกแทน

ได้ความเป็นระบบโซล่าเซลล์

ลองวางระบบ คำนวณพลังงานที่เราต้องใช้ คำนวณจุดคุ้มทุน

อืม... พบว่า ลงทุนแค่ 6 ปี ก็คืนทุนค่าไฟฟ้า ที่ต้องจ่ายหากให้ไฟฟ้ามาขยายเขต

-------------------------------------

บอกตรงๆ ผมตกหลุมพรางตรงนี้นานมาก หลุมพรางที่ว่า ต้นทุนของระบบโซล่าเซลล์ จะคืนทุนภายใน 6-7 ปี

และผมก็นำไปเทียบกับการลงทุนขยายเขตไฟฟ้า

ทั้งๆ ที่ผมลืมไปสนิทเลยว่า หากผมลงทุนขยายเขต ผมได้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า ที่โซล่าเซลล์ เพียงจุดเดียวจะทำได้ อย่างน้อยๆ ผมได้ไฟฟ้าสูงสุด 45A ตามมิเตอร์ไฟฟ้ามาตรฐาน

ซึ่งเท่ากับ 9900W

หรือท่าเทียบ เป็นระบบโซล่าเซลล์ ผมต้องลงทุน... หลายแสนบาท

คิดได้ดังนี้

ผมเลยรีบหันไปขอหม้อไฟฟ้าเลยทันที

สรุปค่าใช้จ่ายจริงๆ คือ 16000 บาท เป็นค่าขยายเขตที่ดิน ส่วนการเดินไฟฟ้าในที่ดิน เป็นปัญหาของเรา ไม่ใช่ของไฟฟ้า 555

=======================================================================

หลักคิดในการเลือกระบบไฟฟ้า
1. จำไว้เลยว่า เป้าหมายสุดท้ายของระบบพลังงานในไร่สวน อย่างไรก็คือ ระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพราะเป็นค่าพลังงานที่ถูกที่สุดแล้ว
2. ให้ติดต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินการสำรวจ และประเมินราคา เมื่อได้ราคามาค่อยคิดต่อ ...อย่าประเมินเอง เพราะอาจผิดพลาดหรือความจริงทางการไฟฟ้ามีงบขยายอยู่แล้ว ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้
3. มีเสาไฟฟ้าใช่ว่าจะมีไฟฟ้า เสาที่ว่าอาจเป็นเสาแรงสูง การนำมาใช้ ต้องมีหม้อแปลงให้กลายเป็นแรงต่ำ ซึ่ง ก็จะกลับไปที่ข้อสอง คือ ให้ไฟฟ้ามาตรวจสอบราคาก่อนดีที่สุด ตรวจแล้วแพง ไม่ต้องทำก็ได้
4. เมื่อได้ราคามา ค่อยมาตัดสินใจว่า สู้ไหวหรือไม่ ถ้าไหว ไม่ต้องไปมองระบบอื่นๆ เลย (จากหลักคิดข้อ 1)
5. หากสู้ราคาไม่ไหว ค่อยมาคำนวณว่า เราต้องใช้ไฟฟ้าเท่าไร คิดเป็นกี่วัตต์ต่อวัน ปริมาณสูงสุดกี่วัตต์ แล้วจึงนำมาคำนวณว่าต้องใช้ระบบโซล่าเท่าไร อย่างไร
6. ได้ต้นทุนระบบโซล่าแล้ว นำมาเทียบระบบเครื่องปั่นไฟฟ้าด้วยแก๊ส ว่าอะไรคุ้มค่ากว่ากัน แล้วค่อยเลือก



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 10, 2014, 04:35:50 PM
ในกรณีที่สู้ค่าขยายเขตไฟฟ้าไม่ไหว

ถ้าต้องใช้ไฟฟ้าเยอะ แต่เงินน้อย ไม่ต้องไปมองโซล่าเซลล์เลยครับ อันนั้น ยิ่งใช้ W มาก ยิ่งลงทุนมาก

ดังนั้นต้องการใช้ W มาก มีทางเลือกคือ เครื่องปั่นไฟฟ้าด้วยแก๊ส เสียค่าใช้่จ่ายชั่วโมงละ 10-20 บาท ได้ไฟฟ้าอย่างน้อย 3000-5000W

และมีต้นทุนค่าเสื่อมในการบำรุงรักษาระบบอีกเล็กน้อย


แต่ถ้าใช้ไฟฟ้าไม่เยอะ แต่ใช้เรื่อยๆ ใช้ตลอดเวลา

มีทางเลือกได้ทั้งเครื่องปั่นไฟฟ้า และโซล่าเซลล์

----------------------------------------------

การคำนวณค่าใช้จ่ายระบบโซล่าเซลล์

มีวิธีคิดดังนี้

1. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อวัน คิดเป็นกี่ วัตต์ --> ค่า วัตต์ เป็นค่า "งาน" ของไฟฟ้า หมายถึง ไม่แปรเปลี่ยนตาม โวลล์ หรือแอมป์ ดังนั้นไม่ต้องสนใจว่า อุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ใช้ไฟ 220V หรือ 12V ให้ดูที่วัตต์โดยตรง

ตัวอย่างเช่น

ใช้พัดลม 180W เปิดวันละ 5 ชั่วโมง ก็เท่ากับ 180*5 = 900W
ใช้หลอดไฟ LED 5W เปิดวันละ 5 ชัวโมง ก็เท่ากับ 5*5 = 25W
ใช้ปั้มน้ำ 375W (0.5HP) เปิดวันละ 4 ชั่วโมง ก็เท่ากับ 375*4 = 1500W

ดังนั้นใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 900+25+1500 = 2425W ต่อวัน

2. หาช่วงเวลาใช้ไฟฟ้ามากที่สุด

จากตัวอย่างสมมติว่า ปั้มน้ำ เปิดเฉพาะตอนเที่ยง ยาวถึงเย็น แต่พัดลมกับหลอดไฟ เปิดตอนกลางคืน ตอน ทุ่มถึงเทียงคืน

เราก็จะพบว่า W สูงสุดที่ต้องจ่ายให้ระบบคือ 375W เท่านั้น (ปั้มน้ำใช้สูงสุดต่อชั่วโมง)


3. ได้ปริมาณวัตต์สูงสุดต่อชั่วโมงแล้ว ก็หาแหล่งจ่ายไฟฟ้า ซึ่งในที่นี้คือ โซล่าเซลล์

ก็จะได้ว่าต้องใช้โซล่าเซลขนาดแผง 100W ทั้งหมด 4 แผง เป็นอย่างน้อย ถึงจะจ่ายไฟฟ้าให้กับปั้มน้ำได้ ใช่หรือไม่

คำตอบคือ ทั้งใช่และไม่ใช่ หากระบบไฟฟ้าทั้งหมดไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กระชากไฟ ก็จะตอบว่าใช่ แต่จากตัวอย่าง จะตอบว่าไม่ใช่ เพราะ ปั้มน้ำเป็นมอเตอร์ และมอเตอร์ทุกชนิดมีการกระชากไฟฟ้า ก่อนการหมุน ตรงนี้เราต้องดูอย่างละเอียดว่ากระชากไปเท่าไร หรือไม่งั้นก็ต้องติดตั้งคอนโทรลมอเตอร์ เพื่อตัดปัญหาการกระชาก

4. เราจะเห็นว่า จากข้อ 3 เราจะมีไฟฟ้าไว้ใช้งานตอนมีแดดแล้ว และรองรับปริมาณการใช้งานได้พอเพียง แต่จากตัวอย่าง เราเปิดพัดลมกับหลอดไฟตอนกลางคืน ดังนั้น ก็ต้อง มีระบบสำรองไฟฟ้า ซึ่งคือ แบตเตอรี่นั้นเอง

แล้วแบตเตอรี่ขนาดเท่าไรจึงพอ หลักการก็คำนวณเหมือนข้อ 1 คือ อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ มีกี่วัตต์ คำตอบคือ 180+25 วัตต์ เท่ากับ 205 วัตต์ต่อชั่วโมง

ใช้ไฟฟ้า 5 ชั่วโมง เท่ากับ 1025 วัตต์

จากสมการทางไฟฟ้า P=VI เราจะได้ว่า I = P/V

I = 1025/12 --> 12V ของแบตเตอรี่
I = 85.42A

เท่ากับว่า ใช้แบตเตอรี่ รถกะบะขนาด 90A หรือ 100A เพียงแค่ 1 ลูก ก็เพียงพอสำหรับการใช้ไฟฟ้าทั้งคืน

5. เมื่อใช้ไฟฟ้าหมดแบตเตอรี่ ก็ต้องชาร์จคืนกลับ จากแผงโซล่าเซลล์

เราจะได้ว่า ใน 1 ชั่วโมง ชาร์จคืนได้ 400W แต่อัตราแปลงพลังงานแดดเป็นไฟฟ้านั้นไม่คงที่แน่นอน เราสมมติไว้ที่ 90% ก็จะได้ 360W ต่อชั่วโมง

ทั้งนี้เรามีชั่วโมง 4 ชั่วโมง ที่จ่ายไฟฟ้า 375W (ซึ่งถ้าคำนวณที่ 90% ก็จะจ่ายไฟฟ้าไม่พอ)

ดังนั้นเราเลือกชั่วโมงชาร์จไฟฟ้าจริงๆ แค่ 3 ชั่วโมง (คำนวณแบบง่ายๆ ว่าวันหนึ่งใช้แดดได้ 9 ชั่วโมง) หรือเท่ากับ 360*3 = 1080W

ซึ่งก็เพียงพอต่อการชาร์จแบตเต็มจากการที่เราใช้งานเมื่อคืน


6. คิดเผื่อเหลือเผื่อขาด

จากการคำนวณง่ายๆ นี้ เราจะเห็นว่า แผงโซล่า 4 แผง นั้น เสี่ยงเกินไปทั้งเรื่องจ่ายไฟฟ้าให้ปั้ม และชาร์จไฟเข้า หากวันใดที่แดดอ่อนทั้งวัน ฝนตกทั้งวัน เราก็อาจมีไฟฟ้าไม่พอต่อการชาร์จแบต หรือ จ่ายไฟฟ้าให้ปั้ม

ดังนั้น เราต้องคิดเผื่อเหลือเผื่อขาด ซึ่งจุดนี้ ก็แล้วแต่จะคิดว่ามีงบเท่าไรก็เผื่อเพิ่มไปเท่านั้น เช่น เพิ่มแผงไปอีก 1 แผง เป็น 500W ก็จะช่วยให้ชาร์จไฟในแบตเตอรี่เต็มเร็วขึ้น

ในทางกลับกัน ของแบตเตอรี่ แค่ 1 ลูก ใช้ไฟฟ้าจนหมดเกลี้ยงนั้น ถือว่าไม่ดี ก็ควรเพิ่มเป็น 2 ลูก เพื่อให้จ่ายไฟฟ้าได้นานขึ้น เผื่อวันที่แดดอ่อน ชาร์จไม่เข้า


7. หากคุณอ่านวิธีการคำนวณของเซียนระบบโซล่า เขาจะคำนวณกันเป็นวัน และมีค่าตัวแปรให้คูณ ค่าตัวแปรที่ว่าคือ ตัวแปรสำหรับเผื่อนั้นเอง ซึ่งโดยเท่าที่ผมลองศึกษามา ตัวแปรที่ว่าค่อนข้างตรง สามารถนำไปใช้ได้เลย จะช่วยให้การคิดวางระบบโซล่าทำได้ง่ายขึ้น



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 11, 2014, 08:52:42 AM
การเลือกปลูกพืช เพื่อสร้างรายได้

เขียนเรื่องไฟฟ้าและน้ำ ไม่ค่อยมี Feedback เท่าไร 555 คงเพราะไม่ค่อยอยู่ในความสนใจของเพื่อนๆ สมาชิก

แต่สำหรับผม ถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับคนงบน้อย (คนงบเยอะเขาเอาเงินลงจัดการได้เลย)

ดังนั้น เพื่อให้บริหารได้ภายใต้แนวคิด "สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน" จึงต้องใส่ใจตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนผังของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

---------------------------------------------
นับย้อนไป 2 ปี

หลังจากผมตัดสินใจได้ว่า จะทำการเกษตร ผมบอกทุกคนว่า "ผมจะปลูกไผ่"

เหตุผลง่ายๆ
- ไม่ต้องดูแล
- โรคน้อย
- ตัดหน่อขายก็ได้ ขายไม่ทัน ไว้ลำ ขายเป็นลำก็ได้ แปรรูปเป็นถ่านคุณภาพ เป็นนู้นนี่ได้มากมาย ใบก็บำรุงดิน

ในตอนนั้นฝันมากครับ ที่ดินสัก 20 ไร่ ปลูกไผ่ คงรวยปีเป็นล้าน

ผ่านไป 5 เดือน
พืชตัวอื่นๆ ก็เริ่มเข้ามาในชีวิต ปลูกนั้นก็ดี ปลูกนี้ก็ดี เพาะเห็ดก็ดี เลี้ยงไก่ก็ดี เลี้ยงหมูก็ดี

หลงครับ หลง

ที่ดินก็ยังไม่มี ... แต่หลงคิดไม่จบว่า ตกลงตรูจะทำอะไรหากินดีเนี่ย น่าทำไปหมด

มันก็เหมือนกับ เวลาเราไปเจอธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจ แล้วเราก็อยากทำ

เหมือนเราไปเจอ ร้านเค้กอร่อยๆ เราก็อยากทำร้านขนม
เห็นเขาเปิดร้านกาแฟ เราก็อยากเปิด
เห็นเขาเปิดร้านสเต็ก 39 บาท เราก็อยากเปิด

แต่จากประสบการณ์ในการลงทุนในชีวิตผม ที่เรียกว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร แค่พอมีพอกิน ผมได้หลักคิด

1. ต้องรู้กระบวนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนจบ และต้องทำเองได้ ทำเองเป็น (แต่ไม่เกี่ยวว่าต้องลงมือทำ)
    - ข้อนี่ผมเห็นเกษตรกรหลายคน รวมถึงเพื่อนผมหลายคนที่ก้าวลงมาเป็นเกษตรกร ทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ ส่วนใหญ่ที่มีแนวโน้มสำเร็จ คือ เรียนรู้กระบวนการผลิตอย่างจริงจัง และลงมือทำเองทั้งสิ้น ส่วนพวกที่ปลูกแล้วเสียหาย ขายไม่ค่อยได้ จมเงิน คือ พวกที่ไปเรียน แล้วมาสั่งๆ ๆ ให้คนทำต่อ เพราะคิดว่า เรียนแล้วรู้แล้ว แค่บริหารก็น่าจะพอ

    แต่จริงๆ มันไม่พอ

2. ต้องรู้กระแสเงิน
   - พืชที่เราเลือก เราต้องรู้ว่ากระแสเงิน หมุนเวียนอย่างไร เก็บเกี่ยวตอนไหน ราคาเท่าไร จะได้เงินเท่าไร จะต้องเสียค่าใช้จ่ายระหว่างที่รอเก็บเกี่ยวเท่าไร
   - ครั้งหนึ่งผมเคยทำสินค้าตัวหนึ่ง ต้นทุน 3 แสน กำไร 2 แสน รายรับรวม 5 แสนบาท ถือว่ากำไรดี มาร์จิ้นใช้ได้ แต่ผมไม่รู้เลยว่า 30% ของสินค้าที่ค้างอยู่ในตลาด จะมีวงจรชีวิตที่นานมาก ถึง 2 ปี กว่าจะหมด ทำให้ ที่สุดแล้ว สินค้า 30% หรือมองแบบกระแสเงินสดก็คือ กำไร 30% ที่ค้างอยู่นั้น
หากขายไม่ได้เลย ผมก็กำไรแค่ 10% ในระยะเวลา 2 ปี หรือแค่ 5% ต่อปี จากสินค้าที่กำไร 40% เหลือ 10% ในทันที หรือหากมองแบบบัญชี ผมก็จมเงินทุนไป 18% โดยไม่ก่อให้เกิดรายได้เลย
     
    หากผมทำสินค้าแบบนี้ออกมาแค่ 3 รอบ ผมก็แทบจะไม่มีเงินสดหมุนเวียนอีกเลย เพราะเงินทุนจมไป 54%

    ดังนั้นการทำอะไรขาย เราต้องรู้ระบบกระแสเงินสดของสินค้านั้นให้ดี ลองวางใส่ Excel ง่ายๆ คำนวณเป็นรอบๆ ว่า ลงทุนแล้วมันพอที่จะคล่องตัวหรือไม่

3. ตลาดต้องกว้าง อายุตลาดต้องนานพอ

   - พืชที่เราจะปลูก ขายให้ใคร ระยะเวลาขายนานเท่าไร เมื่อเทียบกับอายุของผลผลิต  เช่น ปลูกเผือก เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยว ต้องเก็บเกี่ยว ไม่งั้นเผือกฝ่อ เก็บเกี่ยวแล้วรักษาดีๆ อยู่ได้ไม่กี่เดือน ระยะเวลาตรงนี้เป็นตัวกำหนดระยะเวลาวางขายของเรา ว่าเราจะขายได้กี่เดือน ผลผลิตเรามีแค่ไหน เราจะขายหมดทันไหม
   - หากขายไม่ทัน มีตลาดอื่นอีกไหม นอกจากตลาดสด อย่างเผือก บางคนก็เอาไปแปรรูปเป็นขนม ก็ยืดอายุออกไปได้อีกนาน หรือ เพาะเห็ดหอม ถ้าไม่ขายสด ก็ขายแบบตากแห้งได้ ปลูกพริกไทย ถ้าไม่ขายพริกไทยสด ก็ขายพริกไทดำ ก็ได้ เป็นต้น
   - ตรงนี้พืชหลายตัว ทำได้หลายอย่าง ในขณะที่พืชบางตัวทำได้แค่อย่างเดียว เอาไปทำอย่างอื่นๆ ไม่ได้ ความเสี่ยงตรงจุดนี้เราต้องรู้และกำหนดการรับมือให้ได้

4. ความต้องการ และระยะเวลาอิ่มตัวของความต้องการ
   - ปลูกอะไรก็ขายได้ ถ้ามีความต้องการ ... ทำอะไรก็ขายได้ ถ้ามีความต้องการ สมัยผมเปิดบริษัท สินค้าตัวแรกของผม ขึ้นแท่นขายดีอันดับ 1 ในร้านค้าปลีกยี่ห้อดัง และขึ้นแท่นขายดีอันดับ 3 ในร้านค้าปลีกยี่ห้อดังอีกเจ้าหนึ่ง    ผมจึงเพิ่มปริมาณการผลิตเข้าไปอีกเกือบเท่าหนึ่ง ผลคือ มีสินค้าคงเหลือในตลาด 20% และใช้เวลากว่า 2 ปี ในการขายให้เหลือ 10% ทุกวันนี้เหลืออยู่ 8% ในคลังสินค้า ที่ผมตัดมูลค่าทางบัญชีเป็น 0 ไปแล้ว
   - ผมบอกตรงๆ ตลาดความต้องการพืชนั้น ผมเองไม่เคยศึกษา แนะนำอะไรไม่ได้ แต่มีข้อคิดง่ายๆ แค่

"อะไรที่มันปลูกยาก ทำยาก ถึงจะมีคนแห่ทำกันเยอะ ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จกันทุกคน"
"ปลูกก่อน เริ่มก่อน ขายก่อน มีโอกาสก่อน"
"ปลูกให้ถูกจังหวะ เก็บขายตอนตลาดมีความต้องการ ถึงเป็นพืชที่คนปลูกมาก ก็ย่อมขายได้"
"พืชที่ระยะทางส่งผลเสียหายต่อผลผลิตได้ หากความต้องการยังมี ตลาดยังเปิด ย่อมน่าลงทุน"

----------------------------------------------------------------
จากแนวคิดทั้ง 4 ข้อ ต้องไปทำการบ้านต่อ

1. แถวๆ ที่ดิน เขาปลูกอะไรกันบ้าง ระยะสัก 100 กิโลเมตร
2. แถวๆ ที่ดิน มีตลาดสดขายปลีกและขายส่งที่ไหนบ้าง ในระยะ 100 กิโลเมตร
3. แถวๆ ที่ดิน ชาวบ้านเขาบริโภคอะไรกันเป็นหลัก
4. แถวๆ ที่ดิน มีคู่แข่งทางตรงอย่างไร ทางอ้อมอย่างไร

-----------------------------------------------------------------
จากการบ้านผมจึงได้คำตอบว่าผมจะปลูกอะไรบ้าง ในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

1. ปลูกไผ่ เป็นแนวรั้ว บังลม ป้องกันสารเคมีจากที่ดินข้างเคียงทำร้ายสวน เป็นแนวกันไฟ เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง ตัดแต่งทรงก็จะนำลำไปขาย หรือใช้งานภายในสวน คำนวณปริมาณปลูกได้ประมาณ 800-1000 ก่อ

2. ปลูกข้าว เป็นคลังข้าวประจำครอบครัวและคนงาน ใช้ฟางข้าว ใช้แกลบ ที่ได้จากการผลิตให้เป็นประโยชน์ พื้นที่ปลูก 4 ไร่

3. เพาะเห็ดหอม เนื่องด้วยสภาพที่ดินใกล้เขตอุทยานแห่งชาติ อุณหภูมิในช่วงกลางคืนค่อนข้างเย็นตลอดปี ส่วนช่วงกลางวันในหน้าร้อนจะร้อนมาก แต่สามารถปรับสภาพพื้นที่ให้เย็นได้ด้วยการสร้างโรงเพาะเห็ด ในพื้นที่สวนไผ่ โดยคร่าวๆ น่าจะสร้างได้ 6 โรงเรือน ผลผลิตเห็ดหอมน่าจะมีพอประมาณ ขายทั้งสดและตากแห้ง --> จาก Timeline แบบนี้ กิจการเห็ดหอม จึงต้องดำเนินการลงทุนภายหลังที่สวนไผ่ เติบโตเต็มที่ หรืออีกไม่ต่ำกว่า 3 ปี

4. สวนมะนาว ขายผล เน้นการทำมะนาวนอกฤดู เนื่องจากในพื้นที่ใกล้เคียง มีสวนมะนาวน้อย และที่ดินตั้งอยู่บนเส้นทางการค้า ที่กระจายสินค้าได้ทั่ว ปริมาณความต้องการมะนาวในหน้าแล้งจึงมีสูง ไม่จำเป็นต้องแข่งกับพื้นที่ปลูกกลุ่มใหญ่คือ พิจิตร เนื่องจากมีแนวเขาเพชรบูรณ์ เป็นกำแพงกั้นการค้า หากเราผลิตได้ เราย่อมส่งขายในตลาดเลย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ หนองบัวลำภู ได้สบายๆ ดังนั้นแม้มะนาวจะเริ่มมีคนปลูกมาก แต่มะนาวมีความยากในการทำ จึงใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกคน (รวมถึงผมด้วย 55) แต่หากทำได้ ก็คุ้มค่าต่อการลงทุน 1 รอบการผลิต เป้าหมายคือ แป้นรำไพ 2000 ต้น เท่านั้น ไม่มีพันธุ์อื่นๆ

เพราะต้องการเน้นจุดแข็ง คือ พันธุ์ไม่เจือปน เน้นการขายลูก 90% ขายกิ่งพันธุ์ 10% (เพราะอะไร เดี๋ยวจะเขียนในเรื่องการธุรกิจขายพันธุ์อีกที)

5. บ่อปลานิล ปลาทับทิม จากสระน้ำขุดภายในไร่ เน้นการเลี้ยงแบบกระชัง เพื่อให้สามารถขุดบ่อลึกเก็บน้ำปริมาณมากได้

6. ไก่ไข่ไล่สวน (ตั้งชื่อเอง) แนวคิดทดลองผสมผสาน โดยให้ไก่มีความสุขอย่างอิสระ ในพื้นที่ทั้งสวน เพื่อให้ออกไข่อินทรีย์ ที่มีคุณภาพ และไข่อินทรีย์มีตลาดเฉพาะ เช่น โรงแรม ร้านขนม ร้านเค้ก หากสามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำ และราคาขายใกล้เคียงไข่ไก่ปกติได้ ย่อมตีตลาดได้ขาด 100%

แนวคิดการเลี้ยงไก่ไข่ไล่สวนคือ ให้ไก่หากินตามธรรมชาติ ผสมการให้อาหารและยาตามมาตรฐาน โดยกำหนดโซนการอาศัยของไก่ เป็นช่วงๆ เพื่อให้ไก่ทำหน้าที่ คุ้ยเขี่ยดิน จัดการหนอนและแมลง ขี้ไก่ลงดินเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติ กำจัดใบไผ่บางส่วน เลี้ยงแบบวนเวียนไปเรื่อยๆ 

แนวคิดนี้เอามาจากการเลี้ยงไก่กับไผ่ ที่สามารถจัดการสวนไผ่เสียสะอาดได้ ปริมาณไก่เพื่อทดลองก่อนที่ 100 ตัว เมื่อถึงเวลาออกไข่ วันละประมาณ 80 ฟอง หากแนวคิดได้ผล ก็จะเพิ่มปริมาณให้เหมาะสมตามพื้นที่ ต่อไป

(ข้อ 6 นี่ฝันมาก)

7. พืนที่สวนทดสอบ 1 ไร่ สำหรับทดสอบการปลูก การเลี้ยงไม้ผลหรือพืชไร่ต่างๆ เช่น อ้อย 1 ไร่ 100 ตัน หรือไม้ผลอื่นๆ เพื่อเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ วางแผนระยะยาว หากสวนมะนาวเกิดปัญหา มีโรค ต้องเปลี่ยนชนิดพืชในการปลูก จะได้มีความรู้ความสามารถในการปลูกพืชอื่นๆ ได้

8. โรงเรือนอนุบาลพันธุ์ไม้ เป็นพื้นที่เพาะพันธุ์กล้าไม้ขาย ขนาด 1 ไร่ เพื่อลดต้นทุนพันธุ์ไม้ทีต้องใช้ในสวน อนุรักษ์พันธุ์คุณภาพที่จะปรับปรุงไปเรื่อยๆ ในอนาคต

แค่ 8 อย่างนี้ บอกตรงๆ ไม่รู้เมื่อไรจะทำได้หมด 555
แต่ก็เชื่อว่า 8 อย่างนี้จะสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ไม่มากก็น้อย


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: LG ที่ มิถุนายน 11, 2014, 10:01:07 AM
ได้ความรู้และแนวคิดมาปรับใช้อีกเยอะเลยครับ สำหรับการเตรียมปฏิบัติจริงๆ ตอนนี้พยายามหาข้อมูลให้มากที่สุด และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ของผม :)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ มิถุนายน 11, 2014, 02:48:51 PM
การเลือกปลูกพืช เพื่อสร้างรายได้

เขียนเรื่องไฟฟ้าและน้ำ ไม่ค่อยมี Feedback เท่าไร 555 คงเพราะไม่ค่อยอยู่ในความสนใจของเพื่อนๆ สมาชิก

แต่สำหรับผม ถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับคนงบน้อย (คนงบเยอะเขาเอาเงินลงจัดการได้เลย)

ดังนั้น เพื่อให้บริหารได้ภายใต้แนวคิด "สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน" จึงต้องใส่ใจตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนผังของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

---------------------------------------------
นับย้อนไป 2 ปี

หลังจากผมตัดสินใจได้ว่า จะทำการเกษตร ผมบอกทุกคนว่า "ผมจะปลูกไผ่"

เหตุผลง่ายๆ
- ไม่ต้องดูแล
- โรคน้อย
- ตัดหน่อขายก็ได้ ขายไม่ทัน ไว้ลำ ขายเป็นลำก็ได้ แปรรูปเป็นถ่านคุณภาพ เป็นนู้นนี่ได้มากมาย ใบก็บำรุงดิน

ในตอนนั้นฝันมากครับ ที่ดินสัก 20 ไร่ ปลูกไผ่ คงรวยปีเป็นล้าน

ผ่านไป 5 เดือน
พืชตัวอื่นๆ ก็เริ่มเข้ามาในชีวิต ปลูกนั้นก็ดี ปลูกนี้ก็ดี เพาะเห็ดก็ดี เลี้ยงไก่ก็ดี เลี้ยงหมูก็ดี

หลงครับ หลง

ที่ดินก็ยังไม่มี ... แต่หลงคิดไม่จบว่า ตกลงตรูจะทำอะไรหากินดีเนี่ย น่าทำไปหมด

มันก็เหมือนกับ เวลาเราไปเจอธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจ แล้วเราก็อยากทำ

เหมือนเราไปเจอ ร้านเค้กอร่อยๆ เราก็อยากทำร้านขนม
เห็นเขาเปิดร้านกาแฟ เราก็อยากเปิด
เห็นเขาเปิดร้านสเต็ก 39 บาท เราก็อยากเปิด

แต่จากประสบการณ์ในการลงทุนในชีวิตผม ที่เรียกว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร แค่พอมีพอกิน ผมได้หลักคิด

1. ต้องรู้กระบวนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนจบ และต้องทำเองได้ ทำเองเป็น (แต่ไม่เกี่ยวว่าต้องลงมือทำ)
    - ข้อนี่ผมเห็นเกษตรกรหลายคน รวมถึงเพื่อนผมหลายคนที่ก้าวลงมาเป็นเกษตรกร ทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ ส่วนใหญ่ที่มีแนวโน้มสำเร็จ คือ เรียนรู้กระบวนการผลิตอย่างจริงจัง และลงมือทำเองทั้งสิ้น ส่วนพวกที่ปลูกแล้วเสียหาย ขายไม่ค่อยได้ จมเงิน คือ พวกที่ไปเรียน แล้วมาสั่งๆ ๆ ให้คนทำต่อ เพราะคิดว่า เรียนแล้วรู้แล้ว แค่บริหารก็น่าจะพอ

    แต่จริงๆ มันไม่พอ

2. ต้องรู้กระแสเงิน
   - พืชที่เราเลือก เราต้องรู้ว่ากระแสเงิน หมุนเวียนอย่างไร เก็บเกี่ยวตอนไหน ราคาเท่าไร จะได้เงินเท่าไร จะต้องเสียค่าใช้จ่ายระหว่างที่รอเก็บเกี่ยวเท่าไร
   - ครั้งหนึ่งผมเคยทำสินค้าตัวหนึ่ง ต้นทุน 3 แสน กำไร 2 แสน รายรับรวม 5 แสนบาท ถือว่ากำไรดี มาร์จิ้นใช้ได้ แต่ผมไม่รู้เลยว่า 30% ของสินค้าที่ค้างอยู่ในตลาด จะมีวงจรชีวิตที่นานมาก ถึง 2 ปี กว่าจะหมด ทำให้ ที่สุดแล้ว สินค้า 30% หรือมองแบบกระแสเงินสดก็คือ กำไร 30% ที่ค้างอยู่นั้น
หากขายไม่ได้เลย ผมก็กำไรแค่ 10% ในระยะเวลา 2 ปี หรือแค่ 5% ต่อปี จากสินค้าที่กำไร 40% เหลือ 10% ในทันที หรือหากมองแบบบัญชี ผมก็จมเงินทุนไป 18% โดยไม่ก่อให้เกิดรายได้เลย
     
    หากผมทำสินค้าแบบนี้ออกมาแค่ 3 รอบ ผมก็แทบจะไม่มีเงินสดหมุนเวียนอีกเลย เพราะเงินทุนจมไป 54%

    ดังนั้นการทำอะไรขาย เราต้องรู้ระบบกระแสเงินสดของสินค้านั้นให้ดี ลองวางใส่ Excel ง่ายๆ คำนวณเป็นรอบๆ ว่า ลงทุนแล้วมันพอที่จะคล่องตัวหรือไม่

3. ตลาดต้องกว้าง อายุตลาดต้องนานพอ

   - พืชที่เราจะปลูก ขายให้ใคร ระยะเวลาขายนานเท่าไร เมื่อเทียบกับอายุของผลผลิต  เช่น ปลูกเผือก เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยว ต้องเก็บเกี่ยว ไม่งั้นเผือกฝ่อ เก็บเกี่ยวแล้วรักษาดีๆ อยู่ได้ไม่กี่เดือน ระยะเวลาตรงนี้เป็นตัวกำหนดระยะเวลาวางขายของเรา ว่าเราจะขายได้กี่เดือน ผลผลิตเรามีแค่ไหน เราจะขายหมดทันไหม
   - หากขายไม่ทัน มีตลาดอื่นอีกไหม นอกจากตลาดสด อย่างเผือก บางคนก็เอาไปแปรรูปเป็นขนม ก็ยืดอายุออกไปได้อีกนาน หรือ เพาะเห็ดหอม ถ้าไม่ขายสด ก็ขายแบบตากแห้งได้ ปลูกพริกไทย ถ้าไม่ขายพริกไทยสด ก็ขายพริกไทดำ ก็ได้ เป็นต้น
   - ตรงนี้พืชหลายตัว ทำได้หลายอย่าง ในขณะที่พืชบางตัวทำได้แค่อย่างเดียว เอาไปทำอย่างอื่นๆ ไม่ได้ ความเสี่ยงตรงจุดนี้เราต้องรู้และกำหนดการรับมือให้ได้

4. ความต้องการ และระยะเวลาอิ่มตัวของความต้องการ
   - ปลูกอะไรก็ขายได้ ถ้ามีความต้องการ ... ทำอะไรก็ขายได้ ถ้ามีความต้องการ สมัยผมเปิดบริษัท สินค้าตัวแรกของผม ขึ้นแท่นขายดีอันดับ 1 ในร้านค้าปลีกยี่ห้อดัง และขึ้นแท่นขายดีอันดับ 3 ในร้านค้าปลีกยี่ห้อดังอีกเจ้าหนึ่ง    ผมจึงเพิ่มปริมาณการผลิตเข้าไปอีกเกือบเท่าหนึ่ง ผลคือ มีสินค้าคงเหลือในตลาด 20% และใช้เวลากว่า 2 ปี ในการขายให้เหลือ 10% ทุกวันนี้เหลืออยู่ 8% ในคลังสินค้า ที่ผมตัดมูลค่าทางบัญชีเป็น 0 ไปแล้ว
   - ผมบอกตรงๆ ตลาดความต้องการพืชนั้น ผมเองไม่เคยศึกษา แนะนำอะไรไม่ได้ แต่มีข้อคิดง่ายๆ แค่

"อะไรที่มันปลูกยาก ทำยาก ถึงจะมีคนแห่ทำกันเยอะ ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จกันทุกคน"
"ปลูกก่อน เริ่มก่อน ขายก่อน มีโอกาสก่อน"
"ปลูกให้ถูกจังหวะ เก็บขายตอนตลาดมีความต้องการ ถึงเป็นพืชที่คนปลูกมาก ก็ย่อมขายได้"
"พืชที่ระยะทางส่งผลเสียหายต่อผลผลิตได้ หากความต้องการยังมี ตลาดยังเปิด ย่อมน่าลงทุน"

----------------------------------------------------------------
จากแนวคิดทั้ง 4 ข้อ ต้องไปทำการบ้านต่อ

1. แถวๆ ที่ดิน เขาปลูกอะไรกันบ้าง ระยะสัก 100 กิโลเมตร
2. แถวๆ ที่ดิน มีตลาดสดขายปลีกและขายส่งที่ไหนบ้าง ในระยะ 100 กิโลเมตร
3. แถวๆ ที่ดิน ชาวบ้านเขาบริโภคอะไรกันเป็นหลัก
4. แถวๆ ที่ดิน มีคู่แข่งทางตรงอย่างไร ทางอ้อมอย่างไร

-----------------------------------------------------------------
จากการบ้านผมจึงได้คำตอบว่าผมจะปลูกอะไรบ้าง ในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ

1. ปลูกไผ่ เป็นแนวรั้ว บังลม ป้องกันสารเคมีจากที่ดินข้างเคียงทำร้ายสวน เป็นแนวกันไฟ เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง ตัดแต่งทรงก็จะนำลำไปขาย หรือใช้งานภายในสวน คำนวณปริมาณปลูกได้ประมาณ 800-1000 ก่อ

2. ปลูกข้าว เป็นคลังข้าวประจำครอบครัวและคนงาน ใช้ฟางข้าว ใช้แกลบ ที่ได้จากการผลิตให้เป็นประโยชน์ พื้นที่ปลูก 4 ไร่

3. เพาะเห็ดหอม เนื่องด้วยสภาพที่ดินใกล้เขตอุทยานแห่งชาติ อุณหภูมิในช่วงกลางคืนค่อนข้างเย็นตลอดปี ส่วนช่วงกลางวันในหน้าร้อนจะร้อนมาก แต่สามารถปรับสภาพพื้นที่ให้เย็นได้ด้วยการสร้างโรงเพาะเห็ด ในพื้นที่สวนไผ่ โดยคร่าวๆ น่าจะสร้างได้ 6 โรงเรือน ผลผลิตเห็ดหอมน่าจะมีพอประมาณ ขายทั้งสดและตากแห้ง --> จาก Timeline แบบนี้ กิจการเห็ดหอม จึงต้องดำเนินการลงทุนภายหลังที่สวนไผ่ เติบโตเต็มที่ หรืออีกไม่ต่ำกว่า 3 ปี

4. สวนมะนาว ขายผล เน้นการทำมะนาวนอกฤดู เนื่องจากในพื้นที่ใกล้เคียง มีสวนมะนาวน้อย และที่ดินตั้งอยู่บนเส้นทางการค้า ที่กระจายสินค้าได้ทั่ว ปริมาณความต้องการมะนาวในหน้าแล้งจึงมีสูง ไม่จำเป็นต้องแข่งกับพื้นที่ปลูกกลุ่มใหญ่คือ พิจิตร เนื่องจากมีแนวเขาเพชรบูรณ์ เป็นกำแพงกั้นการค้า หากเราผลิตได้ เราย่อมส่งขายในตลาดเลย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ หนองบัวลำภู ได้สบายๆ ดังนั้นแม้มะนาวจะเริ่มมีคนปลูกมาก แต่มะนาวมีความยากในการทำ จึงใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกคน (รวมถึงผมด้วย 55) แต่หากทำได้ ก็คุ้มค่าต่อการลงทุน 1 รอบการผลิต เป้าหมายคือ แป้นรำไพ 2000 ต้น เท่านั้น ไม่มีพันธุ์อื่นๆ

เพราะต้องการเน้นจุดแข็ง คือ พันธุ์ไม่เจือปน เน้นการขายลูก 90% ขายกิ่งพันธุ์ 10% (เพราะอะไร เดี๋ยวจะเขียนในเรื่องการธุรกิจขายพันธุ์อีกที)

5. บ่อปลานิล ปลาทับทิม จากสระน้ำขุดภายในไร่ เน้นการเลี้ยงแบบกระชัง เพื่อให้สามารถขุดบ่อลึกเก็บน้ำปริมาณมากได้

6. ไก่ไข่ไล่สวน (ตั้งชื่อเอง) แนวคิดทดลองผสมผสาน โดยให้ไก่มีความสุขอย่างอิสระ ในพื้นที่ทั้งสวน เพื่อให้ออกไข่อินทรีย์ ที่มีคุณภาพ และไข่อินทรีย์มีตลาดเฉพาะ เช่น โรงแรม ร้านขนม ร้านเค้ก หากสามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำ และราคาขายใกล้เคียงไข่ไก่ปกติได้ ย่อมตีตลาดได้ขาด 100%

แนวคิดการเลี้ยงไก่ไข่ไล่สวนคือ ให้ไก่หากินตามธรรมชาติ ผสมการให้อาหารและยาตามมาตรฐาน โดยกำหนดโซนการอาศัยของไก่ เป็นช่วงๆ เพื่อให้ไก่ทำหน้าที่ คุ้ยเขี่ยดิน จัดการหนอนและแมลง ขี้ไก่ลงดินเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติ กำจัดใบไผ่บางส่วน เลี้ยงแบบวนเวียนไปเรื่อยๆ 

แนวคิดนี้เอามาจากการเลี้ยงไก่กับไผ่ ที่สามารถจัดการสวนไผ่เสียสะอาดได้ ปริมาณไก่เพื่อทดลองก่อนที่ 100 ตัว เมื่อถึงเวลาออกไข่ วันละประมาณ 80 ฟอง หากแนวคิดได้ผล ก็จะเพิ่มปริมาณให้เหมาะสมตามพื้นที่ ต่อไป

(ข้อ 6 นี่ฝันมาก)

7. พืนที่สวนทดสอบ 1 ไร่ สำหรับทดสอบการปลูก การเลี้ยงไม้ผลหรือพืชไร่ต่างๆ เช่น อ้อย 1 ไร่ 100 ตัน หรือไม้ผลอื่นๆ เพื่อเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ วางแผนระยะยาว หากสวนมะนาวเกิดปัญหา มีโรค ต้องเปลี่ยนชนิดพืชในการปลูก จะได้มีความรู้ความสามารถในการปลูกพืชอื่นๆ ได้

8. โรงเรือนอนุบาลพันธุ์ไม้ เป็นพื้นที่เพาะพันธุ์กล้าไม้ขาย ขนาด 1 ไร่ เพื่อลดต้นทุนพันธุ์ไม้ทีต้องใช้ในสวน อนุรักษ์พันธุ์คุณภาพที่จะปรับปรุงไปเรื่อยๆ ในอนาคต

แค่ 8 อย่างนี้ บอกตรงๆ ไม่รู้เมื่อไรจะทำได้หมด 555
แต่ก็เชื่อว่า 8 อย่างนี้จะสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ไม่มากก็น้อย

อ่านบทความ Comment นี้ได้ความรู้เยอะขึ้นหลายเท่าครับ..
ขอเพิ่มเติม ข้อ 5. เลี้ยงปลา - เมื่อ 1-2 เดือนนี้ ผมเห็นมีธุรกิจหนึ่งที่คิดว่าน่าจะไปได้สวย

การเลี้ยงปลาหมอไทย
การเลี้ยงกบในนา แบบปล่อยอิสระ (กบไล่นา - อันนี้ตั้งชื่อเอง ฮาาา)

ผมว่าจะเป็นตัวเสริมในไร่ได้นะครับ
ผมเองยังคิดเลยว่า ปีหน้าผมลาออกแล้วกลับบ้าน ผมจะล้อมบ่อน้ำผม ปล่อยปลา - เลี้ยงกบ ^__^


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 11, 2014, 04:30:08 PM


 ผมว่า ระบบน้ำและไฟ ที่พี่ avatayos ให้ความรู้ เป็นหัวใจของการเกษตรนะครับ

 ผมเอง มีความรู้เรื่องพวกนี้น้อยมาก แต่มันเป็นต้นทุนสำคัญที่อาจส่งผลให้เกษตรรุ่งหรือร่วง

 ดังนั้น ผมขอตึตั๋ววีไอพีกระทู้พี่ตลอดครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: nopmtp ที่ มิถุนายน 11, 2014, 09:17:19 PM
    ท่านคาดผิดแล้วแหละครับ   " ระบบน้ำและไฟนั้น "  ผมตุนได้ไปมากโข  เลยละครับท่าน  :-[ :-[
ระบบพวกนี้จะเป็นไปทางวิศวกรรมจากการคำนวนมาแล้ว   และก้เป็นไปตามที่ท่านเอามาแชร์
ถือว่าข้อมูลมันเชื่อถือได้ในตัวมันเองนะครับ   ก้เลยไม่มีใครมาเพิ่มเติมอะไร   นอกจากเก็บไปใช้
ซะมากกว่าครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 12, 2014, 08:18:38 AM
    ท่านคาดผิดแล้วแหละครับ   " ระบบน้ำและไฟนั้น "  ผมตุนได้ไปมากโข  เลยละครับท่าน  :-[ :-[
ระบบพวกนี้จะเป็นไปทางวิศวกรรมจากการคำนวนมาแล้ว   และก้เป็นไปตามที่ท่านเอามาแชร์
ถือว่าข้อมูลมันเชื่อถือได้ในตัวมันเองนะครับ   ก้เลยไม่มีใครมาเพิ่มเติมอะไร   นอกจากเก็บไปใช้
ซะมากกว่าครับ

บอกตรงๆ ผมเล่นเว็บนี้ อ่านเป็นส่วนใหญ่ พอได้เขียนกระทู้ตัวเอง มีคนเริ่มตอบ ก็เริ่มดีใจ และเริ่มไปติดตามอ่านว่าของแต่ละท่านที่มาตอบนั้น ทำการเกษตรอย่างไร มีก็แต่ท่าน nopmtp ที่ผมไม่ได้เข้าไปดูเลยจริงๆ (แอบคิดว่าท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้จริงๆ เพราะ like ทุกข้อความเลย 55)

ปรากฎว่า เข้าไปดู ท่าน nopmtp คือ เจ้าของกระทู้ที่ผมเคยอ่านแล้วนำความรู้ไปคิด เรื่อง เกษตรพาร์ทไทม์ และฝันจะเป็นบ้างเลย ตอนนั้นข้อมูลหลายๆ อย่างตรงกัน เช่น ระยะทางระหว่างบ้านกับสวน ของผม สี่ร้อยกว่า ของท่านห้าร้อยกว่า เรียกว่า ท่านยังทำได้ และทำไมผมจะทำใม่ได้

ยิ่งอ่านของแต่ละท่านแล้ว ตอนนี้รู้สึกตัวเอง ตัวเล็กเป็นมด ไม่กล้าเขียนแนะนำอะไรเลย แต่ละคนประสบการณ์เพียบทั้งนั้น



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 12, 2014, 09:00:20 AM
มาเขียนต่อครับ ถึงจะมีความรู้สึกว่าตอนนี้ "ตัวเท่ามด" (แต่จริงๆ อ้วนจะเป็นช้าง 555)

ก็ขอยืนยันจะเขียนต่อไป เพราะ

1. ถ้าผมเขียนแล้วผิด เชื่อว่าทุกท่าน คงช่วยกันอธิบาย แก้ไข ให้ผมเข้าใจถูกต้อง
2. ถ้าผมไม่เขียน แล้วผิด ผมก็จะดำเนินตามแผนที่คิด แล้วทำผิดๆ ต่อไป

สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อคือ

"Learning Changes Life"

เป็นสโลแกนของบริษัทที่ผมทำงานอยู่ในปัจจุบัน เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรักองค์กรนี้มาก (แต่รักอย่างไร ก็คนละเรื่องกับความยั่งยืนของชีวิต)

ดังนั้น ข้อเขียนของผม จึงเป็น แผนที่การดำเนินงาน ที่เมื่อเวลาผ่านไป ผมจะพิสูจน์ว่ามันถูกหรือมันผิด

หากมันถูก ใครที่ตามอ่านกระทู้นี้ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
แต่หากว่ามันผิด ผมก็เชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อ ใครๆ ที่ได้อ่าน แล้วจะได้ไม่เดินตาม หรือนำจุดผิดพลาดไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

ในการเรียนรู้ ผมเชื่อว่าหนึ่งว่า เมื่อเราเรียนรู้แล้ว องค์ความรู้นั้นจะเป็นจริง ก็ต่อเมื่อเราสามารถ "ทำซ้ำ" ได้

หากแนวคิดหรือองค์ความรู้ของเรา มีเราทำได้คนเดียว สำเร็จคนเดียว คนอื่นเอาไปประยุกต์แล้วไม่ได้ผล

เราต้องทบทวนว่า องค์ความรู้ของเรานั้น มีตัวแปรอะไรที่ทำให้สำเร็จเฉพาะเราบ้าง เพราะตัวแปรเหล่านั้นอาจหมายถึง ฟลุ๊ค หรือจำเพาะเจาะจง

ด้วยแนวคิดนี้ ผมจึงขอเขียนต่อไป แม้จะเขียนแล้วปล่อยไก่ หน้าแหก ก็ตาม

อิ อิ อิ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: andrew ที่ มิถุนายน 12, 2014, 09:48:24 AM
ทฤษฎีแป๊ะมากเลยค่ะ ถ้าได้ลงมือทำและพัฒนาต่อยอดไปเรื่อย ๆ รับรองว่าได้ตามแผนแน่นอนค่ะ
ติดตามสวนเกษตรโชคดีชุมแพ อยู่ไม่ไกลกันนะคะ อยู่ในเมืองขอนแก่น แวะไปเยี่ยมญาติที่ชุมแพบ่อย ๆ ยินดีที่รู้จักนะคะ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 12, 2014, 10:18:24 AM
มีเรื่องขำๆ ทำให้ยิ้ม

2 ปีที่แล้วผมอ่านกระทู้ของพี่ sit

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=1473.0 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=1473.0)

(ถ้าย้อนไปอ่านข้อความก่อนหน้านี้ จะเห็นผมเขียนว่า สิ่งแรกที่ผมสนใจคือ ไผ่)

ถึงตอนนี้ผมต้องเตรียมสั่งพันธุ์ไผ่แล้ว ก็เลยว่าจะสั่งกับสวนที่เป็นแรงบันดาลใจให้ เลยจะนัดกับพี่เขาไปชมสวนเสียหน่อย

ปรากฎว่า พี่เขาคือ บุคคลที่มาเช่าหน้าที่ดินผม เพื่อขายพันธุ์ไผ่...

โลกมันกลมจริงๆ

วันนี้รู้สึกดีเลยจริงๆ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 12, 2014, 10:23:57 AM
ทฤษฎีแป๊ะมากเลยค่ะ ถ้าได้ลงมือทำและพัฒนาต่อยอดไปเรื่อย ๆ รับรองว่าได้ตามแผนแน่นอนค่ะ
ติดตามสวนเกษตรโชคดีชุมแพ อยู่ไม่ไกลกันนะคะ อยู่ในเมืองขอนแก่น แวะไปเยี่ยมญาติที่ชุมแพบ่อย ๆ ยินดีที่รู้จักนะคะ

ไอ้ทฤษฎีแป๊ะมากนี้ละที่กลัวครับ

555

เป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้มากๆ เลย กับความเชื่อหลายอย่าง ของคนงานที่เราจ้าง

บ่อยครั้งที่เดินสายกลาง คือ เขาครึ่งเราครึ่ง

ต้องค่อยๆ ปรับกันไป เขาก็ว่าเราว่าพวกคนเมือง ไม่เคยทำเกษตร ไม่มีประสบการณ์ จะไปรู้อะไร ส่วนเราก็ศึกษามาดี ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำแบบนั้นแบบนี้


อย่างที่บอกครับ ...ขาดประสบการณ์ สิ่งเดียวที่ต้องใช้เวลา เรียนรู้กันไป

จะสำเร็จหรือไม่ ก็อยู่ที่ประสบการณ์นี่ละ

 :)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: เกษตรกรออนไลน์ ที่ มิถุนายน 12, 2014, 10:36:24 AM
สุดยอดค่ะ
เข้ากระทู้นี้ได้ครบ ทั้งทฤษฎี ปฎิบัติ หลักการการบริหารจัดการ ครบ

สุดยอดจริงๆ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: กัญจน์ ที่ มิถุนายน 12, 2014, 02:18:45 PM
บอกตรงๆ ผมเล่นเว็บนี้ อ่านเป็นส่วนใหญ่ พอได้เขียนกระทู้ตัวเอง มีคนเริ่มตอบ ก็เริ่มดีใจ และเริ่มไปติดตามอ่านว่าของแต่ละท่านที่มาตอบนั้น ทำการเกษตรอย่างไร มีก็แต่ท่าน nopmtp ที่ผมไม่ได้เข้าไปดูเลยจริงๆ (แอบคิดว่าท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้จริงๆ เพราะ like ทุกข้อความเลย 55)

ปรากฎว่า เข้าไปดู ท่าน nopmtp คือ เจ้าของกระทู้ที่ผมเคยอ่านแล้วนำความรู้ไปคิด เรื่อง เกษตรพาร์ทไทม์ และฝันจะเป็นบ้างเลย ตอนนั้นข้อมูลหลายๆ อย่างตรงกัน เช่น ระยะทางระหว่างบ้านกับสวน ของผม สี่ร้อยกว่า ของท่านห้าร้อยกว่า เรียกว่า ท่านยังทำได้ และทำไมผมจะทำใม่ได้

ยิ่งอ่านของแต่ละท่านแล้ว ตอนนี้รู้สึกตัวเอง ตัวเล็กเป็นมด ไม่กล้าเขียนแนะนำอะไรเลย แต่ละคนประสบการณ์เพียบทั้งนั้น
สวัสดีครับท่านเจ้าของกระทู้ หลากหลายความคิดหลากหลายประสบการณ์ไม่มีใครผิดไม่มีใครถูกแต่ทุกท่านสามารถนำเอาองค์ความรู้ที่มีอยู่มาช่วยกันแบ่งปันเป็นแนวทาง อย่างน้อยบางอย่างก็ทำให้บางท่านไม่ต้องเสียเวลาเสียเงินเสียทองกับการลองผิดลองถูกขอติดตามผลงานและการถ่ายทอดประสบการณ์ครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 12, 2014, 02:31:27 PM
คุณ กัญจน์ ก็ Like ผมแทบทุก Comment เหมือนกัน

 :) :) :) :)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: nopmtp ที่ มิถุนายน 12, 2014, 09:49:43 PM
    ท่านคาดผิดแล้วแหละครับ   " ระบบน้ำและไฟนั้น "  ผมตุนได้ไปมากโข  เลยละครับท่าน  :-[ :-[
ระบบพวกนี้จะเป็นไปทางวิศวกรรมจากการคำนวนมาแล้ว   และก้เป็นไปตามที่ท่านเอามาแชร์
ถือว่าข้อมูลมันเชื่อถือได้ในตัวมันเองนะครับ   ก้เลยไม่มีใครมาเพิ่มเติมอะไร   นอกจากเก็บไปใช้
ซะมากกว่าครับ

บอกตรงๆ ผมเล่นเว็บนี้ อ่านเป็นส่วนใหญ่ พอได้เขียนกระทู้ตัวเอง มีคนเริ่มตอบ ก็เริ่มดีใจ และเริ่มไปติดตามอ่านว่าของแต่ละท่านที่มาตอบนั้น ทำการเกษตรอย่างไร มีก็แต่ท่าน nopmtp ที่ผมไม่ได้เข้าไปดูเลยจริงๆ (แอบคิดว่าท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้จริงๆ เพราะ like ทุกข้อความเลย 55)

ปรากฎว่า เข้าไปดู ท่าน nopmtp คือ เจ้าของกระทู้ที่ผมเคยอ่านแล้วนำความรู้ไปคิด เรื่อง เกษตรพาร์ทไทม์ และฝันจะเป็นบ้างเลย ตอนนั้นข้อมูลหลายๆ อย่างตรงกัน เช่น ระยะทางระหว่างบ้านกับสวน ของผม สี่ร้อยกว่า ของท่านห้าร้อยกว่า เรียกว่า ท่านยังทำได้ และทำไมผมจะทำใม่ได้

ยิ่งอ่านของแต่ละท่านแล้ว ตอนนี้รู้สึกตัวเอง ตัวเล็กเป็นมด ไม่กล้าเขียนแนะนำอะไรเลย แต่ละคนประสบการณ์เพียบทั้งนั้น




    ผมรู้ว่าท่านพูดเล่น ( ที่ว่าตัวเท่ามด ) ;D ;D
อย่างที่คุณกัญจน์   ว่านั้นถูกต้องเลยครับ

      สังคมเกษตร...เป็นสังคมที่เปิด    เพราะใครยากเข้ามาก็มาทำได้เสมอ
ไม่ว่าจะทำเล็กๆ   หรือทำใหญ่ๆ   ก็ลองมาทำใด้   ผมชอบตรงนี้แหละครับท่าน
ยิ่งถ้าผ่านงานบริหารมาแล้ว (แบบท่าน avatayos ) เป็นต้น
จะเป็นการเข้ามาเสริม  สังคงคมเกษตรได้มากๆเลย    ผมไม่ได้พูดเกินจริง...นะครับ

       อาชีพเกษตร   เป็นการรวมเอาทุกสาขาวิชาเข้ามาอยู่ในที่ๆเดียวกัน
จึงไม่ง่ายที่จะประสบผลสำเร็จได้เพียงปี...สองปี
งานด้านวางแผน...บริหาร...การตลาด   จำเป็นมาก
แต่มีน้อยคนมากที่มาแชร์   หนึ่งในนี้ผมก้เห็นท่านนี่แหละครับผมไม่ได้พูดเกินจริงแน่นอน...นะครับ
 ปล. เอาเป็นว่า   ผมกด like  ข้ามๆบ้างก็ได้ครับ  ;D ;D


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 13, 2014, 08:11:09 AM
    ผมรู้ว่าท่านพูดเล่น ( ที่ว่าตัวเท่ามด ) ;D ;D
อย่างที่คุณกัญจน์   ว่านั้นถูกต้องเลยครับ

      สังคมเกษตร...เป็นสังคมที่เปิด    เพราะใครยากเข้ามาก็มาทำได้เสมอ
ไม่ว่าจะทำเล็กๆ   หรือทำใหญ่ๆ   ก็ลองมาทำใด้   ผมชอบตรงนี้แหละครับท่าน
ยิ่งถ้าผ่านงานบริหารมาแล้ว (แบบท่าน avatayos ) เป็นต้น
จะเป็นการเข้ามาเสริม  สังคงคมเกษตรได้มากๆเลย    ผมไม่ได้พูดเกินจริง...นะครับ

       อาชีพเกษตร   เป็นการรวมเอาทุกสาขาวิชาเข้ามาอยู่ในที่ๆเดียวกัน
จึงไม่ง่ายที่จะประสบผลสำเร็จได้เพียงปี...สองปี
งานด้านวางแผน...บริหาร...การตลาด   จำเป็นมาก
แต่มีน้อยคนมากที่มาแชร์   หนึ่งในนี้ผมก้เห็นท่านนี่แหละครับผมไม่ได้พูดเกินจริงแน่นอน...นะครับ
 ปล. เอาเป็นว่า   ผมกด like  ข้ามๆบ้างก็ได้ครับ  ;D ;D


ผมเองก็ได้สิ่งนี้มาจากการเยี่ยมชมสวนของแต่ละท่าน ทุกท่านให้ความรู้อย่างเปิดเผย และดีใจมากที่มีคนสนใจ

บ่อยครั้งผมจดลงสมุดบันทึก ว่านี้คือ จุดแข็งของสวนนั้นสวนนี้

ในฐานะนักธุรกิจ ... จุดแข็งที่เป็นกลเม็ดสำคัญ ส่วนใหญ่ ยากที่จะเปิดเผย

แต่สังคมการเกษตร กลับเปิดเผย

สิ่งหนึ่งที่ผมพบและเป็นความต่างคือ จุดแข็งของแต่ละสวนนั้น ใช่ว่ารู้แล้วจะทำได้

มันมี "ความยาก" ในตัวมันเอง

เส้นทางความสำเร็จ ถึงรู้ ก็ใช่ว่าจะเลียนแบบแล้วสำเร็จ

สำหรับผม ผมถือว่าโชคดี ที่มาเริ่มทีหลัง ดังนั้น ทางเดินเก่าๆ ที่ผิดพลาดของแต่ละท่าน ผมก็พยายามศึกษาแล้ว พยายามคิดแก้ปัญหาเหล่านั้น
ร่างออกมาเป็นแผน

แล้วผมก็ย้อนคิดกลับไปที่ว่า ผมคงมีความสุขเหมือนเจ้าของสวนเหล่านั้น ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ ถ่ายทอดสิ่งที่คิด

ใครๆ หยิบจับ เอาไปทำแล้วดี
ผมก็ดีใจด้วย

แต่ผมขอทุกท่านนะครับ

"ถ้าอะไรที่ผมคิดผิด รู้ผิด"

ไม่ต้องอายเลย ไม่ต้องคิดว่าผมอายด้วย

รบกวนช่วยสอนผม ให้ผมตาสว่างด้วยครับ ผมยินดี




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ มิถุนายน 13, 2014, 08:51:36 AM
เมื่อก่อน แวะมาหาความรู้จากกระทู้นี้ วันละ 3 รอบเป็นอย่างต่ำ
อ่านแล้ว ยิ่งคิดตามเท่าไหร่ ไอเดียสำหรับไร่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
บางทีคิดจนสมองจะระเบิด มันอัดอั้น อยากเอาที่เราคิดไปลงที่ไร่เร็วๆ

จนคิดว่าไม่ไหวแระ เดี๋ยวบ้าตายก่อน

ก็เลยลดลงมาอ่านวันละ1-2 รอบพอ 555

ส่วนตัวผมชอบนะ การไปดูงาน ไปพบปะกับคนคอเดียวกัน เพราะมันคุยกันรู้เรื่องคุยกันได้ยาว
แต่การไปดูงาน ส่วนมากจะได้เรื่องเทคนิค และเรื่องการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
แต่กระทู้นี้ ได้เอาเรื่องการบริหารมาคุยด้วย ยิ่งน่าสนใจใหญ่ เพราะผมก็เรียนทางสายบริหารมา มันเหมือนได้ทบทวนความรู้เดิมเลยครับ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 13, 2014, 09:01:34 AM
เมื่อก่อน แวะมาหาความรู้จากกระทู้นี้ วันละ 3 รอบเป็นอย่างต่ำ
อ่านแล้ว ยิ่งคิดตามเท่าไหร่ ไอเดียสำหรับไร่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
บางทีคิดจนสมองจะระเบิด มันอัดอั้น อยากเอาที่เราคิดไปลงที่ไร่เร็วๆ

จนคิดว่าไม่ไหวแระ เดี๋ยวบ้าตายก่อน

ก็เลยลดลงมาอ่านวันละ1-2 รอบพอ 555

ส่วนตัวผมชอบนะ การไปดูงาน ไปพบปะกับคนคอเดียวกัน เพราะมันคุยกันรู้เรื่องคุยกันได้ยาว
แต่การไปดูงาน ส่วนมากจะได้เรื่องเทคนิค และเรื่องการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
แต่กระทู้นี้ ได้เอาเรื่องการบริหารมาคุยด้วย ยิ่งน่าสนใจใหญ่ เพราะผมก็เรียนทางสายบริหารมา มันเหมือนได้ทบทวนความรู้เดิมเลยครับ



หลายเรื่องที่เขียน ผมคิดมา 2 ปี อัดอั้นกว่าเยอะครับ 555

คิดเอาว่า ที่คิดทั้งหมด ต้นกล้าสักต้น ยังไม่ได้ลงเลย...






หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 13, 2014, 10:22:04 AM
วันนี้ขอเขียนหัวข้อนี้

ปัญหาธุรกิจหลอก(หรือไม่หลอก) ขายพันธุ์พืช ที่ผมเกือบโดน (แต่เพื่อนโดนไปแล้ว)

หลังจากผมเริ่มศึกษาและวางแผนว่าจะทำอะไรบ้าง ผมก็เริ่มหาว่าที่ไหนขายพันธุ์อย่างไร

สิ่งที่พบ และเกิดคำถามขึ้น คือ

- พืชเดียวกัน เจ้าหนึ่งถูก เจ้าหนึ่งแพง .... มันเพราะอะไร????
- ถ้าปลูกแล้วขายผลผลิตได้ดี ...ทำไมเน้นขายพันธุ์   หรือมันทำพร้อมๆ กันได้ทั้งคู่...
- ตัดกิ่ง ตอนกิ่ง ต้นไม้ขนาดเล็กลง แล้วผลผลิตจะสูงได้อย่างไร????
- ทำสัญญารับซื้อ ผลผลิต... ตกลงดีกว่าหาตลาดเองหรือเปล่า????

และอย่างที่เคยได้กล่าวไว้ในช่วงแรกๆ ว่า ผมมีเวลาเหลือ 6 เดือน ผมจึงมองหาพืชที่ปลูกแล้วเก็บเกี่ยวได้ใน 6 เดือน

คำตอบ ออกมาที่ เผือกหอม

เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ผมเริ่มเตรียมดิน ศึกษาการปลูก

หาบริษัทที่ทำสัญญา โทรไป 2-3 เจ้า

แต่ละเจ้าคุยดีมากครับ เช่น

- เรามีพันธุ์ให้พร้อม และเราจะพาคุณไปอบรมการปลูกด้วย
- ตอนเก็บ เราจะส่งคนมาเก็บ คุณจ่ายแค่ค่าแรง ซึ่งก็หักจากการรับซื้อเลย
- ตอนปลูก คุณทำตามที่เราวางแนวไว้ให้ รับรองได้เผือกหัวสวย ใหญ่ เกินกิโลกรัมแน่ๆ
- ยิ่งคุณเป็นมือใหม่ยิ่งดีเลย แนวทางเรา เหมาะกับมือใหม่ คนเคยปลูกเขาไม่ชอบ ไม่ค่อยทำตาม

ผมฟังแล้วก็หลงไหลตามไป แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาใดๆ เพราะที่ดินยังเตรียมไม่พร้อม

ต่อมา ผมศึกษาระบบธุรกิจ พันธุ์ไม้ เพิ่มเติม แล้วก็ได้พบความจริงว่า

- โดยส่วนใหญ่ หากใครที่เน้นขายพันธุ์ จะไม่ค่อยเน้นการทำผลผลิต (ยกเว้นที่ดินเขามีเยอะ เพียงพอ)
- ธุรกิจขายพันธุ์ มีการหลอกลวงเยอะมาก มากในหลายรูปแบบ
เช่น ขายจริง ราคาปกติ แต่ขายแล้วหายไป อันนี้เบาสุด / ขายพันธุ์มั่ว ตั้งชื่อเอง ไม่มีการรับรองใดๆ จากทางการ แล้วบอกว่าเป็นพันธุ์ใหม่สุดๆ อันนี้ไม่รู้คนขายจริงใจ คือ ไม่รู้จริงๆ ว่าพันธุ์จริงคืออะไร หรือไม่ก็คนขายตั้งใจหลอกจริงๆ / ขายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่พืนตลาดในไทย โดยบอกว่า มีออเดอร์จากเมืองนอก อันนี้เลวร้ายสุด เพราะปลูกแล้วโตแล้ว ขายไม่ได้ ไม่มีตลาดรับจริงในไทย / ขายพันธุ์คุณภาพต่ำ แต่หลอกคนซื้อว่าคุณภาพสูง พวกนี้เจอบ่อยๆ เป็นปกติเลย
- พวกเป็นหลอกลวง พอถามถึงการปลูกอย่างไรให้ได้ผลผลิตดีๆ จะเลี่ยงๆ ตอบ หรือตอบแล้วไม่ตรงกับหลักที่เราอ่านหรือเจอมา หรือตอบแบบพื้นๆ แล้วมักจะบอกว่า ยังไงก็ดูแล ไม่ต้องกลัวว่าปลูกแล้วจะเสียหาย เพราะถ้าเสียหาย "ผมเสียหายด้วย ส่งออกไม่ได้"

พอเจอแบบนี้

คำถามสำคัญคือ จะแยกยังไง ผมตอบได้เลยว่า "ไม่รู้" แต่ป้องกันได้คือ

1. ซื้อพันธุ์กับคนขายที่มีประวัติขายพันธุ์ยาวนาน
2. ซื้อพันธุ์ที่มีตลาดชัดเจนเท่านั้น (มันจะย้อนกลับไปที่หลักการต่างๆ ทั้งหมดที่เขียนไว้แล้ว ว่าเลือกพันธุ์ให้เลือกโดยตอบโจทย์หลักธุรกิจ)
3. ซื้อพันธุ์ที่ราคาไม่ถูก แต่ไม่แพงมากเจอเกินไป
4. อย่าคาดหวังว่าเราจะเป็นเจ้าแรก ที่ทำพันธุ์ใหม่ ...หากพึ่งก้าวสู่โลกเกษตรกรรม ดังนั้นควรเริ่มต้นกับพันธุ์เดิมๆ ที่มีตลาดแล้วก่อนดีกว่า
5. ในเน็ตได้ข้อมูล หน้าสวนหน้าไร่ ได้ความจริง ...หากจะลงทุน อ่านได้ ศึกษาได้ แต่ต้องไปที่หน้าสวนหน้าไร่ เพื่อคุยกับเกษตรกรตัวจริงๆ ถ้าคิดจะทำระบบสัญญา ให้หาบริษัที่เกษตรกรรายนั้นๆ เคยทำส่งทำค้าขายด้วยไม่น้อยกว่า 3 ฤดูกาล ไม่อย่างนั้นอาจเจอพวกสัญญาปลอมๆ หลอกขายพันธุ์ได้





 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: nomadic_man ที่ มิถุนายน 13, 2014, 11:29:43 PM
นั่งอ่านรวดเดียวเกือบ 2 ชม.  ;D ;D มันส์มาก  :-[ พร้อมเก็บความรู้ไปปรับใช้อีกเพียบ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  >:( หากถึงเวลาที่ผมอาจจะต้องใช้ประโยชน์กับระบบน้ำ,ระบบไฟอย่างจริงจัง คงต้องแวะเวียนมาขอครับปรึกษานะครับ  :)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 16, 2014, 08:17:13 AM
นั่งอ่านรวดเดียวเกือบ 2 ชม.  ;D ;D มันส์มาก  :-[ พร้อมเก็บความรู้ไปปรับใช้อีกเพียบ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  >:( หากถึงเวลาที่ผมอาจจะต้องใช้ประโยชน์กับระบบน้ำ,ระบบไฟอย่างจริงจัง คงต้องแวะเวียนมาขอครับปรึกษานะครับ  :)

ยินดีครับ แบ่งปันความรู้กันและกัน ผิดถูกช่วยกันขัดเกลานะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 16, 2014, 08:59:10 AM
วันนี้มาต่อเรื่องเครื่องมือการเกษตร

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของงานการเกษตรคือ "แรงงาน"

ทำอะไรก็แล้วแต่ ผมคิดถึงแรงงานเป็นหลัก คิดถึงกรณีเลวร้ายที่สุด ถ้าไม่มีใครทำให้เราได้ เราพร้อมทำเองได้ไหม

อะไรที่ยากเกินความสามารถของเรา ผมก็จะไม่คิดทำ ไม่คิดปลูก แต่อะไรที่คิดว่าพอทำเองได้ ก็จะศึกษาต่อว่าต้องมีเครื่องมืออะไรช่วยบ้าง

เท่าที่ดู มีที่ต้องควรซื้อติดสวนไว้ แน่ๆ คือ อุปกรณ์พ่นยา

จากการศึกษาผมต้องมีอุปกรณ์พ่นยา 2 แบบ คือ แบบสะพายหลัง สำหรับการพ่นจำกัดพื้นที่ และแบบเครื่องพ่น 3 สูบ สำหรับการพ่นปริมาณมาก

-----------------------------------------
เหตุที่ต้องมี 2 แม้ว่าปั้ม 3 สูบจะทำงานแทนได้หมดก็ตาม นั้นคือ เรื่องของค่าใช้จ่ายพลังงาน

ระบบปั้ม 3 สูบที่ใช้กันส่วนใหญ่คือ ระบบอัตโนมัติ

กล่าวคือ ถ้าเราพ่นน้ำน้อย น้ำส่วนใหญ่จะไหลกลับลงถัง ....นั่นหมายความว่า ปั้มทำงานที่แรงดันเดียว

น้ำที่ไหลกลับ หมายถึง พลังงานที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์

การใช้ปั้มพ่นยา 3 สูบ ที่เหมาะสมคือ การปรับความเร็วมอเตอร์ หรือเครื่องยนต์ ให้สามารถพ่นแล้ว น้ำไหลกลับลงถังน้ำ น้อยที่สุด


ทีนี้หมายความว่า หากเราจะพ่นยาน้อยๆ บางๆ อ่อนๆ เรียกว่า แทบไม่มีความเป็นไปได้เลย

ทางเลือกที่เหมาะสมอีกทางหนึ่งคือ การใช้ถังพ่นยาแบบสะพายบ่า นั้นเอง

เพราะแรงดันน้อยกว่า สามารถพ่นจำกัดพื้นที่ได้ สะดวกและดีกว่า

ผมจึงวางแผนใช้ ปั้ม 3 สูบ สำหรับงาน ปุ๋ยทางใบ งานกำจัดศัตรูพืช งานป้องกัน ที่ต้องการฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณ โดยไม่ยึดติดว่าต้องเป็นต้นไหน

ด้วยปั้ม 3 สูบ พื้นที่ขนาด 10 ไร่ จะใช้เวลาไม่นานก็ทำเสร็จ

จึงประหยัดต้นทุนเรื่องค่าพลังงาน และค่าแรง
ตามหลักของ "สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน"


ส่วนปั้มสะพายบ่า จะใช้กับเคมีที่ทำงานเฉพาะ และต้องการจำกัดพื้นที่ เช่น การฉีด GA หรือ แพ็กโค เพื่อควบคุมให้มะนาวออกลูกนอกฤดู สารบางตัวห้ามลงดิน เพราะมีผลเสียหายต่อราก ก็ต้องฉีดพ่นบางๆ ให้จับใบ ให้หมด ไม่ให้กระจายฟุ้ง ลอย ลงดินได้

ซึ่งแม้จะเสียเวลานานกว่า แต่เราควบคุมได้ตามหลักการ

------------------------------------------

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ประจวบเหมาะ เพราะบ้านพี่ชาย ปลวกขึ้น เลยได้โอกาสประหยัดเงินค่าฉีดปลวก จัดการฉีดเอง ด้วยเครื่องพ่นยา

น้ำยาฉีดปลวกก็คือ พีโปรนิล ซึ่งเป็นเคมีการเกษตรอยู่แล้ว จึงไปซื้อร้านขายส่งที่ตลาดรังสิต (ใช้เป็นกล่อง ฉีดทุกบ้าน บ้านพี่บ้านน้องรวมแล้วหลายหลัง คุ้มเลย)

หมดค่าเคมีฉีดไป 9000 บาท

จากนั้นอยู่แถวรังสิตแล้ว เลยขอแวะไปดู ร้านที่เขาว่าถูกสุดๆ หน่อย คือ Do home รังสิต

ปรากฎว่า...

กำลังจัดลดราคา เครื่องพ่นยาแบบใช้เครื่องยนต์ ของจีน คุณภาพไม่ต้องบอก แต่ราคาน่าสนใจมาก แค่ 64xx บาท

ประกอบด้วย

- เครื่องยนต์ 6.5 แรงม้า 4 จังหวะ
- ปั้มพ่นยา 3/4 นิ้ว แบบอัตโนมัติ มีหม้อแรงดัน
- หัวฉีดละอองหมอก
- สายฉีดพ่น ความยาว 50 เมตร
- โครงเหล็ก แบบเข็นได้
- ล้อหมุนเก็บสายฉีดพ่น

คำนวณแล้ว ไม่ต้องคิดมาก จัดมาเลย 1 เครื่อง

(https://lh4.googleusercontent.com/-8kAB9JjZ2nQ/U55URR3sbkI/AAAAAAAAyLI/9v5CfmMbBW4/w620-h520-no/pump3.jpg)

ซื้อแล้วก็มาตรวจสอบ จารบี พบว่าอัดมาให้เรียบร้อยแล้ว
ที่เหลือก็แค่ใส่น้ำมันเครื่อง ที่ตัวปั้ม และตัวเครื่องยนต์

(ไม่อยากบอกเลยว่า แอบโง่ ไม่รู้ว่าช่องใส่น้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ มีทั้งสองฝั่ง ก็ยังคิดว่า มันออกแบบยังไงนะ ให้มาใส่ฝั่งที่ติดๆ ขัดๆ พอใส่เสร็จ มาดูอีกที อ้าวมีสองด้านนิน่า แอบโง่เลย)
(https://lh5.googleusercontent.com/-VvaQfzvFaMs/U55U732CUfI/AAAAAAAAyLY/6QcmWQ-XABw/w388-h553-no/2014-06-14+16.35.30.jpg)

(https://lh3.googleusercontent.com/-Wx1tDWAoLyk/U55VMLaudhI/AAAAAAAAyLo/wPmp3XWsY2A/w620-h520-no/2014-06-15+08.14.03.jpg)


เวลาใช้งานก็มีเรื่องตลกๆ

เพราะเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ สตาร์ทเครื่องยนต์แบบนี้เอง

ความโง่ๆ เริ่มจาก

1. ดึงสายสตาร์ท แล้วพบว่า ดึงได้แค่ 10 ซม. ก็งงๆ ว่า ทำไมดึงไม่ขึ้น หรือเครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่เราเห็นมันดึงแค่นี้

- ปรากฎว่า ....มันต้องใช้แรงกระชาก พอควร ไม่ใช่แค่ดึงเฉยๆ แล้วท่าดึงตอนแรกคือ นั่งดึง ไม่ใช่ยืนดึง เลยมีแรงดึงไม่พอ ...นั่งขำกับพี่ชาย คงเป็นเรื่องเล่าได้ยันลูกบวช 555

2. ระบบกรองอากาศแบบใช้น้ำมัน กลายเป็นตัวอุดตัด ทำให้อากาศไม่ค่อยเข้า จึงสตาร์ทติดยาก น่าจะเพราะใส่น้ำมันเยอะไป
- วิธีแก้ง่ายๆ เปิดมา บีบน้ำมันออกจากฟองน้ำ 555

3. มันจะมีก้านโช็ค มั้ง ให้ปรับเพื่อให้เครื่องสมดุลย์ ตอนสตาร์ทถ้าปรับไม่ดี จะสตาร์ทไม่ติด เราก็ปรับตามที่เครื่องบอกคือ สุด สตาร์ทเท่าไรก็ไม่ติด พอโยกมาครึ่งทาง ติดเลย

4. ใช้ไปจนน้ำมันจะหมด เครื่องสะดุด ก็คิดไปนู้นนี่ ว่าสะดุดเพราะอะไร กว่าจะหาเจอว่า สะดุดเพราะน้ำมันหมด เล่นเอา ฮาตามๆ กันไป

สรุปน้ำมัน 3 ลิตร ใช้พ่นได้ประมาณ 3 ชั่วโมง
ยังไม่แน่ว่าเป็นอัตราบริโภคจริง เพราะยังปรับแต่งความแรงของเครื่องไม่ดีนะ

เครื่อง 6.5 แรง น่าจะแรงเกินไปสำหรับปั้มพ่นยา เพราะปรับให้เครื่องยนต์เดินเบาสุดๆ ก็ยังอัดปั้มได้แรงเท่าๆ กับเร่งเครื่องให้เครื่องยนต์เดินเต็มกำลัง

---------------------------------------------------

เมื่อวานเลยเรียกได้ว่าเก็บประสบการณ์ในการใช้เครื่องพ่นยา ไป 1 หน่วยกิต 555



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 16, 2014, 09:06:19 AM

 ค่าหน่วยกิตยังไม่แพงครับ ผมเองจ่ายค่าหน่วยกิตชีวิตไปเปนล้าน ยังผ่อนจ่ายอยู่เลยครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: KENETIC_E® ที่ มิถุนายน 17, 2014, 07:58:02 AM
ขอเข้ามาหาความรู้ในสวนเทคโนโลยีและการบริหารจัดการดีเยี่ยมอีกสวนหนึ่งด้วยคนนะครับ.... :-[

และขอเข้ามานั่งเรียนเพิ่มหน่วยกิต สาขาวิชาชีวิตวิทยา คณะชีวิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยชีวิตจริง ด้วยคนนะครับ....

ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 17, 2014, 08:05:45 AM
ขอเข้ามาหาความรู้ในสวนเทคโนโลยีและการบริหารจัดการดีเยี่ยมอีกสวนหนึ่งด้วยคนนะครับ.... :-[

และขอเข้ามานั่งเรียนเพิ่มหน่วยกิต สาขาวิชาชีวิตวิทยา คณะชีวิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยชีวิตจริง ด้วยคนนะครับ....

ขอบคุณครับ

เจ้าความรู้ด้านน้ำ ผมเองต่างหากต้องขอบคุณพี่ KENETIC_E® ถ้าไม่ได้พี่ ผมคงไม่มีความเข้าใจเรื่องน้ำ

ใคร งง เรื่อง น้ำ พี่ KENETIC_E® นี่ละตัวจริง


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 17, 2014, 08:40:30 AM
ระหว่างเครื่องยนต์ กับมอเตอร์ เลือกอะไร

ตอนผมเลือกเครื่องพ่นยาสามสูบ ผมเลือกมอเตอร์ เพราะไม่ต้องการจัดการปัญหาต่างๆ อันเกี่ยวกับเครื่องยนต์ให้วุ่นวาย และคิดว่า ในระยะยาว จะจัดการระบบไฟฟ้าในสวนให้ดี

แต่สุดท้ายก็มาตายของถูก 555

เพราะราคา 64XX นั้น มันถูกกว่ามอเตอร์เสียอีก

คำนวณแบบง่ายๆ ใช้งานแค่ 1-2 ปี ก็คุ้มค่ามากมายแล้ว สำหรับค่าเครื่องยนต์ (น่าจะไม่เกิน 3 พันบาท)

แต่ผมเชื่อว่า หลายๆ คนต้องมีคำถามเหมือนผมว่าจะเลือก ตัวต้นกำลังอย่างไรดี

ผมมีวิธีคิดง่ายๆ อย่างนี้ครับ

1. ปลั๊กไฟที่สวน มีอยู่กี่จุด ห่างกันเท่าไร เกิน 100 เมตรหรือไม่
2. ระบบไฟฟ้าในสวน จากสายเมนของการไฟฟ้า เป็นอย่างไร ใช้สายไฟเส้นใหญ่หรือเปล่า

สองตัวแปรนี้ สำคัญตรงที่ ถ้าคุณจะเลือกใช้แบบมอเตอร์จริงๆ คุณต้องดูว่า แรงดันไฟฟ้า หรือ V นั้น ตกลงมากน้อยแค่ไหน

ถ้ามี Volt Meter ก็เอาไปวัดเลยครับ

แต่ถ้าไม่มีคงต้องคำนวณเอา จากตารางค่าการสูญเสียแรงดันในสายไฟ

(https://lh5.googleusercontent.com/0BsuwVikqpDDlvpCLaKmRw1vWOq0DR1ECM8zCq9SHgfj=w600-h553-no)

ที่มา http://www.kmitl.ac.th/eeml/PDF/Voltage%20Drop.pdf (http://www.kmitl.ac.th/eeml/PDF/Voltage%20Drop.pdf)

อันนี้เป็นสาย THW (สายทองแดง)

โดยหลักการคำนวณคือ  สูตรของไฟระบบ 2 เฟส ( 3 เฟสใช้อีกสูตรนะครับ)

VD =  2 I R L

โดย
R คือ ค่าความต้านทานต่อเมตร (เอาจากตาราง)
I คือ โหลดแอมป์ที่ต้องการใช้งาน
L คือ ความยาวของสาย

ค่า VD คือ Voltage Drop หรือแรงดันไฟฟ้าที่ตกลง

เช่น

เลือกใช้สายไฟ THW ขนาด 2.5 mm ต้องจ่ายไฟให้มอเตอร์ 3 แรง (750*3= 2250W --> I = 10.23A) โดยมอเตอร์วางห่างจากปลั๊กเมน 100 เมตร  ค่า VD ได้เท่ากับ

VD = 2 * 10.23 * 0.0088658 * 100
VD = 18.14V

หมายความว่า ณ จุดจ่ายไฟฟ้าที่มอเตอร์ แรงดันไฟฟ้าเหลือเพียง 220-18.14 = 201.86V

หากมอเตอร์ 3 แรงม้า ที่เราซื้อมา รับแรงดันได้ 220-240 ก็จะใช้งานไม่ได้ หรืออาจมีปัญหาในระยะยาว

ทางแก้จึงต้องเพิ่มขนาดสายไฟ เพื่อให้ค่าโอมห์ ลดลง

โดยทั่วไปแล้วเราจะไม่ให้แรงดันตกต่ำกว่า 3%

เรื่องตรงนี้ สำหรับสวนเล็กๆ คงไม่เท่าไร แต่สำหรับสวนที่มีพื้นที่มาก ค่าใช้จ่ายด้านสายไฟ ค่าเสาไฟฟ้า เป็นเงินมิใช่น้อยๆ

ผมเองลงทุนค่าเสาไฟฟ้า และสายไปแล้ว 5 หมื่นกว่าบาท

ดังนั้นโดยพื้นฐาน สวนของผมจึงใช้ มอเตอร์แทนการใช้เครื่องยนต์ได้ทั้งหมด เพราะระบบไฟฟ้าเดินไว้อย่างครอบคลุม

แต่ผมเลือกเครื่องยนต์ เพราะ....

มันถูกอะ 555

แค่นั้นจริงๆ

ดังนั้นจะตัดสินใจว่า มอเตอร์หรือเครื่องยนต์นั้น ง่ายมาก คือ ถ้าไฟฟ้าพร้อม ครอบคลุมทุกพื้นที่ เอามอเตอร์ครับ ค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองต่างๆ น้อยกว่าเครื่องยนต์แน่นอน

แต่เครื่องยนต์จะสะดวกกว่ามาก หากพื้นที่ใช้งานไม่มีไฟฟ้า หรือไม่สามารถเดินสายไฟเข้าไปได้

 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 17, 2014, 05:09:26 PM
 พี่  avatayos ผมมีเรื่องปรึกษาครับ จากเหตุเรื่องการรุกล้ำที่ดิน ทำให้ผมต้องรีบรังวัด(นอกรอบ)ในวันอาทิตย์นี้ (22 มิย)

   นัดฝั่งคู่กรณีได้แล้ว เลยจะเข้ามาถามพี่ก่อน เพราะตั้งใจจะขึ้นไปรังวัดแล้วปรับที่ ขุดสระเลย เลยตั้งใจสอบถามก่อนลงมือปฎิบัติครับ

ปล.ผมสอบถามพี่ avatayos และทุกท่าน นะครับ เพื่อใ้ห้แฟนผม (ผบทบ ตัวจริง) เลือกวิธีที่จะปรับที่ดินที่เหมาะกับครอบครัวเรา

มั่นใจว่า ต้องนำความรู้ มาประยุกต์รวมกันแน่ครับ



  อันนีเป็นรูปที่ดินผม

(http://i1254.photobucket.com/albums/hh601/ultranoi/E190E2A03E010E400E1E0E0A0E230E1A0E390E230E130E4C0_zpsafa2d94a.png) (http://s1254.photobucket.com/user/ultranoi/media/E190E2A03E010E400E1E0E0A0E230E1A0E390E230E130E4C0_zpsafa2d94a.png.html)

ผมจะขอถามยึดตามด้านของรูปที่โพสต์นะครับ

 ที่ดินผมจะเป็นเนินเขาทั้งหมด ไล่ระดับมาจนสุดปลายที่ติดถนนเส้นชุมแพ-หล่มสัก เรียกได้ว่า แทบไม่มีที่ราบเลยครับ
      
        ด้านบนของที่ดิน เป็นเนินเขา จะอยู่ทางทิศใต้ (ที่ดินผมอยู่เกือบสูงสุดของเนิน มีอีกแปลงจะอยู่ถัดจากผมไป มีถนนสาธารณะคั่น)

        ด้านลา่งของที่ดิน ติดถนนใหญ่ สายชุมแพ หล่มสัก จะอยู่ทางทิศเหนือ

        ด้านซ้ายของที่ดิน ติดที่ดินอีกแปลงของตำรวจ และติดถนนสาธารณะบางส่วน

        ด้านขวาของที่ดิน ติดที่ดินอีกแปลง (เป็น ภบท ใน นส 3ก ของผมจึงระบุเป็นที่ว่าง จริงๆแล้วเป็นรีสอร์ทเล็กๆ มีเจ้าของดั้งเดิมอยู่)

ที่ดินแห่งนี้ ผมซื้อด้วยเงินของพีน้อง 3 คน (ผมเปนคนสุดท้อง) ตั้งใจว่า จะไปใช้ชีวิตที่เหลืออย่างพอเพียงทีนั่น โดยหารายได้จากการทำ

โฮมสเตย์เล็กๆ 4 หลัง และปลูกพืชผักขายตลาดท้องถิ่น


      คำถามนะครับ ( ผมลองคิดเองหลายตลบแล้วแต่คิดไม่ออกครับ)

1.ผมกะจะทำแทงค์น้ำซีเมนต์ขนาดความจุ 40,000 ลิตร จุเยอะ เพราะกะจะเอาไว้ใช้กับโฮมสเตย์อีก 4 ห้องด้วยครับ เอาไว้มุมขวาบนสุดของพื้นที่

เพื่อใช้แรงโน้มถ่วงในการจ่ายน้ำ (เสียเงินเฉพาะตอนสูบน้ำขึ้นจากบ่อบาดาล) แต่ผมไม่รู้ว่า

    แทงค์น้ำ 40,000 ลิตร นี้ ต้องอยู่ห่างจากบ้านที่ผมจะสร้างอย่างน้อยเท่าไร จึงจะมีแรงดันพอครับ (ผมโคตรอ่อนคำนวณครับพี่)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 17, 2014, 05:54:30 PM


   ข้อจำกัดของผมจะอยู่ตรงที่ วิวสวยๆจะต้องอยู่ด้านบนๆของที่ดิน และจะเห็นเทือกเขาน้ำหนาวได้จากฝั่งซ้ายเท่านั้น (มองไปทางซ้ายของที่ดิน จะวิวดีครับ)

เลยตั้งใจจะสร้างบ้านก่อน(โฮมสเตย์ เอาไว้ก่อนครับ) แต่จะทำมาสเตอร์แพลนไว้ว่า ผังที่ดินโดยรวมจะใช้ประโยชน์อะไรบ้าง โซนไหนที่ยังไม่มีเงินทำ

ต้้งใจจะปลูกต้นไม้ไว้ก่อน ตอนแรกสุด โครงการผมคือ

 1.ปรับที่ดิน เพื่อดูทางน้ำไหลลงจากเนินเขา ปกติน้ำจะมาจากฝั่งบนสุดและฝั่งซ้ายของที่ดิน(ไหลลงมาจากเนินเขาอีกเนิน ต่อจากที่ดินของนายตำรวจ)

ตั้งใจว่าจะ ขุดสระรอรับน้ำจากทั้งสองเนินเขา โดยจะ
 
   - ขุดสระขนาด 40*30 เมตร ความลึกเล่นระดับ 2/4/6 เมตร เพื่อเลี้ยงปลา,ปลูกบัว ฯลฯ
 
   - ขุดร่องน้ำดักตะกอนและดักสารเคมีไว้ฝั่งซ้ายและฝั่งน้ำไหลจากทิศเหนือ

ตามแผนผังนะครับ ขอสารภาพว่า ผมทำแผนผังที่ดินโดยใช้คอมไม่เป็นครับ เลยต้องวาดออกมา

(http://i1254.photobucket.com/albums/hh601/ultranoi/10394499_10203308352863380_5096864156279521402_n_zps1f70de98.jpg) (http://s1254.photobucket.com/user/ultranoi/media/10394499_10203308352863380_5096864156279521402_n_zps1f70de98.jpg.html)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 17, 2014, 06:37:23 PM

  ตั้งใจว่าจะสร้างบ้านยกสูงจากพื้น 80 ซม ขนาด 2 นอน 2 น้ำ ห้องกินข้าว,รับแขก เป็นห้องเดียวกันตรงกลาง + ห้องเก็บของขนาดใหญ่หน่อย

  พื้นที่ทั้งหมดของตัวบ้านไม่รวมเฉลี่ยงน่าจะสัก 80 ตรม ครับ

ตั้งใจจะนำน้ำจากการอุปโภคประจำวัน ต่อท่อออกห่างจากตัวบ้านไปตามแนวรูปที่ดิน โดยขุดเป็นคูลึก 0.5 เมตร แล้วใส่กรวด,หิน แทน

(ใช้ grey water มาสร้างความชุ่มชื้น แล้วปลูกต้นไม้สองฟากของคู)

  คำถาม ผมต้องใช้ถังบำบัดไหมครับ หรือ สามารถต่อท่อน้ำทิ้งลงคูดังกล่าวได้เลย (ท่อจะถูกเจาะรูจากเล็กไปหาใหญ่ จนสุดที่ดิน)

 
2. ที่ดินผมเป็นป่าวัชพืช+ มีต้นไม้ขนาดเล็กหลายร้อยต้นที่ต้องไถปรับทิ้ง เพราะต้องขุดสระ+ปรับที่ทำโฮมสเตย์+สร้างบ้าน

บอกคนขับรถไถปรับที่ดินแล้วว่าให้ เก็บต้นไม้ทุกชนิดที่พอเก็บได้ โซน A / C ที่ไม่ได้ทำอะไร จะมีต้นไม้หนาแน่นมากครับ วางแผนว่าจะปลูกต้นไม้แซม

ลงไปกับต้นที่มีอยู่เดิม+ลงพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้

คำถาม ต้นไม้หลายร้อยต้นนั้น ควรนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร สามารถนำไปไว้ในคูชะลอน้ำเพื่อกันดินสไลด์ หรือ ทำประโยชน์ใดที่ดีกว่านี้ได้ครับ

3.ผมควรทำถนนขวางที่ดินไหมครับ (ถนนระหว่างคูน้ำที่รับน้ำจากเนินเขาด้านบนกับสระน้ำขุด และเชื่อมไปยังโฮมสเตย์ )

4.แนวถนนที่ยาว 195 ม ผมตั้งใจจะปลูกต้นสัก ไว้ 2 ข้าง โดยเว้นระยะห่าง 2 เมตร ถ้าปลูกสักห่างจากแนวเขตที่ดิน 0.5 เมตรพอไหมครับ

5.ต้นไม้ให้ร่มเงา เก็บกวาดง่าย สวยงาม รากไม่ทำลายฐานบ้าน รูปทรงสวย ชนิดใดที่ควรปลูกไว้ใกล้บ้านครับ และควรปลูกห่างจากบ้าน กี่ ม. ครับ

6.ที่ดินเป็นเนิน slope ควรขุดสระเก้บน้ำตรงไหน ตรงส่วนล่างสุด หรือ ขุดเปนสระย่อยๆ แล้วสระย่อยๆควรมีกี่สระ ตำแหน่งไหนดีครับ แต่รีสอรทข้างๆที่

ขุดสระลึก 2 เมตร ด้านล่างสุดของที่ดินเขา ปรากฎน้ำแห้งเลยครับ ( ข้อมูล ณ 7 มิย 57) แต่ที่อยุ่เหนือขึ้นไปเก็บน้ำได้ (น่าจะลึกกว่า)

7.สระน้ำใหญ่ที่ผมจะทำขนาด 40*30 เมตร เล็กหรือใหญ่ไปไหมครับ สำหรับการใช้งาน+การนำดินไปถม แล้วรูปร่างสระน้ำที่ดี ควรเป็นสี่เหลี่ยม

หรือเป็นรูปแบบไหน่จึงเหมาะกับที่ดินผมครับ

8.คูที่จะใช้ชะลอน้ำจากสองด้าน ควรลึกเท่าไร กว้างยาวเท่าไรจึงเหมาะสมครับ (ส่วนตัวคิดว่าลึก 2 เมตร กว้าง 2 เมตร)

 
** ผังที่ดินที่ผมทำ หากอันไหนไม่เหมาะสม แจ้งตรงๆได้เลยนะครับ ผมครูพักลักจำเอา อาจนำมาประยุกต์แล้วไม่เหมาะกับการใช้งานจริง


** ขอโทษครับที่ถามเยอะแต่ผมไม่รู้จะถามใคร ข้อมูลเต็มหัวไปหมด


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: Ball121 ที่ มิถุนายน 17, 2014, 07:54:13 PM
สุดยอดครับ กระทู้นี้มีประโยชน์มหาศาล


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 18, 2014, 08:21:34 AM
คำถามยาวมาก 555

ก่อนอื่น ผมเองก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญมากนักนะครับ อาศัยอ่านเยอะ ดูเยอะครับ จึงมีหลักคิดเยอะ แต่หลักคิดทุกอย่าง ต้องนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับหน้างานเอง

ผมจึงขอตอบเป็นหลักการดีกว่าครับ แยกเป็นข้อๆ เพื่อให้คิดทีละข้อครับ

1. ที่ดิน มีความลาดเอียงมากน้อยเพียงใด ต้องรู้ให้ได้ครับ จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง

2. ความลาดเอียง จะส่งผลต่อหน้าดิน เกิดปัญหาหน้าดินไหล หากมีความลาดเอียงมากๆ ต้องแบ่งทำแนวคูเล็กๆ ป้องกัน หรือปลูกต้นไม้ที่ยึดหน้าดินได้ดี

3. เมื่อหน้าดินไหล แนวคู จะเป็นจุดชะลอและกักหน้าดินไว้ นานๆ เข้า ก็ลอกคูทีหนึ่ง จะได้หน้าดินคุณภาพดีมาใส่ต้นไม้ครับ

4. การอาศัยแรงดึงดูดโลกเพื่อสร้างแรงดันน้ำ จะได้ผลเป็น H สูงสุดแค่ เท่ากับคำตอบในข้อ 1 ซึ่ง คุณซีต้องมาคำนวณเองว่า มันเพียงพอไหม โดยพื้นฐานการใช้งานน้ำภายในบ้าน H ต้องอย่างน้อยๆ 10 หรือ 1 บาร์ เพราะอุปกรณ์บางอย่างไม่ทำงานที่แรงดันต่ำกว่านี้ เช่น เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้นครับ

5. ปริมาตร 40Q ไม่ใช่น้อยๆ เลยนะครับ ถ้าใช้บ่อวงซีเมนต์ สร้าง ก็ต้องสร้างสูง 4 เมตร จำนวน 10 แท็ง ด้วยบ่อวงเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณสักขนาด 1.2 เมตร (ถ้าสร้างสูงกว่านี้ คงทำให้วิวไม่สวย 4 เมตร ยังพอปลูกต้นไม้ หรือหาอะไรบังตาได้)

6. ปกติ 1 ครอบครัว 4 คน ใช้แท็งก์น้ำสำรอง 1800 ลิตร ก็เพียงพอต่อการใช้งาน 1-2 วัน แบบปกติ (อาบน้ำ ประกอบอาหาร ล้างจาน ซักผ้า 1 ครั้ง) ดังนั้นถ้ามี 4 ห้อง ก็แค่ 10Q ก็น่าจะเพียงพอครับ

7. ผมไม่แน่ใจว่าตัวเลข 40Q ของคุณซี คิดมาจากอะไร แต่ถ้าหมายไว้ใช้ในงานเกษตรด้วย ผมแนะนำให้แยก ระหว่างน้ำใช้ กับน้ำเกษตรครับ น้ำใช้ เพื่อคุณภาพ และสุขภาพ ควรติดตั้งระบบกรองดีๆ เข้าไป มีระบบฆ่าเชื้อโรค ไว้ใช้ช่วงฝนตกหนักๆ บ้าง เผื่อน้ำปนเปือน  / ส่วนน้ำเกษตร ก็ปล่อยๆ ได้ เป็นน้ำบ่อ ขุดบ่อไว้เลี้ยงปลาได้เลย

8. เรื่องปรับที่ดิน คิดถูกต้องแล้วครับ คือ กักน้ำ ตามทางไหลของน้ำ ไว้ใช้ แต่อย่าได้กั้นน้ำนะครับ จากนั้น ควบคุม ด้วยการขุดคูให้ไหลตามแนวเดิม จะดีที่สุด แต่ถ้าแนวเดิมไม่สวย ก็ต้องใช้ช่างที่มีความสามารถ ขุดให้ดี ถ้าขุดไม่ตรงแนวเดิมๆ ต้องระวังเรื่องการกัดเซาะในอนาคตด้วย (แนวเดิมมันกัดเซาะจนเหมาะสมแล้ว 555)

9. การบำบัดน้ำ ควรใช้ถังบำบัด ขนาดตามปริมาณขนาดบ้านครับ ฝังดินไว้ เติม EM สม่ำเสมอ น้ำที่ออกจากถังบำบัด จะใช้รดน้ำต้นไม้ต่อได้ครับ แต่แนะนำให้เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้มีไว้ใช้รับประทานนะครับ

10. บ่อเกรอะ และทางน้ำไหลต่างๆ ควรห่างจากบ่อบาดาลอย่างน้อย 30 เมตร เพื่อป้องกันเชื้อโรค และสิ่งไม่พึ่งประสงค์ ไหลลงไปในระบบบ่อบาดาล

11. ต้นไม้ในพื้นที่เดิม ต้องลองศึกษาดูครับว่าเป็นต้นอะไรบ้าง มีราคาไหม ถ้ามีแล้วไม่ต้องการ หาคนมาล้อมไปขายได้เงินครับ

12. วัชพืช เป็นพืชคลุมดิน ป้องกันหน้าดิน ถ้าไม่ได้ทำอะไร ปล่อยไปก่อนครับ ดีต่อดิน นานๆ ไปตัดให้สั้นๆ บ้าง หญ้าที่ตัดก็ปล่อยไว้ตรงนั้น นานๆ ไป ไส้เดือนมา ทำงาน จะได้ดินที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรเลย

13. เรื่องถนน เป็นสิ่งที่เปลืองที่สุด แต่จำเป็นสุดๆ แนะนำว่า คิดให้ดี คิดให้นานครับ ทำแล้ว แก้ยาก ลองวางแผนผังดูว่า แนวถนนแบบไหน สั้นที่สุด แต่ได้ประโยชน์มากที่สุด

14. ต้นสัก ตอนเล็กๆ 5-10 ปี ปลูกระยะ 2 เมตรได้ แต่โตมากกว่านั้นต้องระยะ 4 เมตร โดยมากตัดขายกันก่อน เพื่อเว้นระยะให้มากขึ้น ดังนั้นการใช้ประโยชน์เป็นแนวรั้วให้ร่มเงา จะได้ไม่นานเท่าไรนะครับ และสักเป็นไม้ผลัดใบตอนหน้าร้อน ดังนั้น ถ้าหวังให้สักบังเงาหน้าร้อน ก็หมดสิทธิ์ครับ

15. เนื่องจากที่ดินเป็นเนิน ผมแนะนำว่า ขุดสระ กระจายๆ ดีกว่าครับ เพื่อลดปัญหาการดูดและส่งน้ำ ส่วนขนาดนั้น คงต้องพิจารณาจากหน้างานครับ เล็กไปก็ไม่ดี ใหญ่ไปก็ไม่ดี แต่จะเล็กหรือใหญ่ สำหรับสระที่ไม่มีร่มเงาเลย อัตราระเหยของน้ำในประเทศไทย เฉลี่ย 1 ซม. ต่อวันครับ เอาตัวเลขนี้ไปคิดต่อครับว่า ควรขุดสระอย่างไร ถ้าปลูกต้นไม้คลุมเงาให้สระด้วย ก็จะลดการระเหยได้มาก

16. การขุดสระสำหรับที่ดินแนวลาด ให้ขวางแนว เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ในการปรับพื้นที่ หาจุดที่มีความลาดชันน้อย ค่อนข้างเป็นหน้าราบ เอาตรงนั้นขุดบ่อ และต้องมีพื้นที่เป็นแนวรอบขอบบ่อในระยะพอประมาณ เพื่อป้องกันปัญหาดินถล่มมาถมสระด้วย

17. ถนนก็เหมือนกันครับ ยังไงต้องมีขวางแนวลาด เพราะสร้างง่าย ปลอดภัย ใช้ประโยชน์ได้ แต่แนะนำให้ทำถนน ในโซนที่มันค่อนข้างชัน เพราะตรงนั้นจะปลูกอะไรค่อนข้างยากอยู่แล้วด้วยตัวมันเอง เราปรับเป็นถนน ได้ดินไปทำอย่างอื่นๆ และใช้พื้นที่ตรงนั้นได้ประโยชน์จริงๆ

18. เรื่องขนาดคู ตอบไม่ได้ครับ ต้องดูพื้นที่จริงๆ ค่อยๆ ทำไปครับ ลองสัก 50*50*50 ซม. ก่อนก็ได้ ถ้าไม่พอ ค่อยขยาย ถ้าพอแล้วจะได้ไม่เสียพื้นที่มากครับ

19. ต้นไม้ให้ร่มเงา คิดง่ายก็ง่าย คิดยากก็ยาก ต้องคิดเยอะ 555 เอาระยะยาวก็ ต้นก้ามปู จามจุรี อนาคตก็เอาใบไปทำปุ๋ยได้ แต่กว่าจะโตก็นานเกิน ต้นพญาสัตบรรณ โตเร็ว ให้ร่มเงาดี แต่ไม่ค่อยใช้ประโยชน์อะไรได้ นอกจากสวย อนาคตปลูกสัก 10 ปี ทำบ้านต้นไม้ได้

20. ที่ต้องระวังคือโรงปุ๋ย อย่าใกล้ใคร อย่าอยู่เหนือลม เดี๋ยวจะมีปัญหา

21. ตำแหน่งแท็งก์น้ำ ควรวางในตำแหน่งที่ประหยัดการเดินท่อด้วยนะครับ ยิ่งท่อเยอะ ยิ่งลดแรงดัน ยิ่งเปลืองค่าท่อ ยิ่งเสี่ยงต่อปัญหาแตกรั่ว

----------------------------------------
ตอนนี้นึกได้ประมาณนี้ นึกได้มากกว่านี้จะมาช่วยบอก




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 18, 2014, 08:22:08 AM
สุดยอดครับ กระทู้นี้มีประโยชน์มหาศาล

ขอบคุณครับ

อยากรู้อะไร ลองเขียนมาก็ได้นะครับ ถ้ารู้จะตอบ ถ้าไม่รู้จะหาคำตอบให้


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 18, 2014, 07:52:18 PM
  หลังจากทำความเข้าใจกับที่น้อง avatayos อธิบายแล้ว (ขออนุญาตเรียกน้องแล้วกันนะครับ พี่ต้องยอมรับตัวเองแล้วว่าแก่  >:( )

พี่ยังมีคำถามเพิ่มเติมตามประสาเจ้าหนูจำไม (ในการ์ตูนอิคคิวซัง เฮ้อ ยิ่งทียิ่งเหมือนกระทู้เช็คอายุ)

  1.น้อง avatayos นามนี้มาจากอันใดฤา ชื่อพี่ ultranoi มาจาก การ์ตูน ultraman แล้วใส่ชื่อพี่ลงไปผสม (ชื่อจริงพี่ชื่อ ธานีน้อย)

  2.ถ้าพี่วางแท็งก์น้ำสำเร็จรูป ขนาด 2,000 ลิตร ไว้บนชั้น 2 ของบ้าน จะมีแรงดันพอที่จะทำให้เครื่องทำน้ำอุ่นที่อยุ่ชั้่น 1 ทำงานไหม

  3.จากที่น้องตอบมาตรงนี้ " ที่ดิน มีความลาดเอียงมากน้อยเพียงใด ต้องรู้ให้ได้ครับ จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง"

อยากถามว่า จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง มีวิธีหายังไงครับ (พี่โง่เลขจริงๆ ไม่ได้โง่แบบถ่อมตัว)

   แล้วรู้ว่ามันห่างกันกี่เมตรแล้วมีประโยชน์อย่างไรครับ  :(  :(  :(

แล้วจะรู้ได้ไงว่า ที่ดินของพี่ชันกี่องศา เพราะเท่าที่อ่านเจอ ถ้าชันมากกว่า 45องศา ดินจะสไลด์ แต่พี่ไม่รู้วิธีคิดว่า ที่ดินของพี่ชันกี่องศา ครับพ้ม

   4.ถ้าเป็นน้อง น้องจะเก็บน้ำไว้ใช้แบบไหน (แบบที่มีโฮมสเตย์ 4 ห้อง)
 
     - สูบบาดาลเข้าแทงก์น้ำซีเมนต์ขนาดเป้น 10,000 ลิตร แล้วต่อเข้ากับถังน้ำขนาด 2,000 ลิตร แยกตามบ้าน

     - ทำหอคอยเก็บน้ำ ยกสูงจากพื้น 7 เมตร (แพงอะ)

     - ใช้ตุ่มหรือโอ่ง 2,000 ลิตร แต่ละบ้าน แล้วต่อเชื่อมตุ่มทั้งหมด

     - ยังคิดไม่ออก ครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 19, 2014, 08:38:12 AM
 หลังจากทำความเข้าใจกับที่น้อง avatayos อธิบายแล้ว (ขออนุญาตเรียกน้องแล้วกันนะครับ พี่ต้องยอมรับตัวเองแล้วว่าแก่  >:( )

พี่ยังมีคำถามเพิ่มเติมตามประสาเจ้าหนูจำไม (ในการ์ตูนอิคคิวซัง เฮ้อ ยิ่งทียิ่งเหมือนกระทู้เช็คอายุ)

  1.น้อง avatayos นามนี้มาจากอันใดฤา ชื่อพี่ ultranoi มาจาก การ์ตูน ultraman แล้วใส่ชื่อพี่ลงไปผสม (ชื่อจริงพี่ชื่อ ธานีน้อย)

  2.ถ้าพี่วางแท็งก์น้ำสำเร็จรูป ขนาด 2,000 ลิตร ไว้บนชั้น 2 ของบ้าน จะมีแรงดันพอที่จะทำให้เครื่องทำน้ำอุ่นที่อยุ่ชั้่น 1 ทำงานไหม

  3.จากที่น้องตอบมาตรงนี้ " ที่ดิน มีความลาดเอียงมากน้อยเพียงใด ต้องรู้ให้ได้ครับ จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง"

อยากถามว่า จุดต่ำสุดของที่ดิน กับจุดสูงสุดห่างกันกี่เมตร ในแนวดึง มีวิธีหายังไงครับ (พี่โง่เลขจริงๆ ไม่ได้โง่แบบถ่อมตัว)

   แล้วรู้ว่ามันห่างกันกี่เมตรแล้วมีประโยชน์อย่างไรครับ  :(  :(  :(

แล้วจะรู้ได้ไงว่า ที่ดินของพี่ชันกี่องศา เพราะเท่าที่อ่านเจอ ถ้าชันมากกว่า 45องศา ดินจะสไลด์ แต่พี่ไม่รู้วิธีคิดว่า ที่ดินของพี่ชันกี่องศา ครับพ้ม

   4.ถ้าเป็นน้อง น้องจะเก็บน้ำไว้ใช้แบบไหน (แบบที่มีโฮมสเตย์ 4 ห้อง)
  
     - สูบบาดาลเข้าแทงก์น้ำซีเมนต์ขนาดเป้น 10,000 ลิตร แล้วต่อเข้ากับถังน้ำขนาด 2,000 ลิตร แยกตามบ้าน

     - ทำหอคอยเก็บน้ำ ยกสูงจากพื้น 7 เมตร (แพงอะ)

     - ใช้ตุ่มหรือโอ่ง 2,000 ลิตร แต่ละบ้าน แล้วต่อเชื่อมตุ่มทั้งหมด

     - ยังคิดไม่ออก ครับ

ไม่แน่นะพี่ซี เห็นหน้าผมแล้ว อาจเปลี่ยนใจอยากเรียกพี่ อีกก็ได้ 555

ผมเป็นพวก หน้าแก่ ทรงภูมิ ดูมีความรู้ ...หน้าเลยเกินอายุ 555

ผมเป็นพวก อับดุลย์ ถามไร ตอบได้ เพราะผมถือคติว่า

"ไม่มีอะไรในโลกที่หากมีมนุษย์คนหนึ่งทำได้ แล้วมนุษย์อีกคนหนึ่งจะทำไม่ได้"

ดังนั้น เวลาผมไม่รู้อะไร ผมจะพยายามรู้ให้ได้ อ่านมาก ศึกษามา ดูตัวอย่างมากๆ ...เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมเคยทำอาชีพเพื่อหาเลี้ยงตัวเองมาหลายอาชีพมาก

มีคนเคยถามผมว่า วันๆ นอนบ้างไหม 555 จน เพื่อนๆ ให้ฉายาผมว่า "มนุษย์ 25 ชั่วโมง"

แต่ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับคำถามแรกที่ว่า avatayos มาจากไหน 555

จริงๆ แล้ว สมัยก่อน อีเมล์จะถูกกำหนดให้มีฟอร์แมตอย่างน้อย 8 ตัวอักษร และเพื่อให้ง่ายต่อการบังคับใช้กับทุกคน จึงกำหนดให้ เอาตัวอักษรแรกของนามสกุล มาเป็นตัวแรก แล้วตามด้วยชื่อ

จึงเป็นที่มาของ a  vatayos -> avatayos

แล้วผมก็ใช้อีเมล์ avatayos@xxx มาตั้งแต่นั้น  พอมี hotmail yahoo gmail ผมก็ใช้ username เดียวกัน เพราะมันง่ายในการจดจำ และชื่อของผม ไม่เคยซ้ำใคร ยิ่งบวกตัว a เข้าไป ไม่ต้องเสียเวลาตั้ง username เลยครับ

555 ที่มาจึงมาด้วยประการฉะนี้

--------------------------------------
ข้อ 2. ไม่กล้าการันตี แต่เท่าที่เคยใช้ ไม่น่าพอครับ คำตอบชัดเจนจริงๆ ต้องดูที่เครื่องทำน้ำร้อน น้ำอุ่น ว่าต้องการแรงดันเท่าไรครับ สาเหตุที่มันต้องการแรงดัน เพราะเป็นกลไกการป้องกัน ไม่ให้ทำความร้อนเกิน น้ำที่มีแรงดัน หมายถึง จะมีน้ำมาแทนที่ตลอด และระบบเครื่องทำน้ำร้อน น้ำอุ่น จะให้น้ำวิ่งผ่านท่อทองแดง ที่ทำความร้อน หากแรงดันไม่พอ น้ำมันจะเดือดในท่อ จึงมีสวิตซ์แรงดันป้องกันไว้ ถ้าแรงดันไม่ถึง จะไม่ทำงาน

ผมมีข้อคิดอย่างนี้ครับ บางเรื่อง เราประหยัด ได้ก็ดี แต่หากการประหยัดนั้น ทำให้เราลำบากมากขึ้น เสียเวลามากขึ้น ต้องชั่งน้ำหนักดีๆ นะครับ

เช่น ไม่ใช้ปั้ม แต่ใช้แรงดันตามธรรมชาติ สมมติ จะรองน้ำ เพื่อทำอะไรสักอย่าง อาจใช้เวลานาน กว่าน้ำจะเต็มถัง / รดน้ำต้นไม้ น้ำพุ่งไม่ไกล ต้องเดินไปรด รดเสร็จต้องมาเก็บสาย แต่หากน้ำมีแรงดันดีๆ ต่อหัวฉีดดีๆ ฉีดทีไกล 10 เมตร ไม่ต้องเดิน รดแป๊บเดียวเสร็จ

บางที ค่าไฟสำหรับปั้มใช้งานในบ้าน อาจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป และประโยชน์ที่ได้จากแรงดันนะครับ

-------------------------------------------
ข้อ 3

เอาแบบง่ายๆ ก็ ใช้

1. ไฟฉายเลเซอร์ แบบปากกาก็ได้ครับ
2. ตลับเมตร
3. ขาตั้ง
4. ไม้บรรทัดวัดมุม
5. ที่วัดระดับ

(https://lh6.googleusercontent.com/-6GxZAxysVug/U6JACmGAU-I/AAAAAAAAyNc/jUDoZjth-5A/w424-h231-no/s6-128-3.jpg)

จากนั้น พี่ทำตามรูปเลยครับ

เอาขาตั้งวางพื้นล่างสุด แล้วเอาที่วัดระดับ ปรับให้แผ่นแพลตของขาตั้ง ได้ระดับทั้งแนวตั้งและแนวนอน

จากนั้นเอาเลเซอร์ยิงขึ้นไปยังเนินด้านบน แล้ววัดว่าปากกาเลเซอร์ ทำมุมเท่าไรกับแผ่นแพลต --> ให้เป็นค่า X

จากนั้น เอาตลับเมตร วัดระยะ AC ว่าได้ระยะเท่าไร  --> ให้เป็นค่า Y (ต้องวัดจากระยะความสูงเท่ากันนะครับ ถ้าวัดจากดิน ก็ดินถึงดิน ถ้าวัดจากแผ่นแพลต ก็ต้องวัดที่ความสูงเดียวกันของแผ่นแพลต)

โดยค่าที่เราต้องการหา คือ CB --> กำหนดให้เป็น Z

จากนั้น เอามาเข้าสูตร ตรีโกณมิติ

Sin(X) = Z/Y

พี่ไม่ต้องหาเครื่องอะไรคำนวณ เอาใส่ Google เลยครับ

เช่น วัดได้ระยะทาง Y เท่ากับ 100 เมตร ได้ค่า X มาที่ 20 องศา

พิมพ์ใน Google ว่า Sin(20)=

จะได้คำตอบเป็น 0.912

ก็เอามาแทนค่าในสูตร จะได้ 0.912 = Z/100 --> 0.912*100 = Z

ดังนั้นค่า ความสูงแนวดึงของที่ดินคือ 91.2 เมตร

ทั้งนี้ ตามรูป คือ ไว้หาความสูงต้นไม้ครับ ทำได้คือ สูตรตามภาพครับ โดยไม่ต้องเอาตรีโกณมิติมาคำนวณให้มึน

ส่วนเรื่ององศาความชัน ถ้าที่ดินชันไม่เท่ากัน ก็แบ่งซอยการวัดเป็นจุดๆ ไปครับ

------------------------------------------------
ข้อ 4 ผมจะตัดสินใจโดยดูคำตอบ ของ ข้อ 3 ครับ ถ้า ถ้าความสูงเกิน 20 เมตร หมายถึงวัดจากบ้าน ถึงแท็งก์ หากเป็นแบบนี้บ้านทุกหลังไม่ต้องติดปั้มเลย เพราะได้แรงดันเท่ากับ 2 บาร์โดยปริยาย แต่คงต้องเดินท่อเมนใหญ่หน่อย แล้วค่อยย่อยเป็นท่อเล็ก เพื่อให้อัตราการใช้น้ำของแต่ละหลังเพียงพอ

และจะเก็บที่แท็กเดียว เพื่อสร้างให้เกิดแรงดัน 2 บาร์เท่าๆ กัน หากเอาแท็งก์ไปเก็บที่แต่ละบ้าน ก็ต้องติดปั้มอีก

แต่ในกรณีที่ วัดได้ต่ำกว่า 10 เมตร หรือต่ำกว่า 1 บาร์

ผมจะแยกแท็งก์ แต่ละบ้าน และแยกปั้ม (คงต้องยอมลงทุน) หากแต่ละหลัง ห่างกันเกิน 20 เมตร แต่หากทุกหลังติดๆ กันหมด คงทำแท็งก์เดียว เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

แต่ปั้มอาจต้องวาง 2 หลังต่อปั้ม เพื่อลดความเสี่ยง หากปั้มบ้านใดเสียหาย ก็ยังมีน้ำบ้านอื่นไว้ใช้งาน

แต่ถ้าขนาดบ้านแต่ละหลัง เป็นแค่ 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ก็อาจจะลงทุนปั้ม ตัวเดียว เพราะปริมาณท่อจ่ายน้ำออก มันแค่ 2-3 ก๊อก ต่อหลัง ปั้มตัวเดียวเอาอยู่ (แต่ต้องตัวใหญ่) ถ้าตัวเล็กๆ 350W คงต้องสองตัว

ซึ่งสูตรที่จะคำนวณว่าใช้ปั้มเท่าไร ก็เป็นสูตรเดียวกับที่เคยเขียนครับ ต้องดูว่าในบ้านมีก๊อกที่จ่ายน้ำได้อัตราสูงสุดกี่ลิตรต่อชั่วโมง แล้วเอามาคำนวณหา Q ของปั้ม




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 19, 2014, 08:56:39 AM

 พี่ก้อน้ำหนักตัว 80 กว่า หน้าไม่เปลี่ยนตั้งแต่สมัยมหาลัย(หน้าแก่ตั้งแต่ตอนเรียน)

 ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆเลยครับ

จะลองเอาไปใช้ในวันเสารนี้ล่ะ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: sura_40 ที่ มิถุนายน 19, 2014, 09:20:03 AM
ขอติดตามด้วยคนครับ ผมคนชุมแพโดยกำเนิดแท้ๆเลยครับ ดูจากรูปที่ดินน่าจะอยู่เเถวๆ ตำบลโนนหันเปล่าครับ  เห็นวิวเป็นเขานางนอนอยู่ลิบๆ :-[ หรือแถวบ้านหนองตุ้มนกครับบ...


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 19, 2014, 10:29:59 AM
ขอติดตามด้วยคนครับ ผมคนชุมแพโดยกำเนิดแท้ๆเลยครับ ดูจากรูปที่ดินน่าจะอยู่เเถวๆ ตำบลโนนหันเปล่าครับ  เห็นวิวเป็นเขานางนอนอยู่ลิบๆ :-[ หรือแถวบ้านหนองตุ้มนกครับบ...

อยู่โนนหันครับ ลงเนินก็ถึงครับ

ผมต้องฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ฟาร์มเงิน สารคาม ที่ มิถุนายน 19, 2014, 01:27:32 PM

  แวะมาเยี่ยมเยือน และเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ ครับ ;)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 20, 2014, 08:26:39 AM
ช่วงนี้ขออภัย

ไม่มีสมาธิ เรียบเรียง เขียนประสบการณ์

แต่ถ้าตอบคำถาม ไม่มีปัญหาครับ  8)

แต่ต้นเดือนหน้า คงจะมีเรื่องให้เล่ามากมาย


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: เพียรบ้านไร่ ที่ มิถุนายน 20, 2014, 09:31:14 AM
ช่วงนี้ขออภัย

ไม่มีสมาธิ เรียบเรียง เขียนประสบการณ์

แต่ถ้าตอบคำถาม ไม่มีปัญหาครับ  8)

แต่ต้นเดือนหน้า คงจะมีเรื่องให้เล่ามากมาย

สวัสดีครับคุณ avatayos

ขอให้พักผ่อนให้เพียงพอแล้วกลับมามีสมาธิเขียนเรื่องราวต่าง ๆ  ได้เหมือนเดิม  ผมติดตามอ่่านอยู่เสมอนะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ มิถุนายน 20, 2014, 09:49:08 AM
ได้ความรู้เยอะมากค่ะ :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: git007 ที่ มิถุนายน 20, 2014, 07:13:23 PM
อ่านยังไม่จบ ถึงหน้า 3 ลงชื่อไว้ก่อนครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงโจ้ ที่ มิถุนายน 21, 2014, 12:11:31 AM
ขอถาม น้ำยาฉีดปลวก พีโปรนิล หาซื้อได้ที่ไหนครับ ราคาด้วย
ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: Manit_A ที่ มิถุนายน 21, 2014, 12:49:35 AM
ได้ความรู้มากเลยครับ ผมมีความฝันแต่ทฤษฎีและการคำนวณต่างๆแบบที่ท่านเจ้าของกระทู้มี ยังห่างไกลตัวผมมากโขเลยครับ ขอติดตามอ่าน เพื่อใช้ในสวนนะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 21, 2014, 12:39:25 PM
ขอถาม น้ำยาฉีดปลวก พีโปรนิล หาซื้อได้ที่ไหนครับ ราคาด้วย
ขอบคุณครับ

ร้านเสรีการเกษตร ตลาดรังสิต ขวดละ 900 ครับ

ได้ความรู้มากเลยครับ ผมมีความฝันแต่ทฤษฎีและการคำนวณต่างๆแบบที่ท่านเจ้าของกระทู้มี ยังห่างไกลตัวผมมากโขเลยครับ ขอติดตามอ่าน เพื่อใช้ในสวนนะครับ

ตามไปอ่านมาแล้วครับ

อิจฉาครับ 555 ผมยังไม่ได้ลงสักต้นเลย มีแต่ต้นทดลอง ที่บ้าน 2 ต้น

เป็นสองต้นที่เลี้ยงแบบผิดๆ เพื่อเรียนรู้

แป้นพิจิตรทนแคงเกอร์ ผมทำให้เป็นได้แล้วครับ

555

ภูมิใจทำไมเนี่ย


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 22, 2014, 09:22:16 AM
วันนี้เข้าเว็บตั้งใจสั่งซื้อหนังสือในเน็ต เพราะหาตามศูนย์หนังสือแล้วไม่มี (ม.เกษตร ก็ไม่มี)

หนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการฟาร์ม (สวน ไร่)

เลยเจออันนี้ครับ เอาลิงก์มาให้ก่อน

แล้วผมจะแปลเป็นภาษาไทยให้โหลดอีกที

http://smallfarms.oregonstate.edu/sites/default/files/growing_farms_workbook.pdf (http://smallfarms.oregonstate.edu/sites/default/files/growing_farms_workbook.pdf)

สิ่งหนึ่งที่ผมพบ และยืนยันแนวคิดของผม คือ workbook เล่มนี้ คือ Business Proposal ที่ว่าด้วยธุรกิจการเกษตรนั้นเอง

เป็นเครื่องยืนยันว่า ผมมาถูกทางแล้วละ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: thidadao ที่ มิถุนายน 22, 2014, 10:38:10 PM
เข้ามาเป็นกำลังใจครับ...


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 23, 2014, 08:22:40 AM
เช้าวันจันทร์ ได้พักผ่อนเสาร์อาทิตย์ ดูภาพยนตร์ไป 6 เรื่อง (พักจริงๆ เห็นเปล่่า 555)

แต่ก็ยังไม่สามารถยกภูเขาความเครียดออกจากอกได้ สิ่งที่ทำได้ก็แค่ "ปล่อยมันไป" แล้วกาลเวลาจะทำให้เราผ่านภูเขานั้นไปเอง

-------------------------------------------------------------------
พูดถึงเรื่องการเกษตรหัวข้อต่อไปที่ต้องเตรียมพร้อมดีกว่า นั้นคือ คลังแสงการเกษตร

เรียกเสียสวย จริงๆ ก็คือ ห้องเก็บปุ๋ย เคมี และอุปกรณ์ครับ

ตามหลัก GAP ที่ดี GOOD AGRICULTURAL PRACTICES
(ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านศึกษาและอาจผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน GAP กันไปแล้ว แต่สำหรับสวนใหม่ๆ อย่างผม จึงต้องใส่ใจเรื่อง GAP เป็นอย่างดี)

หนึ่งในหลักปฏิบัติที่ดีของ GAP คือ การจัดระเบียบเกี่ยวกับ ปุ๋ย เคมี และอุปกรณ์การเกษตร ให้มีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย มีการบันทึกอย่างเหมาะสม

โดยแนวทางที่ผมศึกษา (อาจยังไม่เข้าใจถ่องแท้ต้องขออภัยด้วยนะครับ) แล้วได้นำมาวางแผนคือ

1. โรงปุ๋ยหมัก ต้องอยู่ห่างจากบ้านที่อยู่อาศัย อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 เมตร และอยู่ในทิศทางใต้ลม
         - ทำร่องคู ระบายน้ำ และบ่อกักน้ำขนาดเล็ก เพื่อป้องกันน้ำหมักปุ๋ยเข้มข้นเกินไป ไหลเข้าทำร้ายต้นไม้ในสวน
         - มีพื้นที่เก็บอุปกรณ์การเกษตรแยกต่างหากจากอุปกรณ์การเกษตรอื่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาการปนเปื้อนใดๆ

2. คลังเคมี เป็นห้องเก็บของที่มีหน้าต่างหรือช่องลม เพื่อการถ่ายเทอากาศที่ดี มีตู้เก็บเคมีเป็นตู้เหล็ก ประตูกระจก เพื่อการมองเห็น และสามารถควบคุมปริมาณแสงในห้องได้อย่างเหมาะสม
         - แยกชั้นเก็บ ตามแถบสีความอันตราย
         - แยกตู้เก็บ ระหว่างเคมีกลุ่มกำจัดศัตรูพืช กับเคมีกลุ่มควบคุมพืช (เร่ง หยุด ชะลอ การเติบโต)
         - แยกตู้เก็บ เพื่อจัดเก็บสารชีวภาพ
         - เคมีทุกชนิด ต้องมีจัดเก็บสำรองไว้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการหยุดปัญหา ตามกรอบ Cut Loss ของ Risk Management ที่วางแผนไว้อย่างน้อย 1 รอบการจัดการ
 
3. คลังปุ๋ย เป็นโรงเก็บปุ๋ยที่หมักสำเร็จ หรือปุ๋ยสั่งซื้อ โดยหลักการโรงเก็บนี้จะกำหนดให้มีระยะเวลาการจัดเก็บให้สั้นที่สุด กล่าวคือ ซื้อมาแล้วต้องใช้ให้หมดเร็วที่สุด พยายามไม่สต๊อกปุ๋ยค้าง โดยใช้ให้หมดตามช่วงอายุที่เหมาะสม
         - เพื่อให้ปุ๋ยที่ได้เป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพดีที่สุด
         - เพื่อสร้างวินัยด้านการเงิน การกำหนดและควบคุมกระแสเงินสด
-----------------------------------------------------



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: Buaroeynop ที่ มิถุนายน 23, 2014, 11:53:53 AM
"นาและสวนชั่งหัวมัน" ผมอยู่บ้านโนนเพิ่ม แถวๆคลองน้ำผุดทัพลาว คอนสารครับ แต่ตอนนี้ประจำการที่บึงกาฬ ไว้กลับบ้านหนองทุ่ม หนองเขียด จะแวะมาเยี่ยมครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: taton60 ที่ มิถุนายน 23, 2014, 12:39:01 PM
สวัสดีครับ คุณ avatayos
  ผมขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเจาะนำ้บาดาล ผมสนใจว่าจะเจาะครับ บ่อนำ้บาดาลแถวบ้านผมเป็นบ่อ 4 นิ้ว ลึกประมาณ 40 เมตรเกือบทุกบ่อมีคนเจาะกันหลายบ่อแล้วครับ โดยปกติช่างจะใส่ท่อกันดินทรุดให้ 2 ท่อนpvc ช่างที่ผมติดต่อว่าจะเจาะก็ใส่ให้ 2 ท่อน แล้วแถวบ้านก็สูบใช้กันก็มีปัญหาบางบ่อนำ้สีเหลืองขุ่นๆสูบใส่ข้าวข้าวก็ตาย อีกหลายๆบ่อสูบนำ้ไม่พอใช้บอกเปลืองค่านำ้มันสูบนำ้ เขาใช้ปั้ม 2 นิ้วต่อกับรถไถนาเดินตามครับ ส่วนบ่อที่ผมจะเจาะคือ 5 นิ้วเจาะจนเจอะนำ้ ใส่กันดินทรุด 2 ท่อน 15000 ผมจะใช้นำ้ในนาข้าว20ไร่ ปัญหาคือกลัวว่าเจาะแล้วจะมีปัญหาเหมือนกับบ่ออื่นๆจึงอยากขอคำแนะนำในการเจาะบ่อบาดาลครับ
1. ปกติช่างเขาจะเป่าบ่อให้ฟรีไหมครับหลังเจาะบ่อเสร็จหรือถ้าช่างบอกไม่มีการเป่าบ่อต้องทำไงครับ
2. ใส่ท่อกันทรายกันดินทรุดต้องใส่กี่เมตรครับ สมมุติบ่อ40เมตร
3.ต้องเจาะท่อpvcกันดินทรุดกี่ท่อนเพื่อให้นำ้ไหลเข้าบ่อ สมมุติใส่กันทรุดทั้ง40เมตร
4. ถ้าบ่อบาดาลผมนำ้เป็นสีเหลืองขุ่นๆมีวิธีแก้ไขไหมครับ
5. ระหว่างซัมเมอร์สกับปั้มติดรถไถนาใช้นำ้มันอันไหนมีความคุ้มค่าในการสูบนำ้และประหยัดพลังงานกว่ากันครับแล้วซัมเมอร์สขนาดกี่แรงใช้กับบ่อบาดาล5นิ้วครับ
6. ไปขอไฟฟ้าขยายเขตที่ดินตอนลงหม้อแปลงไฟฟ้าต้องมีบ้านเลขที่ไหมครับเพราะถ้ามีบ้านเลขที่มันจำเป็นต้องมีบ้านเป็นหลังในที่ของเราไหมครับ
7. ถ้าไปขอไฟฟ้าขยายเขตที่เพื่อเอามาสูบนำ้จาบ่อบาดาลโดยตรงจะมีปัญหาเรื่องบ่่อบาดาลผิดกฏหมายไหมครับ เผื่อเวลาไปขอไฟกลัวเขาถามเรื่องบ่อบาดาลครับ
8. หม้อแอมป์ไฟฟ้าใช้กับซัมเมอร์ส 1แรงครึ่ง ใช้15แอมป์ได้ไหมครับถ้าไม่ได้แล้ว15แอมป์ใช้กับปั้มกี่แรงครับ
      คำถามอาจจะเยอะไปหน่อยนะครับวกไปวนมายังไงก็ขอคำแนะนำด้วยนะครับ
      ขอบคุณคำตอบล่วงหน้านะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 23, 2014, 01:29:00 PM
"นาและสวนชั่งหัวมัน" ผมอยู่บ้านโนนเพิ่ม แถวๆคลองน้ำผุดทัพลาว คอนสารครับ แต่ตอนนี้ประจำการที่บึงกาฬ ไว้กลับบ้านหนองทุ่ม หนองเขียด จะแวะมาเยี่ยมครับ

ผมยังไม่ได้ประจำที่สวนครับ แต่อนาคตอันใกล้ (หรือไกล) ก็ไม่แน่ครับ

สักวันคงได้เจอกัน

สวัสดีครับ คุณ avatayos
  ผมขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเจาะนำ้บาดาล ผมสนใจว่าจะเจาะครับ บ่อนำ้บาดาลแถวบ้านผมเป็นบ่อ 4 นิ้ว ลึกประมาณ 40 เมตรเกือบทุกบ่อมีคนเจาะกันหลายบ่อแล้วครับ โดยปกติช่างจะใส่ท่อกันดินทรุดให้ 2 ท่อนpvc ช่างที่ผมติดต่อว่าจะเจาะก็ใส่ให้ 2 ท่อน แล้วแถวบ้านก็สูบใช้กันก็มีปัญหาบางบ่อนำ้สีเหลืองขุ่นๆสูบใส่ข้าวข้าวก็ตาย อีกหลายๆบ่อสูบนำ้ไม่พอใช้บอกเปลืองค่านำ้มันสูบนำ้ เขาใช้ปั้ม 2 นิ้วต่อกับรถไถนาเดินตามครับ ส่วนบ่อที่ผมจะเจาะคือ 5 นิ้วเจาะจนเจอะนำ้ ใส่กันดินทรุด 2 ท่อน 15000 ผมจะใช้นำ้ในนาข้าว20ไร่ ปัญหาคือกลัวว่าเจาะแล้วจะมีปัญหาเหมือนกับบ่ออื่นๆจึงอยากขอคำแนะนำในการเจาะบ่อบาดาลครับ
1. ปกติช่างเขาจะเป่าบ่อให้ฟรีไหมครับหลังเจาะบ่อเสร็จหรือถ้าช่างบอกไม่มีการเป่าบ่อต้องทำไงครับ
2. ใส่ท่อกันทรายกันดินทรุดต้องใส่กี่เมตรครับ สมมุติบ่อ40เมตร
3.ต้องเจาะท่อpvcกันดินทรุดกี่ท่อนเพื่อให้นำ้ไหลเข้าบ่อ สมมุติใส่กันทรุดทั้ง40เมตร
4. ถ้าบ่อบาดาลผมนำ้เป็นสีเหลืองขุ่นๆมีวิธีแก้ไขไหมครับ
5. ระหว่างซัมเมอร์สกับปั้มติดรถไถนาใช้นำ้มันอันไหนมีความคุ้มค่าในการสูบนำ้และประหยัดพลังงานกว่ากันครับแล้วซัมเมอร์สขนาดกี่แรงใช้กับบ่อบาดาล5นิ้วครับ
6. ไปขอไฟฟ้าขยายเขตที่ดินตอนลงหม้อแปลงไฟฟ้าต้องมีบ้านเลขที่ไหมครับเพราะถ้ามีบ้านเลขที่มันจำเป็นต้องมีบ้านเป็นหลังในที่ของเราไหมครับ
7. ถ้าไปขอไฟฟ้าขยายเขตที่เพื่อเอามาสูบนำ้จาบ่อบาดาลโดยตรงจะมีปัญหาเรื่องบ่่อบาดาลผิดกฏหมายไหมครับ เผื่อเวลาไปขอไฟกลัวเขาถามเรื่องบ่อบาดาลครับ
8. หม้อแอมป์ไฟฟ้าใช้กับซัมเมอร์ส 1แรงครึ่ง ใช้15แอมป์ได้ไหมครับถ้าไม่ได้แล้ว15แอมป์ใช้กับปั้มกี่แรงครับ
      คำถามอาจจะเยอะไปหน่อยนะครับวกไปวนมายังไงก็ขอคำแนะนำด้วยนะครับ
      ขอบคุณคำตอบล่วงหน้านะครับ

1. ขึ้นกับช่างครับ แล้วแต่ตกลง บางคน ก็แค่ค่าน้ำมัน บางคนไม่เจอน้ำ ไม่คิดเงิน

2. อันนี้ไม่ชำนานครับ แต่โดยทั่วไป ใส่จนถึงชั้นหินครับ

3. ปกติ น้ำบาดาลคือ น้ำใต้ดิน ใต้ชั้นหินครับ แต่บางพื้นที่ มีน้ำใต้ดิน ในชั้นดินด้วย (เช่นบางคนขุดบ่อน้ำแล้วมีน้ำออกมาตลอดเวลา) หากเจาะแบบนั้นต้องใส่ท่อกันทรุด เพื่อป้องกันดินไหลมาปิดท่อครับ

4. อันนี้ไม่ทราบครับ แต่โดยทั่วไป สูบขึ้นมาแล้ว ต้องบำบัด แต่บำบัดอย่างไร ก็ขึ้นกับสภาพน้ำครับ ต้องส่งน้ำไปตรวจ ผมถึงซีเรียสว่า ไม่สูบน้ำบาดาลมารดน้ำต้นไม้เลย

5. มันมีข้อต้องคิดตรงที่ ปริมาณน้ำที่ไหลครับ เช่น

ระดับความสูงผิวน้ำอยู่ที่ 7 เมตร หมายถึง ต้องใช้ปั้มน้ำที่สูบได้ลึกกว่า 7 เมตร ขึ้นไป

สมมติว่า สูบได้ 10 เมตร เท่ากับว่าสูบได้จริงๆ 3 เมตร

ได้ปริมาณเท่ากับสูตร (H Pi r กำลัง2) คือ

r = 5/2 = 2.5 นิ้ว แปลงเป็น เมตร เท่ากับ 0.0635 เมตร

คำนวณได้ = 3*3.14159*0.0635*0.0635 = 0.038 ลบ.ม.

ดังนั้นหากน้ำที่ไหลมาทดแทน 100 ลิตรต่อนาที

แล้วคุณใช้ปั้มขนาด 100 ลิตรต่อนาที หรือ 6000 ลิตรต่อชั่วโมง

คุณก็จะสูบน้ำได้พอดิบพอดี และสูบได้ตลอดเวลา

แต่หากน้ำที่ไหลมาทดแทนในบ่อ เร็ว 99 ลิตรต่อนาที แต่คุณใช้ปั้มขนาด 6Q ต่อชั่วโมง

แสดงว่าน้ำจะหายไปจากบ่อ 1 ลิตรต่อนาที

คุณจะสูบได้แค่ 38 นาทีโดยประมาณ ก็ต้องหยุดสูบ เพราะน้ำลดลงต่ำกว่า 10 เมตร จึงสูบต่อไม่ได้

นี้เป็นวิธีการคำนวณ ของแต่ละบ่อบาดาล ว่าทำไม บางแห่งสูบได้ตลอดเวลา บางแห่งสูบแล้วต้องหยุด

เพราะเลือกปั้มไม่สัมผัสกับปริมาณน้ำไหลทดแทน

หากจะหาว่าอะไรคุ้มค่า ก็ต้องคำนวณทั้งหมดครับ

แต่โดยทั่วไป ปั้มติดรถไถนา เป็นประเภท Q เยอะ ซึ่งหมายถึง จะเจอปัญหาแบบต้องหยุดสูบน้ำบ่อยๆ จะไม่สะดวก

แต่หากใช้ปั้มซับเมิร์ส ซึ่งจุ่มลงไปลึก เช่น

จากโจทย์ตัวอย่างจุ่มลงไป 40 เมตร

ก็ได้ปริมาณน้ำในบ่อเท่ากับ 500 ลิตร หรือกว่าจะหยุดสูบต้องผ่านไป 500 นาที ก็เกือบๆ 10 ชั่วโมง

แต่ถ้าไม่อยากคำนวณ ผมแนะนำซับเมิร์สครับ ใช้อุปกรณ์ให้ตรงกับสภาพแวดล้อมดีที่สุดครับ



6. ขอหม้อเกษตร ไม่ต้องมีบ้านเลขที่ครับ แต่ถ้าจะขอหม้อถาวรต้องมีครับ
จะมีบ้านเลขที่ได้ต้องมีสิ่งปลูกสร้าง ต้องมีผู้ใหญ่บ้านรับรอง แล้วไปทำเรื่องขอทะเบียนบ้านให้เรียบร้อยครับ

7. ขอไฟฟ้าไม่ต้องพูดอะไร แค่บอกว่าขอสำหรับทำการเกษตร เขาก็มาติดตั้งให้ครับ / บ่อบาดาลต้องขออนุญาตให้เรียบร้อยถูกต้อง ปลอดภัยดีที่สุดครับ

8. ปกติ หม้อไฟฟ้า 15A ขนาดมาตรฐาน จะใช้งานได้ 45แอมป์ครับ ปั้ม 1 แรงคือ 750W เท่ากับ 3.4A สบายๆ ครับ

ที่ต้องระวังคือ การกระชากไฟครับ ปกติจะ 7-8 เท่าของแรงมอเตอร์ปกติ คิดง่ายๆ ก็ 3.4*8 = 27.2A

ดังนั้น ถ้าเปิดปั้ม 1 แรงพร้อมๆ กับ 2 ตัว อาจส่งผลให้ไฟฟ้าดับ เบรกเกอร์ทิป ได้ (จังหวะมันกระชากนี้ เสี้ยวของเสี้ยววินาทีเลยครับ)

ดังนั้น ระบบที่ออกแบบดีๆ จะมีการหน่วงเวลาในการเปิดไฟฟ้า เหมือนที่มีในชุดคอนโทรลของมอเตอร์ 3 เฟส ครับ


มีอะไรสงสัยถามได้ตลอดครับ

ยินดีครับ


การตอบคำถามใครๆ ถือเป็นการทบทวนความรู้ไปในตัวครับ ผมชอบ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 25, 2014, 08:09:43 AM
วันนี้ขอเล่าเรื่องส่วนตัวเสียหน่อย

"ความเป็นคนใจดีและใจเย็น" แต่มันเกินไป

ผมเป็นคนที่ใครๆ ก็เรียกว่า ใจเย็น และใจดี ...

ไม่เอาของใคร ไม่เอาเปรียบใคร เป็นกลางโคตรๆ

ผมโตมาในฐานะหัวหน้า บ่อยครั้ง หัวหน้าห้อง หัวหน้าหมู่ เชียร์ลีดเดอร์ ประธานเชียร์คณะฯ ประธานนิสิต ภาคฯ  

น่าแปลกที่ความเป็น Leader ของผมกลับ บ่มเพาะให้ผม ยิ่งเป็นกลาง และจัดการอย่างยุติธรรม มองโลกแบบเป็นกลาง

เวลามีปัญหาอะไร ใครๆ จึงมักมองว่า ผมใจเย็น เพราะต้องฟังความหลายด้าน ฟังเหตุผลหลายทาง กว่าจะตัดสินใจ

และความใจดีก็ตามมาอันเนื่องจาก ยิ่งฟังมาก ยิ่งเข้าใจมาก ก็ยิ่งเรียนรู้ว่า ทุกๆ ปัญหา มันมีเหตุของมัน

พอเราเข้าใจเหตุ เราก็ตัดอารมณ์ต่างๆ ได้ แล้วก็กลายเป็นความใจดี ไม่โกรธ ไม่ถือโทษ

ซึ่งทั้งหมด เป็นนิสัย สันดาน ที่ดีในบางโอกาส และไม่ดีในบางโอกาส

บอกก่อนว่าผมเองก็กำลังปรับปรุง ให้มีความร้ายในตัวบ้างอยู่นะ 555 (จริงๆ นะมี แต่ความใจดีมันค้ำคอ ทำไม่ลง)

-----------------------------------
ปัญหานี้ ส่งผลต่อการเติบโตของชีวิต 2 ช่วงใหญ่

ช่วงแรก ตอนผมเปิดบริษัทใหม่ๆ ผมถือ คติ ไม่เอาเปรียบใคร (และขาดความเข้าใจเรื่องการบริหาร Cashflow )

ดังนั้นซัพพลายเออร์ของผม ผมจ่ายตรงเวลา ตลอด แต่ผู้นำสินค้าผมไปจำหน่าย กลับจ่ายไม่ตรงเวลา ยืดเวลา

ทำให้ผ่านไปหลายปี ผมเริ่มมีปัญหา Cashflow และที่สุดผมต้องหยุดกิจการ ก่อนจะสายเกินไป


อีกช่วง

ผมมีมรดกเป็นโรงงานเปล่า อายุ 15 ปี ผมเปิดให้เช่า ในราคาแสนถูก (ถูกจริงๆ ครับ คนอื่นให้เช่า 30,000 ผมให้แค่ 10,000 ในปีแรก โดยมีเงื่อนไขต้องซ่อมบำรุงโรงงานให้มีสภาพใหม่เอี่ยม และถึงตอนนี้ก็ให้เช่าในราคา 18,000 บาท แต่ต้องปรับมาเป็น 25,000 บาทตามสัญญาในเดือนนี้)

ผู้เช่าของผมก็ทำตามสัญญา จ่ายค่าเช่าอย่างดี จนเกิดเหตุน้ำท่วม

เขาก็มาบอกผมตรงๆ ว่า "ไม่สามารถส่งมอบงานได้" ทำให้การเงินสะดุด ขอค้างค่าเช่า

ไอ้เรา ก็ใจดี และใจเย็น ฟังเหตุผลแล้วก็เข้าใจ เลยยอมให้ค้าง

ผ่านไป 4 เดือน เขาก็เริ่มทยอยจ่ายค่าเช่าจนหมด

ผ่านมาปีกว่าๆ เดือนเมษายนที่ผ่านมา เขาก็เริ่มไม่จ่ายค่าเช่าอีกแล้ว ผมก็ใจดีให้เขาค้างอีก

เมื่อวานนี้ เขาเอาเอกสารทางบัญชีของบริษัท มาให้ผมดู ว่าปีที่แล้วเขาได้ 17 ล้านบาท แต่ปีนี้เขาพึ่งทำรายได้ได้ 6 ล้านบาท แต่มีงานเสนอราคาอีกหลายงานที่น่าจะทำให้เขามีรายได้ 24 ล้านบาท ในปีนี้ (อีกครึ่งปี หาอีก 18 ล้าน หาเก่งโคตร)

ผมไม่เชื่อคำเขาหรอก และกำลังจะต้องเปลี่ยนบทบาทจาก Good Cop เป็น Bad Cop เสียแล้ว

-------------------------------------------------

ที่เอามาเล่าไม่ใช่อะไรนะครับ แต่รู้สึกว่า...ทำไมเราทำดี หวังดี คิดดี ให้โอกาส ให้ประโยชน์

แต่พอถึงเวลาที่เราจะเสียประโยชน์ กลับไม่มีใครคิดจะปกป้องผลประโยชน์ของเราบ้าง

คิดแต่จะปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง


ทำไม...นะ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 25, 2014, 08:24:04 AM
ผมมีนิทานที่ผมใช้เป็นหลักคิด (แต่ไม่ค่อยเจอคนคิดแบบเดียวกันเท่าไรเลย)

ถ้าจำไม่ผิด ผมอ่านจากหนังสือ "อยากจะเล่าให้คุณฟัง"

เนื้อหาอาจปรับหน่อยนะครับ เขียนจากความทรงจำ แก่นตรงกัน แต่รูปแบบอาจไม่ตรงกับหนังสือ
-----------------------------------------

เรื่องของชายคนหนึ่ง หลังความตาย เขามาปรากฎตัวในบ้านหลังหนึ่ง

ที่นั่น มีเทวดาต้อนรับเขาเป็นอย่างดี

และพาเขามาในห้องๆ หนึ่ง

ที่ห้องนั้น มีโต๊ะอาหารวงกลมขนาดใหญ่ และมีผู้คนมากมายนั่งประจำที่ครบหมด คงเหลือแต่เก้าอี้ซึ่งเป็นที่นั่งของเขา

เมื่อเขานั่งลง บริกรเทวดา ก็เริ่มนำอาหารมาเสริฟ

เขาทานจานแรกหมด ก็มีจานที่สองเสริฟตามทันที

เขารู้สึกดีมาก และคิดว่าที่นี้คงเป็น สวรรค์แน่ๆ

จากนั้นก็ถึงอาหารอีกจานหนึ่ง เป็นจานที่พิเศษมากๆ

แต่จานนั้นวางอยู่ตรงกลางของโต๊ะ ที่ไม่มีใครเอื้อมถึง

ไม่นานบริกร จึงนำช้อนยาวมาให้ทุกคน

แต่ช้อนนี้เป็นช้อนวิเศษ ต้องจับที่ปลายด้ามเท่านั้น ถึงจะใช้งานได้ หากจำที่อื่น ช้อนจะหายไปทันที

คราวนี้ทุกคนสามารถใช้ช้อนตักอาหารจานวิเศษ ได้แล้ว

แต่ไม่มีใครสามารถนำอาหารเขาปากได้

ผู้คนในโต๊ะอาหารเริ่มโวยวาย บางคนถอดใจ ไม่ทาน

บางคนชกต่อยกัน เพราะช้อนที่ยาวมาก ทำให้ควบคุมไม่ดี และเกิดช้อนชนกันจนอาหารร่วงหล่น รับประทานไม่ได้

ทั่วทั้งห้องเกิดความวุ่นวาย เทวดาจึงเชิญทุกคนออกจากห้อง เพื่อให้ทำพิธีต่อไป

ระหว่างทางเดิน เขาสังเกตเห็นอีกห้องหนึ่ง ซึ่งกำลังดำเนินพิธีกรรมเดียวกันกับที่เขาพึ่งทำผ่านไป

ทุกคนในห้องกำลังรับประทานอาหารจานวิเศษนั้นอย่างมีความสุข

เขาประหลาดใจ และเริ่มดูว่า แต่ละคนใช้วิธีใดในการรับประทาน เพราะเขาไม่สามารถใช้ช้อนนั้นตักเข้าปากตัวเองได้เลย

และเขาก็พบว่า

ผู้คนในโต๊ะแต่ละคนจะใช้ช้อนยาวพิเศษนั้น ตักอาหารแล้วป้อนให้ผู้อื่นแทนที่จะพยายามหาทางป้อนเข้าปากตัวเอง

ต่างคนต่างป้อนให้กันและกัน

ทุกคนต่างได้รับประทานอย่างมีความสุข

.....


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: KENETIC_E® ที่ มิถุนายน 25, 2014, 08:33:10 AM
สวัสดีครับพี่บรีส
      ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆ และแนวทางชีวิตที่เหมาะสมนะครับ ชีวิตคินเราบางทีก็ต้อง
มีทั้งสองแบบครับ สำหรับบางคนในเมื่อใช้ไม้อ่อนแล้วไม่ได้ ต้องใช้ไม้แข็งแทนครับ.....
หรือบางคนต้องใช้ทั้งสองแบบร่วมกัน

     ขอบคุณสำหรับนิทานนะครับ ทำให้นึกถึงสมัยเข้าเรียนใหม่(รับน้อง) จะตักข้าวป้อน
เพื่อนตลอด รุ่นพี่บอกว่า "รักเพื่อนมาก ก็ป้อนมากๆ" เราก็จัดการเลยครับ ตักพริกใส่ให้เลย
แต่เพื่อนก็ใช่ว่าจะยอม ตักพริกให้เราเช่นกัน....สุดท้าย นำตาไหลพรากกันทั้งสองเลยล่ะครับ

ขอบคุณอีกครั้งนะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: เพียรบ้านไร่ ที่ มิถุนายน 25, 2014, 03:28:47 PM
ถือว่าการเสียเปรียบโดยที่เรามีจิตใจบริสุทธิ์เป็นการสะสมบารมีนะครับ  คนดีไม่มีเสื่อม (อันหลังนี้จำคำเขามาเขียน)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 25, 2014, 05:07:34 PM


  เวลาที่ผมเผชิญปัญหาชีวิตเนื่องจากความเห็นแก่ตัวเกินไปของมนุษย์ ถึงขนาดที่แฟนไม่ไปร้านก๋วยเตี๋ยวร่วม 3 เดือน

เพราะโดนคนที่แฟนผมช่วยเหลือนินทาว่าร้าย พูดอย่างทำอย่าง จนแฟนผมหมดกำลังใจ แทบจะสูญสิ้นความเชื่อใจใน

ตัวมนุษย์ (อาจดูเหมือนเวอร์ แต่เมื่อโดนกับตัวเองแล้วจะเข้าใจครับ) เพื่อนแฟนผม บอกคำพูดนึง ที่ผมจำมาถึงทุกวันนี้

คือคำว่า เราอย่าเสียจุดยืนตัวเรา เราทำดีกับเขาแล้วเขาทำเลวเปนเรื่องของเขา แต่ถ้าเราเลิกทำดี นั่นเท่ากับ เราจะ

ขาดสิ่งยึดมั่นในใจ จะเสียตัวตนและสุดท้าย เราก็จะเปนเหมือนคนที่ทำเลวกับเรานั่นแหล่ะ

  ผมเองก็เคยสูญเสียร้านค้าไปเพราะความไว้ใจลูกน้อง โดนเพื่อนสนิทให้ค้ำประกันรถยนต์แล้วเพื่อนชิ่งไป (ทุกวันนี้ต้องตามใช้หนี้)

โดนเพื่อนสนิทอีกคนหลอกเอาเงินไปร่วมล้านบาทจนทำให้ความฝันที่จะไปน้ำหนาวต้องล่าช้า(ที่ว่าจะไปอยู่ปี 2560

เพราะต้องใช้หนี้ก้อนนี้ก่อน)

  แต่ผมไม่เคยหยุดทำดีกับคนอื่น แม้จะเปนคนที่เคยทำร้าย เคยนินทาเรา ผมก็ยังช่วยเขาเวลาเขาเดือดร้อน เพียงแต่ผมจะ

รักษาระยะห่างไม่ให้ใกล้ชิดเขาเกินไป และเลือกที่จะช่วยเฉพาะเรื่องที่ไม่ส่งผลกระทบกับตัวเองมากนัก ไม่ใช่ว่าผมเปนคนดี

อะไร เพียงแต่เราเข้าใจว่า ทุกคนมีเหตุผลและความเห็นแก่ตัว บางคนเขาคุมให้อยู่ในกรอบไม่ได้เหมือนที่เราคุมได้ เท่านั้นเอง

  สรุป เราคือเรา อย่าเสียความเปนเราเพราะคนอื่น แต่จงยึดมั่นในความดี เพราะสุดท้าย ความดีนั่นเองจะนำเราไปสู่ความสงบ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 27, 2014, 11:49:51 AM
ช่วงนี้ไม่รู้จะอัพอะไร หัวสมองเต็มไปด้วยความเครียด แม้รู้ว่าปล่อยไป แต่จิตเบื้องลึกยังคงแบกมันไว้ โดนหลายเรื่องหลายขนาน โหมเข้ามาพร้อมๆ กันทุกด้าน เลยขออัพรูปภาพประกอบคำบรรยายให้แทนละกันครับ

(https://lh4.googleusercontent.com/-KU6Zlbz3atg/U6z8GJDNKqI/AAAAAAAAyOA/kStiukRql_s/w620-h520-no/6579.jpg)

ภาพแท็งก์น้ำขนาด 9Q - งานไม่เดิน เพราะหาคนมาทำไม่ได้ ช่างคนหนึ่งคิด 12,000 บาท ... คิดเหมือนไม่รู้ว่าเรารู้ว่างานเป็นอย่างไร สุดท้ายพ่อตาผมก็หาคนงานมา แล้วคุมทำเอง ปัจจุบันไม่รู้ว่าดำเนินงานไปถึงไหนแล้ว 555


(https://lh6.googleusercontent.com/-SqYHENQghmU/U6z871jY9NI/AAAAAAAAyOU/LN_H431y_9I/w620-h520-no/2014-06-20+06.19.36.jpg)

การทดสอบปลูกมะนาว

ผมได้แนวทางปลูกมะนาวมาหลายแนวทางมาก หลายเรื่องขัดกันเอง ผมจึงตัดสินใจไปลงเรียนกับอาจารย์รวี ซึ่งก็ได้คำตอบค่อนข้างเยอะ

มะนาว 2 ต้นนี้ ผมจึงตั้งใจปลูกเพื่อเรียนรู้ปัญหาทุกอย่าง

โชคดีที่ผมเคยซื้อมะนาวมา 3 ปีก่อน แต่ไม่ได้ดูแล ไม่ลงดิน ใส่กระถางพลาสติกสีดำขนาดเล็กๆ ไว้ มันโตแค่ 1 เมตร มีกิ่งกระโดงเพียง กิ่งเดียว ถ้าเป็นการปลูกหวังผล คงต้องเอาไปทิ้ง แต่ผมเลยถือโอกาสนี้เรียนรู้สมมติฐานของคำว่า "มะนาวโทรม"

ปรากฎว่าเมื่อปลูกลงกระถางใหญ่ (ขวามือ) ให้ปุ๋ย ให้น้ำ อย่างดี เขาก็ค่อยๆ แตกใบสวยงาม เหมือนมีชีวิตอีกครั้ง

เป้าหมายผมสำหรับต้นนี้คือ ต้องทำออกลูกให้ได้ สักครั้ง เพื่อดูว่า หลังออกลูกแล้วเขาจะโทรมแบบไหน

และโชคดีที่ต้นนี้เป็น แป้นรำไพ จึงเป็นแคงเกอร์ได้ง่าย ผมก็ใช้ต้นนี้ เรียนรู้ว่าโรคแคงเกอร์เป็นอย่างไร ทดลองตัดกิ่งที่เป็นโรคทิ้งหมด แล้วจะเป็นอย่างไร (มันก็เป็นเหมือนเดิม 555 - เดาว่าเชื้อโรคอยู่ในลำต้นแล้ว)

ตอนนี้ผมกำลังจะทดลองด้วย ไตรโคเดอร์มา ว่า สามารถจัดการกับแคงเกอร์ได้อย่างไร เพราะมีงานวิจัยว่าช่วยได้มาประกอบแล้ว แต่ผมอยากเห็นผลด้วยตาตัวเอง

ส่วนอีกต้น (ทางซ้าย) เป็นแป้นพิจิตร ทนแคงเกอร์

เอามาเลี้ยงติดกันเลย เพื่อทดสอบว่า แคงเกอร์จะระบาดตามต้นในลักษณะนี้ได้หรือไม่ - สรุปได้ ตอนนี้ กำลังจะเป็นอยู่ 3 ใบ (จากทั้งต้น)

ผมก็เลยปล่อยให้เป็น เพื่อดูว่า คำว่า ทน นั้น มันทนอย่างไร

คุ้มค่าไหม กับการเลือกแป้นพิจิตร ทำมะนาวนอกฤดู เพราะโรคน้อย หรือเลือกแป้นรำไพ แต่มีปัญหาให้ปวดหัวเรื่องโรคเยอะ แต่ขายได้แน่นอน และราคาดีกว่า

อีก 1 เดือน ผมจะเริ่ม ทดลองทำมะนาวนอกฤดู กับทั้งสองต้น แม้อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ดีก็ตาม เพื่อดูว่า ต้นปกติ ที่ไม่ได้บำรุงมากมายนั้น หากควบคุมให้ทำนอกฤดูแล้ว จะเป็นเช่นไร

นอกจากนี้ผมยังใช้สองต้นนี้ เรียนรู้เรื่อง แมลงด้วย ได้เห็น เพลี้ยไก่แจ้ของจริง เห็นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เห็นแมลงอีกหลายตัว ที่ไม่รู้สึก และเห็นระบบนิเวศสำคัญ อย่าง ใยแมงมุม ที่มาจัดการแมลงศัตรูอื่นๆ เสียอยู่มัด

จริงๆ ยังมีอีกหลายคำถามที่รอการเรียนรู้ด้วยตนเอง แม้ว่าคำถามเหล่านั้นมีคำตอบแล้ว แต่ไม่เห็นภาพ ก็ไม่เข้าใจ...


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ มิถุนายน 28, 2014, 01:07:51 AM
ปกติอุปสรรคไม่เคยมาทีละอย่าง ปัญหามักไม่ทยอยมาทีละเรื่อง หลายคนท้อ บางคนถอย

แต่มันจะผ่านไป ไม่ว่าจะเปนเรื่องดีหรือร้าย อีกไม่นานมันจะเปนเพียงริ้วรอยบางๆในความทรงจำ

อีกไม่นาน เราก้อต้องทอดร่างคืนสู่ผืนดิน ลาจากความสัมพันธ์ ความรัก ความผิดหวัง

แล้วเวลาที่เหลือเพียงน้อยนิดในปัจจุบัน จะปล่อยให้จมอยู่กับภวังค์แห่งความกดดัน ?

รู้ว่ายากที่จะปล่อย เข้าใจว่ายากที่จะวาง แต่สุดท้ายไม่ว่าจะปล่อยวางหรือไม่

ทุกสิ่งก้อต้องดำเนินไป แม้จะมีเราอยู่ในเรื่องราวนั้นหรือไม่ก้อตาม

ดังนั้น ปัจจุบันเปนเวลาประเสริฐสุด เปนรากฐานแห่งอนาคต เปนเหตุผลจากอดีต

พี่เองก้อพบเจอเรื่องราวแย่ๆมากมาย มีปัญหากระทบใจกระเทือนความรู้สึกไม่น้อย

แต่สิ่งที่เตือนใจพี่เสมอยามมีปัญหาคือ เดี๋ยวทุกอย่างก้อผ่านไป เท่านั้นเอง

You are never walk alone in kasetporpeang world


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ มิถุนายน 30, 2014, 08:23:33 AM
สงสัยพ่อตาเข้ามาอ่านหรือเปล่าไม่รู้ 555

เมื่อวานนี้ท่านส่ง Line ภาพมาให้ดูเพิ่มเติม

บอกว่า ทำได้แค่นี้ วงที่เหลืออีก 6 วง ต้องรอรถที่จะเอาเสาไฟฟ้ามาลงในที่ดิน ช่วยใช้เครนยกให้

(https://lh6.googleusercontent.com/-xzWPiILC9mI/U7C-JUaxXvI/AAAAAAAAyO0/1g4UDmZGrgA/w737-h553-no/7581.jpg)

และท่านก็ให้คนมารถปั่นดินแล้ว ส่วนหนึ่ง เพื่อเตรียมขึ้นลูกฟูกสำหรับปลูกมะนาว

(https://lh3.googleusercontent.com/-K-nMEt7aOiA/U7C-JbxmzCI/AAAAAAAAyOw/-YOERQdifC0/w737-h553-no/7580.jpg)

-----------------------------------------------------------

ที่บ้าน ผมเป็นลูกคนเล็ก เป็นลูกชายคนเดียว เชื้อสายจีน ดังนั้นเวลาทำอะไรก็มักจะได้โอกาสเสมอ

แม้เด็กๆ ผมจะออกแนวโง่ๆ ไม่ค่อยตั้งใจเรียน ในขณะที่พี่สาวผม เธอได้เกรด 4 ตลอด ได้ทุน จะสอบเข้าที่ไหนไม่มีใครเคยกังวล

ส่วนผม พ่อล้อประจำ ว่า "จุฬา นะ เขา ลงกลอน" เข้าไม่ได้หรอก ...(จุฬาลงกรณ์ พ้องเสียง)

ผมมารู้ตัวตอน ม.3 ว่า เราโง่มากมาย จากการสอบเข้า เทคนิคไทยเยอรมัน ไม่ติด (ปวช)

ทั้งๆ ที่ข้อสอบทุกข้อ ทำได้หมด ...

หลังจากนั้น พอขึ้น ม.4 จากเด็กที่พ่อต้องบังคับเรียนพิเศษ กลายเป็นหาโรงเรียนกวดวิชาเรียนเอง ปิดเทอมก็ไปลงเรียนล่วงหน้า

จากเด็กหลังห้องเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นเด็กหน้าห้อง

จากเรียนอันดับท้ายๆ มาสู่เด็กเรียนอันดับต้นๆ ของโรงเรียน

ผมจำไม่ได้ว่า คณิตศาสตร์ หรือฟิสิกส์ ที่ผมได้อันดับ 3 และ 7 ของโรงเรียน แต่เป็นสองวิชาที่ผมสอบได้อันดับต้น

ส่วนภาษาอังกฤษ ตกต่ำเช่นเดิม (จากสอบตก เป็นเกรดสอง ก็ดีขึ้นมากละครับ 555)

จนเอ็นทรานส์ ผมก็เลือก จุฬาไว้อันดับ 2 (เลือกคอมพิวเตอร์ เกษตรอันดับหนึ่ง สมัยนั้นคะแนนสูงกว่าจุฬา) แล้วผมก็สอบติด

ผลสอบที่ไม่มีใครคาดคิด คนทั้งบ้านไม่มีใครคิด...

เด็กโง่ๆ สอบตก เกรดสอง อันดับท้ายห้องมาตลอด จะสอบติดจุฬาฯ

วันนั้นผมได้เรียนรู้สิ่งสำคัญที่ว่า

"ไม่มีอะไรที่ หากมนุษย์คนหนึ่งทำได้ แล้วเราจะทำไม่ได้"

ผมใช้คำกล่าวนี้ (แต่ก่อนกล่าวไว้ งง กว่านี้เยอะ เพื่อนยัง งง โตขึ้นเรียบเรียงใหม่ เข้าใจง่ายขึ้นเยอะ) เป็นแรงบันดาลใจ เป็นแรงขับเคลื่อน

ตอนเด็กๆ ผมชอบการเขียนโปรแกรม ผมขอพ่อไปเรียน BBC, ECC เขียนภาษาเบสิก ปาร์สคาล

จนผมเข้ามหาวิทยาลัยได้ และเลือกภาควิชาที่มีคนหมายปอง และเข้ายากคือ คอมพิวเตอร์

ตอนนั้นวัยนั้น และประโยคบันดาลใจนี้ ผมจึงใช้ชีวิตแบบ "คุ้มค่า"

ผมเรียนรู้ทุกอย่าง ไม่เคยปฏิเสธงานใดๆ รับทุกโอกาสที่เข้ามา

ผมเชื่อในความดี บ่อยครั้งผมเลยกลายเป็นไอ้พวกตูดหมึก บ่อยครั้งถูกมองเป็นพวกขวางโลก เพียงเพราะเรามองโลกที่ถูกต้อง ไม่ใช่โลกความจริง

ที่เขียนไม่ใช่อะไรครับ

ผมสัญญากับตัวเองไว้ ว่า อย่างน้อยๆ ผมต้องเลี้ยงพ่อแม่ 4 คน (พ่อแม่ผม พ่อแม่ภรรยา) ให้อยู่อย่างมีความสุขให้ได้
และเปิดโอกาสให้น้องๆ (ภรรยาผมลูกคนโต) มีทางเลือกในอนาคต

ที่ผ่านมาผมเลี้ยงได้แค่ครอบครัวตัวเองและแม่ ส่วนพ่อ ท่านยังไม่ยอมเกษียณ เงินสักบาทจากผมท่านก็ไม่รับ แม้อายุจะเลยแล้ว ท่านบอกผมว่า "เลิกทำงานแล้วจะให้ทำอะไร ยังทำได้ก็ทำไป"

นี้เป็นอีกจุดประสงค์หนึ่งของการลงทุนลงแรง ทำ สวนเกษตรโชคดีชุมแพ สวนแห่งความยั่งยืนของครอบครัว

สวนที่จะเป็นพื้นที่ชีวิตให้กับพ่อแม่ทั้ง 4

กว่าจะสร้างได้สำเร็จ เหนื่อยแค่ไหนก็ต้องยอม




 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 04, 2014, 08:26:49 AM
วันนี้มาอัพเดตนิดหน่อย ช่วงนี้ป่วยครับ

เกือบเดือนที่แล้ว พ่อตาโทรมาบอกว่า ไฟฟ้ามาแล้วนะ

เราก็ดีใจนึกว่า ไฟฟ้ามาติดให้แล้ว

สองสามวันก่อน คุยกันอีกรอบ จึงได้ความว่า ไฟฟ้ามาแล้ว คือ มาสำรวจแล้ว

แต่ยังไม่มาติดตั้งให้เลย....

นับเวลาแล้ว 1 เดือนเต็มๆ แล้ว

ปกติ รอไฟฟ้ามา ลงเสาให้ 2 เสา รอกันนานเท่าไรครับ

ตอนนี้เลยเบรกงานทุกอย่างเลย เพราะไม่มีไฟฟ้า ก็ไม่มีน้ำ ...

ไม่มีน้ำ ก็ลงต้นกล้าไม่ได้

สั่งไป 200 ต้น กะ ลงดินเลย ตามสูตรใหม่ อาจารย์รวี ก็ไม่ได้ ต้องเอามาอนุบาลก่อนที่บ้านพ่อตา



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: panasbamboo ที่ กรกฎาคม 04, 2014, 09:34:03 AM
เกษตรรุ่นใหม่  :-[ :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ กรกฎาคม 04, 2014, 01:29:45 PM
ผมมีนิทานที่ผมใช้เป็นหลักคิด (แต่ไม่ค่อยเจอคนคิดแบบเดียวกันเท่าไรเลย)

ถ้าจำไม่ผิด ผมอ่านจากหนังสือ "อยากจะเล่าให้คุณฟัง"

เนื้อหาอาจปรับหน่อยนะครับ เขียนจากความทรงจำ แก่นตรงกัน แต่รูปแบบอาจไม่ตรงกับหนังสือ
-----------------------------------------

เรื่องของชายคนหนึ่ง หลังความตาย เขามาปรากฎตัวในบ้านหลังหนึ่ง

ที่นั่น มีเทวดาต้อนรับเขาเป็นอย่างดี

และพาเขามาในห้องๆ หนึ่ง

ที่ห้องนั้น มีโต๊ะอาหารวงกลมขนาดใหญ่ และมีผู้คนมากมายนั่งประจำที่ครบหมด คงเหลือแต่เก้าอี้ซึ่งเป็นที่นั่งของเขา

เมื่อเขานั่งลง บริกรเทวดา ก็เริ่มนำอาหารมาเสริฟ

เขาทานจานแรกหมด ก็มีจานที่สองเสริฟตามทันที

เขารู้สึกดีมาก และคิดว่าที่นี้คงเป็น สวรรค์แน่ๆ

จากนั้นก็ถึงอาหารอีกจานหนึ่ง เป็นจานที่พิเศษมากๆ

แต่จานนั้นวางอยู่ตรงกลางของโต๊ะ ที่ไม่มีใครเอื้อมถึง

ไม่นานบริกร จึงนำช้อนยาวมาให้ทุกคน

แต่ช้อนนี้เป็นช้อนวิเศษ ต้องจับที่ปลายด้ามเท่านั้น ถึงจะใช้งานได้ หากจำที่อื่น ช้อนจะหายไปทันที

คราวนี้ทุกคนสามารถใช้ช้อนตักอาหารจานวิเศษ ได้แล้ว

แต่ไม่มีใครสามารถนำอาหารเขาปากได้

ผู้คนในโต๊ะอาหารเริ่มโวยวาย บางคนถอดใจ ไม่ทาน

บางคนชกต่อยกัน เพราะช้อนที่ยาวมาก ทำให้ควบคุมไม่ดี และเกิดช้อนชนกันจนอาหารร่วงหล่น รับประทานไม่ได้

ทั่วทั้งห้องเกิดความวุ่นวาย เทวดาจึงเชิญทุกคนออกจากห้อง เพื่อให้ทำพิธีต่อไป

ระหว่างทางเดิน เขาสังเกตเห็นอีกห้องหนึ่ง ซึ่งกำลังดำเนินพิธีกรรมเดียวกันกับที่เขาพึ่งทำผ่านไป

ทุกคนในห้องกำลังรับประทานอาหารจานวิเศษนั้นอย่างมีความสุข

เขาประหลาดใจ และเริ่มดูว่า แต่ละคนใช้วิธีใดในการรับประทาน เพราะเขาไม่สามารถใช้ช้อนนั้นตักเข้าปากตัวเองได้เลย

และเขาก็พบว่า

ผู้คนในโต๊ะแต่ละคนจะใช้ช้อนยาวพิเศษนั้น ตักอาหารแล้วป้อนให้ผู้อื่นแทนที่จะพยายามหาทางป้อนเข้าปากตัวเอง

ต่างคนต่างป้อนให้กันและกัน

ทุกคนต่างได้รับประทานอย่างมีความสุข

.....

ขอคัดลอกหน่อยนะคะ  มันสะทก สะท้าน สะเทือน   แต่ก็คงไม่สกิดใจใครหลายๆ  คน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 04, 2014, 03:08:26 PM
ถ้าอยากอ่านต้นฉบับ ต้องไปหาเล่มนี้มาอ่านครับ

(http://4.bp.blogspot.com/-Y22MF4S7eS4/UCIkI6jcisI/AAAAAAAAAHQ/y_ODpUxtIj4/s1600/Jorge+Bucay.JPG)

ที่ผมเขียน เป็นแค่เอาแนวคิดมาเขียนใหม่ เพราะจำไม่ได้

เล่มนี้ขอแนะนำเลยครับ อ่านแล้วคุณจะค้นพบอะไรบางอย่างในตัวเอง


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 04, 2014, 03:34:22 PM
ผมชอบหนังสือเล่มนี้
เพราะทุกเรื่องที่เล่า เป็นเรื่องสร้างแรงบันดาลใจ
บางครั้งเปิดโลกความคิด เปิดมุมมองอีกมุมหนึ่งที่ซ่อนอยู่

นักคิดนักเขียนนักแต่งเพลงในไทยหลายคน หยิบเอาเรื่องราวในเล่มนี้มาเขียนใหม่ ...
บางเรื่องคุณอาจพบว่าเหมือนเคยอ่านแล้วจากที่ไหน...
จริงๆ แล้ว ต้นเรื่องของเรื่องเล่านั้น มาจากหนังสือเล่มนี้ละครับ

มีอีกเรื่องจากหนังสือเล่มนี้ ...ผมขอเอาแก่นมาเขียนใหม่ ให้สั้นลง...
และน่าจะเหมาะกับเราชาวเกษตรพอเพียง...
-------------------------------------------------------

ชายผู้เฝ้าประตูซ่อง

ที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง มีซ่องเปิดบริการอยู่เพียงแห่งเดียว
วันหนึ่งเจ้าของซ่องต้องการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของซ่องตัวเอง จึงตั้งกฎขึ้นมาว่า พนักงานทุกคนในซ่อง ต้องอ่านหนังสือออก
ด้วยกฎนี้ ชายผู้เฝ้าประตูซ่อง จึงกลายเป็นคนโชคร้ายที่สุด
เพราะเขาอ่านไม่ออก เขาจึงต้องถูกให้ออกจากงาน

แต่ด้วยความขยัน เขาจึงไม่เคยที่จะปฏิเสธงานใดๆ
ระหว่างทางที่เขาเดินกลับบ้าน เขาได้ยินนายช่างคนหนึ่ง กำลังหัวเสีย เพราะขาดลูกน้องไปซื้อของ
เขาจึงเอ่ยปากขึ้น "เออท่านครับ ให้ผมไปซื้อให้ไหมครับ"

ด้วยความเขาเคยเป็นคนเฝ้าประตู หลายๆ คนจึงจำเขาได้ รวมถึงนายช่างคนนี้ นายช่างเห็นว่า ไม่น่าเสียหายอะไร
จึงยอมใช้ให้ชายเฝ้าประตูไปซื้อของแทนลูกน้องของตน

ชายเฝ้าประตูดีใจ จึงรีบวิ่งไปโดยหวังเพียงว่า นายช่างคนนี้อาจรับตนเข้าทำงานก่อสร้าง
เมื่อถึงร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง เขาก็สั่งสินค้าตามที่นายช่างต้องการ

แต่ราคาสินค้ากลับถูกกว่าเดิม ความจริงเขาสามารถอุบอิ้บเงินทอนไปได้เลย แต่ด้วยความซื่อสัตย์เขาจึงไม่ทำ
และนำสินค้ากลับไปให้นายช่างพร้อมเงินทอน

นายช่างเห็นถึงความซื่อสัตย์ จึงยกเงินทอนให้เป็นค่าแรงที่วิ่งไปซื้อของให้ แต่ไม่ยอมรับชายเฝ้าประตูเข้าทำงานด้วย

แม้ชายเฝ้าประตูจะดีใจที่ได้เงินมาบ้างก็ตาม แต่เขาก็ยังไร้หนทาง
ระหว่างที่เขากำลังเดินกลับบ้าน ก็ผ่านร้านอปุกรณ์ก่อสร้างพอดี ทางร้านเห็นว่าเมื่อกี้เขาเป็นเด็กส่งของให้นายช่าง จึงถามเขาว่า
"พอดีที่ร้านของขาด ต้องไปเอาของอีกเมืองหนึ่ง เธอช่วยวิ่งไปเอาให้ได้ไหม"

ชายเฝ้าประตูไม่รอช้า รีบตอบทันที และออกเดินทางไปอีกเมืองหนึ่ง
ในวันต่อมา เขานำสินค้าจากต่างเมืองมาส่งที่ร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง พร้อมรับค่าแรงในการเดินทาง ก็มีผู้คนในหมู่บ้านที่ได้ยินข่าวว่าเขาเป็น เด็กส่งของที่ซื่อสัตย์ จึงพากันมารอเขา และส่งรายการสินค้าที่ต้องการให้เขาวิ่งไปซื้อให้ที่ต่างเมือง

แน่นอนชายเฝ้าประตู ไม่เคยปฏิเสธ เขารับทำด้วยความเต็มใจ และไม่เคยโกงค่าแรงตนเอง

วันเวลาผ่านไปชายเฝ้าประตูเริ่มสังเกตว่า รายการสินค้าเหล่านี้มักจะ ซ้ำๆ กัน บ้างก็สั่งทุกสัปดาห์ บ้างก็สั่งทุกอาทิตย์

เมื่อเขาเดินทางไปถึงร้านค้าที่ต่างเมือง ความคิดบางอย่างก็บังเกิดขึ้น
เขาบอกเจ้าของร้านว่า สินค้าเหล่านี้เขาสั่งประจำ ถ้าเขาสั่งเพิ่มเป็น 2 เท่า ทางร้านลดราคาให้เขาอีกได้ไหม

แน่นอนว่าในหัวพ่อค้า มีใครไม่อยากได้เงินสด และยอดขายที่เพิ่มขึ้น พ่อค้าทุกร้านจึงพร้อมใจลดราคาให้ชายเฝ้าประตู

วันนั้นเขาจึงได้เริ่มกิจการค้าขายของเขาเอง ด้วยต้นทุนที่ลดลง และเขาไม่ต้องเดินทางบ่อย เขาจึงมีเวลารับออเดอร์ได้มากขึ้น

เมื่อออเดอร์มากขึ้น เขาจึงเริ่มจ้างคนอื่นให้วิ่งรับสินค้าแทน

วันเวลาผ่านไปหลายปี กิจการของเขาเติบโตขึ้นมาก จนสามารถเปิดเป็นร้านขายส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองได้

ผู้คนต่างนับถือในความซื่อสัตย์และขยันของเขา

จวบจนวันปีใหม่ มีงานเลี้ยงในตัวเมือง ท่านเจ้าเมืองจึงได้เชิญชายเฝ้าประตู ขึ้นกล่าวคำอวยพร พร้อมให้โอวาทในฐานะที่เป็นพลเมืองตัวอย่าง

โดยก่อนจะเริ่ม ท่านเจ้าเมืองได้อ่านประวัติที่เลขาเขียนมาในสคริปต์ และตกใจ กับข้อเขียน ที่ว่า "เขาเป็นคนอ่านหนังสือไม่ออก"

จึงแอบกระซิบถามชายเฝ้าประตูว่า "คุณอ่านหนังสือไม่ออก แล้วประสบความสำเร็จถึงวันนี้ได้อย่างไรกัน"

ชายเฝ้าประตูได้แต่หัวเราะแล้วตอบว่า

"ถ้าผมอ่านหนังสือออก ผมก็คงยังเป็นคนเฝ้าประตูซ่อง..."


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 07, 2014, 08:31:06 AM
ไถยกร่อง

ไม่ได้ไปที่สวนมา 1 เดือนเต็มๆ แล้ว

สาเหตุง่ายๆ ก็ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และมีภารกิจงานหลักรัดตัว

งานส่วนใหญ่จึงใช้วิธีสั่งงานทางโทรศัพท์ ใช้ Line เป็นเครื่องมือส่งภาพตัวอย่างความคิด คุยกันให้เห็นภาพรวม และเข้าใจ

ตอนนี้มีงานที่เร่งต้องจัดการคือ ระบบไฟฟ้า ขอไว้ 1 เดือนแล้ว ทางการไฟฟ้ายังไม่เอาเสาแรงต่ำ มาลงให้ทั้งหมด 2 ต้น

เพราะเมื่อไฟฟ้ามาเรียบร้อย ก็จะได้เดินระบบไฟฟ้าและระบบน้ำ ทดลองจ่ายน้ำเข้าพื้นที่

--------------------------------------------------------------------------

ระหว่างที่รอไฟฟ้า ช่วงที่ผ่านมาฝนก็ตกเรื่อยๆ เป็นประสบการณ์ที่ไม่ลงมือทำไม่รู้เลยว่า เวลาฝนตก หรือช่วงดินนิ่มๆ รถไถมันลงไม่ได้
จนช่วงนี้ฝนทิ้งช่วงไปแล้ว ดินเริ่มกลับมาแห้งเป็นผงๆ

พ่อตาเห็นว่าดี จึงสั่งให้รถไถเข้ามายกร่อง ตามที่ตกลงกันไว้

.... ทำไมต้องยกร่อง ทำลูกฟูก...
...จะปลูกมะนาวนอกฤดู ไม่ใช่หรือ ...
... ไม่ใช่บ่อซีเมนต์ หรือ...


คำตอบมันอยู่ที่ความสงสัยของผม อันนำไปสู่การลงทะเบียนเรียน กับอาจารย์รวี ครับ


(https://lh6.googleusercontent.com/JP35_pZ0bQoOg8ehy2sJIXt_VLQ0UlzBU2W5JEmBAXBS=w620-h520-no)


เมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากเริ่มสนใจการเกษตร ก็ศึกษาการปลูกมะนาว แล้วพบว่า จะทำนอกฤดูต้องปลูกในบ่อซีเมนต์ เห็นหลายๆ คนก็ลงทุนบ่อซีเมนต์ บ่อละ 100 บาท โดยประมาณ ตอนนั้นผมก็ลองวางงบประมาณดู ต้นทุนทำก็สูงทีเดียว จึงคิดว่า อืม หรือเพราะเหตุนี้คนถึงไม่นิยมกัน

ตอนนั้นก็ยังไม่ตัดสินใจอะไร แต่มีคำถามที่สงสัยมากว่า "ทำไมต้องบ่อซีเมนต์"

ได้คำตอบง่ายๆ ว่า "เพราะต้องการควบคุมน้ำ"

แอบคิดถึงวิธีอื่นๆ เช่น ถ้าเรากางเต้นท์สีขาวโปร่ง แทนละ ก็ไม่ต้องใช้บ่อซีเมนต์ใช่ไหม

ต้นไม้ลงดิน กับต้นไม้ในกระถาง รู้กันดีว่า ในกระถางยังไงก็โตไม่เท่า

ดังนั้นผลผลิตต้นไม้ลงดินย่อมมากกว่าโดยปริยาย

คิดไปคิดมาจึงเกิดคำถามในตัวเองว่า "ถ้าเราควบคุมน้ำได้ โดยวิธีอื่นๆ ไม่ต้องใช้บ่อซีเมนต์ได้ก็ดีนะซิ"

ไม่นาน ก็ได้คำตอบจากการอ่านในเน็ต ข้อมูลความรู้ของอาจารย์รวี จึงทำให้ตัดสินใจไปเรียน และถึงวันนี้ใครจะปลูก ผมก็จะแนะนำว่าให้ไปเรียน

เพราะหลักการที่อาจารย์อธิบายนั้น มันเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น ผ่านการพิสูจน์แล้ว ไม่ใช่หลักการชาวบ้านที่ทำได้เอง แล้วบอกว่าคนอื่นๆ ก็ทำได้ แต่พอคนอื่นๆ ไปลองทำ ปรากฎว่าทำไม่ได้ เพราะตัวแปรไม่เหมือนกัน


------------------------------------------------------------
หัวใจสำคัญของการทำนอกฤดู ของมะนาว

1. กิ่งที่จะทำให้เกิดดอก ต้องมีอายุ 90 วันขึ้นไป กิ่งไหนอายุไม่ถึง 90 วัน ตาที่ออกจะเป็นตาใบเท่านั้น
2. ต้องมีการงดน้ำ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมแบบเดียวกับหน้าร้อน เพื่อหลอกต้นมะนาว คิดว่าผ่านหน้าร้อนไปแล้ว
3. ใช้เคมีในการควบคุม เพื่อให้ออกตาดอก ไม่ใช่ ตาใบ หรือควบคุมเพื่อชะลอการออกตา (ให้กิ่งมีอายุครบ 90 วันนั้นเอง)

หลักการสำคัญๆ มีแค่นี้ คนส่วนใหญ่จึงใช้บ่อซีเมนต์ เพื่อควบคุมตามข้อ 2

แต่ในความเป็นจริง เราต้องดูสภาพพื้นที่ของเรา ว่าพื้นที่เราเป็นดินแบบใด เช่น ดินทรายล้วนๆ ฝนลงแล้วก็ไหลออกหมด อย่างนี้ ทำบ่อซีเมนต์ไปทำไม เพราะสภาพดิน ก็ไม่เก็บน้ำอยู่แล้ว เป็นต้น

แต่ถ้าที่ดินของเราเป็นที่ดินภาคใต้ ฝนตกตลอดเวลา อย่างนี้เหมาะกับการใช้บ่อซีเมนต์ เพราะควบคุมน้ำได้ชัดเจน

เมื่อได้คำตอบแล้ว ผมจึงเลือก ยกลูกฟูก ทำร่องสวน เพื่อควบคุมและเดรนน้ำ ออกแทน

โดยลูกฟูก มีความสูง 50 ซม. ซึ่งเท่ากับบ่อซีเมนต์

แต่ลูกฟูกที่ทำ มีขนาด 2 เมตร ดังนั้นจะมีข้อดีคือ

1. ต้นมะนาว จะมีทรงพุ่มใหญ่ได้ถึง 2 เมตร และไม่ควรใหญ่กว่านี้ เพราะจะทำงานไม่สะดวก
2. รากของมะนาว จะแผ่กระจายสมบูรณ์ ไม่ขดกันในบ่อ จึงทำให้ทรงตัวได้ดีกว่า หากผสานการตัดแต่งทรงพุ่มดีๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำเลย
3. ฝนตกหนัก ก็ไม่ต้องกังวลว่า รากจะเน่า เพราะลูกฟูก ทำหน้าที่เดรนน้ำออกในตัว ในขณะที่บ่อซีเมนต์ จะไหลออกตามรูที่เจาะไว้ ซึ่งอาจมีปัญหาได้อยู่ดี

(https://lh3.googleusercontent.com/-ZA8L0UZLDYo/U7n8hsMFbaI/AAAAAAAAyPc/eONyrJoenus/w620-h520-no/8647.jpg)

ตอนนี้ทำลูกฟูกแล้ว 20 แถวๆ ละ 80 เมตร เท่ากับปลูกได้ 800 ต้นพอดีๆ (ใช้ระยะชิด 2*4 เมตร และควบคุมด้วยการตัดแต่งทรงพุ่ม)

กิ่งมะนาวล็อตแรกสั่งไปแล้ว 200 ต้น เหลืออีก 600 ต้นยังไม่ได้สั่ง

รอเคลียร์ปัญหาไฟฟ้าให้เรียบร้อยเมื่อไร ก็ลงมือปลูกได้ทันที


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ กรกฎาคม 07, 2014, 02:52:52 PM
ที่ไร่ใช้พันธุ์อะไรบ้างครับ

และทำไมถึงเลือกพันธุ์นี้

อันนี้อยากรู้จริงๆครับ เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจครับ..


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 07, 2014, 03:28:01 PM
ที่ไร่ใช้พันธุ์อะไรบ้างครับ

และทำไมถึงเลือกพันธุ์นี้

อันนี้อยากรู้จริงๆครับ เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจครับ..

มะนาวของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ใช้พันธุ์เดียวคือ แป้นรำไพ ครับ

อาจมีพันธุ์อื่นบ้าง แต่จะอยู่ในส่วนของสวนทดลองเท่านั้น 

เหตุผลคือ

1. หากพื้นที่สวนไม่ใหญ่มาก การใช้พันธุ์หลากหลาย อาจส่งผลถึงคุณภาพของผล การผสมเกสรจากพันธุ์หนึ่งไปพันธุ์หนึ่ง อาจส่งผลให้พัฒนาดีขึ้น หรือแย่ลงก็ได้ โดยประสบกาณ์ที่ทางอาจารย์สามารถ บอกคือ เคยเจอแป้นรำไพ จากกลิ่นหอมกลายเป็นไม่มีกลิ่น เพราะกลายพันธุ์

ดังนั้น สวนเกษตรโชคดีชุมแพ เราต้องการควบคุมให้ได้คุณภาพดีที่สุด จึงเลือกพันธุ์เดียว คือ แป้นรำไพ

2. จากการศึกษาตลาดตอนนี้ หลายๆ คนหันมาปลูกกันมาก แม้ว่า แต่ละวัน ประเทศไทยจะใช้มะนาวมากกว่า 3-4 ล้านลูก (ข้อมูลเก่ามาแล้วด้วย) ซึ่งถึงจะเพิ่มพื้นที่ปลูกอีก 100% ตลาดมะนาวนอกฤดูก็ยังคงสดใส เพราะกำลังการบริโภคมีสูง และตัวแปรความสำเร็จมีความยาก ต่อให้ทำนอกฤดูได้พร้อมๆ กัน ก็ยังไม่สามารถส่งผลให้มะนาวเหลือลูกละบาทหรือต่ำกว่าบาท เท่าๆ กับในฤดูได้

แต่เพื่อป้องกันปัญหาการล้นตลาดของมะนาวนอกฤดู (หากเกิดขึ้นจริง) ก็ต้องถามว่า มะนาวอะไรยอดฮิต มะนาวอะไรที่คนเลี่ยงไม่ปลูก เพราะปลูกยาก

คำตอบคือ แป้นรำไพ เนื่องจากไม่ทนโรค เลย 

และแป้นรำไพมีคุณสมบัติเฉพาะตัว จึงมีจุดยืนในตลาดของตนเอง ถึงแม้มะนาวพันธุ์อื่นๆ จะออกมามาก แต่ถ้ามีแป้นรำไพออกมา ก็ขายได้เสมอ

การเลือกแป้นรำไพ จึงเป็นการป้องกันปัญหาเรื่องตลาดไปในตัวครับ

3. แป้นรำไพ มีกลิ่น ผิวบาง  แป้นพิจิตร ไม่มีกลิ่น เปลือกหนา ดังนั้นตลาดเครื่องหอม ยังเปิดรับแป้นรำไพเช่นกัน

โดยภาพรวม แป้นรำไพเป็นของยาก ปลูกยาก ดูแลยาก เลี้ยงยาก คนอื่นๆ ที่เข้ามาในตลาดส่วนใหญ่จะเริ่มที่พันธุ์ง่าย เพราะกลัวความเสี่ยง

แต่ผมเลือกเพราะความยากของมัน ส่งผลให้มันมีจุดยืนในตลาดชัดเจน


4. ไหนๆ เล่น ครูของไม้ผลแล้ว (มะนาวและส้ม ถือเป็นไม้ครู ปลูกได้ ปลูกรอด ปลูกไม้ผลอะไรก็ไม่มีปัญหา)

ก็เอาที่ยากที่สุดไปเลย

เพราะหากทำนอกฤดูไม่ได้ ก็ยังขายในฤดูได้

ด้วยจุดยืนในตลาดของตัวมันเอง มะนาวแป้นรำไพในฤดู ก็มีราคาสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ
 
-----------------------------------------------

ประมาณนี้ครับ 



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ กรกฎาคม 07, 2014, 04:11:26 PM
ผมเดาตั้งแต่แรกถามแล้วว่า ต้องไม่ใช่แป้นพิจิตรแน่ๆ
แต่ชั่งใจระหว่างรำไพกับดกพิเศษ เลยไม่กล้่าทาย 55+

สุดยอดครับ

แตกต่าง และ ท้าทาย

ติดตามอย่างต่อเนื่องครับ

ปล.หลังบ้านผมมีอยู่ 76 ต้น
กำลังศึกษาเหมือนกันครับว่าพันธุ์ไหนเป็นอย่างไรบ้าง
เพื่อลงแปลงใหญ่ในอนาคต

ที่จำได้ก็มี
แป้นพวง
แป้นดกพิเศษ
แป้นรำไพ
แป้นวโรชา
วิเศษวโรชา
เพชรโพธิ์งาม
แป้นพิจิตร1
ตาฮิติ
แป้นจำรัส

5 เดือนแล้ว เริ่มเห็นความแตกต่าง
เอาไว้มาแวะบ้านนี้บ่อยๆครับ ^__^


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 08, 2014, 08:05:25 AM
เพิ่มเติมนิด เดี๋ยวหลายๆ ท่านที่เข้ามาอ่านแล้วจะ งง

การเลือกว่าจะปลูกมะนาวในดิน หรือในบ่อนั้น

เลือกจากคุณสมบัติของดินที่เรามีนะครับ กับสภาพแวดล้อม

ถ้าดินที่เรามีเป็นดินอุ้มน้ำ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ฝนตกชุก หรือหน้าฝนปริมาณน้ำฝนสูง

ก็ควรเลือกเป็นบ่อซีเมนต์

แต่ถ้าดินที่มี เป็นดินร่วนๆ ปนทราย ไม่ค่อยเก็บน้ำเท่าไร ฝนไม่ตกสองสามวัน หน้าดินก็แห้ง แบบนี้ ยกร่องได้เลย ง่ายกว่า

----------------------------------------------

ไหนๆ ก็เขียนเรื่องพันธุ์ไม้แล้ว มะนาวอีกพันธุ์หนึ่งที่น่าสนใจปลูกในภาคอีสาน คือ มะนาวตาฮิติ หรือมะนาวทูลเกล้า

สาเหตุง่ายๆ แม่ค้าส้มตำชอบ เพราะไม่มีเมล็ด ไม่ต้องเขี่ยออกเวลาตำ

แถมราคาขายตอนนี้ก็แพงกว่ามะนาวอื่นๆ ด้วย

หากใครกำลังคิดเลือกมะนาวก็ลองดูนะครับ

----------------------------------------------

แล้วทำไม สวนเกษตรโชคดีชุมแพ ถึงต้องเลือกพันธุ์แค่ 1 พันธุ์

1. สร้างจุดขาย การันตีคุณภาพของพันธุ์
2. ลดการปนเปือน การกลายพันธุ์
3. สร้างจุดขายด้านปริมาณ พ่อค้าแม่ค้าคนกลาง คนไหนอยากได้ พันธุ์แป้นรำไพ ปริมาณมากๆ มาที่นี่ทีเดียวจบ ในอนาคตเมื่อต้นมะนาวโตได้ขนาด มีความพร้อม น่าจะออกลูกได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 แสนลูก ในช่วงนอกฤดู
4. เป้าหมายเน้นการขายลูก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีความหลากหลายของกิ่งพันธุ์ โดยสวนเกษตรโชคดีชุมแพ จะขายกิ่งพันธุ์คุณภาพ เพียงปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ต้นมะนาวแข็งแรง มีคุณภาพ ได้รับการบำรุงอย่างดี กิ่งที่ได้จึงเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ มีอาหารสะสมสูง มีความพร้อมสูง

----------------------------------------------

คำถามต่อมาคงจะเป็นว่า แล้วอย่างนี้ก็ไม่ตรงกับหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ต้องมีความหลากหลายซิ

คำตอบคือ สวนเกษตรโชคดีชุมแพ แบ่งพื้นที่การปลูกไว้หลากหลาย มะนาวใช้พื้นที่เพียง 1/5 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ยังมีแผนปลูกพืชอื่นๆ อีก (ตามที่เคยได้เขียนไว้แล้วในหน้าแรกๆ)

ดังนั้นในด้านรายได้ จึงมีช่องทางรายได้ที่หลากหลาย และพอเพียงต่อค่าใช้จ่ายพนักงานในสวน ให้อยู่กับอย่างสมฐานะ ทุกคน

---------------------------------------------

ปล. ที่เขียนนี้ หลักการ และเป้าหมายที่ฝันจะไปให้ถึงครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ กรกฎาคม 08, 2014, 08:11:16 AM
เพิ่มเติมนิด เดี๋ยวหลายๆ ท่านที่เข้ามาอ่านแล้วจะ งง

การเลือกว่าจะปลูกมะนาวในดิน หรือในบ่อนั้น

เลือกจากคุณสมบัติของดินที่เรามีนะครับ กับสภาพแวดล้อม

ถ้าดินที่เรามีเป็นดินอุ้มน้ำ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ฝนตกชุก หรือหน้าฝนปริมาณน้ำฝนสูง

ก็ควรเลือกเป็นบ่อซีเมนต์

แต่ถ้าดินที่มี เป็นดินร่วนๆ ปนทราย ไม่ค่อยเก็บน้ำเท่าไร ฝนไม่ตกสองสามวัน หน้าดินก็แห้ง แบบนี้ ยกร่องได้เลย ง่ายกว่า

----------------------------------------------

ไหนๆ ก็เขียนเรื่องพันธุ์ไม้แล้ว มะนาวอีกพันธุ์หนึ่งที่น่าสนใจปลูกในภาคอีสาน คือ มะนาวตาฮิติ หรือมะนาวทูลเกล้า

สาเหตุง่ายๆ แม่ค้าส้มตำชอบ เพราะไม่มีเมล็ด ไม่ต้องเขี่ยออกเวลาตำ

แถมราคาขายตอนนี้ก็แพงกว่ามะนาวอื่นๆ ด้วย

หากใครกำลังคิดเลือกมะนาวก็ลองดูนะครับ

----------------------------------------------

แล้วทำไม สวนเกษตรโชคดีชุมแพ ถึงต้องเลือกพันธุ์แค่ 1 พันธุ์

1. สร้างจุดขาย การันตีคุณภาพของพันธุ์
2. ลดการปนเปือน การกลายพันธุ์
3. สร้างจุดขายด้านปริมาณ พ่อค้าแม่ค้าคนกลาง คนไหนอยากได้ พันธุ์แป้นรำไพ ปริมาณมากๆ มาที่นี่ทีเดียวจบ ในอนาคตเมื่อต้นมะนาวโตได้ขนาด มีความพร้อม น่าจะออกลูกได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 แสนลูก ในช่วงนอกฤดู
4. เป้าหมายเน้นการขายลูก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีความหลากหลายของกิ่งพันธุ์ โดยสวนเกษตรโชคดีชุมแพ จะขายกิ่งพันธุ์คุณภาพ เพียงปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ต้นมะนาวแข็งแรง มีคุณภาพ ได้รับการบำรุงอย่างดี กิ่งที่ได้จึงเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ มีอาหารสะสมสูง มีความพร้อมสูง

----------------------------------------------

คำถามต่อมาคงจะเป็นว่า แล้วอย่างนี้ก็ไม่ตรงกับหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ต้องมีความหลากหลายซิ

คำตอบคือ สวนเกษตรโชคดีชุมแพ แบ่งพื้นที่การปลูกไว้หลากหลาย มะนาวใช้พื้นที่เพียง 1/5 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ยังมีแผนปลูกพืชอื่นๆ อีก (ตามที่เคยได้เขียนไว้แล้วในหน้าแรกๆ)

ดังนั้นในด้านรายได้ จึงมีช่องทางรายได้ที่หลากหลาย และพอเพียงต่อค่าใช้จ่ายพนักงานในสวน ให้อยู่กับอย่างสมฐานะ ทุกคน

---------------------------------------------

ปล. ที่เขียนนี้ หลักการ และเป้าหมายที่ฝันจะไปให้ถึงครับ

เสริมนิดสำหรับตาฮิติครับ

ถ้าใครสนใจ ลองเข้าไปกระทู้ของ "สวนวสา" ได้ครับ เป็นสมาชิกในเกษตรพอเพียงนี่แหล่ะครับ
เค้าปลูกตาฮิติ 2 ร้อยไร่ ครับ

^__^


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 08, 2014, 08:22:28 AM
เคยเข้าไปอ่านแล้ว สุดยอดครับ

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=1118.0 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=1118.0)

เรื่องการคัดพันธุ์เพียงพันธุ์เดียว ส่วนหนึ่งก็อ่านจากสวนวสานี้ละครับ แล้วมีคำถามในใจ ก็ไปถามอาจารย์รวี อาจารย์สามารถ จนได้คำตอบว่า เอามันพันธุ์เดียวนั้นละ 555



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ กรกฎาคม 09, 2014, 11:18:36 AM
ถ้าอยากอ่านต้นฉบับ ต้องไปหาเล่มนี้มาอ่านครับ

([url]http://4.bp.blogspot.com/-Y22MF4S7eS4/UCIkI6jcisI/AAAAAAAAAHQ/y_ODpUxtIj4/s1600/Jorge+Bucay.JPG[/url])

ที่ผมเขียน เป็นแค่เอาแนวคิดมาเขียนใหม่ เพราะจำไม่ได้

เล่มนี้ขอแนะนำเลยครับ อ่านแล้วคุณจะค้นพบอะไรบางอย่างในตัวเอง



เป็นหนอนหนังสือค่ะ  จะไปจัดหามาด่วน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: tt78 ที่ กรกฎาคม 09, 2014, 01:19:33 PM
ขอความรู้ด้วยคนครับ :-[ :-[ :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 09, 2014, 03:02:42 PM


เป็นหนอนหนังสือค่ะ  จะไปจัดหามาด่วน


พูดถึงหนอนหนังสือ ต้องขอบคุณเพื่อนๆ อาจารย์ภาษาไทย สมัยมัธยมต้นของผม ที่ช่วยกันสร้างแรงบันดาลใจให้อยากอ่านหนังสือ

เชื่อไหม หนังสือเล่มแรกที่ผมอ่าน นอกจากการ์ตูนและหนังสือเรียนคือ.... สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลังหน ... อ่านอยู่ไม่นานก็จบหมด 3 เล่ม

ผมเข้าห้องสมุดเป็นว่าเล่น จนอาจารย์เรียกไปช่วยงานได้ค่าขนมอยู่บ่อยๆ (ค่าแรงเบิกโรงเรียน ไม่ใช่อาจารย์ให้นะครับ)

หลังจากนั้นผมก็เป็นหนอนหนังสือ อ่านหนังสือมันทุกเล่ม กลายเป็นคนอ่านเร็ว

พออยู่มหาวิทยาลัย ด้วยความที่ ตัวเองไม่เก่งภาษาอังกฤษ (แต่ดันเรียน ภาควิชาที่แทบไม่มีหนังสือภาษาไทยเลย )

เคยประกาศว่า ฉันจะจบคอมพิวเตอร์โดยไม่อ่าน Text Book เลย

แต่เอาจริงๆ การเป็นนักกิจกรรม ทำให้เราไม่ได้เข้าห้องเรียนเลย วิธีเดียวที่เราจะเรียนตามเพื่อนๆ ทันคือ ...อ่านหนังสือ...

จากคนที่บอกว่าจะไม่อ่าน กลายเป็นคนที่อ่านมากสุดๆ คนหนึ่งในชั้น

ถึงวันนี้ ผมมีอาชีพเสริมเป็นนักแปล แปลบทความทางคอมพิวเตอร์ ...ส่วนหนึ่งก็เพราะอ่านมาก

------------------------------
ที่เล่ามา เพราะอยากเชื่อมโยงกับสิ่งที่ ฆอร์เฆ่ บูกาย เขียน ....

บางครั้งโอกาสมันพาเราไปเรื่อยๆ ครับ ขอเพียงอย่าปฏิเสธมัน เพียงเพราะใจเราบอกว่าไม่ ...

หลายๆ เรื่องในชีวิต พออ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว... มีชี้ทางความคิดบางอย่างให้ได้จริงๆครับ

หากหาไม่ได้ เข้าเฟสบุ๊ก สั่งตรงกับ อาจารย์มกุฎ อรดี เลยก็ได้ครับ (หรือเข้าเว็บสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ก็สั่งได้ ค่าใช้จ่ายอาจถูกกว่าซื้อร้านด้วยซ้ำ)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ กรกฎาคม 09, 2014, 06:59:54 PM


  ผมเองก็เริ่มต้นกับสามก๊ก เหมือนกัน แต่เป็นฉบับวณิพกของยาขอบ เริ่มอ่านสมัยประถม แต่อ่านเพราะ

ความจนครับ พอดีย้ายบ้านมาแล้วเจ้าของบ้านคนเก่าเขาทิ้งสามก๊กไว้ ผมไม่มีเงินไปเที่ยวข้างนอก

เหมือนเพื่อนๆ เลยต้องอยู่กับบ้าน เบื่อๆก็ค้นตู้โน่นนี่ จนเจอสามก๊ก เลยอ่านซะพรุนไปตอนปิดเทอมหน้าร้อน

  แต่ความรู้ภาษาอังกฤษผมหางอึ่งครับ textbook เป็นศัตรูตามธรรมชาติของผมจนถึงปัจจุบัน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 13, 2014, 09:29:28 AM
หยุดเข้าพรรษา ตอนแรกจะอยู่บ้าน แต่สุดท้ายไปๆ มาๆ เลยต้องไปขนมะนาวที่สั่งไว้ไปดำเนินการ

ตอนนี้ที่สวนมีปัญหาคือ ไฟฟ้าไม่มาลงให้ตามกำหนดที่ควร สาเหตุก็คงไม่ต้องเดา (หรือใครอยากเดาก็ตามสะดวก เชื่อว่าถูกทุกคน 555)

พ่อตาเลยไปจี้กับ ผอ. ให้ ท่านเลยบอกว่า อาทิตย์หน้า ไปลงให้แน่นอน...(ขอให้แน่จริงๆ)

(https://lh5.googleusercontent.com/-y4Y-cyxO7j0/U8HlFxiWhmI/AAAAAAAAyQ0/wpO9MG3vN0Y/w345-h553-no/P1140523.JPG)


ขุดหลุมรอเสามาลง...แต่เธอไม่มาตามนัด


พอไม่มาตามนัด อะไรผิดแผนบ้าง...เพียบครับ

ตั้งแต่ กำหนดวันลงกล้าเพื่อปลูก ก็ขยับเลื่อนหมด ...ต้องไปเผชิญปัญหาหน้าหนาว ลมแรง ไม่รู้ต้นกล้าจะเป็นอย่างไร

การจัดการคนก็เป็นปัญหา ...บางเรื่องเราอยากประหยัด แต่เราไม่สามารถอยู่คุมได้... บางเรื่องก็ต้องยอมจ่าย...

------------------------------------------------------------
ขึ้นไปตรวจงานการยกลูกฟูก

เรียกว่างานสมบูรณ์ 75%

ตัดถนนภายในกว้าง 2 เมตร พร้อมร่องคูระบายน้ำ

ส่วนลูกฟูก บ้างสมบูรณ์ บ้าง ไม่สมบูรณ์

เพราะรถไถ แค่ ไถผานยกร่อง ดูท่าคงจะรอบเดียวมั้ง

(https://lh3.googleusercontent.com/-Q212u3Z3PZM/U8HlED9fhsI/AAAAAAAAyQg/EkPG1JGlyoc/w345-h553-no/P1140506.JPG)

(https://lh3.googleusercontent.com/-51PzdGInjkU/U8HlEi81fSI/AAAAAAAAyQk/h_4Peqyhyp0/w345-h553-no/P1140507.JPG)

(https://lh6.googleusercontent.com/-UKFO-XqZv4E/U8HlDp1kUnI/AAAAAAAAyQY/3m55nVY0O8E/w345-h553-no/P1140503.JPG)

และผลจากการสั่งไถยกร่อง ยาว 80 เมตร (แผนเดิม 40 เมตร แล้วเว้นร่องเป็นถนนเล็กๆ 1 เมตร เพื่อวางท่อเมน)

เลยต้องเปลี่ยนวิธีการวางท่อเมนใหม่หมด เสียค่าท่อ PVC เพิ่มต้นทุน แต่ข้อดีคือ จากเดิมจะค่อยๆ ขยายท่อเมน ให้ครอบคลุมพื้นที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้เลยเป็นต้องวางท่อเมน 3 นิ้ว ทีเดียวยาว 100 เมตร


 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 13, 2014, 10:50:32 AM
มะนาว ได้ไป ยังลงไม่ได้ จึงต้องมาอนุบาลในถุงดำก่อน

(https://lh5.googleusercontent.com/-FYk125Eypoc/U8H2zORiXUI/AAAAAAAAyRo/P-jpkku234Q/w550-h468-no/2014-07-12+10.26.57.jpg)

ส่วนอันนี้คลังแสงครับ
(https://lh5.googleusercontent.com/-sv7pWlIRPb8/U8H2za17oOI/AAAAAAAAyRs/SaC38J1jIi0/w550-h468-no/2014-07-12+11.36.00.jpg)

เห็นซกมก อย่างนี้ ของดีๆ ทั้งนั้น

ปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยขี้ค้างคาว... ของเหลือๆ ของพ่อตา รวมๆ กัน เพียงพอสำหรับเป็นวัสดุปลูกมะนาว 200 ต้นสบายๆ

ไม่ต้องซื้อ


ส่วนอินทรีย์วัตถุ ก็มีอันนี้ครับ

ใครรู้บ้างว่าอะไร... ไม่ใช่ฟางนะครับ
(https://lh4.googleusercontent.com/-G-NpH2-8lvU/U8H21rC3kQI/AAAAAAAAySI/OAy9724VXb8/w550-h468-no/2014-07-12+11.36.51.jpg)


มันคือ หญ้าแห้งอัดก้อนครับ

ไม่เผา ตัดแล้วเอามาตากบนลานปูน จนแห้ง แล้วสับอัดเป็นก้อน สมัยก่อนพ่อตาผมทำโรงงานอาหารสัตว์ เลยมีเครื่องจักรเหลือๆ อยู่บ้างเล็กน้อย

ตอนนี้ฟางแพง เลยได้อาศัย ตัดหญ้าแล้วมากองๆ ไว้ ไม่กี่แดด ก็แห้งกรอบ พร้อมอัดเป็นก้อน โดยเอาแต่ใบ เมล็ดหญ้าไม่มีนะคัดออกครับ


-----------------------------------
อันนี้ครับ หัวใจสำคัญอีกอย่างของหลักการ "สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน"

คือ การใช้ของที่มีในชุมชนต่างๆ มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

บางคน ศึกษามาบอกว่าต้องใช้ ขุยมะพร้าว ก็พยายามไปหาขุยมะพร้าว ทั้งๆ ที่ในชุมชนตนเองนั้นไม่มีใครปลูกมะพร้าวเลย

แต่หากศึกษาจริงๆ ก็พบว่า ใช้แกลบเผาแทนขุยมะพร้าวได้  หรือใช้หญ้าสับละเอียดแทนก็ได้ แม้คุณภาพไม่ได้ดีเท่า

แต่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการหาซื้อ ค่าขนส่งได้

ส่วนในระยะยาว ผมวางแผนไว้ มะพร้าวน้ำหอมครับ... ระยะยาวจริงๆ นะ กว่าจะออกลูกให้กินและใช้เป็นขุยได้ 555



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 14, 2014, 07:57:19 AM
พื้นที่ 25 ไร่ ของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ


ถูกแบ่งการพัฒนาเป็นเฟสๆ โดยเริ่มต้น

เฟส 1 สิ้นสุดปี กลางปี 58
สวนมะนาว 6 ไร่
นาข้าว 6 ไร่
ไผ่ 3 ไร่
เผือก 8 ไร่
ถนนและอื่นๆ 2 ไร่

เฟส 2 ตั้งแต่กลางปี 58 เป็นต้นไป
สวนมะนาว 10 ไร่
นาข้าว 4 ไร่
ไผ่ 4 ไร่
สวนทดลอง 1 ไร่
บ่อน้ำ 1 ไร่
โรงเรือน 1 ไร่
พืชไร่ 2 ไร่
ถนนและอื่นๆ 2 ไร่


แต่เนื่องจากกำหนดเวลาที่วางไว้ผิดแผน เฟสแรกที่จะปลูกเผือก เพื่อเก็บช่วงต้นปี เป็นอันต้องพับไป แต่ก็เป็นข้อดี เพราะหลังจากสำรวจตลาดอย่างชัดเจนแล้ว ค่อนข้างอันตราย หากไม่สามารถทำได้ขนาดที่ตลาดต้องการแล้ว มีสิทธิ์ขาดทุนสูง

ช่วงวันหยุดเข้าพรรษาที่ผ่านมา ผมเลยตัดสินใจให้ปลูกข้าวเพิ่ม เพื่อรักษาหน้าดินไว้ ไม่ให้หญ้าขึ้น พอเก็บเกี่ยว ก็ได้ตอข้าว เป็นปุ๋ย เป็นอินทรีย์วัตถุ ฟางก็เป็นวัสดุปลูกได้

ภาพข้าวโพดและถั่ว ของที่ให้ชาวบ้านปลูก ไม่คิดค่าเช่า แต่ให้ช่วยดูแลผืนดินของเรา ต่างตอบแทนกันและกัน
(https://lh3.googleusercontent.com/-QzAYRexJL0I/U8HlCss1ehI/AAAAAAAAyQI/1z-hNlheoCI/w749-h553-no/P1140488.JPG)

นาข้าว เริ่มไปได้ดี พื้นที่ข้างๆ ที่เดิมตั้งใจปลูกเผือก ก็เปลี่ยนเป็นให้เขาทำนาข้าวแทน
(https://lh6.googleusercontent.com/-PWZzYGvLFQw/U8HlG1jvt-I/AAAAAAAAyRA/XzxEsYgOyxw/w749-h553-no/P1140525.JPG)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 16, 2014, 08:11:37 AM
ช่วงนี้กำลังหาข้อมูลทำตู้คอนโทรล ควบคุมระบบจ่ายน้ำทั้งหมด ได้คำตอบทั้งหมดเมื่อไร จะแจ้งให้ทราบครับ

แต่ถ้าใครมีแหล่งขาย วาวล์ไฟฟ้า ขนาด 2 นิ้ว ช่วยชี้เป้าให้ทีครับ ตามหายากเหลือเกิน (ที่เห็นมีก็แพงเกิน)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: nitiwatn ที่ กรกฎาคม 17, 2014, 01:39:06 PM
สวัสดีครับ
ดีใจนะครับที่มีกระทู้แบบนี้ออกมา เกษตรกรมือใหม่จะได้มีที่เก็บเกี่ยวหาข้อมูล เช่นผม เพราะตอนแรกผมตั้งใจว่า จะปลูกอ้อย ให้เทวดาเลี้ยง เพราะที่ผมไม่มีบัอน้ำ เคยถามคนในพื้นที่ ว่าขุดสระดีไหม เค้าก็บอกว่า อย่าไปขุดเลย เสียดายที่ และที่สำคัญ เก็บน้ำไม่อยู่หรอก เขาว่ามาแบบนี้ครับ
ที่ผมเป็นพื้นที่ลาดเอียงครับ พื้นที่ 11 ไร่ ใจผมจริงๆไม่อยากปลูกอ้อยแล้วให้เทวดาเลี้ยงครับ ผมคิดว่า อยากขุดสระ 1ใงาน แล้วเลี้ยงไก่ไข่ ไว้บนสระ เพื่อที่เวลาทำความสะอาดคอกไก่ ก็แค่กวาดขี้ไก่ลงให้ปลากิน แต่ถ้า ขุดสระแล้วเก็บน้ำไม่อยู่ โครงการนี้ก็ต้องพับไป แต่ทุกวันนี้ยังมีข้อสงสัยอยู่ครับ ว่
1.เราทราบได้อย่างไรว่า ถ้าขุดแล้วเก็บน้ำไม่อยู่  หรือเพราะเป็นที่ลาดเอียง  พื้นที่ลาดเอียงน่าจะประมาณ 10-20 องศา
2.มีวิธีอะไรซักอย่างหรือไม่ครับเพื่อจะพิสูจน์ว่า ควรขุดหรือไม่ เพราะผมไม่อยากเสี่ยงวัดดวงกับปริมาณน้ำบาดาล
3.อ่านหลายๆบทความ โดยส่วนใหญ่บอกว่า สระขุดใหม่ยังไม่สามารถเก็บน้ำได้ต้องให้เวลาบ่อเซ็ทตัว
4.หัวใจหลักของการเกษตรคือน้ำ ถ้าสระขุดไม่ได้ ผมควรจะทำยังไงดี ถ้าหวังกับน้ำบาดาลจะพอใช้เหรอครับ  ลืมบอกไป ดินผมเป็นสีขาว เหมือนดินร่วนปนทราย เมื่อฝนตก ดินผมจะชุ่มแต่ไม่อุ้มน้ำ ให้น้าที่ทำการเกษตรอยู่มาดูให้ น้าบอกดินดี เพราะอะไรผมไม่ทราบ แต่จากสายตาของผมตอนแรกที่เห็น ผมนึกว่าดินที่ผมเป็นดินทราย
ขอบคุณทุกท่านที่มาให้ความเห็นครับ เดิมทีผมเป็นลูกชาวนา แต่ต้องมาสู้ชีวิตในเมือง ตอนนี้ เรียนจบเป็นวิศวกรโยธา ทำงานตามสายงานที่เรียนมาได้ 6 ปี ตำแหน่งสูงขึ้นยังไง มันก้แค่หัวโขนที่ใส่ ตอนนี้ อยากเป็นตัวเองครับ ถ้าแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้ จะได้เดินทางต่อ ขอบคุณครั
ปล.ลงรูปยังไงครับ เดี๋ยวลงรูปให้ดูครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 19, 2014, 05:06:18 PM
สวัสดีครับ
ดีใจนะครับที่มีกระทู้แบบนี้ออกมา เกษตรกรมือใหม่จะได้มีที่เก็บเกี่ยวหาข้อมูล เช่นผม เพราะตอนแรกผมตั้งใจว่า จะปลูกอ้อย ให้เทวดาเลี้ยง เพราะที่ผมไม่มีบัอน้ำ เคยถามคนในพื้นที่ ว่าขุดสระดีไหม เค้าก็บอกว่า อย่าไปขุดเลย เสียดายที่ และที่สำคัญ เก็บน้ำไม่อยู่หรอก เขาว่ามาแบบนี้ครับ
ที่ผมเป็นพื้นที่ลาดเอียงครับ พื้นที่ 11 ไร่ ใจผมจริงๆไม่อยากปลูกอ้อยแล้วให้เทวดาเลี้ยงครับ ผมคิดว่า อยากขุดสระ 1ใงาน แล้วเลี้ยงไก่ไข่ ไว้บนสระ เพื่อที่เวลาทำความสะอาดคอกไก่ ก็แค่กวาดขี้ไก่ลงให้ปลากิน แต่ถ้า ขุดสระแล้วเก็บน้ำไม่อยู่ โครงการนี้ก็ต้องพับไป แต่ทุกวันนี้ยังมีข้อสงสัยอยู่ครับ ว่
1.เราทราบได้อย่างไรว่า ถ้าขุดแล้วเก็บน้ำไม่อยู่  หรือเพราะเป็นที่ลาดเอียง  พื้นที่ลาดเอียงน่าจะประมาณ 10-20 องศา
2.มีวิธีอะไรซักอย่างหรือไม่ครับเพื่อจะพิสูจน์ว่า ควรขุดหรือไม่ เพราะผมไม่อยากเสี่ยงวัดดวงกับปริมาณน้ำบาดาล
3.อ่านหลายๆบทความ โดยส่วนใหญ่บอกว่า สระขุดใหม่ยังไม่สามารถเก็บน้ำได้ต้องให้เวลาบ่อเซ็ทตัว
4.หัวใจหลักของการเกษตรคือน้ำ ถ้าสระขุดไม่ได้ ผมควรจะทำยังไงดี ถ้าหวังกับน้ำบาดาลจะพอใช้เหรอครับ  ลืมบอกไป ดินผมเป็นสีขาว เหมือนดินร่วนปนทราย เมื่อฝนตก ดินผมจะชุ่มแต่ไม่อุ้มน้ำ ให้น้าที่ทำการเกษตรอยู่มาดูให้ น้าบอกดินดี เพราะอะไรผมไม่ทราบ แต่จากสายตาของผมตอนแรกที่เห็น ผมนึกว่าดินที่ผมเป็นดินทราย
ขอบคุณทุกท่านที่มาให้ความเห็นครับ เดิมทีผมเป็นลูกชาวนา แต่ต้องมาสู้ชีวิตในเมือง ตอนนี้ เรียนจบเป็นวิศวกรโยธา ทำงานตามสายงานที่เรียนมาได้ 6 ปี ตำแหน่งสูงขึ้นยังไง มันก้แค่หัวโขนที่ใส่ ตอนนี้ อยากเป็นตัวเองครับ ถ้าแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้ จะได้เดินทางต่อ ขอบคุณครั
ปล.ลงรูปยังไงครับ เดี๋ยวลงรูปให้ดูครับ

1. ถ้าพื้นลาด ตอนขุด ต้องทำให้ได้ระดับครับ ส่วนเก็บน้ำไม่อยู่ ต้องหาปุ๋ยคอกโยนๆ ใส่ลงไป หาเศษฟาง เศษหญ้าใส่ลงไป ให้เกิดเป็นโคลนตม เดี๋ยวก็กักน้ำอยู่ครับ

2. วิธีพิสูจน์ที่ดีที่สุดคือ ไปดูแผนที่ของกรมทรัพยากรธรณีครับ ว่าพื้นที่แถวนั้นมีสายน้ำใต้ดินหรือไม่ ถ้ามี ขุคไปเถอะครับ ยังไงก็เจอ แต่ความลึกในการเจอไม่เท่ากัน ขึ้นกับความสูงต่ำของที่ดิน

3. ถูกครับ

4. ลองส่งดินไปตรวจก่อนครับ ไม่ต้องกลัวว่าปลูกอะไรไม่ขึ้น ถ้าหญ้าขึ้นได้ ก็ปลูกพืชได้ แต่พืชอะไรที่เหมาะสม ลองดูผลจากการตรวจดินก่อนได้ครับ


สู้ๆ ครับ ชีวิตมีเส้นทางเดิน ทำในสิ่งที่ชอบ ที่ฝันครับ อย่าตามกระแส


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: adulsri ที่ กรกฎาคม 19, 2014, 07:38:36 PM
อ้างถึง.....

สวัสดีครับ
ดีใจนะครับที่มีกระทู้แบบนี้ออกมา เกษตรกรมือใหม่จะได้มีที่เก็บเกี่ยวหาข้อมูล เช่นผม เพราะตอนแรกผมตั้งใจว่า จะปลูกอ้อย ให้เทวดาเลี้ยง เพราะที่ผมไม่มีบัอน้ำ เคยถามคนในพื้นที่ ว่าขุดสระดีไหม เค้าก็บอกว่า อย่าไปขุดเลย เสียดายที่ และที่สำคัญ เก็บน้ำไม่อยู่หรอก เขาว่ามาแบบนี้ครับ
ที่ผมเป็นพื้นที่ลาดเอียงครับ พื้นที่ 11 ไร่ ใจผมจริงๆไม่อยากปลูกอ้อยแล้วให้เทวดาเลี้ยงครับ ผมคิดว่า อยากขุดสระ 1ใงาน แล้วเลี้ยงไก่ไข่ ไว้บนสระ เพื่อที่เวลาทำความสะอาดคอกไก่ ก็แค่กวาดขี้ไก่ลงให้ปลากิน แต่ถ้า ขุดสระแล้วเก็บน้ำไม่อยู่ โครงการนี้ก็ต้องพับไป
....//.....
เมื่อหลายปีก่อนผมเคยคิดจะทำโครงการเลี้ยงไก่ บนสระน้ำ ไปดูงานหลายแห่ง ปลาก็อ้วนดี ประหยัดเรื่องอาหารไก่ แต่บางแห่งให้ข้อมูลว่า ปลามักจะเป็นโรคง่าย อีกอย่างคนจะซื้อปลาเราไปกินก็คิดหนักนะครับ ฝากไว้เป็นข้อมูลสำหรับสมาชิกที่จะเลี้ยงไก่แบบนี้ เดียวจะได้ไม่คุ้มเสียครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 22, 2014, 09:22:20 AM
การวางระบบควบคุมการจ่ายน้ำ เพื่อรดต้นไม้

จากข้อมูลที่เคยเขียนไว้แล้วเรื่องการวางระบบน้ำ ถึงตอนนี้ต้องวางระบบควบคุม หรือชุดคอนโทรลที่ใครๆ เรียกกัน

ทางเลือกในการวางระบบ มีตั้งแต่ระบบง่ายๆ ระบบประยุกต์ ระบบสำเร็จรูป แต่ไม่ว่าจะระบบไหนๆ จะมีหัวใจสำคัญคือ

1. อุปกรณ์ตั้งเวลา
2. สวิตซ์
3. โซลินอยวาวล์ (วาวล์ไฟฟ้า)
4. ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์

องค์ประกอบรวมๆ มีเท่านี้ แต่อาจมีอุปกรณ์อื่นๆ เสริม ตามแต่การประยุกต์และออกแบบระบบ

อันดับแรกที่ต้องทำความเข้าใจคือ ปั้มน้ำทั่วไป ที่ไม่ใช่ปั้มอัตโนมัติ น้ำสามารถไหลผ่านได้ตลอดเวลา

ดังนั้น หากตำแหน่งที่วางปั้มน้ำ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ.... น้ำไหลตลอดเวลาแน่นอน

บางท่านจึงประยุกต์เดินท่อสูง เพื่อให้ระดับน้ำในท่อสูงกว่าในแท็งกซ์น้ำ เพื่ออะไร... ก็เพื่อจะได้ไม่ต้องติดตั้งวาวล์ไฟฟ้า ที่มีราคาแพง

หรือใช้วิธียกปั้มให้สูงกว่าระดับน้ำปกติ ก็ช่วยได้ (ดังนั้นสำหรับสูบน้ำจากบ่อดิน ก็แก้ปัญหาเรื่องนี้ได้เหมือนกัน)

ทีนี้หากใครไม่สะดวกแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าว หรือต้นทุนการแก้ปัญหาดูแล้วมีราคารวมๆ พอๆ กับวาวล์ไฟฟ้า ก็เลือกใช้วิธีติดตั้งวาวล์จะง่ายและสะดวกกว่า

ผมเองก็เลือกวิธีใช้วาวล์เช่นกัน

ทีนี้ เมื่อเราติดตั้งวาวล์ไฟฟ้าปิดทางน้ำแล้ว เท่ากับว่า หากเราจ่ายไฟฟ้าให้ปั้มเมื่อไร และเปิดวาวล์เมื่อไร ก็จะจ่ายน้ำได้ทันที

ตรงนี้ เป็นทางเลือกที่ 1

ชุดควบคุมปั้มน้ำ ว่าจะเลือกแบบตั้งเวลา หรือ อัตโนมัติ...

แบบตั้งเวลา
1. มีอุปกรณ์ตั้งเวลา เมื่อถึงเวลา อุปกรณ์ดังกล่าวจะจ่ายไฟฟ้า แค่นั้นง่ายๆ
2. วาวล์ไฟฟ้าที่ใช้ มีขนาดกี่โวลต์ ถ้าเป็น 24V ก็ต้องหาหม้อแปลงไฟฟ้าจาก 220->24 มาใช้งาน
3. มกเนติกสวิตซ์ เพื่อชะลอไฟฟ้าและลดปัญหาแรงกระชากจากปั้มที่อาจทำให้ Timer เสียหาย

แบบตั้งเวลา จะเหมาะกับระบบที่ใช้ปั้มเป็นตัวควบคุมการจ่ายน้ำ ไม่ใช่วาวล์ ซึ่งหมายถึงระบบที่ออกแบบให้จ่ายน้ำเพียงโซนเดียว หรือหลายโซนก็ได้ แต่ตู้ควบคุมจะติดตั้งได้เพียงจุดเดียว (หมายถึงวาวล์และปั้มต้องอยู่ใกล้ๆ กันหมด)

ข้อเสียคือ ไม่สามารถติดตั้งวาวล์ไฟฟ้าให้ไกลจากจุดควบคุมได้ เพราะหมายถึงการเดินสายไฟสำหรับไฟฟ้า 24 โวลต์ที่มีระยะความยาวจำกัดในการเดินสาย

แบบอัตโนมัติ
คือ ใช้การควบคุมแรงดันภายในท่อ เป็นตัวเปิดปิดปั้มน้ำ หากแรงดันในท่อลดลง ปั้มน้ำจะทำงาน ข้อดีคือ รองรับการขยายตัวของระบบจ่ายน้ำในอนาคตได้ วางวาวล์ไฟฟ้าตรงไหนก็ได้ เพราะระบบควบคุมวาวล์แยกกับระบบควบคุมปั้ม โดยพึ่งพาแค่ปั้มตัวเดียวแต่สามารถขยายพื้นที่ได้สูงสุดตามความสามารถของปั้ม แต่ข้อเสียคือ หากระบบมีการรั่วไหล ปั้มจะทำงานตลอดเวลา

โดยแบบอัตโนมัติ จะประกอบด้วย
1. สวิตซ์แรงดัน สำหรับวัดแรงดัน หากต่ำกว่าที่กำหนดจะเปิดให้ปั้มทำงาน
2. สวิตซ์ลูกลอย  สำหรับป้องกันน้ำหมด แล้วปั้มยังทำงานต่อเนื่อง
3. แมกเนติกสวิตซ์ เพื่อชะลอไฟฟ้าและลดปัญหาแรงกระชากจากปั้มที่อาจทำให้ สวิตซ์แรงดัน เสียหาย
----------------------------------------------------------

ซึ่งผมเลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อสามารถกระจายจุดจ่ายน้ำได้อย่างอิสระ


ซึ่งเมื่อเลือกแบบอัตโนมัติ จึงต้องติดตั้งชุดควบคุมอีก 1 ชุด คือ ชุดควบคุมวาวล์จ่ายน้ำ

ดูไปดูมา เท่าที่เห็นและน่าสนใจ คือ Hunter X-Core ราคาไม่แพงมาก (เทียบกับต้องซื้อ Timer ของ Pana มารวมกัน 4 ตัว ก็ได้ราคาเท่าๆ กัน)

ข้อดีของ Hunter X-Core คือ

1. มีตัวแปลง 24V ในตัว เพื่อควบคุมวาวล์
2. รองรับวาวล์ได้ 4-6-8 แล้วแต่เลือกรุ่น
3. มีชุดตรวจสอบฝนตก
4. มีชุดปรับการจ่ายน้ำตามสภาพอากาศ (อันนี้ไม่แน่ใจว่า เมืองไทยใช้ระบบนี้ได้ไหม)

ชุดตรวจสอบฝน ช่วยให้หากระหว่างจ่ายน้ำแล้วฝนตก ระบบจะหยุดจ่ายทันที หรือฝนตกหนักผ่านไปแล้ว ระบบจะไม่จ่ายน้ำ จนกว่าปริมาณน้ำที่ตัววัดระเหยไปจนถึงระดับต่ำสุด (หรือหมายถึงน้ำในดินก็เริ่มแห้งนั่นเอง)

ส่วนชุดปรับการจ่ายน้ำตามสภาพ ยังไม่แน่ใจ เพราะยังหาข้อมูลไม่หมด แต่เข้าใจว่ารับข้อมูลจากอะไรสักอย่างเป็นข้อมูลสภาพอากาศ แล้วมาประมวลผล ว่า ควรจ่ายน้ำหรือไม่

เดี๋ยวเสาร์อาทิตย์นี้ จะวิ่งไปซื้อของทั้งหมด มาประกอบตู้คอนโทรลเตรียมไว้ แล้วจะอัพเดตอีกทีครับ

------------------------------------
ตอนนี้ที่สวนมีปัญหา เรื่องการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า

แจ้งว่า ตรงที่จะติดมิเตอร์ ห่างจากหม้อแปลงเกิน 1,000 เมตรเลยติดให้ไม่ได้

แต่โชคดี เมื่อสามสี่วันก่อน กรมทางหลวงชนบท เขามาวัดทาง เพื่อขยายถนน 4 เลน เลยเขียนระยะไว้ชัดเจน ที่ดินผมห่างหม้อแปลงแค่ 400 เมตร ซึ่งหมายถึง ติดตั้งได้ ตอนนี้เลย งงๆ ว่า การไฟฟ้าภูมิภาคในเขตที่ดินของผมนั้นเล่นแง่อะไรอยู่


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ฟาร์มเงิน สารคาม ที่ กรกฎาคม 22, 2014, 11:07:53 AM

สวัสดีครับ  ;)
   นับถือๆ ตัวผมเองจบ for civil ก็จริง แต่ระบบการทำ คิด วางแผน และทำการบ้านไม่เป็นระบบเหมือนท่านเลย
ส่วนท่านจบด้านคอมพิวเตอร์มา ทำได้ดีกว่า นับถือครับท่าน  ;) ;)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 23, 2014, 01:17:41 PM
ปัญหามีมาให้เก่งขึ้นได้ทุกวัน

หลังจากส่งดินไปตรวจ กำหนดรับผลคือ 20 กรกฎาคม แต่ไม่มีความคืบหน้า เลยโทรไปตามเอง วันนี้ทางศูนย์วิจัยเลยส่งอีเมล์มาให้เรียบร้อย ผลตรวจง่ายๆ

PH = 6.65
ECe = 4.07
OM = 0.5
P = 4.26
K = 41.60

สรุปได้ความว่า

ค่า PH กำลังดี แต่ ECe หรือความเค็ม สูงเกินไปนิด น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 2
ส่วน OM หรือ อินทรีย์วัตถุ น้อยมากเกินไป

ส่วนธาตุ P ก็น้อยเกินไป และ K มีปานกลาง

หมายถึงอะไร

หมายถึงว่า ต้องแก้ปัญหาดินเค็ม ซึ่งแก้ได้หลายวิธีเช่น สูบน้ำแช่ที่ดิน ให้เกลือละลายออก แล้วสูบน้ำออกไปทิ้ง หรือใช้ยิปซัม ปรับสภาพโครงสร้างดินให้ลดความเค็มลง

หรือ ยกร่องลูกฟูก (ซึ่งทำแล้ว) แล้วจ่ายน้ำบนลูกฟูกให้ชุ่ม เพื่อให้เกลือค่อยๆ เดรนออกมากับน้ำด้านข้าง แต่วิธีนี้ เกลือจะมากองที่ทางเดินแทน และอาจมีเกลือหลงเหลืออยู่บนหลังลูกฟูก

ส่วนผมจะแก้ไขอย่างไร คงต้องปรึกษา ท่านอาจารย์ อีกที

ส่วน OM แก้ง่าย เพราะในหลุมปลูก เราผสมวัสดุ ตามต้องการอยู่แล้ว ซึ่งมี OM ปริมาณมากอยู่แล้ว ไม่ว่าจะปุ๋ยอินทรีย์ แกลบเผา หญ้าป่น จึงน่าจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของ OM ได้ค่อนข้างมาก


และถือเป็นโชคดี เพราะมะนาว ใช้พื้นที่ดินเพียงรอบทรงพุ่ม ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องลงทุนปรับสภาพดินทั้งผืน แต่ปรับแค่บริเวณที่รากเดินถึงก็เพียงพอ (ซึ่งค่อยๆ ทะยอยทำได้ด้วย เพราะกว่ารากจะเดินยาวเป็นเมตร ก็เป็นปี)

(https://lh3.googleusercontent.com/-VgmcebFON9s/U89bWc_CCkI/AAAAAAAAyTo/sptZW5sdD1w/w640-h197-no/%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599.jpg)



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 27, 2014, 07:38:58 PM
วันศุกร์พ่อตา โทรมา บอกว่าทางไฟฟ้าจะมาติดตั้งให้ในวันเสาร์

แผนชีวิตเลยเปลี่ยนหมด ตอนบ่ายวันศุกร์ รีบไปซื้อ สาย PE เพื่อขนขึ้นไป

(ราคากรุงเทพร้านที่ผมซื้อ ถูกกว่าราคาที่ Do home หรือ ไทวัสดุ ไม่กี่สิบบาท แต่ถูกกว่าร้านในตัวอำเภอชุมแพ ร้อยกว่าบาท)

ผมเลยจัดไป 8 ม้วน 1600 เมตร เต็มคันรถพอดีๆ มูลค่าที่ประหยัดได้ถือว่าขึ้นไปรอบนี้ไม่เสียค่าน้ำมัน 555

(https://lh4.googleusercontent.com/-japWrr5B2Vc/U9Ty56R_vSI/AAAAAAAAyT4/McSJaRVfyY0/w388-h553-no/2014-07-25+18.45.01.jpg)

การไปดูงานติดตั้งหม้อไฟฟ้าเอง ก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างมาก
1. ลูกรอกและแร็กที่ติดบนเสาไฟฟ้า ชุดละร้อยนิดๆ ไม่เกิน 140 บาท สำหรับสองเส้น
2. ลูกรอกทำหน้าที่รั้งให้สายไฟตึง ไม่ตกท้องช้าง
3. เจ้าหน้าที่จะค่อยๆ หมุนลูกรอกจนสายไฟตึง (พอปล่อยจะหย่อนลงพองาม)
4. เสาไฟฟ้า ที่ลงหลุมแล้วได้มาตรฐาน ปีนยังไงก็ไม่มีโยก แต่ที่หน้างานปรากฎว่าโยนไป 2 ต้น เนื่องจากดินนิ่มมากเกินไป ต้องแก้โดยการเทปูนเสริมฐาน
5. เสาไฟตามมุม หากมีการหักมุมสายไฟ จะต้องมีสลิงดึงรั้งเพื่อยึดเสาไฟให้มั่น ไม่งั้นแรงดึงจากสายไฟฟ้าจะทำให้เสาล้มได้ (รวมถึงเสาไฟฟ้าต้นสุดท้ายด้วย)

ไปๆ มาๆ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเสาไฟฟ้าทั้งหมด 5 หมื่นกว่าบาท เป็นค่ามัดจำหม้อไฟฟ้า 6 พันกว่า ที่เหลือค่าเสาไฟฟ้าและค่าอุปกรณ์และค่าแรง

งานนี้แม้มีความรู้ แต่ไม่ลงมือเอง จ้างมืออาชีพทำดีกว่าครับ ปลอดภัยกว่า

แต่เราออกแบบกำหนดสเปกไว้หลักๆ ที่สำคัญ เพื่อตอบโจทย์การจัดการคือ

1. ต้องติดตั้งสะพานไฟตั้งแต่จุดแรกหลังหม้อไฟฟ้า (ติดตั้งในเสาที่ดินเราเอง ไม่สามารถติดตั้งที่เสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้)

เพื่อ อนาคตมีการแก้ไขงานไฟฟ้าภายในสวน จะสามารถตัดไฟฟ้าได้ทั้งระบบ คล้ายๆ กับเบรกเกอร์ชุดเมนของบ้านพักอาศัย

2. ต้องต่อจุดจ่ายไฟฟ้าทิ้งไว้เป็นระยะๆ และ ตอกสายดิน ให้เหมาะสม

เพื่อ ในอนาคตหากต้องการไฟฟ้าจะได้มีจุดต่อจากเสาไฟฟ้าเลย ของผมให้ติดตั้งเบรกเกอร์และสะพานไฟไว้ในตู้ เลย แต่ไม่ได้เดินสายเพิ่มเพราะยังไม่จำเป็นต้องใช้

(https://lh3.googleusercontent.com/_XdP6NT2y4y2ewHaNoVOT5mjbmzH4Y8YC0QIHtYc8nsA=w347-h552-no)


(https://lh5.googleusercontent.com/-YRQeZHrBtdA/U9T4zc5GtcI/AAAAAAAAyUY/QMq3DUmVh3c/w620-h471-no/P1140722.JPG)

ภาพนี้ครับ จะเห็นมีเสาหนึ่ง เอียง ต้องให้รถเครนมาช่วยดึงกลับ แล้วเทปูนแก้ฐานราก
(https://lh5.googleusercontent.com/-3jBxaRBXoG0/U9T4zXVYi5I/AAAAAAAAyUc/qY4u3IxlsHE/w347-h552-no/P1140724.JPG)


ส่วนปัญหาเดิมที่การไฟฟ้าไม่มาติดตั้งนั้น มีสองเรื่อง

1. ระยะที่ดินผมเกินกำหนด 1000 เมตร (มาแค่ไม่ถึง 80 เมตร) เลยแก้ไขด้วยการติดมิเตอร์ที่เสาไฟฟ้าต้นสุดท้าย และยอมเดินสายยาวจากเสาไฟฟ้านั้น เลียบผ่านแนวเสาไฟฟ้าปกติ จนถึงหน้าที่ดิน หากอนาคตมีการขยายไฟฟ้า ก็ค่อยย้ายมิเตอร์ในภายหลังได้ (อันนี้ข้อมูลพ่อตาผมผิด เพราะเข้าใจผิดเรื่องหม้อแปลง สายที่มาที่หน้าที่ดินใช้หม้อแปลงคนละตัวกับที่เห็น ระยะที่ตรวจสอบจึงผิด)

2. งานเยอะ เพราะหน้าฝน สายไฟขาดหรือมีปัญหาเยอะ แล้วทีมงานทำมีน้อย จึงต้องไปทำเคสเร่งด่วนก่อน เคสผมจึงช้า รวมระยะเวลา 2 เดือนเต็มกับการขอหม้อไฟฟ้า

3. เนื่องจากผมจ้างเพิ่มเติมนอกเหนือความรับผิดชอบของการไฟฟ้า คือ เดินสายไฟฟ้าภายในที่ดินด้วย งานจึงทำได้แค่วันเสาร์หรืออาทิตย์ ทำให้คิวที่ได้ช้า
-------------------------------

ตอนนี้สบายใจขึ้นเยอะ และช่วงนี้คงเหนื่อยเยอะ

เพราะเหลืองานอีกบานเลย กว่าจะลงต้นกล้าที่เพาะไว้ได้ 555


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ฟาร์มเงิน สารคาม ที่ กรกฎาคม 27, 2014, 08:07:33 PM

   ยินดีด้วยครับเรื่องไฟฟ้า ;) สัมฤทธิ์ผลไปอีกอย่างแล้ว แต่ปัญหาการทำเกษตร
ผมเองยอมรับเลย มีมาให้แก้เรื่อยๆ สู้ๆ ครับ  ;)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 28, 2014, 08:19:16 AM
ใช่ครับ คุณ FarmNgern มีมาให้แก้ไข ให้เปลี่ยนเรื่อย

อย่างเรื่องระบบจ่ายน้ำเหมือนกัน

ตอนแรกจะใช้ Hunter แต่ดันไปเจอตู้คอนโทรลปั้มน้ำสำเร็จรูป

ดูแล้วงานดี ช่างไฟฟ้าปกติซ่อมได้

ขาดความสามารถแค่การควบคุมวาวล์ ซึ่งสามารถเสริมอุปกรณ์ได้ แต่ก็จะได้แค่ 1 จุด (สนนราคาก็ใกล้เคียงกัน)

แต่ประโยชน์ที่ได้ ที่ทำให้ผมต้องเปลี่ยนใจคือ ระบบออกแบบมาให้รองรับไฟฟ้า 190-240 โวลต์

หากต่ำกว่าหรือสูงกว่า จะมี Timer คุมให้หยุดการทำงานนาน 3 นาที

ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ไฟฟ้าไม่เสถียรได้ดี

ในขณะที่ของ Hunter หากอนาคตระบบไฟฟ้ามีปัญหา ผมต้องหาอุปกรณ์อื่นๆ มาติดตั้งเพื่อแก้ปัญหาเหมือนกัน

สรุป ผมเปลี่ยนใจใช้ของไทย คนไทยประกอบ เพราะ
1. หากเสีย ช่างไฟฟ้าทั่วไป ซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนได้ หากผมไม่สะดวก ก็ยังจ้างคนงานวิ่งไปซื้อของตามรหัส แล้วให้ช่างไฟฟ้าแถวๆ สวนเปลี่ยนได้
2. ได้วงจรป้องกันไฟตก ไฟเกิน แบบมี Timer (จริงๆ ตัวปั้มมีชุดคอนโทรลเล็กๆ อยู่แล้ว แต่ไม่แน่ใจเรื่องเคสที่รองรับว่าดีแค่ไหน และเป็นรีเลย์ดังนั้น ถ่วงเวลาไม่นานมากเหมือนตู้คอนโทรล
3. ติดตั้งง่าย เดินสายง่าย งานเรียบร้อย

--------------------------------------------------
และจากการไม่ใช้ Hunter เท่ากับว่า ผมไม่มีอะไรไปสั่งวาวล์ ให้เปิดหรือปิด (ถ้าไม่หาชุดคอนโทรลมา)

ผมเลยเปลี่ยนการออกแบบ จากเดิมใช้มินิสปริงเกอร์ในการจ่ายน้ำ แล้วต้องแบ่งถึง 4 โซน

ผมเปลี่ยนเป็น จ่ายน้ำด้วยระบบหัวน้ำหยด ซึ่งด้วยประสิทธิภาพของปั้ม SAER BP/5 ทำให้ผมสามารถจ่ายน้ำได้ทั้งหมดในพื้นที่ โดยไม่ต้องแบ่งโซน

ส่วนการควบคุมปริมาณน้ำ ของพืช ใช้หัวน้ำหยดรุ่นที่สามารถหมุนปรับแรงได้แทน

ซึ่งด้วยสเปกปั้มเอาง่ายๆ 20,000 ลิตรต่อชั่วโมง หรือเท่ากับ 333.33 ลิตรต่อนาทีโดยประมาณ

หากหัวน้ำหยด 1 หัวจ่ายน้ำได้ 3 ลิตรต่อชั่วโมง เท่ากับปั้ม 1 ตัว รองรับต้นไม้ได้ 6666 ต้น

ซึ่งถ้าปลูกมะนาวระยะ 2*4 ไร่หนึ่งปลูกได้ 200 ต้น เท่ากับ ปั้ม 1 ตัวรองรับได้ถึง 30 ไร่

แต่ผมจะปรับหัวจ่ายน้ำหยด เป็นหัวจ่ายน้ำไหล 555 โดยคำนวณให้จ่ายน้ำ 10 นาที ได้น้ำ 5 ลิตร

ดังนั้น จะรองรับได้ 666 ต้น ซึ่งตอบโจทย์ในเฟสแรกที่จะปลูกมะนาวประมาณ 600 ต้น

คำนวณได้ตามนี้ เลยเปลี่ยนแผนความคิดเลย

ซึ่งหมายถึง ไม่ต้องใช้วาวล์ไฟฟ้าในการควบคุมแล้ว ประหยัดได้ 10,000 บาท
---------------------------------------------------------

แต่ยังติดปัญหาเรื่อง กาลักน้ำ ในระบบปั้มอีก ปัญหาหนึ่ง

กล่าวคือ ปั้มน้ำทั่วไป น้ำจะไหลผ่านได้ ดังนั้นหากปั้มต่ำกว่าระดับน้ำ น้ำจะไหลไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำจะหมด

งานนี้แก้ไขด้วยการเดินท่อสูบ แล้วติดตั้งเช็ควาวล์กลับหัว ไว้จุดบนสุดแทน เพื่อในเวลาที่ไม่เปิดปั้ม แรงดันน้ำจะน้อยกว่าแรงดันอากาศและอากาศจะถูกดูดมาแทนที่ ซึ่งทำให้สภาพกาลักน้ำถูกทำลายนั้นเอง

ส่วนอากาศที่ถูกดูดเข้ามาบ้าง ก็จะถูกไปกักไว้ใน แอร์แวะ แทน ซึ่งจะช่วยสร้างสภาพแรงดันให้ดีขึ้น พอหยุดปั้ม ก็จะมีแรงดันอยู่ระยะหนึ่งจนอากาศหมดสภาพแรงดัน อากาศส่วนหนึ่งก็จะไหลออก ตามหัวน้ำหยด

กลับสู่สมดุลย์
----------------------------------------------

สิ่งที่เขียนนี้ เป็นอย่างไร อีกไม่กี่สัปดาห์จะไปติดตั้งจริงๆ แล้ว จะถ่ายภาพมาอธิบายละเอียดๆ อีกที


--------- อัพเดต 16/02/2558 เผื่อใครตามอ่าน------
ผมเปลี่ยนจากหัวน้ำหยดปรับได้ เป็นแบบปรับไม่ได้ เพราะมันทำงานได้ยากมาก ปรับไม่ได้ทำงานสบายกว่าเยอะ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 29, 2014, 07:54:29 AM
เมื่อคืนคุยกับคุณ Pasin_458 สั่งประกอบตู้คอนโทรลไปเรียบร้อย

สองตู้

ตู้แรก ควบคุมปั้มบาดาล โดยมีฟังก์ชันดังนี้
1. ป้องกันไฟตก ไฟเกิน ด้วย Phase Protector
2. มีเบรกเกอร์ใหญ่ควบคุมทั้งตู้
3. มี Timer ตั้งเวลา ได้วันละ 17 ครั้ง กำหนดช่วงเวลาอิสระ กำหนดวันได้ตามโปรแกรม เป็นดิจิตอล ไฟฟ้าดับโปรแกรมไม่หาย
4. เชื่อมต่อสวิตซ์แรงดัน สำหรับเปิดการทำงานในกรณีที่แรงดันน้ำในท่อลดลง
5. มีไฟบอกสถานะการทำงานของปั้ม
6. มีสวิตซ์ควบคุม Auto, Manual, Off
7. ตู้เหล็กกันน้ำล็อกได้

ตู้สอง ควบคุมปั้มจ่ายน้ำ โดยมีฟังก์ชันคล้ายกันดังนี้
1. ป้องกันไฟตก ไฟเกิน ด้วย Phase Protector
2. มีเบรกเกอร์ใหญ่ควบคุมทั้งตู้
3. มี Timer ตั้งเวลา ได้วันละ 17 ครั้ง กำหนดช่วงเวลาอิสระ กำหนดวันได้ตามโปรแกรม เป็นดิจิตอล ไฟฟ้าดับโปรแกรมไม่หาย
4. เชื่อมต่อสวิตซ์ลูกลอยแบบตลับ ป้องกันน้ำหมดแท็งก์ และปลอดภัยด้วยแปลงให้เป็นระบบ 12V
5. มีไฟบอกสถานะการทำงานของปั้ม
6. มีสวิตซ์ควบคุม Auto, Manual, Off
7. ตู้เหล็กกันน้ำล็อกได้

สนนราคารวมอุปกรณ์ลูกลอยและสวิตซ์แรงดัน พร้อมค่าขนส่ง 9800 บาท ไม่แพง ไม่ถูกสุด

---------------------------------------------------------------------

ช่วงนี้ ผู้จัดการกิตติมศักดิ์ หรือ พ่อตาของผม เริ่มทำงานเข้าขากันดี เห็นภาพรวมตรงกัน (คนเราก็แบบนี้ละ กว่าจะทำงานกันลงตัวก็ต้องใช้เวลาศึกษาร่วมกัน) งานช่วงนี้เลยเดินหน้าได้เรื่อยๆ ตามแผนงาน

เมื่อวานวันจันทร์ คนงานก็ไปเคลียร์พื้นที่ ปักไม้ตำแหน่งปลูก ได้ 800 ต้นพอดีๆ

(https://lh3.googleusercontent.com/-W1dd4vHpyJA/U9b4GOfPCCI/AAAAAAAAyU0/LPBZKHkegoI/w737-h553-no/12220.jpg)

ไม่ผิดจากที่คำนวณ แต่ปลูกจริงๆ คงไม่ถึง เพราะต้องเว้นพื้นที่บางจุดที่มีต้นไม้ใหญ่ ที่ยังไม่ได้เคลียร์ออก

ส่วนเสาไฟฟ้าชุดแรกเสร็จแล้ว เหลือชุดสอง ที่ยังมาส่งไม่ได้ เนื่องจากฝนตก ดินนิ่ม รถบรรทุกเข้าไม่ได้ เลยยังเอาเสามาลงไม่ได้ก็ต้องรอกันต่อไป

เสานะรอ แต่สายไฟ ไม่รอ 555 ผมกะวางลงดินเลย เป็นการชั่วคราว เพราะสายไฟมีฉนวนอยู่แล้ว


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: pook_kkf ที่ กรกฎาคม 29, 2014, 12:10:18 PM
แวะมาให้กำลังใจ สู้ๆๆ :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 30, 2014, 08:21:20 AM
เมื่อวานโทรไปสั่งอุดหนุนคุณชาย ท่ายาง ตามโครงการคืนความสุขเรียบร้อย อีก 630 ต้น

ความมันบังเกิดตรงที่ค่าขนส่งมะนาวเท่ากับ 12*300 = 3600 บาท มูลค่าขนาดนี้ แม้ว่าหากคิดค่าเสื่อมรถยนต์ของเราเองจะคุ้มค่าก็ตาม

แต่ผมไม่เคยไปเยี่ยมสวยคุณชายเลย

เลยจัดโปรแกรม กทม. ท่ายาง ชุมแพ... นัดหมายเรียบร้อย 23 สิงหาคม รับกิ่งตอน มะนาวแป้นรำไพ

วางแผนงานไปมา โอ้ว... ชีพจรลงล้อทุกสัปดาห์... จนกว่าจะปลูกเสร็จ

เพราะประสบการณ์มีแล้ว ทิ้งไม่ได้ สั่งเฉยๆ ไม่ได้ ต้องอยู่ดูจนจบ เพื่อให้งานออกมาถูกใจเราที่สุด

555

เมื่อวานเมล์วิธีแก้ดินเค็มของศูนย์ ส่งมา มีข้อมูลตามนี้

แนวทางการแก้ไขปัญหาดินเค็ม
ผลวิเคราะห์ดินรายงานเลขที่ SF2557/178 มีค่า ECe ประมาณ 4 dS/m แสดงว่าความเค็มของดินเริ่มมีผลกระทบต่อพืชที่ไม่ทนเค็ม จึงควรระวังอิทธิพลของความเค็มต่อพืช อาจทำโดย
- หมั่นดูแลให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อชะเกลือที่จะมาสะสมในบริเวณรากพืช
- รักษาผิวหน้าดินไม่ให้ว่างเปล่า เพื่อลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ซึ่งจะเป็นเหตุที่ส่งเสริมให้เกลือขึ้นมาสะสมที่ผิวดิน  อาจทำโดยการคลุมดิน หรือปลูกพืชปกคลุมผิวดิน
- ลดระดับน้ำใต้ดินลง เพื่อลดการเคลื่อนที่ของเกลือโดยละลายมากับน้ำขึ้นสู่ผิวดิน  อาจทำโดยปลูกต้นไม้ทนเค็ม
- ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีการระบายน้ำดี อาจทำโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด
- ในกรณีที่ยังไม่ได้ปลูกมะนาว แนะนำให้ใส่แกลบหรือใส่ผสมกับยิปซั่มรองก้นหลุม

--------------------------------------------------------------------

ดังนั้นในการปลูกมะนาวของผม ผมมีสูตรผสมวัสดุปลูกแตกต่างจากคนอื่นๆ

เนื่องจากดินต้องแก้ปัญหา จึงต้องขุดหลุมใหญ่ 50*50*40  เพื่อเอาดินที่รากจะทำงานในช่วงปีแรกๆ ออก

แล้วใส่ดินสูตรพิเศษเพื่อรองก้น ดังนี้

ดินปลูกรองก้นหลุม สูตร 1 (คำนวณให้เฉพาะในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ใครต้องการลอก ต้องไปปรับแต่งตามผลตรวจดินเองครับ)

กลุ่มปุ๋ยคอก (เก่าเก็บ)
1. ปุ๋ยขี้ค้างคาว  1 ส่วน
2. ปุ๋ยขี้วัว       4 ส่วน
3. ปุ๋ยขี้ไก่       1 ส่วน

กลุ่มอินทรีย์วัตถุโดยตรง
4. แกลบเผา     4 ส่วน
5. แกลบดิบ      3 ส่วน (แบ่งไป 1 ส่วน รองก้นหลุม)

กลุ่มแก้ปัญหาดิน
6. ภูไมท์ซัลเฟต  1 ส่วน

จากนั้นผสมส่วนประกอบทั้ง 6 เข้าด้วยกัน เก็บไว้แยกเป็นดินปลูกรองก้นหลุม

จากนั้นทำดินปลูกสูตร 2

เป็นกลุ่มดินที่จะอยู่ใกล้ราก โดยสูตรจะเป็นต่อต้น ดังนั้นในการผสมจะปลูกกี่ต้น ก็คูณเข้าไปผสมทีเดียวได้เลย

ประกอบด้วย
1. หินฟอสเฟต 100 กรัม
2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาสด จากข้าวสวย 2 ช้อน
3. สตาร์เกิลจี ป้องกันแมลงระยะต้นอ่อน ได้ 45 วัน 10 กรัม
4. แกลบดิบ  1 กิโลกรัม
5. ปุ๋ยคอก    1 กิโลกรัม

จากนั้น วิธีการปลูก
1. นำแกลบดิบ รองก้นหลุมให้ทั่ว ไม่ต้องหนามาก
2. ราดน้ำยาป้องกันแมลง ฟิโฟรนิล ป้องกันมด ปลวก แมลงใต้ดินต่างๆ ประมาณหลุมละ 5 ลิตร
3. ตักดินบริเวณหลุม มาผสมกับดินปลูกรองก้นหลุม สูตร1 ในปริมาณ ดิน 1 ต่อ ดินปลูก 10 ส่วน
4. นำดินที่ผสมแล้วเติมลงไปให้เหลือหลุมขนาด 20*20*20
5. นำต้นกล้ามะนาว มาตั้งให้ตรง ผูกเข้ากับไม้หลัก โดยไม้หลักวางแนว 45 องศากับพื้น
6. นำดินปลูกสูตร 2 ใส่ลงไปให้เต็มหลุม
7. รดน้ำให้ชุ่ม
8. เติมดินปลูกรองก้นหลุม ให้พูนโคนต้น
9. นำหญ้าสับ มาปิดคลุมหน้าดินให้รอบโคนต้น ป้องกันหญ้า และรักษาความชื้น

เป็นอันเสร็จ

---------------------------------------------------------
นี่คือ แผนงานที่จะทำในวันที่ 24 ส.ค. วันที่ผมอาจเรียกได้ว่า เป็นวันแรกของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ที่ได้ลงปลูกต้นกล้าต้นแรก ตามความฝัน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 30, 2014, 10:34:03 AM
ขออนุญาต เปลี่ยนชื่อแสดงในเว็บนะครับ

ของเดิม avatayos คนอ่านไม่ออก ไม่เข้าใจ อาจจะ งงๆ กันไป

เปลี่ยนใหม่เป็น "คุณบรีส ชุมแพ"

จะได้เข้าใจง่ายๆ ว่าใคร อิอิ

....

ปล. แจ้งสำหรับคนอื่นๆ ที่เข้ามาอ่านใหม่ๆ จะได้ไม่งงว่า แรกๆ ทำไมเรียกกัน avatayos


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ กรกฎาคม 30, 2014, 02:23:54 PM
เมื่อเย็นวาน  ได้คุยกับกูรูมะนาวท่านหนึ่ง  เคยปลูกเมื่อหลายปีมาแล้ว  มะนาวตลอดฤดู  ไม่ใช้วงบ่อ  แต่ที่ต้องไม่มีน้ำขัง  ขุดหลุมลึกประมาณ 60 cm  กว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยทุกชนิดแบบขี้วัว แกลบ  ฟางข้าว  ฯลฯ  แบบฉบับชาวบ้านว่างั้น  ผสมกับหน้าดินประมาณ 30 cm  ยังคงความลึกไว้ที่  30 cm  นะคะแล้วปลูกกล้ามะนาว  เทคนิคคือการใส่ปุ๋ยเคมีกับน้ำเดือนละ 2 ครั้ง  ใส่น้ำให้เต็มปากหลุม ประมาณนี้ละคะ(เป็นความรู้ใหม่)  ดึกมากแล้วแกก็เมาด้วย  ;D ;D ;D  เลยได้มาเเค่นี้  วันหลังจะถามมาอีกนะคะว่าการบำรุง ดูแลรักษายังไง  จากที่ศึกษามาก็ประมาณมะนาวกระถาง  วงบ่อ  ยกดิน  แต่ยังไม่มีมะนาวหลุม


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 30, 2014, 02:58:46 PM
เมื่อเย็นวาน  ได้คุยกับกูรูมะนาวท่านหนึ่ง  เคยปลูกเมื่อหลายปีมาแล้ว  มะนาวตลอดฤดู  ไม่ใช้วงบ่อ  แต่ที่ต้องไม่มีน้ำขัง  ขุดหลุมลึกประมาณ 60 cm  กว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยทุกชนิดแบบขี้วัว แกลบ  ฟางข้าว  ฯลฯ  แบบฉบับชาวบ้านว่างั้น  ผสมกับหน้าดินประมาณ 30 cm  ยังคงความลึกไว้ที่  30 cm  นะคะแล้วปลูกกล้ามะนาว  เทคนิคคือการใส่ปุ๋ยเคมีกับน้ำเดือนละ 2 ครั้ง  ใส่น้ำให้เต็มปากหลุม ประมาณนี้ละคะ(เป็นความรู้ใหม่)  ดึกมากแล้วแกก็เมาด้วย  ;D ;D ;D  เลยได้มาเเค่นี้  วันหลังจะถามมาอีกนะคะว่าการบำรุง ดูแลรักษายังไง  จากที่ศึกษามาก็ประมาณมะนาวกระถาง  วงบ่อ  ยกดิน  แต่ยังไม่มีมะนาวหลุม

จริงๆ แล้ว การจะปลูกอะไร ขอให้เข้าใจนิสัยมันก็พอครับ แล้วไปประยุกต์เอาตามความเหมาะสมของพื้นที่

มะนาวมีนิสัย - ชอบชื้นๆ ไม่ชอบเปียก ดังนั้นน้ำขังไม่ได้ ถ้าน้ำขัง รากเน่า โคนเน่ามาเลย ... ภาพรวมมะนาวส่วนใหญ่ที่ปลูกแล้วสำเร็จกัน จึงมีทั้งแบบยกร่องสวน แถวๆ เพชรบุรี หรือปลูกในบ่อซีเมนต์ ซึ่งถ้าดูส่วนผสมลงปลูกแล้วจะเห็นว่า มีการใส่ทรายด้วยซ้ำไป เพื่อให้เกิดการระบายน้ำได้ดี

และเพราะต้องชื้นๆ ดังนั้น ดินที่ปลูกจึงต้องมี OM มาก เพื่ออุ้มความชื้น แต่ไม่อุ้มน้ำ

ส่วนการบังคับออกผล ก็ใช้หลัก C/N ตามปกติ หากรอบการบำรุงชัดเจน มะนาวก็สามารถออกลูกได้ทั้งปี โดยไม่จำเป็นต้องทำแค่รอบเดียว เมื่อใดที่กิ่งอายุเกิน 90 วัน เขาจะพร้อมออก ตาดอก หรือ ตาใบ

การจะออกเป็นตาดอก ก็ต้องมีดู C/N ว่าพร้อมไหม ถ้าพร้อมมันก็ออก

บางสวน จึงไม่ทำนอกฤดู แต่เลี้ยงแบบให้ออกทั้งปี

การจะให้มะนาวออกลูกอย่างไร จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของสวนต้องคิดครับ

ว่า จะให้ออกเรื่อยๆ ได้เงินเรื่อยๆ Cash Flow มาเรื่อยๆ สบายๆ

หรือจะอดเปรี้ยวไว้กินหวาน อดมะนาวไม่ให้ออก เด็ดทิ้งหมด แล้วทำครั้งเดียวให้ออกพร้อมๆ กันทุกกิ่ง ได้จำนวนผลมาก ได้ราคาสูง

... ที่สำคัญ ผมเคยเขียนไว้หน้าก่อนๆ...

การเกษตร ที่ประสบความสำเร็จคือ ระบบการเกษตรที่ทำซ้ำได้

หมายถึง ให้คนอื่นๆ ไปทำซ้ำได้

ความสำเร็จของสวนมะนาวบางสวน อาจสำเร็จ เพราะปรับจนเหมาะกับพื้นที่ตนเอง แต่นำหลักการแบบเดียวกันไปใช้ที่อื่นๆ ไม่ได้ผล...

ส่วนผม ผมเลือกใช้ สูตรสวนมะนาวในฝันของอาจารย์รวีครับ สูตรของอาจารย์ เกือบ 100%

เดินตามผู้ใหญ่...ตามรุ่นพี่ๆ ที่เดินมาก่อน

ยังมิกล้าลองผิดลองถูกด้วยตนเองครับ (แต่มีแน่นอน อย่างที่บอกไว้แล้วว่า มีพื้นที่สวนทดลองเพื่อทดสอบสิ่งต่างๆ ของตนเอง)

เป้าหมายผม ลงมะนาวทุกต้น ก่อน กันยายน ถึงมิถุนายนปีหน้า ต้นมะนาวจะอายุ 10 เดือน มีความเหมาะสม และโตพอจะทำสาว ให้ลูกได้ ก็จะทำนอกฤดูในเดือนมิถุนายน

เก็บลูกขาย เดือนเมษายน ปี 2559

และทุกปี จะตอนกิ่งขายช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม และเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ซึ่งในปี 58 จะเริ่มทำกิ่งตอน เดือนพฤษภาคม เป็นรอบแรกครับ เป้าหมายชุดแรก ก็จะตอนใช้ภายในสวนเกษตรโชคดีชุมแพก่อน เพราะต้องปลูกขยายอีก 1200 ต้น

ปี 2561 ถึงจะมีกำลังการผลิตลูกมะนาวเต็มกำลังครับ ตั้งเป้าไว้แค่ 200 ลูกต่อต้น ก็ 400,000 ลูกต่อปี แต่เห็นอาจารย์รวีท่านว่า ลงดินตอนนี้หลักพันลูก ถ้าได้จริงๆ ก็ 2,000,000 ลูก

เก็บกับมือระวิงเลยละครับ 555

ตอนนี้ก็ได้แต่ฝัน สร้างภาพในหัว แล้วลงมือทำให้เป็นจริง...


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ฟาร์มเงิน สารคาม ที่ กรกฎาคม 30, 2014, 05:51:15 PM

  อดเลยปีนี้ ว่าจะเอาข้าวหอมมะลิสารคาม ไปแลกเปลี่ยนมะนาวชุมแพ  ;)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กรกฎาคม 31, 2014, 08:40:08 AM
มีปัญหาให้แก้ไขได้ทุกวัน 555

วันนี้ขอเสนอเรื่อง การแก้ไขดิน ในเรื่องของ OM หรือ อินทรีย์วัตถุ

เรื่องวัสดุปลูก เดิมทีค่อยๆ ทะยอยสะสมแกลบดิบ จากชาวบ้าน เก็บมาเรื่อยๆ เพราะบางบ้านสีข้าวกินกันเอง เหลือแกลบใส่ถุงไว้

ถึงตอนนี้เก็บมาได้ประมาณ 150 ถุงปุ๋ย ถามว่าพอไหมสำหรับมะนาว 800 ต้น

บอกเลยว่า ไม่พอ

เนื่องจากผลตรวจดินออกมาว่ามี OM เพียง 0.57% โดยพื้นฐานต้องทำให้ได้ 3% ตามน้ำหนักขึ้นไป

แต่หากคิดตามน้ำหนักจะยาก เพราะต้องหาน้ำหนักดินก่อนว่าเท่าไร แล้วมาเอาเป็นน้ำหนัก OM

ซึ่งน้ำหนัก OM มันเบากว่าเยอะ ดังนั้นโดยปริมาตรแล้ว จะต้องใช้มากกว่า ปริมาตรของดิน


โดยทั่วไป ดินร่วน 1 ลบ.ม. หนักประมาณ 1.2 ตัน ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย ก็จะมากกว่า 1.2 ตัน

ผมขอใช้ตัวเลขนี้ คือ 1200 กิโลกรัม

เราต้องการ OM 3% ก็เท่ากับ  36 กิโลกรัมต่อลบ.ม.

แกลบดิบ 1 ลบ.ม หนักประมาณ 300 กิโลกรัม

ดังนั้นต้องใช้แกลบ 0.12 ลบ.ม

แต่จะใช้แกลบดิบอย่างเดียวไม่ได้ เพราะกว่าจะย่อยสลาย จึงต้องใช้เป็นแกลบดำ ผสมด้วยอย่างละครึ่งๆ

ดังนั้น แกลบดิบต้องใช้ 0.06 ลบ.ม แต่แกลบดำ ต้องใช้ 0.12 ลบ.ม เพราะโดยน้ำหนัก แกลบดำจะหนักกว่าแกลบดิบ 2 เท่า

ข้อมูลเรื่องน้ำหนักผมหาจากเน็ตนะครับ ไม่รู้ว่าเชื่อถือได้แค่ไหน

ดังนั้นหากคิดง่ายๆ ผมต้องใช้แกลบจริงๆ 0.18 ลบ.ม ต่อหลุม

หรือเท่ากับ 144 ลบ.ม

แต่ทั้งนี้หมายถึง 144 ลบ.ม เท่ากับ 3% โดยน้ำหนักของดิน

สูตรคำนวณนี้จะใช้สำหรับ ผืนดินที่ต้องการปรับปรุงสภาพทั้งผืน โดยความลึก 1 เมตร ซึ่งถ้าทำนาทั่วๆ ไป ความลึกหลังผลิกดินก็เท่ากับ 50 ซม.

และผมคำนวณโดยใช้ 800 เป็นตัวคูณ จึงหมายถึง 800 ตร.ม. และหากลดความลึกลง ก็จะได้ว่า 1 ไร่ (1600 ตร.ม.) ต้องเสริมแกลบลงไป 144 ลบ.ม หรือ 144*300 = 43200 กิโลกรัม

เท่ากับประมาณ 2 คันรถบรรทุก

-----------------------------------------------
แต่ในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ หลุมปลูกของเราใส่ดินน้อยมาก หากคิดเป็นดินจริงๆ น่าจะไม่เกิน 3 พลั่ว ประมาณ 20 กิโลกรัมของน้ำหนักดิน

เมื่อคำนวณด้วยสูตรข้างบน ที่ 3%

เท่ากับต้องเพิ่ม OM = 0.65 กิโลกรัม

ต้องใช้ 800 หลุมก็ประมาณ 520 กิโลกรัม

แต่เพื่อให้ดินปลูกมีคุณสมบัติที่สุดยอด และพร้อมสำหรับการเดินราก

ผมตั้ง OM ไว้ที่ 40% ดังนั้นต้องใช้แกลบทั้งหมด 6400 กิโลกรัม

หรือประมาณ 22 ลบ.ม.

โดยใส่หลุมเป็นปริมาตร ประมาณหลุมละแค่ 50 * 50 * 12 ซม. เท่านั้นเอง  เมื่อคลุกกับดิน ปุ๋ย และอื่นๆ ก็จะได้พอดี (อาจทำให้ % ของ OM ลดลงบ้าง อยู่แล้วตามธรรมชาติ เมื่อรดน้ำ ดินก็ยุบตัว แต่ด้วย KPI ที่ตั้งไว้ 40% จึงเหลือเฟือ ใช้ได้อีกนาน)






หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: o_un ที่ สิงหาคม 01, 2014, 01:11:58 AM
เห็นนิ้วหัวแม่มือ อยู่หน้ากระทู้ เอ๊ะ..มันคืออะไร ลองเข้ามาอ่านดู ไม่ผิดหวังจริงๆ ได้แนวคิด และความรู้ อีกเยอะเลย นี่แค่หนังต้นเรื่อง ยังเข้มข้นขนาดนี้  :-[ไม่ติดตามดูต่อ คงพลาดของดีเป็นแน่เลย


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 01, 2014, 04:00:33 PM
เห็นนิ้วหัวแม่มือ อยู่หน้ากระทู้ เอ๊ะ..มันคืออะไร ลองเข้ามาอ่านดู ไม่ผิดหวังจริงๆ ได้แนวคิด และความรู้ อีกเยอะเลย นี่แค่หนังต้นเรื่อง ยังเข้มข้นขนาดนี้  :-[ไม่ติดตามดูต่อ คงพลาดของดีเป็นแน่เลย

หนังเรืองนี้ยาวครับ 555

ติดตามกันไปนะครับ

--------------------------------------

วันนี้เคลียร์แผนงานกับพ่อตาเรียบร้อย จัดคนงานลงขุดหลุม 50*50*50

วางแผนแก้ปัญหา หากหาแกลบมาได้ไม่เพียงพอ ด้วยการเตรียมหลุมแบบง่ายๆ ตามภาพ 555

(https://lh5.googleusercontent.com/-kYzQ_Eo-N3c/U9taojRLHoI/AAAAAAAAyVc/st9reHsI5t4/w500-h321-no/2014-08-01%2B09.14.26.jpg)


ส่วนหลุมจริงๆ ตอนนี้ขุดเรียบร้อย 50*50*50 (ดูจากภาพเหมือนเล็กๆ )
(https://lh5.googleusercontent.com/---mxTEwyhbM/U9tc4gHph5I/AAAAAAAAyVs/8Umo6wp-T1o/w620-h520-no/13062.jpg)

งานเผาแกลบดิบ เป็นแกลบดำ ก็ทำตามวิธีการพื้นฐานครับ

จัดหาปี๊บ ปล่องควัน เจาะรูที่ปี๊บ จุดไฟในปี๊บ แล้วเอาแกลบใส่ คอยกลับบ้าง ห้ามไหม้ พอได้ที่ก็ฉีดน้ำ ให้หยุดเผาไหม้ตัวเอง

(https://lh3.googleusercontent.com/-Wq4dBXi7Wc0/U9teX3mwgaI/AAAAAAAAyW0/Rh1VujHHi0k/w620-h520-no/13019.jpg)

จบเรื่องวัสดุปลูกไปได้ เรื่องต่อไปคือ เสาไฟฟ้า ที่มาไม่ครบเมื่อสัปดาห์ก่อน

วันนี้ก็มาส่งตามกำหนด และจ้างเพิ่มเติมในการวางแท็งก์น้ำ ขนาดรวม 9 คิว

(https://lh6.googleusercontent.com/-o5noJZAuJOU/U9te8UC5xdI/AAAAAAAAyXM/EIga2jWhyQE/w620-h520-no/13188.jpg)

(https://lh4.googleusercontent.com/-mI5p8zeSBQ8/U9te8JOwJ8I/AAAAAAAAyXE/P8_5NZaKtys/w620-h520-no/cashflow2.jpg)

(https://lh3.googleusercontent.com/aYaO_S2cs31ec3_udH2NuVNsKwPgY59f0bZeoR5ltUQf=w620-h520-no)


เห็นงานเดินหน้า แม้ตัวจะอยู่ กทม. ก็สบายใจ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 04, 2014, 08:49:02 AM
ทบทวนการออกแบบระบบให้น้ำการเกษตร

เสาร์อาทิตย์ วิ่งวุ่นซื้ออุปกรณ์สำหรับเดินระบบน้ำ

เพราะไม่แน่ใจว่าอุปกรณ์ที่เราต้องการในตัวอำเภอจะมีครบไหม บางอย่างที่กทมก็ถูกกว่า

อุปกรณ์ท่อ PVC นี่ เป็นสิ่งของที่เหมือนไม่ต้นทุน แต่ต้นทุนเต็มๆ เลย 555

คิดไปคิดมา ผมจึงทบทวนโจทย์บางอย่าง ตามที่ได้แจ้งไว้ในข้อความก่อนๆ

โจทย์คือ "เป็นไปได้ไหมที่จะให้ปั้ม SAER BP/5 ตัวเดียวจ่ายน้ำได้ 10 ไร่ ให้กับมะนาว 2000 ต้น"

ดูจากสเปกปั้มแล้ว จ่ายน้ำสบายได้ 20Q ต่อชั่วโมง หรือเท่ากับต้นละ 10 ลิตรต่อชั่วโมง

ทีนี้มาดูหลักการปรับแบบที่เคยออกกันครับ

สเปกปั้มจริงๆ จ่ายได้ 40Q แต่การใช้งานพื้นฐานได้ 25Q ผมเอาเลข 20Q เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ และตัดปัญหาเรื่องการสูญเสียแรงดันต่างๆ ภายในท่อออกไปด้วย จะได้ไม่ต้องเอาค่า H มาเทียบคำนวณ (แต่ถ้าใครอยากคำนวณแบบแม่นๆ ก็จัดไปครับ สูตรตามที่ผมเคยเขียนไว้)

ก่อนอื่นเลือกท่อก่อน ท่อเมนใหญ่สุดที่ใช้ได้คือ ท่อ 3 นิ้ว เพราะอัตราไหลสูงสุดในท่อคือ 27Q ต่อชั่วโมง

ใช้ท่อ 2 นิ้วไม่ได้ เพราะอัตราไหล 12.5Q ต่อชั่วโมง (น้อยกว่าที่ปั้มทำได้ จะกลายเป็นอั้นอัตราไหลของปั้ม)
ใช้ท่อ 4 นิ้วไม่ได้ เพราะอัตราไหล 45.5Q ต่อชั่วโมง (มากเกินไปที่ปั้มจะทำได้ เท่ากับลงทุนโดยเปล่าประโยชน์)

จากนั้น ท่อ 3 นิ้ว เราแตกท่อแขนงได้สูงสุดเท่าไร ก็เลือกท่อตามปริมาณน้ำที่ต้องจ่าย

ในสภาพแวดล้อมภายในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ผมเลือกท่อแขนง ทั้งหมด 6 ท่อ เป็นท่อ 2 นิ้ว

อัตราไหลรวมจริงๆ หากใช้ท่อ 2 นิ้วจ่ายน้ำออก จะเท่ากับ 75Q ต่อชั่วโมง ... แต่ตัวเลขนี้เราไม่ใช้ 555

ในเฟสแรก เราจะต่อท่อแขนง 2 นิ้ว จ่ายน้ำเพียง 3 ท่อ โดย 2 ท่อ จ่ายน้ำให้กับมะนาว 800 ต้น

ส่วนอีก 1 ท่อ จ่ายน้ำให้กับ กอไผ่ ประมาณ 100 ก่อ

โดยจากท่อ 2 นิ้ว จะเชื่อมต่อไปยังท่อ PE 20mm โดยท่อ 2 นิ้วชุดที่จ่ายน้ำให้มะนาว แต่ละท่อจะเชื่อมต่อกับ PE ทั้งหมด 20 เส้น

ตัว PE 1 เส้น จ่ายน้ำได้ตามสเปกที่ 1.6Q ต่อชั่วโมง แต่ 1 เส้น ใช้กับมะนาว 40 ต้น

เท่ากับจ่ายได้สูงสุดต้นละ 40 ลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งเพียงพอต่อการจ่ายน้ำให้หัวน้ำหยด

(ซึ่งหมายถึงถ้าจะใส่หัวมินิสปริงเกอร์ขนาด 120 ลิตรต่อชั่วโมง ก็ไม่มีประโยชน์ ต้องปรับการออกแบบอีก)


ทีนี้ท่อแขนง 2 นิ้ว ผมต่อกับ PE 20 เส้น เท่ากับ 32Q ต่อชั่วโมง (มาจาก 1.6Q*20)

แต่ท่อ 2 นิ้ว อัตราไหลสูงสุด 12.5Q ต่อชั่วโมง

และท่อเมน 3 นิ้ว อัตราไหลสูงสุด 27Q (แต่ปั้มจ่ายได้สูงสุดคิดที่ 20Q)

ต่อท่อ 2 นิ้ว 3 ท่อ เท่ากับจ่ายน้ำให้ท่อ 2 นิ้วได้ 20/3 = 6.66Q ต่อชั่วโมง

ดังนั้น ท่อ PE แต่ละเส้นจะได้น้ำไปเพียง 9000/20 = 333.33 ลิตรต่อเส้น

แต่ละเส้นจ่ายน้ำให้ต้นมะนาว 40 ต้น เท่ากับ ได้น้ำต้นละ 8.3 ลิตรต่อชั่วโมง

ซึ่งมะนาวเป็นต้นไม้ที่ชอบดินชื้นๆ การจ่ายน้ำ 8 ลิตรต่อชั่วโมง ถือว่าไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับมะนาว

--------------------------------------
ทีนี้ เราก็ต้องมาเลือกหัวน้ำหยด จากสเปกได้ 8 ลิตรต่อชั่วโมง เราจะเลือกหัวแบบตายตัวที่ 8 ลิตรต่อชั่วโมงเลยก็ได้

แต่ด้วยราคาเท่าๆ กัน ผมเลือกหัวจ่ายน้ำหยดแบบปรับปริมาณได้ 1-120 ลิตรต่อชั่วโมง มาแทน

เป็นงานยากขึ้น เพราะต้องมานั่งวัดก่อนว่าหมุนหัวเท่าไร จ่ายน้ำเท่าไร 555 แต่ก็ดีในอนาคต หากมีการปรับการออกแบบ เช่น ใช้ปั้มใหญ่ขึ้น  เปลี่ยนท่อ

หรือแบ่งโซน เพื่อจ่ายน้ำให้เยอะขึ้น ก็สามารถปรับหัวจ่ายให้จ่ายน้ำมากกว่านี้ได้

แต่หากเลือกน้ำหยด ตายตัว จะปรับอะไรไม่ได้เลย

---------------------------------------

ส่วน ตารางการจ่ายน้ำ เนื่องจาก ผมทำแท็งเก็บน้ำไว้เพียง 9 คิว (ใช้จริงๆ น่าจะได้แค่ 8 คิว เพราะเผื่อพื้นที่ตะกอนก้นบ่อไว้พอควร)

ดังนั้นจ่ายน้ำครั้งหนึ่ง เพียง 20-24 นาที น้ำก็จะหมดแท็งก์

และเวลาในการเติมน้ำ ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

สรุป 1 รอบจ่ายน้ำใช้เวลา 2 ชั่วโมง

ทั้งนี้ เพราะ ปั้มจ่ายน้ำเป็นปั้ม 2 แรง ส่วนปั้มเติมน้ำเป็นปั้ม 1 แรง หากเปิดรวมกัน 3 แรง จะเท่ากับ 10.3A โดยประมาณ

อาจส่งผลให้มีปัญหากรณีเกิดไฟตกขึ้นได้

จริงไม่ควรให้ปั้มทั้งสองทำงานพร้อมๆ กัน (แต่ก็ทำได้ไม่ใช่ทำไม่ได้ เช่น รดน้ำหยดตอนตีสาม แบบนี้ไม่แย่งไฟฟ้าใครใช้เลย)

แต่ของจริงจะจ่ายน้ำอย่างไร ต้องดูหน้างานอีกที เพราะมีตัวแปรอื่นๆ ให้ต้องร่วมคำนวณด้วย
--------------------------------


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: echiancasanova ที่ สิงหาคม 10, 2014, 06:05:52 PM
พื้นที่ว่างรอบๆๆ ลงตะไคร้เลยครับ ผมก็รับซื้ออยู่ครับ จะได้ไม่เสียเนื้อที่ครับ คุมหญ้าได้อีกต่างหากครับ  081-8763387


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 10, 2014, 08:47:04 PM
พื้นที่ว่างรอบๆๆ ลงตะไคร้เลยครับ ผมก็รับซื้ออยู่ครับ จะได้ไม่เสียเนื้อที่ครับ คุมหญ้าได้อีกต่างหากครับ  081-8763387

ขอบคุณครับ ต้องการมากน้อยแค่ไหนครับ ลงข้อมูลละเอียดๆ ก็ดีนะครับ เผื่อท่านอื่นๆ จะสนใจ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 10, 2014, 09:50:51 PM
ช่วงหยุดวันแม่ มีภารกิจเพียบ

ประเมินงานไว้ผิดหมด งานหนักกว่าที่คาดเยอะมาก เดิมตั้งใจว่า 1 วันน่าจะติดตั้งระบบตู้คอนโทรล กรองเกษตร และเดินท่อจ่ายน้ำเข้าแท็งก์ เพื่อทดสอบคุณภาพการเก็บน้ำของแท็งก์

ปรากฎว่า ใช้เวลาไป 2 วันเต็มๆ

ทั้งสั่งงาน ทั้งควบคุม และลงมือทำเอง

งานหนักจนสมองเพลียๆ สั่งอะไรก็พลาดเองหลายเรื่อง

แต่อย่างน้อยถึงวันนี้ ก็ได้งานตามเป้าหมาย เพียงแต่งานส่วนที่เหลือต้องเพิ่ม Manday ให้มากขึ้น

โดยสรุป วันหยุดนี้ 2 วัน

1. ติดตั้งตู้คอนโทรล แบบง่ายๆ เอาเสาปูน 3 นิ้วลงดิน แล้วใช้ยูโบลท์ ขนาด 3 นิ้ว ล็อก เดินสายไฟแบบร้อยท่อสีเหลือง พร้อมฝังดิน
(https://lh3.googleusercontent.com/aVGPWuM5_40S7LlOa3LwRhqtB3S4YYlmZ0Lq5sLJ6Lb8=w341-h550-no)

ตู้คอนโทรล สั่งจากคุณ Pasin ตามกระทู้นี้ครับ
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=90193.512 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=90193.512)

งานประกอบเรียบร้อยดีครับ ขอเชียร์ให้สั่งได้ คุณภาษิต ดูแลลูกค้าดีครับ รับผิดชอบและให้คำปรึกษาได้ดี (ผมพอมีความรู้ทางไฟฟ้าเล็กน้อย เลยถามเยอะ คุณภาษิตก็ใจดี ช่วยตอบให้ทุกข้อสงสัยแบบไม่กั้ก แถมไปรษณีย์ส่งของมา แล้วอุปกรณ์เขี้ยวล็อกหัก ก็เปลี่ยนตัวใหม่ให้ครับ

ถ้าใครต้องการตู้คอนโทรลแบบสั่งได้ ก็ติดต่อตามกระทู้ได้เลยนะครับ

(https://lh4.googleusercontent.com/WMAsmkkLMqkREIbvumP3N5ZHMiUD6Y2rcPpqYc4zOUVi=w550-h424-no)


2. ลำดับงานต่อมาคือ ประกอบชุดกรองเกษตร เพื่อกรองทราย กรวดเล็กๆ ต่างๆ โดยออกแบบไว้ให้มีบายพาส ในกรณีกรองตัน และมีเกจวัดแรงดัน เพื่อตรวจสอบการทำงานของปั้ม

เริ่มต้นเลยจัดวางอุปกรณ์ไว้เตรียมใส่ (ความมึนเริ่มตรงนี้ละ) วางเสร็จก็สั่งคนงานประกอบ

(https://lh5.googleusercontent.com/-DbB5oEFvpg4/U-eD0AEQZTI/AAAAAAAAyYE/mTo2QST1jb8/w550-h468-no/IMG_2676.JPG)

คนงานประกอบไปประกอบมา เดินไปสั่งงานอีกจุด เดินกลับมาดู เอ๊ะ ยังไง มันแปลกๆ เนอะ (ใครเห็นภาพแล้วเข้าใจเลยไหม)

(https://lh3.googleusercontent.com/-1hEoq8GCyL0/U-eD4Sxty7I/AAAAAAAAyYc/tHyal4KPkKI/w550-h468-no/IMG_2687.JPG)


เลยถามสั้นๆ "ตาครับ ติดกาวยังครับ" ..."ติดหมดแล้ว"....กรรม

รับกรรมไป ไม่ว่ากัน ไม่โทษกัน

เราเองก็เหนื่อย เพราะแค่เดินไปเดินมา สั่งงานคนงานแต่ละจุด ดูคุณภาพงาน รวมๆ ก็ น่าจะเกิน 4-5 กิโลเมตรแล้ว

ผิดพลาดบ้างจึงไม่แปลก ถามว่าต้องแก้หรือไม่ ก็ไม่ เพราะเราแค่ออกแบบเผื่อๆ ไว้เท่านั้น

หลังจากติดตั้งเรียบร้อย จึงลองแรงดัน เพื่อตรวจสอบแรงปั้ม พบว่าได้แรงดันตามภาพ

(https://lh4.googleusercontent.com/-jVZf9FB2TKI/U-eD5-2EKaI/AAAAAAAAyYw/9mrTnlKhj2Y/w550-h468-no/IMG_2707.JPG)

ก็ถือว่าปั้มทำงานได้เต็ม 100%

เพราะปั้มแฟรงกิ้นส์ตัวนี้มีค่า H เท่ากับ 60 สูบถึงพื้นได้แรงดันเท่านี้ ถือว่าเหมาะสม

ส่วนเกจวัด อยากได้ 0-6 บาร์ แต่ของหมด ราคาไม่ต่างกัน เลยยอมจัด 0-10 บาร์มาแทน

3. จากนั้นตรวจสอบปริมาณน้ำที่สูบขึ้นมา โดยต่อท่อชั่วคราว ลงนาข้าว

(https://lh3.googleusercontent.com/-inLILwwqtOk/U-eD4SddJ6I/AAAAAAAAyYY/M2KG37oUsdA/w550-h468-no/IMG_2692.JPG)

ก็พบว่าสูบได้ประมาณ 30 นาที น้ำเปลี่ยนสีจากใส เป็นขาวขุ่น และมีความลื่นสูง

(https://lh5.googleusercontent.com/Mw2x7HpZ5EgxzsDWU-euTv38JyMBNuQyutrEj9KJt4c-=w550-h468-no)

เป็นไปได้ว่าน้ำมีหินปูนเจือปน จึงทดสอบ พักเครื่อง 30 นาที แล้วสูบใหม่

พบว่าน้ำใสขึ้นมาอีกรอบ ประมาณ 15 นาที

ในเบื้องต้นจึงสรุปแนวทางว่าอาจจะ

- น้ำบาดาลจริงๆ สูบได้ประมาณแค่ 30 นาที ที่เหลือ คือ น้ำในดิน ที่ออกมาแทนที่ โดยดึงสารต่างๆ ในดินออกมาด้วย
- พึ่งใช้บ่อครั้งแรก จึงอาจมีการละลายออกมาปนเปื้อน

แต่ด้วยผลทดสอบนี้ จึงต้องออกแบบระบบกรองเรซินเผื่อไว้ และคำนวณการตั้งเวลาสูบใหม่ให้เหมาะสม


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 10, 2014, 10:24:59 PM
งานต่อมา เป็นการเดินท่อเมน จากน้ำบาดาลเข้าแท็งก์

ให้คนงานขุดดินเป็นร่อง ให้เรียบได้ระดับ และนำท่อน้ำ 2 นิ้วไปวาง รวมถึงท่อเมนย่อยสำหรับจ่ายน้ำรดต้นไม้ด้วย ก็ใช้ท่อ 2 นิ้วเช่นกัน รวมๆ สั่งท่อ 2 นิ้วมา 70 ท่อน เหลือ 4-5 ท่อน (เสร็จงานจริงๆ คงเหลือ 2-3 ท่อน)

(https://lh3.googleusercontent.com/-RZO1VsKYIyI/U-eD6UMF-2I/AAAAAAAAyY4/FDSKO0Tm_Nc/w550-h424-no/P1140765.JPG)

จากท่อเมน ก็เดินเข้าแท็งก์ แบบง่ายๆ มีวาวล์เตรียมไว้สำหรับระบบกรองเรซินในอนาคตที่ต้องทำเพิ่ม ส่วนต้องใช้ท่อ 2 เส้น เพราะ

1. ลูกลอยควบคุมวาวล์เปิดปิด ขนาด 2 นิ้ว หาไม่ได้ ถึงหาได้ อนาคตเกิดเสียหายขึ้นมา จะเป็นสิ่งหามาซ่อมแซมได้ยาก ซึ่งไม่ตรงกับแนวคิดของสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ที่ต้อง สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน

2. จึงเปลี่ยนเป็น ขนาด 1 นิ้วที่หาลูกลอยง่ายกว่ามาก และเพิ่มท่อเป็น 2 เส้น ท่อแต่ละเส้นจ่ายน้ำได้สูงสุด 3.8Q ต่อชั่วโมง แต่ปั้มส่งน้ำได้สูงสุด 6 คิว ดังนั้น ใช้ท่อ 1 นิ้ว เพียง 2 ท่อจึงเพียงพอต่อแรงดันน้ำที่ปั้มส่งให้

3. แต่เนื่องจากเดิมไม่ได้คิด ถึงประเด็นข้อนี้ ท่ออีกเส้นหนึ่ง เลยใส่วาวล์ปิดไว้แทนก่อน (เป็นงานต้องมาเติมภายหลัง)

ท่อบางส่วนที่เดินไว้ เป็นการเชื่อมแบบ ท่อปลายบาน จึงอาจมีการรั่วได้ จึงต้องเดินน้ำ เพิ่มแรงดัน เพื่อทดสอบการรั่ว ก็พบว่ามีรั่วบ้าง อาจต้องตัดต่อด้วยข้อต่อตรงแทน ปลายบาน ที่บ่อยครั้งแต่ละท่อบานไม่ได้มาตรฐาน
(https://lh4.googleusercontent.com/-vvObU0MPlO0/U-eEDlbDCzI/AAAAAAAAyaA/nvAuE217UQo/w341-h550-no/P1140847.JPG)


จากนั้นบางจุดก็เดินท่อ 3/4 นิ้ว ขึ้นมา เพื่อเปิดใช้น้ำ

(https://lh4.googleusercontent.com/-Hj-1TJEycGM/U-eEBHX50cI/AAAAAAAAyZs/CiaLREaZmT0/w341-h550-no/P1140825.JPG)

แค่นี้ครับ หมดไป 2 วันเต็มๆ เหมือนงานจะน้อย แต่ไม่น้อยเลย

(https://lh5.googleusercontent.com/CbX4uPsDjuruNYDp22A1he8Vw-bztd0Gye5c_nTXg6nx=w550-h424-no)

ส่วนปัญหาเรื่องไฟฟ้า ก็ตามคาดครับ (บางทีก็นึกเสียดาย ไม่น่าเชื่อใจช่างไฟฟ้าเลย)

เดิมผมคำนวณไว้ให้ใช้สายไฟ 35มม. แต่เจ้าหน้าที่บอกใช้ 25มม ก็เพียงพอ รับรองไฟไม่ตก

เอาจริงๆ ติดตั้งตู้คอนโทรลเสร็จ ก็วัดไฟได้ค่าออกมา 210V ในช่วงยามเย็นๆ ก็ถือว่าไม่ตกมาก

แต่... เมื่อเปิดใช้ปั้ม แรงดันลดลงเหลือ 195V

เรียกว่าเกือบจะต่ำกว่ามาตรฐานที่ปั้มจะรับได้

เป็นอีกหนึ่งปัญหา ต้องแก้ไข ในอนาคต

ส่วนในตอนนี้อาจแก้ด้วยการตั้ง Timer ให้ใช้งานปั้มน้ำในเวลาดึกๆ แทน เพราะไม่มีการใช้ไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าจะตกน้อยลง



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 10, 2014, 10:32:55 PM
นอกจากงานไฟฟ้าและประปาแล้ว ยังตรวจสอบงานเตรียมวัสดุด้วย

นั้นคือ การเผาแกลบดิบ เป็นแกลบดำ

วิธีการง่ายๆ ใช้ถัง 200 ลิตร เจาะรู แล้วจุดไฟด้วยไม้ จากนั้นเอาแกลบคลุม ความร้อนที่ผิวถัง จะทำให้แกลบค่อยๆ ติดไฟ ไม่ไหม้จนหมดเป็นขี้เถ้า (แต่กว่าจะทำได้สวยงาม หมดแกลบไปหลายกระสอบ ครับ

(https://lh6.googleusercontent.com/28UvgzCG1aDm0rBRfgZjqTiwMKcZWDh3hWFhWvTgRggX=w550-h468-no)

จากแกลบ ก็เป็นวัสดุคลุมดิน

ไปตรวจสอบหญ้าแห้งสับ ได้คุณภาพดี คล้ายฟางข้าว ไว้ปิดหน้าดินได้สบายๆ

(https://lh5.googleusercontent.com/v93acxIWLGvBEmwlD7usJ0nQQhTu2kQiJUUG9HzSM_6p=w550-h424-no)


ส่วนระยะยาว วัสดุปลูกอีกอย่างคือ ปุ๋ยหมักแม่โจ้

พื้นที่โดยรอบ มีพืชเหลือใช้จากชาวบ้านเพียบครับ ตอข้าวโพด ต้นถั่ว หญ้า ทั้งหมดเก็บเตรียม ไว้ พร้อมขี้วัว เตรียมทำปุ๋ยหมักไม่กลับกองครับ

(ภาพนี้ถั่วลิสง ยังไม่เก็บเมล็ด ชาวบ้านเอามาฝากเก็บในโรงงานพ่อตาครับ แต่ก่อนเป็นโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ตอนนี้เลิกกิจการไปแล้ว)
(https://lh3.googleusercontent.com/-reRrIONFIlc/U-eD8ND-tHI/AAAAAAAAyZE/X6BoXPG_YqM/w550-h424-no/P1140805.JPG) 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: บุหงา_อยู่ดีกินหวาน ที่ สิงหาคม 10, 2014, 10:52:23 PM
เท่าที่อ่านมาหลายกระทู้ เรื่องน้ำเพาะปลูกในการเกษตร เรียกว่าเป็นหัวใจเลยก็ว่าได้


ถึงตอนนี้ ลงทุนกับระบบน้ำไปเท่าไหร่แล้วครับ 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 10, 2014, 10:56:16 PM
เท่าที่อ่านมาหลายกระทู้ เรื่องน้ำเพาะปลูกในการเกษตร เรียกว่าเป็นหัวใจเลยก็ว่าได้


ถึงตอนนี้ ลงทุนกับระบบน้ำไปเท่าไหร่แล้วครับ 

ถึงตอนนี้ 6 หมื่นกว่าบาทครับ แต่ตามที่วางแผนไว้ก็ 7 หมื่นครับ ยังไม่เกิน เพราะพื้นที่โดยรวมสำหรับเฟสแรก 6 ไร่ แต่ระบบน้ำเต็มความจุด้านประสิทธิภาพจริงๆ รองรับได้ 10 ไร่ โดยหากจะเติมให้ครบ 10 ไร่

ก็ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายลงไปอีกแค่ไม่เกิน 3 หมื่นบาท โดยรวม ค่าใช้จ่ายจึงยังคงอยู่ในกรอบ "สั่งได้" คือ ไร่ละไม่เกิน 10,000 บาทครับ

 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 10, 2014, 10:57:51 PM
ลืมบอก ไม่รวมค่าแรงคนงานนะครับ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: echiancasanova ที่ สิงหาคม 11, 2014, 06:02:55 PM
พี่โทรหาผมได้ป่าวครับ จะได้คุยรายละเอียดให้ครับ รับรองน่าสนแน่ๆๆ ครับ 081-8763387  เชียรครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 11, 2014, 07:30:16 PM
พี่โทรหาผมได้ป่าวครับ จะได้คุยรายละเอียดให้ครับ รับรองน่าสนแน่ๆๆ ครับ 081-8763387  เชียรครับ

เอารายละเอียดมาตรฐานมาลงในนี้ก่อนก็ได้ครับ

ผมเป็นพวก ถ้าอ่านแล้วสนใจ จะติดต่อเองครับ

การคุยกันบ่อยครั้งมันได้แค่สิ่งที่เรียกว่า การจูงใจ แต่เนื้อหาจริงๆ แทบไม่มี

เขาถึงชอบจัดสัมมนาขายของ แต่พอให้อ่านรายละเอียด ไม่ค่อยให้กัน เพราะเมื่อคนอ่าน คนจะมีเวลาคิด ทบทวน อ่านหลายรอบ

ถ้าของมันดีจริง ถึงขนาดว่ารับรองว่าน่าสนแน่ๆ ตามที่เขียน

ผมก็เชื่อว่า ไม่ใช่แค่ผม แต่เป็นคนอื่นๆ อ่านก็ต้องสนใจ

มันดีกว่าไม่ใช่หรือที่จะได้ลูกค้าเป็นผมคนเดียว แต่ได้อีกหลายคนจากกระทู้นี้เลยครับท่าน echiancasanova

ท่านไม่ต้องเหนื่อยพูดทีละคนด้วย

ขอบคุณนะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 11, 2014, 08:02:58 PM
จากปัญหาช่วงวันหยุดที่ผ่านมา แม้วางแผนไว้ดี แต่ก็พลาดหลายเรื่อง บอกตรงครับ ส่วนใหญ่พลาดเพราะข้อมูลจากบุคคลอื่นที่ยืนยันแทนข้อมูลเชิงวิชาการที่เราหามา

จริงๆ ก็ไม่ได้ถือว่าตัดสินใจผิดพลาด แต่เรียกว่า เป็นการตัดสินใจที่ทำให้ต้นทุนสูงเกินไปมากกว่า ผนวกกับประสบการณ์ที่น้อยนิด

เรียกไม่มีประสบการณ์เลยน่าจะตรงกว่า 555

เช่น ตำแหน่งวางแท็งก์น้ำ เดิม คิดแต่ให้อยู่ตรงกลางมากที่สุด เพื่อจะได้จ่ายน้ำไปแต่ละโซนได้ระยะเท่าๆ กัน เอาเข้าจริงๆ ด้วยสเปกปั้มที่เลือกมา การสูญเสีย H ในท่อน้ำ แทบไม่มีความหมาย หรือส่งผลต่อการจ่ายน้ำเลย

ต้นทุนค่าแท็งก์ ค่าปั้ม ค่าเจาะบาดาล ค่านู้นนี่ คิดไปคิดมา อาจจ่ายเป็นค่าขุดสระได้สบายๆ สัก 2 งาน (แต่อาจต้องแลกกับปัญหายังไม่มีน้ำเพียงพอ เพราะฝนตกน้อย หรืออาจยังเก็บน้ำไม่อยู่ในช่วงปีแรก)

ถึงวันนี้ต้องบอกว่า การเริ่มต้นสวนเกษตรโชคดีชุมแพ เดินหน้ามาพอควรแล้ว อะไรที่พลาดไปแล้ว เกิดเป็นปัญหาก็ต้องแก้ไขกันไป

อย่างแรงดันไฟฟ้าตก ก็คงต้องไปหา AVR มาแก้ไข หรือไม่ก็ต้องลองเฝ้าตอนกลางคืน ดูว่าแรงดันไฟฟ้าตกหรือไม่ ถ้าไม่ คงต้องจ่ายรดน้ำเป็นช่วงๆ ที่ไฟฟ้าไม่ตกแทน

หรือไม่ถ้ารวยมีเงินทุนขึ้นมา อาจขอติดหม้อแปลงไฟฟ้าส่วนตัวเสียเลย
------------------------------------


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: echiancasanova ที่ สิงหาคม 12, 2014, 05:58:33 PM
ผมแค่อยากวางแนวทางเผื่อเป็นประโยชน์กับสมาชิกที่ต้องการปลูกตะไคร้ ส่วนคุณผมมองว่าสามารถเป็นผู้นำ ในการรวบรวมตะไคร้แถวขอนแก่นครับ
ประกาศแน่นอนครับ เพราะรายละเอียดรอสิ้นเดือนครับ เป็นประโยชน์กับสมาชิกอยู่แล้วครับ ถ้าไม่สนใจก็ขอโทษด้วยน่ะครับ ที่รบกวนเวลาอันมีค่าของคุณ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: บุหงา_อยู่ดีกินหวาน ที่ สิงหาคม 13, 2014, 07:54:23 AM
ผมแค่อยากวางแนวทางเผื่อเป็นประโยชน์กับสมาชิกที่ต้องการปลูกตะไคร้ ส่วนคุณผมมองว่าสามารถเป็นผู้นำ ในการรวบรวมตะไคร้แถวขอนแก่นครับ
ประกาศแน่นอนครับ เพราะรายละเอียดรอสิ้นเดือนครับ เป็นประโยชน์กับสมาชิกอยู่แล้วครับ ถ้าไม่สนใจก็ขอโทษด้วยน่ะครับ ที่รบกวนเวลาอันมีค่าของคุณ


ขออภัยคุณบรีส  ขอใช้พื้นที่นิดนึงครับ

มีตัวแทนรับแถวบ้านแพ้ว-ดำเนินไหมครับ ผมสนใจตะไคร้มาก ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลมาก ฝากเทวดาเลี้ยง

มีตลาดมาป้อนถึงปากไม่ต้องวิ่งหาให้เหนื่อย ผมช๊อบชอบ  ;D


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ สิงหาคม 13, 2014, 08:09:46 AM
บ้านไกลปืนเที่ยงอย่างพวกเรามีปัญหาเรื่องไฟฟ้าเหมือนกันเลยครับ

ของคุณบรีสน่าจะไม่เท่าไหร่ 195V ถือว่าตก spec ปั๊มอยู่ไม่มากนะครับ เพราะมอเตอร์ส่วนใหญ่ที่ขายในไทย ทำงานอยู่ที่ 200-230V
แต่อายุการใช้งานของมอเตอร์สั้นลงแน่ครับ

ของผมก็เจอเหมือนกัน
เปลี่ยนสายไฟเดินมาจากหม้อแปลง 25SQ หน้าตู้เดิม 210V ตอนนี้ไฟหน้าตู้ 220V แล้ว
ผมใช้หม้อดึงไฟเพื่อให้กระแสนิ่งที่ 220-230V
แต่ด้วยความที่ตอนมอเตอร์สตาร์ท จะมีช่งที่มอเตอร์ดึงไฟเพื่อออกตัว (ประมาณ2วินาที) มันดึงไฟลงไปเหลือ 180-190V แล้วเด้งกลับไปที่ 220
ถ้าช่วงนั้นไฟตกพอดี กระแสที่มันดึงเพื่อออกตัวต่ำกว่า 180V เมื่อไหร่ ระบบ safety จะทำงานและตัดระบบ

ยังไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไรดีกับ 2วินาทีนี้เลยครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 13, 2014, 09:03:36 AM
บ้านไกลปืนเที่ยงอย่างพวกเรามีปัญหาเรื่องไฟฟ้าเหมือนกันเลยครับ

ของคุณบรีสน่าจะไม่เท่าไหร่ 195V ถือว่าตก spec ปั๊มอยู่ไม่มากนะครับ เพราะมอเตอร์ส่วนใหญ่ที่ขายในไทย ทำงานอยู่ที่ 200-230V
แต่อายุการใช้งานของมอเตอร์สั้นลงแน่ครับ

ของผมก็เจอเหมือนกัน
เปลี่ยนสายไฟเดินมาจากหม้อแปลง 25SQ หน้าตู้เดิม 210V ตอนนี้ไฟหน้าตู้ 220V แล้ว
ผมใช้หม้อดึงไฟเพื่อให้กระแสนิ่งที่ 220-230V
แต่ด้วยความที่ตอนมอเตอร์สตาร์ท จะมีช่งที่มอเตอร์ดึงไฟเพื่อออกตัว (ประมาณ2วินาที) มันดึงไฟลงไปเหลือ 180-190V แล้วเด้งกลับไปที่ 220
ถ้าช่วงนั้นไฟตกพอดี กระแสที่มันดึงเพื่อออกตัวต่ำกว่า 180V เมื่อไหร่ ระบบ safety จะทำงานและตัดระบบ

ยังไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไรดีกับ 2วินาทีนี้เลยครับ

ต้องหาช่างมาคำนวณ ใส่ C เพิ่มครับ เพื่อลดผลกระทบในการดึงแรงดันไฟฟ้าให้ตกลง

จริงๆ ของผม ที่วัดไว้เป็นเวลาเย็นๆ คนใช้ไฟเริ่มเยอะ แต่ตามแผนงาน คงจะใช้ปั้มตอนกลางคืน นี้เลยวางแผนจะไปนอนเฝ้าเพื่อวัดไฟ ตามกำหนดเวลาที่เราตั้งว่า ช่วงเวลาดังกล่าว ไฟจะมาถึง 220 หรือไม่

ส่วนตอนมีโหลด เป็นปกติครับที่แรงดันไฟฟ้าจะตกลง

ก็ว่าจะโพสต์ถามท่านเหมือนกันว่า ซื้อ AVR ที่ไหน ดูๆ แล้วประมาณ 8 พัน - 9 พัน ซึ่งสองตัว ก็เกือบ 2 หมื่นบาท ตอนนี้เลยอยากรู้ว่าหม้อแปลงไฟฟ้าตัวเล็กๆ ราคาเท่าไร เพราะแก้ปัญหาได้ดีกว่า แน่นอน

คือ ผมทำใจตั้งแต่ขอใช้ไฟฟ้าแล้ว (ถ้ายังจำได้ ผมเขียนว่าแรกๆ ผมศึกษาตัวโซล่าเซลไว้ค่อนข้างมาก เพราะคิดว่าเจอปัญหาแบบนี้แน่ๆ)

เพราะที่ดินของผม อยู่เกือบสุดเขตชุมชน เลยไปอีก 600-700 เมตร ก็เข้าเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่านแล้ว ดังนั้น การขยายไฟฟ้ามาทางที่ดินผมจึงเป็นเรื่องยากมาก


ขออภัยคุณบรีส  ขอใช้พื้นที่นิดนึงครับ

มีตัวแทนรับแถวบ้านแพ้ว-ดำเนินไหมครับ ผมสนใจตะไคร้มาก ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลมาก ฝากเทวดาเลี้ยง

มีตลาดมาป้อนถึงปากไม่ต้องวิ่งหาให้เหนื่อย ผมช๊อบชอบ  ;D

ยินดีไม่มีปัญหาครับ ก็อย่างที่บอก ถ้าท่าน echiancasanova ลงข้อมูลพื้นฐานไว้เลย ก็จะดีกว่า 555

แต่อย่าลืม เรื่องที่ผมเคยเขียนไว้ในกระทู้นะครับ เกี่ยวกับ ธุรกิจขายพันธุ์ ธุรกิจรับซื้อ ธุรกิจพ่อค้าคนกลาง นะครับ


ผมแค่อยากวางแนวทางเผื่อเป็นประโยชน์กับสมาชิกที่ต้องการปลูกตะไคร้ ส่วนคุณผมมองว่าสามารถเป็นผู้นำ ในการรวบรวมตะไคร้แถวขอนแก่นครับ
ประกาศแน่นอนครับ เพราะรายละเอียดรอสิ้นเดือนครับ เป็นประโยชน์กับสมาชิกอยู่แล้วครับ ถ้าไม่สนใจก็ขอโทษด้วยน่ะครับ ที่รบกวนเวลาอันมีค่าของคุณ

ยินดีครับ แต่เอ๊ะ ให้ผมโทรคุย แต่รายละเอียดรอสิ้นเดือน ... แล้วผมโทรไปคุยได้อะไรครับ...

และขออภัยที่ต้องพูดตรงๆ วิธีแบบนี้ละที่ผมไม่ชอบครับ

ทำอะไรจริงใจ กล้าเปิดเผย

ผลประโยชน์ที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ก็เหมือนโฆษณาที่มี ดอกจันเล็กๆ

บางทีผมก็สงสัยนะ ว่าธุรกิจการเกษตรทำไมถึงทำโมเดลนี้ไม่ได้...

ธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ เวลาสั่งของโอนเงินมัดจำกันก่อนทั้งนั้น

แต่พอเป็นธุรกิจปลูกนู้นนี่ กลับ มาส่งเสริมให้ปลูก บอกว่ารับซื้อแน่นอน แต่พอเก็บเกี่ยว บอกตลาดเต็มบ้าง หายตัวบ้าง กดราคาบ้าง

เกษตรกร ถึงมีสัญญา แล้วยังไง จะไปสู้อะไรได้ ต้องยอมก้มหน้ารับการขาดทุนและความเสี่ยงไป

ถ้าแน่จริง รับซื้อจริง วางเงินมัดจำไว้ก่อนได้เปล่า แค่ 10% ก็ยังดี (มากกว่านี้เสี่ยงทั้งเกษตรกร และนายหน้า)

ผมแค่บ่นเฉยๆ นะ

ยังไง สิ้นเดือนก็อย่าลืมมาโพสต์ให้รายละเอียดด้วยนะครับ ผมรออยู่...


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ สิงหาคม 13, 2014, 09:38:33 AM
ถ้าเป็นการเดินมอเตอร์ ช่างแนะนำหม้อดึงไฟธรรมดาครับ
30 แอมป์
ขดลวดเป็นอลูมิเนียม ตัวละ 3200+/- 300
ขดลวดเป็นทองแดง ตัวละ 5200-5800 บาท
หม้อดึงไฟจะรับแรงดันไฟได้ตั้งแต่ 160-240V ครับ

แต่ถ้าอยากได้เป็น stabilizer นั้นต้องคำนวน VA แทนครับ
4000VA ก็ประมาณ 8000-8500 (Max load 13Amp)
แต่ stabilizer รับแรงดันไฟต่ำสุดได้แค่ 185 ซึ่งของผมใช้ไม่ได้ครับ เพราะส่วนใหญ่ไฟจะตกมากกว่า 185

ของผมเดิมซื้อ Stabilizer แต่ไม่ไหวเลยเปลี่ยนมาใช้ step up transformer ครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 13, 2014, 10:08:14 AM
ถ้าเป็นการเดินมอเตอร์ ช่างแนะนำหม้อดึงไฟธรรมดาครับ
30 แอมป์
ขดลวดเป็นอลูมิเนียม ตัวละ 3200+/- 300
ขดลวดเป็นทองแดง ตัวละ 5200-5800 บาท
หม้อดึงไฟจะรับแรงดันไฟได้ตั้งแต่ 160-240V ครับ

แต่ถ้าอยากได้เป็น stabilizer นั้นต้องคำนวน VA แทนครับ
4000VA ก็ประมาณ 8000-8500 (Max load 13Amp)
แต่ stabilizer รับแรงดันไฟต่ำสุดได้แค่ 185 ซึ่งของผมใช้ไม่ได้ครับ เพราะส่วนใหญ่ไฟจะตกมากกว่า 185

ของผมเดิมซื้อ Stabilizer แต่ไม่ไหวเลยเปลี่ยนมาใช้ step up transformer ครับ

ของผมมันไม่ตกถาวรครับ เลยต้องระวัง และใช้เป็นออโต้ ไม่งั้น Step Up สูงไปยุ่งเลย
ตัว Stabilizer ของท่าน รับโหลดเท่าไรครับ ผมต้องใช้กับมอเตอร์ 2 แรง ก็ 1500W + ตอนกระชากไปอีก 2 เท่าเลย เป็น 3000W

ถ้าไม่ใช่ ขายต่อได้นะ 555

แต่รออีก 2 อาทิตย์นะ ผมถึงจะได้คำตอบว่าต้องใช้จริงๆ ไหม


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ สิงหาคม 13, 2014, 10:30:46 AM
ถ้าเป็นการเดินมอเตอร์ ช่างแนะนำหม้อดึงไฟธรรมดาครับ
30 แอมป์
ขดลวดเป็นอลูมิเนียม ตัวละ 3200+/- 300
ขดลวดเป็นทองแดง ตัวละ 5200-5800 บาท
หม้อดึงไฟจะรับแรงดันไฟได้ตั้งแต่ 160-240V ครับ

แต่ถ้าอยากได้เป็น stabilizer นั้นต้องคำนวน VA แทนครับ
4000VA ก็ประมาณ 8000-8500 (Max load 13Amp)
แต่ stabilizer รับแรงดันไฟต่ำสุดได้แค่ 185 ซึ่งของผมใช้ไม่ได้ครับ เพราะส่วนใหญ่ไฟจะตกมากกว่า 185

ของผมเดิมซื้อ Stabilizer แต่ไม่ไหวเลยเปลี่ยนมาใช้ step up transformer ครับ

ของผมมันไม่ตกถาวรครับ เลยต้องระวัง และใช้เป็นออโต้ ไม่งั้น Step Up สูงไปยุ่งเลย
ตัว Stabilizer ของท่าน รับโหลดเท่าไรครับ ผมต้องใช้กับมอเตอร์ 2 แรง ก็ 1500W + ตอนกระชากไปอีก 2 เท่าเลย เป็น 3000W

ถ้าไม่ใช่ ขายต่อได้นะ 555

แต่รออีก 2 อาทิตย์นะ ผมถึงจะได้คำตอบว่าต้องใช้จริงๆ ไหม

Stabilizer ผมเอาไปเปลี่ยนไปเป็น step up แล้วครับ ^__^
เพราะ stabilizer มันรับกระแสช่วงไฟตกได้จำกัดกว่า step up
ส่วน step up ตอนนี้ก็ปรับค่ากลางไว้ เพื่อให้มี +/-ที่ support กระแสที่มันเปลี่ยนไปให้ดีที่สุด

ช่วงนี้ก็ได้แต่ลุ้นว่าที่ปรับไว้จะ work มั๊ย
เพราะไม่งั้นแก่นตะวันผม ตายแน่


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: pook_kkf ที่ สิงหาคม 14, 2014, 05:36:06 PM
เดี๋ยวจะมาขอคำปรึกษาเรื่องการวางระบบน้ำ กับคุณบริส ด้วยนะครับ
คร่าวๆ ผมเพิ่งซื้อที่มาประมาณ 1 ไร่ 2 งานมา อยู่ที่บ้านแฟน เป็นที่ในหมู่บ้าน มีน้ำประ ไฟฟ้าครบครัน (ห่างจากขอนแก่นประมาณ 80 โล) 
ตอนนี้อยู่ระหว่างการรื้อถอนขุดต้นไม้ที่มันรกๆออกให้หมดก่อนน่าจะเสร็จภายใน ส.ค นี้
ตอนนี้ผมอยู่ระหว่างวาง Plan ของไร่อยู่
เดี๋ยวถ้าได้ออกมายังไงจะมาขอคำปรึกษาเรื่องการคำนวณ ต่างๆทั้งระบบไฟและน้ำนะครับ
 
 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 15, 2014, 09:09:29 AM
เดี๋ยวจะมาขอคำปรึกษาเรื่องการวางระบบน้ำ กับคุณบริส ด้วยนะครับ
คร่าวๆ ผมเพิ่งซื้อที่มาประมาณ 1 ไร่ 2 งานมา อยู่ที่บ้านแฟน เป็นที่ในหมู่บ้าน มีน้ำประ ไฟฟ้าครบครัน (ห่างจากขอนแก่นประมาณ 80 โล) 
ตอนนี้อยู่ระหว่างการรื้อถอนขุดต้นไม้ที่มันรกๆออกให้หมดก่อนน่าจะเสร็จภายใน ส.ค นี้
ตอนนี้ผมอยู่ระหว่างวาง Plan ของไร่อยู่
เดี๋ยวถ้าได้ออกมายังไงจะมาขอคำปรึกษาเรื่องการคำนวณ ต่างๆทั้งระบบไฟและน้ำนะครับ
 

ยินดีครับ ต้องการเมื่อไร ก็โพสต์คำถามในนี้ได้เลยครับ (อะไรที่ไม่เป็นความลับ) เพื่อให้ท่านอื่นๆ ได้ทราบปัญหาและร่วมกันตอบครับ

แต่ถ้าเป็นความลับก็ PM มาได้ครับ

-----------------------------
ตอนนี้ปัญหาไฟฟ้าของผม ต้องทำอย่างเดียวคือ เฝ้าตรวจสอบโวลต์ 555

เพราะถ้าตกตลอดเวลา ก็ควรติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

แต่ถ้าตกแค่ช่วงเวลาใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็หลีกเลี่ยงการใช้ช่วงนั้นแทน และอาจใส่ AVR หรือ Step Up ไว้เพิ่มไฟแทน



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 18, 2014, 08:43:09 AM
เสาร์อาทิตย์ที่ 16-17 สิงหาคม เข้าสวน เคลียร์งานระบบจ่ายน้ำ ต่อให้เรียบร้อย ก่อนลงมะนาวสิ้นเดือน

1. คุมคนงาน คลุกส่วนผสม ถ่านแกลบ 4 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ปุ๋ยขี้ไก่ 1 ส่วน ปุ๋ยขี้ค้างคาว 1/8 ส่วน ดิน(ทรายดีๆ นั้นละ) 2 ส่วน

(https://lh6.googleusercontent.com/-IS6nlhwJfvQ/U_FZCRYeDAI/AAAAAAAAycI/570-RUNg0xI/w550-h468-no/2014-08-16%2B10.16.14%2BHDR.jpg)

ระยะยาวถ้ามีเครื่องผสมปูน จะทำงานได้เร็วกว่านี้มาก แต่ต้องลงทุนอย่างน้อยๆ 13,000 กว่าบาท คิดเป็นค่าแรงแล้ว ได้ 52 Mandays

เปรียบเทียบการลงทุนจากกระแสเงินสดแล้ว ตอนนี้เลยต้องจ้างคนงานช่วยคลุกก่อนดีกว่า 555

2. ติดตั้งลูกลอย เพื่อควบคุมให้น้ำไม่ล้นแท็งก์

ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ลูกลอย มีขนาดเข้า และขนาดออก กล่าวคือ ทางน้ำเข้า มีหลายขนาด ผมซื้อขนาดใหญ่สุดที่ถูกสุดคือ 1 นิ้ว

พอแกะแพ็กเกจออกมาเตรียมติดตั้งจึงพบว่า ทางน้ำออกจริงๆ ของลูกลอย ไม่ถึง 3/4 นิ้ว และอีกตัวหนึ่งแค่ 1/2 นิ้ว

ดังนั้นใครจะซื้อลูกลอย ก็พิจารณาดีๆ ครับ

(https://lh6.googleusercontent.com/-pO_PPeDckHY/U_FZCmVAq-I/AAAAAAAAycM/JcWzZmXoN5Y/w380-h550-no/2014-08-16%2B11.08.29.jpg)

ผลคือ ทางน้ำออกน้อยไป ทำให้แรงดันท่อในระบบสูงขึ้นเกิน 1.9 บาร์ ซึ่งสวิตซ์แรงดันตั้งไว้

เลยตัดการทำงานของปั้ม

ระยะเวลาติดๆ ดับๆ ประมาณ 3-5 วินาที

เรียกว่า น้ำไม่ล้น แต่ปั้มจะพังเอา

จึงตัดใจเอาลูกลอยออก 1 อัน (เอาออกสองอันก็ได้ ที่ติดสองอัน เพราะท่อเมน 2 นิ้ว ท่อจ่ายน้ำเข้าแท็งแค่ 1 นิ้ว จึงทำใส่ไว้ 2 ท่อ ได้ปริมาตรท่อเท่ากับครึ่งหนึ่งของปริมาตรท่อ 2 นิ้วก็จริง แต่ปั้มน้ำจ่ายน้ำได้ 6Q ในขณะที่ท่อ 1 นิ้ว อัตราไหลสูงสุดที่ 3Q กว่าๆ ดังนั้น 2 ท่อ จึงเพียงพอ

ทีนี้ปัญหาน้ำล้น....ก็ปล่อยมันล้นไป 555 ใช้การควบคุมด้วยการตั้งเวลาเปิดปิดปั้ม เอาแทน

3. ติดตั้งปั้มจ่ายน้ำ สองแรงม้า

(https://lh4.googleusercontent.com/-nd8IcTK3eSM/U_FZFMzCN6I/AAAAAAAAydA/AUMKDk0CHI4/w380-h550-no/2014-08-17%2B12.45.34.jpg)
งานยังไม่เสร็จ หมดเวลาเสียก่อน

มีหลายประเด็นเลยสำหรับตัวสองแรงม้า เป็นประสบการณ์จะเล่าให้ฟัง รูปก็ไม่ได้ถ่ายมา

ไว้สัปดาห์หน้า ไปลุยต่อจะเล่าให้ฟังครับ

--------------------------
สัปดาห์ ล้อหมุนจากบ้านตีสอง ถึงสวน 8.30 ทำงานจนถึง  17.00 รีบยิงรถเข้าขอนแก่นไป Dohome ซื้ออุปกรณ์ที่ขาด (ในอำเภอไม่มีของเลย)

กลับมาถึงชุมแพสามทุ่มกว่า เช้าอีกวันเข้าสวน 09.00 ทำงานถึง 15.00 ตีรถกลับ ยิงยาวไม่มีจอด ถึงบ้าน 20.30 น.

เหนื่อยกาย... แต่ต้องลุยกันต่อไป

 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: บ่าววี-สวนแห่งฝัน ที่ สิงหาคม 18, 2014, 09:48:21 AM
ทำเป็นระบบ ได้มาตรฐานดีจริง ๆ  :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 18, 2014, 05:01:41 PM
ทำเป็นระบบ ได้มาตรฐานดีจริง ๆ  :-[


ขอบคุณครับ

ไว้ทำเสร็จผมจะสรุป หลักวิชาการ กับ หลักประสบการณ์มาแบ่งปันกัน

...


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ฟาร์มเงิน สารคาม ที่ สิงหาคม 18, 2014, 07:01:40 PM
  ขอแสดงความยินดีด้วยครับสำหรับห้องใหม่  ;) ;) ;)
คนรุ่นใหม่คิดใหม่ทำใหม่ตามใจที่ฝันไว้ครับท่าน  :-[ :-[ :-[
(แต่ผมยังเป็นคนรุ่นเก่าอยู่ครับ 555+)

ขอบคุณครับ

ชอบดูวิดีโอในกระทู้ของท่านมากครับ หามาให้ดูเรื่อยๆ นะครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ สิงหาคม 18, 2014, 07:42:09 PM
ยินดีต้อนรับสู่ห้องสมาชิกครับ อิอิ



ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: pook_kkf ที่ สิงหาคม 18, 2014, 09:22:01 PM
แทงค์น้ำคุณ บรีส ขนาดเท่าไหร่
ราคาบล็อคละประมาณกี่บาทครับ
พอดีผมกำลังศึกษาเรื่องการทำ แทงค์น้ำปูนอยู่พอดีน่ะ


แทงค์น้ำ หาขนาดตามพื้นที่ดีที่สุดครับ ของผม คุณพ่อตา อยากได้ใหญ่ๆ ซึ่งผมเองก็เห็นด้วย แต่ร้านแถวสวนไม่มีใครทำ กว่าจะหาได้ ก็ไปไกลสวนหลายสิบกิโลเมตรครับ

ขนาดที่เห็นคือ 120 ซม. สูง 50 ซม. ครับ

จุน้ำได้ วงละ 565 ลิตร โดยประมาณ

ผมติดตั้งทั้งหมด 12 วง ก็ 6785 ลิตรโดยประมาณ

แต่เดินท่อภายในให้สูงกว่าพื้นล่าง เพื่อดักตะกอนไม่ให้ปนมากับน้ำเวลาใช้งานอีกเกือบๆ 50 ซม.

ดังนั้นใช้น้ำได้จริงๆ  ประมาณ 5654 ลิตร

ปั้มแฟรงกิ้นซับเมิร์ส 1 แรงม้า ใช้เวลาเติมน้ำเต็ม 5.6Q ประมาณ 70 นาที

สนนราคา ...วงละเกิน 100 บาทครับ แต่เกินเท่าไร ยังไม่ได้เคลียร์งบประมาณกับพ่อตาเลยครับ 555

เพราะมีค่าจ้างช่าง ค่าเทพื้น ค่าเสาแผ่ทำฐานราก ค่าน้ำยากันซึมอีก รวมถึงค่าให้พิเศษตอนรถส่งเสาไฟฟ้า มาส่งเสา ให้เขาช่วยยกวงที่ 4-5-6 ขึ้นไปอีก แต่รวมๆ ผมบล็อกไว้ไม่ให้เกิน 10,000 บาท เพราะถ้าเกิน ไปซื้อถังพลาสติกดีกว่า


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 19, 2014, 08:15:28 AM
ขอบคุณท่าน Admin ที่ช่วยย้ายห้องให้ครับ

รอเวลานี้มานาน เพราะจะได้ไปแก้ไขหน้าแรก ทำสารบัญ... บางทีตัวเองก็จำไม่ได้ว่าอะไรอยู่หน้าไหน 555 ไม่รู้เรื่องนั้นเรื่องนี้เขียนหรือยัง จะได้ไปตามเก็บข้อมูลเขียนไว้ให้ครบๆ

เท่าที่รู้การอยู่มุมสมาชิก มีข้อดีคือ สามารถแก้ไขข้อความได้ ... แล้วจริงๆ มีอะไรพิเศษอีกเปล่า 555

--------------------------------------------------------------------------

วันนี้ขอแชร์เรื่องประสบการณ์ตรงในการเป็นช่างไฟฟ้า ช่างประปาในสวน

1. กระเป๋าช่าง สำคัญนะครับ ความจริงผมมีกระเป๋าช่างอยู่หลายใบ (กล่องเหล็กบ้าง กล่องพลาสติกบ้าง) เครื่องมือที่บ้านเป็นของสะสมมาตั้งแต่รุ่นพ่อ ดังนั้นมีอุปกรณ์เยอะมาก เยอะจนงง บางทีใช้งานแล้วก็นิสัยเสีย โยนๆ ไว้ในห้องเก็บของ มาหาของอีกที ไม่รู้หายไปไหน

ครั้งมาทำสวน ก็คิดว่าจะสร้างเครื่องมือไว้อีกชุด แต่ก็คิดถึงเงินลงทุน เลยหยิบเครื่องมือที่มี ใส่ถุงพลาสติก ติดมาทำสวนด้วย

เวลาต่อไฟ ต่อน้ำ พอขาดอุปกรณ์ ก็ต้องเดินไปหยิบหลังรถ ....

ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่...รถกับจุดทำงานห่างกันเป็นร้อยเมตร... เดินไปเดินมาแค่หยิบอุปกรณ์ผมว่า หมดเป็นชั่วโมงต่อวัน

ดังนั้น สำหรับใครพึ่งเริ่มต้น เตรียมอุปกรณ์ช่างใส่กล่องให้เรียบร้อย แล้วยกมันไปทั้งชุด ใช้ไม่ใช่อีกเรื่องครับ

ไม่ต้องกลัวหนัก ... เดินหลายรอบเสียเวลา เสียแรงงานกว่ายกหนักๆ ไปกับกลับ

2. ท่อน้ำที่ขายตามร้านย่อยต่างจังหวัด... บอกเลย ไม่ได้มาตรฐาน ผมสั่งท่อมารวมๆ ทั้งหมด เป็นท่อ 2 นิ้ว 80 ท่อน ท่อ 3 นิ้ว 10 ท่อน และท่อ 1 นิ้ว กับ 3/4 นิ้ว และ 1/2 นิ้วอีกอย่างละ ท่อนสองท่อน

สิ่งที่พบคือ บางท่อน มีการรั่ว ทำให้ต้องเพิ่มงานตัดต่อ แถมเพิ่มค่าข้อต่อด้วย

พอพบบ่อยๆ เข้า ก็เลย ตรวจสอบก่อนทำงาน แล้วเอาสีมาพ่น สำหรับท่อที่มีการรั่ว สรุป ในจำนวนทั้งหมด มี 4 ท่อนที่รั่ว

ซึ่งไม่เสียหายมาก เพราะแยกมาใช้เป็นท่อย่อยๆ ตัดสั้นๆ แทนได้

แต่ที่ทำให้เป็นปัญหามากคือ ท่อไม่ได้ขนาด คือ ขนาดเล็กกว่ามาตรฐานแค่ 1 มิล

แต่ผลคือ ทำให้ไม่สามารถต่อท่อดังกล่าวกับข้อต่อมาตรฐานได้ สุดท้ายเจอท่อแบบนี้ไป 2 อัน รวมๆ ท่อเสียเจอไป 6 อัน จาก 80 อัน เกือบ 10% ของสินค้า

เอาไปเปลี่ยนก็ไม่ได้ เพราะตัดไปแล้ว ถึงทราบ 555

งานนี้ ใครที่สั่งท่อมา ผมแนะนำให้หาข้อต่อมาตรฐาน ยี่ห้อดีๆ ไว้ใจได้ เช่น ตราช้าง เอาไปลองเสียบทดสอบกับท่อที่จะซื้อเลยครับ ตัวไหน ไม่ผ่านก็เปลี่ยนมันตรงนั้นเลยง่ายกว่า

3. ยาเคมี ปุ๋ย ต่างๆ ตรวจสอบก่อนซื้อ วางแผนแล้ว ยังเจอแจ็กพอตผิดแผนจนได้

ผมรู้ว่าแม้อำเภอชุมแพเป็นอำเภอใหญ่ มีร้านอุปกรณ์การเกษตรเยอะมาก แต่ผมก็กลัวว่าสิ่งที่เราต้องการจะไม่มีขาย เลยโทรไปสอบถามบริษัทแม่ ว่าร้านไหนรับบ้าง ได้เบอร์มา โดยไปที่ร้านว่ามีของตัวนี้ไหม ร้านบอกมี

เลยสบายใจ ไม่ต้องตระเวนหาซื้อในกทม.

พอไปถึงหน้าร้าน.... ถามหาสินค้าตัวดังกล่าว...ปรากฎว่า...ไม่มี ....ไม่ได้สั่งมานานแล้ว เพราะ....แพง...

ที่มีเป็นชื่อคล้ายกัน (เลยด่าไม่ได้เลย เพราะชื่อมันคล้ายกันจริง ต่อท้ายด้วยตัวอักษรที่ไม่เหมือนกัน)

ส่วนอีกร้าน โทรถามเจ้าของบอกมี ไปถึงหน้าร้าน พนักงานขายบอกไม่มี... ต้องไปตามเจ้าของร้านมาถึงจะได้ขายกัน ว่ามีของแต่เก็บอยู่แบบว่าลึกสุดใจ 555

สรุปผมเลยปรับแผนเรื่องการจัดการคลังแสง ของผมใหม่ กล่าวคือ
- แค่โทรตรวจสอบไม่ได้ ต้องถามถึงหน้าร้าน
- สำหรับสินค้าที่ไม่ค่อยมีของ ร้านเองบางอย่างก็อยากขายให้หมดๆ แล้วไม่สั่งอีก ดังนั้นสั่งรอบนี้ กับรอบต่อไปอาจไม่มีของก็ได้ ดังนั้นต้องตัดปัญหา เพื่อให้การจัดการสะดวกง่ายดาย จึงควรสั่งแบบสต๊อกสินค้าไว้พอควรอย่างน้อยใช้ได้ 6-12 เดือน เอาแบบคุ้มค่า เพราะค่าใช้จ่ายในการวิ่งรถไปซื้อ ไม่ใช่ถูกๆ
- สินค้าที่มีขายตลอดเวลา อันนี้สั่งใช้งานแบบเดือนต่อเดือนหมดได้


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ฟาร์มเงิน สารคาม ที่ สิงหาคม 19, 2014, 09:49:28 AM
เสาร์อาทิตย์ที่ 16-17 สิงหาคม เข้าสวน เคลียร์งานระบบจ่ายน้ำ ต่อให้เรียบร้อย ก่อนลงมะนาวสิ้นเดือน

1. คุมคนงาน คลุกส่วนผสม ถ่านแกลบ 4 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ปุ๋ยขี้ไก่ 1 ส่วน ปุ๋ยขี้ค้างคาว 1/8 ส่วน ดิน(ทรายดีๆ นั้นละ) 2 ส่วน

(https://lh6.googleusercontent.com/-IS6nlhwJfvQ/U_FZCRYeDAI/AAAAAAAAycI/570-RUNg0xI/w550-h468-no/2014-08-16%2B10.16.14%2BHDR.jpg)

ระยะยาวถ้ามีเครื่องผสมปูน จะทำงานได้เร็วกว่านี้มาก แต่ต้องลงทุนอย่างน้อยๆ 13,000 กว่าบาท คิดเป็นค่าแรงแล้ว ได้ 52 Mandays

เปรียบเทียบการลงทุนจากกระแสเงินสดแล้ว ตอนนี้เลยต้องจ้างคนงานช่วยคลุกก่อนดีกว่า 555

2. ติดตั้งลูกลอย เพื่อควบคุมให้น้ำไม่ล้นแท็งก์

ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ลูกลอย มีขนาดเข้า และขนาดออก กล่าวคือ ทางน้ำเข้า มีหลายขนาด ผมซื้อขนาดใหญ่สุดที่ถูกสุดคือ 1 นิ้ว

พอแกะแพ็กเกจออกมาเตรียมติดตั้งจึงพบว่า ทางน้ำออกจริงๆ ของลูกลอย ไม่ถึง 3/4 นิ้ว และอีกตัวหนึ่งแค่ 1/2 นิ้ว

ดังนั้นใครจะซื้อลูกลอย ก็พิจารณาดีๆ ครับ

(https://lh6.googleusercontent.com/-pO_PPeDckHY/U_FZCmVAq-I/AAAAAAAAycM/JcWzZmXoN5Y/w380-h550-no/2014-08-16%2B11.08.29.jpg)

ผลคือ ทางน้ำออกน้อยไป ทำให้แรงดันท่อในระบบสูงขึ้นเกิน 1.9 บาร์ ซึ่งสวิตซ์แรงดันตั้งไว้

เลยตัดการทำงานของปั้ม

ระยะเวลาติดๆ ดับๆ ประมาณ 3-5 วินาที

เรียกว่า น้ำไม่ล้น แต่ปั้มจะพังเอา

จึงตัดใจเอาลูกลอยออก 1 อัน (เอาออกสองอันก็ได้ ที่ติดสองอัน เพราะท่อเมน 2 นิ้ว ท่อจ่ายน้ำเข้าแท็งแค่ 1 นิ้ว จึงทำใส่ไว้ 2 ท่อ ได้ปริมาตรท่อเท่ากับครึ่งหนึ่งของปริมาตรท่อ 2 นิ้วก็จริง แต่ปั้มน้ำจ่ายน้ำได้ 6Q ในขณะที่ท่อ 1 นิ้ว อัตราไหลสูงสุดที่ 3Q กว่าๆ ดังนั้น 2 ท่อ จึงเพียงพอ

ทีนี้ปัญหาน้ำล้น....ก็ปล่อยมันล้นไป 555 ใช้การควบคุมด้วยการตั้งเวลาเปิดปิดปั้ม เอาแทน

3. ติดตั้งปั้มจ่ายน้ำ สองแรงม้า

(https://lh4.googleusercontent.com/-nd8IcTK3eSM/U_FZFMzCN6I/AAAAAAAAydA/AUMKDk0CHI4/w380-h550-no/2014-08-17%2B12.45.34.jpg)
งานยังไม่เสร็จ หมดเวลาเสียก่อน

มีหลายประเด็นเลยสำหรับตัวสองแรงม้า เป็นประสบการณ์จะเล่าให้ฟัง รูปก็ไม่ได้ถ่ายมา

ไว้สัปดาห์หน้า ไปลุยต่อจะเล่าให้ฟังครับ

--------------------------
สัปดาห์ ล้อหมุนจากบ้านตีสอง ถึงสวน 8.30 ทำงานจนถึง  17.00 รีบยิงรถเข้าขอนแก่นไป Dohome ซื้ออุปกรณ์ที่ขาด (ในอำเภอไม่มีของเลย)

กลับมาถึงชุมแพสามทุ่มกว่า เช้าอีกวันเข้าสวน 09.00 ทำงานถึง 15.00 ตีรถกลับ ยิงยาวไม่มีจอด ถึงบ้าน 20.30 น.

เหนื่อยกาย... แต่ต้องลุยกันต่อไป

 

   คุณบรีส ถ้ามีโอกาสน้ำแห้งถังเก็บน้ำ ควรเทฐานเฉพาะในวงบ่อ(พื้น)ผมดูแล้วโอกาสที่จะเกิดแรงจากการเจาะทะลุ(Punching shear)ได้ครับ เพราะน้ำบริสุทธิ์ ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส  มีความหนาแน่น 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถังเก็บน้ำของท่านความจุประมาณ 5654 ลิตร หรือ 5.6 ตัน(มีภาพตอนทำฐานรองรับไหมครับท่าน จะช่วยดูให้ครับ) ดูแล้วน่าห่วงครับท่าน


หวั่นๆ ไหม...ตอบเลย หวั่นๆ ครับ 555

แต่ช่างที่ทำ เป็นช่างก่อสร้าง ผสานด้วย ดินตรงนั้นแน่น พอควร มีการทำคานคอดิน ลงเสาเข็มแผ่ 6 ต้น

และน้ำหนักต่อแท็งก์จริงๆ คือ 3 ตัน โดยประมาณ 

ถามว่า ถ้าล้มพัง ... ก็พังครับ

ให้เป็นบทเรียน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ สิงหาคม 19, 2014, 10:11:36 AM
ต้องได้มาตามหาที่นี่ซะแล้ว :D :D

ยินดีครับ อยู่จังหวัดเลย ใช่ไหมครับ ใกล้ๆ กัน ของผมอยู่ 201 ก่อนเข้าเขตอุทยานภูผาม่าน 700 เมตร ถ้าผ่านตอนนี้จะมีป้ายขายไผ่ของพี่สิทธิ์ สวนไผ่ดินหอม โฆษณาอยู่ คนงานทำงานกันอยู่ทุกวัน แต่ตัวผม ไปเสาร์อาทิตย์ครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 19, 2014, 10:35:16 AM
ไหนๆ ก็ไหนๆ ขอพูดถึงความในใจเรื่อง "ให้เป็นบทเรียน"

ในวิชาการเกษตร ผมเองต้องบอกว่าเป็นมือใหม่มากๆ มีประสบการณ์แค่การจัดสวน ปลูกผักสวนครัวในบ้านนิดหน่อย ไม่อาจเทียบได้กับใครๆ ที่มีประสบการณ์จากการทำงานตรงๆ

แต่ผมมีนิสัยชอบหาความรู้ ชอบตั้งคำถาม หาคำตอบ ในเรื่องที่ไม่รู้ และลองทำ

ด้วยแนวทางแบบนี้ บางทีผมจึงต้องขัดศรัทธาใครๆ เวลาทำงานด้วยอย่างมาก เพราะเขาต้องเถียง (เรียกว่าอธิบายเหตุผล) จนผมเข้าใจหรือค้านกับเหตุผลของผมได้ ...

แต่บ่อยครั้งวิธีการเหล่านั้นก็ไม่เหมาะในการเจรจา...สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานแบบระบบบริษัท หรือผ่านการประชุมโต๊ะกลมที่เอาปัญหามาถก ระดมสมอง แล้วก็จบภายในห้องประชุม... อาจเรียกว่าประสบการณ์มนุษย์ทำงานเงินเดือนก็ได้

ผมเองก็มีปัญหาในการเจรจากับคนที่ผมต้องฝากงานให้ทำ... หรือจ้างให้ทำ

เช่น

1. ตามการคำนวณด้วยหลักวิชาการ ระบบสายไฟในทีดินของผมต้องใช้ THW-A อย่างน้อยขนาด 35มม.

วันที่ช่างไฟฟ้ามาติดตั้ง บอกว่า 25มม ก็พอ ประสบการณ์ผมติดตั้งมาเยอะแล้ว ยังไงไฟไม่มีตก รับรอง...

แล้วเป็นไง... ไฟตกตามระเบียบ

ผมก็ไม่รู้จะไปโทษใคร ได้แต่โทษตัวเองที่ ไม่ยืนยั่น ในสิ่งที่ตนเองคิด หากมองเป็นภาพในห้องประชุมคือ ผมไม่อธิบายและยันสิ่งที่เชื่อมั่น ในเมื่อที่ประชุมสรุปแล้ว ผลออกมาเป็นไง ผมก็ต้องรับสภาพไปด้วย


2. เรื่องไฟฟ้าอีกเช่นกัน ผมคำนวณด้วย Cash Flow แล้ว พบว่า เงินจึงตึงมือมากเกินไป หากลงทุนเสาไฟฟ้าทั้งระบบ ตั้งแต่แรก ผมจึงเลือกโซล่าเซลก่อน แต่สุดท้าย ด้วยข้อมูลบางอย่างจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ก็ยืนยันว่า ขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดีกว่า ผมก็เลยเปลี่ยนการตัดสินใจ

ทำให้ต้องลงทุนสูงมาก ค่าเสาไฟฟ้า 26400 บาท ค่าเดินระบบพร้อมอุปกรณ์อีก 39000 บาท รวมๆ 65,400 บาท ได้ไฟฟ้าพร้อมแรงดันตก มาเป็นของแถม

สุดท้ายผมต้องไปหาหม้อเพิ่มไฟมาใช้งานอีก รวมๆ ค่าไฟฟ้าผมก็เกิน 70,000 บาทแน่นอน

เรื่องนี้ยังไม่เท่าไร ผมยังยอมรับได้กับการตัดสินใจ เพราะยังไง ระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าก็ดีที่สุดอยู่แล้ว

ระยะยาวมีเงินก็หาอุปกรณ์มาติดตั้งแก้ปัญหากันต่อไป

แต่ถือเป็นบทเรียนที่ดีมาก เพราะทำให้ผมได้เจอปัญหาหลากหลาย และได้ศึกษาเพื่อแก้ไข ได้เติบโต


3. เรื่องแท็งก์น้ำก็เช่นกัน ในครั้งแรก ผมให้ซื้อแท็งก์พลาสติก แล้วทำหลังคาคลุม หรือไม่ก็โอ่งปูน ไม่ต้องทำแท็งก์แบบนี้ เพราะมีความเสี่ยงหากไม่ได้คนงานมืออาชีพ สุดท้ายผมก็ไม่อยากบอกว่า เพราะแท็งก์ตัวนี้ทำให้งานหลายๆ อย่างต้องเลื่อนหมด ผมเจาะบาดาลตั้งแต่เดือนห้า กว่าจะได้ใช้น้ำผ่านมาเดือนแปดกลางๆ เดือน เหตุผลก็เพราะหาคนมาทำแท็งก์ไม่ได้ ง่ายๆ แค่นั้นเลย ทั้งๆที่ วงซีเมนต์ ถูกนำมาวางไว้ในตำแหน่งที่จะทำ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์...

ประสบการณ์ตรงนี้ สอนผมว่า ผมไว้ใจใครไม่ได้เลยสักคนเดียว และเป็นเหตุผลง่ายๆ ว่า ทำไมต้องวิ่งขึ้นลง กทม. ชุมแพ ทุกอาทิตย์ ไม่งั้นงานไม่เดิน


และอีกเช่นกัน หลายๆ เรื่อง บางเรื่องที่ผมมั่นใจ ผมก็กล้าจัดการ กล้าเถียง แต่บางเรื่อง ผมไม่มั่นใจ ก็ไม่กล้าเถียงคนมีประสบการณ์

คนมีประสบการณ์ เวลาเขามั่นใจ ยังไงเราก็เถียงไม่ขึ้น

ต้องให้ เกิดเหตุ... แล้วเป็นประสบการณ์ เรียนรู้กันไป

อย่างเรื่อง Punching shear

ผมเสนอไปว่า ให้รอบแท็งก์ด้วย ไวร์แมส แล้วฉาบปูนปิด เสริมความแข็งแรง ในช่วง 3 ท่อนล่าง

แต่ก็ไม่ได้ทำครับ

ดังนั้น ถ้ามันไม่เป็นอะไร ก็โชคดีไป แต่ถ้าเป็น เขาก็จะรู้เองว่า...เราบอกแล้ว... 555

ที่นี้ ถ้ามีเหตุการณ์ เราบอกแล้ว บ่อยๆ ...พอเจอหลายๆ เรื่องมากขึ้น

คำพูดของเราก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ

ได้รับการเคารพมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

บางเรื่อง ผมเลือกวิธี ไม่เถียง ไม่ยอมรับ ถ้าเป็นก็รับผิดชอบ

อย่างเรื่องรั่วซึม ผมบอกแต่แรกว่า ให้ผสมน้ำยากันซึม และฉาบเรียบภายในให้ดี ปรากฎว่า ภายในไม่ได้ฉาบสวย แค่ฉาบแบบบางมากๆ 

มันเลยรั่ว แบบที่เห็น นี่ก็ให้แก้ไขไปแล้ว 1 รอบ ก็รั่วน้อยลงเยอะครับ





หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ สิงหาคม 19, 2014, 10:51:00 AM
เป็นบ่อยครับ

บางครั้งความรู้ของเรา ถูกย้อนกลับมาว่า "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" แล้ว ก็เกิดจริงๆ
แต่ก็พูดไม่ได้ เพราะจะถูกมองว่า เราไป "ซ้ำเติม" ความผิดพลาดของผู้มีประสบการณ์

สิ่งที่ทำได้เมื่อเกิดขึ้นแล้วคือ "ไม่เป็นไร แก้ไขได้"
เมื่อ "ไม่เป็นไร" หลายๆครั้ง สิ่งที่ได้กลับมาคือ คำพูดของเราจะถูก "ฟัง" มากขึ้น และท้ายที่สุดก็จะเป็นการปรึกษากันด้วยเหตุผลมากขึ้น

ต้องใจเย็นเนอะ เป็นเกษตรกรสมัยใหม่

เนอะ

ผมนะ เย็นเป็นน้ำเลยครับ

ใช้สติ แล้วบอกตัวเองว่า มองไกลๆ ปัญหาแค่นี้ อย่าเอามาเป็นอารมณ์ มันไม่ได้ทำให้เป้าหมายใหญ่เปลี่ยน ไม่ได้ทำให้เส้นทางเดินเปลี่ยน

ยังไงเราก็ยังเดินหน้าเข้าใกล้ความสำเร็จไปเรื่อยๆ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: josave69 ที่ สิงหาคม 19, 2014, 11:29:35 AM
ดีคับ อยู่ ขอนแก่นคับ มาหาความรู้ ทำ

ยินดีครับ สวนผมอยู่ชุมแพ แทบจะหลุดไป เลยอยู่แล้วครับ 555


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บริหารการเกษตรภายใต้แนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน
เริ่มหัวข้อโดย: เพียรบ้านไร่ ที่ สิงหาคม 19, 2014, 09:38:05 PM
ผมติดตามเรื่องราวและความคืบหน้าของสวนเกษตรโชคดีชุมแพมาโดยตลอดและได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย  รู้สึกทึ่งกับการคิดและวางแผนที่เป็นระบบดีมากและงานต่าง ๆ ก็ดูว่าจะไปได้สวยแม้ว่าจะยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากมาย

ประสบการณ์ที่คุณบรีสนำมาเล่าให้ฟังมีคุณค่ามากต่อผู้ที่อยากจะทำสิ่งที่ตนเองสนใจคือการทำสวนแต่ยังไม่เคยทำมาก่อน  หรืออาจจะทำบ้างแต่ปริมาณไม่มากแบบลองทำดูสนุก ๆ  พอมาทำจริงในโครงการที่ค่อนข้างจะใหญ่ (สำหรับผม) และต้องทำหลายอย่างในเวลาใกล้เคียงกันก็อาจจะพบอุปสรรคต่าง ๆ เช่นนี้  และมันจะกลายเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับเจ้าตัวเพราะเหนื่อยและหรือเจ็บเองเต็มที่  มองในด้านดีคือโอกาสในการเติบโตอย่างเข้มแข็ง

ผมเชื่อมั่นว่าคุณบรีสคิดเก่ง ค้นคว้าหาข้อมูลมาก  วางแผนดี  งานจะต้องเสร็จตามเป้าหมายได้ในที่สุด  สิ่งที่เป็นห่วงก็คือการทำงานกับคนซึ่งคุณบรีสได้กล่าวมาบ้างแล้ว  ในโอกาสข้างหน้าเมื่องานสวนเดินเครื่องเต็มที่จะมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลามากขึ้น  อาจจะต้องปวดหัวกับเรื่องคนมากขึ้นเพราะ "จิตมนุษย์นั้นไซร้ยากแท้หยั่งถึง"  บางทีก็สั่งไม่ได้ตามที่ต้องการ  ขอภาวนาให้ได้พบแต่คนมาร่วมงานที่รับผิดชอบดี มีน้ำใจใฝ่เรียนรู้เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์สวนของคุณบรีสให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกันต่อไปนะครับ


ขอกราบขอบพระคุณงามๆ 1 ทีครับ

เป็นข้อความให้กำลังใจที่ดีมากครับ

ผมเองก็คิดเช่นนี้เหมือนกัน เรื่องคน ปัญหาสำคัญของผม ตอนนี้อยู่ที่เงิน และความมั่นคง

บอกตรงๆ ว่าผมยังไม่กล้า บอกชาวบ้าน ที่มาช่วยงาน ในเรื่องเกี่ยวกับอนาคต

คนบางคนชอบให้ความหวัง แต่ผมไม่ใช่

ถ้าผมพูดแล้ว สิ่งนั้นต้องเกิดขึ้นจริง

ดังนั้นตอนนี้ผมเลยยังไม่เรียกคนงานมาประชุม เรื่องแผนงาน เรื่องอนาคต แต่มีแผนมีแนวไว้แล้วครับ

ในระยะยาวสวนของผมช่วยคนงานมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยๆ ก็ 2-3 คน ในเฟสแรก หรือหมายถึง 2-3 ครอบครัว ที่จะมีรายได้มั่นคง ในท้ายที่สุด เมื่อลงพัฒนาเต็มพื้นที่

 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บันทึกการพัฒนา สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 20, 2014, 09:04:00 AM
หลังจากย้ายเข้ามุมสมาชิก แล้ว วันนี้เลยขอเปิดตัว เปิดหน้า เปิดใจ แนะนำตัวอย่างเป็นทางการกันหน่อยครับ 555

ผมชื่อ วาทยศ อัศว์วิเศษศิวะกุล (ชื่อนี้มีชื่อเดียวในโลก...มั่นใจครับ)

ชื่อ แปลว่า ผู้มีชื่อเสียงทางการพูด

มาจากการดูกฤษ์เกิดของสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) องค์ที่ 18

ท่านว่า ผมจะเป็นผู้มีชื่อเสียงในการพูด และมีดวงที่จะเติบใหญ่ได้ดีในการเป็นพระนักเทศน์

ท่านถึงกับขอพ่อแม่ผมว่าเมื่อโตจนอายุบวชได้ ให้มาบวชเสียเลย โดยท่านได้ตั้งฉายาไว้ให้ล่วงหน้าเลยเช่นกัน มีความหมายแปลได้ว่า พระผู้มีชื่อเสียงในการเทศน์

อายุอานามตอนนี้ 35 ขวบปีเลยมานิดหน่อย

เกิดในตระกูลพ่อค้า อากงทั้งสองท่าน (ฝั่งพ่อและฝั่งแม่) เป็นพ่อค้ามาจากเมืองจีนทั้งคู่

ฝั่งแม่ อากงเป็นพ่อค้าใหญ่ มีเรือสำเภาหลายลำ ค้าขายน้ำตาลเป็นหลัก จนเกิดสงคราม ญี่ปุ่นยึดเรือไปหมด ตกระกำลำบาก กลายเป็นคนจีนยากจน พอมีพอกินในท่าดินแดง
ฝั่งพ่อ อากงเดินทางมาแบบเสื่อผืนหมอนใบ มาทำงานหนัก สร้างเนื้อสร้างตัว จนเติบใหญ่ มีร้านค้าในระดับที่เรียกว่า เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต ในท่าดินแดงเลยทีเดียว พี่น้องของพ่อผม ขยับขยายกิจการมากมาย ส่วนพ่อผม...พอเพียงตั้งแต่เกิด

ไม่เอาอะไรของใคร ไม่มักใหญ่ ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ท่านเป็นตัวอย่างความพอเพียงให้ผมตัั้งแต่เกิด

พ่อกับแม่เจอกันในท่าดินแดงนั้นละครับ พอแต่งงานก็ย้ายมาเปิดร้านค้าขายของชำ ส่งผมและพี่สาวเรียน

ผมจึงโชคดีที่ได้เกิดมาในครอบครัวที่ไม่ร่ำรวย แต่ตระกูลมีเงินมีหน้ามีตา จึงเห็นความต่าง เรียนรู้ชีวิตทั้งมีและไม่มี เรียนรู้ความยากลำบากกว่าจะได้อะไรมาสักอย่างหนึ่ง

และโชคดีที่บ้านเป็นร้านขายของ ผมจึงเจอคนมากมาย กล้าพูด กล้าคุย (และอาจติดนิสัยชอบแนะนำ แบบพ่อค้าแนะนำสินค้า มาตั้งแต่เล็กๆ นั้นละ 55) กลายเป็นเด็กคำนวณเก่ง เลยชอบเรียนสายวิทย์คณิต (ยังจำได้สมัยก่อน แค่เอาของวางที่โต๊ะ ก็บอกราคารวมได้เลย ..ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว)

ผมเลยเติบโตมาด้วยวิถีชีวิตที่ "อยาก" ต่างจากพ่อ แต่ก็เรียนรู้ที่จะต้อง "ทำ" เพื่อให้ได้มา

พ่อผมสอนด้วยประโยคที่ทุกวันนี้ผมยังยึดเป็นแนวทางชีวิตคือ "ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด"

ช่วงเข้ามัธยม ผมเริ่มมีเวลามากขึ้น อิสระขึ้น ประตูโรงเรียนไม่เคยปิด (แต่ก็ไม่เคยโดดเรียน)

พอเลิกเรียนผมก็ไปทำงานพิเศษ ตั้งแต่ช่วยงานครูในโรงเรียน บางงานไม่ได้เงิน บางงานได้เงิน ปิดเทอมก็ไปทำงานที่โรงเรียน จัดหนังสือเป็นแพ็กๆ เพื่อขายตอนเปิดเทอม ไปยืนถือกล่องบริจาค (ตอนหลังมารู้ว่าหลอกลวงก็เลิก)

จนใกล้จะจบ ม.3 ผมเก็บตังค์สามารถซื้อ เกมบอย ได้ด้วยตนเอง

วันนั้นดีใจมาก แม่ก็ดีใจ ที่เห็นลูกตั้งใจเก็บเงิน (แต่มันไม่ค่อยตั้งใจเรียนนะซิ 555)

แต่พ่อไม่ดีใจด้วย...ลงโทษอย่างหนัก และดุด้วยคำที่ผมยังจำได้จนวันนี้ คือ "หน้าที่ตัวเองตอนนี้คือเรียน ก็ต้องตั้งใจเรียน ยังทำหน้าที่ตัวเองไม่ได้ดี อย่าคิดไปทำอย่างอื่น"

ตั้งแต่วันนั้น ผนวกกับผลการเรียนก็ไม่ได้ดีอะไร ผมเลยเปลี่ยนเป็นคนละคน (แต่งานเสริมก็ยังทำ แต่เงินที่ได้...เอาไปเรียนพิเศษครับ)

จนผมสอบเอ็นท์ติดตั้งแต่ ม.5 ไม่มีใครคิดว่าจะติด...
เด็กที่เกรดเฉลี่ย 2.2 เรียนภาษาอังกฤษก็ตก นั่งหลังห้อง วันสอบไม่อ่านหนังสือ แต่สอบติดจุฬาฯ

จบมาก็ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน โปรแกรมเมอร์พัฒนาระบบ กลายเป็นนักเขียน เป็นบรรณาธิการ เป็นช่างภาพ เป็นครูติวพิเศษ สารพัดอาชีพที่ผมไม่เคยเกียงทำ

...ที่ผมเล่าให้ฟัง มันคือ จิ๊กซอว์ ชีวิต ที่ทำให้ผมเป็นผมทุกวันนี้ครับ

ส่วนภรรยาผมเกิดที่ชุมแพ แต่พอช่วงมหาลัยก็เรียนที่ กทม. แล้วก็อยู่ กทม. จนถึงวันนี้

เธอเป็นลูกหลาน ตระกูลใหญ่เช่นกัน มารู้ตอนคิดจะขอแต่งงานนี้ละ ว่าตระกูลเขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอำเภอชุมแพ เป็นเหลนขุนบุญบาลบำรุง (ตระกูลดีบุญมี ณ ชุมแพ)

ตอนจะแต่งงาน ภรรยาผมเขาก็กลัวว่าทางบ้านจะไม่รับ ส่วนผมก็กลัวว่าทางบ้านผมจะไม่รับเหมือนกัน

แต่พอได้แนะนำกันและกัน...ปรากฎว่า...ผู้ใหญ่เขารู้จักกันอยู่แล้ว ... เลยอนุญาตให้แต่งงานกันได้สบายๆ

นี่ก็ผ่านมา 10 ปีแล้วครับ มีพยานรัก 1 คน 6 ขวบ

(https://lh4.googleusercontent.com/-y6KZ12UDoPo/U_QJlxqjRPI/AAAAAAAAydU/DgvBjh39gAc/w660-h497-no/P1140834.JPG)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - บันทึกการพัฒนา สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ สิงหาคม 20, 2014, 10:45:59 AM
ติดตามมาทุกหน้าเลยค่ะ  เข้าใจบ้าง  ไม่รู้บ้าง  มีแอบปริ้นไปอ่านต่ออีกตะหาก  บางอย่างไม่เข้าใจไปศึกษาเพิ่ม  ได้ความรู้มากเลยค่ะ  ขอบคุณนะคะ  การให้ความรู้คนอื่น  ก็เป็นบุญอย่างยิ่งแบบว่ามืดมาสว่างไป  จะคอยติดตามนะคะ :-[ :-[

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ไม่เข้าใจตรงไหนถามได้เลยครับ พร้อมช่วยเหลือ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 24, 2014, 10:56:51 AM
ในที่สุด วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ก็เป็นวันเริ่มต้นของต้นกล้ามะนาวต้นแรกที่ได้ปลูกลงดิน จากกิ่งมะนาวที่นำมาอนุบาลไว้ก่อนเดือนนิดๆ

ผู้จัดการกิติมศักดิ์ท่านขอกฤษ์วันดังกล่าวลงปลูกแค่ไม่กี่ต้น

จากนั้นก็ให้คนงานเตรียมหลุมปลูก โดยนำวัสดุปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว ใส่ลงไปจนเกือบเต็มหลุม

ตามด้วยดินปิดหลุม...

ผลงานได้ตามภาพ  (ไม่นับหัวน้ำหยดนะ 555)

(https://lh6.googleusercontent.com/Cmm2cDfR2-Y6LY3cUfzUG3bLrSUsKacq2VGU580qYUpV=w550-h468-no)

รู้ไหมครับผิดยังไง...

ผิดตรงที่ดินปากหลุม ต่ำกว่าดินโดยรอบ เพราะวัสดุปลูกไม่พอ ทำให้ตุ้มรากมะนาวต่ำกว่าผิวดินจริงๆ ถึง 20 ซม.

และเมื่อรากมะนาวโตเต็มที่จะลึกประมาณ 50 ซม. ก็เท่ากับ ลึกจริงๆ 70 ซม. ลึกกว่าลูกฟูกที่ยกไว้ ดังนั้นในระยะ 4-5 ปีข้างหน้าจะทำให้การควบคุมออกนอกฤดูทำได้ลำบาก

วันเสาร์ผมขึ้นไปพร้อมมะนาวอีก 600 กว่าต้น เพื่อลงให้ครบเป้าหมาย 800 ต้น ในเฟสแรก จึงได้เชิญ น้าๆ ป้าๆ มาให้ความรู้ (พร้อมแลกเปลี่ยน)

(https://lh3.googleusercontent.com/vGlv7rHCM5DI9bO4FU122uSMUr20OsV3UfYHjjuBGjy9=w380-h550-no)

จนเข้าใจกระบวนการปลูกใหม่ และให้เรียงลำดับการทำงาน

คนแรก --> คัดมะนาว ปลดตุ้ม ผูกกับไม้หลัก
(https://lh4.googleusercontent.com/rx2SM3AZJRAHJuPEQqEtmb4vS0TQ4y7V3unb9QewoWpx=w341-h550-no)


คนสอง --> ใส่ สตาร์เกิ้ล จี ป้องกันแมลงเจาะดูด ต่างๆ
(https://lh3.googleusercontent.com/-VVg7c3qcp-A/U_lqXeA9gZI/AAAAAAAAyis/FWU-BmhcCyY/w341-h550-no/P1140894.JPG)

คนที่สาม --> นำวัสดุปลูกผสมดิน พูนโคนให้มิดราก
(https://lh5.googleusercontent.com/-cH3bW0FoDoE/U_lo0qW0AaI/AAAAAAAAygg/OSJ2Js9fv8M/w550-h424-no/P1140893.JPG)

คนที่สี่ --> เศษหญ้าสับ ปิดหน้าดิน
(https://lh6.googleusercontent.com/yOt7qb2ImqGrlFHUfP6KPgfE3wzJkIuXRyqL48E448Ba=w550-h424-no)

ก็จะได้หลุมสวยๆ ตามรูป ซึ่งยังไม่ถือว่าเรียบร้อยดี
(https://lh6.googleusercontent.com/-5tR23vOdr2I/U_lo6bJYCFI/AAAAAAAAyiI/X0x0kSyOQhU/w341-h550-no/P1140918.JPG)

1. ติดปัญหา วัสดุปลูกไม่พอ เลยให้เวลา 2 อาทิตย์ ให้พ่อตา หามาเติมให้ครบ จนไม่เป็นหลุม
2. ดินที่ตักไว้ค้างๆ ทำให้ลูกฟูกดูไม่สวยงาม ต้องปรับระดับให้เท่าๆ กัน เพื่อให้สาย PE ไม่ยกขึ้นยกลงด้วย


 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 24, 2014, 01:53:36 PM
มาดูการขนมะนาวกันครับ

รถอินโนว่า 1 คัน คนขับ 1 คน สัมภาระนิดหน่อย สรุป กิ่งมะนาว 630++ (ไม่ได้นับ คุณชาย ท่ายางท่านก็ให้มาเกิน)

เต็มครับ ขับมาพร้อมความหอมกลิ่นมะนาว ต้องเปิดหน้าต่างขับกันเลยทีเดียว

ขับๆ อยู่ก็มีแมงมุมกระโดดมาเกาะ อืม...เรียกว่าเป็นกิ่งพันธุ์สมบูรณ์ตามธรรมชาติจริงๆ

ขอบคุณท่านชาย ท่ายางด้วย อุตส่าห์ไปส่งถึงกำแพงแสน (ถ้าคุยกันอีกนิด มาส่ง กทม. ก็ดีอยู่แล้ว 555)

(https://lh3.googleusercontent.com/-KYzjwCnXO48/U_lomH5iQ3I/AAAAAAAAyeE/pfHBhP0uwDw/w550-h468-no/2014-08-21%2B20.18.33.jpg)

หน้าตาคุณชาย หมดสภาพครับ 555 เร่งตัดกิ่งมาให้ผม ตามนัดหมาย
(https://lh5.googleusercontent.com/-DuudG0g1GmM/U_lomsY2exI/AAAAAAAAydw/FdR9htOrtF4/w550-h468-no/2014-08-21%2B20.16.59.jpg)

(https://lh4.googleusercontent.com/-Vf-W24eob8c/U_lom-c4IYI/AAAAAAAAyd4/b7l4ayx1e4k/w550-h468-no/2014-08-22%2B10.29.44%2BHDR.jpg)

เปิดประตูปุ๊บ กิ่งร่วงเลย อัดมากันเต็มๆ
(https://lh6.googleusercontent.com/-p4DcfEPRdqI/U_lonWeL-QI/AAAAAAAAyeA/cASD9dZrt3s/w380-h550-no/2014-08-22%2B10.29.54.jpg)



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 24, 2014, 02:28:21 PM
ตอนนี้ว่าด้วยประสบการณ์ เปลี่ยนจากกระดาษเป็นของจริง "เรื่องระบบน้ำ"

(https://lh4.googleusercontent.com/-eZmKnPjfLTI/U_lo4N8FxZI/AAAAAAAAyhM/6rjhD9G9Byw/w550-h424-no/P1140904.JPG)

เท้าความกันสะนิด

ตามแผนเดิมผมติดตั้งระบบน้ำหยดแบบใช้ปั้มอัดแรงดัน โดยกำหนดให้ 10 นาที จ่ายน้ำได้ประมาณ 5 ลิตรต่อต้น ส่วนจำนวนครั้งในการรด ขึ้นกับสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อนอาจรดวันละ 4 ครั้ง เป็นต้น

แต่สัปดาห์ก่อนที่ไปติดตั้ง ใจร้อนไปหน่อย กาวยังไม่แห้งดี (แถมมีบางจุดยังไม่ติดกาว) ลองเปิดดูด้วยแรงดันของปั้ม ก็ทำให้ท่อกระจุยกระจาย สรุปต้องเลื่อยตัดออก 1 ตำแหน่ง เปลี่ยน ยูเนี่ยน 1 ตัว เพราะเกลียวงอ

สัปดาห์ที่แล้วเลยทิ้งไว้พร้อมคำถามในหัว ระหว่างทางที่ขับรถกลับจาก ชุมแพมากทม. เลยได้คิด คำนวณใหม่

ระบบท่อที่เราวางไว้ทั้งหมด รองรับระบบน้ำหยดแบบไม่ต้องใช้ปั้มได้แน่นอน

จึงลองใหม่ ต่อท่อตรงจากแท็งก์ เข้าท่อเมน 3 นิ้ว โดยซื้อกรองดิสเพิ่ม 1 อัน มากั้นไว้ ไม่ต้องทำท่อบายพาย เพราะแรงดันไม่มากมาย และหัวน้ำหยดจริงๆ ก็ไม่ได้ใช้แรงดันมากเช่นกัน

(https://lh4.googleusercontent.com/7gWYmYWYJFp9EDtoX8qKhdbNgWOIIWJfcsR3pQgoopfk=w550-h468-no)

โจทย์ที่ต้องการทดสอบคือ หัวน้ำหยด 800 หัว เท่ากับ 800 ลิตรต่อชั่วโมง (หัวละ 1 ลิตรต่อชั่วโมง) จะสามารถจ่ายผ่านแท็งก์ขนาด สูง 3 เมตร จำนวน 2 แท็งก์ จุดสูงสุดของหัวน้ำหยดกับระดับน้ำ ต่างกันเพียง 1.5 เมตร จะสามารถจ่ายน้ำได้หรือไม่

ลองคำนวณ
น้ำ 1 หยดขนาดมาตรฐาน (มีขนาดไมโครดรอปอีก) คือ น้ำหยดทั่วๆ ไป ที่หยดจากหัวน้ำหยด มีปริมาณ 0.05 มิลลิลิตร ดังนั้น 800 หัว เท่ากับจ่ายน้ำ 40 มิลลิลิตร หากเราควบคุมให้หยด 1 หยดต่อวินาที ก็จะเท่ากับ จ่ายน้ำได้ 144 ลิตรต่อชั่วโมง

อัตราน้ำไหลออกขนาดนี้ เรียกว่าน้อยมาก จนไม่ต้องใช้ปั้มใดๆ ก็น่าจะไหลออกได้

โดยทฤษฎีจึงเป็นไปได้แน่นอน

(https://lh5.googleusercontent.com/-fEbOoV6zZko/U_lot7qmA7I/AAAAAAAAyfU/_9vmoKFpYkE/w380-h550-no/2014-08-22%2B16.26.47%2BHDR.jpg)

...แล้วที่ท่านอื่นๆ มีปัญหาละ

ส่วนใหญ่ติดปัญหาเรื่องแรงดันในท่อต่างหากหรือ Head Loss (ย้อนกลับไปหน้า http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.64 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=108806.64) อ่านดูนะครับ)

ตามระบบที่ผมวางแบบไว้

แท็งก์สูง 3 เมตร เท่ากับ H 3

ท่อเมน 3 นิ้ว เสีย H เท่ากับ 0.3 ต่อ 100 เมตร ผมต่อท่อเมน 3 นิ้ว แค่ 30 เมตร ดังนั้นเสีย Head Loss เท่ากับ

(0.3/100)*30 = 0.09

ดังนั้น ณ จุดต่อท่อเมน 3 นิ้ว ไปท่อ 2 นิ้ว ผมจะเหลือ H เท่ากับ 3-0.09 = 2.91

ท่อ 2 นิ้ว ผมเดินเป็นแนวยาว 40 เมตร โดยท่อ 2 นิ้ว เสีย H เท่ากับ 3 ต่อ 100 เมตร ดังนั้น ผมเสีย H ในท่อ 2 นิ้วเท่ากับ

(3/100)*40 = 1.2

ดังนั้น ณ จุดต่อท่อแขนง 2 นิ้ว ผมเหลือ H เท่ากับ 2.91-1.2 = 1.71

ซึ่งแม้มีแรงดันน้อยขนาดนี้ แต่โดยพื้นฐานแล้ว ก็เพียงพอต่อการหยด

แต่เพื่อไม่ประมาท ผมจึงเพิ่มแรงดันในท่อ ด้วย แอร์แวะ โดยติดไว้ทั้งหมด 4 จุด คือ ก่อนจะลดท่อเมน 3 ไป 2 และครึ่งทางของท่อ 2 นิ้ว รวม 4 จุด

ส่วนคนที่ติดปัญหาส่วนใหญ่ เท่าที่ผมไปดูงาน คือ ใช้ท่อเล็กเกินไป ทำให้ เมื่อเดินแนวท่อไประยะหนึ่ง น้ำจะหมดแรงดัน (เมื่อน้ำหมดแรงดัน ก็จะไม่สามารถไหลขึ้นได้อีก (พื้นดินการเกษตรไม่ราบเรียบเสมอกัน) แต่แม้ไม่มีแรงดัน น้ำสามารถไหลต่อได้ หากมีปริมาณน้ำมาเติม

การเติบน้ำคือ การเพิ่มมวลของน้ำ เมื่อสะสมกันมากๆ จะเพิ่มแรงดันน้ำได้เอง

-------------------------------

จากท่อ 2 นิ้ว ผมใช้ข้อต่อของ กนกโปรดักส์ ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่ารูปแบบอื่นๆ เพราะเป็นข้อต่อตรง ที่มีหัวสำหรับต่อท่อ PE ได้เลย ตามภาพ
(https://lh3.googleusercontent.com/-E0G2mn2VEec/U_lotMk_PfI/AAAAAAAAyfE/TFtju6nnmpw/w380-h550-no/2014-08-22%2B16.26.39.jpg)



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 24, 2014, 02:42:33 PM
ส่วนอันนี้คือ งานแก้ไข ระบบปั้มที่เรียบร้อย

หลักการคือ จากหัวปั้มทางน้ำออก ให้ลองดูว่าปั้มจะพ่นน้ำได้ไกลเท่าไร ให้ใส่ท่อตรงยาวเท่านั้น ผมลองแล้วได้ประมาณเกือบ 2 เมตร จึงยกท่อไว้ 2 เมตร แต่ที่ต้องยกไปสูงเกือบ 4 เมตร เพราะทำระบบเพิ่มอากาศ ตัดปัญหากาลักน้ำ

(https://lh5.googleusercontent.com/gyiadajqxrlnRblSD-0JVVBnJRPClzzcbmZyfOpV52sC=w380-h550-no)

กล่าวคือ ถ้าไม่ทำแบบนี้ ก็ต้องหาวาวล์ไฟฟ้ามาใช้งาน เพื่อเปิดและปิดท่อ เพราะถ้าไม่ปิด น้ำจะไหลออกไปเรื่อยๆ

ผมจึงใช้แนวคิดจากเพื่อนๆ ในเว็บเกษตรพอเพียงมาทำ (ขอขอบคุณทุกคนไว้ ณ ที่นี้ครับ ผมไม่สามารถหาได้ว่าใครเป็นคนแรกที่คิด) โดยจุดบนสุด ต่อเช็ควาวล์ แต่ใส่ย้อนกลับ คือ เมื่อน้ำมีแรงดัน วาลว์จะปิด เมื่อไม่มีแรงดันวาวล์จะเปิด ทำให้อากาศเข้ามาแทนที่

ซึ่งเป็นการทำลายสภาพกาลักน้ำนั่นเอง

แต่ความสูงของท่อขนาดนี้ เสี่ยงมากต่อการหัก จึงให้คนงานทำขาซัพพอร์ต

(https://lh4.googleusercontent.com/-YIWNUzNUqXY/U_lo3tClUSI/AAAAAAAAyiU/t5ZWRTRoYTk/w341-h550-no/P1140902.JPG)

ถึงตอนนี้ระบบน้ำก็เหลือแค่ ระบบไฟฟ้า ที่ต้องหาหม้อเพิ่มไฟ มาติดตั้ง และทำระบบหลังคาคุ้มกันฝนเสียก่อน

ซึ่งด้วยการเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นระบบน้ำหยด ก็เลยทำให้จริงๆ แล้ว ไม่ต้องใช้ปั้มเลยด้วยซ้ำไป

แต่ยังคงติดตั้งปั้มไว้...เพราะ....

ยังเทสต์หัวน้ำหยดไม่เรียบร้อย... 555

ถ้าระบบน้ำหยดมีปัญหา ผมจะเปลี่ยนไม่ใช่น้ำหยดตามธรรมชาติ แต่ใช้ปั้มจ่ายตามแนวคิดแรกเหมือนเดิม

แต่ถ้าลองใช้งานไปหลายๆ เดือนแล้วพบว่า ไม่มีปัญหาอะไร ก็จะถอดระบบปั้มออก (แล้วจะเอาไปใช้อะไร... ผมคิดไว้ตั้งแต่ซื้อแล้วครับ ว่าสามารถใช้ดูดน้ำจากบ่อได้ ดังนั้นในอนาคตก็ต้องใช้อยู่ดี)

โดยพื้นฐานบอกเลยว่าเปลืองครับ ไม่ตรงแนวคิดเท่าไร

แต่ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ผมถือเป็นประสบการณ์ เป็นค่าวิชาในการเรียน เพราะผมยังมีพื้นที่เหลืออีก 20 ไร่ ที่ต้องจัดการ การวางระบบน้ำยังต้องทำอีกหลายรอบ ประสบการณ์รอบนี้จะช่วยให้รอบต่อๆ ไป เหมาะสมยิ่งขึ้น



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 24, 2014, 02:54:18 PM
ปัญหาที่ยังต้องคิดคำนวณและทดสอบคือ

1. หากปรับหัวน้ำหยดให้หยดในอัตรา 2 ลิตรต่อนาที (อัตราสูงสุด) จะยังสามารถจ่ายน้ำได้ 800 หัวเท่ากันหรือไม่
2. จะต้องปรับแก้อย่างไร ให้สามารถจ่ายปุ๋ยผ่านระบบน้ำหยดได้
3. อุปกรณ์ที่เหลือในการปรับแก้แล้ว จะเอาไปใช้ทำอะไรต่อ (ปั้มใช้กับบ่อน้ำได้แน่นอน แต่ตัวท่ออื่นๆ จะใช้ทำอะไรได้บ้าง


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 25, 2014, 09:15:52 AM
ยิ่งคิดยิ่งเครียด อยากรู้ผลการทดสอบเร็วๆ แต่อันตัวเราเป็นมนุษย์เงินเดือน หมดเสาร์อาทิตย์ ก็ต้องกลับมาทำงาน

หัวน้ำหยดเจาะได้เพียง 100 หัว ที่เหลือ 700 หัว ต้องให้คนงานช่วยเจาะ

ตอนนี้ที่ผมรอผลคือ ถ้าสามารถตั้งค่าหัวน้ำหยด ให้ทั้ง 800 หัวสามารถหยดได้ 1600 ลิตรต่อชั่วโมง (รวมกันหมด 800 หัว)

ผมจะปรับเปลี่ยนระบบจ่ายปุ๋ย เป็นปั้มโม่ปูนตัวเล็กๆ แทน ซึ่งนั่นหมายถึง ผมได้แก้ปัญหา

1. ปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก ช่วยให้ไม่ต้องหาหม้อเพิ่มไฟฟ้ามาใช้งาน
2. ประหยัดค่าไฟ สำหรับปั้ม 2 แรง ที่ต้องเปิดทุกวันๆ ละ 45 นาที (คิดง่ายๆ วันละ 2 หน่วย คิดเป็นเงินเดือนละอย่างน้อยๆ 300-400 บาท)

ส่วนอุปกรณ์ที่เหลือ เก็บไว้ใช้สำหรับงานสูบน้ำจากบ่อ อัดเข้าสปริงเกอร์ เพิ่มความชื้นในอากาศด้วยยามหน้าร้อน ตามแผนจะขุดบ่อในช่วงหน้าแล้งปีหน้าแทน ก็ถือว่าลงทุนไม่เสียเปล่า มีเสียก็แค่ ข้อต่อท่อต่างๆ รวมๆ กันไม่เกิน 1000 บาท เป็นค่าประสบการณ์ 555

---------------------------------------------------
ท่านใดมีประสบการณ์แชร์ ช่วยบอกนะครับ ผมจะได้ไม่เดินหลงทางอีก

ที่หลงทาง เพราะที่ไปดูงานน้ำหยดในสวนต่างๆ ส่วนใหญ่ จ่ายน้ำได้แค่ 100-200 หัวเท่านั้น เลยกลายเป็นตัวแปรชะงักความคิด ก้าวไม่พ้นจากความไม่รู้

เพราะเราลืมดูไปว่า ท่อเมนเขาใช้กันเป็นท่อ 1 นิ้วบ้าง 1 1/2 นิ้วบ้าง ไม่มีใครยอมลงทุนใช้ท่อเมนท่อใหญ่แบบเรา

ถ้าผมมีประสบการณ์ และแม่น

ผมคงเลือกระบบน้ำหยด โดยอาจไม่ต้องลงทุนระบบปั้มให้จมเงินล่วงหน้าขนาดนี้ 555

---------------------------------------------------

มาดูเรื่องอื่นๆ บ้าง

ภาพนี้คือ ถนนท้ายสวนครับ รถบรรทุกวิ่งได้ 1 คัน ขนาดประมาณ 4 เมตรขึ้นไป เตรียมไว้เป็นแนวกันไฟ สองข้างถนน จะปลูกไผ่ซางหม่น เลี้ยงก่อแบบแนวยาว เป็นปราการกำแพงธรรมชาติ ระยะ 5 ปี ตัดลำสวยๆ ขาย รวมๆ น่าจะปลูกได้ 2-3 ร้อยกอ ถ้าตัดขายก่อละ 10 ลำ ก็ได้ 2-3 พันลำ กำลังดี ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป

(https://lh5.googleusercontent.com/-ubPFmhjf4kk/U_lo7Ha6kBI/AAAAAAAAyhs/M80zmAK_VJA/w550-h424-no/P1140922.JPG)

จากแนวถนนท้ายสวน ก็ทิ้งระยะไว้อีก 12-15 เมตร ก่อนจะถึงแปลงมะนาว

ระยะยาวยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี แต่ระยะสั้น คงทิ้งไว้เฉยๆ เพราะในระยะยาวเมื่อไผ่โตได้ที่ พื้นที่ตรงนี้จะร่ม ตั้งแต่เช้าจนเที่ยง อันเป็นผลจากเงาไผ่

ตอนนี้ที่คิดๆ เล็งๆ ไว้คือ แนวทำ ปุ๋ยหมักแม่โจ้

(https://lh6.googleusercontent.com/-ZHP3AgSjcfM/U_lo80K8ERI/AAAAAAAAyiA/wNS6DX4u_Kk/w550-h424-no/P1140927.JPG)


นี้ก็อีกปัญหาหนึ่ง การปรับระดับร่องน้ำ ยังไม่ดี ทำให้ยังมีน้ำขัง ไม่ไหลไปรวมกัน เป็นงานที่ต้องแก้ไข
(https://lh3.googleusercontent.com/-2T2eg9pagd4/U_loz6UNckI/AAAAAAAAygc/6dHwAUiwXZs/w550-h424-no/P1140890.JPG)

บางทีเห็นงานเพิ่ม งานงอก แล้วก็คิดถึงว่า ถ้าเรามีเวลาลงมาทำเต็มๆ ก็คงดีนะ ...

เพราะงานบางอย่าง ต้องเฝ้า ต้องดู ถึงจะเห็นคำตอบของปัญหา

แต่เราเฝ้าไม่ได้ ดูไม่ได้ ก็ต้องเลยตามเลย...


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: ฟาร์มเงิน สารคาม ที่ สิงหาคม 25, 2014, 09:49:15 AM
   สวัสดีครับคุณบรีสจากประสบการณ์ที่ประสบมากับ Eng for civill อย่างผมมีการบ้านให้ไปทำเพิ่มอีกข้อครับท่าน  ;) ;) ;)
อย่าให้น้ำขาดถังกักเก็บ(น้ำหมดในถังเก็บ)งานเข้าเลยครับ กว่าจะไหล่ระบบให้ครบ Root ใช้เวลามากพอสมควร แต่ที่ท่านเลือกระบบน้ำหยดมาถูกทางแล้วครับท่าน เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ก่อเกิดประโยชน์อันสูงสุดแล้วครับท่าน


ใช่ครับ ครั้งแรกที่เปิดท่อ รอน้ำนานมาก ประมาณ 3-4 นาที กว่าจะเดินทางมาครบถึงปลายสุด โดยประเด็นนี้ผมก็คิดไว้แล้วครับ

ติดปัญหาต้องทดสอบ คือ หัวน้ำหยดครับ

ผมเลือกแบบปรับได้ เพราะต้องการใช้งานได้หลากหลายแบบ

ผมวางแผนไว้ว่า

- หน้าฝน ผมปรับเป็นเล็กสุด คือ 1 หยดต่อวินาที จะช่วยเรื่อง ระยะเวลาการเติมน้ำในแท็งก์ ผมสามารถตั้งเวลาให้ห่างๆ กันได้ และปริมาณน้ำที่จ่ายให้ต้นไม้ ก็ไม่มากเกินไป คือ วันละแค่ 4.5 ลิตร เท่านั้นเอง ถือว่าน้อยมากสำหรับมะนาว แต่ถ้ามีฝนตกก็ถือว่าเหมาะสม ไม่ต้องไปวุ่นวายปิดๆ เปิดๆ

- หน้าร้อนกับหนาว ปรับหัวให้ไหล 4 หยดต่อวินาที ก็จะจ่ายน้ำให้ต้นมะนาวได้ วันละ 18 ลิตรโดยประมาณ ก็เพียงพอ

ทีนี้ ที่ผมต้องหาคือ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลา น้ำลด กับน้ำเติม ต้องตั้งอย่างไร ถึงจะมีน้ำในระดับที่เพียงพอต่อการจ่ายน้ำอยู่ตลอดทั้งวัน

ที่ดูคร่าวๆ น่าจะเติมน้ำ ประมาณ 15 นาทีต่อชั่วโมง ซึ่งระบบควบคุมน้ำบาดาลตั้งเวลาได้อยู่แล้วครับ

ถ้าได้สำเร็จ ผมจะเอาแนวทางนี้ไปวางกับอีก 1200 ต้นที่เหลือ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: ฟาร์มเงิน สารคาม ที่ สิงหาคม 25, 2014, 10:39:11 AM
   อยากเพิ่มเติมที่คุณบรีสควรดูเพิ่มเติมคือ อย่ายึดถืออย่าเชื่อหมั่นหลักวิทยาศาสตร์เกินไป เพื่อใจอุปสรรคไว้หน่อยครับ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เสมอในงานที่เราทำมากับมือเช่น ข้อต่อหลุด หัวจ่ายหลุด ด้วยความเคารพน่ะครับท่าน ปัญหานี้ผมเจอมาแล้วเลยอยากแบ่งปันใช่เสียหาย ป้องกันสิ่งที่คาดไม่ถึงด้วยก็ดีครับท่าน  ;) ;) ;)


ขอบคุณครับ

ปัญหามีไว้แก้ไข การทำงานผมจึงเผื่อไว้ค่อนข้างเยอะครับ (บางทีก็เยอะเกินจนเหมือนเปลือง)

ข้อต่อหลุดนี้เจอแล้วครับ สรุปลืมทากาว 555

ส่วนหัวจ่ายตรงสปริงเกอร์ กำลังหาวิธีเป็นแผนงานอยู่ว่าจะเดินตรวจอย่างไรดี เพราะ ระยะทางเดินไม่ใช่น้อยๆ รอบหนึ่ง 1.6 กิโลเมตร

นอกจากนี้ผมใช้วิธีซื้อของไว้เป็นอุปกรณ์สำรองค่อนข้างเยอะครับ เช่น ข้อต่อตรง PE ก็ซื้อไว้นับ 10 เผื่อการทำงานใดๆ แล้วไปโดนท่อ PE แตกขาด

จริงๆ ถ้าไม่รบกวนจนเกินไป ขอท่าน ฟาร์มเงิน สารคาม ช่วย ทำเป็น list ได้ไหม อะไรที่ท่านเจอแล้วคาดไม่ถึง

เผื่อท่านอื่นๆ อ่านด้วย จะได้ประโยชน์ร่วมกันหมด เผื่ออันไหนผมไม่เคยคาดคิดไว้ด้วย จะได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้


ขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ

 ;) ;) ;)




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 25, 2014, 03:21:03 PM
เพาะเชื้อไตรโคเดอร์มา ลดการใช้สารเคมี

สวนมะนาว ใครๆ ก็บอกมีแต่สารเคมี ผมเองก็ไม่ใช่พวกเกษตรอินทรีย์สุดๆ เรียกว่าใช้ตามสมควรดีกว่าครับ

สารชีวภาพต่างๆ เมื่อคำนวณต้นทุนแล้ว บอกได้เลยว่า แพงกว่าในระยะสั้น

แต่ในระยะยาวแล้ว อาจคุ้มค่ากว่าหรือไม่ ต้องอยู่ที่สภาพแวดล้อม

สารชีวภาพตัวแรกที่ผมเลือกใช้คือ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เหตุผลคือ เป็นเชื้อราครอบจักรวาล

มีงานวิจัยยืนยันแล้วว่าแก้ปัญหาโรคราได้หลายชนิด และยังมีส่วนลดปัญหาโรคแคงเกอร์ด้วย

ลองคำนวณต้นทุนเล่นๆ ถ้าไม่เพาะเชื้อเอง ซื้อแบบสำเร็จผสมน้ำได้เลย เท่ากับ ประมาณครั้งละ 150 บาท ต่อ 100 ต้น สำหรับราดลงดิน หรือถ้าฉีดพ่นก็จะได้ประมาณ 150 บาทต่อ 400-500 ต้น

แต่ถ้าเพาะเชื้อเอง ก็ตกแล้ว ไม่ถึง 10 บาท ต่อ 800 ต้น ในระยะต้นเล็ก และเมื่อโตก็อาจไม่ถึง 30 บาทต่อ 800 ต้น

ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายพอๆ กับการใช้สารอื่นๆ แก้ปัญหาโรคแคงเกอร์


วิธีการเพาะคือ

เตรียมอุปกรณ์
1. หัวเชื้อจาก ม.เกษตร ขวดละ 100 บาท 1 ขวดใช้ทำได้ 40 ถุงข้าว
2. ถุงร้อน ขนาดสัก 5*6 นิ้ว หรือใหญ่กว่า (ยิ่งใหญ่ยิ่งตักง่าย)
3. แอลกอฮอล์
4. ถาดวางข้าวถุง เพื่อความเป็นระเบียบ และไม่กระทบกระเทือน
5. ส้อม ทัพพีตักข้าว
6. ยางรัดของ

(https://lh3.googleusercontent.com/-Oonb0Lh4_m0/U_r1jt4l71I/AAAAAAAAyjE/QwaZRVCohC8/w550-h468-no/2014-08-18%2B21.11.54.jpg)

หุงข้าวที่ถูกที่สุด (ต้นทุนจะได้ถูกสุด... แต่รอบแรกใช้ข้าวหอมมะลิที่บ้านเลย 555 แต่ในรูปออกสีน้ำตาล เพราะมีข้าวหมาเหลือๆ เก่าเก็บค้าง 3 ปี อยู่ด้วยเกือบกิโลกรัม) โดยกะง่ายๆ น้ำพอดีข้าว หรือถ้าตามสูตรจริงๆ ก็ ข้าว 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน

หุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่เราใช้ๆ กันนี่ละครับ

จากนั้นเอาแอลกอฮอล์เช็ดทัพพีตักข้าว เพื่อฆ่าเชื้อโรค

พอสุกกำลังร้อนสุดๆ ให้ตักใส่ถุงร้อนทันที ปริมาณการตักคือ 250 กรัม แต่ผมไม่มีเครื่องชั่ง เลยใช้สามช้อนทัพพี

เพราะการตักข้าวร้อนๆ จะช่วยฆ่าเชื้อโรค และป้องกันเชื้อราตัวอื่นๆ ผสมเข้าไปในถุง

จากนั้นพับปากถุงปิดไว้ เรียงให้แต่ละถุงไม่ทับกัน (ในรูปทับกันเพราะเอาถาดมาเตรียมไม่พร้อมในตอนแรก)

(https://lh6.googleusercontent.com/-5ZR7VwnsAxk/U_r1jnZWtuI/AAAAAAAAyjY/4W7S1CkrR8w/w550-h468-no/2014-08-18%2B21.25.40.jpg)

รอจนข้าวอุ่น แบบที่เราตักกินได้สบายๆ ไม่เย็น

เปิดปากถุง ไม่ต้องยกถุงขึ้น แค่เปิดปาก แล้ว เยาะๆ เชื้อลงไป เพียงเล็กน้อย ประมาณใส่พริกไทยในข้าวต้มสำหรับเด็กพอหอมๆ

เห็นเป็นดำๆ จุดๆ นิดๆ จากนั้นก็ รีบมัดปากถุงด้วยหนังยาง (หยิบถุงขึ้นมาเลยครับ)

แล้วก็ขย้ำให้เชื้อกระจายเต็มๆ ขย้ำเสร็จอาจมองไม่เห็นจุดดำๆ อีกเลย

จากนั้นก็เรียงข้าวให้แบนๆ แล้วเอาส้อมมาเจาะ รูที่บริเวณปากถุง เจาะด้านเดียวคือ ด้านที่หงายขึ้น จำนวนการเจาะ ผมใช้ 5 ครั้ง ก็ได้ประมาณ 20 รู

ทำเรียงแบบนี้ไปทุกถุง

จากนั้นก็เอาไปเก็บไว้ในห้องที่อากาศถ่ายเท ไม่ร้อน มีแสง ไม่มีแดดถึงแรงๆ

ห้องที่ว่าในบ้านผมก็เลยมาตกที่ ห้องน้ำ... 555

ทิ้งไว้สองวัน กลับมาดู จะมีราขาวบ้าง เขียวอ่อนๆ บ้าง

ตามหลักเขาให้ ขย้ำอีกรอบ ก็ขย้ำไป จนทั่วๆ แล้วก็จัดวางไว้เหมือนเดิมครับ

ทิ้งไว้อีก 5 วัน เป็นตามภาพ ก็ถือว่าสำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จ จะมีราสีอื่นๆ ปรากฎอยู่
(https://lh4.googleusercontent.com/1SN9Yhg6xDHskdrkHyFYOTfwpT9Q4eLCdCimZhepcYBL=w550-h468-no)

(https://lh4.googleusercontent.com/rYlbJqbw6tLbAKZjSIEafKWqWlS0W53z8HMZfC_mjqDv=w550-h468-no)


การเอาไปใช้งาน ก็ตามสูตรครับ เชื้อสดในข้าว 100 กรัม ผสมน้ำได้ 20 ลิตร


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: เกษตรกรออนไลน์ ที่ สิงหาคม 25, 2014, 04:08:06 PM
มาเรียนรู้ระบบน้้ำค่ะ
ต้องไปลองทำบ้างแล้ว


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: lumpu ที่ สิงหาคม 25, 2014, 04:51:04 PM
ปักหมุดรอเรียนรู้ด้วยคนครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 26, 2014, 07:59:52 AM
ทำไม ไตรโคเดอร์มา ถึงสำคัญกับมะนาว

ปัญหาโรคในมะนาว มีไม่มาก แต่กวนใจสุดๆ คือ แคงเกอร์

แคงเกอร์เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย และถ้ามีแล้วก็ยากจะหมดไป

สวนเกษตรโชคดีชุมแพ มีเป้าหมายปลูกมะนาวแป้นรำไพ ซึ่งเรียกว่า เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์มากๆ เอาเป็นว่าชาวสวนมะนาวเก่งๆ ปลูกแล้วช่วงหน้าฝนยังไงก็มีติดมา

แล้วเชื้อโรคนี้ แก้ไขได้อย่างไร

1. ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรค เผาทิ้งทั้งหมด
2. ควบคุมไม่ให้เชื้อลงดิน

เท่าที่ผมทดสอบกับแป้นรำไพที่บ้าน ที่ปล่อยให้แคงเกอร์กินเกือบทั้งต้น พบว่าเมื่อตัดส่วนที่เป็นแคงเกอร์ออกจนหมดแล้วเผาทิ้ง ไม่ให้ตกถึงพื้นเลย และควบคุมดินด้วยการใส่กระถางมังกรขนาดใหญ่ จำลองสภาพเป็นการเลี้ยงดินปกติ

พบว่า ถึงตอนนี้ แคงเกอร์ก็ยังไม่กลับมาปรากฎให้เห็นอีกเลย ทั้งๆ ที่เข้าหน้าฝนชัดเจน

ดังนั้นโดยหลักการ หากกำจัดเชื้อได้หมด การระบาดของแคงเกอร์ก็จะหมดไปเช่นกัน

ไตรโคเดอร์ม่า จึงมีส่วนเข้ามาช่วยเรื่องนี้โดยตรง

โดยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่ราดลงดิน จะช่วยจัดการควบคุมเชื้อราตัวร้ายทั้งหลาย ซึ่งมีบางตัว มีส่วนสำคัญต่อเชื่อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของแคงเกอร์

ผมไม่ได้คาดหวังว่าจะจัดการได้หมด แต่ผมคาดหวังว่า เชื้อแคงเกอร์ที่อยู่บนใบ เมื่อถูชะจากน้ำฝนลงดิน จะถูกจัดการผ่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่านี้

ซึ่งแตกต่างจากการใช้คอปเปอร์ หรือธาตุอื่นๆ เพราะการใช้สารเคมีเหล่านั้นจะหยุดเชื้อโรคได้ แต่ไม่ได้ป้องกันระยะยาว

แต่เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า หากเราใส่เพิ่มเติมเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ก็จะป้องกันและจัดการกับเชื้อโรค เป็นภูมิคุ้มกันให้กับต้นไม้ได้ในระยะยาว (ยาวจนกว่าเราจะหยุดใส่นั้นละ 555)



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: pook_kkf ที่ สิงหาคม 26, 2014, 12:29:16 PM
ถึงย้ายบ้านไปแล้ว แต่ผมก็จะตามให้กำลังใจอยู่นะครับ
ของท่านบรีส โปรเจคใหญ่จริงๆ ส่วนของผมคง ใช้เป็น Model เล็กๆ
เพื่อนำไปต่อยอดกับ Model ใหญ่อีกที เนื่องจากติดข้อจำกัดต่างๆ
ทั้งเรื่องที่ดินและ งบประมาณครับ  ช่วงนี้ก็ขอศึกษาแนวทางของท่านบรีสไปก่อนก็แล้วกัน อิอิ ;D

555 นั่นซิครับ บางทีนั่งเฉยๆ เบื่อๆ ก็คิดนะ

ว่า เรามาทำอะไร อยู่เฉยๆ เงินเก็บที่มี ก็เพียงพอที่จะอยู่อย่างสบายๆ ในกรุงเทพฯ มีรายได้จากเงินปันผลหุ้น

แต่สุดท้ายแล้วก็ย้อนกลับมาคำถามที่ว่า "ความยั่งยืนในชีวิต" คืออะไร

ที่ผมต้องทำใหญ่ เพราะต้องคิดให้ไกล คิดให้ถึงที่สุดครับ แต่เราค่อยๆ แบ่งเป็นเฟสๆ

และแผนการต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ใครจะรู้ ผมอาจจะทำนอกฤดูไม่สำเร็จ มะนาวไปออกในฤดู ลูกละไม่ถึงบาท ขาดทุนยับเลยก็ได้


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: josave69 ที่ สิงหาคม 27, 2014, 01:53:40 AM
ผมอยู่แวงใหญ่คับ เมืองพล ถ้าพี่มาสวนชุมแพ ผ่านมา เยี่ยมได้นะคับ เอา ต้นไม้มาฝากด้วย อิอิ

เมืองพลกับชุมแพ ก็ห่างกันไม่มาก

จริงๆ ผมเคยตั้งใจว่า ถ้าออกมาทำสวนเต็มกำลัง วันไหนว่างๆ จะตระเวนเยี่ยมเพื่อนๆ ชาวเกษตรพอเพียง

สร้างเครือข่ายกันไว้มีอะไรก็ช่วยเหลือกันได้


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: onjjfo ที่ สิงหาคม 27, 2014, 04:31:03 AM
เมื่อไร ขายกิ่งพันธุ์ บอกด้วยนะครับ อยากลองปลูกไว้กินบ้าง ;D ;D :-[ :-[


ถ้าอยากปลูกเลย ก็สั่งจากสวนใกล้ๆ เลยครับ

แต่ถ้าอยากรอดูว่าผมจะทำกิ่งพันธุ์ได้ดีแค่ไหน ก็นับไปอีก 8 เดือนครับ สำหรับกิ่งชุดแรก ที่จะตอนให้สวนตัวเองเป็นหลัก คงมีเหลือจำหน่ายบ้าง ไม่มากนัก

เป้าหมายกิ่งพันธุ์ของผมคือ

1. แข็งแรง (สารอาหารเต็ม อิ่มสมบูรณ์)
2. โรคน้อยที่สุด (ช่วยเหลือปัญหาการดูแลโรค)
3. ขนาด 70 ซม. ขึ้นไป (ช่วยเหลือการรอดเมื่อนำไปปลูกต่อ)
4. ทำตุ้มรากแบบนำไปปลูกได้เลย

ทั้งหมดก็ความรู้ดีๆ จากอาจารย์รวีทั้งนั้นครับ ต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ (และหลายๆ ครั้ง)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ สิงหาคม 29, 2014, 11:09:17 AM
วันนี้ใกล้สิ้นเดือน


เอาตัวเลข สามตัว มาฝาก

781

ส่วนเลขสองตัว

30


อิอิ  ;D ;D ;D ;D

สรุปปลูกได้ 781 ต้น เหลือหลุมไม่ได้ปลูกประมาณ 40 หลุม เป็นการยกเลิก เพราะวางผังพื้นที่ใหม่

ส่วน 30 ต้น คือ ต้นที่คัดทิ้ง ไม่เอาลงปลูก

คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ความเสียหายที่ 4% ถือว่า พอรับได้

เหลือกิ่งที่ยังไม่ได้ลงหลุมอีกจำนวนหนึ่ง สิบกว่าต้น ชำถุงดำไว้ เผื่อปลูกซ่อมแซม ในอนาคต

งานนี้ปิดเฟสแรกของมะนาวไปที่ 781 ต้น ปลูกตามพื้นที่ ต่ำกว่าเป้าตามแผนในกระดาษไป 19 ต้น เป็นเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดจากแผนที่ 3%

ถือว่ารับได้

จบข่าว

ถ้าเลขนี้ออก ก็ฝากไปทำบุญกันด้วยนะครับ ฮา ฮา ฮา 




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: บ่าววี-สวนแห่งฝัน ที่ สิงหาคม 29, 2014, 11:47:02 AM
ผมอยู่แวงใหญ่คับ เมืองพล ถ้าพี่มาสวนชุมแพ ผ่านมา เยี่ยมได้นะคับ เอา ต้นไม้มาฝากด้วย อิอิ

เมืองพลกับชุมแพ ก็ห่างกันไม่มาก

จริงๆ ผมเคยตั้งใจว่า ถ้าออกมาทำสวนเต็มกำลัง วันไหนว่างๆ จะตระเวนเยี่ยมเพื่อนๆ ชาวเกษตรพอเพียง

สร้างเครือข่ายกันไว้มีอะไรก็ช่วยเหลือกันได้

อย่าลืมแวะมาเยี่ยมสวนทางสกลนคร ด้วยเด้อพี่บรีส  ;)

แน่นอนครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 02, 2014, 08:09:39 AM
ช่วงนี้อาจจะอัพเดตน้อยนะครับ

เริ่มเข้าช่วงงานเข้า เตรียมทำ Business plan ประจำปี(หน้า)

แต่ก็โชคช่วย ฝนเริ่มมา ทำให้ต้นมะนาวได้น้ำ อิ่มสบาย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหยด (ยังทดสอบไม่เรียบร้อย)

-------------------------------------

แผนการสำหรับสวนมะนาว 781 ตอนนี้คือ

1. เตรียมทำป้ายแถว ป้ายหลัก 10 (ทุกระยะ 10 ต้น ปัก 1 ป้าย) -- เพื่อกำกับการสั่งงาน ใช้จดบันทึกลงสมุดบันทึกการทำงานของคนงาน
2. ลงยาฆ่าเชื้อรา ไป 1 รอบ เพื่อฆ่าเชื้อหลักให้สิ้นก่อน ผ่อนแรงให้ไตรโคเดอร์ม่า
3. ทิ้งระยะ 5 วัน ลงไตรโคเดอร์ม่า รอบแรก ลงดิน
4. หลังใบชุดแรกโตได้ระยะ 30 วัน ตัดแต่งกิ่งและใบ
5. ตรวจนับหาแมลงศัตรูพืช กำหนด Cut Loss ดังนี้
     - เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ พบเจอช่วงแตกตาใบ กำจัดพ่นด้วยอะบาแม็กติน ทันที หากพบเจอช่วงอื่นๆ ให้นับจำนวน เฉลี่ย 3 ตัวต่อ 1 ยอด หรือมียอดถูกทำลายเกิน 20% ใช้สารชีวภาพทันที
     - แคงเกอร์ ตัดใบ เผาไฟทันที ไม่เก็บไว้  หากพบเจอเป็นมากกว่า 10 ต้นติดกัน ให้ฉีดพ่นด้วยสารคอปเปอร์
     - หนอนชอบใบ ตรวจพบเพียง 1 หรือ 2 ใบ ให้ตัดใบทิ้ง และเผาไฟ หากตรวจพบมากกว่า 10 ใบต่อต้น ให้ใช้เคมีเข้าทำลาย
     - หนอนผีเสื้อต่างๆ หากตรวจพบไม่เกิน 5 ต้นติดกัน ใช้สารชีวภาพเข้าทำงาน หากตรวจพบมากกว่า 5 ต้นติดกัน ให้ใช้เคมีเข้าทำลาย 
6. ทุกการฉีดพ่นสารใดๆ ให้ฉีดพ่นเป็นรัศมี 10 เมตร โดยรอบต้นที่เป็นปัญหา


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: บ่าววี-สวนแห่งฝัน ที่ กันยายน 02, 2014, 08:23:29 AM
สวัสดียามสายคับ พี่บรีส
พี่ทำแต่ละแผนนี้ เห็นแล้วปวดหัวรอเลยคับพี่ แค่วางแผนผมก้อเหนื่อยแล้วคับ
ต่างจากผม ทำอะไร ไม่เคยมีแผนสักอย่าง ทำไปทั่ว มั่วไปเรื่อย
ทำงัยถึงจะทำได้แบบพี่บ้าง ช่วยชี้แนะลูกศิษย์คนนี้ด้วย  ;)   


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 02, 2014, 08:46:43 AM
เรื่องวางแผน งานถนัดครับ

ปัญหาสำคัญกว่า คือ เอาแผนไปทำ ทำอย่างไรให้คนงานที่มีความรู้ต่าง มีภูมิปัญญาต่าง (รวมถึงเราเองก็ต้องรับฟังเพื่อปรับภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ด้วย)

อันนี้งานใหญ่หลวงกว่าเยอะครับ

ตอนนี้ผมเลยวางแผนจะทำคู่มือ งานต่างๆ ให้ครบครับ อย่างน้อยๆ เวลาผมไม่อยู่ จะได้ไม่เถียงกัน (ขนาดตอนปลูกมะนาวยังเถียงกันเลยว่า อันนี้ก่อนหรือหลัง เพราะจำกันไม่ได้)

แต่ก็เชื่ออีกว่า วุ่นวายไม่เกิน 3-4 เดือนหรอกครับ ต่อๆ ไป ทักษะของคนงานจะพัฒนา แล้วจะเก่งขึ้น จนปล่อยได้



ปล. เรื่องฉีดพ่น รัศมี 10 เมตร หมายถึง ฉีดต้นที่อยู่ในรัศมีนะ ไม่ได้หมายถึง ฉีดลงดินโดยรอบ  ;D ;D


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ กันยายน 02, 2014, 08:58:29 AM
เรื่องการวางแผนและสถิติ ช่วยได้มากครับ

โดยเฉพาะถ้าจะทำเกษตรสมัยใหม่

ไว้จะเเอบมาเรียนแบบครูพักลักจำเรื่อยๆนะครับ  อิอิ



กำลังเรียนรู้ครับ เป้าหมายส่วนตัวอันหนึ่งอยากทำให้ได้คือ อยากเขียนโปรแกรมเก็บข้อมูลสถิติด้านการเกษตร จริงๆ ทางเนคเทคเหมือนจะมีอยู่ กำลังประสานกับเพื่อนที่ทำงาน สวทช บางคน ว่ามีไหม

เพราะหลักสถิติหากเก็บนานๆ เข้า เราจะได้รูปแบบการทำงานบางอย่างที่เหมาะสม กับสวนของเราเอง เนื่องจากแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: KENETIC_E® ที่ กันยายน 02, 2014, 09:08:44 AM
ของผมก็แผนเยอะครับ เรียกได้ว่า "แผนจัด" ก็ว่าได้ครับ... ;D   แต่ส่วนมากจะ "ผิดแผน" ไปซะแทบทุกเรื่องครับ

ขนาดว่าทำแผนเอง ปฏิบัติเอง รับกรรมเอง(อันนี้มันเป็นผลมาจากที่ไม่ไปตามแผนที่วางไว้ครับ) สำหรับผมทุกอย่าง

แก้ไขได้ก็เลยปล่อยๆ มันไปครับ แต่ด้วยการวางแผนที่ดี ย่อมมีหนทางสู่ความสำเร็จง่ายขึ้น....

ที่สวนผมยึดหลักทหารครับ "คำสั่งทหารเด็ดขาด แต่ไม่แน่นอน" ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ตามสภานการณ์........


ปล.ที่สวนตอนนี้กำลังงดน้ำทำนอกฤดู ปรากฏว่า  ฝนเทมา 3-4 วันติดแล้ว ก็ต้องปล่อยเพราะอันนี้ควบคุมธรรมชาติลำบาก
ได้แต่ใช้ปุ๋ยกดยอดอยู่ครับ ตอนนี้กำลัง "ผิดแผน" ที่วางไว้แต่ต้องทำใจยอมรับมันครับ




555 ชอบมาก ครับ  "คำสั่งทหารเด็ดขาด แต่ไม่แน่นอน"


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 05, 2014, 08:04:13 AM
เสาร์อาทิตย์นี้ มีงาน ไปรดไตรโคเดอร์มา

เลยสอบถาม ผจก. กิตติมศักดิ์ ว่ามีปัญหาหรือมีอะไรให้ต้องขนขึ้นไปไหม

ก็ได้คำตอบที่น่าเหนื่อยใจ มีปัญหามาให้เก่งขึ้นได้ทุกวัน 555

1. ดินในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ...เป็นดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุน้อยมาก ฝนที่ตกมาหนักๆ จึงทะลาย ร่องสวนที่ยกไว้ พอควร ปัญหานี้แก้ระยะสั้น โดยเอาเศษพืชมาปิดหน้าดิน แต่ระยะยาว คงต้องหาวิธีจัดการเพิ่มอินทรีย์ให้มาก เพื่อให้สภาพดินเปลี่ยนแปลง

แต่ก็ถือเป็นข้อดี เพราะเป้าหมายการลงมะนาวอีก 1200 ต้น จะได้ปรับแต่งให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น รวมถึงพืชผลอื่นๆ ด้วย

2. คนสวนป่วยทั้งครอบครัว... ฟังแล้วเศร้าใจ

สาเหตุง่ายๆ ยาฆ่าหญ้าครับ

ก่อนหน้าที่จะปลูกข้าว (ทบทวนนิด ผมให้ที่ดินเขาปลูกข้าวโดยไม่คิดมูลค่า แลกกับการเฝ้าที่ดิน และใช้แรงงานนิดหน่อย -- ถ้าใช้เยอะผมก็จ่ายค่าแรงให้) ผมแจ้งแล้วว่า ผมไม่อยากให้มีการใช้เคมีอันตราย

ผมก็อุตส่าห์หาซื้อ ยาฆ่าหญ้าแบบอินทรีย์ (สั่งในเว็บนี้ละ 12 ขวดเลย)

ซึ่งใช้ได้ผลดีมาก แต่ปัญหาคือ ใช้ได้เฉพาะก่อนปลูก หลังปลูกใช้ไม่ได้ เนื่องจากมันไม่ได้ทำให้แค่หญ้าตาย มันทำให้พืชทุกอย่างตาย

สุดท้ายคนสวนผม ก็ตัดสินใจฉีดพ่นยาคุมหญ้า ในแปลงนาของตนเอง

หลายวันก่อน ยาสู้หญ้าไม่ได้ จนพากันลงไปถอนหญ้า

ตอนนี้เลย ซึม ไม่สบายกัน เท้าเปื่อย

ฟังแล้วยิ่งตอกย้ำชัดเจนว่า


"สวนเกษตรโชคดีชุมแพ เราจะใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด"

ยังไม่กล้าบอกว่า ไม่ใช้เลย เพราะมะนาวค่อนข้างต้องพึ่งพาเคมี หากจะทำในเชิงธุรกิจ

 ;D ;D


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: KENETIC_E® ที่ กันยายน 05, 2014, 08:36:07 AM
1. ดินในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ...เป็นดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุน้อยมาก ฝนที่ตกมาหนักๆ จึงทะลาย ร่องสวนที่ยกไว้ พอควร ปัญหานี้แก้ระยะสั้น โดยเอาเศษพืชมาปิดหน้าดิน แต่ระยะยาว คงต้องหาวิธีจัดการเพิ่มอินทรีย์ให้มาก เพื่อให้สภาพดินเปลี่ยนแปลง

แต่ก็ถือเป็นข้อดี เพราะเป้าหมายการลงมะนาวอีก 1200 ต้น จะได้ปรับแต่งให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น รวมถึงพืชผลอื่นๆ ด้วย
ลักษณะดินแบบเดียวกันกับผมเลยครับ
แก้แบบเฉพาะกิจ (ฉก.พิเศษ) ลองหาหญ้าเม็ดแตงมาโรยครับ ช่วงขวบปีแรกจะช่วยคลุมดินช่วงหน้าฝนและช่วย
การคายน้ำช่วงหน้าหนาวและแล้งได้พอประมาณครับ พอเข้าขวบปีที่ 2 หญ้าอื่นๆ จะคลุมหญ้าเม็ดแตงจนลดลงครับ
ของผมก็ลงไว้ครับ

ช่วงแรกๆ ที่ลงปลูก
(https://lh3.googleusercontent.com/--dSBkHhA0Pc/UfR6qWT9gII/AAAAAAAABNQ/H3ybJqzSUK4/s512/IMG_0568_resize.jpg)
(https://lh3.googleusercontent.com/-93JbjBkEfNA/UfR6tvfQeZI/AAAAAAAABNo/n5Fhrga_8aM/s600/%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E0506_resize.jpg)
(https://lh6.googleusercontent.com/-3Z_zIB-Lmhc/UfR7WyXyB-I/AAAAAAAABOo/vLWHolhnUHo/s640/IMG_0591_resize.JPG)[/

ย่างเข้าขวบที่สองครับ เหลือแต่หญ้าอย่างอื่นครับ (แห้วหมู,แพรกฯ)
(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfp1/v/t1.0-9/10363665_658908800823841_6517300256282392990_n.jpg?oh=876f1e27d18e91bc9d3f69d13197be9c&oe=5469BDE2&__gda__=1419134315_67fc6299430fa1397aee7bf4e385127b)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 05, 2014, 12:59:27 PM
ขอบคุณครับ

ตอนแรกว่าจะไปหาถั่วบราซิล มาปลูก

แต่อันนี้ก็ดี เป็นปุ๋ยพืชสดได้ด้วย

ขอบคุณจริงๆ ครับ

ปล. มันโตไว ไหมครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: KENETIC_E® ที่ กันยายน 05, 2014, 08:28:25 PM
ขอบคุณครับ

ตอนแรกว่าจะไปหาถั่วบราซิล มาปลูก

แต่อันนี้ก็ดี เป็นปุ๋ยพืชสดได้ด้วย

ขอบคุณจริงๆ ครับ

ปล. มันโตไว ไหมครับ

-มันปลูกง่าย แค่สับให้มีขนาดเล็กๆ แล้วโรย ก่อนโรยก็กำจัดวัชพืชอื่นๆ ให้โล่งเหลือแต่ดิน

-การเจริญเติบโตค่อนข้างรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นานจะแผ่ขยายออกด้านข้าง ไม่สูงขึ้นด้านบน

ดอกสวย(ดอกเล็กๆ จะบานตอนสายๆ)

-การกำจัดก็ง่าย(จริงๆ ไม่ได้อยากกำจัดหรอกครับ แต่บางที่มันโดนธรรมชาติกำจัดกันเอง เพราะ

โดนพืชอื่นคลุม ได้รับแสงน้อย ก็จะตายหายๆ ไปบ้าง) เมื่อย่อยสลายเป็นปุ๋ยให้ดินได้เช่นกัน

-เป็นอาหารให้สัตว์จำพวกปลาได้ด้วย (เคยทดลองโยนให้ปลากิน แต่ไม่ทราบคุณค่าอาหารมากน้อยเพียงใดครับ

ส่วนถัวบราซิล ผมก็เคยลองเอามาปลูก ต้องชำก่อนแล้วจึงปลูกและต้องปลูกทุกต้นฝังลงดินจึงจะติด

-ลักษณะต้นจะเป็นเถาเลื้อย ดอกสวยเช่นกัน 

ก็สามารถทดลองดูได้คับคุณบรีส


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: ultranoi ที่ กันยายน 05, 2014, 08:42:31 PM

 แวะมาทักทายฮับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 06, 2014, 09:32:58 PM
หายไปเลยนะพี่

-------------------------------
เน็ตที่โรงแรมอืดๆ

ไว้ถึงบ้านค่อยอัพเดตครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 08, 2014, 10:47:05 AM
กลับไปรอบนี้

เจอปัญหาเยอะแยะหลายสิ่ง เกิดการท้อเล็กๆ จากปัญหาเงินไหลไม่หยุด

หลายๆ ปัญหาต้องใช้เงิน ในการจ้างคนงานมาแก้ไข

บางทีไปเถียงๆ เขาในกระทู้คำถามเรื่อง "ความพอเพียง" แล้วก็ย้อนกลับมาคิดถึงตัวเองว่า.... เราทำเกินตัวไปไหม

พื้นที่เกือบ 5 ไร่ สำหรับมะนาวเกือบ 800 ต้น มันใหญ่เกินกำลังความสามารถและเม็ดเงินที่เรามีหรือเปล่านะ

หรือมันเป็นเพราะเราไม่มีประสบการณ์ ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

เริ่มจาก

1. ดินไม่เกาะตัว ดินไม่แน่น  นิ่มเกินไป ...สาเหตุเพราะดินไม่ดี อินทรีย์วัตถุน้อย และพึ่งไถพรวน ยกร่อง ทำให้ดินมันฟู เมื่อฝนลงแรงๆ จึงอุ้มน้ำดี และเกิดการหน้าดินแตกตัว...

ทางแก้ไขมี แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และใช้เวลา

2. ฝนมา หญ้ามา ขึ้นหนา กลายเป็นทุ่งหญ้า มองแทบไม่เห็นมะนาว โชคดีนะ ที่ยกร่อง มะนาวจึงสูง และไม่มีหญ้าไปกวนใจ แต่นั้นก็เพราะจ้างคนงานถากถางหญ้าบนร่องสูง ให้หมด ค่าใช้จ่ายก็ไม่ใช่น้อยๆ

ส่วนหญ้าในคู หรือถนน ก็ใช้เครื่องตัดหญ้าจัดการ

(https://lh3.googleusercontent.com/-zE73gZPTBLs/VA0us2rvoeI/AAAAAAAAACA/ntyRAb7EqXo/w550-h367-no/P1150124.JPG)

------------------------------------------------
ชุดออกรบ

555

รองเท้านิจจา (ขายในเว็บนี้ละ) ใช้ดีครับ น้ำเข้า ไม่กันน้ำ แต่เดินแล้วรู้สึกสบายกว่า รองเท้าบูทยาง
ถุงแขน ใช้ถุงแขนปั่นจักรยาน กัน UV ได้ดี ไม่มีดำ
ผ้าบัฟ ก็ของจักรยานเหมือนกัน

(https://lh3.googleusercontent.com/-iyESqEwz6AM/VA0uuIeW-MI/AAAAAAAAACQ/pvFwoAgF928/w550-h367-no/P1150158.JPG)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 08, 2014, 10:54:31 AM
เดินสำรวจ สภาพต้นมะนาว ก็สดชื้นดี หลายต้น เริ่มแตกใบอ่อนใหม่ ไม่มีแมลงรบกวน (มีน้อย)

(https://lh4.googleusercontent.com/-iEPUCDZAHvM/VA0uryJEDAI/AAAAAAAAABo/0odzjt1tG_U/w367-h550-no/P1150104.JPG)

ต้องรออีกสักพัก ถึงจะตัดแต่งได้ ให้ต้นมะนาวฟื้นตัว แข็งแรงเต็มที่ก่อน ค่อย ตัดแต่งทรงใหม่ทีเดียว

เพื่อควบคุมให้มะนาว ออกยอดอ่อน พร้อมๆ กัน

การจัดการฉีดพ่น ป้องกันตามสูตรท่าน อ.รวี คือ 1-4-7 คือ วันแรกที่เห็นยอดออก ฉีดแล้วเว้นไปฉีดอีกทีวันที่ 4 และ 7 ตามลำดับ หลังจากนั้นก็ไม่ต้องป้องกันแล้ว


แต่สำรวจไปก็เจอ ฝูงนกกระจาบตาล ประมาณ 40-50 ตัว บินเล่นในสวน ดูท่า มีคนช่วยเคลียร์ปัญหากับหนอนให้แล้ว

บางตัวก็ไม่กลัวคนเสียเลย

รูปนี้ถ่ายห่างกันไม่เกิน 2 เมตร

(https://lh5.googleusercontent.com/-BnNt2SLIPtY/VA0utiS2xrI/AAAAAAAAACI/CL8-5m86kRg/w550-h367-no/P1150153.JPG)

------------------------------------------------

หญ้าที่ขึ้น บางส่วน ก็ตัดไปให้วัวกิน

เป็นวัวที่ไถ่ชีวิตมาจากโรงฆ่า นานมากแล้ว ไม่ใช่ของผม แต่เป็นของญาติๆ กัน เขาเอามาปล่อยเลี้ยงไว้

ให้คนงานเกี่ยวหญ้าไปให้กิน ได้เป็นมูลมา ก็เอามากองรวมกันไว้

แค่ตัวหนึ่งเดียวก็ให้มูลค่อนข้างเยอะทีเดียว

มูลที่ได้ ก็เอามาใช้ทำปุ๋ยหมักสูตรแม่โจ้

(https://lh6.googleusercontent.com/-Vajb_q41OIA/VA0utKbpdlI/AAAAAAAAACY/ODyrUkS6i_c/w550-h367-no/P1150137.JPG)

ถึงหญ้าจะเยอะ เกิดจากดิน

สุดท้ายเขาก็กลับสู่ดิน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 08, 2014, 10:59:16 AM
รอบนี้พาลูกชาย ไปชมสวนด้วย

(https://lh5.googleusercontent.com/-1u0oDUXzDZE/VA0uryHdlrI/AAAAAAAAABk/7fQwyPvpgFU/w550-h367-no/P1150107.JPG)

สนุกสำหรับเด็ก หาปลาที่ติดมากับน้ำฝน แล้วเอาไปปล่อยต่อในนาข้าว

บางทีก็เป็นลูกอ๊อด ตื่นตาตื่นใจ

(https://lh4.googleusercontent.com/-6sTB6xUzUxE/VA0uuZ9SPjI/AAAAAAAAACg/5fcQ1K8sNdo/w367-h550-no/P1150170.JPG)

เห็นแล้วก็ สุขใจ เล่นกับโคลน โดนแดดเผาบ้าง เรียนรู้จากห้องเรียนชีวิต

โตขึ้นจะเป็นอะไรก็ไม่รู้

หน้าที่พ่อของผม ตอนนี้ก็ทำได้แค่ ให้โอกาสทุกโอกาส ที่เขาจะได้เรียนรู้ และเลือกทางเดินชีวิตเองในอนาคต

(https://lh5.googleusercontent.com/-E3Jg10hzRiM/VA0uuO_IskI/AAAAAAAAACc/CSsoFnFdBJY/w550-h367-no/P1150162.JPG)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 08, 2014, 11:09:23 AM
สร้างไว้นานแล้ว แต่พึ่งเริ่มทำ เริ่มใส่ข้อมูล

ลองไปกด Like กันไว้เพื่อติดตามได้นะครับ

https://www.facebook.com/chokdeechumphae (https://www.facebook.com/chokdeechumphae)

---------------------------------------------------------------

ลืมเล่าไปอีกเรื่อง

ซื้อเครื่องตัดหญ้าไปให้คนงาน

ไม่ได้ตรวจเช็คของ

ประกอบเสร็จ ไม่มีแผ่นเพลต สำหรับยึดเครื่อง ทำให้เครื่องหมุน

งานนี้ เซ็งเลย

(https://lh5.googleusercontent.com/-kx0VkP5OJn8/VA0ur4lly5I/AAAAAAAAACk/DdQgrXuIYzI/w367-h550-no/P1150103.JPG)




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: prml ที่ กันยายน 08, 2014, 10:13:33 PM
สวัสดีครับ ดีใจที่เจอกระทู้ของเขยชุมแพ
ถ้าเป็นสมัยก่อนผมก็จะแซวว่า  ;D ;D ;D "ขอตั๋วหนังใบหนึ่งนะ"  ;D ;D ;D ไม่รู้ว่าคุณบรีสทันไหม "แอ๊ดเทวดา หนังกลางแปรงจอใหญ่ๆ ซึ่งสมัยนั่นบรีสเขาเป็นสปอนเจอร์ แต่ผมก็ไม่เคยได้ดูหรอก 555

ข้อมูลดีมีประโยชน์เยอะมาก เลยอ่านแบบผ่านสายตาไปก่อน  ;D ;D ;D ไม่ว่ากันนะ

เข้าทักทายก่อนครับ เพราะไม่ค่อยได้เขาเว้ปเท่าไร  เดี๋ยวค่อยไปตามเก็บรายละเอียดที่หลัง

สวัสดีครับ   ;)


หนังกลางแปลงนะทันครับ เคยไปดูตอนเด็กๆ แต่บรีสจัดนี้ ไม่เคยทราบครับ 555

ส่วนใหญ่ที่โดนล้อคือ ..."บรีส ฝันที่เป็นจริง เอารถเข็นมาให้หน่อยได้เปล่าเพื่อน" 5555



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: บ่าววี-สวนแห่งฝัน ที่ กันยายน 09, 2014, 09:17:57 AM
สร้างไว้นานแล้ว แต่พึ่งเริ่มทำ เริ่มใส่ข้อมูล

ลองไปกด Like กันไว้เพื่อติดตามได้นะครับ

https://www.facebook.com/chokdeechumphae (https://www.facebook.com/chokdeechumphae)

---------------------------------------------------------------

ลืมเล่าไปอีกเรื่อง

ซื้อเครื่องตัดหญ้าไปให้คนงาน

ไม่ได้ตรวจเช็คของ

ประกอบเสร็จ ไม่มีแผ่นเพลต สำหรับยึดเครื่อง ทำให้เครื่องหมุน

งานนี้ เซ็งเลย

(https://lh5.googleusercontent.com/-kx0VkP5OJn8/VA0ur4lly5I/AAAAAAAAACk/DdQgrXuIYzI/w367-h550-no/P1150103.JPG)




เข้าไปกดไลค์ ติดตามแล้วนะคับ
ทำหลายอัน จะมีเวลาไปทำสวนมั้ยน้อคับ  ;D


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 11, 2014, 11:04:21 AM
ช่วงนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเริ่มระบาด

ที่สวนก็มี ผจก. กิตติมศักดิ์ (พ่อตาผมนี่ละ) เดินตรวจอยู่ทุกวัน

ก็พบแมลงศัตรูมะนาว แต่ดูท่าทาง จะตายนิ่ง คือ ตายแล้วแต่ยังเกาะอยู่

คงเป็นเพราะ สตาร์เกิ้ล จี ที่โรยไว้ ป้องกันได้

ในภาพรวม ก็ถือว่า ช่วยลดความเสี่ยงลงได้ดีทีเดียว

แต่ไม่รู้ว่าพอต้นใหญ่ขึ้น แล้วจะต้องใช้ปริมาณยามากขึ้นหรือไม่


ถามคนขาย หลายคนบอกว่า ไม่ค่อยนิยม เพราะชอบแบบเจอตัวแล้วฉีดกันมากกว่า

(https://lh3.googleusercontent.com/-OetKb6Mywms/VBEmNRQhD-I/AAAAAAAAADQ/c0Qrkrd__cQ/w550-h413-no/19664.jpg)

(https://lh5.googleusercontent.com/-i5DYSEtYfxs/VBEmNTSzsHI/AAAAAAAAADY/9YBncdV-Yu8/w550-h413-no/19730.jpg)

(https://lh4.googleusercontent.com/-yALrK82cLFk/VBEmOAOYwqI/AAAAAAAAADg/T5udHjnzm3g/w550-h490-no/P1150113.jpg)

---------------------------------------------------

อาทิตย์นี้อยากกลับไปสวน แต่งานเข้า ไปไม่ได้...

ต้องปล่อยเป็นหน้าที่ พ่อตา ดูแลแทน

หน้าที่หลักเลย คือ หาปัญหา ถ้าไม่มีปัญหาก็ดีไป ถ้าเจอปัญหาต้องรีบแจ้งกัน 555

ส่วนหน้าที่เรา หาอุปกรณ์ หาวิธีแก้ไขปัญหา 555

--------------------------------------------------

มะนาวต้นทดสอบที่บ้าน ไม่ได้ถ่ายภาพมาให้

แต่ลองปล่อยให้เพลี้ยไก่แจ้ กิน พร้อมกับอัดปุ๋ยเข้าไป อยากรู้ว่าเป็นไง สรุป ไม่รอด 50% คือ มียอดอ่อน ใบที่โตแบบหงิกๆ พอจะเลี้ยงต้นได้ 50% อีก 50% เกลี้ยง เหลือแต่กิ่งเปล่าๆ

วันก่อน เข้ารอบแตกตาใบใหม่ เลยจัด อะบาแม็กตินไปแค่ 2 รอบ วันละรอบ

ตอนนี้ ใบอ่อนทุกใบ ออกมาสวยงาม ยกระดับขนาดต้นมะนาวให้ใหญ่ขึ้นอีกรอบ หลังจากหยุดใหญ่ มา 2 เดือน (ลองให้เพลี้ยกินมา 2 เดือน)

จึงได้ข้อสรุปว่า

ความเสียหายที่เกิดขึ้น หลักๆ คือ ทำให้ต้นมะนาวไม่โต

ดังนั้น การบริหารจัดการที่ดีคือ จัดไปตามสูตร อาจารย์ รวี นั้นละ 1-4-7




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 23, 2014, 06:00:52 PM
หายตัวไปหลายวัน

มิใช่ใดๆ

ไปจัดการชีวิตงานหลวง คือ Master Plan ปีหน้า เสนอบอร์ด

แถมด้วย ความวุ่นวายของชีวิตในการหาโรงเรียนเข้า ป.1 ให้ลูก

ที่สวน มะนาว ก็สดชื่นดี มีฝนเรื่อยๆ

ได้นำหญ้าเม็ดแตง ลงบนร่องหมดแล้ว ตัดหญ้าแล้ว

พวกแมลงก็แทบไม่มีให้เห็นถึงความเสียหาย แสดงว่า สตาร์เกิ้ลจี ใช้ได้ผลดีทีเดียว

แต่ผมยังไม่มีเวลาว่างขึ้นไปเลย

ขึ้นไปรอบนี้ ต้องเอาปุ๋ยเคมี ไปลงชุดแรก

แล้วอาจตัดแต่งกิ่งบ้างนิดหน่อย

ส่วนตัดแต่งใหญ่คงต้องรออีกสัก 2 เดือน

 ;D ;D


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: KENETIC_E® ที่ กันยายน 23, 2014, 07:30:26 PM
สอบถามคุณบรีสหน่อยครับเรื่องยาฆ่าหญ้าอินทรีย์(เห็นคุณบรีสสั่งไปใช้) ไม่ทราบว่าได้ทดลองใช้ในสวนบ้างหรือยังครับ?

พอดีว่าผมเองก็กำลังเจอหลายๆ มรสุมเข้าทดสอบระบบร่างกายและจิตใจอยู่ จึงมองหาเครื่องทุ่นแรงในการกำจัดหญ้า

ในช่วงเวลาขณะนี้บ้างน่ะครับ แต่อยากเลือกแนวทางอินทรีย์เพราะไม่ชอบกลิ่นและฤทธิ์ของเคมีมากนัก จึงขอสอบ

ถามผลจากผู้ใช้งานจริงว่าได้ผลมากน้อยเพียงไรครับ

ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ กันยายน 23, 2014, 07:56:06 PM
เรื่องยากฆ่าหญ้าอินทรีย์

จริงๆ ซื้อมาแต่ไม่ได้ใช้เยอะครับ (แต่ซื้อมาเยอะ 55)

ส่วนใหญ่เน้นตัดมากกว่า

ตั้งใจเอาไว้ใช้กับหญ้าที่ วัวไม่กิน และมันไหลเร็ว หรือรากเหนียว

ส่วนหญ้าดีๆ ที่วัวกิน ก็เกี่ยวออก ตัดออกครับ

-------------------------------------------
การใช้งาน ไม่ยาก พ่นๆ ให้โดนใบ ประมาณ 3 วัน ใบจะแห้งตายเลย

แล้วพอใบแห้งตาย ลำต้นก็จะเริ่มแห้งไปเรื่อยๆ จนเหี่ยว ตายหมดถึงรากเลย

ข้อเสียคือ ถ้าฝนตก ก็จะไม่ค่อยได้ผลเท่าไร



แต่พอเอามาใช้ที่บ้าน ไม่มีที่พ่น ก็ใส่ฝักบัวรดน้ำ รดบริเวณที่ไม่ต้องการหญ้าขึ้น

ก็เรียกว่าปริมาณยาเยอะกว่าปกติ

แม้ฝนจะตกต่อเลย หลังรดไว้ หญ้าก็ยังตาย ครับ (แสดงว่า ลงดินไปสะสมในดินพอควร)

แต่... พออันเก่าที่ตายไป อันใหม่ก็เกิดขึ้นมาแทน

แสดงว่า ไม่ฆ่าเมล็ดหญ้า

ตอนนี้เลยทยอยกำจัดเป็นรุ่นๆ ไป คงต้องรอจนกว่าเมล็ดหญ้าจะหมดไป ถึงจะไม่มีหญ้ากวนใจครับ 555


 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: ยศ สวนอรุโณทัย ที่ กันยายน 23, 2014, 07:57:57 PM
เเวะมาทักทายครับผม


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ ตุลาคม 05, 2014, 09:13:23 PM
สวัสดีครับทุกคน

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้าเว็บ เกษตรพอเพียง

ไม่ได้ตามอ่านกระทู้ใครเลย

เพราะงานหลวง วางแผน ประชุมทีม เตรียมแก้ปัญหาสิ่งที่ผ่านมา วางกรอบอนาคต ขออนุมัติงบประมาณ ขายฝัน

กว่าจะเสร็จก็ปลายเดือน ตุลาคมนู้นครับ

สวนมะนาวก็โชคดีได้พ่อตาดูแล

ทะเลาะกันบ้างนิดหน่อย ตามประสาคนห่างไกลกัน 555 (เห็นภาพไม่ตรงกัน)

ล่าสุดคุณพ่อตา ได้หน่อกล้วยมา ชุดใหญ่

เอามาลงตามร่องมะนาว.... หมายว่า...จะช่วยให้ร่มเงากับมะนาว ...


เหนื่อยเลยครับ เหนื่อยใจ...
ตอนนี้เลยปล่อยไป โตอีกนิด ก็ตัดไปทำปุ๋ยหมักเอา ...ถึงได้หน่อมาฟรี แต่เสียค่าแรงปลูก ค่าแรงขุดออก...

บางทีอยากจะลัดฟ้า ทิ้งงานหลวง ไปนั่งเฝ้าจริงๆ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ ตุลาคม 15, 2014, 07:30:28 AM
ทำน้ำหมักหยวกกล้วยเลยครับ ^__^


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ ตุลาคม 28, 2014, 12:34:28 PM
ช่วงวันหยุด 23-25 ตุลาคม ได้มีโอกาสพักสมอง พักเครียด จากการประชุมยาว วางแผนธุรกิจ

จึงตั้งใจกลับไปดูน้องมะนาวหน่อย ลงไป 2 เดือนพอดีๆ

เรียกว่าผมทิ้งอย่างตั้งใจและมีเหตุจำเป็น

กล่าวคือ ผมต้องจำใจทิ้งไป ไม่ดูแล และปล่อยให้พ่อตาควบคุมคนงานดูแลแทน เพราะหัวใจสำคัญคือ ไม่มีอะไรสอนได้ดีไปกว่าประสบการณ์ตรง

เจอหน้ากัน พ่อตาผมบอกจากปากเลยว่า "สมแล้วที่เป็น ไม้ครู มันเลี้ยงยากจริงๆ ปัญหาเยอะมาก"

อย่างน้อยๆ เท่ากับว่าตอนนี้ผมได้ใจพ่อตามาแล้ว เพราะผมพูดและอ้างกล่าวถึงกระบวนการต่างๆ ทั้งหมดในการเลี้ยงดูไว้ตั้งแต่แรก พ่อตาอาจทำบ้าง ไม่ทำบ้าง

ปัญหาจึงเกิดให้ท่านได้เรียนรู้และแก้ไข สำหรับผม การทิ้งไปครั้งนี้จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ต้องทำ เพราะกว่าจะถึงวันที่ผมลาออกมาดูแลเองได้ คงอีกนาน หรือถ้าพ่อตาผมสามารถดูแลได้ ก็เรียกได้ว่าได้ทั้งขึ้นและล่องเลย ผมยังสามารถทำงานรับเงินเดือนในเมืองหลวงต่อไปได้ และควบคุมกิจการผ่านผู้จัดการกิตติมศักดิ์ได้อย่างลงตัว

มะนาวในวันที่ผมกลับไปดู 50% เติบโตอย่างดี ใบสีเขียวสวยงาม แตกกิ่งโตขึ้นอย่างชัดเจน อีก 50% เจอหนอนชอนใบเล่นงาน ใบงิกงอ ไม่สวย และไม่โตอย่างที่ควร

(https://lh5.googleusercontent.com/-bNBO-eISIQY/VE8zQMQqJJI/AAAAAAAAAFQ/PuiE0OF6kHg/w367-h550-no/P1150359.JPG)

(https://lh3.googleusercontent.com/-oLTvxWMsvlw/VE8zRLmcOGI/AAAAAAAAAFg/qVkF8NlzS4M/w367-h550-no/P1150372.JPG)

และแน่นอน จากการกำกับดูแลที่ยังไม่ใส่ใจมากนัก ก็ส่งผลหลายอย่าง เช่น อาการขาดธาตุรอง ที่ออกมาทางใบให้เห็น

(https://lh6.googleusercontent.com/-Ow2CEUTx3Jw/VE8zRWYKm-I/AAAAAAAAAFo/AdP4nY45YY4/w367-h550-no/P1150373.JPG)

ผมจึงต้องเสริมทัพให้พ่อตา ด้วย
(https://lh6.googleusercontent.com/-2HK0IjnfHWM/VE8zOCulwSI/AAAAAAAAAE4/H3SZJUkroVU/w413-h550-no/IMG_3458.JPG)

ให้ฉีดพ่นทุกสัปดาห์

โดยเหตุผลที่แสดงออกเร็ว เพราะดิน (หากจำไม่ได้ย้อนกลับไปอ่านดูนะครับ) ดินในสวนถือว่า ไม่สมบูรณ์มากนัก ต้องค่อยๆ ปรับไป ดังนั้นต้นทุนในการเติมธาตุหลัก ธาตุรองเหล่านี้ในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ จึงเสียต้นทุนมากหน่อย

แต่ตามแผนงานของเรา หลังเก็บเกี่ยวข้าว ก็จะได้ฟางชุดใหญ่ มาหมักพร้อมขี้วัว ที่สะสมมาเรื่อยๆ มาหมัก 2 เดือน ได้ปุ๋ยสูตรแม่โจ้ มาใช้งานภายในสวน

ก็น่าจะบรรเทาปัญหาและต้นทุนลงได้มาก


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ ตุลาคม 28, 2014, 12:40:47 PM
(https://lh6.googleusercontent.com/-IIaVbZl__Tc/VE8zPmvlG1I/AAAAAAAAAFA/IKUPjvMQJm8/w550-h367-no/P1150353.JPG)

ส่วนปัญหาต้นกล้วย ก็โชคดีที่เบรกทัน เลยมีปลูกอยู่ประมาณ 15 ต้น ก็ปล่อยไว้ จนเริ่มรบกวนมะนาวค่อยตัดทิ้ง

ส่วนปัญหาหญ้า ก็เริ่มฉีดยาฆ่าหญ้าแบบอินทรีย์ และหวังว่าจะเริ่มเข้าหน้าหนาว ที่หญ้าจะโตช้าลง โดยหญ้าทั้งหมด ทิ้งไว้ให้คลุมดิน อนาคตอาจปั่นคลุกลงไปเพื่อปรับสภาพดินไปในตัว

ส่วนการแก้ปัญหาหญ้าขึ้นบนร่อง ก็ใช้หญ้าเม็ดแตง ซึ่งลงไปได้ประมาณ 1 เดือน บางส่วนโตขยายดี บางส่วนโดนน้ำฝนล่างออกไปรวมๆ กันที่ร่องถนนแทน ก็ชั่งมัน 555

เดี๋ยวมันเริ่มเยอะขึ้น ก็ค่อยขยายพันธุ์ใหม่

(https://lh4.googleusercontent.com/-BFAjrnJ8L5Y/VE8zPdtAA-I/AAAAAAAAAE8/azOerp0r988/w367-h550-no/P1150343.JPG)



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ ตุลาคม 28, 2014, 12:44:15 PM
ส่วนการควบคุมและป้องกัน ศัตรูพืช

ตัวเพลี้ยนั้น สตาร์เกิ้ลจี ทำงานได้ดี เหลือก็แต่ปัญหาหนอนชอนใบเพียงอย่างเดียว ซึ่งถ้าป้องกันได้ ก็จะไม่ต้องฉีดยา

จึงลองหาข้อมูลจนได้มาเรื่อง การเคลือบใบ ด้วยน้ำมัน

เลยจัด น้ำมันธรรมชาติ มาลอง 1 ขวด ดูว่าจะได้ผลอย่างไร

(https://lh4.googleusercontent.com/-YxhBAVB0Guo/VE8zOXWO33I/AAAAAAAAAEo/jlylneXFSQ0/w413-h550-no/IMG_3459.JPG)

ใครเคยมีประสบการณ์แล้ว รบกวนแชร์กันบ้างนะครับ

เป้าหมายคือ เคลือบใบ ให้ใบมีคุณสมบัติ ไม่เหมาะต่อการวางไข่ แมลงทั้งหลายก็จะไม่มาวางไข่นั่นเอง

1 ขวดผสมได้ 2000 ลิตร ก็ฉีดได้ประมาณ 25 รอบ ถ้าสัปดาห์ละ 1 รอบ ก็ฉีดได้ครึ่งปี กับต้นทุนแค่ 200-250 บาท ก็คุ้ม (ถ้ามันได้ผล)

ปลอดภัยต่อคนด้วย ดีกว่าใช้ยาฆ่าแมลง


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ ตุลาคม 28, 2014, 12:45:36 PM
แผนงานจากนี้ คือ กลางเดือน พ.ย. จะขึ้นไป ตัดกิ่ง เพื่อควบคุมการเกิด ให้ใบอ่อน เกิดพร้อมกัน ทั้งหมด

จะได้ทำงานตามสูตร 1-4-7 ได้ง่ายๆ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: @konhimdoi ที่ ตุลาคม 28, 2014, 03:42:57 PM


(https://lh6.googleusercontent.com/-Vajb_q41OIA/VA0utKbpdlI/AAAAAAAAACY/ODyrUkS6i_c/w550-h367-no/P1150137.JPG)

ถึงหญ้าจะเยอะ เกิดจากดิน

สุดท้ายเขาก็กลับสู่ดิน
[/quote]

สวัสดีครับ ขออนุญาตมาแอ่วดูสวนมะนาว  อลังการมาก  ได้ความรู้เพียบครับ


       》》  ถึงหญ้าจะเยอะ เกิดจากดิน....สุดท้ายเขาก็กลับไปสู่ดิน《《

วลีเด็ด สะกิดใจ เตือนสติได้อย่างดี   ขอบคุณสำหรับความรู้ที่แบ่งปัน ด้วยแนวคิด วิถีทาง
และวิธีทำ  สวนแห่งนี้ความสำเร็จ อยู่ไม่ไกลครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ ตุลาคม 29, 2014, 10:44:16 AM
ถ้างั้นอีกนิด  หญ้าที่ไร่เยอะมาก  ช่วยมาเอามันออกไปสู่ดินที่อื่นที  รู้สึกว่ารกเกินไปแล้ว (ท่วมหัวม้า  ท่วมหางหมาเลย) 5555555  เอาฮานะคะ   เย้ๆ  กลับมาแล้ว  มาติดตามคือเก่า


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: pook_kkf ที่ ตุลาคม 29, 2014, 11:15:29 PM
มาให้กำลังใจครับ   ;)
อยากบอกปัญหามีไว้แก้ไข 
และทุกปัญหาคือครูของเราดีๆนี่เอง  เค้าก็แค่แวะมาทดสอบเรานิดหน่อย
เมื่อเราแก้โจทย์ได้  เค้าก็จะก็จะจากไปเอง
(ส่วนจะกลับมาเยียมเยือนใหม่อีกรอบหรือไม่ขึ้นอยู่กับแต่ละท่านจะแก้โจทย์ได้ดีแค่ไหน ) สู้ๆ :-[
     
 


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ ตุลาคม 30, 2014, 08:41:04 AM
วันก่อน เพื่อนของลูกชาย ไปเที่ยวฟาร์ม เดอ รัก

ถ่ายภาพมา ผมเห็นแล้ว อดสงสัยไม่ได้

อยากรู้ว่า ถ้าจะทำสระน้ำให้ใสได้ขนาดนี้ ต้องทำอย่างไรบ้าง

(https://lh3.googleusercontent.com/-Mf4x0qHVCG8/VFGf1MtjkqI/AAAAAAAAAGg/hyK681p6bqI/w369-h553-no/1801163_10204032215758981_4866178900494059032_o.jpg)

ขอบคุณภาพสถานที่ของฟาร์มเดอรัก ด้วยนะครับ

โดยขนาดในภาพคือ บ่อลึก 3.5 เมตร ขนาด 3 ไร่

ส่วนที่ผมต้องการขุดคือ บ่อลึก 1-2-4-6 เมตร เรียงไล่ความลึก และขนาดบ่อประมาณ ครึ่งไร่ ที่ต้องการทำให้ใสขนาดนี้ ส่วนบ่ออื่นๆ ไม่ต้องใสมาก เพราะเลี้ยงปลา


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ ตุลาคม 30, 2014, 08:47:54 AM
สังเกตุจากภาพ  เหมือนพื้นบ่อจะเป็นทรายเลย  

พื้นเป็นดินครับ ในเว็บบอกว่า เป็นโคลนที่เก็บมาเพื่อให้เด็กๆ ได้ปั้นกัน ที่มันฟุ้งเพราะเด็กๆ คงว่ายผ่าน แล้วขอบๆ คงจะไม่ได้ลึก 3.5 ที่ลึก 3.5 น่าจะเป็นช่วงกลางถึงปลายอีกด้าน

ผมมองว่า ตัวที่ทำให้ใสคือ พืชน้ำที่อยู่ด้านล่างนั้นละ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: บ่าววี-สวนแห่งฝัน ที่ ตุลาคม 30, 2014, 12:31:00 PM
น้ำมันช่างใส น่าลงเล่นจริง ๆคับ  :-[

แม่นแล้วท่าน ที่อยากได้ก็เพราะมันใส จนน่าลงเล่นนี้ละ มีบ่อแบบนี้ขนาด ครึ่งไร่ อยู่ข้างบ้าน คงจะสุขใจไม่น้อย

ว่ายน้ำได้ สูบน้ำมาใช้งาน ก็ดูเหมือนน่าจะกรองน้อยมาก (อาจกรองแค่เรื่องเชื้อโรค)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 03, 2014, 08:10:02 AM
ไม่รู้เพราะเครียด มีงานเยอะ มีอะไรให้ทำเยอะ หรือเวลามันเดินเร็วกันนะ 555

มะนาวต้นทดสอบที่บ้าน แตกตาใบใหม่อีกรอบแล้ว

เมื่อวานเลยจัด สูตร 1-4-7 รอบแรกไป

ความจริงๆ ก็แทบไม่มีเพลี้ยใดๆ แล้ว เท่าที่เห็นก็มีแค่ไม่กี่ตัว แต่เพื่อเรียนรู้กระบวนการป้องกัน จึงต้องทำตามสูตร

ซึ่งประสบความสำเร็จมา 2 รอบแล้ว

ตอนนี้ที่อยากรู้ คือ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่า มะนาวเก็บสะสมอาหารจนเพียงพอแล้ว

คำถามที่เกิดเพราะ การทำมะนาวนอกฤดู ความจริงแล้ว ทำได้ทุกเวลา ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจ จนสามารถแบ่งให้เก็บมะนาวได้ทุกๆ เดือน ก็คงจะดี

คนงานในสวน ก็จะมีงานทำตลอดปี เราก็จะมีรายได้เพียงพอจะจ้างตลอดปี ความยั่งยืนก็จะเกิด ความมั่นคงก็จะเกิด


--------------------------------------------------------------

ข้าวในสวน ก็กำลังตั้งท้อง อีกไม่นาน ก็เกี่ยวได้ คนงานขอลา ไปเกี่ยวข้าวกันหมด

พอเกี่ยวข้าวเสร็จ งานต่อไปในสวนเกษตรโชคดีชุมแพ มีตรึม

1. ทำปุ๋ยหมักสูตรแม่โจ้ จากฟางข้าว ทั้งหมด
2. ไถกลบดินนาข้าวทั้งหมด ลงปอเทือง (คราวนี้ไม่น่าพลาดอีกแล้ว)
3. จ้างรถขุด มาขุดบ่อน้ำ ขนาด 2 ไร่ นำดินที่ได้ ถมที่บริเวณที่จะปลูกบ้าน
4. โรยหิน ซ่อมปรับถนน ใหม่ หลังเป็นหลุมบ่อ จากฤดูฝน

หลังไถกลบปอเทือง ก็ต้องทิ้งหน้าดินไว้อีกเล็กน้อยเพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ยามหน้าแล้ง





หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: Buaroeynop ที่ พฤศจิกายน 03, 2014, 12:10:12 PM
วันก่อน เพื่อนของลูกชาย ไปเที่ยวฟาร์ม เดอ รัก

ถ่ายภาพมา ผมเห็นแล้ว อดสงสัยไม่ได้

อยากรู้ว่า ถ้าจะทำสระน้ำให้ใสได้ขนาดนี้ ต้องทำอย่างไรบ้าง

(https://lh3.googleusercontent.com/-Mf4x0qHVCG8/VFGf1MtjkqI/AAAAAAAAAGg/hyK681p6bqI/w369-h553-no/1801163_10204032215758981_4866178900494059032_o.jpg)

ขอบคุณภาพสถานที่ของฟาร์มเดอรัก ด้วยนะครับ

โดยขนาดในภาพคือ บ่อลึก 3.5 เมตร ขนาด 3 ไร่

ส่วนที่ผมต้องการขุดคือ บ่อลึก 1-2-4-6 เมตร เรียงไล่ความลึก และขนาดบ่อประมาณ ครึ่งไร่ ที่ต้องการทำให้ใสขนาดนี้ ส่วนบ่ออื่นๆ ไม่ต้องใสมาก เพราะเลี้ยงปลา
คิดว่าพื้นสระน่าจะเป็นดินมาร์ลหรือพวกดินสอพองนะครับ ถ้าแถวๆ บ้านเราก็พบที่ห้วยยาง คอนสาร น้ำผุดทัพลาว แถวนั้นครับ มีสภาพใกล้เคียงกัน


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 04, 2014, 10:30:26 AM
ตามที่เคยเขียน เคยฝันไว้ ว่า ถ้าได้ไปอยู่สวนเต็มตัวเมื่อไร เวลาว่าง จะอุทิศให้กับการพัฒนาโปรแกรม เพื่อบริหารจัดการสวน ไว้แจกจ่ายใช้งาน

วันนี้นั่งเล่นๆ เว็บไปเรื่อยๆ เจอเว็บน่าสนใจ

http://www.agrivi.com/ (http://www.agrivi.com/)

เป็นระบบบริหารจัดการฟาร์ม ครบวงจร ฟังก์ชันดีมาก

แต่ตัวฟรี ยังทำอะไรไม่ได้มาก ต้องเสียเงิน อย่างเดียวถึงจะได้ครบถ้วน

สำหรับผม ถือเป็นระบบที่คิดไว้เลย มีคนทำแล้ว ไม่เป็นไร เราปรับให้เหมาะกับเมืองไทย ดีกว่า

ถ้าใครสนใจ ลองเอาไปเล่นได้ครับ สิทธิ์ฟรี ทำอะไรได้เยอะเหมือนกัน

แต่เอาไปวิเคราะหห์ต่อยอดต้องเสียเงิน หรือระบบคาดคะเนต่างๆ ต้องเสียเวลา



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได&#
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ พฤศจิกายน 04, 2014, 12:40:06 PM
.......หนูจะรอนะคะ.......... โปรแกรมการบริหารจัดการฟาร์ม  ดูแล้วตามลิงค์  น่าสนใจมากค่ะ  ปราชญ์ชาวบ้าน ก็มีระบบการคิดคล้ายๆ กัน  แต่ขาดระบบการบริหารจัดการที่เป็นระบบ  และการบันทึกที่เป็นขั้นเป็นตอน...  แต่อาศัยที่ภูมิปัญญา และความรู้ที่สั่งสมกันมานาน  แต่ที่กล่าวมาไม่ได้ว่าแบบชาวบ้านเราไม่ดีนะคะ   ดีค่ะ  แต่คนรุ่นใหม่ๆ  นำมาใช้ได้ยาก  เพราะถ้าไม่ได้ลงไปศึกษาหรือทำเองพูดง่ายๆ  ก็มันไม่ใช่สูตรคณิตศาตร์นี่นา  ที่จะได้มีทฤษฎี  และการพิสูจน์สูตร 55555  แล้วใครๆ  ก็เอาไปทำกันได้ ก็ว่ากันไป  เช่นเรื่องน้ำฝน  เราเป็นเกษตรยุคใหม่  นับฝนตามฤดูฝน  หรือตามพยากรณ์อากาศ   แต่ชาวบ้านบอกว่า  ถ้าต้นสาบเสือไม่ออกดอก  ก็ยังไม่หมดฝน   ปลูกไปเถอะ  ไม่ต้องกลัวจะไม่มีฝน  จากประสบการณ์การเป็นเกษตรมา  ก็จริงนะคะ  เรื่องนี้  และเรื่องรังมด  เรื่องการขนย้ายรังของมด เก้าลอเก้า.... 
   ...  คิดคึก คึก  หมายถึงนึกสนุกๆ   ถ้าเอาเรื่องแบบบ้านๆ  มาทำให้เป็นระบบ  เขียนให้เป็นสูตรก็ว่าไป  ก็ดีนะ 55555555555555  ....  แล้วเอาไปขายให้ฝรั่งอีกที  อิอิ ....


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 05, 2014, 08:54:42 AM
คุณไม่หมู เปิดประเด็นไว้ในกระทู้ตัวเอง

ผมอ่านแล้วก็นึกถึง เลยอยากจะแบ่งปัน

เรื่องราวเกี่ยวกับ การสร้างครอบครัวจากศูนย์ จนประสบความสำเร็จ

เรื่องราวของ ตระกูลผมเองครับ

---------------------------------------------
อากงผมฝั่งพ่อ มาเมืองไทย เป็นจับกัง คนงาน ต่อสู้ เก็บเงิน จนสร้างร้านค้าเล็กๆ ขยายจนเป็นร้านค้าที่ใหญ่อันดับต้นๆ ใน ท่าดินแดง มี 4 คูหา ถ้าเทียบสมัยนี้คือ ห้าง คู่แข่งของอากง คือ ร้านค้าต้นตระกูลของเซ็นทรัลครับ มีแค่ 2 คูหา ... ถามว่าขายดียังไง ขายดังแค่ไหน เอาเป็นว่า เป็นผู้จำหน่ายเครื่องสำอางค์ Tellme อันดับ 1 ของประเทศ

แต่บังเอิญ ลุงผม ไปเรียนไต้หวัน ได้เห็นอุตสาหกรรมผ้า ได้เห็นเครื่องจักร จบมากลับเมืองไทย จึงเอาเงินทุนมาลงก่อสร้างโรงงาน แล้วสุดท้าย ร้านค้า "วันชัยสโตร์" ก็ปิดตัวลง จากท่าดินแดง ธุรกิจต้นตระกูลฝั่งพ่อ จึงเริ่มต้นที่อุตสาหกรรมสิ่งทอ...

แล้วขยายต่อไปหลากหลาย ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจพลาสติก ธุรกิจโรงพยาบาล ธุรกิจการสื่อสาร
ในรูปแบบผู้ริเริ่มบ้าง ผู้ร่วมทุนบ้าง เจ้าของบ้าง ....

แต่เศรษฐกิจปี 40 ก็ทำทั้งหมด พังลงมาหมด ...ตอนนั้นใครบอกคนรวย ล้มฟูก บ้านผมนี้ละ ล้มกระแทกหิน มีหนี้ให้ชดใช้อีกหลายร้อยล้าน ถึงทุกวันนี้จ่ายหมดหรือยังก็ไม่รู้...(ผมมันรุ่นหลาน)

ส่วนฝั่งแม่ รวยมาก่อน ทำธุรกิจระหว่างประเทศคือ ไทยกับจีน จนตั้งรกรากที่เมืองไทยได้ ก่อนสงครามโลก ค้าขายน้ำตาล แต่พอเกิดสงครามญี่ปุ่นยึดเรือเดินสมุทรไปหมด อากงผมหมดตัว เริ่มนับหนึ่งใหม่ แต่แม่เล่าว่า สภาพจิตใจแย่มาก ได้แต่ทำงานเลี้ยงชีพไปวันๆ

มีร้านค้าเล็กๆ แถวๆ ท่าดินแดง (พ่อแม่ผมถึงได้เจอกัน) ไม่ร่ำรวยเหมือนฝั่งพ่อ

... ฟังแค่นี้เอาเป็นน้ำจิ้มก่อน ฟังแล้วน่าสนุกไหมละครับ 555

ไว้ว่างๆ ผมจะเขียนสั้นๆ ถึง กลยุทธ์ในการทำธุรกิจของตระกูลผม ที่ผมได้ยินได้ฟังมา มีเยอะมากมาย เรียกว่า เขียนเป็นคำภีร์ได้เลย ประสบความสำเร็จได้อย่างไร ล้มเหลวได้อย่างไร ตระกูลผมเจอบทเรียนมาหมดแล้วครับ...

ผมเองก็เห็นมาตลอดชีวิต โชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่รู้ พ่อผมมีนิสัยออกแนว "พอเพียง" ท่านไม่ได้ขี้เกียจหรือรักสบาย แต่ท่านชอบใช้ขีวิตสมถะ มากกว่า บ้านผมเลยเป็นครอบครัวเล็กๆ พอมีพอกิน อยู่ในตระกูลใหญ่

และเหตุนี้ ตลอดชีวิต ผมเลยใฝ่ฝันอยากจะเป็นให้ได้อย่าง ลุงของผม ที่สร้างเนื้อสร้างตัว จนทำให้ตระกูลเติบใหญ่




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่หมู ที่ พฤศจิกายน 05, 2014, 03:53:34 PM
เป็นกำลังใจให้นะคะ  หนูก็จะรออ่านตลอดๆ  แฟนคลับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ พฤศจิกายน 06, 2014, 04:34:16 PM
ได้อ่านเรื่องราวที่เป็น introduction อย่างนี้..

ปูเสื่อรอเลยครับ..


ขอบคุณครับ บางเรื่องเล่าได้ บางเรื่องเล่าไม่ได้ เลยต้องคิดพิจารณาดีๆ  


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 06, 2014, 04:48:24 PM
ว่าแล้วก็เล่าสักนิด

กลยุทธ์ ชิงเงินสด ตัดกำลังซื้อ

กลยุทธ์นี้ มีใช้กันมากมาย

สมัยต้นตระกูลของผมยังเปิดร้านวันชัยสโตร์ อาแปะ(คุณลุง) ท่านเล่าให้ฟังว่า มีคนมาขอซื้อของ เราบอกราคาไป เขาต่อราคามา เป็นราคาทุน...

อาแปะถามผม ในวันนั้นตอนยังเด็ก ว่า เป็นลี้อๆ จะขายไหม

ผมบอกว่า "ไม่ขาย... ขายทำไม ไม่ได้กำไร"

อาแปะบอกว่า "ลี้อ หารู้ไม่"

"จำไว้ว่า ถ้าเราไม่เสียเปรียบ ขายได้ขาย"

บ่อยครั้งกำไร ไม่ได้มาในรูปแบบของตัวเงิน

การขายครั้งนั้น ได้อะไร
1. ได้ลูกค้า ซื้อใจลูกค้า ลูกค้าไป บอกปากต่อปากว่า ร้านของเราขายของถูก
2. ได้เงินสด ของมันอยู่ของมัน มันไม่สร้างประโยชน์อะไรเลย แต่เมื่อมันเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสด เรายังเอาเงินสดไปเปลี่ยนแปลงหรือบริหารใดๆ ได้ อาจสร้างประโยชน์ได้มากกว่ากำไรที่สินค้านั้นจะทำให้ได้ก็เป็นได้
3. ได้ตัดหน้าคู่แข่ง การที่ลูกค้าจ่ายเงินให้เรา อำนาจในการซื้อของลูกค้า จะลดลง หรือหมายถึง ต่อให้เขาไปร้านคู่แข่ง เขาก็มีเงินที่จะจ่ายให้คู่แข่งเราน้อยลง
4. ได้เคลียรของ ลูกค้าชอบของใหม่ๆ มากกว่าของเก่า เราเก็บไว้ยิ่งนานวันยิ่งเก่า บางครั้งของบางอย่าง อาจไม่กำไร ก็ต้องขายไป เพื่อซื้อของใหม่ๆ มาแทน

แล้วถ้าไม่ขาย เสียอะไร
1. เสียลูกค้า สุดท้ายลูกค้าจะไปอีกร้าน แล้วอาจซื้อในราคาที่แพงกว่าหรือเท่ากับราคาที่ร้านเราเสนอ ลูกค้าเขาก็ยอมซื้อ เพราะไม่มีใครเดินไปเดินมา ให้เสียเวลา
2. ร้านคู่แข่ง ได้ทั้งเงินทุนคืน ได้ทั้งกำไร
3. ของยังคงจมอยู่ในร้านเรา เก่าไปเรื่อยๆ

..........



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: บ่าววี-สวนแห่งฝัน ที่ พฤศจิกายน 07, 2014, 06:07:52 AM
เป็นบทความที่กินใจพ่อค้า อย่างผมมากคับ :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 07, 2014, 08:33:54 AM


ผมเป็นคนใช้เวลาคุ้มค่าที่สุดคนหนึ่ง (ชื่นชมตัวเอง...ยอมรับครับ 555)

สมัยมหาลัย เพื่อนๆ เรียกผมว่า "ไอ้มนุษย์ 25 ชั่วโมง"

คือ มันใช้เวลาคุ้มค่ากว่าคนอื่นๆ เยอะ 555

ผมใช้ชีวิตแบบนี้จนเป็นนิสัยเลยครับ ทุกวันนี้ก็ยังคงดำเนินชีวิตแบบใช้เวลาคุ้มค่า

ไม่เว้นแม้เรื่อง การเกษตร

ผมเกลียดมากกับการเสียเวลาเดินทาง ดังนั้นผมจึงชอบขับรถในเวลากลางคืน

อาจด้วยการใช้ชีวิตแบบนี้มานาน ผมจึงสบายๆ กับการใช้ชีวิตเกิน 24 ชั่วโมง โดยไม่พัก

โดยมากผมจะออกเดินทางจากบ้านตอนตีสอง ก่อนเดินทาง ผมจะรีบนอนตั้งแต่สามทุ่ม เท่ากับ ผมได้นอนแล้ว เกือบๆ 5 ชั่วโมง

เป็นเวลานอนพักของผู้ใหญ่ปกติ

บางคนเป็นห่วง คิดว่าผมจะนอนไม่พอ... ลองถามตัวเองว่า ทุกวันนี้นอนกันกี่ชั่วโมงละ

จากตีสอง ผมขับรถเดินทางจน ง่วงอีกรอบ โดยมากก็จะเกือบๆ เช้าพอดี ก็จะจอดรถนอนพัก 20-30 นาที แล้วค่อยเดินทางต่อ ถึงสวนก็ 7-8 โมง

เริ่มงานในสวนจน หมดแสง ก็ 6 โมงเย็น

แล้วผมก็จะออกเดินทางกลับทันที บางคนบอกทำไมไม่นอนพักแล้วค่อยเดินทางวันรุ่งขึ้น

จากทุ่ม ผมถึงบ้านไม่เกินตีหนึ่ง ผมนอนตื่นสายๆ สักแปดโมง ก็เท่ากับผมพักผ่อนได้กำลังดี

ผมยังใช้ชีวิตปกติเหมือนคนอื่นๆ ได้ แต่ถ้าผมนอนพัก ผมอาจสบาย แต่ผมก็เสียเวลา 1 วันเต็มๆ ไปกับการขับรถ ที่ไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย ...

จริงๆ ทางออกมีอีกทางคือ การนั่งรถ บขส.

แต่ดูจากสัมภาระแล้ว คงต้องมีบ้านพัก สร้างไว้ก่อน ถึงจะนั่งรถ บขส. ขึ้นๆ ลงๆ ได้

----------------------------------------------------

ที่เล่าไม่ใช่อะไรครับ บันทึกไว้ ว่า ณ วันนี้ คิดแบบนี้...

วันข้างหน้า สภาพร่างกายเปลี่ยน คงคิดอีกแบบหนึ่ง...




หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ พฤศจิกายน 07, 2014, 09:08:32 AM
ตอนช่วงแรกที่ผลผลิตไร่เราออก
ช่วงที่โหมทำการตลาดหนักๆเพื่อให้ชื่อไร่เราติดตดลาด
ช่วงที่ต้องรับมือ order ทเข้ามาไม่ขาดสายในช่วงแรก  จะเป็นช่วงที่โหดมากครับ..

แต่คุณบรีสน่าจะชินแล้วล่ะ 55+


มีโมเม้นต์ แบบนั้น เมื่อไร ก็ดีใจตายเลยครับ 555



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 09, 2014, 08:36:53 AM
กิจกรรมชาวสวนวันหยุดรอบนี้ สรุปตัดแต่งกิ่งไปได้ 5 แถว รวม 200 ต้น ใช้เวลาไป 5 ชั่วโมง

หมดแรงครับ 555

เริ่มจาก ออกจาก กทม. 18.30 น. ผจญรถติด กว่าจะถึงตลาดไท 20.00 พอดีๆ

ถามว่าไปทำไม ก็แค่อยากไปดูครับ แม้ว่าหลายๆ คนจะบอกว่า มันเป็นช่วงตลาดวาย 555

ออกจากตลาดไท 20.30 น. ตามคาด ไม่มีอะไรให้แวะซื้อได้ 555 เพราะมันวาย

ยิงยาว ขับเรื่อยๆ จนถึง ชัยภูมิ ตอนเที่ยงคืนนิดๆ แวะจอดรถนอนในปั้ม ปตท. นอนสบายๆ 24 องศา เปิดกระจกรถนิดหน่อย ปรับเบาะเป็นเบาะนอนยาว (หนึ่งในประเด็นซื้อรถ ที่ไม่เคยทำเลย จนวันนี้)

นอนสบายดีนะครับ เหมือนนอนเก้าอี้นอนยาว ปกติเลย

มันทำให้ผมนอนยาว ถึงตีสาม

ตื่นเพราะ ฝัน หรือตกใจ ก็ไม่รู้ คิดว่า รถไหล ไปข้างหน้า

ไม่รู้ว่าตะโกนเสียงดังแค่ไหน แต่สภาพร่างกายคือ รีบลุกมาดึงเบรกมือ (นึกแล้วยังขำตัวเอง)

พอตื่นแบบนั้น ก็เลยขับรถต่อเลยดีกว่า มาถึงชุมแพ จอดนอนต่อตอนตีสี่ครึ่ง ทีนี้หลับยาวสบายๆ ถึงเช้าเลย

ล้างหน้าแปรงฟัน ซื้อของกินสำหรับมื้อเช้าและเที่ยง เพราะตั้งใจลุยงานเอาให้จบ 6 แถว...(แต่ได้จริงๆ 5 แถว)

-----------------------------------------------

ถึงสวน คุยอัพเดต ความเป็นไปกับพ่อตา เรียบร้อย ก็ลงมือ

ปัญหาของสวนตอนนี้คือ ระบบน้ำหยด หยดไม่ได้จริง

สาเหตุเพราะ ดินยังไม่มีอะไรปกคลุมอย่างแท้จริง

ทำให้ฝนที่ยังตกอยู่ ชะหน้าดิน มาโดนหัวน้ำหยด บ่อยครั้งหัวน้ำหยดเลยถูกอุดตาย ต้องลงแรงถอดล้าง

ปัญหานี้จะหายไปเมื่อ มะนาวสร้างทรงพุ่มใหญ่พอจะคลุมโคน / มีอินทรีย์วัตถุมากพอจะปิดหน้าดิน

ตอนนี้เลยวางแผนจะเพิ่มจุดก๊อกน้ำ เพื่อเตรียมไว้สำหรับกรณีที่ น้ำไม่พอ จะใช้วิธีโบราณ คือ เดินรดน้ำ 555

บางคนอาจคิดว่า บ้า ลงทุนทำระบบน้ำไว้เสียดี จะใช้ก๊อกน้ำทำไม...

ก๊อกน้ำของผม เราเรียกว่า Backup Plan ครับ หรือแผนสำรอง

แผนสำรองที่ดีที่สุด ต้องเรียบง่าย แต่แก้ปัญหาได้จริง

-------------------------------------------------------------


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 10, 2014, 05:00:49 PM
วิธีการตัดแต่งทรงพุ่ม แบบครูพักลักจำ

ลักจำ จริงๆ เป็นศิษย์ยังไม่ครอบครู เขามีเปิดอบรม ก็ยังไม่ได้ไปเรียน เรียนแต่ปลูกมะนาว

555

อาจารย์ระวี ท่านสอนไว้ หลักการง่ายมากครับ

"ทำอย่างไรให้ใบทุกใบที่อยู่ในทรงพุ่ม มีความสามารถในการสังเคราะห์แสงสูงที่สุด"

ผมขอให้ หลักคิดนี้ เป็นหลักคิดที่หนึ่งนะครับ


ในหลักคิดที่ 1 จะมีคำว่า สังเคราะห์ แสง ซึ่งหมายความว่า

ใบไม้ 1 ใบ ทำหน้าที่สองอย่างคือ กินอาหาร กับ สร้างอาหาร

การสร้างอาหาร คือ การสังเคราะห์แสงนั่นเองครับ

ใบเมื่อเริ่มต้น เป็นใบอ่อน จะกินอาหารอย่างเดียว จนตัวเองโตเต็มที่ จากนั้นจึงจะสร้างอาหาร พอสร้างไปจนใบเริ่มแก่ ก็จะสร้างน้อยลงเรื่อยๆ จนทำตัวเป็นเด็กอีกครั้ง คือ กินอย่างเดียว...

ฟังแล้ว เหมือน คนเลยเนอะ

ตอนเด็ก ต้องมีคนเลี้ยง คนดูแล
พอหนุ่มสาว ต้องทำงาน หาเลี้ยงตัวเอง และทะยอยสร้างเก็บ
พอแก่ตัว ทำงานหาเงินได้น้อยลง แล้วสุดท้ายก็ต้องให้คนอื่นๆ มาเลี้ยงแทน

วงจรชีวิตของใบไม้ นี้ ขอให้จดจำเป็นหลักคิดที่ 2

ส่วนหลักคิด สุดท้ายคือ นิสัยของกิ่ง

กิ่งที่เติบโตได้ดี หรือเรียกว่า บ้าเติบโต เราเรียกว่า กิ่งกระโดง

ลักษณะสำคัญของกิ่งกระโดงคือ เติบโตทำมุม 90 องศากับพื้นโลก (ตั้งฉาก) ตรงสู่ฟ้า

กิ่งกระโดง จะมีนิสัย เร่งโต เร่งสร้างใบ ดังนั้นเขาจะโตเร็วมาก

เมื่อน้ำหนักมากขึ้น กิ่งจะเริ่มโน้ม ทำมุมลดลงสู่ดิน

ยิ่งกิ่งเอียงมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสติดดอก ออกผล มากขึ้นเท่านั้น

นิสัยของกิ่ง จะเป็นหลักคิดที่ 3 สำหรับการตัดแต่งทรงพุ่ม


พอเราเข้าใจหลักการทั้งสามแล้ว เราต้องเอามารวมกันทั้งหมดในการตัดแต่งทรงพุ่ม 1 ต้นครับ

ต้นไม้แต่ละต้น มีฟอร์ม หรือรูปทรง รูปร่าง ไม่เหมือนกัน ดังนั้น มันจึงไม่มีสูตรตายตัว ในการตัดแต่งทรง มีเพียงหลักคิด


------------------------------------------------------------

การตัดแต่งกิ่ง เพื่อสร้างทรงพุ่ม บางสวนบอกให้เลี้ยงเกิน 6 เดือน บางสวนบอก 2 เดือนก็ตัดแต่งได้ สำหรับสวนเกษตรโชคดีชุมแพ ผมมีหลักคิดง่ายๆ ครับ

การตัดแต่งกิ่งเพื่อสร้างทรงพุ่ม ก็เหมือนการเลี้ยงลูก... ลูกทำผิด จะปล่อยให้กิ่งที่ผิดเติบโตไปเรื่อยๆ หรือจะอบรมสั่งสอน เพื่อริบกิ่งไม่ดีทิ้งไป

ดังนั้นเมื่อปลูกต้นไม้ใดๆ แล้ว เขาแสดงอาการรอดตาย ยืนต้นโตใหญ่แล้ว ก็ควรเริ่มลงมือตัดแต่งกิ่งเพื่อสร้างทรงพุ่มได้เลย...

มิได้กำหนดช่วงเวลา แต่กำหนดจากสภาพของต้น

เพราะในการปลูก ต้นไม้บางพันธุ์ หรือผลกระทบจากวิธีปลูก อาจทำให้ต้นไมหยุดการเติบโตไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง

แต่โดยมากก็ 2-3 เดือน ก็น่าจะเริ่มตัดแต่งกิ่งได้ โดยการตัดแต่งกิ่งครั้งแรก เป็นการตัดแต่งเพื่อสร้างทรง มากกว่า

-----------------------------------------

ช่วงวันหยุด ปิยะมหาราช ผมได้ขึ้นไปดูสวน พิจารณาแล้ว ผมว่า ถึงเวลาที่ตัดแต่งทรงพุ่มได้แล้ว (อันนี้อย่าเชื่อนะ อาจจะผิดก็ได้ 555)

เลยกำหนดวันหวยออก เอ้ย วันทำงานไว้ที่วันที่ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา


โดยกระบวนการตัดแต่งของผม ในครั้งแรก มีเป้าหมายแค่ "วางกรอบทรงพุ่ม"

1. ริบกิ่งที่ไม่ใช่กิ่งกระโดง ที่อยู่ในระดับความสูง 0-40 ซม. ออกให้หมด - เพื่อลดการกินอาหาร เนื่องจาก กิ่งที่อยู่ต่ำ ใบส่วนใหญ่จะไม่โดนแดด ใบส่วนใหญ่จึงทำหน้าที่ กินอาหาร (หลักคิดที่ 2) มากกว่าสร้างอาหาร

2. จากข้อ 1 เราจะได้ โคนต้นที่สะอาด รอบโคน แสงสามารถส่องถึง

3. จากนั้นมาพิจารณากิ่งกระโดง ที่เหลือทั้งหมด ว่าควรไว้ทรงพุ่มอย่างไร ในมุมมอง 3 มิติ ต้องมีกิ่งกระโดงหลักๆ เอียงทำมุมอย่างเหมาะสม และห่างระหว่างกิ่งทำมุมได้สมบูรณ์แบบ เช่น

- ถ้ามีกิ่งกระโดงกิ่งเดียวเลย ก็ไว้ทรงกิ่งเดียว (อนาคตมันแตกออกเองเป็นหลายๆ กิ่งแน่นอน)
- ถ้ามีกิ่งกระโดงทำมุมกันเป็น ตัว V อย่างสวยงาม และกิ่งกระโดงอื่นๆ เล็กกว่า สวยน้อยกว่า ก็เลือกสร้างทรงพุ่มแบบตัว V
- ถ้ากิ่งกระโดง ทำมุม เป็น ปิรามิดสามเหลี่ยมคว่ำ อย่างสวยงาม ก็เลือกทำทรง 3 ขา
- ถ้ากิ่งกระโดง ทำมุม เป็น ปิรามิดสี่เหลี่ยมคว่ำ อย่างสวยงาม ก็เลือกทำทรง 4 ขา

4. จากนั้น ดูกิ่งแขนงที่ออกจากกิ่งกระโดง ว่า มีกิ่งใด ที่เติบโตเข้าศูนย์กลาง ของทรงพุ่ม หรือไม่ ถ้ามี ตัดออก เพราะมันจะเติบโตไปบังกันและกัน


ในการสร้างทรงพุ่มครั้งแรก ผมทำแค่ 4 ข้อนี้ครับ

แค่ 4 ข้อ ก็ใช้เวลาเป็นนาทีต่อต้นเลยทีเดียว

สรุปที่ผ่านมา ตัดแต่งไปได้ 200 ต้น ประมาณ 5 แถว หมดแรง เลย

----------------------------------------
ให้คนงานทำก็ไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ ปลูกอ้อย มัน ข้าวโพด กันเป็นส่วนใหญ่

องค์ความรู้ในการตัดแต่งกิ่ง ไม่มีเลย

จะสอน ก็สอนได้นะ แต่ผมเองก็ยังไม่เก่ง ไม่แม่น

กว่าจะกลั่นออกมาเป็น 4 ข้อปฏิบัติ 3 หลักคิด ก็ศึกษาจาก VDO ของอาจารย์ และ VDO ของต่างชาติ แล้วเอามาปฏิบัติเองจริงๆ กว่าจะเข้าใจ ก็เรียกว่า ต้นมะนาว โกร๋น ไปแถวหนึ่งเต็มๆ 555

(ถ้าหลักผมผิดพลาด ช่วยแก้ไข ให้ความรู้ผมด้วยนะครับ)

--------------------------------------------------------

ต้นมะนาวก่อนเริ่มต้น
(https://lh5.googleusercontent.com/-lCaR1-ZKLyU/VGCVLTpszuI/AAAAAAAAAHI/UULYHYfpSPg/w413-h550-no/2014-11-08%2B10.05.57.jpg)

ริบกิ่งล่างๆ ออกให้หมดก่อน
(https://lh6.googleusercontent.com/-5Qc6FwTcstM/VGCVLQOb2LI/AAAAAAAAAG4/1JXHzCw_scs/w413-h550-no/2014-11-08%2B10.06.13%2BHDR.jpg)

ดูทรงพุ่ม ว่าควรตัดกิ่งกระโดงหรือกิ่งแขนงไหนออก
(https://lh6.googleusercontent.com/-MM5f81S_hdE/VGCVLjsKbVI/AAAAAAAAAHA/687HOU7Y6lw/w413-h550-no/2014-11-08%2B10.06.33.jpg)

สุดท้าย ได้ทรง 3 เหลี่ยม (ที่อาจเลี้ยงต่อไปเลือก ตัว V ก็ได้นะ 555)
(https://lh3.googleusercontent.com/-rdVxENMIc70/VGCVMK_9LYI/AAAAAAAAAHU/f3qFflWrh8w/w413-h550-no/2014-11-08%2B10.08.07.jpg)

ภาพตัวอย่าง บางส่วนผมยังไม่ได้ตัดแบบสร้างทรงพุ่ม 100% นะครับ เพราะบางต้น ต้องไว้ใบบ้าง

อันนี้อีกตัวอย่าง ก่อนตัดแต่งทรง
(https://lh6.googleusercontent.com/-RbZKyh7WRyw/VGCVMV8ZkMI/AAAAAAAAAH0/hUXHdxaB5R8/w413-h550-no/2014-11-08%2B10.11.45.jpg)

หลังตัดแต่งทรง อันนี้คงเหลือ ทรงตัวไอ แต่ผมเหลือไว้กิ่งหนึ่ง (บางที ตัดไปอาจจะไม่ได้ตามหลัก 100% เพราะหลงหูหลงตาบ้างนะครับ 555)
(https://lh5.googleusercontent.com/EtwQQRGDXtbh4I3lxKag_cOXM166m1Ry0NBsXdqejg=w413-h550-no)


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 11, 2014, 08:18:10 AM
เรื่อง หญ้า ถือเป็นปัญหาใหญ่ สำหรับสวนเกษตรโชคดีชุมแพ เหมือนกัน

แต่หญ้าก็มีข้อดี

1. หญ้าเป็นพืชคลุมดิน ดังนั้นหากเลือกหญ้าถูกชนิด ก็จะช่วยคลุมดิน ให้ดินมีความชุ่มชื้น เป็นที่อยู่ของไส้เดือนได้ดี สุดท้ายเมื่อเข้าวงจร ดินก็จะถูกปรับปรุงไปอย่างช้าๆ

2. หญ้าสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดได้

แต่หญ้าบางชนิดก็มีข้อเสีย เช่น หญ้าหวาย ทนทานตายยาก มากๆ

เป็นหญ้าที่ต้องค่อยๆ กำจัดออกไปเรื่อยๆ

---------------------------------
แนวทางการกำจัดหญ้าของสวนเกษตรโชคดีชุมแพคือ

1. ใช้หญ้าเม็ดแตง เป็นหญ้าขนาดเล็ก ที่ตัวมันเองมีคุณสมบัติ ฆ่าหญ้าตัวอื่นๆ ในกรณีที่ตัวมันตาย เช่น โดยเหยียบ น้ำในใบ จะมีสารที่ทำให้หญ้าอื่นๆ ไม่ขึ้น

แต่หญ้าเม็ดแตง ก็ค่อนข้างแพ้หญ้าเจ้าถิ่น ดังนั้น ต้องกำจัดหญ้าเจ้าถิ่น เป็นการช่วยเหลือไปก่อน

ถ้าหญ้าเม็ดแตง สมบูรณ์ดี ก็จะออกดอกสวยงามเลยครับ

จากภาพนี้ หลุมนี้ ต้นมะนาวตาย ครับ เลยปล่อยทดลองว่าจะสู้หญ้าที่อยู่ในหลุมได้ไหม

(https://lh3.googleusercontent.com/-f48IXjwYilU/VGCVOT1wVvI/AAAAAAAAAH8/4IN1qETOmUk/w413-h550-no/2014-11-08%2B12.42.42.jpg)



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: nopmtp ที่ พฤศจิกายน 11, 2014, 10:26:52 AM
ว่าแล้วก็เล่าสักนิด

กลยุทธ์ ชิงเงินสด ตัดกำลังซื้อ

กลยุทธ์นี้ มีใช้กันมากมาย

สมัยต้นตระกูลของผมยังเปิดร้านวันชัยสโตร์ อาแปะ(คุณลุง) ท่านเล่าให้ฟังว่า มีคนมาขอซื้อของ เราบอกราคาไป เขาต่อราคามา เป็นราคาทุน...

อาแปะถามผม ในวันนั้นตอนยังเด็ก ว่า เป็นลี้อๆ จะขายไหม

ผมบอกว่า "ไม่ขาย... ขายทำไม ไม่ได้กำไร"

อาแปะบอกว่า "ลี้อ หารู้ไม่"

"จำไว้ว่า ถ้าเราไม่เสียเปรียบ ขายได้ขาย"

บ่อยครั้งกำไร ไม่ได้มาในรูปแบบของตัวเงิน

การขายครั้งนั้น ได้อะไร
1. ได้ลูกค้า ซื้อใจลูกค้า ลูกค้าไป บอกปากต่อปากว่า ร้านของเราขายของถูก
2. ได้เงินสด ของมันอยู่ของมัน มันไม่สร้างประโยชน์อะไรเลย แต่เมื่อมันเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสด เรายังเอาเงินสดไปเปลี่ยนแปลงหรือบริหารใดๆ ได้ อาจสร้างประโยชน์ได้มากกว่ากำไรที่สินค้านั้นจะทำให้ได้ก็เป็นได้
3. ได้ตัดหน้าคู่แข่ง การที่ลูกค้าจ่ายเงินให้เรา อำนาจในการซื้อของลูกค้า จะลดลง หรือหมายถึง ต่อให้เขาไปร้านคู่แข่ง เขาก็มีเงินที่จะจ่ายให้คู่แข่งเราน้อยลง
4. ได้เคลียรของ ลูกค้าชอบของใหม่ๆ มากกว่าของเก่า เราเก็บไว้ยิ่งนานวันยิ่งเก่า บางครั้งของบางอย่าง อาจไม่กำไร ก็ต้องขายไป เพื่อซื้อของใหม่ๆ มาแทน

แล้วถ้าไม่ขาย เสียอะไร
1. เสียลูกค้า สุดท้ายลูกค้าจะไปอีกร้าน แล้วอาจซื้อในราคาที่แพงกว่าหรือเท่ากับราคาที่ร้านเราเสนอ ลูกค้าเขาก็ยอมซื้อ เพราะไม่มีใครเดินไปเดินมา ให้เสียเวลา
2. ร้านคู่แข่ง ได้ทั้งเงินทุนคืน ได้ทั้งกำไร
3. ของยังคงจมอยู่ในร้านเรา เก่าไปเรื่อยๆ

..........



      มีประโยชน์มากๆ....ที่บอกเล่าให้ฟังกันครับ  คุณ  บรีส  :-[ :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 17, 2014, 09:00:54 AM
วันเสาร์ที่ผ่านมา ไปเดินบ้านหม้อ

ตามหา "หม้อเพิ่มไฟ"

อยากรู้ราคา

สรุป ยี่ห้อ สยามนีออน ที่โด่งดัง ขนาด 60A ราคาถูกสุดที่ถามมาได้คือ 7500 บาท

สาเหตุที่ต้องตามหา เพราะไฟไม่พอ ไฟตกเกิน

สาเหตุที่ไฟตกเกิน เพราะสายไฟขนาดเล็กไป และเดินไฟยาวไป (อยากรู้ว่าทำไม กลับไปอ่านเรื่องไฟฟ้าในหน้าแรกๆ นะครับ)

วิธีแก้ง่ายๆ
1. ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ขนาดสัก 30KVA ก็จบปัญหาในระยะยาว แต่สนนราคา ไม่ใช่ถูกๆ

หรือ
2. หาหม้อเพิ่มไฟ มาใช้ จริงๆ หม้อเพิ่มไฟ ก็คือ หม้อแปลงไฟฟ้า แต่เป็นแบบพกพาได้นั้นเอง

และนั้นคือ สิ่งที่ผมสงสัยอยู่ ทำไมราคาถึงต่างกัน...


หลายๆ บ้านในต่างจังหวัด นิยมใช้ หม้อเพิ่มไฟ เพราะถูกกว่า หาซื้อมาใช้งานได้ง่ายกว่า

ส่วนผม มองการแก้ไขปัญหาระยะยาวมากกว่า คือ ต้องติดตั้งห้องแปลงไฟฟ้าที่ต้นทางมากกว่า แม้จะแพงกว่า แต่ช่วยให้ทั้งระบบไฟฟ้าในที่ดิน หายขาดจากปัญหาไฟฟ้าตกได้

ผมจึงยังไม่ตัดสินใจซื้อ แล้วหาทางแก้ไขใหม่

จากปัญหาไฟฟ้าตก
ทำให้ปั้มน้ำขนาด 2 แรงม้า ทำงานไม่ได้

พอปั้มทำงานไม่ได้ จ่ายน้ำไม่ได้

ตอนนี้เลยหาทางใหม่ ได้ข้อสรุปที่แสนง่าย จากตัวแปร

1. น้ำบาดาลที่สูบขึ้นมา มีความใสสะอาดมาก หากสูบขึ้นมาไม่เกิน 20 นาที (แล้วพัก 2 เท่าของเวลาสูบหรือคือ 40 นาที)

2. ระบบปั้มน้ำบาดาล รองรับไฟตกได้ต่ำมาก (ตามสเปกเครื่อง) และตำแหน่งที่ตั้ง ทำให้ไฟไม่ตกมาก และขนาดแรงม้าแค่ 1 แรง

3. สูบน้ำบาดาลได้ชั่วโมงละ 4.5 คิว โดยประมาณ น้ำถึงผิวดินยังมีแรงดันอีกอย่างน้อย 2 บาร์กว่าๆ (วัดด้วยมิเตอร์)

---------------------------------------------------

ผมเลยเปลี่ยนโซลูชันใหม่

1. เดินท่อใหม่ เอาท่อจากน้ำบาดาล จ่ายตรงเข้าระบบหัวน้ำหยด ซึ่งมีหัวน้ำทั้งหมด 781 หัว (คิดง่ายๆ 800 หัว) และคิดง่ายๆ ว่าจ่ายน้ำได้ 4,000 ลิตร เท่ากับว่า แต่ละหัวจ่ายน้ำได้ประมาณ 5 ลิตรต่อชั่วโมง

2. มะนาวต้องการน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นต้องจ่ายน้ำ 4 ชั่วโมงต่อวัน และจากสูตรที่ว่าต้องพักการสูบ 2 เท่า ก็เท่ากับ 8 ชั่วโมง รวมๆ เป็น 12 ชั่วโมงต่อวัน หรือหมายถึง ความสามารถจ่ายน้ำสูงสุดคือ 40 ลิตรต่อต้นต่อวัน

3. การสูบน้ำจากบาดาลมารดน้ำเลย เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ผมได้ทดสอบคุณภาพน้ำแล้ว ดีเลิศ ไสสะอาด ไม่มีอะไรเลย (ไม่มีอะไรเจือปนเลย แม้แต่แร่ธาตุ) ส่วนถ้าสูบมากกว่า 20 นาที จะมีตะกอนดิน ปนขึ้นมา)

4. ดังนั้น ผมจึงวางแผนจ่ายน้ำบาดาลเข้าระบบหัวน้ำหยด 10 นาที พัก 20 นาที รวมทั้งหมด 12 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 6 ชั่วโมง ตอนกลางคืน เพื่อให้น้ำค่อยๆ เก็บไว้ใต้ดิน และอีก 6 ชั่วโมง ตอนกลางวัน เพื่อทดแทนน้ำส่วนที่ระเหยไป และการใช้น้ำของมะนาว

5. โซลูชันนี้ ช่วยผมประหยัดค่าไฟฟ้า จากเดิมต้องสูบสองครั้ง คือ จากบาดาลมาเก็บไว้ที่แท็งก์ จากแท็งก์จ่ายออกที่น้ำหยด ก็จะเหลือเพียงครั้งเดียว คิดเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าประมาณ

750*4 = 3000 วัตต์ต่อวัน หรือ 3 หน่วยต่อวัน เดือนละ 90 หน่วย ก็ไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น

-------------------------------------------------------------------------------

งานนี้ ผลจากการวางโซลูชันใหม่เป็นอย่างไร เดี๋ยวรู้กันในอาทิตย์นี้ครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ พฤศจิกายน 17, 2014, 10:23:23 AM
วันเสาร์ที่ผ่านมา ไปเดินบ้านหม้อ

ตามหา "หม้อเพิ่มไฟ"

อยากรู้ราคา

สรุป ยี่ห้อ สยามนีออน ที่โด่งดัง ขนาด 60A ราคาถูกสุดที่ถามมาได้คือ 7500 บาท

สาเหตุที่ต้องตามหา เพราะไฟไม่พอ ไฟตกเกิน

สาเหตุที่ไฟตกเกิน เพราะสายไฟขนาดเล็กไป และเดินไฟยาวไป (อยากรู้ว่าทำไม กลับไปอ่านเรื่องไฟฟ้าในหน้าแรกๆ นะครับ)

วิธีแก้ง่ายๆ
1. ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ขนาดสัก 30KVA ก็จบปัญหาในระยะยาว แต่สนนราคา ไม่ใช่ถูกๆ

หรือ
2. หาหม้อเพิ่มไฟ มาใช้ จริงๆ หม้อเพิ่มไฟ ก็คือ หม้อแปลงไฟฟ้า แต่เป็นแบบพกพาได้นั้นเอง

และนั้นคือ สิ่งที่ผมสงสัยอยู่ ทำไมราคาถึงต่างกัน...


หลายๆ บ้านในต่างจังหวัด นิยมใช้ หม้อเพิ่มไฟ เพราะถูกกว่า หาซื้อมาใช้งานได้ง่ายกว่า

ส่วนผม มองการแก้ไขปัญหาระยะยาวมากกว่า คือ ต้องติดตั้งห้องแปลงไฟฟ้าที่ต้นทางมากกว่า แม้จะแพงกว่า แต่ช่วยให้ทั้งระบบไฟฟ้าในที่ดิน หายขาดจากปัญหาไฟฟ้าตกได้

ผมจึงยังไม่ตัดสินใจซื้อ แล้วหาทางแก้ไขใหม่

จากปัญหาไฟฟ้าตก
ทำให้ปั้มน้ำขนาด 2 แรงม้า ทำงานไม่ได้

พอปั้มทำงานไม่ได้ จ่ายน้ำไม่ได้

ตอนนี้เลยหาทางใหม่ ได้ข้อสรุปที่แสนง่าย จากตัวแปร

1. น้ำบาดาลที่สูบขึ้นมา มีความใสสะอาดมาก หากสูบขึ้นมาไม่เกิน 20 นาที (แล้วพัก 2 เท่าของเวลาสูบหรือคือ 40 นาที)

2. ระบบปั้มน้ำบาดาล รองรับไฟตกได้ต่ำมาก (ตามสเปกเครื่อง) และตำแหน่งที่ตั้ง ทำให้ไฟไม่ตกมาก และขนาดแรงม้าแค่ 1 แรง

3. สูบน้ำบาดาลได้ชั่วโมงละ 4.5 คิว โดยประมาณ น้ำถึงผิวดินยังมีแรงดันอีกอย่างน้อย 2 บาร์กว่าๆ (วัดด้วยมิเตอร์)

---------------------------------------------------

ผมเลยเปลี่ยนโซลูชันใหม่

1. เดินท่อใหม่ เอาท่อจากน้ำบาดาล จ่ายตรงเข้าระบบหัวน้ำหยด ซึ่งมีหัวน้ำทั้งหมด 781 หัว (คิดง่ายๆ 800 หัว) และคิดง่ายๆ ว่าจ่ายน้ำได้ 4,000 ลิตร เท่ากับว่า แต่ละหัวจ่ายน้ำได้ประมาณ 5 ลิตรต่อชั่วโมง

2. มะนาวต้องการน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นต้องจ่ายน้ำ 4 ชั่วโมงต่อวัน และจากสูตรที่ว่าต้องพักการสูบ 2 เท่า ก็เท่ากับ 8 ชั่วโมง รวมๆ เป็น 12 ชั่วโมงต่อวัน หรือหมายถึง ความสามารถจ่ายน้ำสูงสุดคือ 40 ลิตรต่อต้นต่อวัน

3. การสูบน้ำจากบาดาลมารดน้ำเลย เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ผมได้ทดสอบคุณภาพน้ำแล้ว ดีเลิศ ไสสะอาด ไม่มีอะไรเลย (ไม่มีอะไรเจือปนเลย แม้แต่แร่ธาตุ) ส่วนถ้าสูบมากกว่า 20 นาที จะมีตะกอนดิน ปนขึ้นมา)

4. ดังนั้น ผมจึงวางแผนจ่ายน้ำบาดาลเข้าระบบหัวน้ำหยด 10 นาที พัก 20 นาที รวมทั้งหมด 12 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 6 ชั่วโมง ตอนกลางคืน เพื่อให้น้ำค่อยๆ เก็บไว้ใต้ดิน และอีก 6 ชั่วโมง ตอนกลางวัน เพื่อทดแทนน้ำส่วนที่ระเหยไป และการใช้น้ำของมะนาว

5. โซลูชันนี้ ช่วยผมประหยัดค่าไฟฟ้า จากเดิมต้องสูบสองครั้ง คือ จากบาดาลมาเก็บไว้ที่แท็งก์ จากแท็งก์จ่ายออกที่น้ำหยด ก็จะเหลือเพียงครั้งเดียว คิดเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าประมาณ

750*4 = 3000 วัตต์ต่อวัน หรือ 3 หน่วยต่อวัน เดือนละ 90 หน่วย ก็ไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น

-------------------------------------------------------------------------------

งานนี้ ผลจากการวางโซลูชันใหม่เป็นอย่างไร เดี๋ยวรู้กันในอาทิตย์นี้ครับ


เจ็บใจการไฟฟ้า
ติดตั้งห้องเย็น ตอนติดตั้งตอนแรก ไฟไม่พอ แจ้งการไฟฟ้าบอกว่าไม่มีแผนเพิ่มหม้อไฟ
ดิ้นรนซื้อ stabilizer มาใช้งาน ไฟยังไม่พอ ต้องไปซื้อ Step up transformer มาแทน

สองเดือนถัดมา เครื่อง step up ร้องไฟเกินทุกวัน วัดไฟได้ 220-225 ทั้งวัน ต้องถอด step up ทิ้ง

สรุปซื้อหม้อแปลงไฟมาฟรีๆ

เซงเลย

ขายไปยังครับ 555

ของผมมันปลายสาย มีแววว่ายังไงก็คงได้ใช้

เพราะด้วยระยะทางเอง ก็ทำให้มันตกอยู่แล้ว

เท่าที่ถาม การไฟฟ้า เขาบอกว่า ระยะนี้ เมืองขยายตัวมาก เขาทำงานหนักกันมาก เพื่อรองรับการขยายตัวของไฟฟ้า

อย่างที่ชุมแพ มีห้าง มาลงเยอะ โลตัส แมคโคร นี้จะมีศาลจังหวัด มีโรงภาพยนตร์อีก

ผมก็เลยสองจิตสองใจ ถ้า ชุมชนที่ติดกับสวน ขยายมากกว่านี้ได้จริงๆ

การไฟฟ้าต้องมาเพิ่มหม้อ ขยายขนาดแน่นอน ซึ่งก็อาจจะทำให้ผม หมดปัญหาไปด้วย

ผมไปยืนอยู่หน้าร้าน ตัดสินใจอยู่นานเลย กว่าจะสรุปว่า "ไม่ซื้อ แล้วขอลองต่อระบบน้ำใหม่"

เพราะถ้าต่อแล้วรอด ผมก็ไม่ต้องซื้ออีกเลยจนกว่าจะสร้างบ้าน ซึ่งถ้าสร้างบ้าน ผมก็คงกู้เงิน กู้แล้ว ก็คงมีเงิน

มีเงินแล้ว ก็คง ติดหม้อแปลงใหญ่เลยดีกว่า 555



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: สิทธิเดช - ไร่น้ำทิพย์ ที่ พฤศจิกายน 18, 2014, 05:25:35 PM
ช่วงนี้มีโครงการ โซล่าเซลล์เครื่องสูบน้ำอยู่นะครับ จำไม่ได้ว่าเป็นของหน่วยงานใด
เห็นแว่บๆในเฟส ใช้แผงโซล่าเซลล์ต่อกับปั๊มเฉพาะทางที่ติดกับ set โซล่าเซลล์ ใว้ใช้สูบน้ำตอนกลางวัน
ก็น่าจะช่วยเนรื่องไฟปั๊มน้ำไม่พอได้นะครับ


ขอบคุณครับ

แต่ให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสจริงๆ ดีกว่าครับ

ทางผม ถ้าแก้รอบนี้แล้วหายขาด ก็จบ

เหลือแค่ว่า มีเงินปลูกบ้านเมื่อไร ค่อยติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ ก็จบปัญหาระยะยาวครับ 555


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: Artit Kranjana ที่ พฤศจิกายน 19, 2014, 07:48:57 PM
สุดยอดเลยครับ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: pook_kkf ที่ พฤศจิกายน 19, 2014, 11:48:00 PM
ขอปูเสื่อ รอศึกษากลยุทธ์กับคุณบรีสด้วยคนนะครับ   :-[


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 20, 2014, 08:39:48 AM
ติดตามกันได้เลยครับ ไม่มีปิดบัง

ผิดเป็นครู และไม่อยากให้ใครผิดซ้ำ

ดังนั้นไม่อายเลยที่จะบอกว่าคิดอะไร ทำอะไร แล้วพลาดอะไร

แต่เพื่อขอคำแนะนำ ผมจึงมาเขียนไว้ก่อนว่าจะทำอะไร ถ้าท่านใดเคยมีประสบการณ์แล้ว ก็บอกกล่าวกันได้เลยนะครับ ยินดีรับฟัง แล้วปรับแก้ไข



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: Chakapol ที่ พฤศจิกายน 20, 2014, 06:12:48 PM
เห็นกระทู้นี้มาตั้งแต่เริ่มเป็น สมช แต่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน ขอชื่นชมการทำเกษตรของท่าน มีหลักการมาก ทุกระเบียดนิ้วมีเหตุมีผล แต่ผมยังอ่านไม่จบ เป็นกระทู้ที่น่าศึกษามากครับ ;)

บางคนเขาว่า ผมมันพวกตูดหมึก

เพราะผมมักถามอะไรไปถึงหลักถึงแก่น

หลายๆคน มักบ่นว่าอะไรนักหนา

แต่ลองพินิจถึงชีวิต ถ้าเรารู้และเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ มันคืออะไร อย่างแก่นแท้

เราก็จะไม่หลงทาง หลงประเด็น

แต่แก่นบางเรื่องเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นหลักการ อันนี้ผมเถียงเป็นเถียง
แต่แก่นบางเรื่องผมเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนี้ เถียงผมมา ผมรับฟังนะครับ ยินดีปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความรู้ที่แท้จริง


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: Easyman_ubon ที่ พฤศจิกายน 22, 2014, 08:15:35 AM
สวัสดีครับคุณบรีส ผมชื่อ ปุ๋ย นะครับ อยู่อุบลครับ ต้องขอชื่นชมกระทู้นี้เป็นอย่างมากครับเพราะได้ความรู้อะไรเยอะแยะเลย ติดตามเว็ปนี้มาระยะหนึ่งแล้วครับดเพราะหาข้อมูลในการทำสวน แต่ไม่เคยได้เข้ามาอ่าน ส่วนมากติดตามอ่านแต่คุณนพและอีกหลายกระทู้ที่ปลูกพืชที่ตัวเองสนใจ พอได้เข้ามาอ่านกระทู้คุณบรีสแล้วมันมาก มีอะไรเยอะแยะให้ศึกษาครับ ผมชอบแนวคิดในการวางกรอบ วางระบบ จัดการทรัพยากรที่มีก่อนการเลือกพืชที่จะปลูกตามความเหมาะสม ซึ่งผมเองเลือกพืชที่จะปลูกก่อนการตรวจสอบทรัยากรตัวเอง เลยเหนื่อยหน่อยครับ พอได้อ่านกระทู้นี้พอเห็นแสงรำไรเลยครับ ขอติดตามต่อไปเพื่อเพิ่มแสงสว่างนะครับ ร่ายมาซะยาวขอเข้าเรื่องเลยนะครับขอถามนึดหนึ่งครับเพื่อทำระบบน้ำให้กับสวนมะนาวกับสวนกล้วย+ไผ่

1.เรื่องไฟฟ้าในสวนครับ ข้อมูล หม้อไฟ 5 แอมป์ ลากสายดำคู่ยาว 250 เมตร ที่สวนก็เมือนบ้านอุปรณ์ไฟฟ้าก็จะมี ตู้เย็น 2 เครื่อง นอกนั้นก็เครื่องซักผ้า พัดลม ไฟส่องสว่าง 5 หลอด ถ้าเปิดพร้อมกัน คำถามคือ ผมจะใช้ซัมเมอส สัก 1.5 แรง พอได้ไหมครับ จะมีปัญหาไฟตกไหมครับ ถ้ามีผมควรจะแก้ปัญหาอย่างไรครับ
2.ผมจะทำแทงค์น้ำขนาด 2500 ลิตร ปล่อยเข้าสวนกับมินิสริงเกิอร์ประมาณ 300 หัว แต่จะแยกจ่ายทีละ 100 หัว แต่ละหัวใช้น้ำประมาณ 10 ลิตร ความสูงของแทงค์ประมาณ 5 เมตร จุดที่ตั้งของแทงค์อยู่จุดสูงสุดของสวน ความลาดชันน่าจะ 30-40 cm. ระยะจ่ายน้ำไกลสุด 100 m. คำถามคือ ผมจำเป็นต้องใช้ปั๊มจ่ายน้ำไหมครับ  

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ ผมหาเรื่องปวดหัวให้รึเปล่าครับ

ได้อ่านแล้ว เป็นข้อความที่ให้กำลังใจผมที่ดีเลยครับ อิอิ ส่วนคำตอบ เดี๋ยวเย็นนี้ว่างๆ แล้วจะตอบนะครับ วันนี้มีงานสำคัญ


หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 22, 2014, 08:29:13 AM
เดี๋ยวว่าๆ จะมาเล่าผลให้ฟังครับ

กลับสวนรอบนี้ได้ทำงานนิดเดียว

เพราะมีงานสำคัญกว่า คือ งานศพคุณตาเจริญ น้องชายของคุณตาแถม ดีบุญมี ณ ชุมแพ

เลยลุยแก้แค่ปัญหาน้ำหยดอย่างเดียว

ผลที่ได้ พึงพอใจมากครับ



หัวข้อ: Re: สวนเกษตรโชคดีชุมแพ - สวนในแนวคิด สั่งได้ ลดได้ ยั่งยืน (สารบัญหน้าแรก)
เริ่มหัวข้อโดย: คุณบรีส ชุมแพ ที่ พฤศจิกายน 22, 2014, 09:40:51 PM

1.เรื่องไฟฟ้าในสวนครับ ข้อมูล หม้อไฟ 5 แอมป์ ลากสายดำคู่ยาว 250 เมตร ที่สวนก็เมือนบ้านอุปรณ์ไฟฟ้าก็จะมี ตู้เย็น 2 เครื่อง นอกนั้นก็เครื่องซักผ้า พัดลม ไฟส่องสว่าง 5 หลอด ถ้าเปิดพร้อมกัน คำถามคือ ผมจะใช้ซัมเมอส สัก 1.5 แรง พอได้ไหมครับ จะมีปัญหาไฟตกไหมครับ ถ้ามีผมควรจะแก้ปัญหาอย่างไรครับ

2.ผมจะทำแทงค์น้ำขนาด 2500 ลิตร ปล่อยเข้าสวนกับมินิสริงเกิอร์ประมาณ 300 หัว แต่จะแยกจ่ายทีละ 100 หัว แต่ละหัวใช้น้ำประมาณ 10 ลิตร ความสูงของแทงค์ประมาณ 5 เมตร จุดที่ตั้งของแทงค์อยู่จุดสูงสุดของสวน ความลาดชันน่าจะ 30-40 cm. ระยะจ่ายน้ำไกลสุด 100 m. คำถามคือ ผมจำเป็นต้องใช้ปั๊มจ่ายน้ำไหมครับ  

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ ผมหาเรื่องปวดหัวให้รึเปล่าครับ

มาตอบแล้วครับ

ข้อ 1. หม้อขนาด 5A ใช้ไฟฟ้าได้สูงสุดคือ 220*5 = 1100 วัตต์ ดังนั้นถ้าใช้ปั้ม 1.5 แรงหรือ 750*1.5 = 1125 วัตต์

ดังนั้นตอบได้ง่ายๆ ครับ ไม่เพียงพอ ถ้าจะพอ ต้องแก้ไข คือ เพิ่มขนาดหม้อไฟ ให้เป็น 15A ก่อน

ส่วนคำถามต่อมา ระยะ 250 เมตรพอหรือไม่ ให้ตรวจสอบจาก ระยะหม้อแปลงไฟฟ้าตัวใหญ่ครับ ว่าจากหม้อแปลงตัวใหญ่นั้น ลากมาถึงบ้าน ยาวเกิน 1 กิโลเมตรหรือไม่ ถ้าเกิน มีโอกาสไฟฟ้าตกแน่นอนครับ

ทีนี้ไฟฟ้าตกหรือไม่ มาจากสองปัจจัย คือ ขนาดหม้อแปลงไฟฟ้า ถ้ามันเล็กเกินปริมาณการใช้ ก็จะเกิดไฟฟ้าตกได้ กับสองคือ ระยะห่างจากหม้อแปลง เพราะไฟฟ้ามีการสูญเสียตลอดทางเดิน ถ้ายิ่งไกล แรงดันยิ่งตกครับ มาตรฐานการไฟฟ้า จึงไม่ให้เกิน 1 กิโลเมตรจากหม้อแปลงครับ


ข้อ 2 - จากโจทย์ ดูเหมือนว่า จะได้แรงดันประมาณ 0.5 บาร์ จากความสูง 5 เมตร ทีนี้ ถ้าเป็นมินิสปริงเกอร์ ต้องทดสอบดูครับ ว่า จะหมุนจ่ายน้ำได้หรือไม่ ถ้าได้ ระยะที่กระจายน้ำอาจจะน้อยกว่า

แต่การคำนวณต้องคำนวณจาก ความสามารถการจ่ายน้ำของหัวมินิสปริงเกอร์ครั